Custom Search

Apr 30, 2023

30 เมษายน พ.ศ.2566

 ข้อแตกต่าง มหายาน และหินยาน




Apr 16, 2023

“อะไรที่เราควบคุมไม่ได้ก็ปล่อย” เมื่อเราต้องปล่อยวางบ้าง เพื่อชีวิตที่มีความสุขขึ้น


ธรรมะย่อยมาแล้ว

ในเมื่อเราควบคุมสิ่งภายนอกไม่ได้
ก็ให้กลับมาควบคุมตัวเอง 100%
คุยกับใคร แล้วไม่สบายใจ
ก็อย่าไปคุย
ฟังอะไร แล้วไม่สบายใจ
ก็อย่าไปฟัง
อยู่ที่ไหน แล้วไม่สบายใจ
ก็เดินออกมา

Instagram : ธรรมะย่อยมาแล้ว

ByMission To The Moon

ธรรมชาติของมนุษย์นั้นย่อมโหยหา “การควบคุม” อยู่เสมอ พวกเรามักจะมีค่านิยมว่า หากเราสามารถควบคุมชีวิตของตัวเองได้ ย่อมเป็นเรื่องที่ดี ฟังดูเหมือนง่าย แต่ในความจริงแล้ว นอกจากการกระทำ คำพูด หรือความคิด เราหลายคนกลับไม่สามารถควบคุมสิ่งอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ คำพูดของเพื่อน หรือแม้แต่อนาคตข้างหน้าก็ตาม

ซึ่งการพยายามควบคุมสิ่งเหล่านี้ นอกจากจะเป็นการฝืนที่เปล่าประโยชน์นั้น มันมีแต่จะนำตัวเราไปสู่อารมณ์แง่ลบต่างๆ จนทำให้ใครหลายคนเกิดความทุกข์ในชีวิตโดยที่ไม่จำเป็น

แต่การไม่มีการควบคุมแง่มุมต่างๆ ในชีวิตนั้นจะช่วยให้ชีวิตมีความสุขได้จริงหรือ?

มีหลายวิธีที่เราสามารถทำได้ในการเพิ่มความสุขในชีวิต แต่หนึ่งวิธีที่เรียบง่ายและจับต้องได้มากที่สุดวิธีหนึ่งคือการ ‘ปล่อยวาง’ แต่ทำไมเราควรทำเช่นนั้น และเราจะเริ่มอย่างไร? มาทบทวนสิ่งที่เราต้องรู้เกี่ยวกับสาเหตุที่ว่าทำไมเราถึงควรหยุดพยายามควบคุมทุกสิ่งในชีวิตและปล่อยวางเสียบ้าง รวมถึงขั้นตอนที่เราจะสามารถปล่อยวางได้อย่างแท้จริงกัน

แล้วการพยายามจะควบคุมมากเกินไปส่งผลเสียต่อชีวิตเราอย่างไร?

1. ความเครียดและความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้น

การวิจัยจาก The Japanese Journal of Health Psychology ระบุว่า คนที่พยายามควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างอาจประสบกับความเครียดและความวิตกกังวลมากกว่าคนที่ไม่พยายามจะควบคุมทุกอย่างของชีวิต รวมไปถึงทำให้เกิดอาการเครียดสะสม จนสามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

2. ไม่มีความพอใจในชีวิต

การที่เรารู้สึกว่าจำเป็นต้องควบคุม แต่กลับไม่สามารถทำได้ ก็อาจทำให้ความพึงพอใจในชีวิตลดลงได้เช่นกัน จากผลการศึกษาของ Personality and Social Psychology Bulletin พบว่า คนที่มีระดับความต้องการที่จะควบคุมสิ่งต่างๆ สูง จะมีความรู้สึกไม่สบายใจ ครั่นเนื้อครั่นตัว และอึดอัดมากกว่ากลุ่มคนที่มีความต้องการที่จะควบคุมสิ่งต่างๆ ต่ำ ซึ่งสุดท้ายแล้วจะส่งผลกับระดับความพึงพอใจในชีวิตของพวกเขาที่น้อยลง

3. โทษตัวเองโดยไม่จำเป็น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราก็ไม่มีทางที่จะควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตได้ การให้ความสำคัญมากเกินไปเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองหรือการโทษตัวเองโดยไม่จำเป็น เป็นเหตุให้ทำให้เรามีสุขภาพจิตที่แย่ลง คิดกังวลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด รู้สึกไม่มีความสุขกับชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ และอย่างแย่ที่สุดคือลามไปถึงโทษและตำหนิผู้อื่น

แต่แล้วทำไมเราถึงต้องปล่อยวางกันนะ?

1. ชีวิตมีความสงบผ่อนคลาย

หนังสือ The Surrender Experiment โดย Michael Alan Singer ที่เป็น Best Sellers ของ New York Times ที่ได้อธิบายว่าชีวิตของตัวเขาดีขึ้นอย่างไรเมื่อเขาหยุดพยายามควบคุมทุกอย่างและปล่อยวาง และยังมีแนวคิดที่ว่าหากการพยายามควบคุมทุกอย่างทำให้เกิดความเครียดและความวิตกกังวล การปล่อยวางที่เป็นขั้วตรงข้ามก็อาจจะนำพาความสงบและการผ่อนคลายเข้ามาในชีวิต

2. เมื่อไม่คาดหวัง ก็จะไม่ผิดหวัง

เมื่อเราเลิกยึดติดหรือคาดหวังกับสิ่งที่เราต้องการจากสถานการณ์ต่างๆ ไม่ไปยึดติดกับผลลัพธ์บางอย่างที่นอกเหนือการควบคุมของตัวเอง อาจช่วยทำให้ความกดดันในชีวิตของเรานั้นลดลง ไม่ต้องไปเคร่งเครียดกับทุกเรื่องในชีวิต เรียกได้ว่า ถ้าไม่คาดหวัง ก็จะไม่ผิดหวังนั่นเอง

3. รักตัวเองกับรักคนอื่นได้ดีขึ้น

การที่เราพยายามควบคุมทุกอย่างทำให้เราโทษและตำหนิตัวเองกับผู้อื่นมากขึ้น โดยไปยึดติดว่าทุกคนและตัวเราเองจะต้องทำตัวแบบที่เราคาดหวัง เพียงแค่ปล่อยให้คนอื่นเป็นอย่างที่เขาเป็น รวมถึงปล่อยวางทางความรู้สึกกับตัวเอง อนุญาตให้ตัวเองมีความรู้สึกอย่างอิสระ โดยไม่ต้องคำนึงถึงบริบทมากจนเกินไป แค่นี้ก็จะทำให้เราสามารถรักตัวเอง และรักคนอื่นอย่างแท้จริงได้ดีขึ้น

รู้จัก 3 วิธีการปล่อยวางสิ่งต่างๆ ในชีวิต

1. แยกแยะสิ่งที่คุณควบคุมได้และควบคุมไม่ได้

เราจะไม่มีวันปล่อยวางได้ จนกว่าเราจะรู้ว่าเราต้องการและไม่ต้องการอะไรในชีวิต ลองตั้งคำถามภายในใจว่าแท้จริงแล้วเราต้องการอะไรกันแน่ ลองนึกถึงด้านต่างๆ ของชีวิตที่อยู่และไม่อยู่ในความควบคุมของเรา จินตนาการดูว่าถ้าเกิดสถานการณ์ต่างๆ ไม่เป็นไปอย่างที่เราหวังไว้ในหลายๆ แบบดู แล้วพยายามทำใจให้สบาย โดยรู้ว่ามันอยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา สุดท้ายแล้วไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราจะยังโอเคและผ่านมันไปได้

2. ไม่พอใจอะไรให้จดลงไป

การระบายอารมณ์ด้วยการเขียนนั้นเป็นหนึ่งในวิธีคลายเครียดที่ดีมาก เมื่อเราจดบันทึกสิ่งต่างๆ ลงไป จะช่วยทำให้เราได้ฉุกคิดถึงอะไรหลายๆ อย่างในระดับที่ลึกขึ้น และสำหรับคนที่ไม่คุ้นชินกับการปล่อยวาง การจดบันทึกนั้นสามารถเป็นที่ระบายอารมณ์ชั้นดี เพื่อไม่ให้ความรู้สึกหงุดหงิดนั้นขยายตัวจนเป็นปัญหาได้

3. ให้คนรอบตัวและคนที่เรารักอยู่เคียงข้าง

สุดท้ายแล้ว เราไม่จำเป็นต้องรับมือกับอารมณ์เหล่านี้ด้วยตัวคนเดียว อย่างน้อยแล้วเราน่าจะมีเพื่อน พี่น้อง หรือพ่อแม่ที่เข้าใจความรู้สึกอยากจะควบคุมทุกอย่างในชีวิตเหมือนกันอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นลองเปิดใจกับคนที่เราไว้ใจ บอกว่าเราอยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นคนปล่อยวางมากขึ้น และอยากให้เรากับเขาเป็น Support System ของกันและกัน ในเส้นทางของการเปลี่ยนแปลงตัวเอง

ท้ายที่สุดนี้ การปล่อยวางนั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่คนเราจะทำได้ง่ายๆ โดยเฉพาะคนที่มีต้องรับผิดชอบอะไรหลายๆ อย่างในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน ครอบครัว หรือความรัก แต่สุดท้ายก็ต้องยอมรับความจริงว่า เราไม่สามารถควบคุมทุกอย่างในชีวิตได้ และความไม่แน่นอนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

อย่างไรก็ตาม เราขอให้กำลังใจกับใครก็ตามที่กำลังพยายามฝึกฝนตัวเองเพื่อให้กลายเป็นคนที่สามารถปล่อยวางสิ่งต่างๆ ในชีวิตได้มากขึ้น และสำหรับใครก็ตามที่ยังไม่สามารถปล่อยวางได้นั้น ในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ดีที่สุดก็คือตัวเราเอง

อ้างอิง
https://bit.ly/3NCcg6B
https://bit.ly/3xComai
https://bit.ly/3H9xupP

#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#inspiration
#lettinggo

writer : Natchapol Nademahakul

Apr 8, 2023

ไมโคร The Last ร็อค เล็ก เล็ก



The Standard


พร้อมชูมือขวา! ‘ไมโคร’ เตรียมเปิดคอนเสิร์ตใหญ่ เดือน พฤษภาคมนี้
โดย เก้า มีนานนท์

ไมโคร คือวงร็อกระดับตำนานแห่งยุค 80 จากอัลบั้มแรก ‘ร็อค เล็ก เล็ก’
ในปี 2529 พวกเขาใช้เดินทางผ่านร้อนหนาว ขึ้นสูงพุ่งชัน ยืนระยะ และรักษาระดับคุณภาพ
ผ่านงานสตูดิโออัลบั้มที่ตามต่อมาคือ หมื่นฟาเรนไฮต์ (2531), เต็มถัง (2532) ที่ถือเป็นยุคที่หนึ่ง สู่ยุคที่สอง
(ที่นับหลังจาก อำพล ลำพูน แยกตัวไปเป็นศิลปินเดี่ยว) อย่าง เอี่ยมอ่องอรทัย (2534), สุริยคราส (2538) และ ทางไกล (2540)
และพูดได้อย่างเต็มเสียงว่ามันเป็น 6 สตูดิโออัลบั้ม ที่อัดแน่นไปด้วยเพลงฮิต
ชนิดที่ถ้าเอ่ยบอกชอบเพลงไหนก็จะเสียดายอีกหลายเพลง
เช่น รักปอนปอน, หมื่นฟาเรนไฮต์, ใจโทรมๆ, บอกมาคำเดียว,
เอาไปเลย,ส้มหล่น, คนไม่มีสิทธิ์, เติมน้ำมัน, เอี่ยมอ่องอรทัย,
เลือดเย็น, รักซะให้เข็ด, สุริยคราส, ตายเปล่า และอีกมากมาย

วงไมโคร ขับเคลื่อนงานดนตรีผ่านสมาชิกวงอย่าง หนุ่ย-อำพล ลำพูน ในตำแหน่งร้องนำ
และพูดได้เลยว่าเขาสามารถทำหน้าที่ในตำแหน่งของตัวเองได้อย่างยอดเยี่ยม โดดเด่นในระดับร็อกไอคอนแห่งยุคสมัย
ต่อด้วย กบ-ไกรภพ จันทร์ดี ในตำแหน่งกีตาร์และร้องนำ ที่ต่อมาเขาก้าวขึ้นมารับบทบาทอย่างเต็มตัวนับจากอัลบั้ม เอี่ยมอ่องอรทัย
ในปี 2534 อ้วน-มานะ ประเสริฐวงศ์
คือมือกีตาร์อีกหนึ่งคนของวง บอย-สันธาน เลาหวัฒนาวิทย์ ในตำแหน่งคีย์บอร์ด
และสองพี่น้อง อ๊อด-อดินันท์ นกเทศ ในตำแหน่งเบส, ปู-อดิสัย นกเทศ ในตำแหน่งมือกลอง
เราเชื่อว่าการกลับมากับคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งล่าสุดของไมโคร ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ เดือนพฤษภาคมนี้
จะเป็นอีกหนึ่งคอนเสิร์ตรียูเนียนที่น่าตื่นเต้นมากที่สุดโชว์หนึ่งของปี 2020! เพราะแค่คิดภาพแฟนเพลง ‘ชูมือขวา’
อันเป็นเอกลักษณ์แบบเต็ม อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี แค่นี้ก็คุ้มค่าแก่การเข้าไปร่วมบรรยากาศแล้ว



 

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

FB: GMM Grammy Official, FB: MICRO และ FB: ATIMESHOWBIZ 

 

ขอบคุณภาพจาก: www.facebook.com/microrighthand

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์