Custom Search

May 28, 2011

“ตัน” ปั้นอิชิตันถล่มบ้านเก่า ไร้สัญญาใจ “เจริญ”-เกทับไซส์โออิชิ









ASTV ผู้จัดการออนไลน์
25 พฤษภาคม 2554

“ตัน” ลั่นไม่มีสัญญาใจ “เสี่ยเจริญ”
เดินหน้าลุยธุรกิจชาเขียวพร้อมดื่ม อัด 150 ล้านบาท

ปั้น “อิชิตัน” แจ้งเกิด หวัง 3 ปี ขึ้นท็อปทรี
อัดโปรโมชันตามรอยโออิชิ

เตรียมจ่อแตกไลน์เครื่องดื่มใหม่ดาหน้าทำตลาดเพียบ
เมินทำแอลกอฮอล์ สิ้นปีรายได้รวม 1,700 ล้านบาท

นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไม่ตัน จำกัด
ผู้ทำตลาดชาเขียวพร้อมดื่มอิชิตัน

กล่าวว่า นโยบายการดำเนินธุรกิของบริษัทจะทำ
เครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์เพียงอย่างเดียว

และไม่สนใจจะทำธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งก่อนหน้านี้
ได้เปิดตัวฟังก์ชันนัลดริงก์ภายใต้แบรนด์ “ดับเบิ้ล ดริ้งค์”
ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และล่าสุด บริษัทได้ทุ่มงบ 150 ล้านบาท
รุกตลาดชาเขียวพร้อมดื่มภายใต้แบรนด์ “อิชิตัน”
โดยมีจุดขายเป็นชาเขียว ออร์แกนิค กรีนที 100%
เพื่อให้สอดรับกับกระแสสุขภาพที่มาแรงทั่วโลก
และเทรนด์ออร์แกนิคที่กำลังได้รับความนิยม


“ที่ผ่านมา ผมไม่ได้มีสัญญาใจใดๆ ทั้งสิ้น
ระหว่างไทยเบฟฯ ว่า จะไม่ทำธุรกิจชาเขียวพร้อมดื่ม

มีเพียงแต่หลังจากการขายหุ้นให้ ต้องทำงานในบริษัท โออิชิ กรุ๊ป 3 ปี
แต่ที่ผ่านมา ผมทำถึง 5 ปี

กระทั่งยอดขายจาก 4,000 ล้านบาท เพิ่มเป็น 1 หมื่นล้านบาท
และหุ้นเพิ่มจาก 32 บาท กระทั่งปัจจุบันเป็น 100 บาท
ต้องยอมรับว่า การทำธุรกิจทุกวันนี้ คือ การแข่งขัน”

อย่างไรก็ตาม จากการเข้ามาทำตลาดของอิชิตัน คาดว่า

จะผลักดันให้ตลาดชาเขียวพร้อมดื่มมูลค่า 8,000 ล้านบาท
ในปีนี้เติบโต 30% หรือมีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท
จากปกติเติบโตเฉลี่ย 20%

เนื่องจากทุกแบรนด์จะทุ่มงบการตลาดมากขึ้น
โดยช่วงหน้าร้อนของปีหน้านี้

บริษัทวางแผนจะส่งแคมเปญโปรโมชันในช่วงหน้าร้อน
ซึ่งเป็นโมเดลการทำตลาดคล้ายกับโออิชิ
ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 60%


ทั้งนี้ บริษัทวางเป้าหมายภายใน 3 ปี

จะขึ้นมาเป็นท็อปทรีของตลาด ด้วยการครองส่วนแบ่ง 30%
จากปัจจุบัน เพียวริคุ เป็นอันดับ 2 และ ลิปตัน อันดับ 3

สำหรับการทำตลาดโฟกัส 3 แนวทาง คือ
1.เปิดตัวขนาดใหม่ที่มีความคุ้มค่าคุ้มขนาด 420 มล.ราคา 16 บาท

เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายอายุ 15-40 ปีขึ้นไป
ทั้งกลุ่มผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อเทียบกับคู่แข่ง โออิชิ
ขนาด 500 มล.ซึ่งมีข้อเสียเปรียบ คือ

ปริมาณมากเกินไป และขนาด 350 มล.ปริมาณน้อยเกินไปสำหรับผู้ชาย
2.การออกแบบแพกเกจจิ้งดูดี
และ
3.การมีคุณภาพสินค้าที่ดีเป็นอันดับหนึ่งของผู้บริโภคไทย
ซึ่งขณะนี้ได้วางจำหน่ายผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรด

โดยให้ดีเคเอสเอชเป็นผู้กระจายสินค้า และคาดว่า 1-2 ปี
จะครอบคลุมทุกช่องทาง


“การเข้ามาทำตลาดชาเขียวพร้อมดื่ม อิชิตัน
ผมไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะเป็นเบอร์ 1 ในตลาด

แต่ต้องการเป็นอันดับ 1 ในด้านของคุณภาพของผลิตชาที่ดีสู่ผู้บริโภค
ซึ่งมีด้วยกัน 3 รสชาติ คือ

ออริจินัล น้ำผึ้งผสมมะนาว และเก๊กฮวย
ส่วนยอดขาย ดับเบิ้ล ดริ้งค์ ที่ผ่านมา

จัดว่าเป็นฟังก์ชันนัลดริงก์ ที่ได้รับการตอบรับที่ดี
มียอดขาย 50 ล้านบาท จากตลาดมูลค่า 2,000-3,000 ล้านบาท”


นายตัน กล่าวต่อถึงความคืบหน้าโรงงานโรจนะ
ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้ทุ่มงบ 2,400 ล้านบาท คาดว่า

จะแล้วเสร็จสิ้นปีนี้ และเริ่มผลิตเครื่องดื่มในต้นปีหน้า
มีกำลังการผลิต 15 ล้านขวดต่อเดือน

ซึ่งบริษัทวางให้ชาเขียวพร้อมดื่มอิชิตัน
เป็นแบรนด์เรือธงที่สร้างการรับรู้
จากนั้นจะสร้างแบรนด์ใหม่ๆ ออกมา

สำหรับผลประกอบการปีนี้ บริษัทตั้งเป้ารายได้ 1,700 ล้านบาท
แบ่งเป็น รายได้ จากดับเบิ้ลดริ้งค์ 500 ล้านบาท และ 200 ล้านบาท
เป็นธุรกิจอาหาร ส่วนชาเขียวพร้อมดื่มอิชิตัน 1,000 ล้านบาท
หรือมีส่วนแบ่ง 10% อันดับ 4 ของตลาด
และตั้งเป้า 3 ปี รายได้เพิ่มเป็น 3,000 ล้านบาท






http://teetwo.blogspot.com/2008/12/blog-post.html

ประชาชาติธุรกิจ
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ตลาดชาเขียวคึก รับน้องใหม่ "อิชิตัน" ของตัน ภาสกรนที
วงการชี้กระทบแบรนด์"โออิชิ" โดยตรง !

ตลาดชาเขียวคึกคักรับ "อิชิตัน" ยูนิฟชี้กระทบแบรนด์ "โออิชิ"
โดยตรง คาดสามารถขึ้นเบียดเบอร์ 1-2 ได้รวดเร็ว
เหตุมากประสบการณ์ ทั้งมีจุดต่างชัดเจนส่งตลาดกลับมาเติบโตกว่า 20% ปีนี้
หลัง 4 เดือนแรกโตลดลงเหลือกว่า 10%
เหตุอากาศไม่ร้อน ทั้งแคมเปญไปแต่ตัว ทัวร์เลือกได้ ของโออิชิได้รับผลกระทบ



จากการกลับมาทำตลาดชา เขียวของ "ตัน ภาสกรนที"
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไม่ตัน จำกัด เปิดตัวชาเขียวอิชิตัน 3 รสชาติ
วางจำหน่ายในเซเว่นอีเลฟเว่น ชูจุดขายเป็นชาเขียว "ออร์แกนิก" ตามเทรนด์สุขภาพ
ในราคา 16 บาท โดยมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 พฤษภาคม
ถือเป็นการกลับมาทำตลาดในสินค้าที่เขามีความเชี่ยวชาญอีกครั้ง
และเป็นคู่แข่งโดยตรงกับแบรนด์ "โออิชิ" ที่เขาปลุกปั้นขึ้นมากับมือ


นาย ธรรมศักดิ์ เอกมโนชัย ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด
บริษัท ยูนิ-เพรสซิเดนท์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า
ในวงการคาดการณ์อยู่แล้วว่าในที่สุดคุณตัน ภาสกรนที
เมื่อลาออกจากโออิชิแล้ว ในที่สุดต้องกลับเข้าสู่วงการชาเขียว
ซึ่งเป็นสินค้าที่คุณตันมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ
ซึ่งแน่นอนว่าการกลับเข้าสู่ตลาดชาเขียวของ "ตัน"
ครั้งนี้เป็นที่จับตามองและเชื่อว่าจะทำให้ตลาดชาเขียวกลับมาคึกคัก
อีกครั้งอย่างแน่นอน สิ้นปีเชื่อว่าจะอยู่ที่กว่า 20%
เท่ากับปีที่แล้ว จากช่วง 4 เดือนแรกตลาดยังคงเติบโต
แต่โตลดลงเหลือกว่า 10% จากปีที่แล้วเติบโตถึง 28-29%
ส่วนหนึ่งมาจากสภาพภูมิอากาศช่วงไฮซีซั่นที่ผ่านมา
ไม่ร้อนอย่างที่คาดการณ์ ไว้ ขณะเดียวกันผลกระทบจาก
เหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่น
ก็ส่งผลกระทบต่อแคมเปญตลาด "ไปแต่ตัว ทัวร์เลือกได้"
ของโออิชิโดยตรง ซึ่งมีผลต่อการเติบโตของตลาด


ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า "อิชิตัน" ถือเป็นผู้เล่นที่สำคัญมาก
และเชื่อว่าจะสามารถขึ้นไปเทียบกับเบอร์ 1 เบอร์ 2 คือ
โออิชิและเพียวริคุได้อย่างรวดเร็ว
เนื่องจากสินค้ามีจุดต่างอย่างชัดเจนในเรื่องชา "ออร์แกนิก"
ซึ่งเป็นเทรนด์จากต่างประเทศ ถือเป็นค่ายแรกที่มีจุดขายในเรื่องนี้


"แน่ นอนว่าการเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่
คนที่จะได้รับผลกระทบก็คือ ผู้นำโออิชิ
ยิ่งดูจากตำแหน่งสินค้าที่วางเป็นพรีเมี่ยมแบรนด์
จะชนกับโออิชิโดยตรง ขณะที่ยูนิฟจะเน้นเจาะตลาดแมส
ในราคาที่ 10-12 บาท ซึ่งจะเป็นคนละตลาดกัน"


นาย ธรรมศักดิ์กล่าวว่า บริษัทยังดำเนินตามแผนเดิมที่วางไว้
ไม่ได้มีการเตรียมการเพื่อรับน้องใหม่เป็นพิเศษ
โดยบริษัทเตรียมบิ๊กแคมเปญของกลุ่มชาเขียวไว้
ในช่วงเดือนสิงหาคม รวมถึงคอนซูเมอร์
โปรโมชั่นในช่วงปลายปีที่เชื่อว่าจะมีส่วน
ในการกระตุ้นยอดขายกลุ่มชาเขียวของยูนิฟเพิ่มขึ้น


ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท ที.ซี. ฟาร์มาร์ซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด
ผู้ผลิตและจำหน่ายชาขาว "เพียวริคุ" กล่าวว่า
ขณะนี้ค่ายต่าง ๆ ยังไม่มีความเคลื่อนไหวทางการตลาด
เพื่อรับมือกับแบรนด์ "อิชิตัน" มากนัก
โดยเพียวริคุยังคงมีการจัดกิจกรรมการตลาดตามแผนที่วางไว้
ช่วงนี้ก็มีการโฆษณาทางทีวีเพื่อรีไมนด์แบรนด์
ส่วนการเพิ่มหรือขยายช่องทางจำหน่ายก็เป็นสิ่งที่บริษัททำอย่างต่อเนื่อง


"การ มีเครื่องดื่มแบรนด์ใหม่เข้ามาในตลาด
ก็น่าจะช่วยให้ตลาดคึกคักและมีสีสันมากขึ้น"


แหล่งข่าวจากวงการ เครื่องดื่มกล่าวในเรื่องนี้ว่า
การกลับมาทำตลาดชาเขียวใหม่ของตัน ภาสกรนที
ดังกล่าวน่าจะทำให้ตลาดชาเขียวคึกคักขึ้น
ประกอบกับขณะนี้สภาพอากาศที่เริ่มกลับมาร้อนขึ้นอีก
น่าจะช่วยให้ตลาดเครื่อง ดื่มคึกคักกว่าเดิม
และคาดว่าหลาย ๆ ค่ายจะเร่งกระตุ้นตลาดมากขึ้นจากนี้


ปัจจุบัน ตลาดชาพร้อมดื่มปัจจุบันมีมูลค่าเกือบ 8,000 ล้านบาท
โดยชาเขียวเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 60%
และโออิชิเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่ง 60%
ตามด้วยเพียวริคุ 25% ตามด้วยลิปตัน และยูนิฟเป็นอันดับที่ 4








May 5, 2011

ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์

ชื่อยาต้านไวรัสเอดส์อย่าง AZT (Zidovudine) และ GPO-Vir ที่เราคุ้นเคยกันดี จะมีใครรู้บ้างว่า ยานี้ได้รับการคิดค้นจากองค์การเภสัชกรรมของไทย โดยมีเภสัชกรหญิงผู้หนึ่งเป็นผู้ปิดทองหลังพระกับความสำเร็จนี้ คนที่ว่านี้ ก็คือ "ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์" เจ้าของฉายา "เภสัชกรยิปซี"

ภาพ AZT, the first approved treatment for HIV/AIDS จาก www.avert.org
ภาพ GPO-VIR จาก mat.or.th

เภสัชกรหญิง ดร. กฤษณา ไกรสินธุ์
เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 มีพื้นเพเป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพี่น้อง 2 คน เติบโตในครอบครัวซึ่งบิดาและมารดาทำงานทางสาธารณสุขทั้งคู่ บิดาเป็นแพทย์และมารดาเป็นพยาบาล และนี่คือแรงบันดาลใจที่ทำให้ ดร. กฤษณาก้าวสู่เส้นทางสาธารณสุข ในวัยเยาว์ได้รับการศึกษาที่เกาะสมุยบ้านเกิด แล้วย้ายมาศึกษาระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนราชินี เมื่อจบก็เอ็นทรานซ์เข้าศึกษาต่อใน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นจึงต่อปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตรัชคไลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ ประเทศอังกฤษ ภายหลังสำเร็จการศึกษา ดร. กฤษณาได้นำความรู้ที่เรียนเล่าเรียนกลับมาทำงานเป็น อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี แต่ในขณะนั้นศาสตร์ด้านเภสัชเคมีไม่เป็นที่สนใจเท่าใดนักจึงเป็นอาจารย์อยู่ได้สักพักก็ลาออก มาทำงานที่สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2532 เพราะอยากผลิตยาที่มีคุณภาพให้กับคนไทย โดยเป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเชื้อไวรัสเอดส์ในประเทศไทย จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ "ยาเอดส์" ได้เป็นครั้งแรกในประเทศกำลังพัฒนา และได้รับเลือกเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ด้วยอายุเพียง 37 ปี แรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้ ดร. กฤษณา มุ่งมั่นในการพัฒนายาเอดส์นั้นก็เพราะ ความรู้สึกสงสารเมื่อต้องรับรู้เรื่องราวของเด็กๆ ที่ต้องติดเชื้อเอดส์จากแม่ โดยเฉพาะ ตั้งแต่ปีปี พ.ศ. 2535 ที่พบผู้ป่วยเอดส์ในไทยเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ ทำให้เธอสงสารที่ผู้หญิงและเด็กต้องมารับเคราะห์จากการที่ส่วนใหญ่แม่ติดเชื่อมาจากสามี ดร. กฤษณา ใช้เวลาคิดค้นคว้าตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ผ่าอุปสรรคทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัตถุดิบ แรงต้านจากบริษัทยา ในระยะแรกต้องอดทนทำโดยลำพัง แต่ก็ด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ คณะสื่อมวลชน กลุ่ม NGO ทั่วโลก รวมทั้งพันธมิตรต่างประเทศจำนวนมากที่คอยช่วยเหลือส่งข้อมูล จนในที่สุดสามารถผลิตยาสามัญ "ยาเอดส์" ได้ในปี พ.ศ. 2538 โดยยาตัวแรกที่ผลิตได้คือ ZIDOVUDINE หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า AZT คือยาที่ลดการติดเชื่อจากแม่สู่ลูก ซึ่งมีราคาเพียง7-8 บาท จากราคาท้องตลาดที่ แคปซูลละ 40 บาท หรือยาบางตัวที่บริษัทหนึ่งขายที่แคปซูลละ 284 บาทแต่ ดร. กฤษณา ทำให้เหลือเพียงแค่ 8 บาทเท่านั้น ดร. กฤษณาได้ริเริ่มผลิตยาอีกหลายชนิด และยาตัวที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันมากนั้นก็คือ GPO-VIR หรือยาต้านเอดส์สูตรคอกเทลล์ ซึ่งเป็นการรวมตัวยารักษาโรคเอดส์กว่า 3 ชนิดในเม็ดเดียวเป็นครั้งแรกในโลก ทำให้ผู้ป่วยเอดส์ในไทยไม่ต้องกินยาหลายชนิดช่วยลดค่าใช้จ่ายลง และเพิ่มจำนวนผู้ที่สามารถเข้าถึงยานี้ได้นับหมื่นคน ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนในประเทศด้อยพัฒนาทำให้ องค์การอนามัยโลกเชิญกฤษณาไปที่ทวีปแอฟริกา ทวีปที่มีผู้ป่วยเอดส์เป็นจำนวนมากโดยร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื่อเอดส์ทั่วโลกอยู่ที่นี่ เพื่อช่วยเหลือด้านเภสัชกรรม คอยถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีวิธีผลิตยาไวรัสเอดส์ ในปี พ.ศ. 2542 ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ดร. กฤษณา เห็นว่าสถานการณ์ในไทยได้รับการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ มีคนพร้อมที่จะสานต่อได้ จึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม และเดินทางไปช่วยคนที่แอฟริกาตามสัญญา ที่เคยมีการประกาศในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก เป็นการไปแบบเด็ดเดี่ยวมาก ไม่มีใครเห็นด้วย ไม่มีผู้สนับสนุน ใช้ทุนส่วนตัว เสมือนน่าไปตายเอาดาบหน้า

 
ภาพ ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรยิปซี ในแอฟริกา
ที่มา www.pochnews.com

ประเทศคองโก คือประเทศแรกที่ ดร. กฤษณา เดินทางไป และประสบความสำเร็จสามารถจัดตั้งโรงงานเภสัชกรรมแห่งแรกที่ใช้เวลาก่อสร้างร่วม 3 ปีจึงจะสำเร็จ และสามารถผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ ชื่อ AFRIVIR ในประเทศที่มีความขัดแย้งมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลกได้ในปี พ.ศ. 2548โดยมีส่วนผสมของตัวยาเหมือนยาที่ผลิตในประเทศไทยแต่ต่างกันก็ที่วัตถุดิบ การที่มีโรงงานและได้รับการถ่ายทอดที่ดีนี่เองทำให้คนในท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน เสมือนเป็นการสอนคนตกปลาเพื่อหาเลี้ยงตนเอง ไม่ใช่แค่การนำยาไปบริจาคหรือจำหน่าย และเมื่อครั้งที่อยู่ที่ประเทษแทนซาเนีย ก็ได้วิจัยและผลิตยาที่ชื่อ "Thai-Tanzunate" เพื่อรักษาโรคมาลาเรีย ยาเหน็บทวาร "อาร์เตซูเนท" เพื่อรักษาโรคมาลาเรียในเด็ก ซึ่งเป็นโรคระบาดในทวีปแอฟริกาเพื่อรักษามาลาเรีย นอกจากนี้ก็ได้เดินทางไปต่อเพื่อช่วยเหลือประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกาอีก ได้แก่ ประเทศอิริคเทอร์เรีย ประเทศเบนิน และประเทศไลบีเรีย


ภาพ การทำงานในทวีปแอฟริกา ที่มา www.krisana.org

ตลอดเวลา 5 ปี ดร.กฤษณาเดินทางทำงานไปทั่วทวีปแอฟริกา นับเป็นการทำงานที่เร่ร่อน มีตารางการทำงานที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ บางวันทำงานประเทศหนึ่งตกกลางคืนก็ไปนอนที่ประเทศหนึ่ง นี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อ เภสัชกรยิปซี อีกทั้งต้องพบทั้งอุปสรรค ภัยมืดต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะกับคนใหญ่คนโตของที่นั้น การถูกจี้ปล้น ถูกลอบทำร้ายด้วยระเบิดที่บ้านพักแต่โชคยังเข้าข้างคนดีที่ระเบิดนั้นพลาดเป้าเลยไปตกบ้านข้างๆแทน จากการอุทิศตนทำงาน ดร. กฤษณา จนมีการนำไปตีพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของบทความลงในหนังสือพิมพ์ชื่อดังของเยอรมันฉบับหนึ่ง ทำให้มีบุคคลชื่นชมในงานของเธอ และในปี พ.ศ. 2549ได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดี ความยาว 45 นาที เรื่อง อะไรต์ทีลีฟ - เอดส์เมดิเคชันออฟมิลเลียนส์ (A Right to Live - Aids Medication for Millions) จนได้รับรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ 3รางวัล นอกจากนั้นอเมริกาก็ยังนำเอาไปสร้างเป็น ภาพยนตร์บอร์ดเวย์เรื่อง คอกเทลล์ ( Cocktail) เปิดแสดงในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550และในประเทศไทย ก็มีการสร้างเป็นละครเวทีเรื่อง นางฟ้านิรนาม บทละครชีวิตและงานของ "เภสัชกรยิปซี" สมญาที่ได้มาจาก นิตยสารคู่สร้างคู่สม ซึ่งแปลมาจาก Cocktail ละครบรอดเวย์ของอเมริกา เมื่อ 2 ปีก่อน โดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 
ภาพ ละครเวที “นางฟ้านิรนาม” ที่มา www.krisana.org

ตลอดเวลากว่า 30 ปี ของการทำงานที่อุทิศชีวิตให้กับสังคม ทำให้ ดร.กฤษณา ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลนักวิทยาศาสตร์โลก (Global Scientist Award) ประจำปี พ.ศ. 2547 จากมูลนิธิเลตเต็น (Letten Foundation) ประเทศนอร์เวย์ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์อีกนับไม่ถ้วน เช่น เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์ จาก Mauny Holly Oke College, USA และเภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยสตราห์ไคลด์ ได้รับการยกย่องจากนิตยสารรีดเดอร์สไดเจสต์ ให้เป็นบุคคลแห่งปีของเอเชีย ประจำปี พ.ศ. 2551 ในฐานะที่เป็นบุคคลที่ทุ่มเททำงานอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อผลักดันให้ผู้ป่วยยากไร้ทั่วโลกมีโอกาสได้ใช้ยารักษาโรคเอดส์ รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี รางวัลแมกไซไซสาขาบริการสาธารณะประจำปี พ.ศ. 2552 และที่สุดแห่งความภาคภูมิใจกับ รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของโรงเรียนราชินีประจำปี เพราะโดยส่วนตัวดร.กฤษณา มีความภูมิใจในโรงเรียนแห่งนี้เสมอ ที่ที่ให้รู้จักเข้ากับคนได้ มีมนุษยสัมพันธ์ มีน้ำใจ เป็นหลาย ๆ ด้านมาประกอบกัน ไม่ใช่เพียงสอนให้เก่ง แต่เอาตัวไม่รอด สำหรับชีวิตครอบครัว ดร.กฤษณา ไม่ได้สมรส ท่านอาศัยอยู่กับญาติในบางครั้ง เพราะส่วนแล้วจะทำงานอยู่ทวีปแอฟริกาเสียมากกว่า และนอกจากแอฟริกา ดร.กฤษณายังไปทำงานในประเทศจีน เป็นศาสตราจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยฮาบิน หรือประเทศบูรุนดี้ ที่เป็นประเทศที่จนที่สุดในโลก และสุดท้ายนี่คือ หลักการทำงานของดร.กฤษณา ที่ยึดมั่น "เราควรทำวันนี้ให้เหมือนกับวันสุดท้ายของชีวิต เพราะนั้นแปลว่าเราต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุด เพราะไม่มีวันพรุ่งนี้ให้แก้ตัวอีกต่อไปแล้ว" ข้อมูล กฤษณา ไกรสินธุ์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี กฤษณา ไกรสินธุ์ นิตยสารคู่สร่างคู่สม ฉบับที่ 565 ประจำวันที่ 1-10 พฤษภาคม 2550 เจาะชีวิตฉายา 'เภสัชกรยิปซี 'ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์' 'บุคคลแห่งปีเอเชีย' นักสู้เอดส์ จาก เดลินิวส์ (ออนไลน์)วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2551 ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ www.krisana.org

วันฉัตรมงคล (ร.9) ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9) เสด็จลงทอดพระเนตรระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
หลังจากคณะแพทย์ ถวายการรักษาภาวะน้ำไขสันหลัง
ในโพรงพระสมองมากกว่าปรกติ จนทรงเคลื่อนไหวพระอิริยาบถได้คล่องขึ้น


วันที่ 24 พฤษภาคม 2554 เวลา 15.56 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9)
เสด็จลงจากอาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช
ไปยังท่าน้ำสมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ในพระบรมราชูปถัมภ์
โรงพยาบาลศิริราช เพื่อทอดพระเนตรระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา
สร้างความปลื้มปิติแก่ประชาชนที่ได้มีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเป็นอย่างยิ่ง


หลังจากทอดพระเนตรระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9)  ได้เสด็จพระราชดำเนินไป
ทรงวางพวงมาลัยถวายราชสักการะ
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จ พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ณ ลานพระราชานุสาวรีย์หน้าศาลาศิริราชร้อยปี
แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลัยถวายราชสักการะ
พระรูปสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ประดิษฐาน ณ ศาลา ศิริราชร้อยปี


จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลัยถวายราชสักการะ พระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตึกสยามินทร์
ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับไปที่ประทับ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ
โรงพยาบาลศิริราชในเวลา 17.50 น.


ก่อนหน้านี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9) ทรงมีภาวะน้ำไขสันหลัง
ในโพรงพระสมองมากกว่าปรกติ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ทรงพระดำเนินไม่มั่นคง
อาการเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ
คณะแพทย์จึงได้ถวายการรักษาด้วยวิธีใส่สายระบายน้ำไขสัน
หลังจากช่องพระสันหลังบริเวณบั้นพระองค์ หรือบั้นเอว
เข้าสู่ช่องพระนาภี หรือช่องท้อง
ซึ่งเป็นการรักษาแบบมาตรฐานทั่วไปเมื่อคืนวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา


ล่าสุดเมื่อวานนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาได้ถวายตรวจทางรังสีวิทยาด้วย
เครื่องเอ็กซเรย์ คอมพิวเตอร์ พบว่า น้ำไขสันหลังในโพรงพระสมองลดลงเป็นที่น่าพอใจ
พระอาการทั่วไปดี และไม่พบโรคแทรกซ้อนใด ๆ
เป็นผลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9) ทรงเคลื่อนไหวพระอิริยาบถได้คล่องขึ้น
แต่ยังต้องทรงออกพระกำลังพระกล้ามเนื้อ พระเพลาหรือ
ขาและพระบาทหรือเท้าให้แข็งแรงขึ้นต่อไป