Custom Search

Dec 11, 2012

"ในหลวง ร.9" เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรร้านโกลเด้นเพลส สาขาศิริราช 2 (รพ. ศิริราชฯ)


เมื่อเวลา 17.19 . วันที่ 10 ธันวาคม 2555
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประทับรถเข็นไฟฟ้าพระที่นั่ง เสด็จฯ ลง
จากที่ประทับชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ
โรงพยาบาลศิริราช ไปทอดพระเนตร
การดำเนินงานร้านโกลเด้นเพลส สาขาศิริราช 2
เป็นการส่วนพระองค์ โดยมี
.นพ.ประดิษฐ์ ปัญจวีณิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช
ปิยมหาราชการุณย์ เป็นผู้เข็นรถเข็นไฟฟ้าพระที่นั่ง
โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระพักตร์ที่สดใส
ทรงฉลองพระองค์สูทเหลืองทับเสื้อเชิ้ตลายทางสีฟ้าเหลือง
พระสนับเพลาสีเทาอ่อน รองพระบาทสีดำ
พระหัตถ์ซ้ายทรงจูงคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง
โดยตลอดเส้นทางที่เสด็จฯ
มีประชาชนไปรอเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นจำนวนมาก
ด้วยความจงรักภักดี ต่างปลื้มปีติ
ที่เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเกษมสำราญ
มีพระพลานามัยที่แข็งแรง

จากนั้นเสด็จฯ ไปยังร้านโกลเด้นเพลส สาขาศิริราช
ตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างของอาคารโรงพยาบาลศิริราช
ปิยมหาราชการุณย์ ในการนี้ทอดพระเนตรการดำเนินงาน
ของร้าน และทรงเลือกผักสด ผลไม้สด
อาหารสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์ภายในร้าน
ได้แก่ เห็ด 3 อย่าง ผักบุ้งจีน ผักกาดหางหงส์ หน่อไม้ฝรั่ง
ผักกาดขาว ข้าวโพดอ่อน ผักกวางตุ้งใบ
ผักฉ้อย(ฮ่องเต้น้อย) ต้นหอมญี่ปุ่น ผักบร็อกโคลี
เต้าหู้หลอดไข่ไก่ ถั่วแฮมเจ อาหารสุขภาพสำเร็จรูป
ผลิตจากถั่วเหลืองธรรมชาติ เนื้อหมู และเนื้อไก่
ในการนี้ พระราชทานพระบรมราชวโรกาส
ให้เจ้าหน้าที่ร้านโกลเด้นเพลส สาขาศิริราช 2
โดยบริษัท สุวรรณชาด จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้าทูลกระหม่อม
ถวายกระเช้าผักและผลไม้ปลอดสารพิษด้วย 


ในหลวงเสด็จฯ ร้านโกลเด้นเพลซ รพ.ศิริราช 29 ธ.ค.57



Dec 10, 2012

๑๐ ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ


๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕
วันพระราชทานรัฐธรรมนูญของไทย วันที่ 10 ธันวาคม 2475
และงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรไทย
วันคล้ายวันพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก
และนับเป็นฉบับที่ ของเมืองไทย

Dec 5, 2012

๕ ธันวาคม ๒๕๕๕


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9
พระราชทานพระราชดำรัส มีใจความว่า
"คำอวยพร และคำปฏิญาณสัญญา
ที่ทุกท่านได้กล่าวนั้นเป็นที่ประทับใจมาก
ขอขอบใจและท่านทั้งหลาย
ตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกคนที่พรั่งพร้อมกัน
มาด้วยความปรารถดี และไมตรีจิต
ความปรารถนาดีและความพร้อมเพรียงกันของทุกท่าน
อย่างที่ได้เห็นในวันนี้ ทำให้ข้าพเจ้าปลื้มใจ
มีกำลังใจมากขึ้น
มีความเชื่อเสมอว่าความเมตตาปรารถนาดี
ของท่านต่อกันนี้เป็นปัจจัยอย่างสำคัญ
ที่จะทำให้ความพร้อมเพรียงให้เกิดขึ้น
ดีขึ้นทั้งในหมู่คณะและในชาติบ้านเมือง
แต่ถ้าคนไทยเรายังมีคุณธรรมข้อน
ประจำอยู่ในจิตใจก็จะมีความหวังได้ว่า
บ้านเมืองไทยไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ
ก็จะอยู่รอดปลอดภัย
และธรรมธำรงมั่นคงปลอดภัย
ได้ตลอดรอดฝั่งอย่างแน่นอน
ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย
และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทรงคุ้มครองรักษาท่าน
และชาติไทยให้มีแต่ความผาสุก ร่มเย็นยั่งยืนตลอดไป"

ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต
วันที่ 5 ธ.ค. 2555
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงชนชาวไทยตลอดไป

Published on Dec 13, 2012 by PRD กรมประชาสัมพันธ์

Dec 3, 2012

The IDOL คนบันดาลใจ ซี - ฉัตรปวีณ์ ตรีชีชวาลวงศ์





ศ. นพ. ประเวศ วะสี


"มันอาจจะมีการสอนศีลธรรม แต่ศีลธรรมก็ไม่เกิด เพราะศีลธรรมไม่ใช่วิชา ศีลธรรมคือการปฏิบัติ ศีลธรรมคือการอยู่ร่วมกัน เพราะชุมชนนี้คือการอยู่ร่วมกัน เพราะฉะนั้นมันต้องเรียนรู้ แล้วการจะทำอะไรให้สำเร็จหรือไม่สำเร็จ มันมีคนเกี่ยวข้องเยอะ เรารู้คนเดียวก็ไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นต้องเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ" "เรื่องต่างๆที่มันเกิดขึ้นมันก็เป็นอนิจจัง มันเกิดขึ้นแล้วเดี๋ยวมันก็ผ่านไป มันไม่มีใคร สามารถขัดแย้งกันอยู่ได้ถาวร แม้แต่สงครามที่มันรุนแรงกว่านี้มันก็ยังยุติลง มันไม่ใช่ว่าโลกจะเลวร้ายอะไร เพราะมนุษย์มีศักยภาพอยู่ที่ตรงนี้" ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส


 

เสวนาทศวรรษต่อไปของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง


เปิดงาน เสวนาทศวรรษต่อไปของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
โดย  .นพ.ประเวศ  วะสี  วันที่ 25 ..2555
โรงแรมรามาการ์เด็นส์ .วิภาวดีรังสิต กทม.
ถ่ายทอดสดทางFMTV


Dec 2, 2012

ชีวิตโสดแบบ โจ NUVO

http://teetwo.blogspot.com/2009/07/2531-2533.html 

ที่นี่หมอชิตอาทิตย์นี้พี่ ดู๋ สัญญา ส่ง นุ่น-ลิง 
บุกบ้านชายโสดผู้มีโลกส่วนตัวสูง 
โจ จิรายุส วรรธนะสิน ขุดคุ้ยข้อมูลเรื่องราวมุมมองความรัก เเละ อัพเดทชีวิตส่วนตัว ถึงห้องนอน พร้อมเผยเคล็ดลับการเป็นหนุ่มเจ้าเสน่ห์ต้องมี ความโรเเมนติก ด้วยการโชว์ทำเมนู สุดพิเศษ ที่ทำให้นุ่นกับลิงถึงกับติดใจ งานนี้กินไปคุยกันไปจนมาถึงเรื่องความรัก ว่าทำไมยังโสดจนป่านนี้

......เป็นเพราะพี่โจเรื่องมาก โลกส่วนตัวสูง หรือ ว่ามีปัญหาอะไร ถึงยังไม่มีสาวตัวจริงซะที ?? ถ้าพูดตามหลักความจริงเลย ผมมีโลกส่วนตัวสูง เราอยู่คนเดียวเราอยู่ได้คุยกับตัวเอง ดูหนังเราก็หัวเราะ แต่ว่าถ้าเรามีคนมาอยู่ด้วย จะอยู่ในฐานะอะไร ภรรยาก็ไม่ได้อยากมี จะมาอยู่ด้วยเป็น...ไม่ใช่มันก็ไม่ควรไปทำอะไรใคร ไม่ได้อยากมีครอบครัวมีลูก เกย์ก็ไม่ได้เป็น ตุ๊ดก็ไม่เป็น ลูกก็ไม่อยากมี ก็ต้องอยู่คนเดียว เราเห็นคนวัยเดียวกันมีลูกมีครอบครัว แล้วก็หย่า แล้วก็ด่างพร้อย ลูกก็ไม่อยากมี อย่างของเจก็ยั๊วเยี๋ยเต็มไปหมด หลานเต็มเลย เวลาไปทีแข่งกันพูด หนวกหูสองชั่วโมงผมก็เวียนหัวละ แต่รักที่สุดนะ แต่เราอยู่ได้เป็นบางจังหวะที่เรามีอารมณ์อยากจะอยู่ตรงนั้น 

......คือจริงๆมันเป็นเรื่องที่แบบว่า ตอนเรา30เรามีแฟน เราก็กะแต่งงาน 2 ปีก็เลิกไป 33 ก็มีแฟนอีกก็กะแต่งงาน 34 35 ก็เลิกกันไป 36 เจอะอีกแล้ว 37 ก็เลิกอีกแล้ว ไม่รู้เป็นบ้าอะไร 2 ปี ๆ เลิกกันไป เราก็พอละอ้าว 39 มีอีกแล้ว 40 มีอีกแล้ว ไม่แต่งสักทีเลขก็เพิ่มเร็ว ตอนนี้ 45 พอแล้วไหม หรือว่าสเปกสูงเกิน เพราะแค่ผู้หญิง พูด ร ล ไม่ชัดพี่โจก็ว่ามันไม่ใช่?? คือผมก็ดื้อยานะ เหมือนดื้อผู้หญิงอะ เราก็ทำให้ชีวิตเราดื้อสเปกอะ คือต้องมาแบบเอาเราอยู่ หน้าต้องน่ารักอยู่ด้วยแล้วชื่นใจ แล้วมีติสๆคือมันบอกไม่ได้อะ อาจจะต้องหมวยๆลูกครึ่งก็ได้ ไทยก็ได้เตี้ย สูง แต่ต้องมีอะไรก็ได้ เช่น อยู่ด้วยแล้วชื่นใจจังเลย เสน่ห์มันคืออะไร ไม่รู้จะเรียกหน้าตาหรือเปล่า สวยมากก็ไม่ดี แต่ถ้าสวยแล้วมองได้นาน คนเนี่ยมีเสน่ห์ พอมีจริตจะก้านที่เหมือนแล้วใช่ และลงตัว ใช่เลย ประกอบมูลรวมๆองค์รวมๆมันบอกไม่ได้แต่คือหน้าตาดี คุยแล้วแบบว่า รอเรือไม่มีคำควบกล้ำรอเรือไม่ชัดก็แย่เหมือนกันนะ ผู้หญิงที่พูดคำควบกล้ำไม่ดีไม่มีบุคลิกนะ ผมชอบแบบจะพูดจาให้แนวก็แนวหน่อย อย่างเจอผู้หญิงพูด พี่กัวอะป่าว กับพี่กลัวอะป่าวอย่างเนี่ย พอพูดควบกล้ำแล้วมีเสน่ห์เลยนะ
.......เราก็ต้องเลือกคนที่มาอยู่ข้างๆเราให้มันดีหน่อย ใครจะรู้ว่า โจนูโว เคยเหงา
ถึงขั้นอยากให้มีคนมากอดและใช้วิธีเอาผ้ามาห่มตัว?? ผมอยู่คนดียวเกือบปีละ ผมรู้สึกว่าร่างกายของผมขาดสารอาหารถูก กอด ผมรู้สึกว่าอยากโดนใครกอดละ อยากโดนกอดสักที แล้วนอนก็หาย โดยเฉพาะคืนวันอาทิตย์ตอนเช้าจะไปโบสถ์แล้วกลางวันจะว่าง แล้วกลางคืนก็เหงา เหงามากๆเหงาจนเอาผ้าเช้ดตัว
มาคลุม ใครก็ได้มาช่วยกอดหน่อยไม่ได้เรื่องเซ็กนะ
มันเป็นความรู้สึกมันขาด แต่ตื่นเช้ามาก็หาย

ปิดท้ายทั้ง ลิง นุ่น และโจ มารวมตัวกับพี่ดู๋และสมาชิกวงนูโวที่อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาร่วมพูดคุยเรื่องราวความเป็นเพื่อน เเบบนูโว ตลอดระยะเวลา 25ปี มันเต็มไปด้วยความรักเเละความผูกผัน เเละทุกวันนี้พวกเค้ายังดูเเลกันอย่างไร รวมทั้งอัพเดทอาการป่วยของ ก้องนูโว ห้ามพลาด ติดตามชมเทปนี้ได้ ในรายการ ที่นี่หมอชิต วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน นี้ เวลา 22.45 น. ทางช่อง 7 สี


รายการ ที่นี่หมอชิต วันที่ 23 กันยายน 2555

Nov 25, 2012

26 พฤศจิกายน วันมหาธีรราชเจ้า

    ภาพประกอบ จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร



"วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
ภาพ : ประติมากรรมต้นแบบพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี 
ออกแบบและปั้นโดย "ท่าน ศ.ศิลป์ พีระศรี"






Nov 24, 2012

วาระประเทศไทย คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์



คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
ผู้นำศาสตร์แห่งตะวันออก มาสร้างซีพีออลล์

Nov 19, 2012

Nov 18, 2012

Obama visits Asia for first international trip since reelection






Trip's focal point is a stop in Myanmar,
which just threw off decades of military regime.
Obama will also visit Cambodia and Thailand.
By Jonathan Lemire / NEW YORK DAILY NEWS
http://www.nydailynews.com/news/politics/obama-swing-asia-reelection-article-1.1203693


Nov 9, 2012

กล้าแกร่ง...สร้างสรรค์ชั้นครู ผศ.ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล



หญิงวัยทำงานในชุดเสื้อเชิ้ตคัตติงเนี้ยบ
กางเกงสแล็กส์ขาบาน 
มาดอาจารย์สอนหนังสือคนนี้
เป็นมิตรและยิ้มแย้มเสมอ
เสน่ห์น้ำเสียงนุ่มหู
วาจาเพราะพริ้งชวนฟัง
ทุกครั้งที่ได้สนทนากัน
ผศ.ดร.น้ำฝน ไล่สัตรูไกล
เป็นประธานบริหารหลักสูตร 
และอาจารย์คนเก่งของ
สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
และปริญญาเอกสาขาศิลปะการออกแบบ
คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
และเธอเป็นอดีตนักศึกษาปริญญาตรี 
คณะมัณฑนศิลป์ของที่นี่ ก่อนไปศึกษาปริญญาโทใบแรก
อินดัสเตรียล ดีไซน์ ที่ Universityof South Australia
เมือง Adelaide ที่ออสเตรเลีย
และปริญญาโทอีกใบด้านสิ่งทอ ที่ ENSCI ปารีส ฝรั่งเศส
ใจรักการเรียนรู้ศาสตร์แห่งศิลปะ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบ
และกระบวนการผลิตสินค้าแฟชั่น
ส่วนหนึ่งเกิดจากการหล่อหลอมของครอบครัว 
ทั้งคุณพ่อที่เป็นลูกศิษย์อาจารย์ศิลป์ พีระศรี
คุณอาเป็นมัณฑนากร 
เธอจึงเห็นบรรยากาศการสร้างสรรค์งานศิลปะตั้งแต่ยังเล็ก
ไม่แปลกที่ผศ.ดร.น้ำฝน
จะลงเอยในเส้นทางสายศิลปะ
หลังจากกลับจากฝรั่งเศส ผศ.ดร.น้ำฝน สมรสกับ
อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล
ผู้อำนวยการคนปัจจุบัน
ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
(Thailand Creative Design Center–TCDC)
ก่อนที่จะไปศึกษาต่อปริญญาเอก
อินดัสเตรียล ดีไซน์ที่
Birmingham Institute Of Art And Design
ประเทศอังกฤษ
“ระหว่างนั้นต้องหอบลูกชายคนโต (น้องตรงตรง โอทารย์)
ไปเลี้ยงด้วย ไม่นานนักก็ตั้งท้องลูกสาวอีกคน
(น้องจริงจริง อรอร) ชีวิตช่วงนั้นทรหดมาก 
เพราะสามีก็เป็นนักเรียนทุน ไม่มีเวลาเช่นกัน
ตอนจะคลอดก็บินกลับมาพร้อมลูกคนโต
รอสามีสอบเสร็จจากนั้น 1 สัปดาห์ จึงคลอด
ในที่สุดก็ผ่านมาได้ทั้งเรื่องการเรียน และการดูแลลูกๆ”
ครอบครัวที่รัก
“เสาร์อาทิตย์ คือวันของลูกๆ ทั้งสองคน
จะมีเรียนดนตรี และศิลปะ เราก็จะใกล้ชิด 
สนใจและติดตามพัฒนาการของเขา
วันธรรมดาเขาก็หนักกับการเรียนของเขาตามวัย 
ขณะที่พ่อแม่ก็หนักกับงานของเรา
แต่อย่างไรก็จะไปส่งลูกเข้าเรียนทุกวัน 
ปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์ให้กับเขาตั้งแต่ยังเล็ก
เวลาว่างอยู่บ้านก็จะทำงานศิลปะ หรือทำงานบ้าน
ทั้งที่มีแม่บ้าน แต่ก็สนุกกับการได้ลงมือทำด้วย 
นอกจากนั้นก็ออกกำลังกายร่วมด้วย”
แบรนด์ เจอร์ไมน์
“Jermyn คือ ชื่อแบรนด์ที่ดิฉันสร้างขึ้น 
มาจากชื่อถนนที่ขายแต่เสื้อเชิ้ตในลอนดอน
เพราะรักเสื้อเชิ้ต มันคือชิ้นที่ใส่ไปได้ทุกงาน
ไม่ว่าจะส่วนตัวหรือพบปะผู้คน 
เพียงแค่คุณเปลี่ยนท่อนล่าง หรือสวมสูททับ
เมื่อเราเป็นนักออกแบบ เราก็ทำใส่เอง
เพราะเราชอบความประณีต ทั้งแบบ
เนื้อผ้าและฝีเข็ม ไม่ใช่ว่าแบรนด์เนม
จะใช้ของดีทุกยี่ห้อ
ตั้งแต่เริ่มทำเองก็ไม่ได้ซื้อเสื้อเชิ้ตอีกเลย (หัวเราะ)
อย่างในตู้เราเองส่วนใหญ่ก็มีแต่เชิ้ตขาว ดำ
หรือสีเข้ม เป็นเบสิก นอกจากเชิ้ตแล้ว
ก็ทำสูทและกางเกงด้วย”
หนังสือศิลปะ โมเดลหุ่นเสื้อผ้าและภาพเขียน
“แน่นอนว่าเราชอบอ่าน ชอบดู และค้นคว้าเพื่อรู้ให้มาก
ในทั้งด้านการเรียน และเพิ่มเติมประสบการณ์ 
นอกจากนั้นผลงานบางชิ้นที่เราเคยทำก็ได้ถูกรวบรวมไว้
ในแค็ตตาล็อกบางเล่มตามโอกาสอำนวย 
มันคือความภูมิใจค่ะ ส่วนตุ๊กตาหุ่น
เกิดจากการเก็บเล็กผสมน้อยตอนสมัยเรียน 
ดิฉันชอบไปตามตลาดเปิดท้าย
สนุกกับการดูของเก่าต่างๆ ของเมืองนอกเขาขายกันจริงจัง 
และของดีทั้งนั้น ตุ๊กตาหุ่นถูกใจ ก็ค่อยๆ
เก็บจนกลายเป็นของสะสม
เวลาว่างดิฉันก็เขียนภาพ มีนำไปแสดงนิทรรศการบ้าง
ไปใช้เป็นภาพประกอบบ้าง หรือประดับตกแต่งบ้านด้วย
ของหลายชิ้นในบ้านดิฉันและสามีก็ทำขึ้นมาทั้งนั้น 
เขาก็เป็นช่างไม้ไป เราก็งานจุกจิกไปเรื่อย”
กระเป๋าสวยที่ลายผ้า
“เวลาไปที่แปลกๆ ใหม่ๆ เห็นกระเป๋า
หรือเสื้อผ้าที่มีลายผ้าสะดุดตา ก็จะชื่นชม
ที่ซื้อติดกลับมาก็ของ Marimekko จากฟินแลนด์
ดอกป๊อปปี้เป็นลายดอกไม้ที่ทำให้ประเทศนี้รวยขึ้นมา
ในเวลาไม่นาน ส่วนอีกสองใบเป็นกระเป๋าจากญี่ปุ่น
ใบหนึ่งเป็นรูปพัด อีกอันเป็นตุ๊กตาล้มลุก
เห็นได้ชัดว่าชิ้นผ้าและลายสะท้อนวัฒนธรรมที่สวยงาม
เวลาเห็นของชิ้นไหนที่ซื้อ
จะทำให้นึกถึงความทรงจำดีๆ”
สไตล์ของคุณ
“ไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนน่าจะเกี่ยวเนื่องกับอาชีพ 
อย่างดิฉันเป็นครูจะแต่งตัวฟู่ฟ่า
หรูหรามากก็คงไม่งาม (หัวเราะ) คือ
เราก็เป็นดีไซเนอร์ แต่เราอยู่ภายใต้องค์กรราชการ
นอกจากนั้นก็คงเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำด้วย คือ
ต้องสอนหนังสือ และทำเวิร์กช็อปก็ต้องแต่งตัว
ให้มันทะมัดทะแมง รสนิยมนั้นค่อยๆ
ซึมซับและปลูกฝังกันได้ แต่ว่าบางสิ่งบางอย่าง
จะเข้ากับตัวเราไหม อาจจะต้องปรึกษาเพื่อนบ้าง
แต่อันที่จริงเราก็ดูดีได้ จากสิ่งง่ายๆ
แนะนำว่าให้มิกซ์ แอนด์ แมตช์
บางชิ้นไม่ต้องแพง ผสมกับที่แพงบ้าง”
ท้ายสุดสตรีเสียงหวานมาดอาจารย์ก็ทิ้งท้ายไว้ให้ผมฟัง
“ทุกคนต่างอยากประสบความสำเร็จทั้งนั้น
แต่พยายามอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องอดทน
และทำให้ดีที่สุด เราจะอยู่อย่างมีคุณค่าได้อย่างไร
ถ้ามัวแต่กลัวลำบาก หรือกังวลกับปัญหา”

แนะนำสาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย
คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Nov 3, 2012

วงไฮดร้า : Hydra

 http://teetwo.blogspot.com/2008/12/blog-post_18.html 
ไฮดร้า คือวงดนตรีไทยแนวป๊อปร็อก
ก่อตั้งและมีผลงานเพลงในปี พ.ศ. 2535
โดยมีนักร้องนำคือ นครินทร์ กิ่งศักดิ์ (ป้าง) 
และ ธนา ลวสุต (ปอนด์) 
โดยป้างเป็นคนแต่งคำร้อง และปอนด์แต่งทำนอง
อยู่ในค่ายนิธิทัศน์
ไฮดร้าได้รับรางวัลสีสันอวอร์ด
สาขาวงดนตรีหน้าใหม่ยอดเยี่ยม ปี 2535
จากอัลบั้มชุดเดียวคือ "อัศเจรีย์"
ซึ่งใช้เวลาเตรียมตัวทำอัลบั้มนานถึง 5 ปี 




Oct 23, 2012

คิดถึงจัง - นูโว






วันปิยมหาราช




*คาถาบูชา "พระพุทธเจ้าหลวง"
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
พระสยามินโท วะโรอิติ พุทธสังมิ อิติอะระหัง สหัสะกายัง วะรังพุทโธ นะโม พุทธายะ*
(ตั้งจิตอธิษฐาน)
ในวโรกาสพิเศษนี้ ขอถวายบูชาน้อมรำลึกถึง
พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ




The Voice (Thailand)



ปุ้ย - ดวงพร พงศ์ผาสุก VS ตุ้ม - ชวาล ปรีชาสศัตย์ VS คีย์ - คีตะญา สุตระ 
เพลง : เสน่หา [สุเทพ วงศ์กำแหง]
ทีมโค้ช : แสตมป์


The Voice Thailand Season 5 รอบ Blind Auditions วันที่ 18 Sep 2016 ไนท์ - วิทวัส สันกลกิจ เพลง : Highway to Hell ทีมโค้ช : ก้อง สหรัถ


Oct 16, 2012

MIX MAGAZINE : นิธิ สถาปิตานนท์


Text : แว่นแก้ว กรอบทอง
http://www.mixmagazine.in.th/archive.php?ref=1252&art=26&sec=1
http://teetwo.blogspot.com/2006/08/blog-post_115604741263955351.html

บนเส้นสายสู่ปลายฝันเพื่อฟันฝ่าให้ถึงฝั่งของ
อาจารย์นิธิ สถาปิตานนท์ ไม่ได้โรยรองด้วยฟองเบียร์
เพื่อเหยียบย่างสู่ทางลัด ย่อมผ่านร้อน ผ่านฝน ผ่านหนาว
ก่อร่างสร้างฐานที่มั่นจนมาก่อตั้งบริษัท 49 กรุ๊ป
ที่แยกเครือเถาเหล่ากอไปอีกถึง 12 บริษัท
จนถือว่าเป็นกองบัญชาการของ
สถาปนิกชั้นนำล้ำสมัยที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
ที่นี่รวบรวมสถาปนิกนักออกแบบและวิศวกรหลายชีวิต
สะท้อนให้เห็นถึงความวิริยะ อุตสาหะ
และแก่นแท้ของจิตวิญญาณที่สะสม
หล่อหลอมความประณีต ละเอียดลออ บ่มเพาะรากเหง้า
ต้นกล้าสถาปนิกให้งอกงามยืนยาว

นิธิ สถาปิตานนท์

อาคารอันทันสมัยสไตล์โมเดิร์นของ
บริษัทสถาปนิก 49 จำกัด
ตั้งอยู่ภายในซอยสุขุมวิท 26 ปกคลุมด้วยต้นไม้ ร่มรื่น
อบอวลด้วยมวลศิลป์ ทั้งภาพเขียน ภาพพิมพ์ ติดผนัง
และประติมากรรมลอยตัว การเล่นระดับสถาปัตยกรรม
แลดูเนียนนุ่ม การจัดแสงและการวางห้องหับลงตัว
ดุจขุมกำลังคลังสมอง

อาจารย์นิธิ สถาปิตานนท์ คือหนุ่มใหญ่วัยเกษียณ
ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบร่วมสมัย)
ปีพุทธศักราช2545
และเป็นประธานกรรมการบริหาร
บริษัทสถาปนิก 49
เมื่อเราได้ปฏิสัมพันธ์สนทนาในเชิงบวกกัน
ท่านก็ได้ขยายถึงที่มา
ของคุณสมบัติเบื้องต้นของเหล่าสถาปนิก
ว่าจะต้องมีความอดทน มีจิตวิทยาสูง ใจกว้าง
ซื่อสัตย์ในวิชาชีพ มีมนุษย์สัมพันธ์กับการเข้าสังคม
นอบน้อมถ่อมตน ผูกมิตรไม่คิดสร้างศัตรู
พร้อมยกย่องสรรเสริญผู้อื่นให้เข้ากับยุคสมัยได้
นั่นคือสุดยอดของจุดมุ่งหมายแห่ง
ความคิดของสถาปนิกร่วมสมัยเยี่ยงเขา

อาภรณ์ประดับชาติ

อาจารย์นิธิ พรรณนาจั่วหัว ถ่ายทอดอารมณ์เสมือน
เป็นออเดิร์ฟเรียกน้ำย่อย หลังจากคุ้นเคยกัน
“งานของผมเป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัย
จะแตกต่างจากอาจารย์วนิดา พึ่งสุนทร
อาจารย์ฤทัย ใจจงรัก
และอาจารย์อาวุธ เงินชูกลิ่น
พี่ทั้งสามท่านเป็นศิลปินแห่งชาติ
สายสถาปัตยกรรมไทยแบบประเพณี
จะสร้างบ้านมีช่องลมมีช่อฟ้าใบระกา
แต่ของผมเป็นสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย
ยกตัวอย่างเช่น ตึกมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ
อยู่หน้ามหาวิทยาลัย
ริมถนนพหลโยธิน รังสิต
ตึกนี้มีคนพูดถึงกันเยอะ
หรืออย่างตึกของ คิงเพาเวอร์
ก็เป็นไฮไลต์ของเรา เพราะใหญ่มาก
มีทั้งโรงแรมออฟฟิศ ดิวตี้ฟรี
“ผลงานที่เด่นชัดอีกอันหนึ่งก็คือ
อาคารที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศ
ที่ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ
อันนี้ชนะเลิศการประกวดออกแบบ
ได้รับรางวัลเหรียญทองจาก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
เมื่อปี พ.ศ.2536
ตอนที่ออกแบบอาคารกระทรวงการต่างประเทศนั้น
ต้องตั้งใจมาก เพราะว่ากระทรวงการต่างประเทศ
ต้องรองรับแขกบ้านแขกเมืองระดับประเทศ
ทั้งภายในภายนอกเราต้องคิดกันหนัก
เพื่อทำออกมาให้ประณีตสวยงาม งานใหญ่ๆ
ระดับนี้ต้องช่วยกันทำงานหลายคน

“ผมเองมีความสนใจงานสถาปัตยกรรมตั้งแต่
เรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนที่ผมสอบเข้าจุฬาฯ
ผมก็ปักหลักเข้าสถาปัตยกรรมเลย
โดยเฉพาะชีวิตช่วงที่เรียนโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
ได้สอนอะไรผมเยอะมาก ไม่ใช่มุ่งแค่เรียนอย่างเดียว
ที่นี่สอนเรื่องการปกครอง เด็กโตต้องปกครองเด็กเล็ก
เด็กเล็กต้องเคารพเด็กโต เด็กโตต้องทำโทษเด็กเล็กได้
สมัยผมนั้นเฆี่ยนได้ ตีได้(หัวเราะ)
คนที่จะลงโทษต้องมีการตัดสินใจที่ยุติธรรม
นั่นคือระบบจึงจะทำให้นักเรียนส่วนใหญ่รู้เรื่องการปกครอง
รู้จักเรื่องของจิตวิทยา เพราะเรื่องนี้เป็นนโยบายของ
ในหลวงรัชกาลที่ 6 อยู่แล้ว
ที่ต้องการให้เด็กวชิราวุธฯนั้นเป็นสุภาพบุรุษ
แล้วพระองค์ก็ทรงวางรากฐานมุ่งเน้นการเรียน
แบบโรงเรียนประจำ สอนให้เป็นนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ
รู้การให้อภัย เพราะมันอยู่ในเกมหมด
สิ่งที่ผมได้ติดตัวมาตลอดคือด้านการปกครอง
จนกระทั่งผมได้มาเรียนที่จุฬาฯ
ก็ได้เป็นหัวหน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
แล้วก็มาทำงานด้านสังคม
ผมจะสอนให้เด็กรู้จักการบริหารจัดการ
เมื่อเริ่มจัดตั้งบริษัทขึ้นมา
ก็ต้องปกครองบริหารคนกว่า 300 ชีวิต
โดยใช้หลักของวชิราวุธฯ ปกครอง
จะลงโทษเขาต้องมีความยุติธรรม
แล้วต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับเขา
การปกครองต้องอ่านจิตวิทยาเขาให้ออก
เราถึงจะได้คนดีมีฝีมือมาอยู่ด้วยกันกับเรา”

พรสวรรค์ & พรแสวง
แรงบันดาลใจที่ทำให้ชื่นชอบศิลปะมาตั้งแต่เด็กๆ
มาจากอะไรนั้น อาจารย์นิธิเปรยให้ฟังพอเป็นน้ำจิ้ม
“ผมมองว่าตั้งแต่เด็กๆ ผมเป็นพวก Born to Be
เหมือนอย่างอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต
ผมรู้จักกับเขาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่วชิราวุธฯ
ตอนเด็กๆ เขาชอบเขียนรูปมาก
เขาเขียนได้สวยมาก จนส่งเข้าประกวดได้รับรางวัล
กรรมการบางท่านเขาไม่เชื่อว่าเป็นฝีมือของนักเรียน
ซึ่งเรียนอยู่ชั้นมัธยมเป็นคนเขียน
เพราะเขาเขียนรูปสีน้ำมัน
แต่ของผมไม่ใช่สไตล์แบบเขามากนัก
จนกระทั่งได้มาเรียนสายอาร์ต
แต่ความจริงมันชอบด้วยความเป็นตัวตนของเรา
เพราะสมัยนั้นเวลามีงานที่โรงเรียน เราจะต้องทำฉาก
เขียนฉาก ออกแบบเวที ผมจึงได้รับมอบหมายทุกครั้ง
ที่มีงานของโรงเรียน หรืองานของคณะสถาปัตยกรรม
ก็ต้องทำอย่างนี้อยู่ 4-5 ปี ก่อนจะจบ
มันจึงทำให้ผมชอบงานด้านนี้

“ตอนอยู่วชิราวุธฯ ผมได้เป็นนักเขียน
และได้เป็นบรรณาธิการหนังสือของโรงเรียน
แต่พอมาตั้งบริษัทสถาปนิกฯ
ผมจึงมาตั้งบริษัททำหนังสือชื่อ
บริษัทลายเส้น พับบลิชชิ่ง จำกัด
ผมชอบทำหนังสือและเป็นนักเขียนไปด้วย
ปัจจุบันทำหนังสือชื่อ หนังสือ‘เยี่ยมบ้านศิลปิน’
และหนังสือในเครืออีกหลายเล่ม เช่น art4d

“พอเข้ามหาวิทยาลัย ต้องเรียนถึง 5 ปี
ชีวิตมันก็ถูกหล่อหลอมทำให้เราได้ฝึกฝนจนออกมา
เป็นสถาปนิกที่ดีได้ คำว่าสถาปนิกนั้นคืออะไร
ผมมาเข้าใจในตอนเข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยว่าเราชอบ
หรือไม่ชอบ หรือชอบมันจนอยู่ในสายเลือด
บางคนอาจจะไม่ชอบ เรียนมา 5 ปี
แทบเอาตัวไม่รอดเลยก็มี เมื่อทำงานไปแล้ว
มันก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากตัวเองไม่ชอบจริงๆ
อย่างผลงานของศิลปินก็เหมือนกัน
ถ้าศิลปินไม่ชอบเขียนภาพ มันทำไม่ได้หรอก
กว่าจะเสร็จต้องใช้เวลาเป็นเดือน
เงินก็ไม่รู้ว่าจะได้หรือเปล่า
สถาปนิกทำงานโปรเจ็คท์หนึ่งใช้เวลา 3 ปี 5 ปี
ถ้าเราไม่มีเลือดของสถาปนิกอยู่ในตัว เราก็จะเบื่อ
กว่าเราจะทำเสร็จต้องไปอธิบายกับลูกค้า
เขาจะให้เราแก้ไขอย่างไร เราก็ต้องเฮฮาสนุกสนานกับลูกค้า
ก็ต้องแก้กันไป เหมือนกับที่ผมทำคิงเพาเวอร์
ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี กว่าจะเสร็จสมบูรณ์”

ดีเอ็นเอเข้มข้น ต้นตระกูลช่าง
อาจารย์นิธิสืบทอดสายเลือดเข้มข้นช่างสถาปัตยกรรม
มาตั้งแต่อดีตบรรพบุรุษ จึงมีความชำนิชำนาญ
ด้านสถาปัตยกรรมมาถึงปัจจุบัน
“นามสกุล สถาปิตานนท์ เป็นนามสกุลพระราชทาน
มาตั้งแต่สมัยคุณปู่ผม คือพระยาอุภัย ภาติเขตร์
สมัยนั้นคุณปู่ท่านไปเป็นนายอำเภออยู่ที่อำเภอสองพี่น้อง
จังหวัดสุพรรณบุรี นายอำเภอเองก็ไม่ได้ใกล้ชิดในหลวงเท่าไร
แต่ด้วยความที่คุณปู่ชอบทำบ้านทรงไทย
ชอบทำพลับพลา เวลาในหลวงเสด็จพระราชดำเนินไป
ที่อำเภอสองพี่น้อง คุณปู่ท่านจะเป็นคนทำพลับพลาที่ประทับ
ทำด้วยไม้ที่ไปหามาจากในป่า
ซึ่งในหลวงท่านก็ประทับใจมาก จึงเรียกคุณปู่ผมมาพบ

“ตามจริงคุณปู่น่าจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
เป็นเจ้าเมืองสุพรรณบุรี แต่ท่านก็บอกไม่เอา
อยากอยู่อำเภอสองพี่น้อง แล้วท่านก็ได้พระยา
พร้อมนามสกุลพระราชทาน สถาปิตานนท์
ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกันกับสถาปัตยกรรม นี่คือต้นตระกูล
แต่ว่าครอบครัวผม ตั้งแต่คุณปู่มาจนถึง
คุณพ่อผมก็ไม่มีใครเป็นสถาปนิก จนกระทั่งมาถึงตัวผม
จำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมมักจะนำกล่องกระดาษ
มาทำเป็นบ้านเล่น เวลาปิดเทอม
ทำได้ตั้งแต่เรียนชั้นมัธยม
แสดงว่าเราเป็นสถาปนิกอยู่ในตัว
จึงตัดสินใจเข้าสถาปัตยกรรมจุฬาฯ”

สถาปัตยกรรมกับการแสดงดูเหมือนจะแยกไม่ออกจากกัน
ปัจจุบันนิสิตสถาปัตยกรรมที่จบออกมา อยู่แวดวงบันเทิง
สร้างสรรค์ผลงานจนประสบผลสำเร็จมีหลากหลายรุ่น
“เพราะคณะสถาปัตยกรรม จุฬาฯ
เขาสนับสนุนกันมาจนเป็นประเพณี
แล้วเด็กเองก็อยากทำกิจกรรมด้วย
มันเริ่มต้นมาจากยุคผม ตอนนั้นเราทำหนัง
เราสร้างภาพยนตร์ของคณะสถาปัตยกรรม
สร้างหนังเสร็จก็นำมาฉายเพื่อหาเงินสักก้อนหนึ่ง
ฉายรอบ 6โมงเช้าที่โรงหนังคิงส์, ควีน, แกรนด์
ในสมัยนั้น ฉายเพียงรอบเช้า
แล้วเราก็ได้เงินมา 1-2 แสนบาทแค่นั้น

“จากการทำหนังในยุคก่อน ก็พัฒนามาสู่ละครเวที
ในยุคหลัง เมื่อทำละคร ทำแล้วก็ต้องเล่นหลายรอบ
เหตุผลที่เด็กยุคนี้หันมาทำละครพันธุ์ใหม่
เพราะเขาต้องการเงินเพื่อนำเอามาจัดกิจกรรม
กิจกรรมออกค่ายบ้าง กิจกรรมกีฬาบ้าง
เพราะเงินกิจกรรมบางคณะมหาวิทยาลัยไม่มีเงินให้
ก็ต้องอาศัยจากเด็กที่ต้องมาหากันเอง
ก็เลยทำละคร ซึ่งหาได้เป็นกอบเป็นกำ
เล่นละครกันเป็นสิบๆ รอบ นั่นคือละคร ’ถาปัด
บางคนจบออกไปแล้ว ก็วนเวียนมาเล่นให้ฟรีๆ
ไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับแสง ผู้กำกับเสียง
ผู้กำกับเวทีฝ่ายฉากต่างๆ มาทำให้ฟรีทั้งนั้น
ค่าใช้จ่ายจึงไม่มาก เดี๋ยวนี้เก็บเงิน
จากการเล่นละครที่คนเข้ามาชมได้เป็นล้านๆ บาท
เพื่อที่จะนำเงินไปทำอะไรต่ออะไร
ทั้งการนำไปสร้างโรงเรียน สร้างห้องสมุด
ออกค่ายอาสาฯ ตามต่างจังหวัดของคณะสถาปัตยกรรม

“เพราะสถาปัตยกรรม โดยเนื้อแท้จะสอนเรื่องการออกแบบ
คิดสร้างสรรค์งาน เมื่อออกแบบ
แล้วต้องสร้างขึ้นมาให้เป็นจริงได้
การสอนสถาปัตยกรรมจึงแตกต่างจากคณะอื่น
คณะสถาปัตยกรรมเมื่อคิดแล้ว คุณต้องเขียนๆ
แล้วต้องหาให้เจอ คุณต้องสามารถนำไปสร้างให้ได้ด้วย
ฉะนั้นคุณต้องบริหารจัดการเป็น สร้างเป็นรูปธรรมให้ได้
ซึ่งตรงนี้เด็กสถาปัตยกรรมจะเก่งทุกอย่าง
ต้องออกแบบบ้านจริง ออกแบบแล้วสร้างได้
กระบวนการตรงนี้มันเป็นกระบวนการที่ยาวมาก”

ฟูมฟักคมความคิด
“เด็กสถาปัตย์ต้องเรียน 5 ปี
ทุกปีจะทำโปรเจ็คท์ปีละ
6 โครงการ ทุกโปรเจ็คท์จะต้องบริหารจัดการได้
อย่างการคิดออกแบบแล้วเอาไปขายไอเดีย
ขายไอเดียเสร็จปุ๊บ ก็ต้องออกไปเขียนแบบ
เขียนแบบอย่างละเอียด จะต้องทำโมเดล
ถึงจะนำไปสร้างได้
จึงทำให้พวกเขามีความคล่องตัวมาก
เมื่อพวกเขาจบออกไป
บางทีไปเขียนบทภาพยนตร์
หรือไปกำกับเวที หรือไม่ก็ไปจัดรายการ
ก็ต้องใช้ในเรื่องของความคิด
คอนเส็ปต์ของรายการต่างๆ
ก็สามารถทำได้ โดยเฉพาะพิธีกร
เด็กสถาปัตย์ต้องพูดทุกคน พูดขายความคิด
ต้องพรีเซนต์กับอาจารย์ กว่าจะจบ 5 ปี
ต้องทำอย่างน้อย 30 โปรเจ็คท์
ฉะนั้นทุกคนต้องพูดเป็น

“แต่บางคนก็ไม่ชอบพูดมาก ชอบดีไซน์อย่างเดียว
หากพูดไม่เป็น พวกนี้ก็มักจะไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ
เขาอาจจะคิดอะไรเก่งเรียนได้เกียรตินิยมมา
แต่ขายความคิดไม่เป็น
ก็ไม่สามารถแสดงให้คนอื่นเข้าใจได้
คนไม่สนใจเขา
เขาก็จะเกิดความท้อแท้เลิกล้มไปก็มีเยอะมาก

“คุณปัญญา นิรันดร์กุล ก็เป็นอีกตัวอย่างที่
ดีอีกตัวอย่างหนึ่งที่จบจากสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาฯ
แล้วมาทำรายการโทรทัศน์รายการของเขาจะมีอะไรแปลกๆ
โดยมีคุณประภาส ชลศรานนท์
รุ่นน้องคณะสถาปัตย์เข้ามาช่วยคิดในการสร้างสรรค์

“ผมสร้างสรรค์ผลงานไว้เยอะมาก จำแทบไม่ได้
เพราะผมให้ความสำคัญผลงานเท่าๆ กัน
ก่อนหน้านั้นผมอยู่บริษัทอื่นมาก่อนผลงานในยุคนั้น
มีอาคารที่น่าสนใจอยู่หลายอาคารที่ผมช่วยออกแบบ
เช่น ตึกบริษัทบุญรอดฯ ตึกปูนซีเมนต์ไทย ตึก อสมท.
ถ้าจะถามว่าภูมิใจตึกอะไรบ้าง อาชีพอย่างผม
เมื่อทำเสร็จแล้ว เดี๋ยวก็คิดงานอันใหม่ออกมา
แต่ของใหม่ต้องดีกว่าของเก่า
ในขณะเดียวกันเราเป็นคนออกแบบ
เราจึงรู้ว่าตึกของเรามันมีจุดอ่อนอะไร
ไม่มีอาคารไหนที่สมบูรณ์แบบจริงๆ
แม้กระทั่งบ้านของตัวเอง ก็ยังมีจุดบกพร่อง ที่เรารู้
แต่คนอื่นไม่รู้ ทุกคนมาดูบ้านผม บอกว่าสวยจัง
แต่เรารู้ว่ามันมีจุดบอดอยู่หลายจุด
เพราะเราไม่สามารถไปขัดเกลาทุกมุมในทุกจุดได้”

มรดกไทย มรดกชาติ
การใช้คำว่าร่วมสมัยมาประยุกต์งานศิลปะนั้น
เกิดจากการเรียนต่อปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์
ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์สหรัฐอเมริกา
เมื่อจบออกมาแล้วจึงนำคำว่าร่วมสมัยมาใช้ในปัจจุบัน
“มันก็ไม่ใช่โดยตรง ถึงแม้ผมจะไปเรียนต่อเมืองนอก
ผมก็ยังอยากทำอะไรที่ร่วมสมัย
คนไทยต้องอยู่ได้อย่างสบาย
สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย
เราต้องคำนึงถึงเรื่องภูมิอากาศ แสงแดด เรื่องลม
ผมอยากสร้างให้มีบุคลิกที่มีศิลปวัฒนธรรม
ของคนชาติไทยแฝงอยู่ ไม่เน้นมากน้อยแค่ไหน
ก็ขึ้นอยู่ที่เราใส่เข้าไปได้แค่ไหน

“อย่างตอนนี้ผมกำลังประกวดแบบสร้างรัฐสภาแห่งใหม่
ผมจึงทุ่มเทเวลาและความคิดเข้าไปว่ารัฐสภาแห่งใหม่นี้
เราอยากสร้างงานนี้เพื่อเป็นมรดกของชาติ
ฝากให้เป็นสิ่งที่คนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจได้อีกสัก
100 หรือ 500 ปี ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการว่า
เขาจะเห็นด้วยกับเราไหม
แต่เราก็ทุ่มสุดตัว
อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต และ
อาจารย์อาวุธ เงินชูกลิ่น ก็ให้เกียรติเข้ามา
อยู่ในทีมเดียวกันกับผม ร่วมกันทำ
จึงออกมาเป็นสถาปัตยกรรมที่เข้าสวมกันได้

“จิตสำนึกของเราก็คืออยากให้มีความเป็นไทย
เข้ามาสอดแทรกในอาคาร
ถึงแม้จะเป็นอาคารใหญ่ 2-3 แสนตารางเมตร
ก็เกิดความเป็นไทยได้ เมื่อดูแล้วบ่งบอก
ถึงการถ่ายทอดจิตวิญญา
ความเป็นไทยของศิลปินลงไปในงาน
ผมเองก็ไม่ทราบว่าทีมไหนจะชนะการประกวด
สถาปัตยกรรมที่สวยงามต้องสมดุลย์กับธรรมชาติ
กับท้องฟ้าและพื้นดิน มองให้เห็น อ่านให้ออก
ถ้ามีใครถามว่า ตึกนี้สวยไหม แล้วเราตอบว่าสวย
แต่อีก 3 คนอาจจะบอกว่าไม่เห็นสวยเลย
ความงามนี้ต้องมีความพอดี
และเป็นความพึงพอใจของคนดู
คนที่เสพในงานนั้นๆ ด้วย

“ก็เหมือนกับศิลปิน เมื่อมาสุดทางพอดี
เราเขียนรูปๆ หนึ่งเอาสีสันสอดใส่เข้าไป
จนเกิดความพอดี ก็จะเกิ
ความ สุนทรีย์ ความงามขึ้นมา
เกิดความพอดีจากสภาพแวดล้อม
เหมือนกับงานสถาปัตยกรรม เช่น
เราอยู่บนเขา เมื่อเราสร้างบ้านขึ้นมาแล้ว
บ้านจะเกาะอยู่บนเขา
จะเข้ากันได้ไหมกับธรรมชาติ สภาพแวดล้อม
ไม่ทำลายเขาลูกนั้น ผมว่าอันนั้นแหละ
งานจะออกมาดี หรือว่าจะอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่
มันจะผสมกลมกลืนกันกับที่ตรงนั้นได้
พอดีกับวิถีชีวิต ก็จะเป็นงานที่ดีในหลายเรื่อง
ทั้งสัดส่วน ทั้งสีสันรายละเอียดต่างๆ
ที่ใส่เข้าไปไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
ให้มันเชื่อมกัน เราต้องทำโมเดลขึ้นมาดู
ว่าแค่นี้พอแล้ว อย่ามากกว่านี้
ถ้ามากกว่านี้จบเลย
ตรงนี้คือประสบการณ์ที่ช่วยเราได้เยอะ

“ตอนนี้วงการสถาปนิกเริ่มไล่กันทัน
เพราะโลกาภิวัฒน์ สถาปนิกบางคน
เพิ่งเขียนแบบบนโต๊ะเสร็จเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
แป๊บเดียว แบบอันนี้ก็หลุดเข้าไปในอินเตอร์เน็ต
ทำให้เรารู้ว่าเขาทำอะไร คิดอะไรอยู่
สมัยก่อนบางทีเขียนแบบเกือบจะเสร็จแล้ว
ถึงจะได้เห็นว่าหน้าตามันเป็นอย่างไร
แต่เดี๋ยวนี้ การดีไซน์ออกมา หนังสือ
นิตยสารตีพิมพ์แล้วเผยแพร่ไปทั่วโลก
ก็เลยทำให้มีการศึกษาติดตามกัน
ได้ใกล้ชิดและรวดเร็ว

“การเรียนการสอนเดี๋ยวนี้คนไทย
ก็ไปเรียนที่เมืองนอกกันเยอะ
ส่วนมากเราจะได้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี
ที่จะต้องตามกันให้ทัน แต่ของจีนเขาจะซื้อเลย
ของเขาจะจ้างสถาปนิกระดับโลกมาดีไซน์ตึกของเขา
เช่น ตึกสนามกีฬาโอลิมปิก
ที่เป็นรังนกก็เพื่อเป็นการเชื่อมโยง
ถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อนำมาใช้
ของเขาเรียนรู้ได้เร็วมาก
เมื่อเขายอมลงทุนให้คนอื่นมาออกแบบ
ให้ทำสเตเดียมเพื่อจะถ่ายทอดองค์ความรู้
นั่นคือข้อได้เปรียบของเขา

“หากจะเปรียบเทียบการเรียนที่เมืองไทย
และเรียนที่เมืองนอก ผมมองว่า
ระบบการเรียนการสอนยังสู้เขาไม่ได้
วิธีสอนของเขาไม่ได้สอนแบบคนไทย
ที่ส่วนหนึ่งสอนไม่ให้เด็กได้พูด
สอนแบบครูสอน เข้าไปนั่งฟังเลคเชอร์
ครูก็ออกข้อสอบตามที่ครูสอน
ทำให้เด็กไทยบางคนพูดไม่เป็น
พรีเซนต์ไม่ได้ การพูดโต้เถียง
กับอาจารย์ของเราไม่มีเลย
แต่เด็กฝรั่งมันคนละสไตล์กัน
เขาจะให้เด็กพูด ให้เด็กได้คิด
ตรงนี้ของเรายังล้าหลัง
กว่าของเขามากในปัจจุบัน
ระบบการศึกษาของบ้านเรา
ยังไม่เปลี่ยนไปมากนัก
ก็จะทำตามอาจารย์สั่ง
ยังคิดโปรแกรมเองไม่เป็น
อาจารย์ต้องสั่งให้ออกแบบอาคารหลังหนึ่ง
เป็นมิวเซียมนะ เด็กก็จะทำมิวเซียมกันหมด
แต่ที่เมืองนอก อาจารย์เขาจะให้เด็กคิดเองว่า
จะออกแบบอะไร เพื่ออะไร”

คาถา...สถาปนิก
“ถ้าจะถามว่าผลงานของผมแตกต่าง
จากสถาปนิกท่านอื่นอย่างไรนั้น
มันก็พูดยาก มันต้องมีคนเข้าไปอยู่
เข้าไปใช้ ต้องดูสัดส่วนต่างๆ
เวลาเราทำอะไร เราต้องตั้งใจ
เพราะที่บริษัทผมมีสถาปนิกที่ออกแบบ 100 กว่าคน
เมื่อเขาทำงานออกมาแล้วเขาจะทำจริงๆ จังๆ
ทำโมเดลเป็นกองๆ เพื่อจะให้ได้งานออกมาดีที่สุด
คล้ายๆ ของเรา แล้วมีทีมซัพพอร์ต เยอะแยะ
ทั้งทีมวัสดุก่อสร้างอะไรต่างๆ
เราไม่ได้ทำชุ่ยๆ หรือถ้าเกิดให้เรามาทำอะไรชุ่ยๆ
ทำอะไรเพื่อเงิน เราไม่อยากทำ
เงินก็ไม่ใช่ปัญหาหรือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเรา
แต่เมื่อทุกคนทำแล้วต้องภูมิใจ
เมื่อสร้างมาแล้วมีความสวยงาม

“ตอนนี้ผมมีบริษัทในต่างประเทศ
เราต้องออกไปชนกับต่างประเทศที่ได้มาตรฐานสากล
เราต้องชนกับเขาได้ เราต้องต่อสู้กับสถาปนิกอเมริกา
สถาปนิกออสเตรีย เราต้องสู้ในระดับเดียวกัน
แล้วเราก็มีโอกาสชนะ เราต้องพัฒนาตัวเอง
สู้เขาให้ได้ เป็นอินเตอร์เนชั่นแนล
เราจะออกแบบเป็นไทยไม่ได้

“ตลอดชีวิตที่ทำงาน
ผมก็ไม่ได้มีเงินมากมายอะไรกับงานสถาปัตยกรรม
แต่เราก็ต่อสู้มาโดยตลอด
เวลาผมเล็คเชอร์ ผมจะบอกกับเด็กรุ่นหลังๆ
ว่าอาชีพนี้ทำให้ตายก็ไม่มีทางร่ำรวย
มันได้ค่าแบบ 1-2% ไหนยังจะมีค่าใช้จ่ายของคน
แล้วก็ไม่ใช่ทำ 3 วันเสร็จ เก็บเงินได้
บางตึกทำ 5 ปีกว่าจะเสร็จ
ผมจะต้องเอาคนไปประชุมเกือบทุกวัน
แก้ปัญหาในไซต์งาน ท้ายที่สุดเมื่อปิดโปรเจ็คท์
ก็ต้องมานั่งคิดค่าใช้จ่ายเท่าไร ค่าคน ค่าของ
ค่าเวลาที่เสียไป หักลบกลบหนี้กันแล้ว
กำไรเหลือน้อยมาก แต่พออยู่ได้

“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผมทำงานด้วยความซื่อสัตย์
ไม่เอาคอมมิชั่นกับผู้รับเหมา
สามารถตรวจสอบได้
ผมไม่เคยเรียกร้องอะไรกับเขาเลย
ขอคุยอย่างตรงไปตรงมา
ถ้าแบบเขาผิด ผมก็สั่งแก้
ผมไม่เคยขอเขาแบบลับลมคมใน
ไม่เคยทำ แล้วก็ไม่คิดที่จะทำ"

MiX MAGAZINE VOL.37 DECEMBER 2009