Custom Search

Nov 29, 2009

เมื่อเกิดภาวะ ฉุกเฉินทางหัวใจ จะทำอย่างไรดี(1)



คอลัมน์ รู้ทันโรค

สรรพางค์

มติชน

วัน
ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552








แพทย์หญิงดาราวรรณ จันทร์ทัด

เมื่อดูจากสถิติ "โรคหัวใจ" ถือเป็นโรคฮ็อตฮิต
อันดับ ต้นๆ ที่คนไทยเป็นกันมาก โดยเฉพาะในปัจจุบัน
การดำรงชีวิตของผู้คนได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก
ทำให้คนเป็นโรคนี้กันมากขึ้น
อันตรายจากโรคหัวใจคงไม่ต้องพูดถึง
โดยเฉพาะหากเกิดภาวะฉุกเฉินทางหัวใจขึ้น
ก็จะยิ่งเพิ่มดีกรีความเสี่ยงต่อการ เสียชีวิต
เรื่องนี้ แพทย์หญิงดาราวรรณ จันทร์ทั
จากโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น บอกว่า
ภาวะฉุกเฉินทางหัวใจคือภาวะการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น
อย่างเฉียบพลันและมีอาการ
รุนแรงที่มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ
และผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ซึ่งอาการผิดปกติสำคัญที่บ่งชี้ว่า
น่าจะมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ
เช่น อาการเจ็บแน่นหน้าอกรุนแรง
อาการหอบเหนื่อยหรือหายใจลำบาก
อาการใจสั่นจากมีภาวะหัวใจเต้นเร็วและ
แรงผิดปกติร่วมกับมีอาการหน้ามืดหรือหมดสติ
ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
โรคหัวใจล้มเหลว และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
บทความที่จะกล่าวต่อไปนี้จะพิจารณา
ในแง่ของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นหลัก
เนื่องจากเป็นโรคที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ
และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจาก
โรคหัวใจที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน
ส่วนภาวะฉุกเฉินจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนั้น
คุณหมอดาราวรรณกล่าวว่า
เนื่องจากหัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย
และหัวใจเป็นอวัยวะ
ที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ
ซึ่งการที่หัวใจจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จำเป็นต้องได้รับเลือดและสารอาหาร
โดยผ่านทางหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอย่างเพียงพอ
ต่อความต้องการของหัวใจใน ขณะนั้นๆ
เช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
หรือโรคหัวใจขาดเลือด
เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ
หรืออุดตันจากการที่มีคราบไขมันไปสะสม
ที่ผนังด้านในของหลอดเลือดหัวใจ
ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ
ต่อความต้องการของหัวใจในขณะนั้น
และทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติไป
ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว
หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวายเฉียบพลันได้ในที่สุด

อาการที่สำคัญของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอกตรงกลาง
หรือหน้าอกด้านซ้าย โดยมักมีอาการ เจ็บแบบแน่นๆ บีบๆ
หรือเหมือนมีของหนักๆ กดทับที่หน้าอก
และอาจมีอาการเจ็บร้าวไปที่ขากรรไกรล่าง กราม
ไหล่หรือท้องแขนด้านซ้ายหรือทั้งสองข้างร่วมด้วย
อาการเจ็บหน้าอกถ้าเป็นไม่รุนแรงมักมีอาการ
ในขณะที่มีการออกแรงและเป็นอยู่
นานประมาณ 5 ถึง 10 นาทีแล้วหายไปได้เอง
แต่ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีอาการเจ็บหน้าอกในขณะพักอยู่เฉยๆ ได้
และมีอาการนานกว่า 20 ถึง 30 นาทีขึ้นไป นอกจากนั้น
ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น เหงื่อแตกทั่วตัว ใจสั่น
เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน
หน้ามืดหรือเป็นลมหมดสติ เป็นต้น
ส่วนผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นใคร
ในครอบครัวป่วยเป็นโรคนี้ร่วมด้วย
2) ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้มีดังนี้

โรคประจำตัวหรือโรคที่พบร่วมด้วย เช่น โรค เบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน เป็นต้น
และพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งได้แก่ การสูบบุหรี่
การไม่ออกกำลังกาย ภาวะเครียดเรื้อรัง
ฉบับหน้า คุณหมอดาราวรรณยังจะอยู่กับเรา
และจะมาไขข้อข้องใจ เกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ

กันต่อที่สำคัญเราจะสังเกตได้อย่างไรว่ามี
อาการเจ็บป่วยจากภาวะฉุกเฉินจาก
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
(หน้าพิเศษ Hospital Healthcare)

หน้า 6