Custom Search

Oct 31, 2022

ขอบคุณเดือนตุลา



ขอบคุณเดือนตุลา

แม้จะเหนื่อยยากกว่าทุกครา

เดือนหน้าพฤศจิกา

ก็ขอให้บุญรักษา

สมปรารถนา

โรคภัยห่างไปไกลตา


ขอบคุณทุกสิ่งที่ผ่านมา

เหลือพฤจิกาและคุณธันวา


จงสุขเกินจะพรรณนา

เลิกปวดหลัง ปวดหัว ปวดขา

ได้โบนัส หลายปึกหนา


สุข และความสุข จงวิ่งเข้ามาหา

ไร้โรคภัยนานา


ขอให้พฤศจิกาและธันวา


จงเอ็นดูกับเธอ น้าา… นาาา… น้า…นา

Oct 27, 2022

27 ตุลาคม 2539 เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ ผู้พลิกโฉมวงการเพลงไทยยุคใหม่หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่ เสียชีวิต เมื่อ อายุ 48 ปี






TOJO NEWS

เผยแพร่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ที่มา https://today.line.me/th/v2/article/BEE1wJ0

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ปี 2539 นับว่า เป็นความสูญเสียครั้งสําคัญ ของวงการเพลงไทย

เมื่อ เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ นักร้อง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์และผู้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลง แกรมมี่

จากไปอย่างไม่มีวันกลับด้วยโรคมะเร็ง เต๋อ เรวัต เป็นผู้บุกเบิกและพลิกโฉมหน้าวงการเพลงไทย

ให้ก้าวสู่ยุคใหม่แบบสากล

เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2491 ที่กรุงเทพฯ เรวัตเป็นบุตรคนที่ 4 ในจํานวน 6 คน

ของนาวาตรีทวีและนางอบเชย พุทธินันทน์ นอกจากนี้

เต๋อ ยังมีน้องชายต่างมารดาอีก 1 คน คือ ดิเรก พุทธินันทน์ (ต่อง)(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วเช่นกัน)

เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล

และจบปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เต๋อ เรวัต หัดเล่นดนตรีตั้งแต่อายุ 11 ปี เริ่มจากเรียนแซกโซโฟน

เต๋อกับเพื่อน ๆ โรงเรียนเซนต์คาเบรียลตั้งวงดนตรี ชื่อ Dark Eyes

ต่อมาเปลี่ยนชื่อวงเป็น Mosrite มีโอกาสเข้าประกวดในงานของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย

ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในปี พ.ศ. 2508 และ 2509

ขณะเรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน พ.ศ. 2510

ได้ร่วมกับเพื่อนตั้งวง Yellow Red

(เหลือง-แดง คือสี ประจํามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

มีเพื่อนร่วมวงอย่าง ดนู ฮันตระกูล และจิรพรรณ อังศวานนท์

ต่อมา เรวัต ได้ร่วมกับเพื่อนจากธรรมศาสตร์ อันประกอบไปด้วย นภศักดิ์ “นภ” มณีสุข มือกีตาร์

และจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ต่อมาวงThe Thanks โด่งดังเป็นที่รู้จักกันดี ในแวดวงนักดนตรีอาชีพด้วยกัน

จนมีโอกาสได้เล่นสลับกับวงดิ อิมพอสซิเบิ้ล ตามไนท์คลับต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ

หลังเรียนจบ เต๋อ เรวัต ได้รับการชักชวนให้เข้าร่วม

วงดิ อิมพอสซิเบิ้ล เพื่อออกเดินทางไปเล่นดนตรี

ที่ฮาวาย สหรัฐอเมริกาและในยุโรป

โดยเต๋อรับตําแหน่งนักร้องนําและเล่นคีย์บอร์ด

เมื่อวงดิ อิมพอสซิเบิ้ล ประกาศยุบวง เมื่อ พ.ศ. 2520

เต๋อ เรวัต ได้ก่อตั้งวง โอเรียนเต็ลฟังค์ ร่วมกับวินัย พันธุรักษ์

อดีตสมาชิกวงดิอิมพอสซิเบิ้ล เล่นดนตรีฟังค์ ซึ่งกําลังเป็นที่นิยม

เป็นหลักโดยเล่นประจําอยู่ที่โรงแรมมณเฑียร

แหล่งรวมนักดนตรีอาชีพฝีมือฉกาจในสมัยนั้น

รวมถึงยังมีโอกาสตระเวนเปิดการแสดงในยุโรปและสหรัฐอเมริกา

โดยในระหว่างนั้น เต๋อ เรวัต

ได้ศึกษาการเขียนเพลงและดนตรีเพิ่มเติม อยู่เสมอ

ในปี พ.ศ. 2526 เต๋อ เรวัต ร่วมกับ เพื่อนจากจุฬาฯ ไพบูลย์ ดํารงชัยธรรม ก่อตั้งบริษัท แกรมมี่

เป็นบริษัทรูปแบบใหม่ ที่ผสมผสานการโฆษณา การผลิตสื่อ

และการท่าธุรกิจดนตรีเข้าด้วยกัน แบบเป็นระบบ โดยการใช้หลักการตลาดเป็นหัวใจหลัก

โดยเต๋อ เรวัต รับหน้าที่ดูแลด้านการผลิตเพลง

โดยใช้วิธีการเดียวกัน กับที่ค่ายเพลงจากตะวันตกนิยมใช้กัน พัฒนาวิธีการผลิตผลงานเพลง

เลือกเฟ้นนักร้องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทําให้ผลงานส่วนใหญ่

ได้รับความนิยมในวงกว้าง นักร้องระดับตํานานในวันนี้ ล้วนมาจากการฝีมือของ เต๋อ เรวัต ไม่ว่าจะเป็น

นันทิดา แก้วบัวสาย (2527) แหวน ฐิติมา สุตสุนทร (2527) เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ (2529)

รวมถึง ราชินีเพลงแดนซ์ คริสติน่า อากีล่าร์ (2534) เจ้าของสถิติยอดขายอัลบั้ม ล้านตลับถึง 4 ชุด

นอกจากผลงานในฐานะบุคคลเบื้องหลังแล้ว เต๋อ เรวัต ยังผลิตผลงานเพลงในนามตัวเองออกมา 4 อัลบั้ม

มีเพลงที่ได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบันอย่าง ดอกไม้พลาสติก,เจ้าสาวที่กลัวฝน, ที่แล้วก็แล้วไป,

ยิ่งสูงยิ่งหนาวและอีกหลายๆเพลง

ความโด่งดังและความสําเร็จของบริษัทแกรมมี่ ช่วยพลิกโฉมวงการดนตรีไทย ให้ก้าวไปอีกขั้น

มีรูปแบบเป็นสากลมากขึ้น สามารถต่อยอดความสําเร็จ

ออกไปในธุรกิจอีกหลายประเภท ทั้งวงการโทรทัศน์

วงการหนังสือสิ่งพิมพ์ วงการโฆษณา วงการภาพยนตร์

เรวัต พุทธินันทน์ ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งในสมอง

เดินทางไปรักษาตัวที่สหรัฐอเมริกา 5 เดือน เมื่ออาการดีขึ้น

หมออนุญาตให้กลับบ้านได้ หลังจากกลับประเทศไทยได้

ประมาณ 2 เดือน อาการก็ทรุดลงอีก เรวัต

เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวชอีกเป็นเวลา 3 เดือน

ก่อนที่ เรวัต พุทธินันทน์ เสียชีวิตเมื่อวันที่

27 ตุลาคม พ.ศ. 2539 รวมอายุ 48 ปี

มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540




ข้อมูลจาก

เรวัต พุทธินันทน์ — วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

19 ปีที่จากไป ของ "เรวัต พุทธินันทน์" ศิลปินผู้ร่วมก่อตั้งค่าย Gmm Grammy | Sanook Music คมคิดพลิกพาณิชย์ศิลป์แบบ "เต๋อ เรวัต" มันสมอง-ผู้ร่วมตั้ง "แกรมมี่" เพลงไทยยุคใหม่ (silpa-mag.com)


Oct 6, 2022

ร่วมแสดงความเสียใจเเด่ ครอบครัวผู้สูญเสีย

 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์
อำเภอนากลาง
จังหวัดหนองบัวลำภู

Oct 5, 2022

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ กับความตั้งใจ...อยากเห็นคนไทยไม่ป่วย!!!

นพ. สันต์ ใจยอดศิลป์


ที่มา 

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Center) 

โรงพยาบาล พญาไท 2


แม้เราจะรู้ดีว่าโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน...แต่คงไม่มีใครคาดคิดว่า นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

คุณหมอผู้ผ่าตัดรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจมากกว่าสองพันราย

จะมาค้นพบคำตอบบนทางเดินสายใหม่...กับการหันมาส่งเสริมด้านสุขภาพในฐานะ “ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว”

ตอนวัย 56 ปี!!!!

ด้วยประสบการณ์ของการเป็นคุณหมอด้านโรคหัวใจกว่า 20 ปี

จึงไม่ได้สร้างแค่ประสบการณ์ด้านการรักษา...แต่ยังทำให้คุณหมอตระหนักได้ว่า “เรากำลังทำอะไรที่ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่แท้จริง

ทำแล้วก็ต้องมาทำอีก

เพราะการผ่าตัดหัวใจผ่านไปสิบปียี่สิบปีโรคมันจะดำเนินต่อไปจนหลอดเลือดตีบอีก แล้วก็ต้องมาผ่าใหม่”

และด้วยมุมมองนี้นี่แหละ!! ทำให้เกิดเป็นคำถามว่า 

“เราจะใช้เวลาที่เหลือในชีวิตมาทำสิ่งที่แก้ปัญหา

ไม่สะเด็ดน้ำอย่างนี้ไปจนตายหรือ”

เพราะทัศนคติที่เปลี่ยนไป...ประกอบกับตัวเองก็เริ่มป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเสียเอง!! “ถ้าไม่เริ่มทำอะไรซักอย่าง

ในวันข้างหน้าคงต้องไปนอนบนเขียงให้คนอื่น

เขาผ่าตัดหัวใจของเราเองบ้าง”

และนี่....คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ คุณหมอสันต์

ตัดสินใจเลิกผ่าตัดหัวใจ แล้วหันมาศึกษาด้านเวชศาสตร์ครอบครัว...

ก่อนจะสอบเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ

“คิดดู สอบเอาตอนอายุห้าสิบกว่านะครับ

ถ้าไม่ชอบจริงก็คงไม่ทำ”

หลังผ่านบททดสอบขั้นแรกเรื่องการสอบ...

ก็ถึงเวลาของการเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชน

คุณหมอสันต์ ไม่เพียงเปิดคลินิกส่งเสริมสุขภาพ

เพื่อใช้แก้ปัญหาสุขภาพของคนไข้แบบเฉพาะราย

แต่คุณหมอยังเขียนหนังสือ เขียนเวปไซต์ health.co.th

และเขียนบล็อก visitdrsant.blogspot.com

เพื่อให้ความรู้หรือ health education นี้

เป็นเครื่องมือหลักของการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ด้วยปณิธานที่

“ตั้งใจว่าจะเป็นหมอทางด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค”

คุณหมอสันต์ จึงริเริ่ม โปรแกรมการดูแลสุขภาพด้วยการปรับวิถีชีวิต

Total Lifestyle Modification (TLM)

เพื่อให้คนไทยมีแนวทางการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง...

นำไปสู่สุขภาพที่ดีไร้โรคเรื้อรัง!!!



เจาะใจEP.38 : นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ กับการมีสุขภาพดีได้ด้วยตัวเองจากการกินและการใช้ชีวิต [17 ก.ย. 65]

Oct 4, 2022

แทน-คัตโตะ เล่าวันวานก่อนจะเป็น Lipta กับมิตรภาพที่ยาวนานกว่า 18 ปี





ที่มา https://www.thairath.co.th/entertain/news/2216202

14 ต.ค. 2564 09:00 น.

เผลอแวบเดียวอยู่ในวงการเพลงมานานกว่า 17 ปีแล้ว

สำหรับ 2 หนุ่ม แทน ธารณ ลิปตพัลลภ และ

คัตโตะ อารมณ์ โพธิ์หาญรัตนกุล

ศิลปินดูโอ้วง Lipta (ลิปตา) เจ้าของเพลงดังมากมาย อาทิ

ฝืน, ปฏิเสธอย่างไร, นี่ฉันเอง, แฟน, อยากมีแฟนแล้ว ฯลฯ

ที่เมื่อย้อนกลับไปวันแรกของการทำวง

ทั้งคู่ไม่ได้เป็นเพื่อนกันมาก่อน แต่รู้จักกันเพราะ โอ Jetset’er

(เจ็ตเซ็ตเตอร์) ที่เป็นคนแนะนำให้รู้จักกัน

ก่อนจะเป็นศิลปินด้วยกันมาจนถึงทุกวันนี้

บันเทิงไทยรัฐออนไลน์ชวนพวกเขามาพูดคุยย้อนวันวาน

ตอนรู้จักกันครั้งแรกเมื่อ 17 ปีที่แล้ว

รวมไปถึงวันแรกที่ทุกคนรู้จักพวกเขาในนามวง Lipta

ก่อนที่จะรู้จักมากขึ้นในฐานะคนทำงานเบื้องหลังให้กับศิลปิน

และล่าสุดกับบทบาทครั้งใหม่ของ แทน-คัตโตะ

คือการเป็นเจ้าของค่ายเพลง Kicks Records

ผลักดันศิลปินรุ่นใหม่สู่ตลาดเพลงไทย



จุดเริ่มต้น

เมื่อถามถึงกว่าจะมาเป็นวงลิปตา ชอบดนตรีมาตั้งแต่ช่วงไหน แทนเล่าให้ฟังว่า

ตัวเองเรียนดนตรีมาตั้งแต่เด็ก คุณแม่บังคับให้เรียนเปียโน จนวันนึงเข้าไปเรียนที่ SAE Institute

ซึ่งเกี่ยวกับซาวนด์เอ็นจิเนียร์ เข้าไปก็เจอเพื่อนร่วมชั้นเป็นวง Jetset’er

แล้วสนิทกัน วันหนึ่งต้องทำเพลงส่งอาจารย์ก็เลยอยากเขียนเพลงดูเพราะมีพี่บอย โกสิยพงษ์ เป็นไอดอล

“พอเขียนเพลงขึ้นมา ตอนนั้นอายุ 16-17 ไม่รู้จักใครเลย ก็เลยถามคนในห้องซึ่งก็คือพี่โอ Jetset’er

เขาก็บอกว่าเขามีนักร้องคนนึงชื่อคัต ร้องเพลงดี ให้มาร้องมั้ย

เลยเป็นการเจอกันครั้งแรก จากนั้นก็ได้มาเจอกับพี่บอย โกสิยพงษ์ พี่บอยบอกว่ากำลังจะทำค่ายใหม่ชื่อ LOVEiS (เลิฟอิส)

เราก็เลยได้เป็นศิลปินเบอร์แรกของค่ายครับ”

ถึงตรงนี้แทนเสริมว่า “ตอนนั้นมีหลายค่ายมาจีบนะ เคยไปยื่นเดโม่หลายที่ มีทั้งค่ายไอดี เรคคอร์ด ค่ายของพี่เจมส์

(เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์)

และก็มีค่ายสนามหลวงมิวสิก

มีพี่ๆ ที่สมอลล์รูมด้วย ตอนนั้นก็เคยเข้าไปคุยกัน และก็มี RIP Studio ซึ่งเป็นค่ายที่พี่ๆ วง Playground

เคยอยู่ แต่ท้ายสุดด้วยความที่เรารักพี่บอยก็เลยมาทำ

ผมกับคัตโตะรู้สึกว่าเบเกอรี่ มิวสิก ยุคนั้นเหมือนค่าย What The Duck ของเด็กสมัยนี้ มีความสมัยใหม่ เท่”

ความกดดัน-การสนับสนุนจากที่บ้าน

ถามว่าตอนนั้นกดดันแค่ไหนกับการเป็นศิลปินหน้าใหม่เบอร์แรกของค่ายเลิฟอีส แทนบอกว่า

“ไม่มีความกดดันเพราะว่าเราไม่เคยทำอะไรมาก่อน

ถ้าเราเคยมีเพลงฮิตมาก่อนอาจจะกดดัน ตอนนั้นเฉยๆ มาก ไม่กดดันเพราะไม่รู้ต้องทำอะไรยังไง

รู้แค่ว่าต้องทำอัลบั้มเสร็จภายใน 1 เดือน ก็ทำเพลงที่ชอบ

แล้วก็ดันโชคดีที่อัลบั้มแรกมีเพลง “ฝืน” ที่เป็นเพลงก่อร่างสร้างตัวของวง เพลงที่คนรู้จัก

ขึ้นอันดับ 1 ได้รางวัล ไปไหนมาไหนคนร้องตามได้

ซึ่งเพลงอื่นๆ ค่อนข้างเฉพาะกลุ่ม แต่เพลงฝืนค่อนข้างแมสหน่อยในตอนนั้น”

คัตโตะบอกว่าด้วยความที่วงลิปตาโลว์โปรไฟล์ ไม่ได้มาจากค่ายใหญ่

ไม่ได้ขายหน้าตา ไม่ได้มีความคาดหวังเยอะ เป็นม้านอกสายตา จึงไม่มีใครสนใจ

จากนั้นแทนเล่าถึงวันแรกที่เริ่มโปรโมตเพลงอัลบั้มแรกไว้ว่า

“จำได้ว่าตอนทำอัลบั้มแรกๆ เราก็มีไปทัวร์ตามสื่อ ร้านซีดีคือร้านดีเจสยาม

ตอนนั้นจำได้ว่ามีโต๋ (ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร) พี่บอย ตรัย พี่เบน ชลาทิศ เราก็ไปกัน 2 คน คนก็ไม่รู้จัก

เหมือนแบบไปทำอะไรวะ (หัวเราะ) ทีมงานโต๋รึเปล่า แต่เราไม่ได้ซีเรียสเพราะเรารู้สึกว่าแค่เราได้ทำเพลงกับพี่บอยกับเลิฟอีส

แค่เราได้อยู่ตรงนั้นก็แฮปปี้แล้ว”

คัตโตะเสริมว่า “มันไม่ได้กลัวอะไรหรอก แค่เป็นเรื่องการถูกมองข้ามไปมากกว่า ซึ่งไม่ได้ซีเรียส ไม่ถูกกดดันอะไร

แต่อย่างน้อยเป็นอากาศก็ดีกว่าโดนด่า (หัวเราะ) ก็ทำให้ไม่กดดันนะ ทำไปเรื่อยๆ อาจจะต้องตั้งใจทำงานขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าอยากให้ผลงานเป็นที่ประจักษ์เนอะ”

เบื้องหลังศิลปิน-เจ้าพ่อคำคม

อีกหนึ่งบทบาทของวงลิปตา คือการทำงานเบื้องหลังให้กับศิลปินหลายคน เมื่อถามว่ามาทำตรงนี้ได้ยังไง

แทนเล่าว่า “ในส่วนของผมจริงๆ เขียนเพลงให้คนอื่นมาเรื่อยๆ

โปรดิวซ์มาเรื่อยๆ แต่ว่าหลายๆ คนอาจรู้จักจากที่ผมทำเพลงให้อิ้งค์ (วรันธร เปานิล) เยอะสุด

เพราะอาจจะเริ่มกับอิ้งค์มาตั้งแต่วันที่คนอาจไม่รู้จักอิ้งค์มาก

จนวันนี้อิ้งค์ประสบความสำเร็จ แต่เราก็เขียนเพลงให้กับ Room39,

ป๊อบ ปองกูล และอีกหลายคน แต่พอเจออิ้งค์พอดี

ผมรู้สึกว่าเคมีหลายๆ อย่างเวิร์ก พอเพลงที่ทำให้อิ้งค์ดังก็เลยมีโอกาสได้ทำงานอื่นๆ

ต่อจนรู้สึกว่าเอ๊ะ เราทำให้หลายๆ คนแล้ว

วันนึงเราก็อยากทำให้กับศิลปินของเราเองน่าจะสนุกครับ”

เราถามต่อถึงวันที่คัตโตะมาทำงานเพลง ทั้งๆ ที่ครอบครัวไม่ได้สนับสนุนว่าเป็นยังไงบ้าง

ซึ่งนักร้องหนุ่มเล่าให้ฟังว่า

“ตอนแรกเขาไม่ค่อยสนับสนุน เพราะที่บ้านมองว่าเป็นอาชีพเต้นกินรำกิน

ตอนนั้นก็คิดว่าทำไงดี ก็เลยขอพ่อว่าขอเวลาปีนึง ถ้าไปทำศิลปินแล้วไม่เวิร์กก็จะกลับมาทำงานอย่างที่พ่ออยากให้ทำ

ตอนนั้นพ่ออยากให้เป็นที่ปรึกษาการเงิน แต่ปรากฏว่าพอผ่านไปปีนึงก็โอเค ก็เลยขอต่อสัญญาไปเรื่อยๆ

เขาก็ไม่ถามอะไรแล้ว วันที่วงลิปตาเริ่มมีชื่อเสียง ที่บ้านก็ไม่ได้ว่าอะไร ถ้าให้ตังค์ที่บ้านได้ก็โอเค (ยิ้ม)”

ด้านแทนบอกว่า “ที่บ้านผมแปลกดีเหมือนกัน เขาเป็นคนหัวโบราณมากในบางเรื่อง แต่บางเรื่องทันสมัยมาก

ก็โชคดีอย่างนึงที่พอเขารู้ว่าเรียนอย่างอื่นไม่รู้เรื่องนอกจากดนตรีกับกีฬา

เขาก็เลยเห็นว่าในเมื่อชอบดนตรีเดี๋ยวไปหามหาวิทยาลัยที่เรียนดนตรีและจบปริญญาตรีให้

แล้วเราก็ได้เรียนจบตรงนั้นจริงๆ ซึ่งเขาก็แฮปปี้ เขาขอแค่ว่าจบปริญญาตรีมาให้เขาหน่อย เขาเข้าใจลูก ถือว่าโชคดีที่คุณแม่เข้าใจ”

คัตโตะแซวว่า “ทุกวันนี้ก็ดูฉลาดขึ้นมา” แทนรับมุกทันที “นิดนึงๆ”

ด้านคัตโตะเผยว่า “จริงๆ ช่วงแรกไม่ได้สนใจงานเบื้องหลังเลย

เพราะว่าพอเราเป็นกองหน้า งานนักร้องมีอะไรให้ทำเยอะอยู่แล้ว

ตอนแรกไม่ได้สนใจจะทำเพราะรู้สึกว่าให้แทนทำดีแล้ว

เสร็จแล้วพี่บอยแนะนำมั้ง บอกว่าให้เขียนเพลง ก็เลยเขียนก็ได้

แต่ช่วยกันเขียนกับแทนเพราะจะได้มีอะไรใหม่ๆ ซึ่งก็ดีกับวง จะได้มีคนมาช่วยเขียนเพลงด้วยอีกคนนึง

พอตอนทำเพลงผมก็ไม่ได้อยากเขียนให้ใครด้วย

ไม่ได้พรีเซนต์เรื่องนี้ด้วย ก็เห็นว่าอันนี้เหมาะกับแทน ผมก็เอาเวลาที่เหลือไปทำเสือร้องไห้

ทำครีเอทีฟรายการแทน ทำออนไลน์นี่แหละ

แต่อยากทำค่ายเพลง เพราะเริ่มมีมุมมองเรื่องธุรกิจนี้ว่าเป็นความถนัดของเรา

เวลาทำอะไรที่ถนัดก็ไม่ค่อยเหนื่อย พอกลับมาทำ Music Business

มันง่ายกว่างานอื่นเยอะเลย เลยคิดว่าธุรกิจนี้น่าทำ ส่วนมากตอนทำสนุกกว่าอันอื่นด้วย

เลยรู้สึกว่าเราเข้ากับธุรกิจนี้จริงๆ ทำแล้วแฮปปี้

เราคิดว่าเพลงนี้มันเพราะ เวลาคนฟังเพลงเพราะๆ มันมีความฟิน”

นอกจากเป็นนักร้องแล้ว อีกมุมหนึ่งที่หลายคนเห็นคัตโตะจนเป็นภาพจำคือ

ความเป็นคนช่างเขียน ชอบเขียนข้อคิดคำคมต่างๆ คัตโตะบอกว่า

“อ๋อ ผมเป็นเป็ดน่ะ แล้วผมก็ชอบทำทุกอย่าง เล่นเกม เทรดคริปโต คือชอบความหลากหลาย

แล้วผมรู้สึกว่าตอนนั้นทำหนังสือเราก็ทำได้ดีระดับนึง

ผมไม่ได้ยึดติดกับอะไร อย่างยุคนี้เป็นยุคที่มาเทรดคริปโต เป็นคนที่ชอบอะไรก็จะศึกษา มุ่งมั่นจับจด ไม่ยอมแพ้

ตอนนี้ไม่ได้ทำหนังสือแล้ว แต่ถ้าวันนึงรู้สึกว่าอยากทำก็จะกลับมาทำครับ จริงๆ ตอนนั้นมันเกิดจากไดอารี่เฉยๆ

เขียนไดอารี่เก็บไว้ แต่ว่าพาดพิงคนโน้นคนนี้

เราก็เลยลบชื่อออกเหลือแค่ประโยคเดียวแล้วก็ไปลงแค่นั้นเอง

ก็เก็บเอาไว้เป็น source

แต่งเพลงต่างๆ แต่ทุกวันนี้ถ้าจะเขียนก็เขียนเป็นเพลงเลย

ที่เหลือก็อ่านเรื่องคริปโตครับ (หัวเราะ)”


วันที่ออกจากค่ายดัง

เมื่อถามถึงวันที่ออกจากค่ายเพลงเลิฟอีสว่าเป็นเพราะอะไร คัตโตะบอกว่า

“ต้องบอกก่อนว่าจริงๆ เราไม่เคยมีสัญญา” จากนั้นแทนเล่าว่า

“เราออกอัลบั้มแรกปี 2005 อยู่กับพี่บอยฉันพี่น้องมาตลอด เป็นอะไรที่เราสบายใจมาก

พี่บอยไม่เคยบังคับเรื่องเซ็นสัญญาเลย แต่ในช่วงปี 2014-2015

เรารู้สึกว่าเฮ้ย อยากลองมาทำอะไรกันเอง” คัตโตะเสริม “เรียกว่าตอนนั้นมันมีอะไรที่อยากทำเยอะ

แต่ด้วยขีดจำกัดของค่ายในตอนนั้น แล้วเป้าหมายใหม่ๆ ที่เราอยากทำมันเยอะ เราก็เลยเฮ้ย เดี๋ยวเราทำเองแล้วกัน พี่บอยก็โอเค

ถ้าอยากลองทำก็ลองทำดู เราก็เลยได้ลองทำ ซึ่งแรกๆ ก็ไม่ได้ยากมากนะ เพราะพวกเราเป็นวงที่อยากทำอะไรเยอะอยู่แล้ว”

จากนั้นแทนบอกว่า “ทำเพลงเราก็ทำเองอยู่แล้ว คุยติดต่อผู้กำกับเอ็มวี

ปกอัลบั้มตอนที่อยู่ค่ายก็ทำกันเองอยู่แล้ว” คัตโตะเล่าอีกว่า

“ตอนนั้นค่ายจะให้ออกปีละ 3 เพลง แต่ตัวเองอยากออกปีละ 10 เพลง ก็เป็นค่ายที่ทำงานได้มาตรฐาน

แต่ตัวเราเองมันกระหายอยากทำเพลงออกเอ็มวี

ตอนนั้นดูตั้งแต่เอ็มวี เสื้อผ้า ปก คอนเสิร์ต คือทำเองทุกอย่าง ก็เลยคิดในใจว่าเออ

ถ้างั้นถ้าเราทำเองก็คงจะดี จะได้ไม่รบกวน capacity ของศิลปินคนอื่นๆ”

แทนเสริม “ใช่ พอเป็นระบบค่ายมันอาจมีเรื่องของเงินทุนที่จำกัดต่อศิลปินนั้นๆ
เพราะเลิฟอีสเขามีศิลปินเยอะ เราก็เกรงใจด้วย
ก็รู้สึกว่าลองมาเจ๊งกันข้างนอกดู (หัวเราะ) ลองลงทุนกันเองดูมั้ย
ลองมารู้ระบบปล่อยเพลงว่าขึ้นสตรีมจะต้องคุยกับใคร อะไรที่เป็น Technical มากๆ
ผมรู้สึกว่าการได้มาเรียนรู้มันก็สนุกดี” คัตโตะพูดต่อ “หลังจากนั้นก็จะเห็นว่าจากที่ปกติเลิฟอีสเราจะมีเพลงปีละประมาณ 3 เพลง
หลังจากนั้นก็จะมีแชนแนลของลิปตาที่เราตั้งปีนึง 10 เพลง คือมันเหมือนระเบิดเลยอะ ทำกันแบบบ้าเลือด”

จากการที่เคยอยู่ค่ายดังมาก่อน พอมาทำเองทุกอย่าง เห็นความแตกต่างเยอะมั้ย แทนบอกว่า

“ต้องบอกก่อนว่าในสมัยที่เราอยู่เลิฟอีส คือเลิฟอีสวันนี้กับเลิฟอีสเมื่อ 10 ปีที่แล้วมันค่อนข้างไม่เหมือนกัน

เพราะตอนนี้เป็นเลิฟอีสเอ็นเตอร์เทนเมนต์ จะมีความใหญ่โตขึ้น แต่ในสมัยที่เราอยู่เลิฟอีสตอนนั้นเป็นค่ายเล็กๆ

มีสตาฟฟ์แค่ 6-7 คนเองมั้ง เพิ่งเปลี่ยนเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา

ผมก็คุยกับคัตโตะว่าเราไม่จำเป็นต้องมีสตาฟฟ์อะไรเยอะ บางตำแหน่งเราใช้คนนอกได้ ผมรู้สึกว่าการทำองค์กรให้มันลีนๆ

จะได้เดินได้ จะได้เอาเงินทุนไปลงอย่างอื่น รู้สึกว่ามันเหมาะกับเราครับ”


Kicks Records

และจากความคิดที่สนใจในการทำธุรกิจเพลงมาก่อนหน้านี้

แทน-คัตโตะ จึงตัดสินใจทำค่ายเพลง Kicks Records

ซึ่งแทนเล่าถึงบทบาทครั้งใหม่ว่า

“เราทำวงกันมาปีนี้ปีที่ 16

เมื่อ 3 ปีที่แล้วคัตโตะอยากทำค่ายแล้วชวนผม

แต่ผมเริ่มไปโปรดิวซ์ให้ศิลปินหลายๆคนเลย

ยังมีความไม่มั่นใจในตัวเอง แต่พอมีโควิด 1-2 ปี

ได้อยู่กับตัวเองเยอะเลยมั่นใจว่าวันนี้ต้องเปิดแล้ว

น่าจะถึงเวลาแล้วที่ต้องทำ

ในวันที่ทุกสิ่งดูไม่น่าทำที่สุด

ก็เป็นวันที่น่าจะทำที่สุดครับ” คัตโตะเสริมว่า

“จริงๆ เศรษฐกิจมันไม่ดี ไม่เหมาะกับการลงทุนอะไรมากๆ

แต่ถ้าไม่ทำตอนนี้ก็ไม่รู้จะทำตอนไหน พอเรามีเวลาเหลือเยอะขึ้น

ก็เอามาเซตเรื่องค่าย เพราะมันต้องใช้เวลาประมาณนึง”


แรงบันดาลใจในการทำค่ายเพลง คัตโตะบอกว่ามีหลายอย่าง

อย่างแรกคือหลายครั้งที่สมัยก่อนเวลาที่เขียนเพลงมาแต่รู้สึกว่าไม่เหมาะกับเรา

แต่ที่ทำให้อยากทำค่ายเพลงจริงๆ

คือภาพที่เราคิดว่าตอนแก่แล้ว ถ้ามีที่ที่ให้เราเขียนเพลง และมีหลายคนช่วยเราเขียนเพลง

ทำเพลงในห้องอัดเล็กๆ นั่งกินกาแฟ นักดนตรีนั่งคุยกัน อัดเสียงกัน

มันดูน่าสนุกดี อยากให้มีภาพนี้ออกมา ด้านแทนบอกว่าที่เขียนเพลงเพราะมีพี่บอย โกสิยพงษ์

กับพี่สุกี้ (กมล สุโกศล แคลปป์) จากค่ายเบเกอรี่ มิวสิก

เป็นความจำฝังใจตั้งแต่เด็ก เราเจริญรอยตามเขามา พอถึงวันนึงมันเป็นความฝันของนักดนตรี

หรือคนทำเพลงที่อยากมีค่ายของตัวเอง และรู้สึกว่าเวลานี้เหมาะแล้ว


ส่วนชื่อ Kicks Records แทนบอกว่า “จริงๆ คัตโตะคิดไว้หลายชื่อ

แต่ยังไม่ชอบซะทีเดียว จนวันนึงมีศิลปินเบอร์แรกคือน้องจีเนียส ทำเพลงจนจะเสร็จแล้ว

ก็เลยถามจีเนียสเล่นๆ ว่าช่วยคิดชื่อค่ายให้พวกพี่หน่อย น้องก็ถามว่าพวกพี่ชอบอะไร

ผมก็บอกว่าชอบชื่อเบเกอรี่ มิวสิก มากเลย เพราะชื่อมีความโฮมมี่ดี

เขาก็บอกว่าให้ชื่อ Kitchen แล้วกัน เพราะมีตัว T กับตัว C

คือชื่อแทนกับคัตโตะตรงกลางชื่อพอดี ผมก็บอกว่าชื่อมันตลกเลยเปลี่ยนเป็นคิด เรคคอร์ด

แต่คัตโตะบอกว่าคำว่าคิดมันเป็นทั้งความคิดและคำว่าเด็ก (Kid)

ซึ่งก็ไม่อยากให้แบรนด์ดูเด็ก ก็เลยเปลี่ยนเป็น Kicks

คือเตะไปข้างหน้า เหมือนเป็น Kickstarter”


กับความยากง่ายในการทำค่ายเพลง คัตโตะบอกว่านอกจากการหาศิลปิน

การปรับตัวเองว่าจะวางโครงสร้างยังไง เพราะเมื่อก่อนวางให้ตัวเองไม่ได้ยาก

พอวางให้คนอื่นมันไม่ได้ตามใจตัวเอง ต้องดูว่าโครงสร้างบริษัทจะอยู่ได้ยังไงในระยะยาว

เราจะทำยังไงให้ศิลปินอยู่รอดได้และดีกับเขา

สิ่งที่ซีเรียสมากคือการจะเอาใครเข้ามาก็ต้องคิดแล้วว่าต้องรับผิดชอบชีวิตคน

ต้องคิดให้ดีก่อนลงมือทำทุกก้าว แทนเสริมว่าตอนนี้เป็นช่วงเซตระบบก็ยังไม่ยาก

แต่ผ่านไปสักพักหรือเริ่มเกิดอะไรขึ้นก็อาจจะยาก เหมือนการทำร้านอาหาร คัตโตะเสริมว่าปัญหามี 2 อย่างคือ

ขายดีเกินไปหรือขายไม่ดีเกินไป ก็ต้องรอดูกันต่อไป

แทนบอกว่าการหาศิลปินซึ่งไม่เชิงเป็นปัญหา แต่ต้องคิดเยอะ เจอน้องๆ เยอะ

บางคนอยากได้เขามากแต่เขาไม่ได้อยากอยู่กับเรา บางคนดีหมดแต่ทัศนคติไม่ตรงกันก็มี

จนวันนึงมาเจอศิลปิน 2 คนแรกของค่าย ก็รู้สึกว่าเริ่มต้นกับ 2 คนนี้น่าจะดี

ส่วนวิธีการหาศิลปินอย่างน้องจีเนียส ศิลปินคนแรกของค่าย เจอในยูทูบ ไปฟอลโลว์ไอจีเขา

เขาก็ทักกลับมา คนอื่นๆ มาจากคนแนะนำ ไปเจอและเรียกมาคุย แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการเจอยูทูบ ส่วนศิลปินคนที่ 2

มาจากครูสอนร้องเพลงคนนึงเห็นแววและแนะนำ ซึ่งจะปล่อยผลงานในปีนี้

ซึ่งตั้งแต่เปิดค่าย แทนบอกว่ามีคนส่งมาแนะนำเยอะมาก

มาทุกช่องทาง ก็พยายามเข้าไปฟังทุกคน หาที่เหมาะกับเซตนี้

ซึ่งศิลปินคนที่ 1-2

มีความใกล้เคียงเรื่องแนวเพลง คนที่ 3-5 ก็อยากให้เป็น

เซตเดียวกัน จะได้แข็งแรงในแง่ความเป็นค่าย

ส่วนฟีดแบ็กจากแฟนๆ คัตโตะบอกว่าก็ลุ้นๆ กันอยู่

ส่วนแทนบอกว่าคนรอบข้างอาจไม่เซอร์ไพรส์มาก

รู้สึกว่าวันนึงต้องทำ แต่เซอร์ไพรส์ตรงที่ทำในวันที่โควิดมา


อนาคต-ความคาดหวัง

แม้จะทำเพลงในช่วงโควิดระบาดหนัก แต่ทั้งคู่ก็คาดหวังว่าทุกอย่างมันจะดี

ซึ่งคัตโตะบอกว่า “ความคิดส่วนตัวลึกๆ คือเซนส์มันรู้สึกว่าดี และมันจะดีมากๆ ภายใน 3 ปีข้างหน้า

จนแทนอาจไม่เชื่อว่ามันดีขนาดนี้เลยเหรอ” ทำเอาแทนที่นั่งฟังอยู่ข้างๆ ถึงกับหัวเราะก่อนจะบอกว่า

“มันก็เหมือนการบ่มเมล็ด การทำสวน กว่าจะออกผลมันใช้เวลา กว่าจะเข้าที่เข้าทาง ถ้าไม่ทำตอนนี้มันไม่ทันแล้ว”

คัตโตะพูดต่อ “ที่บอกว่าดีมากๆ คือธุรกิจอาจจะไม่ได้สุดยอด ประสบความสำเร็จได้เงินเยอะ

แต่ผมเชื่อว่ามันจะบาลานซ์ ได้ทั้งความสุข ตัวตน กำไรนิดหน่อยที่พออยู่ได้”

แทนพูดติดตลก “ผมคาดหวังว่าขอเจ๊งแค่ 3 ปีพอ อย่าเจ๊งถึงปี 4-5”

ก่อนจะหัวเราะและบอกว่า “ขอให้ธุรกิจมันโอเคในปีที่ 3 เราก็รู้จักหลายๆ ค่าย

ก็พอเข้าใจวัฏจักรของการทำค่ายเป็นยังไง

เรากับคัตโตะอาจมีมุมมองไม่เหมือนคนอื่นบ้าง

ก็รู้สึกว่าน่าสนุกดี เป็นการลงทุนระยะยาวที่ตื่นเต้นดีเหมือนกัน"

ส่วนเป้าหมายที่จะทำเพิ่มเติม

แทนบอกว่าอยากมีออฟฟิศที่เอื้อในการเป็นค่ายเล็กๆ ของเรา

ตอนนี้เช่าห้องห้องเดียวซึ่งเล็กมากเพราะเพิ่งเริ่มทำ แต่อีก 2-3 ปีก็อยากทำบ้านเล็กๆ ที่มีห้องอัด ห้องถ่ายงาน

เป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ ให้มาช่วยกันทำเพลง ด้านคัตโตะบอกว่าเหมือนเป็นเจ้าของร้านกาแฟเล็กๆ แต่ร้านนั้นเป็นที่แต่งเพลงด้วย

ในส่วนเพลงใหม่จากวงลิปตา แทนบอกว่า “มีครับ อยากจะบอกทุกคนว่าวงยังอยู่นะครับ

ยังทำเพลงอยู่ ยังมีเพลงรอปล่อยอยู่ แต่ไปถ่ายเอ็มวีไม่ได้ (หัวเราะ)

จริงๆ เราทำเพลงสต๊อกไว้เยอะเหมือนกัน ภายในปีนี้จะมี 3 เพลงพิเศษ มีเพลงใหม่อีกเพลงที่จะปล่อยในนามของลิปตา

พอเจอโควิด ถ่ายงานไม่ได้ ก็เลยหยุดมานาน จริงๆ เพลงทำเสร็จตั้งแต่ต้นปีแล้ว ก็รอให้ทุกอย่างดีขึ้นกว่านี้ก่อนครับ”

นอกจากนี้แทนฝากถึงแฟนๆ วงลิปตาทุกคนว่า “ขอบคุณทุกคนครับ

พูดเสมอว่ามันไม่มีทางมาไกลขนาดนี้ได้ถ้าไม่มีคนที่ซัพพอร์ตมาตลอดทาง 16-17 ปี

ไม่ใช่ว่าทุกวงจะอยู่ยืนยงมาถึงตรงนี้ได้ ยังทำเพลงเรื่อยๆ ครับ ยังไม่ได้หายไปไหน แค่มีหมวกเพิ่มคือทำค่ายแค่นั้นเอง”

ส่วนคัตโตะเสริมว่า “ฝาก Kicks Records ด้วยนะครับ”


มิตรภาพ 17 ปี


จากวันแรกที่เจอกัน จนถึงวันนี้ที่วงลิปตายังคงเดินทางบนถนนแห่งเสียงเพลง 

เป็นเวลากว่า 17 ปีแล้วที่ แทน-คัตโตะ เป็นทั้งเพื่อนร่วมงานและเพื่อนสนิทของกันและกัน ซึ่งคัตโตะบอกว่า

“มันเร็วมาก มันเหมือนน่าจะไม่เกิน 10 ปี 17 ปีแล้วเหรอวะ” เมื่อถามว่าแต่ละคนนิสัยยังไง คัตโตะพูดถึงแทนว่า

“ผมว่าเขาเปลี่ยนไปเรื่อยๆ นะ ถ้าเป็นมุมมองเรา ผมไม่ตัดสินว่าเขาเป็นคนยังไง คือผมรู้สึกว่าการที่เรารู้จักคนคนนึง

ไม่ได้แปลว่าตอนที่เขาอายุ 17 อายุ 20 25 30 เขาจะต้องเป็นคนคนเดียวกัน”

ก่อนที่คัตโตะจะขยายความว่า “คือผมมองว่าแต่ละช่วงชีวิตของเขามีความคิดที่แตกต่างกันไป

ควรจะปรับตัวที่จะเรียนรู้อยู่ด้วยกันในทุกอายุ

แต่ถ้าให้พูดถึงภาพรวมคือเป็นคนอยากทำงาน เป็นคนที่มีระบบการจัดการ อันนี้เป็นคาแรกเตอร์ของเขา

ผมไม่รู้จะอธิบายยังไงดี คือบางทีการที่รู้จักคนคนนึงมากๆ เราอาจจะไม่รู้จักเขาเลยก็ได้ พูดแล้วอาจจะฟังดูเหมือนนามธรรม

แต่อย่างที่บอกว่าเขามีหลายคาแรกเตอร์จริงๆ ผมไม่ได้สนใจว่าเขาจะเคยเป็นยังไงมาก่อน

แต่อนาคตไปด้วยกันต่อก็โอเค คิดว่าคงจะปรับตัวที่จะเรียนรู้อยู่ด้วยกันได้”


จากนั้นแทนพูดถึงคัตโตะว่า “ผมก็จะพูดเสมอว่าการทำวงดูโอ้มันเป็นอะไรที่มากกว่าเป็นแฟนกัน

เพราะแฟนเราปี 2 ปีเปลี่ยนได้ แต่เราทำมา 17 ปี

มันต้องสนิทกันมากจนเส้นความสนิทมันจะต้องดูกันดีๆ และต้องเคารพกันเยอะๆ

ผมรู้สึกว่าเส้นตรงนี้ของคัตโตะมันโอเคอยู่

เพราะโตะจะรู้ว่าผมชอบไม่ชอบอะไร ผมก็รู้ว่าโตะชอบหรือไม่ชอบอะไร ผมเลยรู้สึกว่าการทำงานไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร”

ถึงตรงนี้คัตโตะบอกว่า “ถ้าให้ผมนิยามนะ ผมเป็นคนชิลแล้วกัน แต่แทนจะเป็นคนไม่ชิล

จริงๆ ไม่ใช่ไม่ดีนะ แต่หมายความว่าเป็นคนที่ทำงานต้องอยู่บนเส้น ก็เลยเป็นเหมือนหยินหยาง”

แทนเสริมว่า “ถ้าเกิดมันเครียดคู่มันอาจจะเยอะไป แต่ถ้าชิลคู่อาจจะเย็นไป แต่อันนี้มีทั้งชิลและไม่ชิลก็เลยโอเค

เหมือนผมเป็นคนจัดการในหลายๆ เรื่อง คัตโตะอาจเป็นคนคิดมากกว่า

มันเลยมีความบาลานซ์กัน” คัตโตะพูดต่อ “เหมือนเวลาโชว์ ผมก็จะออกนอกลู่นอกทางให้โชว์มีความเป็นมนุษย์สนุกสนาน

แต่แทนจะมีเมนของเรื่อง Technical ให้มันเป็นเสาที่ไม่เอียงมาก”

ทั้งคู่ยอมรับว่าตลอด 17 ปีที่รู้จักกันมีทะเลาะกันบ้าง ซึ่งคัตโตะบอกว่าทะเลาะกัน

ไม่สำคัญเท่ากับว่ายังคุยอยู่มั้ย การทะเลาะเป็นจุดนึงของการปรับตัว

ถ้าทะเลาะแล้วไม่เอาแล้วก็แปลว่าไม่อยากทำงานด้วยกันแล้ว จากนั้นแทนบอกว่า

“เคยฟังสัมภาษณ์หลายวงที่บอกว่าเสียดายที่ไม่ทะเลาะกัน เพราะรู้สึกว่ามันไม่ได้คุยกัน”

คัตโตะเสริม “เป็นผู้ชายก็ทะเลาะกันไปเลยจะได้จบ”

โมเมนต์สุดประทับใจในการทำงาน แทนเล่าถึงวันที่ไปเล่นคอนเสิร์ตที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ไปมา 2 ครั้ง สนุกทุกครั้ง มันต่างจากการเล่นคอนเสิร์ตในเมืองไทย

เล่นในเมืองไทยสนุกทุกครั้ง แต่เล่นที่ลอนดอนมันพิเศษ

รู้สึกว่าการเล่นดนตรีทำให้เราไปได้ไกลเหมือนกัน จัดคอนเสิร์ต 700-800 คน

แล้วเขาซื้อบัตรคอนเสิร์ตแพงๆ มาดูเรา มันค่อนข้างพิเศษมาก

ส่วนคัตโตะบอกว่า “คอนเสิร์ตใหญ่ของวงลิปตาก็ดีเหมือนกัน

ทุลักทุเลทุกครั้ง แต่ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากแฟนเพลง

เราทำเต็มที่แต่ก็มีแอกซิเดนท์ทุกครั้ง แฟนเพลงก็บอกว่าเลิศพี่ แต่ผมคิดในใจว่าเละทุกครั้ง”

ก่อนจะหัวเราะเสียงดัง

แทนบอกว่า “ตอนนั้นจัดที่อิมแพ็คเมื่อ 5 ปีที่แล้ว คัตโตะก็หมอนรองกระดูกอักเสบ

เป็นคอนเสิร์ตที่ทุลักทุเลปวดหัวปวดใจ ผมไม่รู้จะเอาอะไรมาอธิบายกับ 3 ชม. ตรงนั้น

ตอนจบผมนั่งลงกับพื้นร้องไห้กินเหล้า มันเหนื้อยเหนื่อยกับทุกอย่าง

คือเหมือนมันเครียดมาไม่รู้กี่วัน จะยกเลิกก็ไม่ได้อีก แต่พอผ่านไปได้ก็ตลกดีครับ”

คัตโตะเสริม “แต่แฟนเพลงชอบ อุ๊ย สตอรี่มี แต่ถาม-ูด้วย (หัวเราะ)”

ปิดท้ายกับคำถามว่าอยากบอกอะไรกันและกันมั้ย แทนบอกว่า “ของผมไม่มีอะไรครับ

ผมแค่อยากบอกว่าทุกครั้งที่โทร.หาคัตโตะช่วยรับหน่อยครับ เรื่องอื่นผมเฉยๆ (หัวเราะ)”

คัตโตะรีบบอกว่า “ไม่รับเลยเดี๋ยวนี้” แทนพูดต่อ

“คือบางครั้งมันเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องถาม ถ้าตัดสินใจเลยก็จะอ้าว อะไรวะ”

ส่วนคัตโตะบอกว่า “ของผมไม่มีครับ ผมชิลเลย ดูแลตัวเองกันได้ทุกคน”



ผู้เขียน : Penguin บินได้

ภาพ : Kicks Records

กราฟิก : Chonticha Pinijrob


https://www.youtube.com/watch?v=L5SSKx7H-gA




Oct 1, 2022

Hello, October

 


Once

ขอให้ทุกความพยายามมีความหมาย

มีเวลานอน มีเวลาฝัน มีเวลาสำหรับคนที่รัก

มีเวลาสำหรับความสุขของตัวเอง

国庆节快乐 Happy National Day

 




ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำรัสรัตน์ พิชัยชาญณรงค์

ภาพประกอบจาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/854168










คุณแหน : 29 กันยายน 2565

วันพฤหัสบดี ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565, 06.00 น.







ll กองทุนพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ร่วมกับวัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ อ.แม่แตง เชียงใหม่ขอเชิญทุกท่านร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพถวายผ้าพระจุลกฐิน โดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จทรงเป็นประธานถวายผ้าพระจุลกฐิน ณ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ 29 ต.ค. (ทำบุญตามกำลังศรัทธา) ชื่อบัญชี วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ (กฐิน) ธนาคารออมสินสาขาแม่แตงเลขที่บัญชี 020333260832...

ll วรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์ สุดปลื้มที่ บมจ.เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP) ได้รับการปรับเพิ่มอันดับเครดิตองค์กรจาก บจ.ทริสเรทติ้ง เป็น BBB+ ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิตคงที่...

ll หลังอุทิศร่างเป็นอาจารย์ใหญ่กว่า 5 ปี สุคนธ์ ศรโชติ น้องชาย คุณหญิงวิบูลวรรณ พันธุ์กระวีจะมีพิธีสวดพระอภิธรรม 7 ต.ค.19.00 น.ศาลา 12 วัดมกุฏฯ และพระราชทานเพลิงศพ 8 ต.ค.14.00 น....

ll สวด จำรัสรัตน์ พิชัยชาญณรงค์ พี่สาว ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ ณ ศาลาวรรณสุพิณวัดธาตุทอง 26-30 ก.ย. 18.30 น.ฌาปนกิจ 1 ต.ค. 14.00 น. เมรุหลัง...

ll งาน 67th YWCA Diplomatic CharityBazaar 2022 คัดสรรช็อปสินค้าดีมีคุณภาพ อาหารอร่อย จากสถานทูตทั่วโลก29 ก.ย.-2 ต.ค. บัตรเข้างาน 50 บาทรับช้อปปิ้งแบ๊กใบใหญ่ 1 ใบ รายได้จากการจัดงาน จะนำไปช่วยเหลือเด็ก สตรีและผู้ด้อยโอกาส ที่ ณ เซ็นทรัลเวิลด์ ไลฟ์ ชั้น 8ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์...

ll สภาสังคมสงเคราะห์ฯ เชิญชวนคนพิการ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ร่วมส่งผลงานประกวดเรียงความในหัวข้อ “คนพิการเทิดไท้ ถวายพระพรชัย 90 พรรษา สมเด็จพระพันปีหลวงในดวงใจ” ในงานวันคนพิการ ครั้งที่ 53 ประจำปี 2565 ส่งงานได้ถึงวันที่ 18 ต.ค. รายละเอียด www.ncswt.or.th...

ll นันทวัน สุริยกุล ณ อยุธยา เป็นตัวแทนวังบ้านหม้อ ถวายกระเบื้องเดิมหลังคาท้องพระโรง วังบ้านหม้อ แก่ตัวแทนพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระราชมหาเจติยาภิบาล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารรับมอบถวาย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป...

ll 2 บิ๊กบอสใหญ่แห่งกลุ่มเซ็นทรัลพิชัย และ บุษบา จิราธิวัฒน์ เชิญชวนร่วมงาน Central Group Women Cancer ชวนทำดี ช่วยผู้ป่วยมะเร็งสตรี พบกับ 6 บูธกิจกรรม แฮร์สไตลิสต์มือทองไก่ สมพร, หรั่ง พรเทพ พร้อมทีมงานแห่ง The Lounge Hair Salon และซัน สมายล์คลับ และทีมงาน ที่จะมาออกบูธตัดผมในราคาเพียง 1,000 บาท, การถักทอวิกผมแท้, เพ้นท์ถุงผ้า, เย็บเต้านมเทียม และลุ้นรางวัลจากบูธทำดี ซึ่งรายได้ทั้งหมดสมทบทุนจัดซื้อ “เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์” 3 ต.ค. 10.30-12.00 น. ณ อีเดน ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์...