Custom Search

May 29, 2014

May 28, 2014

เส้นทาง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จากอดีตถึงปัจจุบัน

ภาพวาดโดย รศ.อาวิน อินทรังษี


แถลงการณ์ คืนความสุข ให้คนในชาติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช 6 มิถุนายน 2557

หน.คสช.ชูมือสัญลักษณ์ "I Love You" ให้สื่อมวลชน 
ก่อนเดินทางกลับจากการมอบนโยบายงบฯ 58 

 

May 26, 2014

พลเอกประยุทธ์รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ



พลเอกประยุทธ์รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ๒๔ พ.ค. ๒๕๕๗


อุดมการณ์และเจ้าหน้าที่รัฐ

คอลัมน์ “อาหารสมอง” กรุงเทพธุรกิจ > อุดมการณ์และเจ้าหน้าที่รัฐ

วรากรณ์ สามโกเศศ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
13 พฤษภาคม 2557


การทำงานที่ขาดอุดมการณ์ทำให้ได้ผลงานที่ต่ำกว่ามาตรฐานและไม่สมประโยชน์กับทรัพยากรที่ต้องเสียไป บ้านเราตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา มีหลักฐานมากมายว่าการขาดอุดมการณ์ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของภาครัฐมีบทบาทอย่างสำคัญในการทำให้ประเทศของเราไม่อยู่ในสภาพที่ควรจะดีกว่านี้มาก

เกาหลีใต้ประสบวิกฤตเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงไล่เลี่ยกับไทยใน พ.ศ. 2540 ถ้าใครพิจารณาเกาหลีใต้ในปัจจุบันให้ดีจะเห็นว่าในเวลา 10 กว่าปีเขาก้าวไปไกลมาก ๆ ทั้งในเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้คน ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสะอาดงดงามของถนนหนทางและตึกรามบ้านช่อง โครงสร้างพื้นฐานที่ดี ฯลฯ พูดได้สั้น ๆ ว่าน่าประทับใจมากในความก้าวหน้าของประเทศเขา

มาเลเซียประสบวิกฤตเศรษฐกิจไล่เลี่ยกับไทยในยุค “ต้มยำกุ้ง” แต่ปัจจุบันมาเลเซียมีรายได้ต่อหัวที่สูงกว่าไทย 1 เท่าตัว มีคุณภาพการศึกษาเป็นที่ยอมรับของชาวโลก ภาครัฐมีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ บ้านเมืองสะอาดเรียบร้อยเป็นระเบียบกว่าก่อนเป็นอันมาก

ตัวอย่างไม่ไกลบ้านเราก็มีอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ฯลฯ ประเทศเหล่านี้ไปไกลกว่าเรามากเพราะเจ้าหน้าที่รัฐของเขามีอุดมการณ์ในการทำงาน มุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการทำงานอย่างดีที่สุดในหน้าที่ของตนให้สมกับเงินเดือนที่มาจากภาษีอากรของประชาชน

เราจะไม่เห็นฝาท่อริมถนนเปิดค้างทิ้งไว้เป็นวัน ๆ โดยไม่มีใครสนใจ ไม่เห็นสายโทรศัพท์ที่หลุดห้อยลงมาเป็นเดือน ๆ และยุ่งตีกันเหมือนฝูงงูเล็กขดกันอยู่ ไม่เห็นการใช้เวลา โทรศัพท์เรียกตำรวจ 911 ที่มาถึงช้ากว่าการโทรเรียกคนส่งพิซซ่า ไม่เห็นถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อนาน เป็นเดือน ไม่เห็นหลุมที่ขุดค้างไว้บนถนนเพราะขาดการประสานงานระหว่างประปาและไฟฟ้า ไม่เห็นการใช้เงินที่ขาดประสิทธิภาพ เช่น เลือกตั้งครั้งที่แล้วใช้เงินไป 3,885 ล้านบาท ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ฯลฯ

เจ้าหน้าที่รัฐของบ้านเราส่วนใหญ่สักแต่ว่าทำงานให้พ้น ๆ ไปในแต่ละวันนับตั้งแต่ข้างบนจนมาล่างสุด เราขาดคนจำนวนมากที่ทุ่มเทให้งานอย่างทำให้แน่ใจได้ว่างานที่เขารับผิดชอบนั้นเกิดเป็นผลขึ้นอย่างจริงจัง และขาดระบบของการสร้างความต่อเนื่องของนโยบาย

ไม่ว่ารถจะติดกันหนักหนาแค่ไหนเพราะแค่รถ 2 คนสะกิดกันจนเผาผลาญน้ำมันมากมาย คน 2 คนนั้นก็ไม่แคร์และไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับคนอื่นตราบที่ตกลงกันไม่ได้ เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่ใส่ใจเพราะก็ไอ้แค่รถติดเท่านั้น เวลาจะสูญไปเท่าใดก็เป็นเรื่องของคนอื่น ความรู้สึกว่าต้องเร่งรีบเพราะสังคมเรากำลังสูญเสียจากเหตุการณ์ไร้สาระเช่นนี้หาได้ยาก

การประสานงานในระบบราชการก็มีน้อย ฉันทำของฉันอย่างนี้แหละและเท่านี้แหละที่พอจะประคองฉันให้ไปได้ ทำไมจะต้องไปประสานงานกับคนอื่นให้ยุ่งยากและอาจทำให้ตนเอง เสียอำนาจด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนี้ก็ช่างมัน เพราะฉันทำงานของฉันเสร็จแล้ว

สาเหตุของการขาดอุดมการณ์มาจาก (1) การขาดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนใหญ่ไม่สนใจและแคร์ว่างานของตนในที่สุดแล้วจะมีผลต่อส่วนรวมอย่างไรตราบที่ตนเองเอาตัวรอดได้ก็ก้าวหน้าในงานแล้ว (2) การขาดจิตสำนึกว่าเมื่อทำงานแล้วต้องทำให้ดีที่สุด ให้ผลงานคุ้มกับภาษีอากรที่บังคับเก็บจากประชาชน (3) ระบบความดีความชอบไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของผลงานขั้นที่มีผลต่อส่วนรวม แต่มักเป็นระบบที่หากเป็นพรรคพวกเดียวกันแล้วก็ช่วยเหลือกันอย่างไม่ใยดีกับความไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

(4) คอรัปชั่นดาษดื่นในสังคมนับตั้งแต่ข้างบนสุดคือนักการเมืองไล่ลงมาจนถึงข้าราชการชั้นผู้น้อย ปีศาจตนนี้ทำให้จริยธรรมผู้คนเสื่อม วัน ๆ เห็นแต่ธนบัตรลอยอยู่ข้างหน้าจนบดบังจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมและการตั้งใจสร้างผลงานที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ให้ส่วนรวม

ปีศาจจากอเวจีตนนี้ทำลายระบบคุณธรรมและนิติธรรมในระบบราชการอย่างป่นปี้ เพราะเมื่อวัตถุประสงค์ของงานเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ก็ละเลยประโยชน์ที่เกิดต่อส่วนรวม การกระทำทุกอย่างเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเท่านั้น

คำถามก็คือถ้าเราไม่ช่วยกันปราบปีศาจคอรัปชั่นตนนี้ ณ บัดนี้ เมื่อไหร่เราจะปราบกัน และถ้าเราไม่ช่วยกันปราบแล้ว ใครจะปราบให้เรา

(5) คุณภาพของเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉลี่ยลดต่ำลงเนื่องจากคนมีคุณภาพต่างหันไปทำงานในภาคเอกชนที่มีระบบการทำงานที่สร้างความภูมิใจและสร้างสรรค์คุณค่าให้แก่คนทำงานได้มากกว่า ตลอดทั้งให้ผลตอบแทนสูงกว่าด้วย การเกิดขึ้นของโอกาสและการขยายตัวของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทำให้ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพจำนวนมากไม่ไหลเข้าสู่ระบบราชการ

ถ้าสังคมไทยไม่แก้ไขปัญหาเหล่านี้ในเวลา 10 ปีข้างหน้า สังคมของเราจะอ่อนแอเพราะขาดภาครัฐที่เข้มแข็งซึ่งสืบเนื่องมาจากการขาดอุดมการณ์ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ นอกจากนี้ความสามารถในการจัดการกับสังคมสูงอายุที่กำลังมาถึงข้างหน้า ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การมีสังคมที่มั่นคงปลอดภัยและน่าอยู่ การจัดการระบบการศึกษาและการเรียนรู้ของชาติ การจัดการเรื่องการต่างประเทศ ฯลฯ จะลดถอยลงไปเป็นอันมากอย่างไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์แวดล้อมที่ต้องการความเข้มแข็งในเรื่องเหล่านี้อย่างมาก

การขาดอุดมการณ์ในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่เปรียบเสมือนสังคมของเราขาดเครื่องยนต์สำคัญอันจะส่งให้เกิดแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้า รถยนต์ที่วิ่งไม่เต็มสูบบนถนนที่ลื่น คดเคี้ยว ลมแรง และเต็มไปด้วยภัยที่ไม่คาดฝันนั้นอยู่ภายใต้อันตรายที่น่าหวาดหวั่นยิ่ง

May 23, 2014

ประกาศคณะปฏิวัติ 22 พ.ค. 57

พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. 

และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 


May 19, 2014

'ประยุทธ์' ประกาศกฎอัยการศึก มีผลตี 3 ทหารพรึบสถานีโทรทัศน์


"พล.อ.ประยุทธ์"ประกาศกฎอัยการศึก มีผลตี 3 ทหารยกกำลังเข้าคุมพื้นที่สถานีโทรทัศน์แล้ว คาด 6 โมงเช้า ประกาศกฎอัยการศึก อย่างเป็นทางการ ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ สั่งยุบ ศอ.รส. และตั้ง กอ.รส.รักษาความสงบทั่วราชอาณาจักร...
เมื่อวันที่ 20 พ.ค. เวลาประมาณ 04.00 น. มีรายงานว่า ได้มีกระแสในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ระบุถึงความเคลื่อนไหวของกองทัพว่า อาจมีการประกาศกฏอัยการศึกในเช้านี้ ทั้งนี้ อ้างอิงจากทวีตเตอร์ของ"วาสนา นาน่วม" ผู้สื่อข่าวประจำสายทหาร ได้เผยแพร่เอกสารการประกาศกฏอัยการศึก ฉบับที่ 1/2557 ระบุว่า ตามสถานการณ์ที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองหลายกลุ่ม ได้ทำการชุมนุมประท้วงในพื้นที่กทม. ปริมณฑล ตลอดจนพื้นที่ต่างๆของประเทศ และมีกลุ่มผู้ไม่หวังดีสร้างสถานการณ์ความรุนแรง ด้วยการใช้อาวุธสงครามต่อประชาชน และสถานที่สำคัญอย่างกว้างขวาง เป็นผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดเหตุการณ์จลาจล และความไม่สงบเรียบร้อยอย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ อันกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวมนั้น
เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำความสงบสุขกลับคืนสู่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายโดยเร็ว จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 2 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกฏอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ประกาศใช้กฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค. 2557 เวลา 03.00 เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 พ.ค. 2557 ลงชื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก
มีรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กำลังทหารพร้อมอาวุธ ได้เข้าควบคุมพื้นที่สถานีโทรทัศน์ทุกช่อง อาทิ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ โดยได้มีรถบรรทุกทหารประมาณ 4-5 คัน ขับออกมาจากกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต รวมถึงสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้มีกำลังทหารเข้าพื้นที่ภายใน อย่างไรก็ตาม คาดว่าเช้านี้เวลา 06.00 น. พลเอกประยุทธ์ จะประกาศกฏอัยการศึก ผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยใช้แม่ข่ายสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
ต่อมามีรายงานว่า ได้มีประกาศกองทัพบก ฉบับที่ 2/2557 เรื่อง การจัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(กอ.รส.) ระบุว่า ตามที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกในทุกท้องที่ของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ไปแล้วนั้น เพื่อให้มาตรการรักษาความสงบเรียบร้อยและการดูแลความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายเป็นไปด้วยความเรียบร้อยโดยอาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 2 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติกฏอัยการศึก พุทธศักราช 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงให้ดำเนินการดังนี้
1.จัดตั้งกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(กอ.รส.) ดังนี้
       1.1 ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย(ผอ.รส.)
       1.2 ให้ กอ.รส. มีหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้
       1.2.1 ป้องกัน ระงับ ยับยั้ง และแก้ไขสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความเรียบร้อย และความมั่นคงของประเทศ ในทุกท้องที่ของประเทศ
       1.2.2 มีอำนาจบังคับใช้กฏหมายทุกมาตราในพระราชบัญญัติกฏอัยการศึก พุทธศักราช 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำความสงบสุขกลับคืนสู่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายโดยเร็ว
       1.2.3 มีอำนาจในการเชิญบุคคลมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ หรือมาให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบเอกสาร หรือหลักฐานใด เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่รับผิดชอบได้
       
 2. ให้หน่วยเกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
        2.1 ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศเรื่องพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2557 ยุติการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 เวลา 0300 และให้กำลังของหน่วยต่างๆ ตามโครงสร้าง การจัดของ ศอ.รส. (เว้น กำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ) เคลื่อนย้ายกลับที่ตั้ง เพื่อไปปฏิบัติภารกิจของแต่ละหน่วย
        2.2 ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กระทรวงมหาดไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ส่งมอบกำลังในอัตราให้ขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ กอ.รส. เมื่อได้รับคำสั่ง เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำความสงบสุขกลับคืนสู่ประชาชน ทุกกลุ่มทุกฝ่ายโดยเร็ว
       
ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พุทธศักราช 2557 ลงชื่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก
สำหรับการประกาศกฎอัยการศึก เป็นไปตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบ เรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยมีการกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้บังคับ และเมื่อจะยกเลิกการบังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ใดจะต้องประกาศออกมาเป็น พระบรมราชโองการ
ผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึกนั้น พ.ร.บ.กฎอัยการศึกฯ มาตรา 4 ระบุว่า "เมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใดให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้น ซึ่งมีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน หรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใด ๆ ของทหารมีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของกองทหารนั้นได้ แต่จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด"
       
อำนาจทหารเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก ตามมาตรา 6 ระบุว่า "ในเขต ที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยว กับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามความ ต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร"
      เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจ ตามมาตรา 8 "เมื่อประกาศใช้กฎอัยการ ศึกในตำบลใด, เมืองใด, มณฑลใด, เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น, ที่จะเกณฑ์, ที่จะห้าม, ที่จะยึด, ที่จะเข้าอาศัย, ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, และที่จะขับไล่"
       
       การตรวจค้น (มาตรา 9)
       การตรวจค้นนั้น ให้มีอำนาจที่จะตรวจค้น ดังต่อไปนี้
       (1) ที่จะตรวจ ค้น บรรดาสิ่งซึ่งจะเกณฑ์ หรือต้องห้าม หรือต้องยึด หรือจะต้อง เข้าอาศัย หรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งมีอำนาจที่จะตรวจค้นได้ไม่ว่าที่ตัวบุคคล ในยานพาหนะ เคหะสถาน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ใด ๆ และไม่ว่าเวลาใด ๆ ทั้งสิ้น
       (2) ที่จะตรวจข่าวสาร จดหมาย โทรเลข หีบ ห่อ หรือสิ่งอื่นใดที่ส่งหรือมีไปมาถึงกัน ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก
       (3) ที่จะตรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพโฆษณา บทหรือคำประพันธ์
       
       การเกณฑ์ (มาตรา 10)
       การเกณฑ์นั้นให้มีอำนาจที่จะเกณฑ์ได้ดังนี้
       (1) ที่จะเกณฑ์พลเมืองให้ช่วยกำลังทหารในกิจการ ซึ่งเนื่องในการป้องกันพระราชอาณาจักร หรือช่วยเหลือเกื้อหนุนราชการทหารทุกอย่างทุกประการ
       (2) ที่จะเกณฑ์ยวดยาน, สัตว์พาหนะ, เสบียงอาหาร, เครื่องศาตราวุธ, และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ จากบุคคลหรือบริษัทใด ๆ ซึ่งราชการทหารจะต้องใช้เป็นกำลังในเวลานั้นทุกอย่าง
       
       การห้าม(มาตรา 11)
       การห้ามนั้น ให้มีอำนาจที่จะห้ามได้ดังนี้
       (1) ที่จะห้ามมั่วสุมประชุมกัน
       (2) ที่จะห้ามออก จำหน่าย จ่ายหรือแจก ซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพบทหรือคำประพันธ์
       (3) ที่จะห้ามโฆษณา แสดงมหรสพ รับหรือส่งซึ่งวิทยุ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์
       (4) ที่จะห้ามใช้ทางสาธารณะเพื่อการจราจรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ รวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินด้วย
       (5) ที่จะห้ามมีหรือใช้เครื่องมือสื่อสารหรืออาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ และเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน หรือที่อาจนำไปใช้ทำเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้
       (6) ที่จะห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถานภายในระหว่างระยะเวลาที่กำหนด
       (7) ที่จะห้ามบุคคลเข้าไปหรืออาศัยอยู่ในเขตท้องที่ใดซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเมื่อได้ประกาศห้ามเมื่อใดแล้ว ให้ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตนั้นออกไปจากเขตนั้นภายในกำหนดเวลาที่ได้ประกาศ กำหนด
       (8) ที่จะห้ามบุคคลกระทำหรือมีซึ่งกิจการหรือสิ่งอื่นใดได้ตามรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหมได้กำหนดไว้ว่าควรต้องห้ามในเวลาที่ได้มีการประกาศใช้กฎอัยการ ศึก
       
       การยึด(มาตรา 12)
       บรรดาสิ่งซึ่งกล่าวไว้ ในมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ นั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นเป็นการจำเป็น จะยึดไว้ชั่วคราวเพื่อมิให้เป็นประโยชน์แก่ราชศัตรู หรือเพื่อเป็นประโยชน์แก่ราชการทหาร ก็มีอำนาจยึดได้
       
       การเข้าอาศัย(มาตรา 13)
       อำนาจการเข้าพักอาศัยนั้น คือ ที่อาศัยใด ๆ ซึ่งราชการทหารเห็นจำเป็นจะใช้เป็นประโยชน์ในราชการทหารแล้ว มีอำนาจอาศัยได้ทุกแห่ง
       
       การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ (มาตรา 14)
       การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่นั้น ให้มีอำนาจกระทำได้ดังนี้
       (1) ถ้าแม้การสงครามหรือรบสู้เป็นรองราชศัตรู มีอำนาจที่จะเผาบ้าน และสิ่งซึ่งเห็นว่าจะเป็นกำลังแก่ราชศัตรู เมื่อกรมกองทหารถอยไปแล้ว หรือถ้าแม้ว่าสิ่งใด ๆ อยู่ในที่ซึ่งกีดกับการสู้รบก็ทำลายได้ทั้งสิ้น
       (2) มีอำนาจที่จะสร้างที่มั่น หรือดัดแปลงภูมิประเทศหรือหมู่บ้าน เมือง สำหรับการต่อสู้ราชศัตรู หรือเตรียมการป้องกันรักษา ตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ทุกอย่าง
       
       การขับไล่ (มาตรา 15)
       ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอาศัยเป็นหลักฐาน หรือเป็นผู้มาอาศัยในตำบลนั้นชั่วคราว เมื่อมีความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดหรือจำเป็นแล้ว มีอำนาจที่จะขับไล่ผู้นั้นให้ออกไปจากเมืองหรือตำบลนั้นได้
       มาตรา 15 ทวิ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดจะเป็นราชศัตรู หรือได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจกักตัว บุคคลนั้นไว้เพื่อการสอบถามหรือตามความจำเป็นของทางราชการทหารได้ แต่ต้องกักไว้ไม่เกินกว่า 7 วัน
       
       ร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้ (มาตรา 16)
       ความเสียหายซึ่งอาจบังเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในมาตรา 8 และมาตรา 15 บุคคลหรือบริษัทใด ๆ จะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ ได้เลย เพราะอำนาจทั้งปวงที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ปฏิบัติและดำเนินการตามกฎอัยการ ศึกนี้ เป็นการสำหรับป้องกันพระมหากษัตริย์ ชาติ ศาสนา ด้วยกำลังทหารให้ดำรงคงอยู่ในความเจริญรุ่งเรืองเป็นอิสรภาพ และสงบเรียบร้อยปราศจากราชศัตรูภายนอกและภายใน




May 11, 2014

๑๑ พฤษภาคม วันปรีดี

๑๑ พ.ค. ๕๗
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
 

๑๑ พ.ค. ๕๗ วันปรีดี