Custom Search

May 14, 2007

พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน


คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน วันที่ 04 ธันวาคม พ.ศ. 2548


พระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ได้พระราชทานพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก
ให้เป็นของขวัญแก่พสกนิกรชาวไทย มีทั้งฉบับใหญ่และฉบับเล็ก ฉบับเล็กเรียกว่า
ฉบับการ์ตูนมีภาพเรื่องราวพระมหาชนก วาดโดยศิลปินมีชื่อ
อ่านเข้าใจง่ายและเพลิดเพลินด้วย

เนื้อหาเป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งทรงเป็นพระโพธิสัตว์พระนามว่า
มหาชนก บำเพ็ญวิริยบารมี พระราชบิดาของพระองค์ถูกสำเร็จโทษโดยพระเจ้าอา
พระราชมารดาหนีไปอยู่ที่เมืองอื่น ด้วยความช่วยเหลือของพราหมณ์ท่านหนึ่ง
มหาชนกกุมารเติบโตมา ทราบเรื่องราวของตน คิดจะเอาราชสมบัติของพระราชบิดาคืน
จึงระดมทุนเพื่อการนี้ โดยเดินทางไปค้าขายทางเรือ เรือล่มกลางมหาสมุทร
ผู้โดยสารอื่นตายหมด เหลือมหาชนกองค์เดียว
เกาะแผ่นกระดานลอยคออยู่กลางมหาสมุทร 7 วัน 7 คืน
ได้รับความช่วยเหลือจากนางมณีเมขลา จนได้พระนครคืน
ได้อภิเษกสมรสกับพระนางสีวลี พระราชธิดาของพระเจ้าอา
มีพระราชโอรสหนึ่งองค์นามว่าทีฆาวุ

มหาชนกเห็นประชาชนที่อยากกินมะม่วง แต่ไม่รู้จักถนอมต้นมะม่วง
จึงคิดว่ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาพสกนิกรของพระองค์ให้มีคุณภาพ
จึงตั้งมหาวิทยาลัยชื่อ ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย หรือ โพธิยาลัยมหาวิชชาลัย
เพื่อให้การศึกษาแก่พสกนิกรของพระองค์ เพราะทรงเล็งเห็นว่า พสกนิกร
"นับแต่อุปราชจนถึงคนรักษาช้าง คนรักษาม้า และนับแต่คนรักษาม้า
จนถึงอุปราช และโดยเฉพาะเหล่าเสนามาตย์ ล้วนจาริกในโมหภูมิทั้งนั้น"

ต้องให้พวกเหล่านี้ได้รับการศึกษา การพัฒนาประเทศจึงจะเป็นไปได้ด้วยดี
สาระของเรื่อง พระมหาชนก เน้นไปที่ความพากเพียร
นางมณีเมขลาเอ่ยถามพระมหาชนกว่า มหาสมุทรกว้างไพศาล
เห็นแต่น้ำกับฟ้า ฝั่งก็มองไม่เห็น ท่านพยายาม(ว่าย)ก็ตาย
ไม่พยายามก็ตายแล้วจะว่ายให้เหนื่อยทำไม พระมหาชนกตอบว่า
เราต้องพยายามให้ถึงที่สุด มณีเมขลาว่า ถึงจะพยายามไปก็ไลฟ์บอย
มหาชนกโต้ว่า
"คนเราลงได้พากเพียรถึงที่สุด นับว่าน่าภาคภูมิใจที่ได้ทำ
จนสุดความสามารถแล้วไม่เป็นหนี้ใคร และไม่เดือดร้อนในภายหลัง"

ท่านเห็นประจักษ์แก่ตนแล้วมิใช่หรือ คนอื่นๆ จมในมหาสุมทรหมด
เราคนเดียวยังว่ายข้ามอยู่และได้เห็นท่านมาสถิตใกล้ๆ เรา
เรานั้นจักพยายามตามสติกำลัง
จักทำความเพียรที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งแห่งมหาสมุทร"

พูดอีกนัยหนึ่งก็ว่า คนเป็นร้อยตายหมด เหลือเราลอบตุ๊บป่องๆ
อยู่ จนท่านมาพบเห็นนี้ มิใช่เพราะอำนาจความเพียรดอกหรือ จะถึงฝั่งหรือไม่
เราก็จะพยายามไปจนถึงที่สุด

นางฟ้าเธอเลื่อมใสในความเด็ดเดี่ยวของพระโพธิสัตว์
จึงอุ้มขึ้นจากมหาสมุทรไปวางไว้บนบกดังกล่าวแล้ว

อานุภาพความพากเพียร ไม่มีใครกีดกันได้ แม้กระทั่งเทวดา
พระพุทธเจ้าเคยตรัสเล่าชาดกเกี่ยวกับพระราชาสองนคร สู้รบกันเป็นเวลานาน
ไม่มีใครแพ้ใครชนะ
วันหนึ่งพระอินทร์พูดกับฤๅษีผู้มีฤทธิ์ท่านหนึ่งว่า พระราช ก.จะชนะ
ฤๅษีเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง จากปากลูกศิษย์
คำพยากรณ์นั้นล่วงรู้ไปถึงพระราชาทั้งสอง

พระราชา ก. ที่ได้รับคำทำนายว่าจะชนะ เกิดความประมาท
ไหนๆ เราก็จะชนะอยู่แล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะเฉลิมฉลองชัยให้เต็มที่
คิดดังนี้แล้วก็มิได้ฝึกฝนฝึกปรือกองทัพ
ไม่วางแผนรบ เอาแต่เลี้ยงฉลองชัยล่วงหน้าอย่างสนุกสนาน

พระราชา ข.ได้รับคำพยากรณ์แล้ว พยายามฝึกปรือกองทัพ
วางแผนรุกแผนรับข้าศึกอย่างรอบคอบ พูดง่ายๆ ว่า ไม่ยอมท้อ
ผลยังไม่เกิดถือว่ายังมีโอกาส
จะแพ้จริงดังว่าหรือไม่ ขอพิสูจน์ดูสักตั้ง ว่าอย่างนั้นเถิด

เมื่อการรบครั้งล่าสุดมาถึง เหตุการณ์กลับตาลปัตร พระราชา ก.
ได้รับคำทายว่าจะชนะลอยลำก็แพ้ไม่เป็นท่า พระราชา ข.กำชัยชนะไว้ได้
ฝ่ายที่พ่ายแพ้ไปต่อว่าฤๅษี ฤๅษีไปต่อต่อว่าพระอินทร์อีกทอด
พระอินทร์ตอบว่า "คนที่พากเพียรจนถึงที่สุดแล้ว แม้เทวดาก็กีดกันไม่ได้"
ที่ทายไว้ครั้งแรกนั้น ทายตามแนวโน้มที่ควรเกิดขึ้น คือถ้าสู้รบกันตามปกติ
พระราช ก.ย่อมชนะแน่นอน เพราะกองทัพแข็งแรงกว่า
แต่พระราชา ข.ไม่ยอมแพ้ พยายามฝึกฝนฝึกปรือกองทัพของตน
คิดหาทางสู้รบอย่างรอบคอบ ทุ่มสุดฤทธิ์สุดเดช
ก็ย่อมสามารถเอาชนะพระราชาผู้ประมาทได้ในที่สุด
"ข้าพเจ้าทายไม่ผิดดอก" พระอินทร์บอกฤๅษี

พระมหาชนกในเรื่อง เป็นผู้ที่มีความพากเพียรพยายามเป็นอย่างยิ่ง
ฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการที่ใหญ่ยิ่งที่สุดคือ ต้องลอยคออยู่
ท่ามกลางมหาสมุทรอันเวิ้งว้าง จนขึ้นบก
ขึ้นบกแล้วก็ต้องผ่านบททดสอบอีกมากมาย
กว่าจะบรรลุเป้าหมายที่ประสงค์

ชาดกนี้เน้นวิริยบารมี พระโพธิสัตว์เลิศในด้านความพากเพียรสูง
และพ้นทุกข์ได้เพราะอานุภาพความพากเพียร

แต่เมื่อดูอย่างละเอียดแล้ว วิริยะ(ความเพียร) เป็นเพียงคุณธรรมข้อหนึ่งเท่านั้น
ในกระบวนการดำเนินเพื่อความสำเร็จ ยังมีคุณธรรมอื่นอีกด้วย ที่เด่นๆ ก็คือ
ปัญญา สติสัมปชัญญะ หรือ ความไม่ประมาท

ปัญญานั้นปรากฏชัดเจนตั้งแต่สมัยมหาชนกยังเด็ก
อยากรู้ว่าใครเป็นบิดาบังเกิดเกล้าของตน พระมารดาก็บ่ายเบี่ยงตลอด
ในที่สุดก็ใช้ไม้เด็ด ขณะดื่มนมพระมารดาอยู่ จึงยื่นเงื่อนไขว่า
ให้บอกมาว่าใครคือบิดาหาไม่จะกัดถันให้ขาด พระเทวีจำต้องยอมบอก

เมื่อคิดว่าจะตีเมืองคืน ต้องใช้ทุนทรัพย์จำนวนมาก มหาชนกจึงคิดหาทุนโดยเดินทาง
ไปค้าขายทางเรือ แต่บังเอิญเรือล่มเสียก่อน ขณะเรือกำลังจะจมน้ำ
ได้เห็นปรีชาญาณของมหาชนกชัดเจนกว่าผู้โดยสารอื่น

เมื่อภัยมาถึงตัว ต่างก็สวดมนต์อ้อนวอนผีสางเทวดาที่ตนนับถือให้มาช่วย มหาชนกไม่ไหว้
ไม่สวดกับพวกเขาด้วย คิดว่าถึงสวดจนเสียงแหบเสียงแห้งก็ไม่มีเทวดาที่ไหนมาช่วยได้
ทางที่ดีต้องช่วยตัวเอง

จึงเสวยให้อิ่ม เอาผ้าชุบน้ำมันพันตัว ปีนเสากระโดงขึ้นไป
แล้วกระโดดลงมาห่างเรือประมาณ 70 เมตร
แล้วเกาะแผ่นกระดาษว่ายน้ำต่อไป

ทั้งหมดล้วนเป็นบทบาทของการใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาทั้งนั้น
ยิ่งตอนไปแก้ปริศนาที่พระราชาองค์ก่อนผูกไว้เกี่ยวกับขุมทรัพย์สินหกแห่ง อยู่ที่ไหน
จะเอามาได้อย่างไร
เป็นเรื่องของปัญญาทั้งนั้น
เพียงขยันคิด อย่างเดียวไม่พอ ถ้าไม่มีปัญญา คิดจนหัวแตกก็ตอบปัญหาไม่ได้

ส่วนสติสัมปชัญญะ หรือความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ประมาท เป็นคนรอบคอบเสมอนั้น
สังเกตได้จากหลายกรณีเช่น ขณะที่เกิดโกลาหล คนแตกตื่นเพราะเรือกำลังจะจมทะเล
มหาชนกคุมสติไว้ได้ ไม่ตกใจเกินกว่าเหตุ ค่อยๆ คิดหาทางรอด
เมื่อตอนเห็นคนโค่นต้นมะม่วง เพราะแย่งกินผลมัน มหาชนกก็ได้สติ คือฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า
สิ่งใดมีประโยชน์มาก ย่อมมีคนหมายปองมาก เมื่อมีคนหมายปองมาก ย่อมเป็นอันตราย
ดุจดังต้นมะม่วงต้นที่มีผลมาก ย่อมถูกยื้อถูกยุด จนกระทั่งถูกโค่นในที่สุด
ต่างจากต้นที่ไร้ผล กลับไม่ถูกโค่น คิดได้ ดังนี้ จึงเสด็จออกผนวชบำเพ็ญพรต(ฉบับชาดก)
คิดที่จะตั้งมหาวิทยาลัย(ฉบับพระราชนิพนธ์) สอนคนให้มีปัญญา
จะได้รู้จักว่าอะไรควรถนอมรักษา หรือขจัดทำลาย
ทั้งหมดล้วนเป็นบทบาทของสติ สัมปชัญญะ หรือความไม่ประมาททั้งสิ้น
สรุปพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ให้คติอันเป็นแก่นสารที่เราพึงศึกษา
และนำไปปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าส่วนตน และความเจริญของสังคมส่วนรวม
ถ้าใครทำตนเหลวไหลไร้แก่นมาตลอด คราวนี้ลองแสวงหาแก่นแห่งชีวิตบ้าง
ก็ไม่เลวเหมือนกันนะครับ

พระมหาชนก (พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 )






เรื่องย่อ
"พระมหาชนก" เป็นเรื่องหนึ่งในทศชาติชาด
ก อันเป็น
ชาดก 10 ชาติสุดท้ายก่อนที่พระโพธิสัตว์จะมาประสูติเป็น
เจ้าชายสิทธัตถะ และตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชาดก
เรื่องนี้เป็นการบำเพ็ญความเพียรเป็นบารมี เนื้อความโดย
ย่อจากพระราชนิพนธ์มีดังนี้
พระเจ้ามหาชนก กษัตริย์แห่งกรุงมิถิลา มี
พระราชโอรส
สองพระองค์พระนามว่า อริฏฐชนก และ โปลชนก เมื่อสวรรคต
แล้ว พระอริฏชนกได้ครองราชสมบัติและทรงตั้งพระโปลชนก
เป็นอุปราช อมาตย์ผู้ใกล้ชิดได้กราบทูลใส่ร้ายว่า พระอุปราช
โปลชนกคิดไม่ซื่อ พระอริฏฐชนกก็หลงเชื่อ สั่งจองจำพระโปลชนก
แต่พระโปลชนกตั้งจิตอธิษฐานและหลบหนีไปได้ ภายหลังได้รวบ
รวมพลมาท้ารบและเอาชนะได้ในที่สุด พระอริฏฐ
ชนกสิ้นพระชนม์
ในที่รบ พระเทวีที่กำลังทรงครรถ์จึงปลอมตัวหนีออกนอกเมือง......
ด้วยความช่วยเหลือของท้าวสักกเทวราชจึงเสด็จหนีไปจนถึงเมือง
กาลจัมปากะได้พราหมณ์ผู้หนึ่งอุปการะไว้ในฐานะน้องสาว

ต่อมาทรงมีพระประสูติกาล ตั้งพระนามพระโอรสตามพระ
อัยยิกาว่า "มหาชนก" จวบจนกระทั่งมหาชนกเติบใหญ่และได้
ทราบความจริง ก็คิดจะไปค้าขายตั้งตัว แล้วจะไปเอาราชสมบัติคืน
จึงนำสมบัติกึ่งหนึ่งของพระมารดาไปขาย แลกเป็นสินค้าออกเรือ
ไปยังสุวรรณภูมิ ระหว่างทางในมหาสมุทร เรือต้องพายุล่มลง ลูก
เรือตายหมดยังแต่พระมหาชนกรอดผู้เดียวทรงอดทนว่ายน้ำใน
มหาสมุทรด้วยความเพียร 7 วัน 7 คืนจนได้พบนาง
มณีเมขลา และ
สนทนาธรรมในเรื่องของความเพียร ในที่สุดนางมณีเมขลาได้อุ้ม
พระมหาชนกไปส่งยังมิถิลานคร...

ฝ่ายมิถิลานคร พระโปลชนกได้สวรรคตเหลือเพียงพระราชธิดา
นาม"สีวลีเทวี"ก่อนสวรรคตทรงตั้งปริศนาเรื่องขุมทรัพย์ทั้งสิบหกไว้
สำหรับผู้จะขึ้นครองราชย์ต่อไป แต่ไม่มีผู้ใดไขปริศนาได้ เหล่า
อมาตย์จึงได้ประชุมกันแล้วปล่อยราชรถ ราชรถ
ก็แล่นไปยังที่มหาชน
กบรรทมอยู่เหล่าอมาตย์จึงเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์และอภิเษกกับสีวลีเทวี
ทรงไขปริศนาต่างๆ ได้ และทรงครองราชสมบัติโดยธรรม

วันหนึ่ง พระมหาชนก ทรงประทับบนคอช้างเพื่อทอดพระเนตรอุทยาน
ใกล้ประตูอุทยานมีมะม่วง 2 ต้น ต้นหนึ่งมีผล ต้นหนึ่งไม่มีผล ผลนั้นมีรสหวาน
เหลือเกิน พระมหาชนกทรงเก็บมาเสวยผลหนึ่ง แล้วเสด็จเข้าอุทยาน
คนอื่นๆ ตั้งแต่พระอุปราชลงมาต่างก็แย่งเก็บผลมะม่วง จนมะม่วงต้นนั้น
โค่นลง พระมหาชนกทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็เกิดความ
สังเวชที่คน
ทั้งหลายหวังแต่ประโยชน์อย่างขาดปัญญารำลึกได้ว่านางมณีเมขลาเคย
สั่งให้พระองค์ตั้งมหาวิทยาลัย จึงได้ปรึกษากับพราหมณ์ ในที่สุดได้ตั้ง
มหาวิทยาลัยปูทะเลย์ขึ้น โดยรำลึกว่าขณะที่ทรงว่ายน้ำในมหาสมุทรทั้ง 7 วัน
7 คืนนั้นมีปูทะเลยักษ์มาช่วยหนุนพระบาท...
The story of MAHAJANAKA

Mahajanaka is an ancient Bhuddist scripture depicting
a practice of perseverance by a king named Mahajanaka. The original
story was the last of the tenth in a series of Jataka scripture. It is a story
of the last reincarnation of Bodhisattva before he was born Sithardha
who became Bhudda.

Mahajanaka was a great king who brought prosperity
and wealth to his land, a city of Mithila. One day on his trip to a park, he
saw two mango trees at the entrance. One had a lot of tasty fruits, the
other had none. He tasted the sweet mango before he went into the park.
When he came out, he found the tree with the tasty mangos torn down.
Many of his subjects were swarming for good taste of sweet mango the
poor tree could not withstand. But the one without fruit was left standing tall.

Thus means good things are more attractive and
jeopardy of frenzy crowd who often lack wisdom. In the old story, King
Mahajanaka had a feeling of consolation to consolation to the incident.
He then stipulated toseek transquility in priesthood.

In rewriting the story, His Majesty King Bhumibol
Adulyadej said it was too soon for Mahajanaka to become a priest.
Mahajanaka would have gotten his Dhamma enlightment easier by
continue working to complete good deeds in worldly condition.

His Majesty King Bhumibol emphasizes in his rewriting
on a land called Suvarnabhumi where he mappes out geographic
location of the city. He makes forecast on meteorogy and astrology
by presenting his own drawing of four graphic maps. There are parts
of his writing encouraging practice of perseverance in purity. It is an
important merit needed for beneficiary in ordinary living. It becomes
moral inheritant wellworth for younger Thai generation. All are rewritten
in easy-to-read contemporary languages, both in Thai and English.

ข้อคิดจากหนังสือเรื่องพระมหาชนก

"บุคคลเมื่อกระทำความเพียร แม้จะตายก็ชื่อว่า ไม่เป็นหนี้ในระหว่าง
หมู่ญาติ เทวดา และบิดามารดา. อนึ่ง บุคคลเมื่อทำกิจอย่างลูกผู้ชาย ย่อม
ไม่เดือดร้อนในภายหลัง."

"Any individual who practises perseverance, even in the face of
death, will not be in any dept to relatives or gods or father or mother.
Furthermore, any individual who does his duty like a man,will enjoy
Ultimate Peace in the future."


"การงานอันใด ยังไม่ถึงที่สุดด้วยความพยายาม การงานอันนั้นก็ไร้ผล
มีความลำบากเกิดขึ้น.การทำความพยายามในฐานะอันไม่สมควรใด
จนความตายปรากฏขึ้น ความพยายามในฐานะอันไม่สมควรนั้น จะมี
ประโยชน์อะไร."

"Any enterprise that is not achieved through perseverance, is fruitless;
obstacles will occur. When any enterprise undertaken with such misdirected
effort results in Death showing his face, what is the use of such enterprise
and misdirected effort?"

"ดูก่อนเทวดา ผู้ใดรู้แจ้งว่าการงานที่ทำจะไม่ลุล่วงไปได้จริงๆชื่อว่า
ไม่รักษาชีวิตของตนถ้าผู้นั้นละความเพียรในฐานะเช่นนั้นเสีย ก็จะพึง
รู้ผลแห่งความเกียจคร้าน. ดูก่อนเทวดา คนบางพวกในโลกนี้เห็นผล
แห่งความประสงค์ของตน จึงประกอบการงานทั้งหลายการงานเหล่านั้น
จะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม. ดูก่อนเทวดาท่านก็เห็นผลแห่งกรรมประจักษ์
แก่ตนแล้วมิใช่หรือ คนอื่นๆ จมในมหาสมุทรหมด เราคนเดียวยังว่าย
ข้ามอยู่ และได้เห็น ท่าน มาสถิตอยู่ใกล้ๆ เรา เรานั้นจักพยายามตาม
สติกำลัง จักทำความเพียรที่บุรุษควรทำ ไปให้ถึงฝั่งแห่งมหาสมุทร."

"Hark, o^ Goddess! Anyone who knows for sure that his activities
will not meet with success, can be deemed to be doomed; if that one
desists from perseverance in that way, he will surely
receive the consequence of his indolence. Hark, o^ Goddess! Some
people in this world strive to get results for their endeavours even if they
don't succeed. Hark, o^ Goddess! You do see clearly the results of actions,
don't you? All the others have drowned in the ocean; we alone,
are still swimming and have seen you hovering near us. As for us,
we are going to endeavour further to the utmost of our ability; we are
going to strive like a man should to reach the shores of the ocean."

"...สิ่งที่มิได้คิดไว้ จะมีก็ได้ สิ่งที่คิดไว้ จะพินาศไปก็ได้ โภคะทั้งหลาย
ของหญิงก็ตาม ของชายก็ตาม มิได้สำเร็จด้วยเพียงคิดเท่านั้น."

"...Things that we do not plan may well happen. Things that we do
plan may well meet with disaster. Wealth will not come to anybody by
just dreaming about it."

"...คนอื่นๆ มีอุปราชเป็นต้นจนถึงคนรักษาช้างรักษาม้า รู้ว่าพระราชา
เสวยผลมีรสเลิศแล้ว ก็เก็บเอาผลมากินกัน. ฝ่ายคนเหล่าอื่น ยังไม่ได้
ผลนั้น ก็ทำลายกิ่งด้วยท่อนไม้ ทำเสียไม่มีใบ ต้นก็หักโค่นลง. มะม่วงอีก
ต้นหนึ่งตั้งอยู่งดงาม ดุจภูเขามีพรรณดังแก้วมณี. พระราชาเสด็จออกจาก
พระอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นดังนั้นจึงตรัสถามเหล่าอมาตย์ว่า : "นี่อะไรกัน."
เหล่าอำมาตย์กราบทูลว่า : "มหาชนทราบว่าพระองค์เสวยผลรสเลิศแล้ว
ต่างก็แย่งกันกินผลมะม่วงนั้น." พระราชาตรัสถามว่า : "ใบและวรรณะ
ของต้นนี้สิ้นไปแล้ว ใบและวรรณะของต้นนอกนี้ยังไม่สิ้นไป เพราะเหตุไร."
อมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า : "ใบและวรรณะของอีกต้นหนึ่งไม่สิ้นไป เพราะ
ไม่มีผล." พระราชาสดับดังนั้น ได้ความสังเวช. ทรงดำริว่า : "ต้นนี้มีวรรณะ
สดเขียวตั้งอยู่แล้ว เพราะไม่มีผล แต่ต้นนี้ถูกหักโค่นลงเพราะมีผล. แม้ราช
สมบัตินี้ก็เช่นกับต้นไม้มีผล บรรพชาเช่นกับต้นไม้หาผลมิได้. ภัยย่อมมีแก่
ผู้มีความกังวล ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีความกังวล. ก็เราจักไม่เป็นเหมือนต้นไม้มี
ผล จักเป็นเหมือนต้นไม้หาผลมิได้..."

"...The other, from the Viceroy to the elephant mahouts and the horse
handlers, seeing that the King had already eaten the tasty fruit, all picked
some and had their fill. Still others who came in later, used sticks to break
down branches; the tree was denuded of leaves; the tree was uprooted.
The other mango tree still stood majestically as a mountain glistening like
a gem. The King came out of the Royal Park; seeing this spectacle, he
asked the courtiers: "What is all this?" The courtiers said : "The people,
knowing that Your Majesty had already eaten the succulent fruit, fought
among themselves to get a bite of that mango fruit." The King asked: "
The foliage and the resplendence of this tree are all gone, but the foliage
and the resplendence of that yon tree are still intact. How is it so?" All the
courtiers said : "The foliage and the resplendence of the other tree are
not all gone because it bears no fruit." The King, on hearing thus, felt
very sad. He mused : "That tree is still beautifully green, because it has
no fruit, but this tree has been cut down and uprooted because it bore
fruits. This throne is like the tree with fruits. Danger lurks around the one
with worries and does not menace the one without worries We will not be
like the tree with fruits; we will be like the one without fruit.


"...เราแน่ใจว่าถึงกาลที่จะตั้งสถาบันแล้ว เป็นสัจจะว่าควรตั้งมานานแล้ว
เหตุการณ์ในวันนี้แสดงความจำเป็น นับแต่อุปราช จนถึงคนรักษาช้าง
รักษาม้า และนับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราช และโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์
ล้วนจารึกในโมหภูมิทั้งนั้น พวกนี้ขาดทั้งความรู้วิชาการ ทั้งความรู้ทั่วไป
คือความสำนึกธรรมดา: พวกนี้ไม่รู้แม้แต่ประโยชน์ส่วนตน พวกนี้ชอบ
ผลมะม่วง แต่ก็ทำลายต้นมะม่วง..."

"...We are sure that time has come to establish many years ago.
Today's events have shown the necessity. From the Viceroy down
to the elephant mahouts and the horse handlers to the Viceroy, and
especially the courtiers are all ignorant. They lack not only technical
knowledge but also common knowledge, i.e. common sense : they do
not even know what is good for them. They like mangoes, but they destroy
the good mango tree...."