Custom Search

Dec 23, 2018

ฮาร์ท เบิร์ดกะฮาร์ท ทำคนฮือฮา เปิดบ้านหลังโตพร้อมลูก 7 เมีย 3

ไทยรัฐออนไลน์


ยอมเปิดเผยชีวิตส่วนตัวเป็นครั้งแรก สำหรับอดีตผู้ประกาศข่าวและนักร้องดูโอ้ชื่อดัง

ฮาร์ท สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ เบิร์ดกะฮาร์ท ล่าสุดกับรายการ ตีท้ายครัว ทางช่อง 3
เจ้าตัวได้เปิดบ้านหลังโตให้ได้เห็นกันเป็นครั้งแรก พร้อมกับเผยถึงชีวิตครอบครัวที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่
โดยมีภรรยาทั้งหมด 3 คน และลูกๆ รวมกันเกินครึ่งโหล

โดย ฮาร์ท ได้พาไปเดินดูบ้านของตัวเอง ที่หลังบ้านเป็นสถานที่เลี้ยงไส้เดือน เพื่อเอามูลมาทำปุ๋ย
และจากนั้น มดดำ ก็ได้บอกว่า เรื่องอื่นไม่อยากรู้เท่าไหร่ อยากรู้เรื่องเมียมากกว่า
พร้อมกับยิงคำถามว่า จริงหรือไม่ ที่ฮาร์ทมีเมียถึง 3 คน และทำบ้านแบ่งเป็นห้องๆ ให้เมียทั้ง 3 คนอยู่
ซึ่ง ฮาร์ท บอกว่า วันนี้จะให้เจอกับแม่ของลูกทั้ง 2 คน ซึ่งแม่ๆ นั้นเค้าผนึกกำลังกัน ไปช็อปปิ้งด้วยกัน
เพื่อไม่ให้มีเบอร์ 4 เบอร์ 5 พร้อมกับบอกว่า ดูเป็นเยี่ยง แต่ห้ามเอาอย่าง

ฮาร์ท ก็ได้พาไปชมห้องครัว ที่บรรดาเมียๆ กำลังทำกับข้าวอยู่ โดยภรรยาคนสุดท้อง คุณเอ็นดู
ได้บอกว่า ตนเองเป็นภรรยาคนสุดท้องแล้ว ห้ามมีคลอดออกมาอีก และบอกว่า
พี่ฮาร์ทมีลูกทั้งหมด 7 คน จาก 3 แม่ และมีลูกของตนเองพ่วงมาอีก 2 รวมทั้งหมดเป็น 9 คน 

เมื่อถามว่ามีลูกผู้หญิงกี่คน ผู้ชายกี่คน ฮาร์ทบอกว่า ของตัวเองมีผู้หญิง 5 ผู้ชาย 2
ส่วนกับภรรยา เอ็นดู มีผู้หญิง 1 ผู้ชาย 1 และมีลูกชายฝาแฝดที่มาจากครอบครัวเก่าอีก 2 คน

และถึงขั้นที่ต้องโชว์ FAMILY TREE
แผนผังครอบครัวให้ดูเข้าใจง่ายกันเลย คือกับคุณแอน มีลูก 2 คน คุณอ้อย ลูก 3 คน และ คุณเอ็นดู ลูก 2 คน

ซึ่งครอบครัวของคุณเอ็นดู อยู่ในบ้านหลังเดียวกัน แล้วคุณอ้อยอยู่บ้านหลังถัดไปอีก 300 เมตร
และครอบครัวของภรรยาอีกคนอยู่ที่ออสเตรเลีย 

ด้านภรรยาคนแรก คุณอ้อย ได้บอกว่า ตนเองเป็นคนใจกว้าง เห็นเค้ามีความสุข อยากทำอะไรก็ทำ พี่จะได้ไม่ทุกข์ไงคะ
ฮาร์ทบอกว่า ตนเองรู้สึกโชคดีมากที่มีอ้อย แล้วก็มีลูกๆ ที่เข้าใจ ไม่ได้คาดหวังว่าทุกครอบครัวจะเป็นอย่างนี้
บังเอิญผมโชคดีครับ และต้องขอบคุณลูกสาวทั้ง 3 คน ที่ใจกว้างและเปิดรับเลือดเนื้อของป๊าโดยไม่รังเกียจ
แล้วก็รักน้องเหมือนกับน้องตัวเอง พอได้เห็นลูกสาวมาเล่นกับน้อง เราก็ชื่นใจ เพราะลูกของเราใจกว้าง 

และต้องชื่นชมลูกสาวทั้ง 3 ที่เข้าใจเรา อย่างลูกคนโตเค้าเรียนจบมา 2 ปีแล้ว และเค้าประสงค์อยากไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น
แต่ที่ยังไม่ไปเพราะรู้ว่าป๊ามีภาระเยอะ รอวันที่ป๊ามี แล้วก็ทำสติกเกอร์ไลน์ขายตั้งแต่ที่เรียนอยู่ ไม่มารบกวนเงินผมตั้งแต่ตอนเรียนแล้ว
ส่วนลูกสาวคนที่สองก็เรียนจบแล้ว และไปทำงานที่อเมริกา 3 เดือน ไปตักไอติมขายที่ดิสนีย์เวิลด์ เค้าพยายามหาเงินได้ด้วยตัวเอง

และเค้ารู้เลยว่า ป๊าทำงานหนักยังไง เพราะขนาดแค่ตัวเค้าเองพยายามจะหาเงินเลี้ยงตัวเองยังลำบากขนาดนี้ แล้วป๊าต้องหาเงินเลี้ยงดูกว่า 10 ชีวิต จะหนักขนาดไหน


Dec 16, 2018

How to Talk Like a Native Speaker | Marc Green | TEDxHeidelberg


Marc talked about the process of learning a foreign language and the different levels of fluency. He will show that there is a higher realm of language proficiency and explain what it takes to reach this “native” point where the benefits far surpass mere communication skills. Marc’s passion is the study of languages, their manifestation in local dialects, as well as their expression in poetry and folkloric song. He has acquired a near-native proficiency in six languages and their sub-forms and has given various musical performances.

Dec 15, 2018

"ตายยังไม่กลัวเลย โลกนี้มีอะไรยากกว่าตายอีก" เชฟ Willment Leong



“เชฟวิลเมนท์ ลีออง” เชฟชื่อดังชาวสิงคโปร์ โลดแล่นบนหน้าจอทีวี แต่ระหว่างทางสู่ความสำเร็จของเขานั้นไม่ง่าย ชีวิตเขาเกิดในครอบครัวยากจน จบแค่ ม.3 ดิ้นรนต่อสู้งานสารพัดแต่ด้วยความอดทนและพยายาม เขาได้ไต่เต้าจากตำแหน่งล่างสุดในครัว จนได้เป็นท็อปเชฟในโรงแรมระดับ 5 ดาว ล่าสุดเขาคือผู้ก่อตั้งสถาบัน Thailand Culinary Academy ส่งเด็กไทยไปแข่งทำอาหาร จนคว้ารางวัลจากเวทีการแข่งขันระดับโลกมาแล้วมากมาย

Dec 1, 2018

George H. W. Bush (1924 - 2018)


Former US President George H.W. Bush has died at the age of 94, his son George W Bush has announced.

A tribute site to the 41st President of the United States of America. 
https://share.america.gov/in-tribute-george-h-w-bush-41st-president-of-the-u-s/




Nov 22, 2018

ชาวเน็ตชื่นชม ซูโม่กิ๊ก-ติ๊ก กลิ่นสี ช่วยเหลือเพื่อนรักป่วยหนัก


ภาพประกอบจาก sanook.com

ที่มา https://women.kapook.com/view119724.html
ชาวเน็ตชื่นชม ซูโม่กิ๊ก และ ติ๊ก กลิ่นสี ทำความดีปิดทองหลังพระ ช่วยเหลือเพื่อนรัก แดนนี่ ศรีภิญโญ เมื่อครั้งป่วยหนักเป็นเส้นเลือดในสมองแตก
ได้รับรู้เรื่องราวการเจ็บป่วยของ คุณแดนนี่ ศรีภิญโญ ที่ป่วยจากการเส้นเลือดในสมองแตก และรอดมาได้ 
จากรายการ คนดังนั่งเคลียร์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2558 ทางช่อง 2 คุณกิ๊ก และภรรยา + คุณติ๊ก ได้เข้าช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เดาได้ว่าต้องแพงมหาศาลมาก จนทำให้คุณแดนนี่รอดชีวิตและสามารถกลับมาทำงาน สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างทุกวันนี้

          จากการสัมภาษณ์ของคุณแดนนี่ ทราบว่าเรื่องนี้เกิดมา 5-6 ปีแล้ว แต่เบื้องหลังที่เป็นผู้ทำให้ คุณแดนนี่ กลับมาเป็นปกติได้อย่างทุกวันนี้ ประชาชนส่วนใหญ่แทบไม่รู้เลยว่า คุณทั้ง 2 คน คือผู้ที่อยู่เบื้องหลังการกระทำที่ดีงามนี้ เพราะคุณทั้ง 2 ไม่เคยนำมาเล่าเอาความดีใส่ตน แต่ทำในสิ่งที่เรียกว่า "ปิดทองหลังพระ"






รวมเพลงฮิตสายดื่ม มันส์ยันเช้า 【LONGPLAY】


Nov 15, 2018

สแตน ลี : ผู้กำเนิดชีวิตยอดมนุษย์ซูเปอร์ฮีโร่ แห่งจักรวาลมาร์เวล




สแตน ลี (Stan Lee) (1922–2018) อดีตผู้บริหารมาร์เวล คอมิกส์ (Marvel Comics) และนักเขียนชาวอเมริกัน เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 95 ปี เขาคือมนุษย์ผู้อยู่เบื้องหลังชีวิตของบรรดาซูเปอร์ฮีโร่ที่ออกมาโลดแล่นบนหน้าหนังสือการ์ตูนและแผ่นฟิล์มที่ครองใจแฟน ๆ ทั่วโลก

บริษัทตั้งขึ้นในปี 1961 โดยมีผลงานในช่วงเริ่มต้นคือ The Fantastic Four ก่อนจะมีผลงานตามมาอีกหลายเรื่อง อย่างเช่น Spider-Man และ The Incredible Hulk

แฟนการ์ตูนของเขาหลงใหลคาแรคเตอร์ของเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ ที่แม้จะมีพลังพิเศษแต่พวกเขาก็ยังเผชิญกับปัญหาในชีวิตประจำวัน อันเป็น "สูตรสำเร็จ" ที่เปลี่ยนแปลงวงการการ์ตูนไปตลอดกาล

เดอะฮัลค์ ไอรอนแมน แดร์เดวิล และแฟนแทสติก โฟร์ ล้วนเป็นผลงานการสร้างสรรค์จากจินตนาการที่พรั่งพรูของลี และถูกถ่ายทอดลงบนหน้ากระดาษ และแม้ว่าอาชีพการเป็นนักเขียนการ์ตูนของเขา จะเริ่มต้นจากปากกาและน้ำหมึก แต่มันได้เดินทางออกไปไกลกว่านั้นมากนัก

จากการ์ตูนสู่นวนิยายภาพในรูปแบบดิจิทัลสู่ภาพยนตร์ฮอลลีวูดทำเงินมหาศาล และเปลี่ยนอาณาจักรของการ์ตูนมาร์เวล จากเดิมที่เป็นเพียงแผนกเล็ก ๆ ของสำนักพิมพ์ หนึ่งกลายมาเป็นบริษัทมัลติมีเดียยักษ์ใหญ่ นี่คือพลังอันไม่จบสิ้นของสแตน ลี

เขาเกิดเมื่อปี 1922 มีพื้นเพเป็นชนชั้นแรงงานที่ยากจนและเป็นชาวยิวอพยพจากประเทศโรมาเนีย ลี ซึ่งมีชื่อในขณะนั้นว่า สแตน ลีเบอร์แมน ได้งานทำที่สำนักพิมพ์ไทม์ลี่ ซึ่งมีญาติคนหนึ่งของเขาเป็นเจ้าของ และสำนักพิมพ์นี่เองที่ในเวลาต่อมากลายเป็นบริษัท มาร์เวล คอมิกส์

ลี ได้รับมอบหมายให้ทำงานในแผนกการ์ตูน ก่อนจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งบรรณาธิการเมื่อมีอายุได้เพียง 18 ปี ซึ่งนั่นต้องขอบคุณ จินตนาการอันล้ำเลิศของเขา

กว่า 20 ปี ลี เป็นเหมือนดั่ง "กลจักรแห่งความสำเร็จ" ในการสร้างสรรค์เรื่องราวทั้ง การ์ตูนแนวอาชญากรรม สยองขวัญ แนวตะวันตก หรืออะไรก็ตามที่เติมเต็มความกระหายความต้องการอ่านช่วงวัยเยาว์ของเขา

ชื่อตัวการ์ตูนของ สแตน ลี มีความยาวน้อยกว่าสองพยางค์ทั้งสิ้น ลักษณะของตัวละคร ไม่ดีอย่างสุดขั้ว ก็เลวอย่างสุดขีดไปเลย อีกทั้งไม่มีช่องว่างสำหรับตัวละครที่มีลักษณะเทา ๆ

เขาไม่ค่อยชอบนามสกุลลีเบอร์แมนเท่าไรนัก ดังนั้น ลีจึงไม่เคยใช้ชื่อนามสกุลจริงของเขาเลยในการลงชื่อเป็นผู้แต่ง แต่เขายอมรับที่จะใช้ชื่อ "ที่ดูทึ่ม ๆ" อย่าง สแตน ลี แทน ซึ่งเวลาต่อมาเขาก็ทำเรื่องเปลี่ยนมาใช้นามสกุลนี้อย่างถูกกฎหมาย

ช่วงราวอายุ 40 ปี ลีตัดสินใจกับตัวเองว่า เขาคงจะ "แก่" เกินไปสำหรับสายการ์ตูนในวงการนี้ โจแอน ภรรยาชาวอังกฤษของเขา ได้แนะนำว่า เขาไม่มีอะไรจะสูญเสียแล้วในช่วงอายุเท่านั้น และเพื่อสร้างงานชิ้นสุดท้ายของชีวิต เขาควรสร้างตัวการ์ตูนที่เขาอยากจะเห็นมันจริง ๆ

หลังจากที่สำนักพิมพ์คู่แข่งออกตัวการ์ตูน "ซูเปอร์ทีม" อย่าง แบตแมน ซูเปอร์แมน และวันเดอร์วูแมนมา ทางไทม์ลีก็ต้องเริ่มหาทางโต้กลับบ้างแล้ว

คำตอบของลี ในปี 1961 คือ เดอะ แฟนแทสติก โฟร์ (The Fantastic Four) ซึ่งเป็นมนุษย์อวกาศ 4 คนที่ได้รับพลังพิเศษหลังเกิดอุบัติเหตุทำให้ได้รับรังสีคอสมิกเข้าสู่ร่างกาย

เหล่า Fantastic Four ได้เปลี่ยนชีวิตของลี และอุตสาหกรรมการ์ตูนอย่างตลอดกาลนับแต่เวลานั้น

ลีสร้างบุคลิกตัวละครแต่ละตัวให้แตกต่างกันออกไป เติมแต่งให้มีคาแรกเตอร์แบบชีวิตทั่วไปธรรมดา ๆ วัยรุ่นที่เจอปัญหาในแต่ละวัน ตั้งแต่เรื่องรังแคที่ศีรษะ เล็บคุด สิว มักทะเลาะกับพ่อแม่ รวมทั้งทะเลาะกันเอง

หลังจากแฟนแทสติกโฟร์ออกสู่สายตาผู้ที่ชื่นชอบเหล่าฮีโร่มาร์เวล ก็ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม โดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม จากปรากฏการณ์นั้น สแตน ลี ได้กลายเป็นผู้นำทางให้เกิดยุคทองของวงการการ์ตูน และจินตนาการของเขาได้ลุกโชนขึ้นอีกครั้ง "จักรวาลแห่งมาร์เวล" ที่เต็มไปด้วยตัวการ์ตูนที่มีความสัมพันธ์กัน ได้ถือกำเนิดใหม่ในชื่อว่า มาร์เวล คอมิกส์ (Marvel Comics)

หลังจากนั้นไม่นาน ปีเตอร์ พาร์คเกอร์ ผู้แสนเนิร์ด ก็ถูกแมงมุมที่โดนรังสีกัด และกลายมาเป็นมนุษย์ที่สามารถตะกายตึกระฟ้าเหนือนครนิวยอร์ก และนั่นคือกำเนิดของสไปเดอร์แมน

สไปเดอร์แมนหรือ สไปดี้ ได้กลายเป็นไอคอนแห่งยุคสมัยใหม่ของวัฒนธรรมป็อบ แม้จะมีพลังอันยิ่งใหญ่ แต่ก็มีชีวิตแบบคนทั่วไปที่มีปัญหาในที่ทำงาน ที่บ้าน และกับแฟนสาวของเขา ในท้ายที่สุด สไปเดอร์แมนไม่ได้เป็นแค่ตัวประกอบอีกต่อไปแต่กลายเป็นพระเอกคนสำคัญของมาร์เวล และเขาก็ไม่ได้มีแค่พละกำลัง แต่มีสมองด้วย

"แค่เพราะว่าเขาเป็นฮีโร่และมีพลังพิเศษ ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่มีปัญหาเลย" ลี เคยกล่าวกับบีบีซี

ทั้งเดอะฮัลค์ ,ไมท์ตี้ ธอร์, ไอรอนแมน และตัวละครอื่น ๆ ต่างต้องต่อสู้ดิ้นรนกับปัญหา อย่างการใช้ยาเสพติด ความดันทุรัง และความไม่เท่าเทียมทางสังคม

ลียังได้ปฏิวัติวงการด้วยการ ให้เครดิตกับศิลปินนักวาดที่ออกแบบตัวละครแต่ละตัวด้วย ผู้ที่ร่วมงานกับเขาอย่าง แจ็ค เคอร์บี้, แฟรงค์ มิลเลอร์, จอห์น โรมิแทนด์ และคนอื่น ๆ ต่างบรรลุความสำเร็จในรับการนับถือของแฟน ๆ ของมาร์เวล

ส่วนซูเปอร์ฮีโร่ตัวอื่น ๆ ก็ได้เปิดพื้นที่ใหม่ ๆ ให้กับวงการการ์ตูน อย่าง แดร์เดวิลซึ่งตาบอด แบล็คแพนเธอร์ ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนผิวสี และซิลเวอร์เซิร์ฟเฟอร์ (Silver Surfer) ซึ่งสะท้อนมุมด้านมนุษยธรรม อย่างไรก็ตาม อิทธิพลในการสร้างตัวละครในแบบของลี ยังคงหลงเหลืออยู่ ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ฮีโร่ของมาร์เวล ที่ชื่อว่า นอร์ธสตาร์ ก็เผยโฉม

ในยุคที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด มาร์เวลสามารถขายผลงานการ์ตูนได้ 50 ล้านฉบับต่อปี จนกระทั่งลีได้ลาออกจากตำแหน่งบรรณาธิการในปี 1971 และหันมาเขียนการ์ตูนฉบับสำหรับขึ้นปกเพียงอย่างเดียว

ในปี 1999 บริษัทของลี ภายใต้ชื่อ สแตนลีมีเดีย พยายามนำการ์ตูนเรื่องยาวลงสู่แพลตฟอร์มใหม่ทางอินเทอร์เน็ต แต่การประเมินที่ผิดพลาด ทำให้ลีหมดตัว และหุ้นส่วนของเขาต้องถูกจำคุกจากข้อหาฉ้อโกง

ปี 2001 ลีก่อตั้งบริษัทใหม่ที่ชื่อว่า พีโอดับเบิ้ลยู (POW) เน้นอุตสาหกรรมบันเทิง ผลิตภาพยนตร์และรายการทีวี

ประสบการณ์การสร้างสรรค์กว่า 50 ปีของลียังคงใช้การได้ดีเช่นเคย พล็อตการ์ตูนอย่างเอ็กซ์เมน, แฟนแทสติกโฟร์, ฮัลค์ , แดร์เดวิล, ไอรอนแมน และดิเอเวนเจอร์ส ถูกนำไปพัฒนาเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูด

- สไปเดอร์แมน ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามทำรายได้ถล่มทลาย ทั้งภาคแรกในปี 2002 และภาคต่อในปี 2004 ทำรายได้จากการขายตั๋วทั่วโลกเกือบ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่นับรวมรายได้จากการขายดีวีดีและสินค้าอื่น ๆ

- กัปตันอเมริกา (Captain America) ภาพยนตร์ที่นำแสดงโดยคริส อีแวนส์ สร้างรายได้ทั่วโลก 2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ไอรอนแมนที่นำแสดงโดยโรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์ส ทำรายได้ 2.4 พันล้านดอลลาร์

และแฟน ๆ ก็จะยินดีมากที่จะได้เห็นลีมาปรากฎตัวในหนังแทบทุกเรื่องที่เกิดจากการ์ตูนของเขา

ลียังได้กลับมาเขียนหนังสือนวนิยายภาพ (graphic novels) อีกครั้ง ปี 2012 เขาร่วมเขียนเรื่องโรมิโอและจูเลียต:เดอะ วอร์ ซึ่งได้ขึ้นเป็นหนึ่งในรายชื่อหนังสือขายดีของนิวยอร์กไทมส์ เขายังได้เปิดช่องยูทิวบ์ด้วยชื่อว่า Stan Lee's World of Heroes

เขาได้เปิดตัวนิยายภาพ เรื่อง Stan Lee's God Woke ในงานเทศกาลหนังสือการ์ตูน Comic Con ปี 2016 และหนังสือได้รับรางวัลในหมวดเสียงแห่งอิสระ จากงานแจกรางวัลสำนักพิมพ์อิสระในปี 2017

ในช่วงปีหลัง ๆ เขามักบ่นว่าสายตาเริ่มไม่ค่อยดีแล้ว ซึ่งทำให้เขาไม่สามารถอ่านหนังสือการ์ตูนที่สร้างชื่อให้เขาได้อีกต่อไป เขาบอกว่ารายการเรดิโอ ไทมส์ในปี 2016 ว่า "คิดถึงการอ่านหนังสือ 100%"

ลีบอกเสมอว่า โชคคือพลังซูเปอร์พาวเวอร์ที่พิเศษสุด

"ทุกครั้งที่ได้ไปงานเทศกาลการ์ตูนตามที่ต่าง ๆ จะมีแฟนหนังสืออย่างน้อยหนึ่งคนถามผมว่า อะไรคือพลังพิเศษที่สุดยอดที่สุด และผมมักจะตอบว่า โชคชะตา คือพลังพิเศษที่ยอดเยี่ยมที่สุด เพราะถ้าคุณมีโชคที่ดี ทุกอย่างก็จะเป็นของคุณ" ลีกล่าว




Nov 12, 2018

Fast Food ธุรกิจ_8 มี.ค. 58 : 15 มี.ค. 58 (ชีวิตต้องสู้ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว)







ล้มเหลวในวัยกลางคน ไปต่ออย่างไรดี










มีคุณผู้อ่านเขียนมาถามในแฟนเพจ www.facebook.com/kateinspirer ว่า “ปัจจุบันผมมีอายุ 44 ปี ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งหน้าที่การงานและความรัก จบปริญญาตรี 2 ใบ แต่ไม่สามารถนำพาชีวิตให้มีความมั่นคงได้และในปัจจุบันตกงาน ไม่รู้จะไปทางไหนดี อยากทำให้ชีวิตมีความมั่นคง สามารถเลี้ยงตัวเองได้ในยามแก่เฒ่า ผมไม่มีครอบครัว ไม่มีลูก มีความกังวลใจมาก จะทำอย่างไรดีครับ”



การที่จะบอกว่าตนเองล้มเหลวหรือไม่ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับว่าเราเอาอะไรมาตัดสินค่ะ บางคนตัดสินที่ตำแหน่งหน้าที่การงาน บางคนตัดสินที่รายได้ฐานะเงินทอง บางคนตัดสินที่ความสุขจากการทำในสิ่งที่ชอบ หรือทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น จะเห็นว่าเกณฑ์การตัดสินนี้แบ่งเป็นการมองจากสิ่งที่จับต้องได้ เช่น ตำแหน่ง เงินทอง ชื่อเสียง และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความสุข และคุณค่าของตนเอง แต่การมองจากสิ่งที่จับต้องได้มันเห็นได้ง่ายว่าสำเร็จหรือล้มเหลว คนเราก็เลยนิยมใช้ตำแหน่งหน้าที่เงินทองชื่อเสียงมาเป็นตัวตัดสิน จนลืมมองการตัดสินจากสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ความสุข การไม่มีความเครียด และการมองเห็นคุณค่าในตนเอง

นอกจากนี้มุมมองของความสำเร็จของคนเราก็ต่างกัน บางคนมองความสำเร็จด้วยการเปรียบเทียบการพัฒนาการของตนเองในปัจจุบันกับในอดีต เช่น เห็นว่าตัวเองเก่งขึ้น มีทักษะต่างๆ เพิ่มมากขึ้น แต่บางคนมองความสำเร็จของตนเองเปรียบเทียบกับของคนอื่น ซึ่งกรณีนี้มักนำไปสู่ความอิจฉาริษยาทุกข์ใจท้อใจถอดใจ เพราะคนเรามีแนวโน้มที่จะเห็นตนเองด้อยกว่าคนอื่นเสียด้วยสิ

ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินว่าเราเองว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ควรตัดสินเพื่อการพัฒนา ไม่ใช่ตัดสินเพื่อทำร้ายตนเองบางทีเราอาจจะมองไม่เห็นว่าตัวเองมีความถนัดในด้านใด ถ้าเราหาเจอและมุ่งทำสิ่งนั้นอาจจะไปได้ดีก็ได้ คนเราจะทำอะไรได้สำเร็จนั้นต้องมี passion หรือความชอบความรักในสิ่งที่ทำ เมื่อทำอะไรด้วยความรัก เราจะทำไปเรื่อยๆ ไม่มีเบื่อ ต้องมี perseverance หรือความอึดอดทนมีมานะพยายามที่จะทำสิ่งที่รักน้ันต่อไปแม้จะไม่สำเร็จในตอนแรกก็จะทำไปเรื่อยๆ จนสำเร็จ 

ปัญหาของคนที่ไม่รู้จะทำอะไร ความจริงคือไม่เคยมองตนเองอย่างจริงจังว่าตนเองชอบอะไร แต่ดำเนินชีวิตภายใต้ความคาดหวังของพ่อแม่หรือผู้อื่น เช่น เด็กอยากเป็นนักดนตรี แต่พ่อแม่อยากให้ลูกเป็นหมอ เด็กฉลาดเรียนหมอได้ แต่จบมาก็เป็นหมอที่ทำงานไปวันๆ ไม่มี passion ในการค้นคว้าพัฒนาแนวทางในการรักษาโรค รักษาไปตามหน้าที่ ทำไปเรื่อยๆ มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานก็ลาออกเพราะไม่มี passion จึงไม่มี perseverance ด้วย แต่หมอที่มี passion ในการแพทย์จะรักษาคนไข้ด้วยความกระตือรือร้น สังเกตอาการ หาสาเหตุและพัฒนาการรักษาจนเกิดความชำนาญยิ่งขึ้นไป

บางรายรู้ว่าตนเองชอบอะไรถนัดอะไร แต่กลับดูถูกสิ่งที่ตนชอบเพราะคิดว่าคนอื่นจะดูถูก เช่น ชอบงานประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุเหลือใช้ แต่รู้สึกว่าคนอื่นๆ จะมองว่าเป็นอาชีพไม่มั่นคง จึงไปสมัครงานบริษัทเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคนอื่น แต่เวลาทำงานก็ทำด้วยความไม่เชื่อมั่นในตนเอง เพราะรู้ว่าตนเองไม่ถนัด จึงทำงานไปด้วยความกลัวผิดพลาดและเป็นทุกข์ เมื่อทุกข์มากก็ลาออก แต่คนที่รักในงานประดิษฐ์ที่ตนเองชอบทำ จะสนุกสนานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ และสามารถขยายงานกลายเป็นกิจการที่มั่นคงได้

สำหรับคุณผู้อ่านที่ถามมา อยากให้มองว่าเรายังมีหนึ่งสมองสองมือในการทำงานอีกกว่า 20 ปี ลองมองตัวเองและยอมรับในสิ่งที่เราชอบ เรามี และเราเป็นให้ชัดสิค่ะ และลงมือทำสิ่งต่างๆ ด้วยใจรัก ตั้งเป้าหมายว่าทำเพื่อความสุข เพื่อเรียนรู้ เพื่อเห็นความสามารถและพัฒนาการในตัวของคุณเอง ไม่ใช่ทำเพื่อความสำเร็จตามความคาดหวังของผู้อื่นและสังคมรอบข้าง แล้วคุณจะเข้าใจเป้าหมายชีวิตและการมีความสุขอย่างแท้จริงค่ะ


ใครมีปัญหา ลูกเรียนไม่เก่ง ไม่รู้จะทำอะไรในอนาคต ญาติพี่น้องติดกลุ่มลัทธิ ปัญหาครอบครัว ความสัมพันธ์ การทำงาน ติดโซเชียล ติดเกม panic และ phobia มารับคำปรึกษากับครูเคทได้ที่ KruKate Counseling Center ต้องการนัดคิว โทร. 0814581165 หรือ เข้าไปฝากคำถามและแชร์ประสบการณ์ในแฟนเพจ www.facebook.com/kateinspirer และ YouTube channels: Kate Inspirer ได้นะคะ

เสือ สิงห์ กระทิง ซ่า | นง ทนงค์ศักดิ์และภรรยา | 09 ก.พ. 2561 | Ch3Thailand



  • http://teetwo.blogspot.com/2012/05/blog-post_31.html
  • http://teetwo.blogspot.com/2018/08/05-05-61-ch3thailand.html
  • https://teetwo.blogspot.com/2019/08/15-06-60-ch3thailand.html


  • Nov 9, 2018

    นายพันตรี หลวงโหมหักปัจจนึก (พุ่ม สาราศรัย)

    นามสกุลพระราชทาน




    สงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

    (เหตุเริ่มในปีพ.ศ. 2429 -3 ตุลาคม พ.ศ. 2436)


    วันที่ ๒ ธันวาคม มิงซิเออร์มอง มองซิเออร์ลูเว นำเรือกลไฟมาซี และฮำรอง ไปแวะที่นครจำปาศักดิ์ 
    ขึ้นหาขุนวิชิตชลหาร(ต่อ) ภายหลังเป็นหลวงพลอาศัย ข้าหลวงแจ้งว่าจะมาเยี่ยมเจ้านครจำปาศักดิ์ 
    ครั้นรุ่งขึ้นวันหลัง มองซิเออร์มองและมองซิเออร์ลูเว ได้ไปหาเจ้ายุติธรรมธร เจ้านครจำปาศักดิ์
    พูดจาโดยอ่อนหวานต่างๆ และว่ารัฐบาลฝรั่งเศสจะยอมให้เจ้านครจำปาศักดิ์ มีอำนาจบังคับบัญชาตลอดถึงฝั่งโขงตะวันออก
    เจ้านครจำปาศักดิ์ตอบว่า ฝั่งโขงตะวันออกตกเป็นของฝรั่งเศส ส่วนเจ้านครจำปาศักดิ์เป็นข้าสยาม
    จะยอมรับบังคับมิได้ แล้วมองซิเออร์มอง มองซิเออร์ลูเว ก็ลากลับไป

    วันที่ ๓ ธันวาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร โปรดให้ข้าหลวงภักดีนุชิต
    เป็นพระสุนทรบริรักษ์ ว่าที่ผู้ช่วยเมืองสุรินทร์ และให้ขุนจงราชกิจ ไปเป็นข้าหลวงเมืองร้อยเอ็ด
    วันนี้ พระไชยณรงค์ภักดี(จัน) ปลัดผู้รักษาเมืองสุรินทร์เป็นไข้พิษถึงแก่กรรม

    วันที่ ๙ ธันวาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวกลาง
    ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นข้าหลวงต่างพระองค์มณฑลลาวกาว
    เปลี่ยนพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรนั้น พร้อมด้วยพระอนุรักษ์โยธา(นุช) ๑ 
    หลวงจัตุรงค์โยธา ๑ หลวงพิไชยชำนาญ ๑ หม่อมราชวงศ์ปฐมเลขา ๑ ขุนเวชวิสิฐ(นิ่ม)แพทย์ ๑ 
    ขุนพิไชยชาญยุทธ ๑ นายร้อยโทสอนทำการพลเรือน ๑ นายเลื่อนมหาดเล็ก ๑ 
    นายร้อยเอกหม่อมราชวงศ์ร้าย ๑ นายร้อยโทพลัด ๑ ไปถึงเมืองอุบล

    วันที่ ๑๐ ธันวาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ให้ประชุมข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน
    ฟังกระแสตราพระราชสีห์ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้มอบหน้าที่ราชการมณฑลลาวกาว ถวายพระเจ้าน้องยาเธอ
    กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ และได้ทรงมอบหน้าที่ราชการถวายกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ในวันนั้น

    วันที่ ๑๑ ธันวาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เสด็จออกจากเมืองอุบล
    พร้อมด้วยพระราชวรินทร์(หว่าง) ๑ จมื่นศักดิบริบาล ๑ นายร้อยเอกหลวงพิทักษ์นรินทร์(กอน) ๑
    นายร้อยเอกขุนโหมหักปัจจนึก(พุ่ม) ๑ นายร้อยเอกขุนอธึกยุทธกรรม(ถมยา) ๑
    นายร้อยตรีโชติ ๑ นายร้อยตรีคล้าย ๑ นายร้อยตรีผล ๑ กลับกรุงเทพฯ โดยทางช่องตะโก
    และมณฑลปราจีน

    วันที่ ๑๙ ธันวาคม นายร้อยตรีเราซิง ๑ หลวงจัตุรงค์โยธา ๑ หลวงพิไชยชำนาญ ๑
    จาสสรวิชิต ๑ นายเลื่อนมหาดเล็ก ๑ ออกจากอุบลกลับกรุงเทพฯ

    วันที่ ๓๐ ธันวาคม พระณรงวิชิต(เลื่อน) ออกจากอุบลกลับกรุงเทพฯ

    อนึ่ง เมื่อพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเสด็จกลับกรุงเทพฯ
    ถึงบ้านเพี้ยราม แขวงเมืองสุรินทร์นั้น ได้โปรดให้พระพิไชยนครบวรวุฒิ(จรัญ)
    ยกกระบัตรเมืองสุรินทร์ เป็นผู้ครองเมืองสุรินทร์

    วันที่ ๑๑ มกราคม เป็นวันแรกที่สายโทรเลขเมืองอุบลและระหว่างเมืองขุขันธ์
    ใช้การได้จนตลอดถึงกรุงเทพฯ

    วันที่ ๒๒ มกราคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้า ๑ และช้างเผือกสยามชั้นที่ ๑ มหาวราภรณ์ ๑

    พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ โปรดให้นายร้อยโทสอนไปเป็นข้าหลวงอยู่เมืองยโสธร
    และให้อุปฮาดรับราชการตำแหน่งผู้รักษาเมือง ให้ราชบุตรรับราชการตำแหน่งอุปฮาด
    ให้หลวงศรีวรราชผู้ช่วยพิเศษ รับราชการตำแหน่งราชบุตรเมืองยโสธร

    ในปีนี้ ขุนเทพคชกิรินีหมอ นายเอาะควาญ บ้านดงมันเมืองสุวรรณภูมิ
    คล้องได้ช้างพังสำคัญสูง ๓ ศอก ๖ นิ้วช้าง ๑ ได้โปรดให้ส่งมาเลี้ยงรักษาไว้ ณ เมืองอุบล
    เพื่อได้ส่งกรุงเทพฯ ต่อไป ช้างนี้เป็นช้างเผือกโทส่งมาถึงเมืองนครราชสีมาแล้วเอาขึ้นรถไฟมากรุงเทพฯ
    สมโภชโรงในขึ้นระวางเป็น พระศรีเศวตวรรณิกา


    ตำนานกรมทหารราบที่ ๔

    กรมทหารบกราบที่ ๔ ปรากฎตามตำแหน่งแลนามกรมที่มีมาโดยลำดับ นับว่าเปนกรมที่สืบเนื่องเชื้อสายมาแต่โบราณกาล อุบัติเดิมก็คือกรมทหารที่ได้แต่งตั้งขึ้นตามระเบียบแบบยุทธวิธีอย่างยุโรปเปนเริ่มแรกแต่ครั้งกรุงทวาราวดีศรีอยุธยาโบราณ ตามพระราชพงษาวดารก็ดี ในธรรมเนียบศักดินาทหารเดิมครั้งกรุงเก่าก็ดี ปรากฎมีนามกรมนี้อยู่ว่า "กรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่ง" ซึ่งพระพิพิธเดชะเปนเจ้ากรมนั้น กรมนี้ย่อมมีอยู่แล้วหลายชั่วรัชกาล ในกรุงเก่าแต่เมื่อสมัยแรกมีชาวโปรตุเกตเข้ามาเปนครูทหารเปนเดิมมา แลไม่ต้องมีความสงไสยว่าในแผ่นดินสมเด็จพระนารายน์มหาราชเจ้า กรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่งนี้จะไม่ได้มีอยู่แลไม่รุ่งเรืองยิ่ง เหตุว่าในรัชกาลนั้นมีนายทหารฝรั่งเศสได้เข้ามาเปนครูทหารอยู่เปนอันมาก เมื่อพ้นสมัยวิไชเยนทร์แล้ว ต่อมาในรัชกาลกรุงเก่าชั้นหลังๆ ความเปนไปของกรมนี้น่าจะเปลี่ยนแปลงเสื่อมทรามไปตามสมัย ถึงอย่างไรๆ ก็ดีนามกรมนี้ยังคงปรากฎแลมีนามอยู่ตามเดิม เมื่อยังคงมีนามอยู่เช่นนั้น ก็ต้องเข้าใจว่ายังเปนกรมทหารกรมหนึ่ง ซึ่งมีระเบียบยุทธวิธีอย่างยุโรปสืบเชื้อสายกรมเดิมที่เปนมาแล้วแต่กาลก่อน แม้จะลดหย่อนด้วยระเบียบแบบแผนเดิมไปประการใดก็ดี นามกรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่งนี้ยังคงมีอยู่จนตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยาโบราณ แต่เปนธรรมดาอยู่เองเมื่อกรุงเก่าถึงซึ่งพินาศลง กรมทหารนี้ก็คงต้องเสื่อมสูญระงับไปชั่วคราว ครั้นถึงสมัยตั้งกรุงธนบุรีแล้ว กรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่งนี้ก็ได้ตั้งขึ้นอิก เมื่อนามเช่นนี้ยังคงเดิมอยู่ ก็ต้องเปนกรมทหารที่ได้มีระเบียบยุทธวิธีอย่างยุโรปเช่นเคยมีมาแต่ครั้งกรุงเก่า แต่ย่อมต่างรูปต่างวิธีตามที่จะหาครูบาอาจารย์ได้ในสมัยนั้น อย่างไรๆ ก็ดีกรมทหารอย่างยุโรปคงมีอยู่ในรัชกาลกรุงธนบุรีนั้นแล้วเปนแน่ เช่นปรากฎชัดว่ามีฝรั่งรับราชการที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์แลในการเกณฑ์ทัพหรือแห่แหนในสมัยนั้นกล่าวว่า "ให้เกณฑ์ทหารใส่เสื้อเกราะแลหมวกถือปืน" ดังนี้เปนต้น ทหารเช่นนี้ตามซึ่งเข้าใจว่าเปนกรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่งนั้น ได้มีติดต่อตลอดมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ แต่ระเบียบความเปนไปย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาล เหตุว่าในรัชกาลกรุงธนบุรีก็ดี ในรัชกาลกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นก่อนๆ ก็ดี เปนสมัยเกี่ยวพันธ์กระชั้นชิดอยู่ในการสงคราม ย่อมเปนการยากที่จะหาเวลาแลครูบาอาจารย์จัดการบำรุงกรมทหารตามยุทธวิธีอย่างใหม่ให้รุ่งเรืองยิ่งขึ้นได้ ต้องอาศรัยใช้กำลังทหารตามยุทธวิธีอย่างเก่าอยู่เปนหลัก ความเปนไปของกรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่งนั้น จึงมีระเบียบแบบแผนเก่าใหม่ปะปนระคนกันไปจนเสื่อมทรามสืบต่อมาตามลำดับ ภายหลังนับว่ากรมนี้กลายเปนกรมทหารอย่างเก่าไปกรมหนึ่ง จะมีเชื้อสายเหลืออยู่ก็แต่เวลาเข้ากระบวนแห่แหนยังแต่งตัวอยู่เปนอย่างฝรั่งต่อมา ครั้งถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระพุทธศักราช ๒๓๗๔ มีนายทหารบกนอกราชการของอังกฤษที่อินเดียผู้หนึ่งชื่อนอกส์มียศเปนนายร้อยเอกซึ่งเรียกกันในเวลานั้นว่ากับตันนอกส์ (กับตันนอกส์ผู้นี้ ภายหลังได้เปนเอเยนต์แลกงซุลเยเนราลอังกฤษประจำกรุงสยาม แลเมื่อกลับออกไปบ้านเมืองแล้วได้เปนขุนนางอังกฤษมีบรรดาศักดิ์เปนเซอร์คือ เซอร์ ทอมัส ยอช นอกส์ นั้น) กับตันนอกส์เข้ามาทางพระเจดีย์สามองค์แลเมืองกาญจนบุรีถึงกรุงเทพฯ เพื่อจะหาการทำ กระทรวงกะลาโหมนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดว่าเปนนายทหาร จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ คือ ภายหลังได้เปนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงษ์ในรัชกาลที่ ๕ นั้น รับรองเลี้ยงดูไว้เพื่อจะได้เปนครูฝึกหัดทหาร ขณะนั้นเปนเวลาทรงพระราชดำริห์ที่จะจัดการกรมทหารอย่างยุโรปให้รุ่งเรืองยิ่งขึ้น จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สั่งเจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกระลาโหม คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงษ์ ในรัชกาลที่ ๔ นั้น เก็บบุตร์หมู่รามัญเมืองนครเขื่อนขันธ์ เมืองประทุมธานี มาฝึกหัดเปนทหารซีป่ายเช่นอย่างที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์, คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว, ได้ทรงจัดบุตร์หมู่ญวนฝึกหัดเปนทหารซีป่ายไว้บ้างแล้วนั้น (ในที่นี้ขออธิบายว่า คำซีป่ายนี้มาแต่ชื่อทหารชาวอินเดียเรียกว่า "สิปาหิ" อังกฤษซึ่งเปนเจ้าของเรียกว่า "เซปอย" เมื่อรัชกาลที่ ๒ รัฐบาลอินเดียแต่งให้ข้าราชการอังกฤษชื่อ ครอฟอร์ด ซึ่งเรียกกันว่า การะฝัด เข้ามาขอทำสัญญา ในหมู่เครื่องราชบรรณาการที่ส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายนั้น มีเครื่องแต่งตัวทหารอย่างซีป่ายด้วย ๑๒ สำรับ เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศทรงจัดญวนเปนทหาร ได้เอาอย่างเครื่องแต่งตัวซีป่าบรรณาการนั้นมาใช้ จึงเรียกร้องกันว่าทหารซีป่าย แต่ทหารญวนพวกนี้ไม่เกี่ยวแก่ตำนานกรมทหารบกราบที่ ๔ เพราะมีตำแหน่งแลน่าที่ลักษณวิชาอาการเปนเหล่าทหารปืนใหญ่แพนกหนึ่งต่างหาก) ส่วนบุตร์หมู่รามัญที่กล่าวแล้วนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ซึ่งได้เลื่อนที่ขึ้นเปนพระยาศรีสุริวงษ์จางวางมหาดเล็ก ควบคุมบังคับบัญชาจัดขึ้นเปนทหารอีกพวกหนึ่งแต่งตัวอย่างซีป่ายเรียกว่า "ทหารอย่างยุโรป" ให้กับตันนอกส์เปนครูฝึกหัดชนิดทหารราบ มีระเบียบยุทธวิธีแลคำบอกทหารอย่างอังกฤษมีพลทหารที่ฝึกหัดประจำการประมาณ ๑๐๐๐ เศษ แบ่งเปน ๔ ผลัดเข้าเดือน ๑ ออก ๓ เดือน โรงทหารตั้งอยุ่ที่บ้านพระยาศรีสุริยวงษ์ณฝั่งแม่น้ำฟากตวันตก มีสนามฝึกหัดอยู่ข้างวัดบุบผาราม กองทหารอย่างยุโรปที่ได้ตั้งขึ้นใหม่นี้ นับว่าเปนกรมที่มีตำแหน่งแลน่าที่แทนกรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่งเดิมที่เสื่อมทรามไปนั้น
    ครั้นถึงปี ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๔ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสุริยวงษ์ผู้บัญชาการทหารอย่างยุโรปนั้นเปนเจ้าพระยาที่สมุหพระกระลาโหม แลให้ข้ามฟากมาอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ซึ่งบัดนี้เปนหมู่ตึกแถวริมถนนเยาวราชแลคลองโอ่งอ่างฝั่งตวันออก กองทหารนั้นจึงได้ย้ายมาตั้งอยู่ณที่นั้น แลได้ปลูกโรงทหารแลทำสนามฝึกหัดใหญ่โตขึ้นมาก ลำดับนั้นโปรดเกล้าฯ ให้จัดเลขหมู่ลาวแลเขมรในในกระทรวงกะลาโหม แลเลขหมู่ลาวกรุงในกระทรวงมหาดไทย มาเพิ่มเติมเปนทหารฝึกหัดยุทธวิธีอย่างยุโรปขึ้นอีก ๒ พวก อยู่ในความบังคับบัญชาเจ้าพระยาศรีสุริยวงษ์ ต่อมาจนถึงปี ๒๓๙๘ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงษ์เธอ (ชั้น ๒) กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์ ซึ่งในเวลานั้นดำรงพระยศเปนพระเจ้าพี่ยาเธอทรงบังคับบัญชา แลให้ย้ายกองทหารอย่างยุโรปทั้ง ๓ พวกนั้นมาตั้งอยู่ ณ ท้องสนามไชย อันต่อมาได้มีโรงทหารเปนตึกแถวเรียงรายติดต่อกันขึ้นหลายหลัง แลได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดขุนหมื่นสิบยกในกรมต่างๆ สิบชักหนึ่งคนมาเปนทหารอิกพวกหนึ่งเรียกว่ากองเกณฑ์หัด รวมเปนทหารอย่างยุโรปมีขึ้นในครั้งนั้น ๔ กอง เรียกว่ากองทหารอย่างยุโรป (เดิม) ๑ กองทหารมหาดไทย ๑ กองทหารกระลาโหม ๑ กองทหารเกณฑ์หัด ๑ รวม ๔ กอง เปนกรมตรงกับนามกรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่งนั้นเอง แต่เรียกว่า "กรมทหารน่า" คำว่าทหารน่ามาแต่สำหรับแห่นำกระบวนเสด็จอยู่ข้างน่า แลอิกนัยหนึ่งเปนกรมทหารนอกจากกรมทหารรักษาพระองค์ที่มีน่าที่ต้องไปกระทำราชการก่อน ครั้นถึงปี ๒๔๐๕ โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงษ์เธอ (ชั้น ๒) กรมขุนวรจักรธรานุภาพ แต่เมื่อยังเปนพระเจ้าน้องยาเธอ ทรงบังคับบัญชากรมนี้ ต่อมาได้ปี ๑ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาอัพภันตริกามารย์ (ดิศ) แต่เมื่อยังเปนพระยาบำเรอภักดิ์เปนผู้บัญชาการ ประมาณกึ่งปีก็เปลี่ยนเปนพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ คือเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงภายหลังนั้น ลำดับนี้ได้เปลี่ยนกระบวนยุทธวิธีแลคำบอกทหารเปนแบบฝรั่งเศสชั่วคราว เหตุว่ามีครูทหารใหม่เปนชาติฝรั่งเศสชื่อละมาช ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้เปนหลวงอุปเทศทวยหาญนั้นมาฝึกหัดจัดการ แต่ไม่ช้านานนักก็กลับเปลี่ยนเปนแบบอังกฤษอิก เพราะมีเหตุหลวงอุปเทศต้องออกจากราชการ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหมื่นไวยวรนารถ คือเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์เปนผู้บัญชาการ ได้ใช้นายทหารในกรมทหารน่า ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่านายดาบอันได้รับวิชาความรู้อย่างอังกฤษแต่เดิมเปนครูทหาร เจ้าหมื่นไวยวรนารถได้เปนพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์บังคับบัญชาต่อมาจนถึงสิ้นรัชกาลที่ ๔
    ครั้นถึงปี ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๕ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์เปนเจ้าพระยาที่สมุหพระกระลาโหม แต่ยังคงได้บังคับบัญชากรมทหารน่านี้อยู่ แลได้เปนผู้จัดการบำรุงกรมทหารนี้ให้รุ่งเรืองยิ่งขึ้นด้วยกำลังแลวิชา มีความอุสาหะจัดหาครูบาอาจารย์มาวงแบบแผนแลฝึกหัดยุทธวิธีเพิ่มเติม ถึงได้มีการประชุมพลสวนสนามแลประลองยุทธ์ถวายทอดพระเนตร์น่าท้องสนามไชยอยู่เนืองๆ ครั้นถึงปี ๒๔๑๔ ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า กรมทหารน่ามีความเจริญรุ่งเรืองเปนหลักฐานแล้ว สมควรที่จะให้มีตำแหน่งนายทหารประจำกรมสมตามแบบแผนกองทหาร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพิไชยสงคราม (อ่ำ) แต่เมื่อยังเปนพระอินทรเทพเปนผู้บังคับการ ในชั้นแรกมีนายทหารสัญญาบัตรขึ้นบ้างตามสมควร นอกนั้นเปนนายทหารที่เรียกว่านายดาบเช่นแต่เดิมมา แลโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารรักษาพระองค์คือกรมทหารบกราบที่ ๒ บัดนี้ แลกรมทหารล้อมวัง คือกรมทหารบกราบที่ ๑๑ บัดนี้ เข้าสมทบกรมทหารน่าอยู่ในความบังคับบัญชาอันเดียวกัน แม้แต่กรมทหารฝีพายคือกรมทหารบกราบที่ ๓ บัดนี้ก็นับเนื่องเกี่ยวพันธ์อยู่เหมือนกัน เหตุว่าพระอินทรเทพเวลานั้นก็ได้เปนผู้บังคับบัญชากรมฝีพายอยู่ด้วย ภายหลังกรมทหารน่าได้จัดตั้งกองทหารม้าขึ้นอิกกองหนึ่งเมื่อปี ๒๔๑๕ เพราะฉนั้นในสมัยนี้กรมนี้จึงนับว่าคล้ายคลึงดุจกองพลหรือกองทัพอันหนึ่ง ครั้นถึงปี ๒๔๑๗ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งแต่งนายทหารสัญญาบัตรบังคับกองแลกระทำการกองขึ้นเปนอัตรา มียศแลตำแหน่งทหารเรียกตามแบบอังกฤษ แลเปลี่ยนแปลงเครื่องอาวุธยุทธาภรณ์หลายอย่าง การปกครองแลรูปการของกองทหารเรียบร้อยขึ้นตามลำดับ ในสมัยนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช แต่เมื่อยังดำรงพระอิศริยยศเปนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ รับพระเกียรติศักดิ์เปนนายทหารพิเศษ แต่งเครื่องยศนายพันเอก ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า "ออเนอรารี คอลอเนล" นั้น, สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์นั้นได้ทรงเกี่ยวข้องแก่กรมทหารน่านั้น เปนเริ่มต้นมาแต่ปี ๒๔๒๑ ส่วนผู้บังคับการกรม คือ พระยาพิไชยสงคราม (อ่ำ) นั้นเรียกว่า "คอลอเนล อิน ชิฟ"
    ครั้นถึงปี ๒๔๒๓ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานรรัตนราชมานิตแต่เมื่อยังเปนพระยา เปนผู้บังคับการมาได้ปี ๑ เปลี่ยนเปนนายพลโทเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีแต่เมื่อยังเปนเจ้าหมื่นไวยวรนารถ มียศเรียกว่า "คอลอเนล" คือนายพันเอกนั้น ในปี ๒๔๒๔ นี้ ระเบียบการปกครองในกรมทหารน่าดีขึ้น แลตั้งอยู่ในความเจริญรุ่งเรืองทั้งกำลังแลวิชา เพราะเหตุว่าได้รับพระบรมราชูประถัมภ์แลความสามารถของผู้บังคับการ ได้เริ่มสร้างโรงทหารน่าขึ้นเปนตึกใหญ่ ซึ่งภายหลังปรากฎนามว่าศาลายุทธนาธิการแลที่เปนศาลากระทรวงกระลาโหมอยู่บัดนี้ ในสมัยนี้ถึงแม้ว่าได้โปรดเกล้าฯ ให้แยกกรมทหารรักษาพระองค์ กรมทหารล้อมวัง แลกรมทหารฝีพายออกจากความบังคับบัญชากรมทหารน่าไปเปนกรมอิศระมีผู้บังคับการเฉภาะกรมหนึ่งๆ แล้วนั้นก็ดี ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารน่ารับเลขไพร่หลวงแลบุตรหมู่ไม่ว่าหมู่ใดกระทรวงใดที่สมัครเข้ามาเปนทหารในกรมนี้ มีกำหนด ๕ ปีพ้นน่าที่ประจำการ มีคนสมัคเข้ารับราชการเพิ่มขึ้นเปนอันมาก มีพวกลาวทรงดำเมืองเพ็ชร์บุรีเปนต้น พวกนี้เรียกว่า "กองทหารสมัค" มีหลายกอง รวมทั้งกองทหารที่มีอยู่แต่เดิมด้วย จึงยังจัดตั้งเปนกองทหารได้หลายกองพันมีกำลังไม่ลดถอย ทั้งมีทหารม้าเดิมซึ่งได้จัดการเปนกองใหญ่ขึ้น แลแยกจัดเปนกองดับเพลิงอิกแพนก ๑ แลเพิ่มกองทหารช่างขึ้นด้วย กรมนี้ก็นับว่าเปนกรมทหารใหญ่กรมหนึ่งทำนองอย่างกองผสม ส่วนระเบียบยุทธวิธีก็เปลี่ยนแปลงหลายอย่าง มีชาวต่างประเทศเปนครูทหารหลายชาติมีชาวอิตาเลียนเปนต้น เครื่องอาวุธยุทธาภรณ์ก็เปลี่ยนแปลงใหม่เปนลำดับตลอดมา ปี ๒๔๒๘ เจ้าหมื่นไวยวรนารถเปนแม่ทัพไปปราบปรามพวกฮ่อ โปรดเกล้าฯ ให้นายบุษย์แต่เมื่อเปนหลวงสิทธิ์นายเวรมหาดเล็กเปนผู้บังคับการแทน
    ครั้นถึงปี ๒๔๓๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น สำหรับบังคับบัญชากรมทหารอย่างใหม่ทั่วไป พระบรมวงษานุวงษ์ข้าราชการที่สำคัญๆ อันเปนผู้บังคับการกรมทหารต่างๆ อยู่ในเวลานั้น ได้รวมมารับราชการตำแหน่งใหญ่ในกรมยุทธนาธิการ เจ้าหมื่นไวยวรนารถซึ่งได้เปนพระยาสุรศักดิ์มนตรีขึ้นแล้วในเวลานั้นก็ได้เปนเช่นนั้นด้วยผู้หนึ่ง ลำดับนั้นกรมยุทธนาธิการได้จัดการเปลี่ยนแปลงแบบแผนหลายอย่าง เปนต้นว่าตัดเติมอัตรากองทหารแลเปลี่ยนยศตำแหน่งตลอดจนคำบอกทหารเปนภาษาไทย แลแก้ไขระเบียบยุทธวิธีใหม่ในกองทหารให้เหมือนกันทั่วไป สมัยนี้กรมทหารน่าจึงเปนกองพันทหารราบกองหนึ่งเรียกว่า "กองทหารน่า" หลวงสิทธิ์นายเวร ได้เปนผู้บังคับการ ต่อมาจนถึงปี ๒๔๓๑ เปลี่ยนเปนนายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ แต่เมื่อยังเปนพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่น ถึงปี ๒๔๓๓ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม) แต่เมื่อยังไม่ได้เปนพระยา ปี ๒๔๓๕ นายพลโท พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช แต่เมื่อยังเปนพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่น ในลำดับนี้จนถึงปี ๒๔๓๖ มีเหตุขับขันที่ต้องส่งทหารในกรมนี้แยกย้ายเข้ากองทัพแลกองทหารพิเศษต่างๆ ไปกระทำสงครามแลรักษาพระราชอาณาเขตรหลายตำบล จนไม่สามารถจะมีทหารตั้งอยู่เปนกองใหญ่ได้ เหตุว่าในสมัยนั้นยังเกณฑ์คนเปนทหารได้แต่เฉภาะหมู่ เฉภาะกรม ทั้งเปนพวกทหารสมัคเสียโดยมาก เมื่อเสร็จราชการแล้วก็ต้องปลดปล่อยจากราชการประจำตามประกาศ ส่วนคนหมู่เดิมก็ร่วงโรยบอบช้ำจำเปนต้องทอดให้พักผ่อนชั่วคราว คงจัดให้มีแต่กองทหารน้อยตั้งประจำการอยู่ ณ เมืองราชบุรีกอง ๑ มีนายทหารผู้น้อยบังคับการอยู่เรียกว่า "กองทหารมณฑลราชบุรี"
    ครั้นถึงปี ๒๔๔๐ ได้รวบรวมผู้คนจัดเปนกองพันขึ้นอีกตั้งอยู่ณศาลายุทธนาธิการตามเดิม ส่วนกองทหารที่เมืองราชบุรีก็คงยังมีอยู่ด้วยสมัยนี้นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม) แต่เมื่อยังเปนนายพันโท แลเปนผู้ที่มีความอุสาหะรวบรวมผู้คนในชั้นหลังนี้เปนผู้บังคับการได้ปี ๑ ถึงปี ๒๔๔๑ โปรดเกล้าฯ ให้นายพลโท พระยาพหลโยธิน (นพ พหลโยธิน) แต่เมื่อยังเปนนายร้อยเอก หลวงศิลปสารสราวุธเปนผู้บังคับการ ปี ๒๔๔๒ เปลี่ยนเรียกนามกองทหารเปนกรมโดยลำดับเลขทั่วไป กองทหารน่าได้นามว่า "กรมทหารบกราบที่ ๔" ถึงปี ๒๔๔๔ ยกกรมนี้จากศาลายุทธนาธิการไปตั้งอยู่ณโรงทหารสวนดุสิต ประจำรักษาราชการแทนกองทหารรักษาพระองค์ ซึ่งได้เปลี่ยนนามเปนกรมทหารบกราบที่ ๒ นั้น ในปีเดียวกันนี้เปนสมัยแรกตั้งกองพลประจำมณฑลต่างๆ โปรดเกล้าฯ ให้หลวงศิลปสารสราวุธ (นพ พหลโยธิน) ซึ่งได้เปนนายพันตรี พระศรีณรงค์วิไชยขึ้นแล้วนั้น เปนผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๔ มีกรมทหารบกราบที่ ๔ ตั้งอยู่เปนหลักของกองพลนี้ อันได้มีศักดิเปนกองพลอิศระสืบมา ส่วนกรมทหารบกราบที่ ๔ นายพันตรี พระศรีณรงค์วิไชยก็ยังเปนผู้บังคับการอยู่ด้วย ถึงปี ๒๔๔๕ นายพันตรี หลวงโหมหักปัจจนึก (พุ่ม) เปนผู้บังคับการ ในปีเดียวกันเปลี่ยนเปนนายพันเอก พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ แต่เมื่อเปนนายพันโท พระองค์เจ้ากาญจโนภาศรัศมี สมัยนี้กรมบัญชาการกองพลทหารบกที่ ๔ ยังตั้งอยู่ณโรงทหารกรมทหารบกราบที่ ๔ ที่สวนดุสิต เปนแต่จัดแบ่งกองทหารในกรมนี้มาตั้งประจำอยู่ณเมืองราชบุรีติดต่อกับกองทหารเดิมที่มีอยู่แล้วณที่นี้ให้มากขึ้น ครั้นถึงปี ๒๔๔๖ กรมบัญชาการกองพลทหารบกที่ ๔ แลกรมทหารบกราบที่ ๔ ได้ยกจากสวนดุสิตออกมาตั้งอยู่ณเมืองราชบุรี มีโรงทหารใหญ่โตตามแบบใหม่ ตั้งอยู่ในกำแพงเมืองฟากแม่น้ำฝั่งตวันออกดังเช่นเปนอยู่บัดนี้ ในปี ๒๔๔๖ นี้ นายพลโท พระยาเทพอรชุณ (อุ่ม อินทรโยธิน) แต่เมื่อเปนนายพันตรี หลวงสรสิทธยานุการเปนผู้บังคับการ แลเปลี่ยนกันต่อมาตามลำดับ คือในปลายปีนั้นนายพันเอก พระยาวิเศษสิงหนาท (ยิ่ง จุลานนท์) แต่เมื่อเปนนายพันตรี หลวงรัดรณยุทธ ปี ๒๔๔๘ นายพันโท พระสรวิเศษเดชาวุธ (หม่อมราชวงษ์วิง) แต่เมื่อยังเปนหลวงแลนายพันตรี ปี ๒๔๕๑ นายพันโท พระศักดิเสนี (หม่อมหลวงอุดมเสนีวงศ์) ปี ๒๔๕๓ นายพันตรีหลวงรามเดชะ (ตาด สุวรรณวาสี) ปี ๒๔๕๕ นายพันตรี หลวงเสนีพิทักษ์ (สาย บุณยรัตพันธ์) แต่เมื่อยังเปนนายร้อยเอกขุนศัสตรยุทธพิไชย (เปนผู้รั้ง) ในปีเดียวกัน นายพันตรี หลวงโจมจัตุรงค์ (นาก) ปี ๒๔๕๗ นายพันโท หลวงไกรกรีธา (ปลั่ง วิภาตะโยธิน) แต่เมื่อยังเปนนายพันตรี ขุนแผลงผลาญ ปี ๒๔๕๘ นายพันโท พระมหาณรงค์เรืองเดช (แปลก จุลกัณห์) แต่เมื่อยังเปนนายร้อยเอก หลวงกำแหงรณรงค์ เปนผู้รั้งแล้วได้เปนผู้บังคับการต่อมาจนถึงบัดนี้ อนึ่งในปี ๒๔๕๔ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงษานุวงษ์ที่เปนทหารดำรงตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษกรมทหารต่างๆ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดชได้รับตำแหน่งเปนผู้บังคับการพิเศษกรมทหารบกราบที่ ๔ นี้ เพราะเหตุที่ได้เกี่ยวข้องมียศเปนนายทหารพิเศษในกรมนี้มาแต่กาลก่อน ความเปนไปของกรมนี้แม้จะมีเวลายิ่งแลหย่อนอย่างไรก็ดี ก็ควรน่าพิศวง ทั้งมีพระบรมวงษานุวงษ์ข้าราชการที่สำคัญๆ ได้เกี่ยวข้องอยู่ก็มาก เมื่อได้พิจารณาโดยเลอียดแล้วก็จะเห็นได้ว่าเปนกรมทหารสำคัญกรมหนึ่ง
    เมื่อว่าถึงฐานะแห่งกองพลทหารบกที่ ๔ ซึ่งภายหลังกรมทหารบกราบที่ ๔ ได้สังกัดอยู่นั้น เดิมเปนกองพลอิศระ ต่อมาเมื่อปี ๒๔๕๖ ยกไปรวมอยู่ในความบังคับบัญชากองทัพน้อยทหารบกที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลโท พระยาพหลโยธิน (นพ พหลโยธิน) ซึ่งในขณะนั้นเปนนายพลตรี พระยาพหลพลพยุหเสนาผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๔ ไปเปนสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสิมา เปลี่ยนนามบรรดาศักดิ์เปนพระยากำแหงสงคราม โปรดเกล้าฯ ให้นายพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช แต่เมื่อยังเปนนายพลตรีและกรมหมื่นอยู่นั้น ไปเปนผู้บัญชาการแทนพระยาพหลพลพยุหเสนาอยู่ชั่วคราว แล้วกลับมาเปนผู้บัญชาการกรมพระคชบาล โปรดเกล้าฯ ให้นายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ (ผาด เทพหัสดิน ณ กรุงเทพ) ไปเปนผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๔ กลับฐานะเปนกองพลอิศระต่อไปตามเดิมในปีเดียวกันนั้น ครั้นถึงปี ๒๔๖๐ พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ต้องออกไปกระทำการติดต่อกับราชสัมพันธมิตรร่วมศึกในทวีปยุโรปชั่วคราว โปรดเกล้าฯ ให้นายพลตรี พระยาอมรวิสัยสรเดช (พิน โรหิตะพินทุ) แต่เมื่อยังเปนนายพันเอกไปทำการแทน, ถึงปี ๒๔๖๒ พระยาพิไชยชาญฤทธิ์กลับเข้ามารับราชการตามตำแหน่งเดิม ในปีเดียวกันนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเปนสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์อีกเล่า โปรดเกล้าฯ ให้นายพลตรี หม่อมเจ้าทศศิริวงศ์เปนผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๔ สืบมาจนถึงบัดนี้
    เมื่อจะกลับกล่าวถึงตำแหน่งแลน่าที่ของกรมทหารบกราบที่ ๔ นี้ที่มีมาแต่ก่อนแล้วตามลำดับ ก็นับว่าเปนกรมทหารกรมหนึ่งซึ่งได้กระทำความดีมีประโยชน์ในราชการแผ่นดินอยู่มากหลาย ตั้งแต่สมัยกรุงทวาราวดีแลกรุงธนบุรีตลอดถึงกรุงรัตนโกสินทรในชั้นต้น นอกจากน่าที่สำหรับฝึกหัดยุทธวิธีอย่างยุโรปตามนามกรมซึ่งปรากฎเดิมว่ากรมเกณฑ์หัดอย่างฝรั่งนั้นแล้ว เมื่อเวลามีสงครามคราวใด ก็ไม่เปนที่สงไสยเลยว่าจะไม่ต้องไปสู่ที่สนามรบ เมื่อเวลาสงบศึกก็ย่อมรักษาสถานที่ราชการต่างๆ ตลอดจนเข้ากระบวนแห่แหนทุกอย่างไป ถึงได้เปลี่ยนรูปแลนามกรมในรัชกาลหลังๆ ต่อมาแล้ว ตำแหน่งแลน่าที่ก็มีอยู่เช่นเดิม บรรดากรมทหารอย่างใหม่ทั้งหลาย ไม่มีกรมใดที่จะได้ไปกระทำราชการขับขันแลสู่สนามรบมากยิ่งกว่ากรมทหารบกราบที่ ๔ นี้ ตามที่จะกล่าวให้ชัดเจนได้ในชั้นหลังๆ ดังต่อไปนี้
    ๑) เมื่อปี ๒๓๙๕ ได้เข้ากระบวนทัพไปกับพระเจ้าบรมวงษ์เธอ (ชั้น ๒) กรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่เมื่อยังเปนพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๔ ในราชการศึกณเมืองเชียงตุง ถึงแม้แต่ในเวลานั้นยังเปนกรมพึ่งก่อร่างสร้างตัวแรกฝึกหัดอันยังไม่ได้จัดระเบียบมุลนายได้ควบคุมกันเปนหลักฐานก็ดี ก็ได้เริ่มต้นไปราชการสงคราม มีแต่นายดาบบังคับการไปกับกับตันนอกส์ผู้เปนครูกำกับไปด้วย
    ๒) เมื่อปี ๒๔๑๕ ได้เข้ากระบวนทัพไปกับพระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ (เสือ) ซึ่งเปนกองน่า เจ้าพระยามุขมนตรี (เกด) เปนแม่ทัพ, ปราบปรามจลาจลแลจัดราชการหัวเมืองเขมรในพระราชอาณาเขตร
    ๓) เมื่อปี ๒๔๑๘ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม) แต่เมื่อยังเปนเมเยอร์ หลวงทวยหาญรักษาคุมกองทหารเข้ากองทัพเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรงไปปราบปรามพวกฮ่อณเมืองหนองคาย เมื่อแม่ทัพกลับกรุงเทพฯแล้วได้เข้ากองทัพพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ต่อไป
    ๔) เมื่อปี ๒๔๒๖ กับตันขุนรุดรณไชยคุมกองทหารเข้ากองทัพเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (เวก) แต่เมื่อยังเปนพระยาราชวรานุกูลไปปราบปรามพวกฮ่อณทุ่งเชียงคำ
    ๕) เมื่อปี ๒๔๒๘ เข้ากระบวนทัพนายพลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี แต่เมื่อยังเปนคอลอเนลเจ้าหมื่นไวยวรนารถ ไปปราบปรามพวกฮ่อณแขวงหัวพันห้าทั้งหกแลสิบสองจุไทย
    ๖) เมื่อปี ๒๔๓๐ เข้ากระบวนทัพนายพลโท เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี แต่เมื่อยังเปนพระยาแลนายพลตรีไปปราบปรามพวกฮ่ออิกครั้งหนึ่ง, กองทัพได้ตั้งรักษาการอยู่ณเมืองหลวงพระบางราชธานี แลเขตรแขวงในมณฑลนั้นประมาณ ๒ ปี พระยาสุรศักดิ์แม่ทัพกลับกรุงเทพฯ แล้ว นายพลตรี พระยาฤทธิรงค์รณเฉท แต่เมื่อยังเปนนายพันเอกพระพลัษฎานุรักษ์บังคับการกองทัพต่อมารวมประมาณ ๗ ปี จึงได้กลับกรุงเทพฯ
    ๗) เมื่อปี ๒๔๔๕ นายพันตรีหลวงประจันสิทธิการ (จำปา) คุมกองทหารเข้ากระบวนทัพพร้อมด้วยกองทหารกรมอื่นๆ ซึ่งนายพลโทเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เปนแม่ทัพไปปราบปรามพวกเงี้ยวณมณฑลพายัพจนเสร็จราชการ
    ๘) เมื่อปี ๒๔๖๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกระลาโหมจัดกองทหารอาสาสมัคออกไปในงานมหาสงครามณทวีปยุโรป, นอกจากนายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ (ผาด เทพหัสดิน ณ กรุงเทพ) ซึ่งเปนผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๔ อยู่ในขณะนั้น ได้ออกไปเปนหัวน่ากองทูตทหารทำการติดต่อกับราชสัมพันธมิตรร่วมศึกนั้นแล้ว, มีจำนวนนายและพลทหารในกรมทหารบกราบที่ ๔ ได้เข้ากองทหารอาสาสมัคออกไปรับราชการสงครามเปนเกียรติยศสำหรับกองของตนด้วย
    ตามที่ยกขึ้นกล่าวนี้เฉภาะแต่คราวที่สำคัญๆ อันเกี่ยวด้วยการทัพศึก นอกจากนี้ทหารกรมนี้ต้องเข้าผสมกองทหารพิเศษไปราชการต่างๆ ก็มีอีกเปนหลายคราว ทั้งที่ได้แต่งแต่กองน้อยๆ ไปปราบปรามพวกเหล่าร้ายที่กำเริบต่างๆ ก็มีอีกมาก เช่นปราบปรามอั้งยี่ณมณฑลนครไชยศรีแลราชบุรี แลในกรุงเทพฯ เมื่อปี ๒๔๓๒ เปนต้น บางสมัยต้องไปเปนกำลังระงับจับโจรผู้ร้ายณหัวเมืองมณฑลต่างๆ เช่นในมณฑลปราจิณที่เมืองชลบุรีเปนต้น อนึ่งเมื่อสมัยยังไม่มีกองตำรวจภูธรแลยังไม่ได้ตั้งกองพลประจำมณฑลต่างๆ อย่างเช่นทุกวันนี้ กรมทหารบกราบที่ ๔ ได้มีน่าที่ไปกระทำการแทน ถึงต้องแต่งทหารเปนกองน้อยๆ แยกย้ายไปประจำอยู่ณหัวเมืองก็หลายมณฑล ใช่แต่เฉภาะในหัวเมือง แม้แต่ในกรุงเทพฯ พระมหานคร กรมทหารบกราบที่ ๔ ก็เคยมีน่าที่จัดพลทหารออกรักษาการพระนครแทนพลตระเวน ซึ่งแต่ก่อนยังเรียกว่าโปลิศก็คราวหนึ่งในระวางปี ๒๔๒๓ นั้น ,ยังน่าที่อื่นๆ เช่นแห่แหนมาแล้วหลายรัชสมัย บรรพบุรุษในกรมของเราได้กระทำความดีแลเคยมีความเหนื่อยยากกรากกรำมาปานใด เราทั้งหลายต้องตั้งใจกระทำราชกิจติดต่อมิให้เสื่อมทรามแลเสียนามของกรมที่ได้มีความดีมาแล้ว แลที่ได้มีธงไชยอันควรเชิดชูอยู่ คือในหมู่ธงอย่างใหม่ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งกรมทหารราบทั้งหลายได้รับพระราชทานครั้งแรกเมื่อปี ๒๔๓๕ ธงไชยกรมทหารบกราบที่ ๔ ก็เปนธงเดียวที่ได้เคยปลิวไปสู่สนามรบ แลได้จับธงของข้าศึกอันเปนเชลยมาได้ไว้เปนพยานอยู่ก็มีมาก เราต้องรักษานิติของกรมแลกระทำน่าที่อันพึงมีพึงเปนโดยแขงแรง เพื่อเชิดชูเกียรติศักดิ์ของกรมไว้, เมื่อมีความย่นย่อท้อใจหรือหวาดเสียวประการใด ก็จงแลดูชายธงไชยของกรมอันได้มีความศักดิ์สิทธิ์มาแล้วเปนเครื่องหมายยึดมั่นนำใจให้ระลึกถึงพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่นกระแสรับสั่งของพระอินทร์ที่ปรากฎในธชัคคสูตรว่า
    "มเมว ตัส๎มึ สมเย ธชัค์คํ อุล์โลเกย์ยาถ มมํ หิโว ธชัค์คํ อุล์โลกยตํ ยัม์ภวิส์สติ ภยํ วา ฉัม์ภิตัต์ตํ วา โลมหํโส วา โส ปหิยิส์สติ"
    แปลตรงตามศัพท์ภาษามคธมีความว่า
    "ในการนั้นท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเรานั่นเทียวเพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันจักมี อันนั้นจักหายไป" ดังนี้

    ตามคำพระบาฬีที่อ้างมาแล้ว ขอความสวัสดีมีไชยจงมีแก่กรมทหารบกราบที่ ๔ ทุกเมื่อเทอญ.
    https://th.wikisource.org



    ร.ศ. ๑๑๒ 


    คงได้เคยอ่านและเคยซาบซึ้งกับบทพระราชนิพนธ์นี้


    ก่อนจะถึงจุดนี้ ต้องเท้าความกันยาว เล่าสังเขปได้ความว่า

    เกิดขบถในเวียดนาม องเชียงสือหนีมาอยู่ที่ไซ่ง่อน ชาวไซ่ง่อนนับถือยกย่องให้ครองเมือง แต่ก็รักษาเมืองต่อสู้ไม่ไหว จำต้องหนีมาอยู่ที่เกาะกระบือในแดนเขมร และได้อาศัยเรือพระยาชลบุรี ซึ่งลาดตระเวนอยู่บริเวณนั้น พาครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 

    อยู่ได้ ๔ ปี องเชียงสือได้สัญญาจากฝรั่งเศสว่าจะช่วยกอบกู้บ้านเมืองให้ องเชียงสือเขียนหนังสือทูลลาวางไว้บนที่บูชา เนื้อความในหนังสือนั้นว่า "ตั้งแต่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทำนุบำรุงเป็นอเนกประการ ถึงให้กองทัพไทยไปช่วยตีเมืองไซ่ง่อนพระราชทานก็ครั้ง ๑ แต่การยังไม่สำเร็จ เพราะกรุงเทพฯ ติดทำสงครามอยู่กับพม่า จะรอต่อไปก็เกรงว่าพรรคพวกทางเมืองญวนจะรวนเรไปเสีย ครั้นจะกราบถวายบังคมลาโดยเปิดเผยก็เกรงจะมีเหตุขัดข้องจึงหนีไป เพื่อจะไปคิดอ่านตีเอาเมืองไซ่ง่อนคืน ถ้าขัดข้องประการใดขอพระบารมีเป็นที่พึ่งทรงอุดหนุนด้วย เมื่อได้เมืองแล้วจะมาเป็นข้าขอบขัณฑสีมาสืบไป" (จากประชุมพระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง ตำนานรำโคม) แล้วหนีไป ตั้งแต่นั้นมาฝรั่งเศสก็มีอำนาจในญวน

    ฝ่ายไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทราบ ก็ทรงไม่อยากให้เกิดศึกขึ้นอีกทาง ในขณะที่เตรียมรับศึกพม่าอยู่ทางนี้นั้น จึงทรงพระกรุณาองเชียงสือต่อไป สนับสนุนเสบียงอาหารและศัสตราวุธตามสมควร พวกญวนที่ตามองเชียงสือเข้ามาครั้งนั้นโปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บางโพ และสืบเชื้อสายกันมาจนบัดนี้ แต่การหนีขององเชียงสือยังให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงพระพิโรธ แล้วทรงพยากรณ์ไว้ว่า ต่อไปญวนจะทำความเดือดร้อนให้กับลูกหลานเป็นแน่

    ก็เป็นจริงดังพระพยากรณ์ในกรมพระราชวังบวรฯ ในรัชกาลที่ ๓ เกิดศึกอนุเวียงจันทน์ เจ้าอนุแพ้ก็หนีไปพึ่งญวน พระเจ้าแผ่นดินญวนมีพระราชสาส์นเข้ามาทูลขอโทษเจ้าอนุ และพาเจ้าอนุมาส่งยังเมืองเวียงจันทน์ ฝ่ายแม่ทัพนายกองซึ่งรักษาเวียงจันทน์มิได้มีความระวังสงสัย พอตกค่ำเจ้าอนุและพวกก็ระดมยิงและฆ่าฟันทหารไทย หนีข้ามน้ำมาได้สักสี่สิบห้าสิบคน ทหารไทยอีกฟากหนึ่งต้องยืนดูพวกเพื่อนถูกไล่ฆ่าอยู่ชายหาดหน้าเมือง จนเจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์)ยกทัพมารบชนะได้เมืองเวียงจันทน์ แต่เจ้าอนุหนีเข้าแดนเมืองพวนไปได้อีก แล้วเจ้าน้อยเมืองพวนก็จับตัวได้ มีหนังสือบอกส่งตัวเจ้าอนุลงมากรุงเทพฯ

    พระเจ้าญวนก็ให้ญวนถือหนังสือเข้ามาอีกครั้ง ว่าจะเข้ามาขอโทษเจ้าอนุ พระยาวิชิตสงครามซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองหนองคายจับญวนผู้ถือหนังสือ จึงมีหนังสือบอกมายังเจ้าพระยาบดินทรเดชา เจ้าพระยาบดินทรเดชาตอบไปว่า ครั้งก่อนซึ่งเสียท่วงทีแก่อนุ ก็เพราะญวนเข้ามาเป็นนายหน้า ครั้งนี้จะล่อลวงอีกประการใดก็ไม่รู้ ให้จับฆ่าเสียให้สิ้น พระวิชิตสงครามจึงให้จับญวนมาฆ่าเสีย (พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่อง เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ฝ่ายพระเจ้าญวนเมื่อทราบเหตุก็ให้หาตัวเจ้าน้อยเมืองพวนไปเมืองญวน และรับสั่งประหารชีวิตเสีย แต่นั้นมาก็เกิดศึกญวนขึ้นเกือบตลอดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

    ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งชาติตะวันตกออกหน้าเรื่องอิทธิพลอำนาจเหนือแผ่นดินแถบนี้ ตั้งใจจะครอบงำประเทศต่างๆ ในทางตะวันออกนี้ และเริ่มต้นรุกรานด้วยอุบายต่างๆ ทุกทิศทุกทาง แต่พระปรีชาสามารถในองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงนำพาประเทศชาติได้จนตลอดรอดฝั่ง ฝรั่งต่างชาติไม่สามารถอ้างเหตุที่จะรุกรานไทยได้เลย ก็สงบอยู่

    จนกระทั่งเกิดศึกฮ่อขึ้นในหัวพันห้าทั้งหก ไทยได้ส่งกองทหารขึ้นไปปราบหลายครั้ง เมื่อฮ่อแตกหนีไปก็ซุ่มซ่อนอยู่ในป่าบ้าง เข้าแดนญวนไปบ้าง พอกองทัพไทยกลับลงมา พวกฮ่อก็พากันยกกลับเข้ามาปล้นฆ่าก่อกวนอีก เป็นอย่างนี้เรื่อยไป จะกระทั่งฝรั่งเศสอ้างเหตุว่าไทยไม่สามารถปราบปรามฮ่อได้ และพวกฮ่อก็เข้าไปก่อกวนในแดนญวนประเทศในอาณัติฝรั่งเศสด้วย ด้วยเหตุนี้จึงยกกองทัพรุกล้ำเข้าในพระราชอาณาเขต อ้างว่าจะช่วยปราบปรามฮ่อ แล้วไม่ยอมถอนทหารกลับออกไปจากพระราชอาณาเขต จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ขึ้น 

    Blog นี้ให้ชื่อว่า "ร.ศ. ๑๑๒" คัดจากประชุมพงศาวดารภาคที่ ๔ “เหตุสงครามระหว่างฝรั่งเศส” เป็นเหตุการณ์ที่ช่วยชาวไทยทุกคนได้ร่วมกันต่อสู้กับผู้รุกรานอธิปไตย ถึงแม้อาวุธยุทโธปกรณ์จะสู้กับผู้รุกรานไม่ได้ แต่ก็มีความกล้าหาญ ความอดทนเสียสละเพื่อชาติบ้านเมืองของตนก็พอจะทดแทนส่วนที่บกพร่องได้บ้าง บ่อยครั้งในการศึกแต่ละสนามที่ผู้รุกรานซึ่งมีอาวุธทันสมัยกว่าเพลี่ยงพล้ำให้แก่ฝ่ายเรา แต่อย่างไรก็ตามด้วยอาวุธที่ทันสมัยกว่าฝ่ายเราจะเสียเปรียบมาโดยตลอด จนในที่สุดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะจอมทัพไทย ก็ทรงนำพาประเทศชาติให้รอดพ้นอีกครั้งหนึ่ง ด้วยพระสติปัญญาความสุขุมคัมภีรภาพ และกลยุทธที่ทุกคนต้องยกย่องพระองค์ท่าน

    ในภาวะของความขัดแย้งในบ้านเมืองอย่างทุกวันนี้ เราลองหันไปดูความสามัคคีของคนไทยสมัยนั้นดูบ้างนะครับ




    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    เหตุสงครามระหว่างฝรั่งเศส

    วันที่ ๓๑ มีนาคม รัฐบาลฝรั่งเศสแต่งให้เรสิดองปัสตา เป็นแม่ทัพ พร้อมด้วยนายร้อยเอกโทเรอ และนายร้อยตรีโมโซ และมิงซิเออร์ปรุโซ คุมทหารญวนเมืองไซ่ง่อน ๒๐๐ คน และกำลังเมืองเขมรพนมเปญเป็นอันมากลงเรือ ๓๓ ลำ พร้อมด้วยศัสตราวุธ ยกเป็นกระบวนทัพขึ้นมาตามลำน้ำโขง เข้ามาในพระราชอาณาเขต ขับไล่ทหารซึ่งรักษาด่านบงขลา แขวงเมืองเชียงแตง และด่านเสียมโบก ยึดเอาด่านทั้ง ๒ ตำบลได้แล้ว

    ครั้นลุรัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ วันที่ ๒ เมษายน ฝรั่งเศสก็ยกกระบวนทัพล่วงเข้ามาถึงเมืองเชียงแตง บังคับขับไล่หลวงพิพิธสุนทร (อิน) และนายร้อยโทคร้าม ข้าหลวงกับทหาร ๑๒ คนซึ่งอยู่รักษาเมืองเชียงแตง ให้ข้ามไปอยู่เมืองธาราบริวัตรฝั่งโขงตะวันตก โดยอ้างเหตุว่า ดินแดนในฝั่งโขงตะวันออกและเกาะดอนในลำน้ำโขงเป็นเขตแขวงของญวน ซึ่งอยู่ในบำรุงฝรั่งเศส

    เวลานั้นข้าหลวงและผู้รักษาเมืองกรมการ ราษฎรเมืองเชียงแตงมิทันรู้ตัว ก็พากันแตกตื่นควบคุมกันมิติด เพราะมิได้คิดเห็นว่าฝรั่งเศสอันเป็นพระราชไมตรีกับประเทศสยามจะเป็นอมิตรขึ้น ในก่อนที่จะประกาศแสดงขาดทางพระราชไมตรี ฝ่ายข้าหลวงกับพลทหาร ๑๒ คน ก็จำต้องออกจากเมืองเชียงแตง ข้ามมาอยู่ ณ เมืองธาราบริวัตร ครั้นฝรั่งเศสได้เมืองเชียงแตงแล้ว ก็แต่งนายทัพนายกองคุมทหารแยกย้ายกัน ยกเป็นกระบวนทัพล่วงเข้ามาตั้งอยู่ตามเกาะดอนต่างๆ ณ แก่งลีผี และเดินกระบวนทัพเข้ามาโดยทางบก ตลอดฝั่งโขงตะวันออกจนถึงเมืองหลวงพระบาง

    เวลานั้นพระประชาคดีกิจ (แช่ม) ซึ่งเป็นข้าหลวงหน้าที่หัวเมืองลาวฝ่ายใต้ พักอยู่ ณ เมืองสีทันดร เห็นว่าฝรั่งเศสประพฤติผิดสัญญาทางพระราชไมตรี จึงได้แต่งให้ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาคุมกำลังแยกย้ายไปตั้งป้องกันกองทัพฝรั่งเศสไว้ แล้วมีหนังสือไปห้ามปรามกองทัพฝรั่งเศสตามทางพระราชไมตรี เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนกองทัพกลีบออกไปเสียให้พ้นพระราชอาณาเขตโดยดี ฝ่ายฝรั่งเศสก็หาฟังไม่ กลับยกกองทัพรุดล่วงเข้ามาเป็นอันดับ และกองทัพฝรั่งเศสกองหนึ่ง มีกำลังทหารพร้อมด้วยศัสตราวุธประมาณ ๔๐๐ คนเศษ ยกมาโดยกระบวนเรือ ๒๖ ลำ เข้าจอด ณ ดอนละงา ขึ้นเดินบกเป็นกระบวนมาบนดอน ขณะนั้นหลวงเทเพนทรเทพ ซึ่งคุมกำลังยกไปตั้งกันอยู่ ณ ดอนนั้น จึงได้ออกไปทักถามนายทหารฝรั่งเศส และได้บอกให้ฝรั่งเศสยกกองทัพกลับออกไปจากพระราชอาณาเขตสยาม ฝรั่งเศสกลับว่าที่ตำบลเหล่านั้นเป็นของฝรั่งเศส ให้หลวงเทเพนทร์ยกกำลังไปเสีย ถ้าไม่ไปจะรบ แล้วฝรั่งเศสก็เป่าแตรเรียกทหารเข้าแถวเตรียมรบ ฝ่ายหลวงเทเพนทร์เห็นว่าห้ามปรามทหารฝรั่งเศสมิฟัง จึงได้ถอนมาตั้งอยู่ ณ ดอนสม และแจ้งข้อราชการยังพระประชา

    พระประชาจึงได้เขียนคำโปรเตสสำหรับยื่นกับฝรั่งเศส ลงเรือน้อยไปหาฝรั่งเศส ณ ค่ายดอนสาร ถามได้ความว่า นายทหารฝรั่งซึ่งเป็นแม่ทัพในกองนี้นั้นชื่อ เรสิดองโปลิติก ๑ กอมมันดิงมิลิแตร์ ๑ พระประชาจึงได้แจ้งต่อนายทัพฝรั่งเศสว่า ที่ตำบลเหล่านี้เป็นพระราชอาณาเขตสยาม การซึ่งฝรั่งเศสยกเป็นกระบวนทัพล่วงเข้ามาดังนี้ ผิดด้วยสัญญาทางพระราชไมตรี ขอให้ฝรั่งเศสยกทหารกลับออกไปเสียให้พ้นพระราชอาณาเขต ฝ่ายนายทัพฝรั่งเศสตอบว่าราชทูตไทยที่ปารีสกับรัฐบาลสยามที่กรุงเทพฯ ได้ยอมยกที่ตำบลเหล่านี้และตามลำแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสแล้ว พระประชาจึงตอบว่า จะตอมเชื่อตามถ้อยคำของฝรั่งเศสที่กล่าวนี้มิได้ เพราะยังมิได้รับคำสั่งจากรัฐบาลสยาม ขอให้ฝรั่งเศสยกทหารถอยออกไปเสียให้พ้นพระราชอาณาเขตก่อน ฝ่ายฝรั่งเศสก็หายอมเลิกถอนไปไม่ พระประชาจึงยื่นคำโปรเตสไว้ต่อนายทัพฝรั่งเศส แล้วลากลับมา

    ฝ่ายฝรั่งเศสก็ยกกระบวนทัพรุดล่วงเข้ามาเป็นอันดับ และซ้ำระดมยิงเอากองรักษาฝ่ายสยามซึ่งไปตั้งรักษาขึ้นก่อน ถึงกระนั้นกองรักษาฝ่ายสยามก็หาได้ยิงโต้ตอบต่อสู้ไม่ โดยถือว่ากรุงฝรั่งเศสกับประเทศสยาม ยังมิได้ขาดจากสัญญาทางพระราชไมตรีกัน เพราะรัฐบาลสยามยังหาได้มีคำสั่งไปให้ต่อสู้กับฝรั่งเศสประการใดไม่ จึงได้จัดการแต่เพียงให้ตั้งรักษามั่นอยู่ และได้พยายามทุกอย่างที่จะมิให้มีคงวามบาดหมางต่อทางพระราชไมตรี และทั้งได้มีหนังสือห้ามปรามซ้ำไปอีก ข้างฝรั่งเศสก็กลับรบรุกระดมยิงปืนใหญ่น้อยมายังกองรักษาฝ่ายสยามเป็นสามารถ ฝ่ายสยามจึงได้ยิงโต้ตอบไปบ้างแต่เล็กน้อย โดยมิได้เจตนาที่จะทำลายชีวิตผู้คนอย่างใด เป็นแต่แสดงให้เห็นว่าฝ่ายไทยก็มีปืนบ้างเหมือนกันเท่านั้น

    แต่ข้างฝ่ายฝรั่งเศสก็ยิ่งหนุนเนื่องรุกรบเข้ามาทุกที จนเจ้าหน้าที่ฝ่ายสยามเห็นว่าเหลือกำลังที่จะห้ามปราม และปฏิบัติจัดการโดยดีกับฝรั่งเศสได้แล้ว จึงจำเป็นต้องจัดการออกระดมยิงต่อสู้บ้าง เพื่อรักษาความเป็นอิสรภาพ และทั้งป้องกันชีวิตของประชาชนชายหญิง อันอยู่ในความปกครองไว้ และทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องอาวุธป่วยตาย และตั้งประชันหน้ากันอยู่

    เวลานั้นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิติปรีชากร ข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาว ซึ่งประทับอยู่ ณ เมืองอุบล เมื่อได้ทรงทราบว่าฝรั่งเศสแสดงเป็นอมิตรขึ้นดังนั้นแล้ว จึงได้โปรดให้เกณฑ์กำลังเมืองศรีสะเกษ เมืองขุนันธ์ เมืองสุรินทร์ เมืองมหาสารคาม เมืองร้อยเอ็ด เมืองละ ๘๐๐ คน และเมืองสุวรรณภูมิ เมืองยโสธร เมืองละ ๕๐๐ คน และให้เกณฑ์เมืองขุขันธ์อีก ๕๐๐ คน ให้พระศรีพิทักษ์ (หว่าง) ข้าหลวงเมืองขุขันธ์คุมไปตั้งรักษาอยู่ ณ เมืองมโนไพร และเมืองเซลำเภา โปรดให้พลวงเทพนรินทร์ (วัน) ซึ่งกลับจากหน้าที่เมืองตะโปนไปเป็นข้าหลวงแทนพระศรีพิทักษ์ อยู่เมืองขุขันธ์


    และให้นายสุจินดา ขุนอินทรประสาท(กอน) นาร้อยตรีคล้าย นายร้อยตรีโชติ คุมทหาร ๑๐๐ คน และกำลัง ๕๐๐ คน พร้อมด้วยศัสตราวุธ เป็นทัพหน้า รีบยกออกจากเมืองอุบลแต่วันที่ ๑๐ เมษายน ลงไปสมทบช่วยพระประชา ณ เมืองสีทันดร และโปรดให้เมืองใหญ่ทุกเมืองในลาวกาว เรียกคนพร้อมด้วยเครื่องศัสตราวุธ มาเตรียมไว้กับบ้านเมือง เมืองละ ๑๐๐๐ คน แล้วให้ท้าววรกิติกา(ทุย) เพี้ยเมืองซ้าย(เถื่อน) กรมการเมืองอุบล คุมคนเมืองอุบล ๕๐๐ คน พร้อมด้วยศัสตราวุธไปสมบทกองนายสุจินดา

    วันที่ ๒๐ เมษายน ฝรั่งเศสชื่อกองซือ กับทหารญวน ๑๙ คน อาวุธครบมือ มาที่เมืองอัตปือ บังคับว่ากล่าวมิให้ผู้ว่าราชการ กรมการ และราษฎรเมืองอัตปือ เชื่อฟังบังคับบัญชาไทย เวลานั้นราชบุตร และนายร้อยพุ่ม ซึ่งรักษาราชการอยู่ ณ เมืองอัตปือจึงขับไล่ฝรั่งเศสและมหาญวนล่องเรือไปจากเมืองอัตปือ

    วันที่ ๒๘ เมษายน ฝรั่งเศสคุมทหารประมาณ ๘๐๐ คนยกมาเมืองตะโปน ขับไล่เจ้าหน้าที่ฝ่ายสยาม ถอยมาอยู่ ณ เมืองพิน

    พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร จึงโปรดให้นายร้อยโทเล็ก ๑ ท้าวบุตรวงศา(พั่ว) กรมการเมืองอุบล ๑ คุมคนเมืองอุบล ๕๐๐ คน และคนเมืองสองคอนดอนดง ๕๐๐ เมืองพลาน ๒๐๐ เมืองลำเนาหนองปรือ ๘๐๐ รวมเป็น ๒๐๐๐ คน ไปตั้งรักษาอยู่บ้านตังหวายห้วยค้นแทะใหญ่ ปากดงกระเพาะภูกะไดแก้ว และให้ขุนอาสาสงคราม(สวน)ข้าหลวง ราชบุตรเมืองมหาสาคาม พระพิทักษ์นรากร(อุ่น)ผู้ว่าราชการเมืองวาปีปทุม คุมคน ๑๐๐ คน ไปตั้งรักษาอยู่ ณ ภูด่านแดนด่านแขวงฆ้อง

    วันที่ ๒๙ เมษายน โปรดให้ราชวงศ์ ราชบุตร เมืองยโสธร คุมคนเมืองยโสธร ๕๐๐ และให้อุปฮาด(บัว)เมืองกมลาสัย คุมคนเมืองศรีสะเกษ ๕๐๐ รวมเป็น ๑๐๐๐ คน พร้อมด้วยศัสตราวุธ ยกไปสมทบกองทัพพระประชา นายสุจินดา ณ เมืองสีทันดร และให้พระไชยภักดี ผู้ช่วยเมืองศรีสะเกษ คุมคนเมืองศรีสะเกษ ๕๐๐ พร้อมด้วยศัตราวุธยกไปตั้งรักษาอยู่ ณ ช่องโพย และด่านพระประสบแขวงเมืองขุขันธ์

    ฝ่ายทางพระประชา ได้จัดให้หลวงพิพิธสุนทร(อิน) ซึ่งมาแต่เมืองธาราบริวัตร คุมคนไปตั้งรักษาอยู่ท้ายดอนเดช ให้นายสุจินดา และนายร้อยโทพุ่ม ซึ่งมาแต่เมืองอัตปือ คุมคน ๔๐๐ ไปตั้งรับอยู่ ณ ดอนสาคร ให้หลวงเทเพนทรเทพ ขุนศุภมาตรา นายร้อยตรีถมยา คุมคน ๔๐๐ คนไปรักษาท้ายดอนสะดำ และท้ายดอนสาคร ให้เจ้าราชบุตรจำปาศักดิ์ คุมกำลังตามสมควรไปรักษาอยู่ท้ายดอนสม และหัวดอนเดช

    ครั้นวันที่ ๕ พฤษภาคม นายสุจินดาล่องเรือถึงหัวดอนสาคร ฝรั่งเศสซึ่งตั้งค่ายอยู่ ณ ดอนสาครแลเห็น ให้ทหารระดมปืนใหญ่น้อยออกมาตั้งแต่บ่ายโมง จนถึงบ่าย ๒ โมง 

    ฝ่ายหลวงเทเพนทรเทพได้ยินเสียงปืนหนาแน่น จึงแบ่งให้ขุนศุภมาตราไปท้ายดอนสะดำ ส่วนหลวงเทพเนทรเทพกับนายร้อยตรีถมยา แยกเข้าท้ายดอนนางชมด้านตะวันออกดอนสาคร ขึ้นตั้งค่ายประชิดค่ายฝรั่งเศสประมาณ ๑๖ – ๑๗ วา ฝ่ายฝรั่งเศสก็ระดมยิงกราดมาเป็นอันมาก กองทัพไทยเข้าตั้งในวัดบ้านดอนเป็นที่มั่นได้ จึงได้ยิงโต้ตอบฝรั่งเศสบ้าง ก็สงบไป

    วันที่ ๖ พฤษภาคม พระประชาไปตรวจค่ายที่ดอนสาคร ขณะนั้นกองทัพฝรั่งเศสยิงปืนมาเป็นอันมา ถูกนายสีพลทหารตายคนหนึ่ง ฝ่ายทัพสยามได้ยิงตอบถูกทหารฝรั่งที่ส่องกล้องอยู่บนหอรบคน ๑ และทหารแตรคน ๑ พลัดตกลงมา ฝรั่งเศสก็สงบยิง

    พระประชาจึงได้มีหนังสือห้ามทัพมิให้ยิงปืน และให้ฝรั่งเศสยกกองทัพแกไปให้พ้นพระราชอาณาเขต ให้หญิงชาวบ้านถือไปให้แม่ทัพฝรั่งเศส ณ ค่ายดอนสาคร ฝรั่งเศสก็หาตอบหนังสือไม่ แต่ต่างก็สงบยิงทั้งสองฝ่ายอยู่จนบ่าย ๔ โมง ฝรั่งเศสก็กลับระดมยิงทัพสยามมาอีก ทัพสยามได้ยิงโต้ตอบฝรั่งเศส ถูกทหารฝรั่งเศสพลัดตกจากหอรบอีกคนหนึ่ง ฝรั่งเศสก็ยิ่งระดมยิงกองทัพสยามเป็นอันมาก แต่ฝ่ายสยามหาได้ยิงตอบสักนัดไม่

    ในวันนี้ เรือลาดระเวนฝ่ายสยาม ซึ่งอยู่ในบังคับขุนศุภมาตรา จับนายสิง นายสุทาชาวบ้านดอนสาคร ซึ่งฝรั่งเศสใช้ให้ถือหนังสือจะไปส่งให้ฝรั่งเศส ณ เมืองเชียงแตง เพื่อให้ส่งกองทัพเพิ่มเติมมานั้น ได้ถามให้การรับ พระประชาได้พร้อมด้วยนายทัพนายกองปรึกษาโทษ เอาตัวนายสิง นายสุทา ประหารชีวิตตามบทพระอัยการศึก

    และในวันนั้น กัปตันโทเรอนายทหารฝรั่งเศส คุมเรื่องเสบียงอาหารจะมาส่งยังกองทัพฝรั่งเศส ณ แก่งลีผี พอมาถึงหางดอนสะดำ พบเรือลาดตระเวนฝ่ายสยาม ฝ่ายสยามได้ห้ามปรามให้หยุด เรือกัปตันโทเรอหาหยุดไม่ มิหนำซ้ำกลับยิงเอาเรือลาดตระเวนฝ่ายสยาม ฝ่ายสยามได้ออกสกัดยิงตอบเรือกัปตันโทเรอถอยกลับลงไป ขุนศุภมาตราจึงได้ให้เรือลาดตระเวนไล่ตามไป ฝ่ายกองทัพราชวงศ์ ราชบุตรเมืองสพังภูผา และกองพระภักดีภุมเรศ พระวิเศษรักษา ซึ่งตั้งรักษาอยู่ ณ บ้านพละคัน ก็ลงเรือช่วยกันตามจับ ได้กัปตันโทเรอ และนายตี๋ล่าม ๑ ทหารญวน ๓ คน ลาวเมืองเชียงแตง ๑๓ คน ส่งไปยังพระประชา พระประชาได้ส่งมายังเมืองอุบล ส่วนกองทัพสยามและฝรั่งเศสก็ตั้งประชิดกันอยู่โดยกำลังสามารถ ณ ดอนสาคร

    ฝ่ายกองทัพฝรั่งเศส ณ เมืองตะโปน ก็ยกกองทัพเข้ามาทางเมืองนอง จับหลวงบริรักษ์รัษฎากร นายบรรหารภูมิสถิต และหลวงสำแดงฤทธิ์เจ้าหน้าที่รักษาฝ่ายสยามอันมิได้ต่อรบนั้นได้

    พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร จึงได้ให้หลวงพิทักษ์สุเทพ(รอด) ท้าวไชยกุมาร(กุคำ) คุมคนเมืองยโสธร ๕๐๐ ไปตั้งอยู่ ณ เมืองเขมราษฎร์ และให้จัดนายกองคุมคนไปช่วยนายร้อยโทเล็ก

    ฝ่ายกองทัพฝรั่งเศสเมืองนองก็ยกกองทัพรีบรุดล่วงเข้ามาทางเมืองพิน เมืองพ้อง เมืองพลาน เมืองสองคอนดอนดง ส่วนกองนายร้อยโทโทเล็ก และท้าวบุตรวงศา ราชบุตรวาปี ต้องล่าหนีข้ามโขมมา ฝรั่งเศสก็เดินกองทัพมาจนถึงฝั่งโขงโดยรวดเร็ว แล้วก็เลิกทัพกลับไป แล้วฝรั่งเศสได้ปล่อยหลวงบริรักษ์รัษฎากร มาพร้อมกับหลวงมลโยธานุโยค ข้าหลวงเมืองเชียงฮม ซึ่งฝรั่งเศสจับได้ไว้ทางมณฑลลาวพวน แต่ส่วนนายบรรหารภูมิสถิตย์นั้น ฝรั่งเศสส่งไปเมืองกวางตี้ แต่ภายหลังก็ได้ปล่อยกลับมา


    วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร โปรดให้อุปฮาด(อำคา)เมืองสุวรรณภูมิ ๑ พระศรีเกษตราธิชัย(ศิลา)ผู้ว่าราชการเมืองเกษตรวิสัย ๑ คุมคนเมืองสุวรรณภูมิ ๕๐๐ และให้พระสุนทรพิพิธ ผู้ว่าราชการเมืองโกสุม ๑ หลวงจำนงวิชัย ผู้ช่วยเมืองร้อยเอ็ด ๑ คุมคนมหาสารคาม และร้อยเอ็ด ๓๐๐ รวม ๘๐๐ ยกออกจากเมืองอุบลไปช่วยพระประชา ณ ค่ายดอนสาคร

    และให้นายร้อยตรีหุ่น ๑ คุมคนเมืองจตุรพักตร ๑๐๕ เมืองร้อยเอ็ด ๒๑๐ เมืองมหาสารคาม ๒๑๐ รวม ๕๒๕ คน ยกไปตั้งรักษาอยู่ ณ เมืองมโนไพร และธาราบริวัตร และด่านลำจาก เปลี่ยนเอาพระศรีพิทักษ์(หว่าง) กลับมาตั้งรักษาอยู่ ณ ช่องโพย และให้นายร้อยตรีวาด ไปเรียกคนเมืองขุขันธ์อีก ๕๐๐ คน สำหรับส่งไปเพิ่มเติมยังกองพระศรีพิทักษ์(หว่าง) และให้ขุนไผทไทยพิทักษ์(เกลื่อน) ข้าหลวงเมืองศรีสะเกษ เป็นหน้าที่ส่งเสบียงไปยังกองพระศรีพิทักษ์

    วันที่ ๒๑ พฤษภาคม หลวงเสนานนท์ ๑ หลวงอนุรักภักดี(พุด) ๑ หลวงวิจารณ์ภักดี ๑ พระสิทธิศักดิ์สมุทรเขต(บุษย์) ๑ หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์(ล้อม) ๑ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุมเครื่องศัสตราวุธ ไดไปถึงเมืองอุบล

    วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ฝรั่งเศสคุมกองทัพเพิ่มเติมยกมาถึงบ้านพละคันอีกประมาณพันเศษ พระประชาเห็นศึกเหลือกำลังกล้า จึงให้เลิกค่ายท้ายดอนไปรวมตั้งรับที่ดอนสะดำ และเลิกค่ายหัวดอนคอนไปรวมตั้งรับ ณ ค่ายดอนเดช ดอนสม และในวันนี้เวลาบ่าย ๕ โมงเศษ กองทัพฝรั่งเศสยกขึ้นมาตั้งที่บ้านเวินยางฝั่งตะวันตก ตรงค่ายกองทัพสยามที่ดอนสะดำ และฝรั่งเศสระดมปืนใหญ่น้อย และกระสุนแตกมาที่ค่ายสยาม ณ ดอนสะดำเป็นอันมาก หลวงเทเพนทรเทพ นายร้อยตรีถมยา เห็นจะตั้งรับอยู่ที่ดอนสะดำมิได้ จึงได้ล่าถอยมาตั้งค่ายรับอยู่ ณ ดอนโสม

    วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ฝรั่งเศสยกกองทัพมาขึ้นท่าสนามท้ายดอนคอน ครั้นบ่าย ๔ โมง ฝรั่งเศสยกมาตีค่ายสยามหัวดอนคอน หลวงอภัยเมืองสีทันดร และท้าววรกิติกา(ทุย)กรมการเมืองอุบล ซึ่งพระณรงค์วิชิต(เลื่อน)ให้เป็นนายกองอยู่ ณ ค่ายหัวดอนคอน ต้านทานกองทัพฝรั่งเศสมิหยุด จึงยกล่าถอยข้ามมาดอนเดช ฝรั่งเศสตามจับหลวงอภัยได้ ฝ่ายค่ายสยามที่ดอนเดชได้ยิงต่อสู้กองทัพฝรั่งเศส ฝรั่งเศสก็ระดมยิงมาที่ค่ายดอนเดชเป็นสามารถ พลสยามที่ดอนเดชทานกำลังลูกแตกมิได้ ก็ล่าถอยมาตั้งรับอยู่ ณ ค่ายดอนสม พอเวลาพลบค่ำ กองทัพฝรั่งเศสก็เลิกไปค่าย

    วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พระณรงค์วิชิต(เลื่อน)ได้ให้กำลังไปรักษาค่ายที่ดอนเดชไว้ตามเดิม และแต่งกองซุ่มไปอยู่ดอนตาล ดอนสะดำ คอยตีตัดมิให้ฝรั่งเศสเวียนเดินเรือเข้ามาในช่องได้ และเพี้ยศรีมหาเทพนครจำปาศักดิ์พาพล ๑๙ คนหนี อุปฮาด(บัว)เมืองกมลาสัย ซึ่งตั้งค่ายอยู่ตำบลชลเวียงจับได้ พระประชา(แช่ม)ได้ปรึกษาโทษให้ประหารชีวิตตามบทพระอัยการศึก ฝ่ายนายทัพนายกองได้ขอชีวิตไว้ พระประชา(แช่ม)จึงได้ให้ทำโทษเฆี่ยนเพี้ยศรีมหาเทพ ๙๐ ที พวกพลคนละ ๓๐ ที

    วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ฝรั่งเศสยกกองทัพขึ้นตั้งดอนเดชประชิดค่ายสยาม แล้วระดมยิงกระสุนแตกมาที่ค่ายสยามเป็นอันมาก ฝ่ายกองทัพสยามมิได้ยิงตอบ ครั้นฝรั่งเศสยกกองทหารรุกเข้ามาใกล้ ฝ่ายสยามจึงได้ระดมยิงกองทัพฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสถูกกระสุนปืนล้มตายหลายคน แตกถอยกลับไป ฝ่ายสยามถูกกระสุนปืนเจ็บป่วย ๓ คน ในวันนี้พระประชา(แช่ม)ได้จัดให้นายทัพนายกองคุมกำลังไปตั้งค่ายรับที่ดอนสมอีกครั้งหนึ่ง

    ระหว่างนี้ฝ่ายฝรั่งเศส และสยามต่างก็ตั้งมั่นรักษาอยู่


    ในเดือนนี้ฝ่ายรัฐบาลฝรั่งเศส และสยามได้ปรึกษาตกลงกันเลิกสงคราม และฝ่ายสยามได้เรียกให้กองทัพทุกๆ กองกลับ และได้ตกลงสัญญากันเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม

    (เหตุตามรายวัน) พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรมีบอกกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอราชวงศ์สีทันดร และท้าวสิทธิสารเมืองมูลปาโมกข์ ซึ่งคุมช้างเผือกลงมา ณ กรุงเทพฯ เป็นผู้ว่าราชการเมืองสีทันดร และเมืองมูลปาโมกข์

    วันที่ ๕ เมษายน ๑๑๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้ราชวงศ์เมืองสีทันดร เป็นพระอภัยราชวงศา ผู้ว่าราชการเมืองสีทัน พระราชทานครอบเงินกลีบบัวถมดำเครื่องในพร้อมสำรับ ๑ ลูกประคำร้อยแปดเม็ดสาย ๑ ผ้าม่วงจีนผืน ๑ แพรขวาห่มเพลาะ ๑ แพรสีทับทิมติดขลิบ ๑ และพระราชทานสัญญาบัตรให้ท้าวสิทธิสาร เป็นพระวงศาสุรเดช ผู้ว่าราชการเมืองมูลปาโมกข์ ขึ้นเมืองสีทันดร พระราชทานเครื่องยศตามบรรดาศักดิ์

    วันที่ ๒๓ เมษายน พระยาราชเสนา(ทัด) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนเป็นพระยาศรีสิงหเทพ และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า และพานทองคำเครื่องพร้อม ๑ คนโททองคำ ๑

    วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พระศรีพิทักษ์(หว่าง) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระราชวรินทร์

    วันที่ ๑ มิถุนายน นายสุจินดา(เลื่อน) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนเป็นพระณรงค์วิชิต

    วันที่ ๒ มิถุนายน กรมหลวงวิชิตปรีชากรโปรดให้พระสิทธิศักดิ์สมุทรเขต(บุษย์) เป็นข้าหลวงบังคับเมืองมหาสารคาม เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ ณ เมืองมหาสารคาม ให้หลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์(ล้อม) เป็นข้าหลวงบังคับเมืองกมลาสัย เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง ตั้งอยู่ ณ เมืองกาฬสินธุ์ ให้พระสุจริตรัฐการี(ทำมา) กรมการเมืองอุบล ไปเป็นข้าหลวงประจำเมืองร้อยเอ็ด ให้พระดุษฎีตุลกิจ(สง) ข้าหลวงเมืองสุวรรณภูมิ ไปช่วยพระสิทธิศักดิ์อยู่ ณ เมืองมหาสารคาม ถอนนายร้อยตรีพรหม ข้าหลวงเมืองมหาสารคาม มาอยู่เมืองสุวรรณภูมิ

    วันที่ ๑๕ มิถุนายน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรได้โปรดให้นายร้อยตรีพึ่ง กับพลทหาร ๑๒ คน คุมกัปตันโทเรอ นายตี๋ล่าม และทหารญวน ๓ คน ออกจากอุบลมาส่งกรุงเทพฯ และได้ทรงจ่ายเงิน ๓๒๕ บาท ๕๐ อัฐ ให้เป็นเงินเดือนแก่กัปตันโทเรอ และล่าม และทหารญวนด้วย พวกนี้ปล่อยที่ชายแดน ไม่ได้ส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ

    ในระหว่างเดือนนี้ พระยาภักดีศรีสิทธิสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองธาราบริวัตได้อพยพครอบครัวหนีไปอยู่ ณ ดอนสาย

    มิสเตอร์วิลเลี่ยม ซึ่งกรมไปรษณีย์ได้ให้ไปจัดการไปรษณีย์มณฑลลาวกาวได้ไปเปิดการส่งไปรษณีย์ ณ เมืองอุบลในเดือนนี้

    วันที่ ๒ กรกฎาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกสยามชั้นที่ ๒ จุลวราภรณ์ ๑ และเหรียญดุษฎีมาลา ๑ พระยาภักดีณรงค์(สิน) และพระราชวรินทร์(หว่าง) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามชั้นที่ ๔ ภัทราภรณ์

    วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พระภักดีณรงค์(สิน) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นพระยาภักดีณรงค์ พระประชาคดีกิจ(แช่ม) เป็นพระยาประชากิจกรจักร

    วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร โปรดให้นายร้อยตรีเกิด ไปเป็นข้าหลวงช่วยหลวงธนสารสุทธารักษ์(หว่าง) ณ เมืองสุรินทร์

    วันที่ ๒๖ กรกฎาคม โปรดให้จ่าการประกอบกิจ ไปเป็นข้าหลวงช่วยหลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์(ล้อม) อยู่ที่เมืองกาฬสินธุ์

    วันที่ ๗ สิงหาคม โปรดให้พระยาศรีสหเทพ(ทัด) ออกจากอุบล นำข้อราชการไปทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ ณ เมืองนครราชสีมา และโปรดให้หลวงธนะผลพิทักษ์(ดิศ) ๑ ขุนชาญรณฤทธิ์(ชม) ๑ ข้าหลวงนครราชสีมามารับราชการมณฑลลาวกาว

    วันที่ ๑๔ สิงหาคม โปรดให้นายเพิ่มพนักงานแผนที่ไปตรวจทำแผนที่ตั้งแต่เมืองชานุมานมณฑล ไปโขงเจียงปากมูล และตามสันเขาบรรทัด จนถึงช่องโพยแขวงเมืองขุขันธ์

    วันที่ ๓ กันยายน นายร้อยโทพุ่มได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายร้อยเอกขุนโหมหักปัจนึก นายร้อยตรีถมยา เป็นนายร้อยเอกขุนอธึกยุทธกรรม

    วันที่ ๑๔ ตุลาคม นายร้อยตรีเชิด เป็นลมชิวหาสดมภ์ถึงแก่กรรม หลวงจักรพาฬภูมิพินิจ(ใหญ่) พนักงานแผนที่มณฑลลาวกลาง มารับราชการมณฑลลาวกาว

    วันที่ ๒๕ ตุลาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร โปรดให้พระณรงวิชิต(เลื่อน) เป็นข้าหลวงตรวจจัดราชการเมืองกาฬสินธุ์ กมลาสัย ภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมหาสารคาม และให้หลวงธนะผลพิทักษ์(ดิศ) ขุนชาญรณฤทธิ์(ชม) เป็นข้าหลวงบังคับเมืองกาฬสินธุ์ เมืองกมลาสัย เมืองภูแล่นช้าง ตั้งอยู่ ณ เมืองกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยจ่าการประกอบกิจ หมื่นวิชิตเสนา ถอนหลวงสิทธิเดชสมุทรขันธ์(ล้อม) ไปเป็นข้าหลวงอยู่ ณ เมืองสุรินทร์

    วันที่ ๔ พฤศจิกายน โปรดให้ขุนอาสาสงคราม(สวน) ไปเป็นข้าหลวงช่วยนายร้อยตรีพรหมอยู่ ณ เมืองสุวรรณภูมิ

    วันที่ ๖ พฤศจิกายน พระชาตสุเรนทร์ ๑ จมื่นอินทรเสนา ๑ จ่าแล่นประจญผลาญ ๑ ออกจากอุบลกลับกรุงเทพฯ 

    วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน มองซิเออร์มอง มองซิเออร์ลูเว มองซิเออร์ลูเย นำเรือกลไฟจักรท้าย ๒ สกรู ชื่อมาซี ปากกว้าง ๖ ศอกเศษ ยาว ๑๑ วาเศษ กินน้ำลึกศอกเศษลำหนึ่ง และเรือกลไฟชื่อฮำรอง ปากกว้างวาเศษ ยาว ๘ วาลำหนึ่ง มาที่บ้านด่านปากมูล และเรือชื่อมาซีมาเที่ยวที่แก่งตนะลำน้ำมูล แล้วกลับไป

    วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน จ่าฤทธิพิไชย ออกจากอุบลกลับกรุงเทพฯ ในเดือนนี้นายฉัตรซึ่งกรมโทรเลขให้ออกไปจัดการโทรเลข ได้ไปถึงเมืองอุบล

    วันที่ ๒ ธันวาคม มิงซิเออร์มอง มองซิเออร์ลูเว นำเรือกลไฟมาซี และฮำรอง ไปแวะที่นครจำปาศักดิ์ ขึ้นหาขุนวิชิตชลหาร(ต่อ) ภายหลังเป็นหลวงพลอาศัย ข้าหลวงแจ้งว่าจะมาเยี่ยมเจ้านครจำปาศักดิ์ ครั้นรุ่งขึ้นวันหลัง มองซิเออร์มองและมองซิเออร์ลูเว ได้ไปหาเจ้ายุติธรรมธร เจ้านครจำปาศักดิ์ พูดจาโดยอ่อนหวานต่างๆ และว่ารัฐบาลฝรั่งเศสจะยอมให้เจ้านครจำปาศักดิ์ มีอำนาจบังคับบัญชาตลอดถึงฝั่งโขงตะวันออก เจ้านครจำปาศักดิ์ตอบว่า ฝั่งโขงตะวันออกตกเป็นของฝรั่งเศส ส่วนเจ้านครจำปาศักดิ์เป็นข้าสยาม จะยอมรับบังคับมิได้ แล้วมองซิเออร์มอง มองซิเออร์ลูเว ก็ลากลับไป

    วันที่ ๓ ธันวาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร โปรดให้ข้าหลวงภักดีนุชิต เป็นพระสุนทรบริรักษ์ ว่าที่ผู้ช่วยเมืองสุรินทร์ และให้ขุนจงราชกิจ ไปเป็นข้าหลวงเมืองร้อยเอ็ด วันนี้ พระไชยณรงค์ภักดี(จัน) ปลัดผู้รักษาเมืองสุรินทร์เป็นไข้พิษถึงแก่กรรม

    วันที่ ๙ ธันวาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวกลาง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นข้าหลวงต่างพระองค์มณฑลลาวกาว เปลี่ยนพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรนั้น พร้อมด้วยพระอนุรักษ์โยธา(นุช) ๑ หลวงจัตุรงค์โยธา ๑ หลวงพิไชยชำนาญ ๑ หม่อมราชวงศ์ปฐมเลขา ๑ ขุนเวชวิสิฐ(นิ่ม)แพทย์ ๑ ขุนพิไชยชาญยุทธ ๑ นายร้อยโทสอนทำการพลเรือน ๑ นายเลื่อนมหาดเล็ก ๑ นายร้อยเอกหม่อมราชวงศ์ร้าย ๑ นายร้อยโทพลัด ๑ ไปถึงเมืองอุบล



    วันที่ ๑๐ ธันวาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ให้ประชุมข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน ฟังกระแสตราพระราชสีห์ ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้มอบหน้าที่ราชการมณฑลลาวกาว ถวายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ และได้ทรงมอบหน้าที่ราชการถวายกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ในวันนั้น

    วันที่ ๑๑ ธันวาคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เสด็จออกจากเมืองอุบล พร้อมด้วยพระราชวรินทร์(หว่าง) ๑ จมื่นศักดิบริบาล ๑ นายร้อยเอกหลวงพิทักษ์นรินทร์(กอน) ๑ นายร้อยเอกขุนโหมหักปัจนึก(พุ่ม) ๑ นายร้อยเอกขุนอธึกยุทธกรรม(ถมยา) ๑ นายร้อยตรีโชติ ๑ นายร้อนตรีคล้าย ๑ นายร้อยตรีผล ๑ กลับกรุงเทพฯ โดยทางช่องตะโก และมณฑลปราจีน 

    วันที่ ๑๙ ธันวาคม นายร้อยตรีเราซิง ๑ หลวงจัตุรงค์โยธา ๑ หลวงพิไชยชำนาญ ๑ จาสสรวิชิต ๑ นายเลื่อนมหาดเล็ก ๑ ออกจากอุบลกลับกรุงเทพฯ

    วันที่ ๓๐ ธันวาคม พระณรงวิชิต(เลื่อน) ออกจากอุบลกลับกรุงเทพฯ

    อนึ่ง เมื่อพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเสด็จกลับกรุงเทพฯ ถึงบ้านเพี้ยราม แขวงเมืองสุรินทร์นั้น ได้โปรดให้พระพิไชยนครบวรวุฒิ(จรัญ) ยกกระบัตรเมืองสุรินทร์ เป็นผู้ครองเมืองสุรินทร์

    วันที่ ๑๑ มกราคม เป็นวันแรกที่สายโทรเลขเมืองอุบลและระหว่างเมืองขุขันธ์ ใช้การได้จนตลอดถึงกรุงเทพฯ

    วันที่ ๒๒ มกราคม พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมจุลจอมเกล้า ๑ และช้างเผือกสยามชั้นที่ ๑ มหาวราภรณ์ ๑

    พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ โปรดให้นายร้อยโทสอนไปเป็นข้าหลวงอยู่เมืองยโสธร และให้อุปฮาดรับราชการตำแหน่งผู้รักษาเมือง ให้ราชบุตรรับราชการตำแหน่งอุปฮาด ให้หลวงศรีวรราชผู้ช่วยพิเศษ รับราชการตำแหน่งราชบุตรเมืองยโสธร

    ในปีนี้ ขุนเทพคชกิรินีหมอ นายเอาะควาญ บ้านดงมันเมืองสุวรรณภูมิ คล้องได้ช้างพังสำคัญสูง ๓ ศอก ๖ นิ้วช้าง ๑ ได้โปรดให้ส่งมาเลี้ยงรักษาไว้ ณ เมืองอุบล เพื่อได้ส่งกรุงเทพฯ ต่อไป ช้างนี้เป็นช้างเผือกโทส่งมาถึงเมืองนครราชสีมาแล้วเอาขึ้นรถไฟมากรุงเทพฯ สมโภชโรงในขึ้นระวางเป็น พระศรีเศวตวรรณิกา

    เรื่อง "เหตุสงครามระหว่างฝรั่งเศส" หมดฉบับเพียงเท่านี้ครับ
    คัดลอกจาก : http://www.adisai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=419753