Custom Search

Dec 31, 2007

ของขวัญจากหลวงปู่ดุลย์ อตุโล




คอลัมน์ คุยกับประภาส

ประภาส ชลศรานนท์

มติชนรายวัน

8 ม.ค. 49

("แก่นธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล")







เทศกาลปีใหม่ผ่านไปแล้ว นับเป็นปีใหม่ที่ดีปีหนึ่งที่ยังได้ยินเสียงหัวเราะ
และได้เห็นรอยยิ้ม พิมพ์อยู่บนใบหน้าผู้คนเป็นส่วนใหญ่

ก็ได้อาศัยเทศกาล นี้ละครับที่ปีๆ หนึ่งได้กลับมาระลึกถึง
ผู้คนรอบข้างที่เราเคยผูกพัน ด้วยไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องชีวิต
แล้วก็นำของขวัญไปมอบให้กัน ของที่อยู่ในกระเช้าหรือในกล่องนี่

สำหรับผมแล้ว ผมว่าสำคัญน้อยกว่าความชุ่มชื่นหัวใจ
ที่ได้เห็นมนุษย์รู้สึกดีต่อกันใน บรรดาของขวัญทั้งหมดที่ผมได้รับในปีนี้
มีอยู่ชิ้นหนึ่งเป็นชิ้นที่เมื่อ ผมเปิดออกดูแล้ว
พบแต่ความร่มรื่นในชีวิตผมจะแกะให้ท่านผู้อ่านดูกันครับ

ขณะที่หลวงปู่ เดินทางไปพักผ่อนที่วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี
มีพระเถระอาวุโสรูป หนึ่งจากกรุงเทพฯ คือ
พระธรรมวราลังการ
สนใจการฝึกกัมมัฏฐานอยู่แล้ว

ได้เข้ามาถามถึง ผลของการปฏิบัติ
ทำนองสนทนาธรรมกัน
และกล่าวถึงภาระของท่านว่า
มัวแต่ศึกษาและ บริหารงานการคณะสงฆ์มาตลอดวัยชรา
แล้วก็สนทนาข้อกัมมัฏฐานกับหลวง ปู่เป็นเวลานาน
ลงท้ายถามหลวงปู่สั้นๆ ว่า
ท่านยังมีโกรธ อยู่ไหม ฯ
หลวงปู่ตอบเร็วว่า
"มี แต่ไม่เอา"

คณะแม่ บ้านมหาดไทยโดยมีคุณหญิงจวบ จิรโรจน์ เป็นหัวหน้าคณะ
ได้เคยนำคณะแม่ บ้านมหาดไทยไปบำเพ็ญสังคมสงเคราะห์ทางภาคอีสาน
ได้ถือโอกาสแวะ นมัสการหลวงปู่
หลังจากกราบนมัสการและถามถึงอาการสุขสบายของหลวง ปู่แล้ว

เห็นว่าหลวงปู่ไม่ค่อยสบาย ก็รีบออกมา
แต่ก็ยังมีสุภาพ สตรีท่านหนึ่งถือโอกาสพิเศษกราบหลวงปู่ว่า

"ดิฉันขอของดีจาก หลวงปู่ด้วยเถอะเจ้าค่ะ"
หลวงปู่จึงเจริญพรว่า
"ของดีก็ต้อง ภาวนาเอาจึงจะได้ เมื่อภาวนาแล้ว
ใจก็สงบ กาย วาจา ก็สงบ แล้วกายก็ดี วาจาใจก็ดี เราก็อยู่ดีมีสุขเท่านั้นเอง"

สุภาพสตรีท่าน นั้นจึงว่า
"ดิฉันมีภาระมาก ไม่มีเวลาจะนั่งภาวนาได้
งานราชการ เดี๋ยวนี้รัดตัวมากเหลือเกิน มีเวลาที่ไหนมาภาวนาได้คะ"

หลวงปู่จึงต้อง อธิบายให้ฟังว่า

"การภาวนาต้องกำหนดดูที่ลมหายใจ
ถ้ามีเวลาสำหรับ หายใจ ก็ต้องมีเวลาสำหรับภาวนา"
…………………………………………………………………..

สุภาพสตรีท่าน หนึ่ง เป็นชนชั้นครูบาอาจารย์
เมื่อฟังธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่ จบแล้ว
ก็อยากทราบถึงวิธีไว้ทุกข์ที่ถูกต้องตามธรรมเนียม โดยปรารภว่า

"คนสมัยนี้ไว้ทุกข์ไม่ค่อยจะถูกต้องและตรงกัน
ทั้งๆ ที่สมัย ร.6 ท่านทำไว้เป็นแบบอย่างดีอยู่แล้ว เช่น
เมื่อญาติพี่น้อง หรือญาติผู้ใหญ่ถึงแก่กรรมลง
ก็ให้ไว้ทุกข์ 7 วันบ้าง 50 วันบ้าง 100 วันบ้าง
แต่ปรากฏว่าคนทุกวันนี้ทำอะไรรู้สึกลักลั่นกันไม่เป็นระเบียบ
ดิฉัน จึงขอเรียนถามหลวงปู่ว่า
การไว้ทุกข์ที่ถูกต้องนั้น ควรไว้อย่างไรเจ้าคะ"
หลวงปู่บอกว่า

"ทุกข์ ต้องกำหนดรู้ เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย ไปไว้มันทำไม"
…………………………………………………………………………

สำนักปฏิบัติ แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสาขาของหลวงปู่นั่นเอง
อยู่ด้วยกันเฉพาะพระประมาณห้า หกรูป
อยากจะเคร่งครัดเป็นพิเศษ
ถึงขั้นสมาทานไม่พูดจากันตลอดพรรษา
คือ ไม่ให้มีเสียงเป็นคำพูดออกจากปากใคร
ยกเว้นการสวดมนต์ทำวัตร
หรือสวด ปาฏิโมกข์เท่านั้น
ครั้นออกพรรษาแล้ว
พากันไปกราบหลวงปู่เล่าถึงการ ปฏิบัติอย่างเคร่งของพวกตนว่า
นอกจากปฏิบัติข้อวัตรอย่างอื่นแล้ว
สามารถ หยุดพูดได้ตลอดพรรษาอีกด้วย

หลวงปู่ฟังแล้วยิ้มหน่อยหนึ่ง พูดว่า

"ดีเหมือนกัน เมื่อไม่พูดก็ไม่มีโทษทางวาจา
แต่ ที่ว่าหยุดพูดได้นั้น เป็นไปไม่ได้หรอก
นอกจากพระอริยบุคคล ผู้เข้านิโรธสมาบัติขั้นละเอียด
ดับสัญญาเวทนาเท่านั้นแหละที่ไม่พูดได้
นอก นั้นพูดทั้งวันทั้งคืน ยิ่งพวกที่ตั้งปฏิญาณว่า
ไม่พูดนั่นแหละยิ่งพูด มากกว่าคนอื่น
เพียงแต่ไม่ออกเสียงให้คนอื่นได้ยินเท่านั้นเอง"
…………………………………………………………….

หลวงปู่ชอบแนะนำ ส่งเสริมพระเณรให้ใส่ใจเรื่อง
ธุดงคกัมมัฏฐานเป็นพิเศษมีอยู่ครั้งหนึ่ง
พระสานุศิษย์มา ชุมนุมกันจำนวนมาก
ทั้งแก่พรรษาและอ่อนพรรษา
หลวงปู่ชี้แนวทางว่าให้ พากันไปอยู่ป่าหาทางวิเวก
หรืออยู่ตามเขาตามถ้ำเพื่อเร่งความเพียร
จะ ได้พ้นจากภาวะตกต่ำทางจิตบ้าง

ก็มีพระรูปหนึ่งพูดออกมาพล่อยๆ ว่า
"ผมไม่กล้าไปครับ เพราะผมกลัวผีหลอก"
หลวงปู่ตอบเร็ว ว่า

"ผีที่ ไหนเคยหลอกพระ มีแต่พระนั่นแหละหลอกผี
และตั้งขบวนการหลอกผีเป็นการใหญ่ เสียด้วย
คิดดูให้ดีนะ วัตถุสิ่งของที่ชาวบ้านเขาเอามาบริจาคทำบุญนั้น
แทบ ทั้งหมดล้วนทำเพื่ออุทิศส่งไปให้ผีทั้งนั้น
ผีพ่อแม่ปู่ย่าตายายญาติพี่ น้องเขา
แล้วพระเราเล่าประพฤติตนเหมาะสมแล้วหรือ
มีคุณธรรมอะไรบ้าง ที่จะส่งผลให้ถึงผีได้
ระวังอย่ามาเป็นพระหลอกผี"
…………………………………………………………………

ก็มีพระนัก ปฏิบัติคณะหนึ่งจากภาคกลาง
ไปพักอยู่หลายวันเพื่อฟังธรรมและเรียนถาม กัมมัฏฐานกับหลวงปู่
พระรูปหนึ่งพรรณนาความรู้สึกของตนว่า

"กระผมเข้าหาครู บาอาจารย์มาก็หลายองค์แล้ว
ท่านก็สอนดีอยู่หรอก แต่ส่วนมากมักสอนแต่เรื่องระเบียบวินัย
หรือ วิธีทำกัมมัฏฐาน และความสุขความสงบอันเกิดจากสมาธิเท่านั้น
ส่วนหลวงปู่นั้นสอนทางลัด ถึงสิ่งสุดยอด อนัตตา สุญตา ถึงพระนิพพาน
กระผมขออภัยที่บังอาจถามหลวง ปู่ตรงๆ ว่า
การที่หลวงปู่สอนเรื่องนิพพานนั้น
เดี๋ยวนี้หลวงปู่ถึง นิพพานแล้วหรือยัง"

หลวงปู่ปรารภว่า
"ไม่มีอะไรจะถึง และไม่มีอะไรจะไม่ถึง"
…………………………………………………

ปัญญาโลกแตก ที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ทั้งคนปัญญาดีและคนปัญญาอ่อน
นำมาถกเถียงกัน อย่างไม่เกิดประโยชน์และ
ตกลงกันไม่ได้สักทีว่าไก่กับไข่อย่างไหนเกิด ก่อน
ซึ่งส่วนมากเป็นการถามตอบเพื่อเถียงกันเล่น
แล้วจบลงไม่ได้ ก็ยังมีผู้นำไปถามโดยคิดว่าหลวงปู่คงไม่ตอบปัญหาแบบนี้
ในที่สุดก็ได้ ฟังคำตอบของหลวงปู่อย่างไม่เหมือนใครเลย คือ
วันหนึ่งพระเบิ้ม
เข้าไป ปฏิบัตินวดเท้าถวายท่านแล้วถามว่า

"หลวงปู่ ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อน"
หลวงปู่บอกว่า "เกิดพร้อมกันนั่นแหละ"
………………………………………………………………………

ครั้งหนึ่งหลวง ปู่เคยบอกว่า การอยากรู้เรื่องนิพพาน
ก็เหมือนปลาถามเต่า มรรค ผล นิพพาน
เป็น สิ่งปัจจัตตัง คือ รู้เห็นได้ จำเพาะตนโดยแท้
ผู้ใดปฏิบัติเข้าถึง ผู้นั้นเห็นเอง
แจ่มแจ้งเองหมดสงสัยในพระศาสนาได้โดยสิ้นเชิง
มิ ฉะนั้นแล้วจะต้องเดาเอาอยู่ร่ำไป
แม้จะมีผู้สามารถอธิบายให้ลึกซึ้งอย่าง ไร
ก็รู้ได้แบบเดา สิ่งใดยังเดาอยู่สิ่งนั้นก็ยังไม่แน่นอน
แล้วหลวง ปู่ก็ว่าที่อุปมาอย่างปลาถามเต่าก็คือ
เต่าอยู่ได้สองโลก คือ โลกบนบกกับโลกในน้ำ
ส่วนปลาอยู่ได้โลกเดียว คือ ในน้ำ ขืนมาบนบกก็ตายหมด

"วันหนึ่ง เต่าลงไปในน้ำ
แล้วก็พรรณนาความสุข สบายบนบกให้ปลาฟัง
ว่ามันมีแต่ความสุขสบาย แสงสีสวยงาม
ไม่ต้องลำบาก เหมือนอยู่ในน้ำ ปลาพากันฟังด้วยความสนใจ
และอยากเห็นบก จึงถามเต่าว่าบนบกนั้นลึกมากไหม
เต่า ว่ามันจะลึกอะไร ก็มันบกเอ... บนบกนั้นมีคลื่นมากไหม
มันจะคลื่นอะไรก็มันบก เอ... บนบกนั้นมีเปือกตมมากไหม
มันจะมีเปือกตมอะไรก็มันบก ให้สังเกตดูคำที่ปลาถาม
เอาแต่ความรู้ที่มีอยู่ในน้ำมาถามเต่า เต่าก็ได้แต่ปฏิเสธ""

จิตปุถุชนที่เดามรรคผลนิพพาน ก็ไม่ต่างอะไรกับปลา"
………………………………………………………

หลวงปู่ที่ผม เล่าให้ฟังนี้
ท่านคือหลวงปู่ ดุลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
ท่านเป็นศิษย์รุ่น แรกของหลวงปู่มั่น
พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายอรัญวาสีของสังคมไทย
หลวงปู่ ดุลย์ท่านละสังขารไปยี่สิบปีกว่าปีแล้ว
แต่ถึงทุกวันนี้ก็นับได้ว่าท่าน เป็นอริยสงฆ์ที่มีลูกศิษย์ลูกหาศึกษาธรรม
และเดินตามรอยท่านอยู่เป็น จำนวนมากของขวัญชิ้นพิเศษสุดที่ผมพูดถึงก็คือ
หนังสือเล่มเล็กๆ ที่คุณแม่ผมได้มาจากการทำบุญที่สำนักสงฆ์แถวๆ บ้าน
ที่ผมยกตัวอย่างมา เล่าย่อๆ ให้ฟังนี้เป็นแค่ส่วนน้อยครับ
อยากให้หามาอ่านกันครับ
อ่าน แล้วเย็นกายเย็นใจดีจริงๆ
(ที่หลังปกหนังสือลงที่อยู่ไว้เพื่อติดต่อดังนี้ คุณสุภาพร 0-2513-3989)