Custom Search

Mar 31, 2020

แทนคุณแผ่นดิน : พระเอกนักบุญ 'สรพงศ์ ชาตรี'




เมื่อพระเอกหนังไทยตลอดกาล ผู้ที่โลดแล่นอยู่ในวงการบันเทิงมากว่า 40 ปี ฝากฝีมือการแสดงมากกว่า 600 เรื่อง ถือเป็นบุคคลที่ทำงานด้วยความรัก และทุ่มเทให้กับการแสดงอย่างแท้จริง และถ้าเราจะดูถึงแก่นแท้ของบุคคลท่านนี้ ยิ่งตอกย้ำภาพลักษณ์ของความเป็นพระเอก ทั้งในจอและนอกจอเป็นอย่างดี กับศรัทธาในพระพุทธศาสนา และนำธรรมะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต จนนำไปสู่ความชื่นชมและชื่นชอบของประชาชนคนไทยจวบจนทุกวันนี้ กับเรื่องราวของพระเอกนักบุญ 'เอก-สรพงษ์ ชาตรี' รายการ แทนคุณแผ่นดิน เทปพิเศษ วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2560 เวลา 13:30-14:30 น. ทางช่อง NOW26

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (Rama III)


พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทรฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 
(31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี



เหตุการณ์สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 3) อ้างอิงมาจากหนังสือสังคมศึกษา ม.ปลาย ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ วิดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ นางสาววริศรา แพรไพร นางสาวศิริพรรณ เตศิริ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Mar 30, 2020

สุรพล โทณะวณิก อัจฉริยภาพนักเพลง



29 มีนาคม 2556
โดย อนันต์ ลือประดิษฐ์

ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย เรื่องราวของครูเพลงอาวุโส

ที่จะให้คุณซาบซึ้งกับผลงานเพลงของท่าน

ได้อย่างลุ่มลึกยิ่งขึ้น

ข่าวสารในแวดวงดนตรีบอกเล่าความเคลื่อนไหวให้ทราบว่า


ครูสุรพล โทณะวณิก กำลังจะมีคอนเสิร์ตครั้งสำคัญในชื่อ

"บันทึกแผ่นดิน ศิลปินแห่งชาติ สุรพล โทณะวณิก 

ตอน บอกฟ้าดินว่า รักไม่รู้ดับ"

ซึ่งเป็นงานหารายได้มอบให้ครูเพื่อเป็น

ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ที่สำคัญ

นี่อาจจะเป็นคอนเสิร์ตครั้งสุดท้าย

เพราะไม่รู้ว่าจะชีวิตอยู่พบแฟนเพลงได้อีกกี่วัน

นั่นเป็นเหตุให้ "จุดประกาย" นัดหมายครูเพลง

ศิลปินแห่งชาติปี 2540 ท่านนี้อย่างทันควัน

ณ บ้านพักย่านทาวน์อินทาวน์

เพื่อสนทนาถึงสภาพความเป็นไป มุมมองต่อชีวิตและสังคม

โดยพบว่าเบื้องหลังของการสร้างสรรค์

เสียงเพลงให้เป็นมรดกของสังคมไทย

จำนวนมหาศาลนั้น

ชีวิตของสุภาพบุรุษวัยย่าง 83 ปีท่านนี้

ได้ประสบพานพบเรื่องราวมาไม่น้อย

"คุณรู้ไหมว่า โลกเรามันเป็นโรงละครฉากหนึ่ง

ให้มนุษย์เกิดมาแสดงบทบาทละครของแต่ละคน"

แม้ในวันที่สุขภาพย่ำแย่อย่างหนัก

แต่ด้วยความคิดอ่านแจ่มใส

ครูสุรพลปรารถให้ฟัง "ก่อนเกิดไม่รู้ตัวเองมาจากไหน

พอตอนตายก็บอกว่าตัวเองไปสู่ปรโลก"

"ถ้านั้นก่อนเกิดมาจากปรโลก เพราะมาจากความไม่รู้

คุณรู้ไหมว่า ตอนคุณเกิด คุณไม่รู้นะ เกิดมาแล้วตั้งหลายปี

ถึงได้พูดถึงได้รู้เรื่อง แล้วตอนตาย ผมเดาเอาว่า

บรรดาคนที่ตายไปทั้งหมด ป่านนี้เขายังไม่รู้ตัวเลยว่าเขาตาย

เขาเดินทางไปสู่อีกภพหนึ่งหรือเปล่าไม่รู้ ไอ้การที่เราไม่รู้

หรือเราไม่เชื่อ พระพุทธเจ้าท่านไม่ว่าอะไร

ไม่เชื่อลองไปอ่านกาลามสูตร ไม่ใช่ว่าพอไม่เชื่อแล้วจะตกนรก

ไม่ใช่ อย่างผมไม่เชื่อว่าใต้ดินมีนรก

ผมเชื่อตามหลักวิทยาศาสตร์..."

เพียงบทสนทนาเริ่มต้น ครูสุรพลก็ถ่ายทอดปรัชญาชีวิตให้ฟัง

แต่ด้วยน้ำเสียงถ่อมตน ตามประสาคนเก่งที่มิจำเป็นต้อง

แสดงอาการเขื่องหรือคุยโวให้ใครๆ หันมาชื่นชม

เหมือนศิลปินตัวปลอมที่มีอยู่เกลื่อนเมืองในเวลานี้

"ผมก็ไม่ใช่ผู้วิเศษอะไร ก็เติบโตจากการกวาดโรงละคร

ล้างห้องส้วม" ครูบอก พร้อมขยายความว่า

การคลุกคลีอยู่ที่โรงละครนั่นแหละ

ทำให้ท่านได้รู้จักนักแต่งเพลง แล้วมีโอกาสเจริญรอยตาม

"ไม่ได้ร่ำเรียน ไม่มีใครสอน แต่ทุกคนเป็นอาจารย์ของผมหมด"

วิธีการของครูสุรพล คือการนำเพลงชั้นดีทั้งหลายมาห้อยไว้

บนราว สมัยเช่าห้องพักอยู่หลังโรงพิมพ์เพลินจิต

พร้อมกับพินิจพิเคราะห์ว่าเพลงเหล่านั้นมีจุดเด่นอย่างไร

"ผมก็ประมวลความคิดเห็น จับจุดได้ว่าเพลงนี้ มันต้องมีจุดเด่น

จุดดี จุดกลับใจ แลเห็นภาพ เพราะถึงอย่างไรก็ตาม

เพลงทั้งหมดเป็นพาณิชย์ศิลป์

แต่ถ้าใครถ่ายทอดจิตใจลงไปในเพลง แล้วตรงกับประชาชน

เพลงนั้นก็จะดัง หลายเพลงที่คนแต่ง

สำคัญตัวผิด บรรยายเฉพาะชีวิตตัวเอง เพลงนั้นก็ไม่ดัง"

ครูสุรพลเล่าว่า ท่านมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ

พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ และ หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ เป็นครู


"พูดตามความจริง ผมมีท่านจักรฯ กับหลวงสุขุมฯ

อยู่ในหัวใจเยอะเลย ลีลาการเขียนทำนอง

ผมไม่สามารถไปแตะต้องได้ สุดยอดแล้ว

แล้วอีกอย่าง ผมเป็นพุทธศาสนิกชน

เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเวลาเทศน์อะไร

ตอนกลางท่านจะบอกว่าอุปมาเหมือนหนึ่งดอกบัวเกิดในตม

เป็นอุปมาอุปไมย เวลาผมแต่งเพลง ผมก็นึก ทำไงดี

พอถึงท่อนแยก น้ำหยดลงหิน หรือ จะเอาโลกมาทำปากกา

ก็เจริญรอยตามพระพุทธองค์"

ในมุมมองด้านการแต่งเพลง ครูสุรพลถ่อมตัวว่า

ท่านสร้างงานจากหลักการของธรรมชาติเป็นหลัก

ดังกรณีของประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านพ้นมาในวัยเยาว์

"ผมไม่กลัวผีหรอก ตีนก็ไม่มี สมองก็ไม่มี ตาก็ไม่มี

คุณไปนั่งกลัวอยู่ได้ บางคืนผมไม่มีที่นอน โกดังผีวัดพิชัยญาติ

ผมก็เคยนอน นอนกับผีเลย วันหนึ่งผมหากินไม่ได้จะหิวตายแล้ว

ผมไปนอนในโลงเลย ในใจนึกตายก็ตายไปเลย

จะได้ไม่ไปเดือดร้อนใคร ผมนอนหลับสนิทแล้วพอตื่นขึ้นมา

ผมนึกว่าตกนรก ข้างหลังนี้เจ็บไปหมดเลย

ที่แท้มดแดงกัด มันนึกว่าผมตาย มันก็เลยมากินเนื้อผม

ทีนี้มันเป็นกลางวัน แดดส่องทะลุหลังคาสังกะสีเข้ามา

ข้างในมันเลยไม่มืด ผมก็คิดได้ว่า อยู่ในที่มืด

แสงสว่างยังเข้ามาได้เลย ชีวิตมืดๆ ก็ต้องไปหาแสงสว่างได้

ผมไม่เชื่อว่า ผมเป็นคนคิด เพราะธรรมชาติสอน

คุณจะไปคิดได้อย่างไร เพลงต่างๆ ที่ผมแต่งมา

คุณอย่าไปคิดว่า ผมแต่งได้อย่างไร

เป็นเรื่องธรรมชาติทั้งหมดล่ะ"

สมัยหนุ่ม มีข่าวคราวเกี่ยวกับความเจ้าชู้

ของนักแต่งเพลงท่านนี้

แต่ท่านอธิบายอย่างเรียบง่ายว่า

"ผมไปกับนักร้องดัง 2 คน รวมผมเป็น 3 คน

แล้วผู้หญิง 3 คนสวยๆ คนหนึ่งไปกับนักร้องคนหนึ่ง

ผู้หญิงอีกสองคนไปกับนักร้องดังอีกคน

ผมไม่มีใครเอา ... ผมยินดีที่จะอาภัพ

ผมไม่สนใจ จะเอาเงินที่ไหนไปเลี้ยงเขา"

ตามด้วยคำอธิบายว่า

ทำไมท่านถึงยอมรับภรรยา 11 คนกับลูก 12 คน

"เราคบหมดทุกคนทุกประเภท สมัยผมหนุ่มๆ บางคนท้องใหญ่

แล้วไม่มีเงินจะออกลูก ผมก็พาไปโรงพยาบาล เสียเงินไปอีก

แถมลูกออกมาไม่มีพ่อ ขอร้องให้เป็นพ่อ ผมดูแล้ว

อ่อ ! ลูกผู้หญิงโอเค พวกสกุลโทณะวณิก เขาจะได้ไม่ว่าเอา

โตขึ้นเป็นสาว แต่งงานไปก็เปลี่ยนนามสกุลแล้ว

พอผมช่วยเหลือ ก็กลายเป็นคนเจ้าชู้ ลูกมากตั้ง 12 คน

เกิดจาก 11แม่ ไม่ได้ทำอะไรสักคน

ส่วนใหญ่ไม่ได้ไปยุ่งเลย เราสงสารเขา เราเป็นลูกกำพร้า

นอนในถังขยะ นอนในหัวเรือเอี่ยมจุ๊น ในวัดอนงคงคาราม

ที่จอดเกยตื้นอยู่ ในคลองตลาดบ้านสมเด็จฯ

สมัยนั้น แล้วตอนสงครามโลก นอนในกองทราย ขุดทรายลึกๆ

แล้วก็นอน ถ้าผมไม่ได้หมา ผมก็ตายไปแล้ว

ฉะนั้น หมามันก็รักผม กลางคืนหน้าหนาว

กอดกับมันอุ่นกว่ากอดกับคนอีก"

ชีวิตช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ของครูสุรพล ไม่ต่างจาก

"เรื่องจริงเน่ายิ่งกว่านิยาย" ของ ป.บูรณปกรณ์ เสียอีก

แต่เป็นชีวิตต่ำเตี้ยที่มองหาแสงสว่างอยู่ตลอดเวลา

"ผมเป็นเด็กกุ๊ยที่สะพานพระพุทธยอดฟ้า

ผมเรียนอ่านหนังสือจากเศษกระดาษ

หนังสือพิมพ์สยามราษฏร์หรือจากป้ายตามร้านค้าต่างๆ

ผมถามเด็กนักเรียนที่เดินไปเรียนบ้านสมเด็จ

หรือถามคนบางคน (ตอนนั้น)

คนส่วนมากไม่รู้หนังสือด้วยซ้ำ

อย่างผู้ใหญ่บอกว่าคำนี้อ่านอะไร ช่วยอ่านหน่อย

เพราะไม่รู้ เสร็จแล้วผมก็ค่อยๆ เรียนด้วยตัวเอง

เขียน ก.ตัวหนึ่ง ผมต้องมานั่งจำ ก.คือไม่มีหัว

หัวออกเป็น ภ. หัวเข้าเป็น ถ. ลากขาลงมาเป็น ฤ

หัวออกเป็น ฦ ผมต้องจำแบบนี้ ค่อยๆ จำทีละคำ"


ด้วยความสงสารและเห็นใจ ต่อมานักเรียนจาก
โรงเรียนบ้านสมเด็จฯ จึงให้ตำราแบบเรียนไว เพื่อใช้ในการฝึกฝน

"ผมเอาตำราแบบเรียนไวไปนั่งข้างโรงเรียน
สมัยก่อน เขามีโรงเรียนเป็นห้องแถวรับจ้างสอนเด็กๆ
ผมไปนั่งข้างโรงเรียน ผมพยายามอยู่ปีกว่า
เกือบสองปี อายุราว 7-8 ขวบ ก็พออ่านออก ...
วันหลังไปเจอลุงคนหนึ่ง แกนั่งถือแว่นแล้วค่อยๆ อ่าน
ผมก็บอกว่า เอาไหมลุง ผมรับจ้างอ่านหนังสือชั่วโมงละสตางค์
แต่มีข้อแม้ ถ้าคำไหนผมไม่รู้เรื่อง คุณลุงต้องช่วยสอนผม
คุณคิดดูอ่านตั้งแต่รามเกียรติ์
พระอภัยมณี มหาภารตะยุทธ
สามก๊กของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) หรือหนังสือวัดเกาะ"

"คุณรู้ไหมว่านางนาคพระโขนง ที่จริงไม่มี คนเขาแต่งขึ้น
บาทขาดราคาเชิญมาซื้อ หนังสือวัดเกาะเพราะหนักหนา
นางนาคมาจากหนังสือเล่มละบาท
แล้วดังเพราะว่าคนเขียนเขาเข้าใจ คลองพระโขนงมาอย่างนี้
พอมาถึงโค้งหลังวัดมหาบุตร มันมาอย่างนี้ ไปอย่างนี้
ทำให้เป็นเกาะแหลมยื่นออกไป ทีนี้สมัยก่อน
ไม่มีรถยนต์เข้าวัด เลยทำสะพานขนศพจากหลังวัดขึ้นไป
ก็มีคนฉลาดเขียน มีนางนาคมานั่งเรียกเจ๊กขายหมู จนน่ากลัว"

จากเด็กกวาดโรงละครย่านเวิ้งนครเขษม วันหนึ่ง ครูสุรพล
ก็มีโอกาสเขียนเพลงในนามของตัวเองเป็นครั้งแรก
เหตุเพราะมีละครเรื่องหนึ่ง ไม่มีใครมาเขียนคำร้อง
จากเพลง "ลาแล้วแก้วตา" โดยการสนับสนุนของ
ครูไสล ไกรเลิศ เป็นประตูสู่วงการเพลงในที่สุด

"ไม่ใช่ว่าเป็นคนเก่งกาจอะไรหรอก ทำมาหากินไปวันๆ "
ครูสุรพลเอ่ยพร้อมสำทับว่า
ตอนนั้นถึงเวลาที่จะมุ่งมั่นเป็นนักแต่งเพลงให้ได้
เพราะที่ผ่านมาก็เคยแต่งเพลงทิ้งไว้
จนมีคนเอาไปใช้เป็นเครดิตของคนนั้นคนนี้ไปทั่ว

"วันหนึ่งยืนรอรถรางข้างบ้านหลังหนึ่ง มีเพลงดังลอยมา
คนที่ยืนอยู่ข้างๆบอกว่า ไอ้เหี้ยนี้มันแต่งเพลงดีฉิบหายเลย
เราฟังอยู่นะ คนแต่งไม่ใช่ผม แต่ผมจำได้ว่า
เพลงนี้ผมแต่ง ก็นึกในใจเราต้องเป็นนักแต่งเพลงได้
นั่นเป็นเพลงของเรา อันโน่นก็ดังอันนี้ก็ดัง"

หลักการในการแต่งเพลงของครูสุรพล
คือดูตามความเหมาะสมของนักร้อง

"อย่างมีศักดิ์ (นาครัตน์) ร้องอย่างไร
นิสัยอย่างไร
ผมให้ร้องอย่างนี้ พิทยา (พิทยา บุญยรัตพันธ์)
นิสัยอย่างไร
เพลงจูบ (ร้องเพลง) จูบ คุณคิดว่าไม่สำคัญ
เอาไปให้ สวลี (สวรี ผกาพันธุ์) ร้อง
เขาก็ไม่ร้อง สวลี ต้องร้อง ฟ้ามิอาจกั้น "

"ผมมีความคิดแตกต่างจากคนอื่น อย่างเช่นผมรู้ว่า
คนไทยหรือคนทั่งโลกเลย ไปสอนเขาตรงๆ เขาฟังหรือเปล่า
เขาไม่ฟังนะ แล้วคนที่ไปเล่าเรื่องหัวใจของตัวเอง
ไปเขียนโดยที่ไม่มีเทคนิค คนก็ไม่ฟัง
ต้องตรงกับหัวใจของคนฟัง ใครก็แล้วแต่
เขียนอะไรที่มีจุดเด่น ที่แลเห็นภาพแล้วก็โดนใจ ก็ขายได้
แบบไอ้พลับ (จุฑาภัทร เหล่าธรรมทัศน์)
ใครๆ ก็ไม่รักผม แม้แต่พัดลมยังส่ายหน้าเลย
คนก็นึกถึง ก็ดัง ขายได้ระเบิดเลย"

สุรพล โทณะวณิก ทำงานประพันธ์เพลงมาตลอดทั้งชีวิต
แต่ในบั้นปลายกลับไม่มีลิขสิทธิ์ไว้ถือครอง
นับเป็นตัวอย่างของความร้าวรันทดในวงการเพลง
ที่ยังปรากฏอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

"ลิขสิทธิ์ดนตรีผม ก็(มีคน)เอาไป ที่ชื่อสุรพล คุณประกิต
(อภิสารธนรักษ์) ดูแล ตอนนั้นทำบริษัทเสียงทอง
สัญญากันเอาไว้ 20 ปี พอถึง 20 ปี ไปหมดล่ะ
เพราะว่าผมไม่รู้กฎหมาย นี่ละผลของคนไม่ได้เรียนหนังสือ
เวลาใครพูดดีๆ ก็ดี ปรากฏว่าพอถึง 20 ปี ไม่หมด
เพราะบนหัวกระดาษมีคำว่า 'โอน' คำว่าโอนคำเดียว
ก็เป็นของเขา ตอนนี้กำลังจะมีคดี ผมว่ายังไงๆ ก็ต้องมีคดี
เพราะในสัญญาเก่า เขาบอกว่าใน 20ปีนี้
จะไม่แต่งเพลงให้ใคร ในชื่อ สุรพล โทณะวณิก
และชื่อที่ใกล้เคียง เขาเขียนอย่างนี้
ผมเลยไปแต่งให้คนอื่น ในชื่อที่ไม่ได้ใกล้เคียงเลย
อารี อุไร งอนฉายแสง เอมมี่อุซ่า เค็มใจแคบ ยักษ์ใจมาร
ภูผาเกริกเกรียงไกร ใกล้เคียงชื่อสุรพลที่ไหน
ทีนี้พอมีคนมาซื้อเพลง
มีเพลงฮิตไม่กี่เพลง โอ้ปาป๊า หรือ
หลับผล็อตอร่อยไปเลย ดูสิเขาจะมาเอาเงินผมอีก
แล้วเขาจะมาแบ่งคืน ผมว่าคราวนี้ต้องไม่ยอมแล้ว
ต้องเป็นคดี ปรกติ ไม่ค่อยชอบเป็นคดี
ยอมตลอดไม่ว่าหน้าไหน"

ด้วยความทันสมัย ติดตามผลงานใหม่ๆ
ของนักแต่งเพลงรุ่นหลัง ทำให้ทุกวันนี้ สุรพล
เปิดใจกว้างให้กับเพลงร่วมสมัย
แถมยังไม่เห็นด้วยกับทัศนคติคับแคบของคนยุคเก่าก่อน

"เพลงเก่าก็คนละแบบ อย่าไปว่าเลย วัยรุ่น ถ้าเขาไม่ดี
ถ้าคนไม่ชอบ จะไปขายได้ไง ยุคสมัยก็เป็นแบบนี้
เปลี่ยนแปลงไป ของผมไม่เคยว่าวัยรุ่น เขาชอบ
คุณจะไปเขียนเพลงวัยรุ่นดีๆ อย่างของคุณบอย โกสิยพงษ์
ดีจะตายไป บางเพลงความหมายดีมากเลยนะ (ร้องเพลง)
ช่วยเก็บผ้าเช็ดให้ฉันหน่อยได้ไหม ฉันทำมันตก
ฉันกลัวใครคว้าไป ช่วยเก็บผ้าเช็ดหน้าให้ฉันหน่อยได้ไหม
ฉันทำมันตก ตกลงพร้อมหัวใจ แต่งเพลงเก่งกว่าผมตั้งเยอะ
เขียนได้ขนาดนี้นะ ยังมีหลายเพลง ล้วนแต่เก่งๆ ทั้งนั้น"

ในช่วงวัยไม้ใกล้ฝั่ง ดูเหมือนครูเพลงท่านนี้มิได้หวั่นวิตก
กับอนาคตแต่อย่างใด ท่านพูดเสมอตลอดการสนทนาว่า
ต้องประคองตัว เพราะความทุกข์ยากที่ผ่านมา
ทำให้ท่านไม่เห็นอะไรจะลำบากไปกว่านี้อีกแล้ว
เพียงแต่คนสัมภาษณ์อดสะท้อนใจมิได้ว่า
ด้วยนฤมิตกรรมที่ท่านสร้างสรรค์ขึ้น
ในฐานะศิลปินแห่งชาติ รัฐบาลไทย 
โดยเฉพาะกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ไม่สามารถดูแลให้เหมาะสมกับ
ฐานานุรูปมากกว่านี้หรือ

"คนเราถ้ามีมานะบากบั่น มันก็อยู่ได้ อย่างผม
บางทีวันนี้กินข้าวมื้อเดียว รุ่งขึ้นเคี้ยวอากาศ
นั่งเคี้ยวอากาศจนชินแล้ว ไม่ตายหรอก ขาดน้ำถึงตาย
แล้วตั้งแต่เล็กจนโต ผมก็กินน้ำก็อกมา
ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์จนถึงทุกวันนี้"

สุรพล โทณะวณิก ฝากข้อคิดดูแลนักแต่งเพลง รับศักราชใหม่



สยามศิลปิน - สุรพล โทณะวณิก ผู้พลิกชีวิตด้วยบทเพลง


เปอร์ สุวิกรม: คุณค่าและความหมายของชีวิตที่ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งใด


นักแสดงหนุ่มวัยโจ๋มาดทะเล้น แจ้งเกิดในวงการบันเทิงจาก
ภาพยนตร์เรื่อง Final Score 365 วันตามติด ชีวิตเด็กเอ็นท์
ล่าสุด มีผลงานให้ติดตามทั้งในบทบาทพิธีกร
รายการดิไอดอล และดีเจคลื่น 104.5 แฟคเรดิโอโตโต มัน มัน
วันเกิด : -14 ตุลาคม 2531
ประวัติครอบครัว :
-บิดาชื่อ นายวุฒิพร อัมระนันทน์
-มารดาชื่อ นางดวงพร อัมระนันทน์
-มีพี่น้อง 3 คนเป็นคนกลาง
การศึกษา :
-ปริญญาตรีคณะวิศวโยธา ภาคอินเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า บางมด
-มัธยมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบ
อาชีพ : -นักแสดง
ผลงาน :
-ผลงานภาพยนตร์เรื่อง Final Score 365 วันตามติด ชีวิตเด็กเอ็นท์
-ผลงานพิธีกรรายการ หนึ่งวันเดียวกัน ทางทีวีไทย
-ผลงานพิธีกรรายการเจาะใจ ทางช่อง 5
-ผลงานพิธีกรรายการดิไอดอล ทางช่อง 9
-ผลงานดีเจคลื่น 104.5 แฟค เรดิโอ โตโต มัน มัน











ฌอน บูรณะหิรัญ : เราเกิดมาทำไม


วิเชียร อัศว์วิเศษศิวะกุล



เปิดใจ วิเชียร อัศว์วิเศษศิวะกุล ตัวจริง-เสียงจริง แห่ง 'นิธิทัศน์ฯ' กับคลัง 'เพลงวันวาน' ระดับพันล้าน


แม้ยุติการบริหารธุรกิจเพลงนับแต่เกษียณตัวเองเมื่อ 12 ปีก่อน
แต่ดูเหมือนว่าบทบาทการเป็น 'ผู้ให้' ของ วิเชียร อัศว์วิเศษศิวะกุล

ผู้สร้างตำนาน 'นิธิทัศน์' ยังไม่มีที่สิ้นสุด
ทุกครั้งเมื่อมีข่าวคราวศิลปินต้องการความช่วยเหลือ โดยเฉพาะศิลปินสังกัด 'นิธิทัศน์โปรโมชั่น'
เมื่อนั้น มักมีชื่อของ 'พี่วิเชียร'
หรือ 'เสี่ยวิเชียร' ของน้องๆ ศิลปินอยู่ด้วยเสมอ

เช่นเดียวกับกรณีของ เอ๋-พัชรา แวงวรรณ
อดีตนักร้องสาวชื่อดังวงโอเวชั่น ที่เสียชีวิตในสหรัฐอเมริกา
ทาง เสี่ยวิเชียร ควักกระเป๋ากว่า 2 แสนบาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการส่งศพกลับมา
บำเพ็ญกุศลยังประเทศไทย
และพร้อมเป็นเจ้าภาพในการทำพิธีบำเพ็ญกุศลด้วย
ในค่ำวันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 ณ
วัดสายไหม อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี

ในงานจะนำภาพโปสเตอร์ของอดีตนักร้องดัง ฉายา
'ราชินีเพลงช้ำรัก' มาจำหน่ายเพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญร่วมกัน
เฉกเช่นครั้งหนึ่งที่ได้ช่วยเหลือครอบครัวของ
กุ้ง-กิตติคุณ เชียรสงค์ มาแล้ว
ต่างกันเพียงครั้งนี้ จะแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งหลัง
จากมอบให้กับทางครอบครัวของนักร้องดังไปแล้ว
ไปเป็นทุนก่อตั้ง 'กองทุนสำหรับศิลปินนิธิทัศน์ที่ยากไร้'

"เราถือว่าได้ทำบุญเท่านั้นเอง
แล้วให้ทางครอบครัวเขาสบายใจด้วย
แฟนเพลงก็จะได้มารำลึก เพราะอยู่ที่โน่นเราก็ไม่รู้ว่าตั้งศพยังไง
มีพระกี่รูป ไม่รู้อะไรเลย แต่เมื่อทางกงสุลบอกว่า
สามารถนำศพกลับมาได้ มีคนอำนวยความสะดวกเรื่องนี้
เราก็แค่ไปจ่ายตังส์ เราก็ถือว่าได้ทำบุญ ไม่ได้คิดอะไรมาก"

เสี่ยวิเชียร กล่าวด้วยท่าทีสบาย ถือว่าทำบุญแล้วส่งผลดีต่อชีวิต ไม่มีโรคภัยใดๆ กล้ำกราย ในวัย 61 ย่าง 62
สีหน้าแววตาของเสี่ยวิเชียรจึงดูแช่มชื่น เดินเหินแข็งแรงกระฉับกระเฉง

"ผมไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ นอนหัวค่ำ ผม 61-62 แล้ว
เห็นไหมครับหน้าตึงเปรี๊ยะ ไม่เคยฉีดโบท็อก แล้วสุขภาพจิตดี
หัวถึงหมอนนอนหลับ"
เสี่ยวิเชียรบอกถึงเคล็ดลับความหนุ่ม

โดยเฉพาะด้านการงานนั้น วางแผนชีวิตให้ตนเองเกษียณตั้งแต่อายุ 50 ปี แล้วหันมาใช้ชีวิตสบายๆ รื่นรมย์อยู่บนคอนโดฯ
หรูริมแม่น้ำเจ้าพระยา เขตคลองสาน
วันไหนอยากสัมผัสสายลมแสงแดดก็ขับรถไปยัง
'นิธิทัศน์ บูทีค แคมป์' รีสอร์ทส่วนตัว ที่
อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยไม่ต้องห่วงบริษัท
เพราะทุกวันนี้มอบหมายถ่ายโอนให้ลูกๆ
ทั้ง 3 คน ดูแลกิจการเรียบร้อยแล้ว ในนาม 'นิธิทัศน์ เอโอเอ'
โดยมี 'คลังเพลงเก่า'
ตั้งแต่สมัย 'นิธิทัศน์โปรโมชั่น' มูลค่ามหาศาล

สำหรับ 'นิธิทัศน์โปรโมชั่น' สร้างประวัติศาสตร์ธุรกิจเพลงไทย
มาตั้งแต่ปี 2520 มีศิลปินในสังกัดมากมาย
ที่กลายมาเป็นศิลปิน 'รุ่นเรโทร' ในสมัยนี้
อาทิ แกรนด์ เอ็กซ์, ดิ อินโนเซนท์, ดิ อิมพอสซิเบิ้ล,
ติ๊ก ชีโร่, แจ้-ดนุพล แก้วกาญจน์, วงเดือน, วงพลอย,
นิค นิรนาม ฯลฯ

อ่านต่อที่ www.nationweekend.com

นิพนธ์ เที่ยงธรรม



นิพนธ์ เที่ยงธรรม เป็นนักเขียนชาวไทย
โดยใช้นามปากกา จุฬามณี เฟื่องนคร
และ ชอนตะวัน โดยผลงานที่มีชื่อเสียง
ที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็บบทโทรทัศน์
ทั้งชิงชังทางททบ.5และ
นวนิยายชุด
สุดแค้นแสนรัก
วาสนารัก

ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
นำนวนิยายมาดัดแปลงเป็นบทละครโทรทัศน์
จนสร้างชื่อเสียงให้กับนวนิยาย
และจังหวัดนครวรรค์
ที่เป็นสถานที่ดำเนินเรื่องกลับมามีชื่อเสียง




Mar 29, 2020

ดิ อินโนเซ้นท์ : The Innocent



ที่มา https://www.kroobannok.com/13217


https://www.facebook.com/TheInnocentBandSociety

https://www.facebook.com/ThePalaceBandFanpage/posts/490319907699545/


วง ดิ อินโนเซ้นท์เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรก
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2522
จากการประกวดโฟล์คซองนักเรียนในโรงเรียนดรุณา
จังหวัดราชบุรี ในวันคริสต์มาส จากวงโฟล์คซองที่เข้าประกวดทั้งหมด 10 วง
ดิ อินโนเซ้นท์ได้รับรางวัลชนะเลิศ
จากเพลงที่เข้าประกวด 4 เพลง
คือ “Born To Love You”
และเพลง "สัมพันธ์ไทย" ของอิสซึ่น
ต่อมาในช่วงปีใหม่ พ.ศ. 2523

มีโครงการของจังหวัดต่างๆ ที่จะส่งเสริมดนตรีของเยาวชน
จึงได้จัดประกวดโฟล์คซองเยาวชนของเทศบาลจังหวัดราชบุรี
วงดิ อินโนเซ้นท์เข้าประกวดอีกครั้ง
ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2523
พร้อมกับอีก 6 วง
ดิ อินโนเซ้นท์ได้รับรางวัลชนะเลิศอีกครั้งหนึ่ง

ในที่สุด
วง ดิ อินโนเซ้นท์เป็นวงดนตรีขวัญใจวัยรุ่นไทย
ในยุค ค.ศ. 1980 วงหนึ่ง

มีสมาชิกอย่าง



สายชล ระดมกิจ  กีต้าร์/ร้องนำ,
ชาตรี คงสุวรรณ (โอม) กีต้าร์/ร้องนำ
พีรสันติ จวบสมัย (สัน) คีย์บอร์ด
เสนีย์ ฉัตรวิชัย (ปื๊ด) เบส

โดยมีผลงานในช่วงระหว่างปี 2523 - 2532
กับสังกัดนิธิทัศน์โปรโมชั่น

ประวัติ
ดิ อินโนเซ้นท์ ตั้งวงโดยเด็กวัยรุ่นชาวจังหวัดราชบุรี
โดยมีแกนหลักคือ พีรสันติ จวบสมัย, สายชล ระดมกิจ
และสิทธิศักดิ์ กิจเต่ง

ในช่วงเริ่มต้นเล่นเพลงโฟลค์ซองเข้าประกวดตามงานต่างๆ
ต่อมาได้บันทึกเสียง



อัลบั้มชุด รักไม่รู้ดับ เป็นแนวโฟลค์ซอง
อัลบั้มต่อมา ขวัญใจนักเรียน
เริ่มปรับแนวทางของวงเป็นลักษณะแบนด์เต็มตัว มีเพลงที่ได้รับความนิยมคือ สอบตก และ เสียงจากแม่กลอง
หลังเทปชุดนี้ สิทธิศักดิ์ (เบสและร้อง)
สมาชิกร่วมก่อตั้งได้ลาออกจากวง
ต่อมาภายหลังเขาได้ตั้งวง Success
มีอัลบั้มออกมากับทางนิธิทัศน์หนึ่งชุด
โดยมีเพลง รักมั่นคง ที่ได้รับความนิยมพอสมควร

หลังจากนั้น ชาตรี คงสุวรรณ และ เสนีย์ ฉัตรวิชัย
เข้าร่วมวงในปี 2525 ทำให้ศักยภาพของทางวงสูงขึ้น

อยู่หอ คืออัลบั้มที่มีเพลงดังอย่าง เพลง อยู่หอ
และ มนต์ไทรโยค วิทยา ศุภพรโอภาส
นักจัดรายการวิทยุรายการ เพลงไทยสบายอารมณ์
ตั้งฉายาให้กับทางวงว่า ขวัญใจนักเรียน
ซึ่งมาจากชื่อเทปชุดที่สอง ทั้งนี้เพราะสอดคล้องกับเนื้อหาและบุคลิกภาพของทางวงในช่วงนั้น

เพียงกระซิบ
งานชุดต่อมาเป็นงานที่มีพัฒนาการทางด้านดนตรีขึ้นอย่างมาก
วงการดนตรีเริ่มจับตาดูฝีมือการเล่นและ
การเรียบเรียงดนตรีของทางวง และ
ต่อมากับอัลบั้ม รักคืออะไร และ โลกใบเก่า ดิ อินโนเซ้นท์
เริ่มทดลองสอดแทรกงานดนตรีแนวอาร์ทเข้าไปด้วย
ในขณะที่เพลงโปรโมทก็เป็นป็อปแต่เป็นป็อป
แบบไม่ได้เอาใจตลาด
ทำให้ทางวงไม่ได้แฟนเพลงกลุ่มใหม่ๆเพิ่มขึ้นมากนัก

ในปี 2529 ไก่ (เกียรติศักดิ์) มือกลองของวงได้ลาออกไป
ทางวงไม่ได้หาสมาชิกใหม่เข้ามาเสริม
การบันทึกเสียงในห้องอัดในชุดต่อมาใช้ดรัมแมชชีนแทน
ส่วนตอนออกแสดงสดก็ให้นักดนตรีอาชีพมาช่วยเสริม
ครั้งนี้ของพี่กับน้อง ออกมาในปี 2529
โดยได้ อุ้ย (วรสิทธิ์) เข้ามาเป็นนักร้องนำร่วมกับสายชล
และเพลง ฝากรัก ที่เขาเป็นผู้ขับร้องกลายเป็น one hit wonder ของตัวเขาไปด้วย

ทั้งชาตรี,พีรสันติและเสนีย์ถูกดึงตัวไปทำเพลงให้กับศิลปินหลายคน โดยชาตรีได้รับการทาบทามจาก
ดนุพล แก้วกาญจน์ (Ex-Grand Ex’)
ให้เข้าร่วมในวงดนตรีเฉพาะกิจชื่อวง พลอย

นอกจากนี้ เรวัต พุทฺธินันทน์ ยังดึงเขาเข้าไปร่วมเล่น
ในคอนเสิร์ท ปึ้กกก์...! ซึ่งเป็นการแสดงดนตรีครั้งประวัติศาสตร์
อีกครั้งหนึ่งของวงการดนตรีไทย
ซึ่งตรงนี้เป็นจุดเชื่อมให้ชาตรีเข้าไปทำงานกับทางแกรมมี่



ในภายหลัง 10 นาฬิกา
เป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายโดยเว้นห่างจากอัลบั้มก่อนหน้าถึง 3 ปี
หลังจากผลงานชุดนี้สมาชิกก็ยุบวงแยกย้ายกันไปทำงานด้านการผลิตเพลงให้กับศิลปินไทยในยุค 90
จนถึงปัจจุบันและสมาชิกก็มีผลงานออกมาในหลายลักษณะ

ต่อมา สายชล ระดมกิจ หนึ่งในสมาชิกของวง
ได้กลับมาทำอัลบั้มเดี่ยวในสังกัดเบเกอรี่ มิวสิค
โดยนำผลงานเพลงเก่าของวง ดิ อินโนเซ็นท์
มาทำใหม่ โปรดิวซ์โดย บอย โกสิยพงษ์
ในอัลบั้มชุด "A Touch of the Innocent" (ปี พ.ศ. 2539) และต่อมาได้ออกอัลบั้มเดี่ยวอีกหนึ่งชุด
แต่เป็นการนำเพลงเก่าในสังกัดเบเกอรี่ มิวสิค มาทำใหม่
โดยได้ พีรสันติ จวบสมัย มาเป็นโปรดิวเซอร์ให้ ในอัลบั้มชุด "Portrait of the Innocent" (ปี พ.ศ. 2541)





รายการเก๋าไม่แก่ วันที่ 14-02-62 แขกรับเชิญ : 

คุณสายชล ระดมกิจ 



รายการเก๋าไม่แก่ วันที่ 15-02-62 แขกรับเชิญ :

คุณสายชล ระดมกิจ 




The innocent : อัลบั้ม 10 นาฬิกา (พ.ศ. 2532)












  1. เสียเวลาเปล่า
  2. เกิดมาทำไม 
  3. เห็นใจกันหน่อย
  4. เรื่องมันใหญ่
  5. ขายหัวเราะ
  6. 26.00 น. (บรรเลง)
  7. บอกแล้ว 
  8. เพราะเธอรึเปล่า 
  9. 589-3375
  10. จะเอายังไง 
  11. ลองคิดดู