Custom Search

Jan 23, 2021

Larry King (1933-2021)



วินทร์ เลียววาริณ เขียน 23/1/2564

Larry King นักสัมภาษณ์ที่ดีที่สุดคนหนึ่งของโลกจากโลกไปในวันนี้

ชื่อของเขาผูกกับสำนักข่าว CNN มานานหลายสิบปี

ในรายการ Larry King Live

ลีลาการสัมภาษณ์ของเขาเป็นมืออาชีพ ยิงเข้าเป้า

แต่เจืออารมณ์ขันและการมองโลกในแง่ดีเสมอ

แฟนรายการย่อมคุ้นกับลีลาการชี้นิ้วใส่คนดู

และประโยคคั่นรายการก่อนตัดเข้าโฆษณาว่า "Don't go away."

แปลว่า อย่าเพิ่งเปลี่ยนช่องนะโว้ย!

จนถึงจุดจุดหนึ่ง เมื่อความชราครอบงำสังขาร เขาก็รีไทร์

ในการสัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายในฐานะ CNN

เขากล่าวว่า "มันเศร้า แต่มันเป็นเวลาที่ต้องไปแล้ว

คุณรู้ว่ามันถึงเวลาแล้ว"

คิงใช้ชีวิตแบบจุดเทียนสองปลาย เขาแต่งงานแปดครั้ง หย่าเจ็ดครั้ง

และแต่งงานกับนางแบบเพลย์บอยคนเดิมซ้ำสองครั้ง

เขารักการสัมภาษณ์เป็นชีวิตจิตใจ ในช่วง 63 ปีของการทำงาน

สัมภาษณ์ไม่น้อยกว่าสามหมื่นครั้ง

เขาสัมภาษณ์ขาใหญ่มาทั่วโลก ตั้งแต่นักแสดง

เช่น อัล ปาชิโน นักร้องเช่น บาร์บรา สไตรแซนด์

ประธานาธิบดีอีกหลายคน เช่น คลินตัน ไบเดน ไปจนถึงปูติน

เขาหยุดทำงานกับ CNN ได้ไม่นาน

ก็ทนคิดถึงไมโครโฟนไม่ไหว

หันกลับมาทำต่อ ในรายการ Larry King Now

ซึ่งผมก็ยังตามดู

แต่ในที่สุดก็ถึงเวลารีไทร์อีกครั้ง

แม้ว่าแฟนๆ ยังอยากได้ยิน "Don't go away."

แค่ไหนก็ตาม

"มันเศร้า แต่มันเป็นเวลาที่ต้องไปแล้ว คุณรู้ว่ามันถึงเวลาแล้ว"

23-1-21

Jan 19, 2021

วงการสื่อสูญเสีย ‘ฐากูร บุนปาน’ รองประธานมติชน ถึงแก่กรรมอย่างสงบ

ที่มา https://thestandard.co/thakoon-boonparn-passed-away/


วันที่ (12 มกราคม พ.ศ.2564) มติชนออนไลน์
รายงานว่า ฐากูร บุนปาน หรือ
โต้ง รองประธานคณะกรรมการ
บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
ได้สิ้นใจอย่างสงบ เมื่อเวลา 13.55 น.
ที่บ้านพัก ด้วยวัย 59 ปี 
 

Jan 17, 2021

ทำ "แบบคนจน"

"แบบที่เรียกว่า ทำ "แบบคนจน"
คือทำวิธีการแบบคนจน
ไม่ได้มีการลงทุนมากหลายอย่าง
ของเขาเราก็ทำไป
ก็เลยบอกว่าถ้าจะแนะนำ
ก็แนะนำได้ "ทำแบบคนจน"
เพราะเราไม่ได้เป็นประเทศที่รวย
เราก็รวยพอสมควร อยู่ได้
แต่ไม่ใช่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก
เราไม่อยากจะเป็นประเทศอย่างก้าวหน้าอย่างมาก
เพราะว่าถ้าเราเป็นประเทศที่ก้าวหน้าอย่างมาก
มีแต่.. มีแต่ถอยหลัง
ประเทศเหล่านั้นที่เขามีอุตสาหกรรมสูงมีแต่ถอยหลัง
และถอยหลังอย่างน่ากลัว
แต่ถ้าเรามีการปกครองแบบ
แบบว่า แบบคนจน
แบบที่ไม่ติดกับตำรามากเกินไป
ทำอย่างมีสามัคคีนี่แหละ
มีเมตตากัน ก็จะอยู่ได้ตลอดไป
ไม่เหมือนคนที่ทำตามวิชาการ แล้วก็วิชาการนั้น
ก็เราดูตำราแล้วพลิกไปถึงหน้าสุดท้าย
หนึ่งหน้าสุดท้ายนั้นเขาบอกว่า"อนาคตยังมี"
แต่ไม่บอกว่าเป็นอย่างไร
เวลาปิดเล่มแล้วมันก็ปิดตำรา
ปิดตำราแล้วไม่รู้จะทำอะไร
ลงท้ายก็ต้องเปิดหน้าแรกใหม่
เปิดหน้าแรกก็เริ่มต้นใหม่
"ถอยหลังเข้าคลอง"
แต่ถ้าเราใช้ตำราแบบที่เราอะลุ่มอล่วยกัน ตำรานั้นไม่จบ"
ในหลวง ร.9 ทรงมีพระราชดำรัสนี้



ขาดทุนคือกำไร




ก็แปลว่า ขาดทุน คือ เป็นการได้กำไรของเรา หรือการขาดทุนของเรา เป็นการได้กำไรของเรา ท่านนักเศรษฐกิจคงร้องว่า ไม่ใช่ แต่ว่าเป็นไปอย่างนั้น ก็เห็นว่านักเศรษฐกิจก็ยิ้้ม ยิ้ม ๆ ว่า อะไร ? พูดอย่างนี้ "การขาดทุนของเรา เป็นการได้กำไรของเรา" หรือเราได้กำไร แต่พูดภาษาอังกฤษมันสั้นกว่า งั้นก็ต้องขยายว่าภาษาอังกฤษเป็นอย่างไร ? ภาษาอังกฤษ Our หมายความว่า ของเรา Our Loss .. Loss ก็การเสียหาย, การขาดทุน Our Loss Is .. Is ก็เป็น Our Loss Is Our .. Our ก็คือของเรา "Our Loss Is Our Gain" ..Gain ก็คือกำไรหรือที่ได้ ส่วนที่เป็นรายรับ ก็ตกลงบอกกับเขาว่า "Our Loss Is Our Gain" ขาดทุนของเราเป็นกำไรของเรา หรือว่า เราขาดทุน เราก็ ได้กำไร เวลาพูดไปแล้วเขาก็บอกว่า "ขอย้ำ ขอซ้ำอีกที" ก็พูดซ้ำอีกที เขาก็นั่งเฉยไปอีก ก็หมายความว่าต้องการ การอธิบาย เราก็อธิบาย อธิบายว่า ถ้าเราทำอะไรที่เป็นการกระทำแล้วก็เราเสีย แต่ในที่สุดก็ ไอ้ที่เราเสียนั้นมันเป็น "การได้"...

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
ทรงพระราชทานไว้เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๔

“ขาดทุนคือกำไร ยิ่งทำยิ่งได้ ยิ่งให้ยิ่งมี” แนวพระราชดำริ พลิกชีวิตใหม่


"ขาดทุนคือกำไร ยิ่งทำยิ่งได้ ยิ่งให้ยิ่งมี"
แนวพระราชดำริ พลิกชีวิตใหม่ "ชุมพร คาบาน่า"
คอลัมน์ In Trend
โดยกองบรรณาธิการ
วารสาร Engineering Today เมษายน 2550

บนเนื้อที่กว่า 30 ไร่ ริมหาดทุ่งวัวแล่นในจังหวัดชุมพร เป็นที่ตั้งของชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท ภายใต้การบริหารของ วริสร รักษ์พันธุ์ ผู้บริหารรุ่นที่ 2 ที่สืบทอดกิจการของครอบครัว ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการโรงแรม แก้ไขวิกฤต จนสามารถพลิกฟื้นธุรกิจให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและการช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมระหว่างชุมชน อีกทั้งสามารถปรับปรุงและรักษาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระบบนิเวศ โดยใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจนถึงคนรุ่นต่อไป นับเป็นตัวอย่างของภาคธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและเป็นแบบอย่างในการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
แสงสว่างจากแนวพระราชดำริ
พระบารมีที่สัมผัสได้


วริสร รักษ์พันธุ์ กรรมการผู้จัดการ ชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท กล่าวว่า วิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตกเมื่อปี พ.ศ. 2540 ทำให้ธุรกิจต้องประสบปัญหาจากพิษของค่าเงินบาทที่ลดลง ตนเองก็ได้พยายามที่จะรักษาธุรกิจให้คงอยู่ต่อไปให้ได้ จนกระทั่งวันหนึ่งได้พบกับอาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร ซึ่งท่านเป็นผู้แนะนำว่าถ้าจะให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ ต้องหันมาใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยยินดีรับเป็นที่ปรึกษาให้ ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนขึ้นภายในชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท

"ในปี พ.ศ. 2543 จึงได้ประกาศให้พนักงานและผู้เข้าใช้บริการได้รับทราบว่า องค์กรได้ดำเนินธุรกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเต็มรูปแบบ จากเดิมที่ได้ใช้หลายทฤษฎีมาใช้กับองค์กร แต่ไม่สามารถใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร เนื่องจากเลือกใช้ทฤษฎีที่ไม่เหมาะสมกับคนที่มีอยู่ พนักงาน 150 คน ล้วนเป็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณรอบๆ นี้เกือบทั้งหมด สิ่งที่เคยคิดว่าเข้าใจ กลับกลายเป็นเข้าใจเพียงบางส่วน แต่เมื่อปรับทฤษฎีตามแนวพระราชทานซึ่งเข้าถึงและเข้าใจพสกนิกร จึงทำให้สามารถเข้าใจวิถีชีวิตและความสุขของพนักงานซึ่งเป็นคนท้องถิ่นว่าต้องการอะไร จึงใช้วิถีแห่งการให้มาเป็นหลักชัยในการพัฒนาองค์กร"


บันได 5 ขั้น สู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน

อาจารย์วิวัฒน์ ยังได้แนะนำพระราชดำรัสที่เป็นแนวทางในการพึ่งพาตนเองว่ามี 5 ขั้น คือ 1. ต้องพึ่งพิงตนเองให้ได้อย่างน้อย 1 ใน 4 2. ต้องรู้จักพอประมาณ 3. ต้องรู้จักการแบ่งปัน การแจกจ่ายจะได้เพื่อนได้พวก 4. รวมตัวกันขยายงานให้เกิดความร่วมมือ เกิดกิจกรรมใหม่ จึงมาถึงขั้นสุดท้ายค่อยทำการค้า การขาย เพราะมีพื้นฐานแน่นแล้ว มีการเอื้อเฟื้อกัน พึ่งพากัน ทุกคนมีศักดิ์มีศรีเท่ากัน ทั้งชาวไร่ ชาวนา ชาวประมง นักธุรกิจ


ข้าว สายใยเชื่อมโยงของทุกชีวิต

อันเนื่องมาจากพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อชาวชุมพรว่า "ขอให้ชาวชุมพรอย่าลืมเรื่องการปลูกข้าวไว้บริโภค" ซึ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ดีมีชื่อเสียงที่สุดของชุมพรคือ "เหลืองประทิว" ที่ในขณะนั้นกำลังจะสูญพันธุ์อาจารย์วิวัฒน์ และทางชุมพร คาบาน่า จึงเริ่มทำการรณรงค์เรื่องการปลูกข้าวแบบพึ่งตนเอง ไร้สารเคมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 นับเป็นโครงการแรกในการนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท โดยร่วมมือกับชาวนาเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงดินทรายให้กลายเป็นดินที่สามารถปลูกข้าวได้ โดยใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์เป็นปัจจัยในการผลิต ต่อมาจึงได้นำแนวคิดในการปลูกข้าวนี้เผยแพร่ไปยังชุมชนโดยรอบ

แม้จะมีการทำนาเองภายในรีสอร์ทแต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ แต่เดิมรีสอร์ทได้ซื้อข้าวสารจากตัวเมืองชุมพร ในขณะที่รอบๆ รีสอร์ทเองก็มีข้าวเปลือกค้างอยู่ตามยุ้งอย่างมากมายเหลือจากการบริโภคของชาวบ้าน แต่ไม่สามารถขายได้ อาจจะไม่สวย มีความชื้น ตลาดไม่ต้องการ ทางรีสอร์ทจึงตั้งโรงสีข้าวขนาดเล็กขึ้นเพื่อการสีข้าวใช้ภายในโรงแรม และรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวบ้าน ซึ่งผลที่ได้รับนอกจากจะเป็นข้าวสารแล้ว ยังได้ทั้งแกลบและรำมาทำปุ๋ยหมัก นอกจากนี้ยังทำให้ชาวนาหันมาปลูกข้าวโดยใช้วิธีเกษตรอินทรีย์ เพราะมีต้นทุนการผลิตลดลงและมีตลาดรองรับแน่นอน และผลประโยชน์สูงสุดก็คือ การรักษาพันธุ์ข้าวเหลืองประทิวไว้ให้คงอยู่

"อาจารย์วิวัฒน์ บอกว่า ถ้าอยากปลูกข้าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแนวคิดว่า ทำงานต้องมี 3 ค คือ คึกคัก คล่องแคล่ว และครื้นเครง ซึ่งเมื่อได้ลงมือทำจึงได้รู้ว่าเรื่องของข้าวเป็นวิถีที่มีความสุข ให้พนักงานมาทำไม่เคยได้ยินเสียงด่ากัน ทะเลาะกัน ได้ยินแต่เสียงหัวเราะเลยค่อยๆ จับได้ว่า นี่แหละคือรากของเรา เป็นสิ่งที่คนของเราคุ้นเคยที่สุด วิถีของคนใต้ผูกพันกันด้วยเรื่องข้าวอย่างเดียว ถ้าปลูกอย่างอื่นมันจะอยู่เดี่ยวๆ และไม่ยุ่งกัน โดยเฉพาะตรงชุมพรบ้านอยู่ห่างๆ กันอยู่แล้ว เป็นอาณาเขตส่วนตัว" วริสร กล่าว
เปลี่ยนทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
จากกำไรคือกำไร เป็นขาดทุนคือกำไร


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแนวคิดว่า "Our loss is our gain" แปลว่า ขาดทุนคือกำไร ยิ่งทำยิ่งได้ ยิ่งให้ยิ่งมี ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนทางความคิดที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้องค์กรสามารถทำงานและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

"จากกำไรคือกำไร มาเป็นขาดทุนคือกำไร ตอนแรกงงมาก ขาดทุนคือขาดทุนอยู่แล้ว คนอื่นเขาเสวยสุขทางธุรกิจอยู่ภูเก็ตหรือสมุยก็ได้แต่มอง แต่ความจริงการที่ได้อยู่ในที่ที่มีธรรมชาติดี แต่นั่นคือกำไรของผมที่แท้จริง ในทางบัญชีแล้วมันอาจจะขาดทุน ไม่สัมพันธ์กัน ไม่เป็นไร เราก็พร้อมอยู่แล้ว เราก็เลยเปลี่ยนไปว่าขาดทุนคือกำไร ให้รู้จักให้ ต้องให้อย่างเต็มที่และต้องเต็มใจ"
"เศรษฐกิจของพวกเรา"
การพึ่งพาซึ่งกันและกัน


จากการพัฒนาตามแนวคิดขาดทุนคือกำไร ที่ต้องเปลี่ยนความคิดจากการเป็นผู้ได้รับ มาเป็นผู้ที่รู้จักให้ด้วยใจที่สะอาด โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน และดูแลคนในท้องถิ่นให้มีความสุข และสามารถประกอบสัมมาอาชีพได้อย่างมีความมั่นคง ซึ่งอาชีพของคนเหล่านี้เกือบทั้งหมดอยู่ในภาคเกษตรกรรม มีทั้งสวนผสม ไร่ และนา แต่มีปัญหาในการผลิตที่ใช้เคมี ต้นทุนสูง และขายผลผลิตในระบบที่ถูกนายทุนกดราคา การเกษตรธรรมชาติจึงเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาวิธีเพาะปลูก โดยได้เริ่มรณรงค์ในพื้นที่การเกษตรของพนักงานและเครือญาติจำนวนประมาณ 900 กว่าไร่ พร้อมทั้งรับซื้อผลิตภัณฑ์ทั้งหมดกลับเข้าสู่ภาคการผลิตแปรรูปอาหารของชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับกลุ่มเครือข่ายต่างๆ ภายใต้ชื่อโครงการ "เศรษฐกิจพวกเรา" ทำให้ปัจจุบันพนักงานที่มีสวนไร่นา สามารถควบคุมและลดค่าใช้จ่ายลงได้ และสามารถขายผลผลิตได้ราคาสูงกว่าท้องตลาดมาก

"สำหรับวิธีดำเนินการโครงการนั้น เมื่อทางรีสอร์ทมีความต้องการพืชผัก ผลไม้ ชนิดใด หรือพนักงานมีพืชผักผลไม้ต้องการที่จะขายก็จดแจ้งไว้บนกระดานหน้าโรงครัว ทำให้อาหารของโรงแรมมีคุณภาพที่ดี และสามารถคาดเดาถึงปริมาณตามต้องการของรีสอร์ทได้ ในแต่ละวันพนักงานจะรู้ว่ารีสอร์ทต้องการอะไรบ้าง เนื่องจากปัญหาของผู้ผลิตส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตลาดต้องการอะไร จึงเป็นทฤษฎีง่ายๆ ที่ทุกคนพอใจ อีกทั้งเป็นการอุ้มชูเกษตรกรในหมู่พวกเราด้วย ทำให้เกิดความผูกพันและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารและพนักงานจึงเป็นไปในลักษณะเพื่อนไม่ใช่เกี่ยวพันเฉพาะแต่เพียงเงินเดือนเท่านั้น"
ตั้ง "เพลิน" ศูนย์การเรียนรู้
เศรษฐกิจพอเพียง


การปฏิบัติตามแนวพระราชทานดังกล่าว ได้รับความสนใจอย่างมาก ทางชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท จึงได้ตั้งเป็นศูนย์ "เพลิน" มาจาก Play + Learn = Plearn ตามพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 6 ที่ทรงต้องการให้การศึกษาอย่างเป็นสิ่งที่เพลิดเพลิน การเรียนรู้จึงไม่ควรใช้วิธีเรียนเพื่อท่องจำเท่านั้น ควรให้มีโอกาสบูรณาการทั้งกายและใจไปพร้อมๆ กัน การศึกษาควรเป็นสิ่งที่เพลิดเพลินและสนุกที่จะหาเหตุผลคำตอบว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จึงนำมาสู่แนวคิดหลักการพัฒนาศูนย์เพลินบนพื้นที่ด้านหลังประมาณ 14 ไร่ ของรีสอร์ท ปัจจุบันศูนย์เพลินเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง และกสิกรรมธรรมชาติ ที่องค์กรต่างๆ สามารถเข้ามาศึกษาดูงานการทำงานร่วมกันของระบบรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ ในระบบบูรณาการได้อย่างดี

"ศูนย์เพลินประกอบด้วย การนำแนวพระราชดำริจากศูนย์การศึกษาและพัฒนาทั้ง 6 แห่ง มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ทฤษฎีการบำบัดน้ำของบึงมักกะสันและแหลมผักเบี้ย ทฤษฎีห้วยฮ่องไคร้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยใช้หญ้าแฝกและฝายแม้ว ทฤษฎีการปลูกพืชบนทรายจากห้วยทราย เป็นต้น ซึ่งการดำเนินงานยึดหลัก 4 ด. คือ ดูได้ หมายถึงสวยงามเพลินตา ดมได้ หมายถึงต้องมีดอกไม้ล่อแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ตัวเบียน ให้มากินศัตรูพืช ดื่มได้ หมายถึงชื่นใจ และสุดท้าย แ_กได้ หมายถึงสามารถนำมารับประทานได้"


ในปัจจุบันนอกเหนือจากลูกค้าแล้ว หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เข้ามาขอศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ ทำให้พนักงานทุกคนมีความรู้สึกสนุกและมีคุณค่าในการทำงานขึ้นมากกว่าเดิม ขณะเดียวกันก็ได้รับความรู้ที่เป็นหลักวิชาการตามแนวพระราชดำริ และได้ศึกษากับ "พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต" ด้วย อีกทั้งพนักงานยังมีความมั่นคงในอาชีพ ชุมชนรอบๆ ชุมพร คาบาน่า รีสอร์ท ก็มีความสุขในการอยู่ร่วมกันในลักษณะของการพึ่งพาอาศัยกัน จึงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข มั่งคั่งอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน โดยมีแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นผู้นำทาง

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงงาน

รำลึกพระราชกรณียกิจ "ร.9" ทรงงานเพื่อคนไทยทั้งประเทศ
โดย...ทีมข่าวในประเทศโพสต์ทูเดย์


ในทุกปีของวันที่ 5 ธ.ค. ถือเป็นวันสำคัญของคนไทยทั้งประเทศ
เนื่องจากรัฐบาลประกาศวันดังกล่าวเป็นวันชาติไทยมีความสำคัญถึง
3 วาระในวันเดียวกัน คือ
1.เป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
2.เป็นวันชาติ และ
3.เป็นวันพ่อแห่งชาติ
ทั้งหมดเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่
ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานต่อประเทศชาติ
และประชาชนเสมอมา
รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของวันที่ 5 ธ.ค.
ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาอีกด้วย
เชื่อว่าคนไทยทุกคนล้วนตระหนักถึงพระราชกรณียกิจมากมายหลาย
โครงการของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
บรมนาถบพิตร
ที่พระองค์ทรงคิดและลงมือทำไว้ให้หลายโครงการ
แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบเรื่องราวอย่างลึกซึ้ง
ถึงพระราชกรณียกิจสำคัญๆ เหล่านี้
อย่างเช่น “โครงการฝนหลวง”
ที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์
เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร
ในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดารกว่า 15 จังหวัด
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎร
และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพฯ
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
วิศวกรและนักประดิษฐ์ควายเหล็กที่มีชื่อเสียงเข้าเฝ้าฯแล้
พระราชทานแนวความคิดนั้นแก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
โดยมีทฤษฎีต้นกำเนิดจากแนวคิด “หลักการแรกคือ
ให้โปรยสารดูดซับความชื้น (เกลือทะเล)
จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ
แล้วใช้สารเย็นจัด(น้ำแข็งแห้ง)
เพื่อให้เกิดความชื้นกลั่นตัวและรวมตัวเป็นเมฆ”
จากทฤษฎีดังกล่าวพระองค์ยังใช้เวลาในการคิดค้นทดลองนาน
อีกกว่า 14 ปี ในการวิเคราะห์วิจัยเพื่อประกอบการค้นคว้า
ทดลองมาโดยตลอด
จากการดำเนินการลองผิดลองถูกจนประสบความสำเร็จ
มาถึงทุกวันนี้
สร้างความปลื้มปีติให้กับประชาชนคนไทย
ทั้งประเทศจนถึงปัจจุบันเพราะความเดือดร้อน
เกี่ยวกับภัยแล้งสร้างความทุกข์อย่างหนักหนามานาน
แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน
ทำให้กระบวนการสร้างฝนหลวงเปลี่ยนพื้นที่ภัยแล้ง
เป็นความชุ่มชื้นแทน
นั่นก็เป็นที่มาของพระราชกรณียกิจ
ด้านโครงการฝนหลวงถัดมา
“โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา”ในหลวงรัชกาลที่ 9
ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาน้ำเสียที่เกิดขึ้น
และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้
หลังจากทรงทอดพระเนตรสภาพน้ำเสียพื้นที่หลายแห่ง
ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดจึงพระราชทาน
พระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขน้ำเน่าเสีย
ในระยะแรกระหว่างปี 2527-2530
ทรงแนะนำให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยบรรเทาน้ำเสีย
และวิธีกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวาและพืชน้ำต่างๆ
สามารถแก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง
แต่ปัญหาน้ำเสียไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาลงกลับ
มีแนวโน้มอัตราความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
การใช้วิธีธรรมชาติไม่อาจบรรเทา
ความเน่าเสียของน้ำได้เท่าที่ควร
พระองค์ท่านจึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติม
อากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่ายที่ผลิตได้เองในประเทศ
ซึ่งมีรูปแบบ “ไทยทำไทยใช้”
โดยทรงได้แนวทางจาก “หลุก”
ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านาที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน
เป็นจุดคิดค้นเบื้องต้น
และทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล
ในการบรรเทาน้ำเน่าเสีย
จากนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ
เพื่อการศึกษาและวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้
โดยดำเนินการจัดสร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสีย
ร่วมกับกรมชลประทาน
ซึ่งได้มีการผลิตเครื่องกลเติมอากาศขึ้นในเวลาต่อมา
และรู้จักกันแพร่หลายทั่วประเทศในปัจจุบันคือ
“กังหันน้ำชัยพัฒนา”
นอกจากนี้ยังมี “โครงการแกล้งดิน”
เป็นแนวพระราชดำริของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่ จ.นราธิวาส
และพื้นที่ใกล้เคียง
ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ได้ทำการศึกษาวิจัยและปรับปรุงดินโดยวิธีการ “แกล้งดิน”
คือทำให้ดินเปรี้ยวเป็นกรดจัดรุนแรงที่สุด
ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกโดยนำน้ำ
เข้าแปลงทดลองระยะหนึ่ง
และระบายน้ำออกให้ดินแห้งระยะหนึ่งสลับกัน
จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดกรดมากยิ่งขึ้น
ด้วยหลักการนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 9
ทรงให้เลียนแบบสภาพธรรมชาติ
ซึ่งมีฤดูแล้งและฤดูฝนเป็นปกติในแต่ละปี
แต่ให้ใช้วิธีการร่นระยะเวลาช่วงแล้งและช่วงฝนในรอบปีให้สั้นลง
โดยปล่อยให้ดินแห้ง1 เดือน
และขังน้ำให้ดินเปียกนาน 2 เดือน สลับกันไป
เกิดภาวะดินแห้งและดินเปียก 4 รอบ/1 ปี
เสมือนกับมีฤดูแล้งและฤดูฝน 4 ครั้ง ใน 1 ปี
หลังจากนั้นจึงให้หาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้
สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้
และ “ทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง”
ถือเป็นโครงการที่ประชาชนให้ความสนใจและ
นำไปปฏิบัติใช้อย่างมาก
เนื่องจาก
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่
โดยเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นต้น
โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้น ได้แก่
ขั้นต้นคือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน
ตามอัตรา 30-30-30-10 เพื่อขุด
เป็นสระกักเก็บน้ำร้อยละ 30
ปลูกข้าวในฤดูฝนร้อยละ 30
ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร ร้อยละ 30
และเป็นที่อยู่อาศัยอีกร้อยละ 10

ขณะเดียวกันเป้าหมายของทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง
คือต้องการให้ประชาชนบริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสมเกิด
ประโยชน์ตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
อย่างไรก็ตาม ยังมีพระราชกรณียกิจอีกจำนวนมาก
ที่ไม่สามารถหยิบยกมาได้ทั้งหมด
แต่สิ่งที่พระองค์ท่านทรงทำไว้สร้างแรงบันดาลใจ
และแนวปฏิบัติในการใช้ชีวิต
และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากพระราชกรณียกิจ
ที่พระองค์ทรงทุ่มเททำไว้ให้ชาวไทยทั้งประเทศ 
 

New Year Card 2015 from His Majesty the King RAMA IX




พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย
ในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๕๘
วันพุธ ที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
(ฉบับไม่เป็นทางการ)




ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย
บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี
มาอวยพรแก่ท่านทุก ๆ คน ให้มีความสุข ความเจริญ
ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารภปรารถนา.
ในปีใหม่นี้ ขอให้ประชาชนชาวไทย ตั้งใจให้เที่ยงตรงแน่วแน่
ไม่ว่าจะทำการสิ่งใด ให้คิดให้ดี ให้รอบคอบและรอบด้าน
เพื่อให้การกระทำนั้น บังเกิดผลเป็นความสุขความเจริญ
ที่แท้จริงและยั่งยืน ทั้งแก่ตนเองและประเทศชาติ.
ขออานุภาพแห่งคุณพระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
จงคุ้มครองรักษาท่านทุกคน ให้มีความสุขสวัสดี
พร้อมด้วยพรอันเป็นมงคลทุกประการ.



HRH Princess Galyani Vadhana








HRH the Princess Mother



"คนดีของฉันรึ จะต้องเป็นคนที่ไม่พูดปด
ไม่สอพลอไม่อิจฉาริษยา ไม่คดโกง
และไม่มีความทะเยอทะยานอย่างบ้า ๆ
แต่พยายามทำหน้าที่ของตนเองให้ดี
ในขอบเขตของศีลธรรม"  
(คัดจากลายพระหัตถ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) 








พระราชดำรัสในรัชกาลที่ ๘



“สำหรับนิสิตที่สำเร็จหลักสูตร ซึ่งได้รับปริญญาบัตรในวันนี้
อย่าพึงเข้าใจว่าท่านเรียนจบสิ้นการศึกษาแล้ว
การศึกษาย่อมไม่มีที่สิ้นสุด
ท่านต้องหมั่นแสวงหาวิชาความรู้เพิ่มเติมให้ทันสมัยเสมอ
อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญอันควรกล่าวก็คือ ความประพฤติ
เราเป็นผู้ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัย
ซึ่งนับว่าเป็นสถานศึกษาที่สูงและมีเกียรติ
ย่อมต้องรู้ผิดรู้ชอบแล้วว่า สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว และสิ่งใดควรประพฤติ
และไม่ควรเพียงใด ตลอดจนกิริยามารยาท
เราต้องบังคับใจของเราให้เป็นผู้อยู่ในศีลธรรมอันดีงามเสมอ
จึงจะได้ชื่อว่าเป็นนักศึกษาที่ดีของชาติ"
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ทรงเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกของพระองค์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489

พระราชดำรัสสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี


“ต้นไม้นี่มันคล้ายๆ คน
ต้นบานชื่นนี้ฉันไม่ได้ปลูกด้วยเมล็ด
แต่ไปซื้อต้นเล็กๆ ที่เขาเพาะแล้วมาปลูก
แต่มันก็งามและแข็งแรงดี
เพราะอะไรหรือ เพราะคนที่เขาขายนั้น
เขารู้จักเลือกเมล็ดที่ดีและดินที่เขาใช้เพาะก็ดีด้วย
นอกจากนั้นเขายังรู้วิธีว่าจะเพาะอย่างไร
ซึ่งฉันไม่สามารถทำได้เช่นเขา
เมื่อฉันเอามาปลูกฉันต้องดูแลใส่ปุ๋ยเสมอ
เพราะดินที่นี่ไม่ดีต้องคอยรดน้ำพรวนดินบ่อยๆ
ต้องเอาหญ้าและต้นไม้ที่ไม่ดีออก เด็ดดอกใบที่เสียๆ ทิ้ง
คนเราก็เหมือนกัน
ถ้ามีพันธุ์ดีเมื่อเป็นเด็กก็แข็งแรงฉลาด
เมื่อพ่อแม่คอยสั่งสอน เด็ดเอาของที่เสียออก
และหาปุ๋ยที่ดีใส่อยู่เสมอ
เด็กคนนั้นก็จะเป็นคนที่เจริญและดี
เหมือนกับต้นและดอกบานชื่นเหล่านั้น”
พระราชดำรัสสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์
ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

เวลา 10.12 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปพระราชทานปริญญาบัตร
แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ประจำปีการศึกษา 2555
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อำเภอเชียงราย จังหวัดเชียงราย

ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาท ความว่า บัณฑิตทั้งหลายในที่นี้
คงมีความปรารถนาอยู่ทั่วกัน ที่จะได้รับความสำเร็จ ในการทำงาน เช่นเดียวกับความสำเร็จในการศึกษา
จึงใคร่จะกล่าวถึงคุณธรรมห้าประการ ที่เป็นกำลังเกื้อหนุนให้บุคคลบรรลุถึงความสำเร็จในการประกอบอาชีพการงาน
ประการแรก คือความมีศรัทธาเชื่อมั่นในงานที่ทำว่าเป็นงานที่มีประโยชน์ มีคุณค่า ทั้งแก่ตัวผู้ที่ทำงานนั้น และแก่สังคมส่วนรวม
ประการที่สอง คือ ความอุตสาหะพากเพียรที่จะทำงานให้ตลอดต่อเนื่อง จนสำเร็จผลสมบูรณ์ตามเป้าหมาย
ประการที่สาม คือ ความมีสติรู้ตัว ระมัดระวังการกระทำ ของตนเองอยู่ตลอดเวลา
ไม่ให้ประมาทพลาดพลั้งจนงานเสียหายไป
ประการที่สี่ คือ ความตั้งใจ อันมั่นคงแน่วแน่อยู่ในงาน
ไม่ฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากงานที่ทำ
ประการที่ห้า คือ ปัญญารู้ชัดในงานและวิธีที่จะปฏิบัติงาน
อย่างถูกต้องเที่ยงตรง
เพื่อให้งานที่ทำสำเร็จผลอย่างมีประสิทธิภาพ
คุณธรรมทั้งห้าประการนี้ เป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องกัน
และเกื้อกูลส่งเสริม ซึ่งกันและกันอยู่
เช่น ความศรัทธาซึ่งเป็นต้นเหนุแห่งความเพียรพยายาม
ต้องอาศัยสติกับปัญญา
ที่จะพิจารณาวินิจฉัยจนบังเกิดเป็นศรัทธาที่ถูกต้อง และสติกับปัญญานั้นจะเกิดมีขึ้นได้ ก็ต้องอาศัย
ความตั้งใจเพ่งพินิจอันแน่วแน่มั่นคง จึงขอให้บัณฑิตศึกษาพิจารณาคุณธรรมทั้งห้าประการนี้
ให้เข้าใจความหมาย ความสำคัญและความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างชัดแจ้ง
แล้วตั้งใจพยายาม สร้างเสริมให้มีครบถ้วนทุกประการ
จะได้สามารถสร้างสรรค์ความสำเร็จในการประกอบกิจการงานได้ ดังที่ปรารภปรารถนา




ช้างของในหลวง ร.9












พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จราชดำเนินทรงรับช้างพลายแก้วเป็นช้างสำคัญ
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนต์พระราชทาน และพระราชทานกล้วย อ้อย
และหญ้าพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ เป็นพระยาช้างเผือกประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เป็นช้างสำคัญในตระกูลพรหมพงศ์ จำพวกอัฏฐทิศ ชื่อ กมุท สีกายดังดอกกมุท หรือบัวสายแดง ได้รับพระราชทานนามเต็มว่า 
พระเศวตอดุลยเดชพาหน
ภูมิพลนามนาคบารมี
ทุติยเศวตกรีกมุทพรรโณภาส
บรมกทลาสนวิศุทธวงศ์
สรรพมงคลลักษณคเชนทรชาต
สยามราษฎรสวัสดิประสิทธิ์
รัตนกุญชรนิมิตบุญญาธิการ
ปรมินทรบพิตรสารศักดิเลิศฟ้า  

ช้างสำคัญคู่พระบารมี
'ในหลวง'ทรงแนะให้คนอยู่กับช้างได้

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเรื่องการถ่ายภาพ



“การถ่ายภาพเป็นงานศิลปะ
เป็นของดีมีประโยชน์
ขออย่าให้ถ่ายภาพกันเพื่อความสนุกสนาน
หรือความสวยงามเท่านั้น
จงใช้ภาพให้เกิดคุณค่าแก่สังคม
ให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม
งานศิลปะจะได้ช่วยพัฒนาประเทศ
ให้เจริญก้าวหน้าได้อีกแรงหนึ่ง”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระราชทานแก่คณะกรรมการบริหารสมาคมถ่ายภาพ
แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร



พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ร.9
เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2538
ที่พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ
ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ณ ศาลาดุสิดาลัย
สวนจิตรลดาฯ พระราชวังดุสิต

โครงการแก้มลิง




"...เมื่อ อายุ ๕ ขวบ มีลิงเอากล้วยไปให้มันเคี้ยว เคี้ยว แล้วใส่ในแก้มลิง ตกลง “โครงการแก้มลิง” นี้มีที่เกิด เมื่อเราอายุ ๕ ขวบ ก็นี่เป็นเวลา ๖๓ ปี มาแล้ว ลิงสมัยโน้นลิงโบราณเขาก็มีแก้มลิงแล้ว เขาเคี้ยว แล้วเอาเข้าไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ “โครงการแก้มลิง” เพื่อที่จะเอาน้ำนี้ไปเก็บไว้.."
พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘

โครงการแก้มลิง เป็น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม
ในกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑลโดยการขุดลอกคลองชายฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ให้เป็นคลองพักน้ำขนาดใหญ่หรือ “แก้มลิง”
แล้วระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลกหรือน้ำขึ้นน้ำลงตามธรรมชาติ
ซึ่งปัจจุบันโครงการแก้มลิงยังได้ขยายการดำเนินงานไปที่โครงการบรรเทา
อุทกภัยตามพระราชดำริ (แก้มลิงหนองใหญ่) จังหวัดชุมพร
และโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา
เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอีกด้วย 


เอกสารอ้างอิงโดย http://www.kanchanapisek.or.th/projects/index.th.html

โครงการแก้มลิง (อธิบายเพิ่มเติม)
http://kamlingproject.blogspot.com/p/blog-page.html


แก้มลิง
Prapas Cholsaranon
คาราบาว



เสียงของพ่อ : พระราชดำรัสเรื่องการแก้ปัญหาน้ำท่วม-พื้นที่รับน้ำ ของ ในหลวง (ร.9)



สำนักข่าวไทยอัญเชิญพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
มาเผยแพร่เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
ที่ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชน พระราชดำรัสวันนี้
เรื่องการแก้ปัญหาน้ำท่วมและพื้นที่รับน้ำ 


เพิ่มเติม * พระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พระราชทานเมื่อวันจันทร์ที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๘

The Royal Barge Narai Song Suban H.M. KING RAMA IX









พระราชอารมณ์ขันในรัชกาล 9





วีดิทัศน์พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9
เมื่อวันอังคารที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗
และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖
ซึ่งอัญเชิญความมาบางตอนในช่วงที่มีพระราชอารมณ์ขัน*
*ภาษาแบบสั้นและถูกต้อง ใช้ว่า "ทรงมีอารมณ์ขัน"


“วันนั้นเสด็จฯ ไปหมู่บ้านดอยจอมหด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ใหญ่บ้านลีซอกราบทูลชวนให้ ‘ไปแอ่วบ้านเฮา’
ก็เสด็จฯ ตามเขาเข้าไปบ้านซึ่งทำด้วยไม้ไผ่และมึงหญ้าแห้ง เขาเอาที่นอนมาปูสำหรับประทับแล้วรินเหล้าทำเอง
ใส่ถ้วยที่ไม่เคยจะได้ล้างจนมีคราบดำๆ จับ ผู้เขียนรู้สึกเป็นห่วง เพราะตามปกติไม่ทรงใช้ถ้วยมีคราบ
จึงกระซิบทูลว่า ควรจะทรงทำท่าเสวย แล้วส่งถ้วยมาพระราชทานผู้เขียนจัดการ แต่ก็ทรงดวลเองกร้อบเดียวเกลี้ยง ตอนหลังรับสั่งว่า
‘ไม่เป็นไร แอลกอฮอล์เข้มข้นเชื้อโรคตายหมด’ ”

(จาก ประทีปแห่งแผ่นดิน , มนูญ มุกข์ประดิษฐ์)
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในฉลองพระองค์ชุดกันฝนและทรงพระมาลากันฝน ทรงนำคณะเจ้าหน้าที่บุกฝ่าเข้าไปในพื้นที่ที่เป็นป่าสลับสวนยาง
ท่ามกลางเม็ดฝนขาวใสที่กระทบขอนไม้และใบหญ้าดังกรูเกรียวในสภาพที่หนาวเย็น พื้นดินเป็นโคลนตม
และสัญจรเข้าไปได้ยากเย็นยิ่งนัก เป็นระยะทางถึง 2 กิโลเมตรเศษ นี่คือสิ่งที่มิใช่สามัญธรรมดา
ในความรู้สึกของผู้คนและความไม่ธรรมดาสามัญนี้ก็ยิ่งไม่ธรรมดามากขึ้นเป็นทวีคูณเนื่องเพราะบริเวณนี้คือ
‘ดงทาก’ หรือ ‘รังทาก’ อันมีทากชุกชุมที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้

กว่าจะถึงจุดหมาย คือบริเวณพื้นที่ที่จะพิจารณาสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อให้มีน้ำไว้ใช้สำหรับพื้นที่ 5, 000 ไร่
ใน 3 เขตตำบลคือ เชิงคีรี มะยูง และรือเสาะ เกือบทุกคนก็โชกฝนและโชกเลือด
แม้ทูลกระหม่อมสองพระองค์ก็มิได้รับการยกเว้น

ค่ำวันนั้น ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
อากาศปลายฤดูฝนกำลังสบาย ดวงดาวบนท้องฟ้าเริ่มจะปรายแสง
ขบวนรถยนต์พระที่นั่งได้หยุดลงกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุบนทางหลวงที่มืดสงัดเป็นเวลาหลายนาที
ถามไถ่ได้ความภายหลังว่า ยังมีทากหลงเหลือกัดติดพระวรกายอยู่อีก
เมื่อรู้สึกพระองค์จึงได้หยุดรถพระที่นั่ง และรับสั่งให้สมเด็จพระเทพฯ
ช่วยจับทากที่ตัวเป่งด้วยพระโลหิตออกจากพระวรกาย
ทรงเรียกการทรงงานวิบากที่เชิงคีรีครั้งนี้ในภายหลังว่า ‘สงครามกับตัวยึกยือที่เชิงคีรี’ ”
(จาก ตามเสด็จ ตอน ท่องเที่ยวบรรเทาทุกข์, ม.จ.ภีศเดช รัชนี)

“บางครั้งในการที่ทรงสอบถามข้อมูลทั่วๆ ไปจากราษฎรนั้น ก็อาจมีเรื่องที่นึกไม่ถึงเกิดขึ้นจนเป็นเรื่องเล่าสู่กันฟังเสมอๆ ดังเช่น
ครั้งหนึ่งได้เสด็จฯ ไปยังพื้นที่ที่สภาพดินไม่ดีนักเพราะมีกรดมาก ซึ่งเรามักเรียกกันว่า ‘ดินเปรี้ยว’ ได้ทรงถามราษฎรผู้หนึ่งว่า

‘ดินแถวนี้เปรี้ยวไหม’
ราษฎรผู้นั้นก็ทำท่าหน้าตาเฉยแล้วกราบบังคมทูลตอบพระองค์แบบซื่อสั้นๆว่า
‘ไม่รู้ ไม่เคยกิน’

พระองค์ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อย แล้วรับสั่งกับพวกที่ตามเสด็จว่า ‘เขามีอารมณ์ขันนะ’
และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อคราวเสด็จฯ ทรงเยี่ยมประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ขณะนั้นเป็นเวลาค่ำแล้ว แต่พระองค์ยังคงเสด็จพระราชดำเนินตรวจสอบสภาพพื้นที่อยู่
โดยเสด็จฯ เข้าไปยังทุ่งนา ก็ได้มีราษฎรผู้หนึ่งมานั่งเฝ้าฯ รับเสด็จฯ อยู่ ณ ที่นั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแสรับสั่งสอบถามชายผู้นั้น
ถึงเรื่องการทำมาหากินว่าทำนาได้ผลเป็นอย่างไรได้กี่ถังต่อไร่ ฯลฯ
และปัจจุบันนี้ยังทำอยู่หรือไม่ ซึ่งชายผู้นั้นก็ได้กราบบังคมทูลตอบว่า

‘เดี๋ยวนี้ไม่ได้ทำ เพราะแขนเจ็บ’(ชายผู้นั้นมีผ้าพันแขนไว้ข้างหนึ่ง)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับสั่งถามว่า ‘ไปโดนอะไรมาถึงเจ็บ’
ชายผู้นั้นก็กราบบังคมทูลว่า ‘ตกสะพาน’
และด้วยความที่ทรงห่วงใยราษฎรผู้นั้น จึงได้มีพระราชกระแสรับสั่งต่อไปว่า
‘แล้วแขนอีกข้างหนึ่งล่ะ ไม่เป็นอะไรหรือ’
ราษฎรผู้นั้นกราบบังคมทูลตอบทันทีทันใดว่า ‘แขนอีกข้างไม่ได้ตกไปด้วย’
“การไม่ถือพระองค์และการที่ทรงให้ความเป็นกันเองแก่ราษฎรทั่วไปนี่เอง ไม่ว่าพระองค์เสด็จฯไป
ณ ที่หนใด ‘รอยยิ้ม’ ของพระองค์จึงเข้าถึงใจประชาชนและครองใจคนเสมอมา
...............................................................................................
ภาพบางส่วนจาก : เว็บไซต์ WeLoveThaiKing และ เว็บไซต์ panyayan.tnews





เกมส์โชว์ออนไลน์ "โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม" เปิดตัววันเกิดน้าเน็ก 17 มกราคม 2564


https://th-th.facebook.com/nanake555/




โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม (17 มกราคม 2564)
วันนี้เป็นวันเกิดพี่ฮะ พี่เลยเอาวันนี้กำเนิดคอนเทนต์ใหม่ของเพจ NANAKE555
พี่มากับพี่ป๋อง และแขกรับเชิญคนสนิทที่พี่รักมากๆ อ้อม พิยดาและจอย รินลณี
กับเกมโชว์ออนไลน์ไลฟ์สดครั้งเเรกของโลก
เป็นเกมที่น้องๆในออนไลน์จะได้ร่วมลุ้นไปพร้อมๆกัน
ตอบถูก ดาราได้เงิน
ตอบผิด ออนไลน์ได้เงิน
จบเกม ออนไลน์มีเงินสะสมเท่าไหร่สุ่มเเจก หารคนละ 1,000 บาท
สมมติ เงินสะสมของออนไลน์คือ 55,000 บาท หารเเจกคนละ 1,000
แปลว่าผู้โชคดีจะมีจำนวน 55 คน มาเล่นเกมกันฮะ!!