Custom Search

Feb 26, 2024

‘โลกนี้เต็มไปด้วยความไม่ยุติธรรม’ 10 เรื่องลับ อดีต ตร.มือปราบชื่อดัง


19 ก.ย. 2560
ที่มา https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1073679


ทำเอาหลายคนตกอกตกใจ เมื่ออดีตตำรวจชื่อดัง 'วิสุทธิ์ วานิชบุตร' โพสต์ภาพพร้อมแคปชั่นเหมือนบอกลากันกลายๆ หลัง อดีตผู้การคนดังถูกถอดยศตำรวจ ซึ่งไทยรัฐออนไลน์ ขอย้อนพาไปทำความรู้จักกับอดีตตำรวจชื่อดังคนนี้ เขาเป็นใคร เคยทำอะไร มีชื่อเสียงจากอะไร เรารวบรวมมาให้ได้อ่านกันแล้ว...


1.ประวัติส่วนตัว

นายวิสุทธิ์ วานิชบุตร หลายคนเรียกกันติดปากว่า 'ผู้การวิสุทธิ์' เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2498 จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ (โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน) รุ่นพิเศษรุ่นที่ 9 เมื่อปี พ.ศ. 2521 และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทั้งยังเคยได้รับรางวัลคนดีศรีราม ในปี พ.ศ. 2550 มีภรรยาชื่อนางคนิล วานิชบุตร ซึ่งปัจจุบันทำงานตำแหน่งหัวหน้าแอร์โฮสเตสอยู่บริษัทการบินไทย โดยที่ไม่มีบุตรด้วยกัน

2.การทำงาน และตำแหน่งหน้าที่

ปี 2532 สารวัตรสืบสวนสอบสวน กองกำกับการนโยบายและแผน กองบังคับการอำนวยการ, 10 มกราคม 2534 สารวัตรแผนก 2 กองกำกับการ 7 กองปราบปราม, 2 ตุลาคม 2535 สารวัตรกองกำกับการส่งเสริมและประสานการวิจัย กองวิจัยและพัฒนา, 16 ธันวาคม 2535 รองผู้กำกับการ (ปฏิบัติราชการพิเศษ กองอำนวยการกลางรักษาความมั่นคงภายใน) สำนักงานกำลังพล

1 มีนาคม 2538 รองผู้กำกับการ 3 กองทะเบียน, 1 ธันวาคม 2538 ผู้กำกับการ 5 กองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 6, 25 ตุลาคม 2539 ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ, 16 เมษายน 2540 ผู้กำกับการ 4 กองบังคับการตำรวจจราจร, 10 กุมภาพันธ์ 2541 ผู้กำกับการกำลังพล กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, 1 พฤษภาคม 2542 ผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ ส่วนปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ, 10 พฤศจิกายน 2543 รองผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว

16 พฤศจิกายน 2544 รองผู้บังคับการตำรวจทางหลวง, 18 ธันวาคม 2546 รองผู้บังคับการกองทะเบียน, 30 มิถุนายน 2548 รองผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี, 1 ตุลาคม 2549 ผู้บังคับการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, 23 พฤศจิกายน 2549 ผู้บังคับการ กองวิทยาการ 2, 14 มีนาคม 2550 ผู้บังคับการกองปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี, 11 พฤษภาคม 2550 ผู้บังคับการกองปราบปรามการกระทำผิดต่อเด็ก เยาวชน และสตรี

1 ตุลาคม 2551 ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอ่างทอง, 25 พฤศจิกายน 2552 รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9, 15 พฤศจิกายน 2553 รองผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี (เกษียณ 1 ต.ค.2556)

3. ฉายาแสนเท่ "มือปราบปลาปักเป้า" และ "มือปราบน้องแนท" 

หลายคนรู้จัก ผู้การวิสุทธ์กันในนาม "มือปราบปลาปักเป้า" และ "มือปราบน้องแนท" ฉายานี้เกิดขึ้นได้เพราะ การบุกจับร้านอาหารที่ขายเนื้อปลาปักเป้าปะปนมากับปลาชนิดอื่น ทั้งยังมีการบุกจับวีซีดีภาพยนตร์ลามก โดยเฉพาะเรื่องที่น้องแนท-เกศริน ชัยเฉลิมพล แสดงในหลายๆ เรื่องด้วยกัน

4. คนจริง ตงฉิน ดุดัน โผงผาง

เป็นนายตำรวจที่ขึ้นชื่อในเรื่องของความดุดัน ตงฉิน โผงผาง ไม่กลัวใคร ทุกครั้งที่มีการแถลงข่าวจับกุมผู้ต้องหา ผู้การวิสุทธิ์สามารถเสียงฮือฮาจากสื่อได้ตลอด ไม่ว่าจะเป็น ให้ผู้ต้องหาคาบถุงยาบ้า เลี้ยงข้าวผู้ต้องหาคดียาเสพติด หรือลงพื้นที่จับผู้ร้ายแบบบ้าระห่ำ จนทำให้ก็มีผู้คนจำนวนไม่น้อย หาว่าผู้การวิสุทธิ์สร้างภาพ โชว์ออฟ

5.ยึดมั่นในความดีมาตั้งแต่เด็ก

อดีตผู้การคนดัง เคยเปิดใจว่า ถูกเลี้ยงมาแบบให้ยึดมั่นถือมั่นในความดี ความถูกต้อง ตั้งแต่อนุบาลจะเป็นหัวหน้าตลอด เป็นหัวโจกในทางที่ดี ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม “ตั้งแต่ผมเป็นตำรวจมา ผมไม่เคยรับสินบนของใคร”

6. ลาออกราชการไล่อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์

นายวิสุทธิ์ เคยลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 เพื่อมาร่วมชุมนุมกับเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ขับไล่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยให้เหตุผลว่าสุดทนแล้วกับระบอบตำรวจในรัฐบาลชุดนี้

7. ถูกฟ้องคดีรุกที่เขื่อนลำตะคอง

ปี 2558 อดีต ตร.มือปราบชื่อดัง ได้ถูกพนักงานอัยการจังหวัดสีคิ้วยื่นฟ้อง และถูกศาลฎีกาจำคุก 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา ในคดีรุกที่เขื่อนลำตะคอง

8.ถอดยศผู้การวิสุทธิ์

วันที่ 28 ส.ค. 2560 พระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาตให้ถอด พลตํารวจตรี วิสุทธิ์ วานิชบุตร อดีตข้าราชการตํารวจ ออกจากยศตํารวจ ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่มีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุกในความผิดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติตํารวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547

ประกอบระเบียบสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ว่าด้วย การถอดยศตํารวจ พ.ศ. 2547 ข้อ 1 (2) และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระราชานุญาตให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ตริตาภรณ์มงกุฎไทย

จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย

และเหรียญจักรมาลา ที่บุคคลดังกล่าวได้รับพระราชทาน ตามข้อ 6 และข้อ 7 (2) ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548 

9.โพสต์เฟซบุ๊ก ลาก่อนเพื่อนๆ

หลายคนตกอกตกใจ เมื่ออดีตผู้การคนดัง โพสต์ภาพบัตรอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาแพทย์ พร้อมทั้งแคปชั่น จนหลายคนสงสัยว่าอาจเป็นการฆ่าตัวตายหรือไม่ แต่นายวิสุทธิ์ วานิชบุตร อดีตนายตำรวจมือปราบชื่อดัง เปิดใจกับไทยรัฐออนไลน์ว่า ตนไม่ได้คิดฆ่าตัวตายแต่อย่างใด แต่เพียงเสียใจกับเรื่องบางเรื่อง หลังจากนี้คงจะเก็บตัวเงียบๆ ไม่มีบทบาทอะไรในสังคม

10. โลกนี้เต็มไปด้วยความไม่ยุติธรรม

ข้อสุดท้าย อดีต ตร.มือปราบ ยังเคยให้สัมภาษณ์ผ่านไทยรัฐออนไลน์ว่า ถ้าโลกจะแตกจริงๆ ผมอยากมีอำนาจที่จะเปลี่ยนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปราศจากการครอบงำของนักการเมือง เพราะว่าที่ตำรวจดีๆ ไม่ได้ดีอย่างทุกวันนี้ก็เพราะว่าหน้าที่การงานเราต้องขึ้นอยู่กับนักการเมืองแต่ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัว ก่อนตายผมอยากจะทำบริษัทให้คำปรึกษากับชาวบ้านเรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย ผมอยากใช้สิ่งที่ร่ำเรียนมา ให้ความรู้แก่ประชาชน ที่สำคัญ ถ้าโลกแตกผมจะบอกเทวดาว่า ถ้าชาติหน้ามีจริงผมไม่อยากเกิดมาเป็นมนุษย์ขี้เหม็นอีกแล้ว เพราะว่าโลกนี้เต็มไปด้วยความไม่ยุติธรรม




Feb 24, 2024

วันมาฆบูชา 2567 (วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567)

วันมาฆบูชา 2567 สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

เนื่องในวันมาฆบูชา ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม ความว่า

          “ดิถีมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ดิถีเช่นนี้ชวนให้พุทธบริษัท น้อมรำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประทานแก่พระอรหันตสาวก ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งล้วนอุปสมบทโดยวิธีเอหิภิกขุ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ณ ดิถีเพ็ญเดือน ๓ หลังสมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสรู้และประกาศพระศาสนาแล้ว ๙ เดือน

เมื่อพิจารณาจากประวัติการณ์แห่งวันจาตุรงคสันนิบาต ย่อมเห็นประจักษ์ว่า พระภิกษุผู้มาประชุมกันเป็นมหาสังฆสันนิบาตนั้น ต่างพรั่งพร้อมกันมา ณ เวฬุวันมหาวิหาร ด้วยอานุภาพแห่ง “คารวธรรม” พุทธบริษัททั้งหลายผู้เป็นอนุชน จึงพึงเทิดทูนจริยาของพระอรหันต์ทั้งนั้น ขึ้นเป็นแบบอย่างทางประพฤติแห่งตน ๆ

โดยสำนึกว่า ถึงแม้พระสาวกทุกรูป ได้บรรลุถึงคุณธรรมสูงสุด ดับกิเลสเพลิงทุกข์ได้สิ้นเชิงแล้ว แต่ก็ยังคงเคารพนอบน้อมอย่างยิ่งต่อพระบรมศาสดา และพระธรรม เพราะฉะนั้น พุทธบริษัทผู้มุ่งหมายความสุขความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม จึงจำเป็นต้องมี “นิวาตธรรม” คือความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นพื้นอุปนิสัย ขอจงระลึกไว้ว่า คุณธรรมแห่งพระอรหันต์นั้น สูงส่งเหนือกว่าอิสริยยศทั้งปวงในโลก

หากแต่พระอรหันต์กลับปราศจากความอวดดื้อถือดี ปราศจากความเนรคุณลบหลู่ดูหมิ่น เพราะทุกรูปต่างมีความคารวะนอบน้อมอย่างมั่นคง ต่อพระรัตนตรัย ต่อการศึกษา ต่อความไม่ประมาท และต่อการปฏิสันถาร ดังนี้

บรรดาผู้ยังมีธุลีในดวงตา มีกิเลสเครื่องเศร้าหมองครอบงำใจอยู่ จึงพึงเพียรหมั่นเพิ่มพูนคารวธรรม ให้งอกงามขึ้นในตนอยู่เสมอ ให้สมด้วยธรรมภาษิตที่ว่า “มหตฺตปตฺโตปิ นิวาตวุตฺติ” แปลความว่า “ถึงแม้จะดำรงตำแหน่งใหญ่ คืออิสริยยศที่กว้างขวาง แต่ก็ไม่ผยองด้วยยศ ถ่อมตน ทำตามโอวาทของบัณฑิต.” เพื่อความผาสุกร่มเย็นในจิตใจตน ตลอดจนประเทศชาติ และโลกนี้ได้อย่างยั่งยืน
         

ขอพระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำรงมั่นคงอยู่ในโลกนี้ตลอดกาลนาน และขอสาธุชนทั้งหลายจงพร้อมเพรียงกันศึกษาพระสัทธรรมนั้น เพื่อบรรลุถึงความรุ่งเรืองสถาพรสืบไป เทอญ.”

Feb 22, 2024

21 ก.พ. 2482 วันมรณภาพของครูบาศรีวิชัย

Somrit Luechai


21 ก.พ. 2482 

วันมรณภาพของครูบาศรีวิชัย
พระสงฆ์ที่ควรแก่การสักการะ
ด้วยท่านยึดมั่นในพระธรรมวินัย
มากกว่ากฎระเบียบของมหาเถรสมาคม
วันที่ท่านมรณภาพนั้น
ท่านไม่มีสมบัติติดตัว
สร้างวัดทั่วล้านนา
แต่ไม่เคยเอามาเป็นของตัวเอง
เมื่อถึงคราวจะมรณภาพ
ก็กลับไปมรณภาพที่วัดบ้านปาง
บ้านเกิดของท่าน
นี่คือพระสงฆ์ที่ควรแก่การกราบไหว้
ปัจจุบันมีนักบวชที่อ้างว่า
เป็นครูบาศรีวิชัยกลับชาติมาเกิดหลายตน
แล้วตั้งตนเป็นครูบา
แต่หาได้สืบทอดวัตรปฏิบัติ
หรือปณิธานของครูบาฯไม่
มุ่งไปในทางมักมากเสียมากกว่า
หนำซ้ำยังสยบยอมต่ออำนาจรัฐอย่างเชื่องๆ
ผลก็คือนักบวชเหล่านี้
หาได้เป็นที่นับถือของคนล้านนา
เหมือนครูบาศรีวิชัยไม่
กราบครูบาศรีวิชัยด้วยเศียรเกล้า
ครับ

Feb 15, 2024

อำลาวงการ! อ.เฉลิมชัย ยุติบทบาท-ขอไปทำสิ่งที่รักก่อนตาย

 อ.เฉลิมชัย’ประกาศในวันเกิดครบรอบ69ปีวันนี้ ขอวางมือทุกอย่าง ลั่น ‘ปล่อยผมไป’

15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567


เมื่อวันที่ 15 ก.พ. อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ ไลฟ์สดประกาศในวันเกิดครบรอบ 69 ปี วันที่ 15 ก.พ. 67 โดยระบุว่า ฝากประกาศอย่างเป็นทางการว่า ตั้งใจว่าอายุ 69 ปีแล้ว ทำอะไรก็มากมาย วันนี้ฝากไปถึงทุกท่านที่ใช้ผม หรืออยากขอความช่วยเหลือผมทุกเรื่อง เชิญผมไปไหน ขอฝากว่าอย่ารบกวนผมเลย ปล่อยชีวิตผมไปให้มีความสุข ผมเลิกแล้ว พอแล้ว นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ทุกงานที่เคยทำมา ไม่ว่าจะงานกรรมการ งานศิลป์ต่างๆ ที่ที่ผมทำอะไรร่วมกับหน่วยงานอะไรก็ตาม ยกเลิกหมด แม่ฟ้าหลวงงดหมด ผมแก่แล้ว อยากมีชีวิตที่เหลืออย่างแข็งแรง และท่องเที่ยวในโลกของผม เที่ยวไปทุกที่ทุกแห่งด้วยมอเตอร์ไซค์ ขอฝากทุกท่านว่าอย่ามาใช้งาน ไม่ว่าพระสงฆ์องค์เจ้า หน่วยงานราชการ “ปล่อยผมไป ปล่อยผมไป” นี่คือสิ่งที่ต้องการ

Feb 11, 2024

Why Apple's iconic Super Bowl ad still resonates 4 decades later

Markets Reporter

February 10, 2024

Once upon a time, believe it or not, no one particularly looked forward to Super Bowl ads.

That all changed when Washington faced Los Angeles on Jan. 22, 1984, in Tampa, Fla. Those who tuned in to the big game on CBS
— and hadn’t fled to the kitchen for snacks — may have been intrigued by something completely different.
In between ads for Gillette Foamy Gel and Northwestern Mutual insurance, a dystopian scene appeared on their TV sets:
A line of men wearing faded gray apparel marched mindlessly into a theater, where a bespectacled face, “Big Brother,” addressed them on a massive screen.
Extolling the virtues of groupthink, Big Brother celebrated an imminent victory, free from “pests of any contradictory true thoughts.”
Then, the camera cut to a striking blond athlete running in slow motion.
Wearing a white tank top and red athletic shorts — and played by British discus thrower and actress Anya Rajah (then Anya Major)
— she strode into the theater, with guards in close pursuit. She spun and, with a shout, hurled a sledgehammer at Big Brother’s face.
As the screen exploded, large text appeared along with a voice narrating, “On January 24th, Apple Computer will introduce Macintosh.
And you’ll see why 1984 won’t be like '1984.'”
Happy 40th to one of the greatest ads, Super Bowl or otherwise, of all time.
Created by the ad agency Chiat/Day and Apple (AAPL), “1984” elevated Super Bowl ads to a whole new level.
Today, tech historians, ad pros, and techies alike all look back at the commercial not only as a seminal moment
in the democratization of personal computing and Super Bowl advertisements, but as a work of art containing themes that still resonate today.
Though Rob Schwartz, an advertising industry leader who ran Chiat/Day from January 2015 to April 2021,
was not at the agency when the ad was created, he still still remembers feeling inspired by it when it aired.
“It marked the first time that the commercials in the Super Bowl were going to be something else to watch besides the game itself.
This marked the moment,” he told Yahoo Finance recently.
“It was,” he added, “the first time where the audience went, ‘Wait, wait, wait, don't go to the bathroom.
Let's stay and watch a few commercials before the game comes back.'"
But Apple, the Super Bowl aside, was in need of a boost.

IBM = Big Brother?
In the early 1980s, the company had established itself as a promising tech business with products like the Apple II.
In an attempt to make personal computers more accessible, it had then developed the Lisa, named after Steve Jobs’ daughter.
Though innovative, the computer had sold poorly, especially compared to IBM’s (IBM) PC, which was released in 1981.
Meanwhile, Apple had begun working on the Macintosh, which was meant to accelerate the adoption of the personal computer by the masses.
“Apple came into 1984 being walloped by IBM in the personal computing market, and needing a new big hit …
the company had bet it all on the Macintosh, spending huge on its R&D, building a new state-of-the-art factory for it,”
said Margaret O'Mara, the Scott and Dorothy Bullitt chair of American History at the University of Washington.
But then arose the question of how to advertise the revolutionary new product. Steve Hayden, now 76, then a copywriter at Chiat/Day,
still remembers receiving the assignment from Steve Jobs directly. The young tech visionary reportedly wanted to
“stop the world in its tracks” and entrusted the L.A.-based firm with the job.
Along with art director Brent Thomas, Hayden began brainstorming. He rifled through old ad concepts
he had worked on in San Francisco and found one with the headline "Why 1984 won't be like '1984,'"
a line Hayden attributed to fellow Chiat/Day copywriter Gary Gussick. At first, Hayden and Thomas toyed
with a comical conception of 1984 “like the Jetsons.” But the ad’s director, a well-known talent by the name of Ridley Scott, had a better idea.

“He came and looked at our initial board … he brought in this wonderful coffee table book about the making of Metropolis, the movie,
and the dramatic huge machines and the interface between humans and these kinds of overwhelming technologies,” Hayden explained.
“And so the art direction took a really sharp turn at that point to meet that vision.”
The advertising experts had already come up with the Big Brother character and Scott insisted that they introduce another,
a heroine who would contrast starkly with the all-male cast and "break the spell," Hayden said.

A new age
The heroine symbolized more than simple rebellion against Big Brother. As historian O’Mara pointed out,
the ad aired during the height of the Cold War and year of the 1984 Summer Olympics in Los Angeles.
“I think it's telling that she's dressed as a track athlete and dressed as if she's running for the United States," she said.
The heroine also represented the Macintosh. While computers had previously been monopolized by experts —
think mainframes and IBM — the Macintosh offered a revolutionary user interface that made personal
computers accessible to the mass market.
“She was supposed to represent freedom and the dawning of a new age, and therefore, Macintosh,” Hayden said.
Added Chiat/Day’s Schwartz: “You have to remember that this was a time when computers were only used for
business … When she throws that sledgehammer, she is all of us … and she represents all of us trying to destroy
any kind of tyranny or dictatorship, even if it's just a dictator for a day, we don't want that. We want to be free.
And I think the power of that is the reason why people talk about it, 40 years later.”

But there were some naysayers within the company. Apple's board of directors hated it and almost stopped it from airing.
Meanwhile, Hayden himself felt unsure about his work. “I had my own concerns that it might be too foreign in structure
and content for an American audience,” he said. “It didn't match the traditional advertising forms.”
But Jean-Louis Gassée, now 79, who was then running Apple France, still recalls the first time he saw the ad at a 1983 meeting
to prepare for the January launch of the Macintosh. “We had never seen advertising like this ... it was absolutely stunning.
And then the lights went up a little bit and from the top of the theater machinery, a Mac came down on a wire,
and halfway through the descent it [was amplified by microphones],” he told Yahoo Finance.
“So we could hear what became the highly recognizable “bong” of the Mac starting. There was this hysteria in the room.”
Though Hayden and the rest of his team at Chiat/Day had never specifically intended “Big Brother” to represent IBM,
Jobs quickly adopted that framing. After showing the ad, Jobs gave a “fiery” anti-IBM speech,
“saying that the Macintosh would change the world,” according to Gassée. “It was easy at the time to superimpose
the Big Brother and the big IBM images.”

Holding up
It is actually stunning to watch the ad today and see how it still holds up. Only this time, you can imagine
Big Brother appearing on your screen as Tesla’s (TSLA) Elon Musk, Meta’s (META) Mark Zuckerberg,
and the developers of ChatGPT and other artificial intelligence products.
At least Jean-Louis Gassée sees it that way. He asserted that the ad is still relevant as we grapple
with the likes of AI and user privacy in the world of Facebook and X. It serves as “a good way to remind us of the necessary
fight between established powers and upstarts.”
He added: “I think the ad presents two views of technology. One that is Big Brother-like, oppressive,
and one which is the Macintosh, a way to break through the domination of Big Brother technology.”
he said. “So this ad in 1983, 1984, presented a view of the conflict between usages of technology.
I think that that conflict is still alive.”
Enjoy the Super Bowl.

Feb 7, 2024

โครงการ BEM Art Contest ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด “20 ปี สายสีน้ำเงิน” (14 พ.ย. 2566)

เช็กด่วน!! 100 ผลงานเข้ารอบชิงฯ BEM Art Contest #2

ผู้จัดการออนไลน์


โครงการ BEM Art Contest ครั้งที่ 2 ภายใต้แนวคิด “20 ปี สายสีน้ำเงิน” เนื่องในโอกาสการเข้าสู่วาระครบรอบการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ในปี 2567 ชิงรางวัลรวมกว่า 50,000 บาท ได้ทำการประกาศ 100 ผลงานเข้ารอบชิงชนะเลิศ เพื่อเตรียมประชันฝีมือ 8 ธันวาคมนี้

เมื่อเร็วๆ นี้ นางวัฒนา สิทธิไวทยาภรณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และ นางสาวสุวพีร์ ลือสิริพรกุล ผู้อำนวยการ ฝ่ายสื่อสารการตลาดและองค์กร บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ร่วมกับคณะกรรมการการประกวดผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ อาจารย์บันชา ศรีวงศ์ราช ประธาน IWS Thailand, อาจารย์อภิเดช พัฒนาสุทธินนท์, ดร.ทวิพาสน์ พิชัยชาญณรงค์, อาจารย์ธีรพงศ์ เสรีสำราญ และอาจารย์ธัฐบดินทร์ บุญเนื่อง ทำการคัดเลือก 100 ผลงาน จาก 158 ผลงาน ของผู้ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดทั้งสองประเภท ได้แก่ ประเภทนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (50 ผลงาน) และประเภทประชาชนทั่วไปที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (50 ผลงาน) เพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ วันที่ 8 ธันวาคม 2566 ณ Metro Art สถานีรถไฟฟ้า MRT พหลโยธิน

โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศได้ทาง Facebook : BEM Bangkok Expressway and Metro ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สำหรับการประกวดครั้งนี้จัดขึ้นโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ร่วมกับ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย เครือข่ายสมาคมสีน้ำโลก IWS ประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

 

Feb 1, 2024

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

 สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก
 


Feb 1, 2024 :: Have a nice day at UTCC & 🌏.😊

ลาก่อน "มกราคม"...

สวัสดี "กุมภาพันธ์" 

Cr. รองศาสตราจารย์ ดร. น้ำฝน อัศวเมฆิน