Custom Search

May 31, 2009

ตะลึงคนไทยใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ยวันละ 1,800 ตัน




คมชัดลึก : ตะลึงคนไทยใช้ถุงพลาสติก
เฉลี่ยวันละ 1,800 ตัน ทส.เพิ่งตื่นรณรงค์ 45 วัน
ตั้งเป้าลดได้ 10% พร้อมงัดมาตรการทางภาษี

และกฎหมายช่วยหากไม่ได้ผล นายสุวิทย์ คุณกิตติ
รมว.ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
พร้อมด้วยนายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดทส.
และผู้แทนจากภาคเอกชน 14 แห่ง

นำโดยนายสุวิทย์ กิ่งแก้ว
รองนายก
สมาคมผู้ค้าปลีกแห่งประเทศไทย
เข้าร่วมโครงการ“45 วันรวมพลังลดถุงพลาสติก ลดโลกร้อน” เนื่องในโอกาสวันคุ้มครองโลก 22 เมษายน
โดยโครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 5 มิถุนายน 52
ซึ่งเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก
รมว.ทส.
กล่าวว่าจากการสำรวจปริมาณขยะทั่วประเทศ
มีมากกว่า 40,000 ตันต่อวัน
เฉพาะในกทม.มีขยะที่เก็บได้ 8,500 ตันต่อวัน
เป็นขยะจากถุงพลาสติก 1,800 ตันต่อวัน
ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเก็บขนถึง 1.78 ล้านบาทต่อวัน
ซึ่งหากสามารถลดการใช้ถุงพลาสติก
จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บขน 650 ล้านบาทต่อ
ปี
และลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1 ล้านตันต่อปี
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
จึงเลือกรณรงค์การลดขยะจากถุงพลาสติกเป็นอันดับแรก
เนื่องจากเป็นขยะที่ไม่สามารถกำจัดได้เพราะไม่ย่อยสลายในธรรมชาติ
อีกทั้งสามารถดำเนินการได้ทันที

ส่วนการใช้มาตรการทางกฎหมายห้ามใช้ถุงพลาสติกนั้น
นายสุวิทย์กล่าวว่า คงต้องรอดูว่าภายในระยะเวลา 45 วัน
คนไทยจะมีส่วนร่วมในการลดใช้ถุงพลาสติกได้มากน้อยแค่ไหน

ทส.ตั้งเป้าว่าควรจะลดได้ราว 10% หรือประมาณ 15 ตันต่อวัน
จากปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งออกมา
แต่ในอนาคตอาจจะใช้มาตรการทางภาษีเข้ามาดำเนินการ
เพราะในช่วงปี 2551 หลายประเทศทั่วโลกมีมาตรการ
จำกัดการใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจังแล้ว
บางประเทศถึงขั้นห้ามใช้ถุงพลาสติก

“ห้างสรรพสินค้าหรือร้านสะดวกซื้อจะมีการปรับวิธีการใช้ถุงพลาสติกให้น้อยลง
เช่น เดิมซื้อสินค้า 10 ชิ้นอาจต้องใส่ถุงพลาสติก 10 ถุง

แต่นับแต่วันที่ 22 เมษายน อาจใส่ถุงให้แค่ 2-3 ใบ
บางแห่งเริ่มใช้ถุงผ้าที่มีหมายเลขสมาชิกของผู้ซื้ออยู่แล้ว
เมื่อนำไปใส่ของก็จะลดราคาสินค้า”
นายสุวิทย์ กล่าว

นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่ากำลังทดลองใช้ถุงพลาสติกชีวภาพ
ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แม้ว่าขณะนี้จะยังมีราคาแพงกว่า
ในอนาคตอาจจะใช้มาตรการทางภาษีมาช่วยเหลือ

เพื่อให้ถุงพลาสติกชีวภาพมีราคาถูกลง
หรืออาจจะรีไซเคิลถุงกระดาษนำกลับมาใช้ใหม่

สำหรับ 14 ภาคีที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวประกอบด้วย 22 ศูนย์การค้า
ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ
อาทิ ฟู้ดแลนด์ซูเปอร์มาร์เก็ต วิลล่ามาร์เก็ต เดอะมอลล์ จัสโก้ สยามแมคโคร
สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ คาร์ฟูร์ เซเว่น อีเลฟเว่น
โรบินสัน บิ๊กซี เป็นต้น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพลาสติกและอุตสาหกรรมบดย่อย

พลาสติก

 :

May 30, 2009

ของใกล้มือ


คอลัมน์ แท็งก์ความคิด

นฤตย์ เสกธีระ

max@matichon.co.th

มติชน

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


มีโอกาสขึ้นเหนืออีกแล้วครับท่าน จังหวัดที่แวะพักยังคงเป็น
จังหวัดแหล่งประวัติศาสตร์เหมือนเดิม
อย่าง
"อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร"
เมืองที่คนโบราณค้นพบศิลาแลงที่แข็งประดุจเพชร

นำมาก่อเป็นกำแพงเมืองเพื่อป้องกันอริราชศัตรู หรือ "ศรีสัชนาลัย"
เมื
องคู่บุญบารมีกับสุโขทัย แม้แลดูจะมีศักดิ์ด้อยกว่า
เพราะเจ้าผู้ปกครองมักเป็น"พระรอง"

จากเจ้าเมืองกรุงสุโขทัย แต่เมื่อเทียบเปรียบในเรื่องความเก๋ากึ๋กแล้ว
ศรีสัชนาลัยน่าเที่ยวน่าชมอยู่ไม่ใช่น้อยเช่นกัน

"การเดินทางครั้งนี้เป้าหมายอยู่ที่วัดศรีโคมคำ เมืองพะเยา"
"ได้ร่วมงานมหามงคลของหลวงพ่อเจ้าอาวาส"

กราบนมัสการ ได้พระศักดิ์สิทธิ์ติดมือมาแบบกำไม่ยอมแบ
โน้มนำไปบูชาที่บ้านเพื่อเป็นสิริมงคล
ขากลับยังคงแวะเวียนวัดวาอารามโบราณอีกหลายแห่ง
ทุกครั้งที่เหยียบย่างเข้าไปในวัด ความรู้สึกเย็นและสงบจะเกิดขึ้นโดยพลัน
ไม่รู้เป็นเพราะอะไร
อาจเป็นเพราะภายในเขตบริเวณวัด
เป็นสถานที่ซึ่งเรารู้สึกปลอดภัย
การเคลื่อนไหวภายในบริเวณวัด
ไม่เร่งรีบ ไม่รวบรัด
อาคารสถานที่ภายในวัด เป็นสิ่งปลูกสร้างถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ย
คือดูทิศทางลม ทิศทางแดด เป็นอย่างดี
วัดจึงกลายเป็นสถานที่ให้ความร่มเย็นทั้งกาย และใจ
หลังจากท่องวัดเที่ยวชมพระ
พุทธรูป
และนมัสการหลวงพ่อที่เคารพไปหลายวัน

พวกเราก็กลับมาถึงกรุงเทพ
ระหว่างการเดินทางโดยรถยนต์ที่ใช้เวลานานพอควร
ได้ถือโอกาสอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง
หนังสือเล่มนี้มีคนจะโละทิ้ง
แต่พอสายตามองไปเห็น ก็รีบหยิบฉวยขึ้นมา
บอกเขาว่า
ถ้าจะทิ้งก็ขอเก็บไว้เองเถอะ
เสียดาย ! ครับ
ใครได้เห็นชื่อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ก็ต้องเสียดายทั้งนั้นล่ะครับ

""อิทัปปัจจยตา ของท่านพุทธทาสภิกขุ""

ฉบับย่อความโดย "เช่นนั้นเอง" แม้สภาพภายนอกดูยับเยินเล็กน้อย
แต่เนื้อหาภายในยังทรงพลานุภาพ

หนังสือเล่มนี้บอกแต่เพียงว่า
"หลักอิทัปปัจจยตา คือ หัวใจของทุกสรรพสิ่ง"

"เมื่อสิ่งๆ นี้มี สิ่งๆ นี้จึงเกิด"

คำๆ นี้มันเหมือนสุดยอดของเคล็ดวิชาในหนังกำลังภายใน
"เมื่อสิ่งๆ นี้มี สิ่งๆ นี้จึงเกิด"
ฟังแล้วเท่กว่าคำพูดของโกวเล้งเสียอีก
พออ่านหนังสือเล่มนี้จบ

"สัญญา"ก็เตือนให้ระลึกถึงหนังสืออีกเล่ม
ทำให้คิดถึงหนังสือ ""สูตรของท่านเว่ย หล่าง""
ขึ้นมาอีกเล่ม
เล่มนี้ท่านพุทธทาสเป็นผู้แปล
หนังสือเล่มนั้นนอกจากจะเล่มถึงประวัติ
ของพระสังฆปริณายกองค์ที่ 6 แห่งนิกายเซนแล้ว

"ยังอธิบายเรื่อง "ความว่าง" ได้ถึงแก่น"
อ่านจบทำให้เคลิ้ม เผลอคิดแบบเซน
เมื่อใจว่าง อดีตก็จบ ปัจจุบันไม่เกิด
แล้วจะไปพูดถึงอนาคตกันทำไม

ซาโตริ !
แหะ แหะ ไม่ได้เก่งกาจอะไรหรอก
แบบว่า เลียนแบบเขามาน่ะ

แต่เมื่อเปรียบเทียบประสบการณ์
ที่ได้ท่องเหนือ
ผนวกกับหนังสือ 2 เล่มที่ยกตัวอย่างขึ้นมา
รู้สึกเห็นใจคนโบราณที่คร่ำเคร่ง
หลายคนต้องเรียนหนักว่าจะทำความเข้าใจคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ได้
พรหมณ์ต้องสืบทอดความรู้ในวรรณะกว่าจะศึกษาคัมภีร์ไตรเวชได้ครบ
พระสงฆ์ก็ต้องอ่านบาลี-สันสกฤตได้คล่องเพื่อทำความเข้าใจในธรรม
ส่วนชาวบ้านทั่วไป มีโอกาสแต่เพียงฟัง
และปฏิบัติตามเท่านั้น

ชาวบ้านหลายคนขาดโอกาสทำความเข้าใจ"เคล็ดวิชา"ในคัมภีร์
เพราะไม่รู้ภาษาชั้นสูงที่จารึกอยู่ในตำรา

ผิดกับคนสมัยปัจจุบันนี้ครับ นอกจากเราจะมีพระสงฆ์ที่สืบทอดพระธรรมคอยสอนสั่งแล้ว
เรายังมีหนังสือที่อธิบาย "เคล็ดวิชา" ในคัมภีร์พระธรรมต่างๆ ให้ทราบด้วย
"หนังสือเหล่านี้ ได้ทำเรื่องยากให้กลายเป็นเรื่องง่าย"
ทำให้เส้นทางสู่ความสงบในปัจจุบัน มีมากกว่าการฟัง และปฏิบัติตาม
"ทำให้เส้นทางสู่ความสงบ เริ่มต้นที่การศึกษาพระธรรมด้วยตัวเอง"
เมื่อศรัทธาแล้วจึงปฏิบัติ...ก็ได้
แถมวิธีที่จะนำไปสู่ความสุข ความสงบ ก็มิได้มีเพียงวิธีเดียว
ใครจะใช้วิธีแบบที่ท่านพุทธทาสสอนสั่งก็ได้
ใครจะใช้วิธีแบบที่ท่านเว่ย หล่าง ถ่ายทอดออกมาก็ได้
หรือใครจะใช้วิธีอื่นๆ ที่มีอยู่มากมายก็ได้อีกเช่นกัน
วิธีการเหล่านี้ นอกจากจะมีในหนังสือเล่มแล้ว
ยังมีปรากฏอยู่ในสื่อมวลชนแขนงต่างๆ
มีปรากฏในหนังสือพิมพ์
นิตยสาร รายการโทรทัศน์ และวิทยุ

วันนี้เส้นทางสู่ความสงบจึงมิได้อยู่ที่วัดวาอารามเพียงอย่างเดียวเหมือนสมัยโบราณ
"หนทางสู่ความสงบเดี๋ยวนี้ มีอยู่ในทุกๆ ที่รอบๆ ตัวเรา"
หากแต่บางครั้งเรามองไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ
เหมือนคนที่มองไม่เห็นคุณค่าพ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก เมีย สามี
และเพื่อนสนิท ที่อยู่ใกล้ๆ ตัว

เหมือนชุมชนบางชุมชนที่มองไม่เห็นคุณค่าของท้องถิ่นตัวเอง
เหมือนคนไทยบางคนที่มองไม่เห็นคุณค่าของแผ่นดิน
เหมือนมนุษย์ที่มองไม่เห็นคุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เมื่อเรามองไม่เห็นคุณค่าของสิ่งที่เรามีอยู่
ก็เท่ากับเราเสียโอกาสที่จะนำคุณค่าเหล่านั้นมาใช้

ดังนั้น ก่อนจะแสวงหาคุณค่าจากที่ไกลๆ
"ลองหันค้นหาคุณค่าจากคน และสิ่งของที่อยู่รอบๆ ตัวเราก่อนก็ไม่เลวนะครับ"

สวัสดี


หน้า 17

ความถ่อมตน


คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ

เสฐียรพงษ์ วรรณปก

มติชน

ภาพ/เรื่อง

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552



พฤกษาสู่กิ่งยามมีผลดก
ยามฝนจะตกเมฆคล้อยลงต่ำ
สัตบุรุษผู้ทรงธรรมไม่หยิ่งเพราะศฤงคาร
ยิ่งมีมากยิ่งให้ทานช่วยเหลือคนอื่น
ข้อเปรียบเทียบนี้ได้ภาพพจน์ดี

คนที่อ่อนน้อมถ่อมตนนั้นทำตัวไม่ต่างอะไรกับต้นไม้ผลดกโน้มกิ่งลง
ไม่เย่อหยิ่ง จองหอง "น่าเตะ" เหมือนคนกระด้างถือตัว
พูดถึงคนประเภทหลังนี้ทำให้นึกเห็นภาพแมลงป่องที่
"ชูแต่หางเองอ้าอวดอ้างฤทธิ์" ทั้งที่ไม่มี "ฤทธิ์" อะไรจะอวด


โลกมันไม่พอดีครับ คนที่ไม่มีอะไรก็มักอยากอวดว่าตัวมีอะไรมากมาย
ส่วนคนที่เขามีพร้อมทุกอย่างมักจะไม่อวด ดูพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง


พระองค์ ทรงค้นพบสัจธรรมสูงสุดด้วยตนเอง
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ไม่มีใครสอน
กระนั้นพระองค์ก็ยังทรง "ถ่อมพระองค์" ยกธรรมให้เป็นใหญ่
ทรงเคารพพระธรรม เวลาสาวกสวดธรรมหรือแสดงธรรม
พระพุทธองค์ทรงฟังด้วยความเคารพ


พระองค์ทรงสอนว่า ความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นอุดมมงคล
หรือเป็นสิ่งที่นำพาชีวิตไปสู่ความเจริญงอกงามอย่างหนึ่ง


ความถ่อมตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความกระด้าง (ภาษาบาลีว่า ทัปปะ)
ความกระด้างหรือความเย่อหยิ่งจองหองของปุถุชนมักมาจากเรื่องชาติ โคตร ทรัพย์
เป็นสำคัญ ถ้าเกิดในตระกูลสูง โคตรเหง้าเหล่ากอมีชื่อเสียง
แถมมีเงินเป็นถุงเป็นถัง โอกาสที่จะเย่อหยิ่งผยองก็มีมากขึ้น


ถ้าเป็นลูกตาสีตาสาไร้การศึกษา แถมยากจนอีกต่างหาก
(ตาสีตาสาที่ร่ำรวยไม่ค่อยมีอยู่แล้ว) ไม่ต้องร้อง "คนจนมีสิทธิไหมครับๆ"
ให้เมื่อยปาก ไม่มีสิทธิมาสะเออะหน้าโอ้อวดใครอยู่แล้ว
ทางที่ดีให้อ่อนน้อมถ่อมตน ทำตนให้น่าสงสารเข้าไว้
ไม่เพียงชาติ โคตร ทรัพย์ เท่านั้น ความรู้หน้าที่การงานยศศักดิ์อัครฐาน เป็นต้น
ก็เป็นสาเหตุให้คนกระด้างถือตัวได้ง่ายเช่นกัน เช่น
มีตำแหน่งสูงส่งระดับรัฐมนตรี รัฐมนโท ก็มักจะลืมว่า
คนอื่นที่ด้อยฐานะโอกาสกว่าตัวก็เป็นคนเหมือนกัน ถือตัวว่าเหนือกว่า
ดีกว่า ถูกกว่าคนอื่น ใครไปตอแยเข้าอาจโดนเตะตกเรือนเอาง่ายๆ


ที่พูด นี้ก็ใช่ว่า คนที่มีชาติตระกูลสูง มีการศึกษาดี มีหน้าที่การงานสูง ฯลฯ
จะเป็นคนเย่อหยิ่งจองหองทุกคนก็หาไม่
คนที่มีข้อได้เปรียบทางสังคมเหล่านี้มากมายที่ยิ่งมีมากยิ่งอ่อนน้อมถ่อมตน
น่าเคารพนับถือจริงๆ


คนที่ไม่มีอะไรเลย ใช่ว่าจะไม่เย่อหยิ่งจองหองก็หาไม่อีกเช่นกัน
ประเภทหลังนี้ก็มี "ตัวดี" มิใช่ย่อย ทั้งที่ไม่มีอะไรมากนี่แหละ
แกก็หาเรื่องอวดโม้จนได้ ลงคนจะคุยโม้โอ้อวดถือตัวแล้ว
ไม่ต้องถึงเป็นรัฐมนตรีดอก แค่เลขาฯรัฐมนตรี
หรือคนถือกระเป๋าตามหลังรัฐมนตรี แกก็วางฟอร์มใหญ่โตคับฟ้าได้


พระพุทธองค์จึงตรัสว่า คนที่หยิ่งเพราะชาติ หยิ่งเพราะโคตร
หยิ่งเพราะทรัพย์ ดูถูกคนอื่นแม้กระทั่งญาติของตนก็ไม่เว้น
ย่อมประสบหายนะ ดุจเดียวกับพวกศากยะพระประยูรญาติของพระองค์


พวกศากยะพระประยูรญาติ ของพระพุทธเจ้าได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีทิฐิมานะสูง
ถือตัวว่ามีสายเลือดบริสุทธิ์ ไม่ยอมให้สายเลือดระคนปนกับคนต่างเผ่าพันธุ์
จึงแต่งงานกันเองระหว่างพี่น้อง


เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้า พิมพิสารหลังจากตรัสรู้ไม่นาน
และได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธนั้น
พระพุทธบิดาทรงส่งคณะทูตไปกราบทูลอัญเชิญเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ตั้งหลายครั้ง
พระองค์ก็มิได้เสด็จจนกระทั่งสุดท้ายส่งกาฬุทายีอำมาตย์ไป
พระพุทธองค์จึงทรงรับอาราธนา


ผู้แต่งพุทธประวัติตอนนี้เล่าว่า คณะทูตที่ไปพอได้ฟังพระธรรมเทศนา
ก็เลื่อมใสกราบทูลขอบวช ลืมคำสั่งพระเจ้าสุทโธทนะหมดสิ้น
นั่นคงเป็นเหตุผลหนึ่ง


เหตุผลอีก อย่างหนึ่ง น่าจะเป็นเพราะทิฐิมานะของพวกศากยะเองก็ได้
พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นว่า ถ้าพระองค์รีบเสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสดุ์ทันทีที่ตรัสรู้
พวกศากยะคงไม่ยอมรับ อาจแสดงความดูหมิ่นต่างๆ นานา
ล่วงล้ำก้ำเกินพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นบาปเป็นกรรมเปล่าๆ
รอให้โลกยอมรับนับถือพระองค์อย่างกว้างขวางแล้วค่อยเสด็จกลับเมืองมาตุภูมิ
ทิฐิมานะของพวกศากยะอาจคลายลง
เมื่อทราบว่าเจ้าชายสิทธัตถะนั้นเดี๋ยวนี้มิใช่ธรรมดาแล้ว
เป็นถึงพระศาสดาเอกในโลก ขนาดพระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าปเสนทิโกศล ยังถวายตนเป็นสาวก ซึ่งก็จริงดังนั้น
เมื่อพระองค์เสด็จไปจริงๆ พระประยูรญาติทั้งหลายก็ยอมรับพระพุทธองค์
ยอมถวายบังคมและฟังธรรมเทศนา
มีบ้างบางคนที่แสดงความกระด้างกระเดื่องในตอนแรก
แต่ที่สุดก็คลายทิฐิมานะ


คราวหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอยากเป็นพระญาติสนิท
กับพระพุทธองค์ทางสายเลือด จึงทรงส่งคนไปขอขัตติยกัญญา
จากเผ่าศากยะเพื่อภิเษกสมรส
พวกศากยะไม่อยากให้สายเลือดอันบริสุทธิ์ของพวกเขาระคนกับคนต่างเผ่า
จึงส่งธิดานางทาสีอันเกิดแต่เจ้ามหานามศากยะไปให้
ความลับถูกเปิดเผยในภายหลัง พระเจ้าปเสนทิโกศลกำลังจะยกทัพมาบดขยี้
พวกศากยะอยู่พอดี พระพุทธองค์เสด็จไปห้ามไว้
เกือบไปแล้วครั้งหนึ่ง


ครั้งที่สอง เจ้าชายวิฑูฑภะที่เกิดจากนางทาสีนั่นแหละ
เมื่ออายุได้ประมาณ 7 ขวบได้กลับไปเยี่ยมพระเจ้าตาที่เมืองกบิลพัสดุ์
ได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากพวกญาติๆ ขนาดหนัก
กระทั่งสั่งให้เอาน้ำนมมาล้างที่เจ้าชายน้อยประทับนั่ง
ว่ากันว่าล้างเสนียดจัญไร ว่าอย่างนั้น
ความข้อนี้รู้ถึงเจ้าชายน้อยเข้าทรงผูกพยาบาทว่า
"ได้เป็นใหญ่มาเมื่อใด กูจะเอาเลือดในลำคอของพวกมันล้างตีนกูให้ได้
ตอนนี้ปล่อยให้มันเอาน้ำนมล้างที่นั่งกูไปก่อน"


ครับ บุญคุณต้องทดแทน แค้นต้องชำระ
เมื่อเจ้าชายเติบใหญ่ขึ้นก็ได้ปฏิวัติยึดราชสมบัติจากเสด็จพ่อ
ยกทัพไปหมายล้างแค้นให้สาแก่ใจ พระพุทธเจ้าเสด็จมาห้ามไว้ถึงสามครั้งสามครา
ในที่สุด พระองค์พิจารณาเห็นว่ากรรมเก่าของพวกศากยะตามทันไม่สามารถห้ามได้
จึงปล่อยให้ไปตามกรรม พวกศากยะถูกกองทัพพระเจ้าวิฑูฑภะทำลายล้างจนหมดสิ้น
(ที่เหลือรอดชีวิตจากสงครามคราวนั้นอาจมีบ้าง
แต่ที่แน่ๆ หลังสงครามล้างโคตรครั้งนั้น
ประวัติศาสตร์ไม่ได้พูดถึงพวกศากยะอีกเลย)


พระพุทธองค์ตรัสในภายหลังว่า พวกศากยะกระด้างเพราะชาติ โคตร และทรัพย์
ดูหมิ่นแม้กระทั่งญาติของตน จึงประสบหายนะดังที่เห็น
นี่คือผลของกรรมใหม่ที่พวกศากยะกระทำในชาตินี้

ส่วนกรรมเก่านั้น พวกศากยะเคยเอายาพิษเบื่อปลาตายเกลี้ยงสระ
ผลกรรมจึงตามทัน

บุญ-บาป มีจริงครับ ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า เห็นๆ กันในชาตินี้มากมาย

หน้า 6

May 29, 2009

ธรรมะสู้ชีวิต โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก




คอลัมน์ คนกับหนังสือ
ดุษฎี สนเทศ

มติชน

วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


"ธรรมะ" คำสั้นๆ คำนี้คือคำตอบที่มีประโยชน์มหาศาล
แต่ต้องอาศัยความเข้าใจในแก่นแท้ของหลักธรรมและการนำไปใช้ในชีวิตจริง
เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต หยิบยกเรื่องราวธรรมะผ่านน้ำหมึกอีกครั้งในหนังสือ "ธรรมะสู้ชีวิต"
อธิบายวิธีการต่อสู้อุปสรรคต่างๆ ด้วยวิถีธรรม ยกตัวอย่างเรื่องเล่าคติสอนใจ ทั้งเรื่องในสมัยพุทธกาลและยุคใหม่
ทำให้เข้าใจธรรมะอย่างถ่องแท้ยิ่งขึ้น โดยเน้นเรื่องความพากเพียรพยายาม การยืนหยัดต่อสู้ด้วยตนเอง
ตามหลักแห่งการพึ่งตนเองในแนวทางพระพุทธศาสนา มากกว่าจะฝากชีวิตไว้กับความฝันลมๆ แล้งๆ
ให้ผู้อ่านได้ข้อคิด เป็นสติและกำลังใจในการดำเนินชีวิต
เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต ปราชญ์แห่งพุทธศาสตร์ของประเทศไทย
เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2482 จ.มหาสารคาม บวชเป็นสามเณรที่วัดอัมพวัน และเป็นสามเณรรูปแรกในรัชกาลปัจจุบัน
ที่สอบได้เปรียญ 9 ประโยค จากนั้นอุปสมบทในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ได้รับทุนมูลนิธิเอเชียและมูลนิธิการศึกษาวัดทองนพคุณไปศึกษาที่ตรีนิตี้คอ ลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาภาษาตะวันออกโบราณ นับเป็นพระไทยรูปแรกที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยแห่งนี้
20 ปีต่อมาได้ลาสิกขามาเป็นอาจารย์สอนที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อนลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ.2535
และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตประเภทปรัชญา สาขาศาสนศาสตร์ และเป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาปรัชญาศาสนา
พหูสูตแห่งพุทธศาสตร์ท่าน นี้มีผลงานหนังสือทางวิชาการและกึ่งวิชาการกว่า 100 เล่ม อาทิ ธรรมะนอกธรรมาสน์, ธรรมะ How To,
เนื้อติดกระดูก และล่าสุด "ธรรมะสู้ชีวิต" ที่สอนว่า ปัญหามีไว้ให้แก้ ความท้อแท้มีไว้ให้ฟันฝ่า

หน้า 3

May 27, 2009

ฆ่าหมีขาวเพื่ออนุรักษ์


วรากรณ์ สามโกเศศ

มติชน

วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


หมี ขาวหรือ Polar Bear (Ursus Maritimus)
กำลังจะสูญพันธุ์ แต่ทางการรัสเซียกำลังจะอนุญาต
ให้ล่าได้เพื่อถนอมไว้ไม่ให้สูญพันธุ์
เหตุใดนโยบายจึงสวนทางกับตรรกะของมนุษย์ทั่วไป


Polar Bears มีถิ่นอาศัยอยู่ในมหาสมุทรอาร์คติค ที่ขั้วโลกเหนือในบริเวณ Chukotka
ซึ่งเป็นดินแดนตะวันออกของรัสเซีย ติดต่อกับดินแดนตะวันตกของสหรัฐอเมริกา
(รัฐอลาสกา) สองประเทศเพื่อนบ้านนี้มีเพียงช่องแคบ Bearing
คั่นอยู่มิฉะนั้นก็เป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน บริเวณ Chukchil Sea และ Bearing Sea
ซึ่งอยู่เหนือและใต้ของช่องแคบ Bearing ตามลำดับ
คือพื้นที่ๆ เป็นปัญหาหมีขาว


ปกติหมีขาวจะอาศัยอยู่บนแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรที่
ไกลออกไปนอกฝั่งทะเลและล่าสัตว์โดยเฉพาะตัว Walrus
(หน้าตาน่าขันคือตัวใหญ่มากหนักถึง 2,000 กิโลกรัม มีฟัน 2
ซี่ยาวลงมาและมีหนวดโดดเด่น) เป็นอาหาร
ปัจจุบันสภาวะโลกร้อนทำให้แผ่นน้ำแข็งละลายไปมาก
Walrus ก็มาอยู่อาศัยบนฝั่งที่มีน้ำตื้นมากขึ้น
ดังนั้น หมีขาวจึงต้องเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งและบนฝั่งที่ใกล้มนุษย์มากขึ้นเพื่อหาอาหาร
ซึ่งทำให้หมีขาวถูกฆ่าตายได้ง่ายขึ้น


หมีขาวอาศัยอยู่ในทั้งดินแดน Alaska ของสหรัฐอเมริกา และ Chukotka ของรัสเซีย
มีประมาณการว่ารวมกันมีประชากร 2,000 ตัว (เคยมี 4,000-5,000 ตัว)
ถ้ารวมจำนวนหมีขาวทั้งหมดที่กระจายตัวเดินทางไปทั่ว
บริเวณชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของ Alaska และ East Siberian Sea
(โดยไม่ต้องอาศัยนโยบายท่องเที่ยวทั่วดินแดน)
คาดว่ามีประมาณ 20,000-25,000 ตัว


ในฝั่งสหรัฐอเมริกาถือว่าหมีขาวกำลังจะสูญพันธุ์ แต่ปีหนึ่งรัฐ Alaska
ก็อนุญาตให้ล่าได้ประมาณ 40 ตัว อย่างถูกกฎหมาย
ส่วนฝั่งรัสเซียแต่ดั้งเดิมก็ล่ากันมาโดยเป็นส่วนหนึ่ง
ของวัฒนธรรมของชาวบ้านบริเวณ Chukotka ซึ่งยากจน
อยู่อาศัยกระจัดกระจายใกล้ช่องแคบ Bearing
แต่ในปี 1956 ทางการก็ห้ามเด็ดขาด เพราะจำนวนหมีขาวลดลงมาก


อย่างไร ก็ดี ก็มีการแอบล่าอย่างผิดกฎหมายในฝั่งรัสเซียมาตลอด
ประมาณการว่าในปีหนึ่งหมีขาว 100-200 ตัวถูกฆ่าเป็นอาหารของชาวบ้าน
(ตัวหนึ่งหนักประมาณ 400-600 กิโลกรัม)
และเพื่อการค้าหนังนั้นก็ทำเงินได้นับพันดอลลาร์ต่อผืน


อากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ หมีขาวบางครั้งหลงอยู่บนชายฝั่ง
หาทางกลับออกไปอาศัยอยู่บนแผ่นน้ำแข็ง กลางมหาสมุทรตามปกติไม่ได้
และหมีขาวจำนวนมากมาหาอาหารบนชายฝั่ง
(หมีขาวมีพฤติกรรมไม่ต่างจากมนุษย์ที่ต้องอยู่อาศัยในแหล่งที่มีโอกาสหา อาหารได้
สำหรับคนก็คือการจ้างงานซึ่งอยู่ใกล้เมือง)
จึงมีโอกาสมากที่จำนวนหมีซึ่งถูกฆ่าอย่างผิดกฎหมายจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น


ผู้เชี่ยวชาญและทางการรัสเซียเชื่อว่าหากทำให้การฆ่าหมีขาวถูกกฎหมายเสียเลยโดย
มีโควต้าให้ล่าในแต่ละปีอย่างชัดแจ้งแล้ว
การล่าอย่างผิดกฎหมายที่แอบทำกันอยู่ในทุกวันนี้ก็จะลดน้อยลง


ข้อเสนอนี้มีผู้ไม่เห็นด้วยเพราะเมือง Vankarem ซึ่งอยู่บนชายฝั่งใกล้ช่องแคบแบริ่ง
อันเป็นศูนย์กลางของการติดต่อกับโลกภายนอกอยู่ไกลออกไปมาก
ขนาดต้องขับรถบนถนนที่ทารุณถึง 3 วันกว่าจะเดินทางถึง
อีกทั้งไม่มีตำรวจหรือเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายให้ฆ่าอย่างถูกกฎหมาย
โดยอยู่ในขอบเขตที่ทางการกำหนด
อย่างไรก็ดี ข้อเสนอให้มีการล่าอย่างถูกกฎหมายนี้
ได้รับการสนับสนุนจากนักวิชาการจำนวน หนึ่งและแม้แต่ World Wildlife Fund


การเปิดให้ล่าหมีขาวอย่างถูก กฎหมายโดยมีโควต้าให้ล่าในแต่ละปี
จะเป็นผลดีต่อการลดลงของจำนวนหมีขาวหรือไม่
ขึ้นอยู่กับการติดตามและการควบคุมให้กฎหมายเป็นกฎหมาย
มิฉะนั้นเท่ากับเป็นการให้ Licence to Kill (ใบอนุญาตให้ฆ่า)
อย่างไม่มีขีดจำกัด สถานการณ์อาจหนักหนาสาหัสกว่าเก่าก็เป็นได้


เหตุผล ทางเศรษฐศาสตร์ที่ทำให้สัตว์ป่าถูกล่าจนสูญพันธุ์ก็เพราะเรื่องสิทธิความ
เป็นเจ้าของสัตว์เหล่านี้ (property right) ไม่ชัดเจน
เวลามันมีชีวิตอยู่มันเป็นทรัพยากรธรรมชาติของชาวรัสเซียทุกคน
เฉพาะเมื่อมันตายลงเท่านั้นจึงจะเป็นของผู้ฆ่า
ดังนั้น ใครฆ่าได้ก่อนคนนั้นก็ได้เป็นเจ้าของก่อน
ด้วยลักษณะของความเป็นเจ้าของเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่มันถูกไล่ล่าทุกวัน
เพื่อแย่งชิงความเป็นเจ้าของมัน
(เศรษฐศาสตร์สอนว่า"สมบัติของทุกคนจะมิใช่สมบัติของใครเลย")


ในกรณี ของสัตว์บ้าน เช่น วัว ควาย ช้าง ที่มีเจ้าของชัดเจน
(มีตั๋ว มีบัตร หรือความเป็นเจ้าของได้รับการยอมรับจากสังคม)
ไม่มีใครไปกล้าล่าต่อให้อยู่ในป่าตราบที่มีโซ่ มีกระดิ่ง
หรือมีลักษณะว่ามีเจ้าของ เพราะมันแสดงว่าเป็นสัตว์มีเจ้าของ
หากฆ่ามันก็ไม่ได้มันมาเป็นเจ้าของ (แต่จะได้ความเดือดร้อนแทน)
สัตว์บ้านจึงไม่สูญพันธุ์ แต่สัตว์ป่ามีโอกาสสูญพันธุ์
นี่คือคำอธิบายว่าเหตุใดวัวแดง (วัวป่าของบ้านเรา) จึงสูญพันธุ์ แต่วัวบ้านไม่สูญพันธุ์


การอนุญาตให้มีการเลี้ยงสัตว์ป่าที่อาจสูญ พันธุ์โดยเอกชน เช่น เลี้ยงเสือ
จึงช่วยให้มันไม่สูญพันธุ์เพราะจากสถานะที่ความเป็นเจ้าของไม่ชัดเจน
แปลงสภาพมาเป็นสัตว์ที่มีเจ้าของชัดเจน เราจึงเห็นจำนวนเสือ (ในกรง)
ในบ้านเราเพิ่มมากขึ้น


กรณีทางการอนุญาตให้ปลูกต้นสักในที่ดินของ
เอกชนได้ก็ใช้ตรรกะเดียวกันคือแทนที่จะมีแต่ต้นสักในป่าที่เติบโตตาม ธรรมชาติ
ถูกตัดแบบไร้ความปรานีอย่างไร้การตรวจสอบและควบคุมดูแลพื้นที่สัมปทานป่าไม้
ที่ได้รับไปอย่างจริงจัง ทางการก็อนุญาตให้เอกชนปลูกได้
ซึ่งทำให้ความเป็นเจ้าของมันชัดเจนมากขึ้น กว่าการเป็นต้นไม้ของทุกคนในชาติ
แต่ปัญหาของบ้านเราก็คือมันมีไม้สักที่ถูกลักลอบนำเข้าจากพม่า
แต่เอกสารหลักฐานบอกว่าตัดจากป่าเอกชนในไทย การ "สวมตอ"
หรือการเป็น "สักวิเศษ" ที่ต้นเดียวมาจากสองแหล่งได้
จึงเป็นประเด็นแอบแฝงที่ต้องระวัง


ในเรื่องการล่าหมีขาวอย่างถูกกฎหมาย หากไม่ระวังจะเหมือนการล่าจิงโจ้ในออสเตรเลีย
ที่ตัวเลขทางการให้ล่านั้นอยู่ที่ 6.5 ล้านตัวต่อปี
แต่เมื่อประชาชนและทางการไม่สนใจจริงจังกับการฆ่าจิงโจ้
ตัวเลขจึงอาจขึ้นไปถึง 10 ล้านตัวต่อปี กล่าวคือทั้งล่าผิดกฎหมาย
(ปัจจุบันก็ฆ่ากันทุกคืนโดยไม่รู้ว่าถูกหรือผิดกฎหมาย)
ทั้งฆ่าลูกอ่อนในกระเป๋า (Joey) กล่าวคือเมื่อแม่ถูกฆ่ามันก็ถูกฆ่าไปด้วย
หรือไม่ก็ทอดทิ้งให้ตายซึ่งคาดว่าอาจมีถึง 1.3 ล้านตัวต่อปี
และยังมีจิงโจ้ที่ถูกรถชนตายอีกเป็นจำนวนมากในชนบท


นโยบายหลายอย่าง เป็นเรื่องดีเมื่อมองในระดับมหภาค
แต่ถ้าไม่มีการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างแข็งขันจริงจังและไม่พิจารณา
ประเด็นประกอบในระดับย่อยแล้ว
ก็อาจทำลายความตั้งใจดีของนโยบายนั้นไปเสียทั้งหมดได้


แต่อย่างว่าละ ครับ ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่ปวดหัวเท่ากับการพิจารณา
เรื่องรายละเอียดปลีกย่อยลงไป โดยเฉพาะในเรื่องการนำนโยบายไปปฏิบัติ
ถ้ามันง่ายก็คงไม่มีคำกล่าวในภาษาอังกฤษที่ว่า devil is in the detail
(แปลตรงๆ ก็คือปีศาจมันอยู่ในรายละเอียด)


หน้า 6

May 26, 2009

REWAT BUDDHINAN : ALIVE! PROJECT



From
:
http://www.starplusmultiply.com/03Projects/2007/project_16/show.php (Not Active)
Related
:
http://teetwo.blogspot.com/2008/01/rewat-buddhinan-alive.html




















Rewat Buddhinan

Inspiration Box Set CD/Vinyl/Book

Designed by : Kittiphat SukamolsonPackage Design / Graphics Design / Theme Design
Client : GMM Grammy Thailand
Year : 2007







หลายเลี้ยวเชียวนะ - เต๋อ เรวัต (Ter Rewat)
Written by:ชาตรี คงสุวรรณ/เรวัต พุทธินันทน์

May 25, 2009

งดงาม... ผลงานสมเด็จพระเทพฯ เมื่อทรงศึกษาปริญญาโท ศิลปากร



มติชน
วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

1.ทรงใช้เทคนิคกดแปะ เคลือบมันเงาสีเขียว
2.ทรงใช้สีน้ำวาดลงบนผ้าใบ ชื่อภาพเด็กนั่งอ่านหนังสือ

3.ทรงปั้นแจกันด้วยเทคนิคเคลือบขี้หมูและเคลือบผักตบชวา

4.ทรงวาดภาพลายเส้นสัญลักษณ์ 65ปี ม.ศิลปากร

5.ชื่อภาพป่าสีรุ้ง

6.ทรงปั้นจานรูปต้นไผ่

7.ภาพฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพฯ
-ริมน่าน
8.ทรงพิมพ์โลหะสี


เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ทรงพระปรีชาทางด้านศิลปวัฒนธรรมทุกสาขา

และเมื่อครั้งทรงเป็นนักศึกษาปริญญาโท

คณะโบราณคดี สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก

ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทรงเรียนสาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก ทรงมีพระปรีชา

เป็นที่ก
ล่าวขวัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องปั้นดินเผา
จิตรกรรมและภาพพิมพ์ ภาษา และวรรณกรรม


ผู้ช่วยศาสตราจารย์มยุรี วีระประเสริฐ อาจารย์ประจำ
คณะโบราณคดี บอกว่า ขณะที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงศึกษาปริญญาโทอยู่นั้น
ทรงสนพระราชหฤทัยด้านการอ่านและแปลจารึกโบราณ

"พระองค์ทรงเป็นนักศึกษาต้นแบบที่ดีของนักศึกษาปริญญาโท ทรงศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และรับสั่งถามเสมอเมื่อทรงสงสัย นอกจากนี้
ยังทรงมีพระดำริที่มีประโยชน์อย่างมากต่อวิชาการนั้นๆ
ทรงอ่านและเขียนตัวอักษรโบราณในจารึกได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ
อย่างพระวิทยานิพนธ์ ทรงเสนอเรื่อง "จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง"
ทรงได้รับการยกย่องจากนักปราชญ์ เพราะพระนิพนธ์เรื่องนี้เป็นเรื่องยากมาก
ซึ่งผลการศึกษาของพระองค์ทำให้ได้ความรู้ใหม่ทางด้านประวัติศาสตร์
และโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ทั้งเรื่องที่มาและความหมายของคำว่า "พนมรุ้ง" พระองค์ทรงศึกษาและอธิบายไว้ว่า
พนมรุ้งเป็นภาษาเขมร แปลว่าภูเขาใหญ่ และเป็นชื่อเดิมของภูเขาและปราสาทแห่งนี้
มาแต่สมัยโบราณ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการโบราณคดีและใช้อธิบายจนถึงทุกวันนี้"

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ.2536 มหาวิทยาลัยศิลปากรทูลเกล้าฯถวายราชสดุดี
เฉลิมพระเกียรติประกาศให้ทรงเป็นนักศึกษาเก่าดีเด่นอีกด้วย

ส่วนพระอัจฉริยภาพเครื่องปั้นดินเผานั้น ศาสตราจารย์เกียรติคุณ เสริมศักดิ์ นาคบัว
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเครื่องปั้นดินเผา เล่าว่า ตอนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนจิตรลดา สมัยระดับประถมศึกษา
ทรงเคยปั้นรูปป่าช้า และขนมจีบใส่จาน

นอกจากนี้ เวลาที่พระองค์ เสด็จโรงงานแม่ริมเซรามิค จ.เชียงใหม่
จะทรงงานหลายเทคนิค เช่น การเพนท์สีบนเคลือบ เทคนิครากุ เทคนิคกดแปะ
พระองค์จะใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีในการทรงลงมือสร้างงาน

ด้านรองศาสตราจารย์ พิษณุ ศุภนิมิต อาจารย์ประจำคณะจิตรกรรมประติมากรรม
และภาพพิมพ์ กล่าวถึงพระปรีชาของพระองค์ท่านไว้ว่า
เวลาพระองค์ท่านทรงงานศิลปะทรงแย้มพระสรวลตลอดเวลา
ทรงมีอิสระไม่ยึดรูปแบบการวาด ซึ่งทรงบันทึกลายเส้นในสมุดบันทึกมากมาย

"ทรงโปรดวาดทิวทัศน์ ตรัสว่าวาดง่ายกว่าวาดคน และทรงมีพระปรีชาเขียนภาพ
ด้วยพู่กันจีนซึ่งยากมาก นอกจากนี้ แม้แต่ประชวรก็ทรงเขียนรูปเพื่อผ่อนคลายอีกด้วย
และยังใช้ห้องสรงเป็นห้องทรงงานเขียนรูปอีกด้วย
ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นของพระองค์ท่านเป็นที่ยกย่อง
จึงทำให้พระองค์ท่านได้รับการยกย่องเป็นวิศิษฏ์ศิลปิน"

ทั้งนี้ เพราะพระอัจฉริยภาพ มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงจัด
โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กับงานศิลปะและวัฒนธรรม เนื่องในโอกาสครบรอบ 65 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร
และทรงเป็นนักศึกษาเก่า จึงได้อัญเชิญผลงานที่พระราชทานแก่มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประกอบด้วยผลงานจิตรกรรม 21 ชิ้น ผลงานภาพพิมพ์ 5 ชิ้น
และผลงานเครื่องปั้นดินเผา 29 ชิ้น จัดแสดงเป็นนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ
พร้อมมีปาฐกถาและจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติอีกด้วย
งานมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-27 มิถุนายน ที่หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

หน้า 25

May 24, 2009

ความเคารพ


คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ

เสฐียรพงษ์ วรรณปก

มติชน
ภาพ/เรื่อง

วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552





ความ เคารพมาจากคำว่า ครุ ซึ่งแปลว่า หนัก

กา
รเคารพก็คือการทำให้หนัก
การทำให้หนักก็คือรู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ
ถอดความอีกทีเพื่อให้ "สื่อ" กันเข้าใจสำหรับคน
สมัยนี้ก็คือ
การตระหนักในความสำคัญของสิ่งนั้น ไม่ดูเบาในสิ่งนั้นเอง

ถอดรหัสถึงสามชั้นจึงจะพอฟังรู้เรื่องว่างั้นเถอะ

พูด ถึงความเคารพ คนยังเข้าใจผิดว่า เพียงกิริยากราบๆ ไหว้ๆ
หรือคำนับกันตามมารยาทสังคมนั้นคือความเคารพ ความจริงยังมิใช่
เพราะคนที่ยกมือไหว้คนอื่นทางกายภาพที่มองเห็นนั้น
ในใจกำลังแช่งชักหักกระดูกคนที่ตนไหว้อยู่ก็ได้ หรือคนที่ยกมือไหว้โจรปลกๆ อยู่นั้น
ก็เพราะกลัวโจรมันจะทำร้ายเอา
หาใช่เพราะนับถือหรือตระหนักในคุณความดีอะไรไม่

คารวะหรือเคารพจริงๆ เป็นคุณสมบัติทางใจ
เป็นความตระหนักถึงความสำคัญด้วยความซาบซึ้ง
มีมากมายในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงยกมา 6 อย่าง
ที่ชาวพุทธจะพึงให้ความสำคัญหรือเคารพ คือ

1.พระพุทธเจ้า ต้องตระหนักในคุณความดีของพระพุทธองค์ว่า
พระองค์ทรงมีปัญญารู้แจ้งจริง มีความบริสุทธิ์เพราะความรู้แจ้งจริง
และมีพระมหากรุณาเผื่อแผ่แก่สัตว์โลกทั้งหลาย

2.พระธรรม ต้องตระหนักว่าคำสอนของพระองค์นำผู้ปฏิบัติให้พ้น
จากความทุกข์ได้จริงๆ

3. พระสงฆ์ ต้องตระหนักว่า พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง
ปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ ปฏิบัติชอบยิ่ง เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก
เป็นผู้สืบต่อพระศาสนา

4.การศึกษา ต้องตระหนักว่าการฝึกฝนอบรมตนให้สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง การศึกษาในทางพุทธมิใช่การเล่าเรียนเท่านั้น
หากรวมถึงการปฏิบัติที่เรียนมาด้วย

5.ความไม่ประมาท ต้องตระหนักในการควบคุมสติของตนเอง มิใช่เผอเรอ
มีสติกำกับอยู่เสมอไม่ว่าจะกระทำสิ่งใด

6.การต้อนรับแขก ต้องตระหนักว่าผู้มาเยือนไม่ว่าใคร
ถือว่าเป็นผู้นำสิริมงคลมาให้ ควรพูดจาปราศรัยต้อนรับด้วยไมตรีจิต

ที่ ทรงแสดงไว้ 6 อย่าง ก็ใช่ว่าจะมีเพียงเท่านี้
สิ่งอื่นที่มีความสำคัญก็พึงอนุโลมเข้าในสิ่งที่ควรเคารพเหมือนกัน เช่น
จติยสถานต่างๆ รวมถึงบุคคลที่มีอุปการคุณและเจริญด้วยคุณวุฒิ
วัยวุฒิ มีบิดามารดา ครูอาจารย์ พระมหากษัตริย์ เป็นต้น

ความเคารพเป็นเรื่องของความตระหนักซาบซึ้งในใจดังกล่าวมา
การแสดงความเคารพเป็นเครื่องแสดงออกให้เห็นว่าในใจเราซาบซึ้งในสิ่งนั้นจริงๆ

การแสดงความเคารพมีทั้งหมด 5 วิธี

1.อัญชลี พนมมือเฉยๆ เช่น เวลาฟังเทศน์
2.นมัสการ หรือวันทา พนมมือไหว้ คือพนมมือแล้วยกขึ้นจดศีรษะ
3.อภิวาท กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กราบแบบทิเบตเรียกอัษฎางคประดิษฐ
4.อุฏฐานะ หรือปัจจุคมนะ ลุกขึ้นยืนแสดงความเคารพ
5.สามีจิกรรม แสดงความนอบน้อมโดยวิธีที่สมควรอื่นๆ เช่น
ถอดหมวก ถอดรองเท้า เป็นต้น

คนที่มีความเคารพและแสดงความเคารพถูกต้องต่อบุคคล
และสิ่งที่ควรเคารพนับเป็นคนรู้กาลเทศะและน่ารักน่าคบ
อยู่ที่ไหนย่อมเจริญแน่นอน

จาก ที่กล่าวมาว่า คำว่า "เคารพ" มาจากคำว่า "ครุ" ที่แปลว่าหนัก
ท่านผู้รู้ท่านหนึ่งทักว่า แปลเอาเองหรือเปล่า
ขอเรียนว่ามิได้แปลเอาเองครับ โบราณาจารย์ท่านแปลและอธิบายมาก่อน
ผมจำท่านมาว่าอีกทีหนึ่ง ถ้าท่านยังไม่ "สนิทใจ" ลองดูคำอื่นๆ
ที่ท่านใช้เกี่ยวกับการแสดงความเคารพก็ได้

มีข้อสังเกตคือ คำบาลีนั้นถ้าเป็น "การแสดงความเคารพ"
ท่านใช้คำว่า ครุกาโร แปลตามตัวอักษรว่า "การกระทำให้หนัก"
ถ้าเป็นคำกิริยาพูดถึงคนเคารพสิ่งใดสิ่งหนึ่งท่านใช้คำว่า ครุกโรติ (ครุ+กโรติ)
แปลตามตัวอักษรว่า "ย่อมกระทำให้หนัก"
ถ้าพูดถึงคนที่ควรเคารพ ท่านใช้คำว่า ครุกาตพฺโพ (ครุ+กาตพฺโพ)
แปลตามตัวอักษรคือ "ควรทำให้หนัก" หรือครุฏฺฐานีโย (ครุ+ฐานีโย)
แปลตามตัวอักษรว่า "ผู้ควรแก่ฐานะที่หนัก" พอมองเห็นนะครับว่าคำว่า "หนัก"
เกี่ยวพันกับ "ความเคารพ" อย่างไร เหมือนกับคำว่า อุรโค
ที่แปลว่า "สัตว์ไปด้วยอก" หมายถึง งู สุนโข แปลตามตัวอักษรว่า
"สัตว์ที่ขุดดินเก่ง" หมายถึง หมา ถ้าไม่ถอดความถึงสองชั้น
ก็ไม่มีทางมองเห็นว่า "อก" กับ "งู" "ดิน" กับ "หมา" มันเกี่ยวกันอย่างไร

โอ๊ย! ปวดหัว เข้าเรื่องความเคารพต่อดีกว่า
การแสดงความเคารพ เป็นเครื่องหมายถึง
ความเป็นคนที่มีอารยธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามอย่างวัฒนธรรม
การแสดงความเคารพ ของไทยเรา คือการไหว้อันอ่อนช้อยสวยงาม
ชาติอื่นๆ อาจมีการไหว้กัน เช่น อินเดีย ลังกา
แต่ทำไม่ได้อ่อนช้อยงดงามเท่าคนไทยสมัยก่อน

ที่ใช้คำ "สมัยก่อน" ก็เพราะคนไทยสมัยนี้ไหว้แบบไม่เป็นเอาเสียเลย
เจ้าเงาะที่ "ประนมมือเมินหน้าท่าแบกขวาน"
ยังจะไหว้สวยกว่าคนสมัยนี้ด้วยซ้ำ
ที่เป็นเช่นนี้เพราะไปเห่อการ"จับมือ" แบบวัฒนธรรมฝรั่งกันมากขึ้น
ที่น่าขำก็คือ เรารณรงค์ให้เด็กรู้จักไหว้ผู้ใหญ่
แต่ผู้ใหญ่กลับไม่เห็นความสำคัญ งานมอบรางวัล
แก่นักเรียนผู้ชนะการประกวดมารยาทไทยครั้งหนึ่ง (หลายปีมาแล้ว)
ผู้ใหญ่ที่เป็นประธานมอบรางวัลแก่เด็ก
ยื่นมือให้เด็กจับเด็กยกมือไหว้อย่างนอบน้อม
ไม่ยอมจับมือตอบ เห็นแล้วสะใจดี

ถ้าอยากให้เยาวชนในชาติรู้จักสัมมาคารวะ รู้จักกราบ รู้จักไหว้
ผู้ใหญ่ก็ควรปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างด้วย ไม่ใช่สักแต่พูดๆ แล้วไม่ทำ

สมัย พุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเห็น
พระไม่เคารพกันตามอาวุโส
พระองค์ทรงต้องการให้สำนึกว่า
คนที่เจริญแล้วต้องรู้จักเคารพกัน
จึงทรงเล่านิทานให้พวกเธอฟัง

มีสัตว์สามตัว คือ ช้าง ลิง นกกระทา อาศัยอยู่ในป่า
แรกๆ ต่างก็ไม่เคารพกัน
วันหนึ่งสัตว์ทั้งสามตกลงกันว่า
ใครเกิดก่อนจะได้รับการเคารพจากสัตว์อื่น
แล้วการพิสูจน์อาวุโสก็เกิดขึ้น
โดยเอาต้นไทรที่มองเห็นเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า
ใครที่เห็นต้นไทรนี้มาตั้งแต่เมื่อใด

ช้างบอกว่า ตั้งแต่ตนยังเป็นลูกช้าง
ลิงบอกว่า ตนก็เห็นมันมาตั้งแต่ยังเป็นลูกลิง
ฝ่าย นกกระทาบอกว่า พวกท่านรู้ไหม แต่ก่อนต้นไทรมิได้อยู่ที่นี่
ฉันกินผลไม้มาจากป่าไกลโพ้นแล้วมาขี้ไว้ตรงนี้
ไทรต้นนี้เกิดจากเมล็ดไทรที่ข้าขี้ไว้
สำแดงว่าฉันแก่กว่าพวกท่าน
ช้างและลิงต่างยกให้นกกระทาเป็นตั้วเฮียตั้งแต่บัดนั้น

สัตว์เดียรัจฉานมันยังรู้จักสัมมาคารวะต่อกัน
แล้วคนล่ะจะเรียกว่าผู้เจริญได้อย่างไร
ถ้าแม้การกราบการไหว้ยังทำไม่เป็น


หน้า 7

May 20, 2009

ปัญหารถติดกับ "จ๊อกกี้"



วรากรณ์ สามโกเศศ
มติชน
14 พฤษภาคม 2552

ความพยายามในการแก้ไขปัญหาจราจรในจาการ์ตา
ทำให้เกิดอาชีพใหม่สร้างรายได้ให้คนยากจน
แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา
และคาดเดาได้ว่าไม่ว่าจะใช้มาตรการใดแก้ปัญหาจราจรก็ตาม
ตราบที่ไม่คำนึงถึงประเด็นเศรษฐศาสตร์และวัฒนธรรมแล้ว ก็ไม่มีทางสำเร็จไปได้

สื่อต่างประเทศชอบกล่าวถึงการจราจรที่เลวร้ายสุดสุดของจาการ์ตา และมักพาดพิงถึงกรุงเทพฯด้วย (แท้จริงแล้วที่หนักหนาอีกแห่งก็คือมะนิลา)
ซึ่งปัจจุบันกรุงเทพฯดีกว่าอีกหลายเมืองในเวลาเร่งด่วน
และมีรถไฟบนดินและใต้ดินให้เลือกอีกด้วย

จาการ์ตาที่มีประชากรอยู่อาศัยถึงกว่า 10 ล้านคน
ในประชากรของประเทศทั้งหมด 240 ล้านคน มีรถยนต์ออกใหม่วันละ 236 คัน
รถมอเตอร์ไซค์ใหม่วันละ 891 คัน
ทำให้มีจำนวนยานยนต์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 9.5 ต่อปี
ในขณะที่พื้นที่ผิวจราจรใหม่แทบไม่เพิ่มขึ้นเลย

ตัวเลขพยากรณ์ที่น่ากลัวก็คือหากเป็นไปในทิศทางนี้
ก่อนปี 2011 หรือ 2 ปีจากปัจจุบัน
การจราจรในจาการ์ตาจะเป็นอัมพาตอย่างสมบูรณ์
ทางการอินโดนีเซียรู้ดีว่าการจราจรเป็นปัญหาหนักเพียงใด
(รถติดกันหนักหนาทุกเช้าเย็นจะไม่เห็นได้อย่างไร)
จึงได้แก้ไขด้วยการพยายามสร้างถนน ระบบขนส่งมวลชน ฯลฯ
แต่ก็ไม่เป็นผลเนื่องจากนานาปัญหาของคนในแถบนี้
(ย้อนไปดูก็ได้ว่าบ้านเราใช้เวลานานเท่าใดกว่าสนามบินสุวรรณภูมิ
รถไฟบนดินและใต้ดินจะคลอด)
คอร์รัปชั่นเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด เมื่อผลประโยชน์ไม่ลงตัวมันก็เดินหน้าไม่ได้
และถึงเดินหน้าได้ "ไอติมก็เหลือเพียงครึ่งแท่ง" เท่านั้น

เมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว ในจาการ์ตาผมเห็นเขาห้ามรถที่มี
เลขป้ายทะเบียนลงท้ายเลขคู่เลขคี่ผ่านบางถนนในบางวันหรือบางเวลา
เพื่อกระจายปริมาณการจราจร แต่ก็ดูจะไม่ได้ผล
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือธุรกิจป้ายทะเบียนเถื่อนเฟื่องฟู
เจ้าของรถเปลี่ยนป้ายทะเบียนเพื่อให้วิ่งได้ในถนนที่มีกฎห้ามตามที่ต้องการ

วิธีหนึ่งที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันก็คือรถจะสามารถวิ่งในเลนพิเศษ
ที่ทำให้เคลื่อนตัวได้เร็วขึ้นบ้างก็เมื่อมีคนนั่งในรถไม่ต่ำกว่า 3 คนขึ้นไป
หรือที่เรียกว่าช่องทางจราจร "3 in 1" กล่าวคือผู้โดยสาร 3 คนในรถ 1 คัน

จุดประสงค์ก็คือต้องการให้เกิดแรงจูงใจในเรื่อง car-pooling
(หลายคนต้องนั่งรถแชร์กันมา) เพื่อลดจำนวนรถในท้องถนน
ลดผลกระทบจากการจราจรติดขัด
(ปัจจุบันการจราจรเช่นนี้ทำให้ต้องเสียน้ำมันและเสียเวลา
เป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ
หรือประมาณ 45,000 ล้านบาท
ตัวเลขนี้ยังไม่รวมต้นทุนด้านสาธารณสุขที่ต้องเสียไปอีก)
แต่คนอินโดนีเซียคล้ายคนไทยในความสามารถที่จะหลบหลีกกฎหมาย
เพื่อเข้าไปใช้เลน "3 in 1" ถึงแม้จะขับรถมาคนเดียวก็ตาม
ดังนั้นจึงเกิดอาชีพ "จ๊อกกี้" ขึ้น
ริมถนนก่อนที่จะเข้าเส้นทาง "3 in 1" จะมีเด็ก ผู้หญิงสาวและกลางคน
บ้างก็อุ้มเด็กด้วย ยืนอยู่พร้อมกับชูนิ้ว 1 หรือ 2 นิ้ว
เพื่อบอกให้รู้ว่ายินดีรับจ้างนั่งรถไปด้วยกี่คน
เพื่อจะได้สามารถใช้ช่องจราจร "3 in 1" ได้

ค่าจ้างก็คือหนึ่งเหรียญสหรัฐต่อหนึ่งคนต่อหนึ่งเที่ยว "จ๊อกกี้" เหล่านี้
จะมายืนออกันแน่นตอนเช้าและเย็น มุมหนึ่งนับได้ 100-200 คน
เมื่อได้เที่ยวหนึ่งแล้วก็จะนั่งรถเมล์ย้อนมาจุดเก่า
วันหนึ่งก็ทำเงินได้ไม่น้อยเมื่อเทียบกับ
ค่าจ้างทำงานบ้านเดือนละ 30 เหรียญสหรัฐ

หลายคนทำมา 9-10 ปี ตั้งแต่เป็นเด็กจนโต
เรียกได้ว่าอาชีพ "จ๊อกกี้" ทำรายได้
ให้คนจนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในจาการ์ตา การรับจ้าง "จ๊อกกี้"
ที่กว้างขวางมากขึ้นเมื่อรถในเลนธรรมดาติดมากขึ้น
ทำให้นโยบาย "3 in 1" ได้ผลน้อยลง

หากวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ค่าจ้าง "จ๊อกกี้"
ในแต่ละเที่ยวโดยแท้จริงแล้วก็คือค่าทางด่วนเหมือนบ้านเรานั่นเอง
โดยถือว่าเลนพิเศษเหล่านี้คือทางด่วน
เพียงแต่เป็นค่าทางด่วนที่ต้องจ่ายหากไม่มี car-pooling ตามปกติ
(รวมพรรคพวกเพื่อนฝูงขึ้นรถไม่ต่ำกว่า 3 คน)

แทนที่การ "ทางพิเศษ" จะได้เงินค่าทางด่วนไป
ก็ไปเข้ากระเป๋า "จ๊อกกี้" เหล่านี้แทน
ตราบใดที่เจ้าของรถคิดว่าค่าจ๊อกกี้ 1-2 เหรียญ (ค่าทางด่วน)
คุ้มกับเวลาเดินทางที่เร็วขึ้น ก็ยินดีจ่ายเสมอ แต่ถ้ารถในเลน "3 in 1"
ติดหนักไม่มีอะไรต่างไปจากเลนธรรมดาแล้ว "จ๊อกกี้"
ก็จะว่างงานเพราะเจ้าของรถเห็นว่าเงิน 1-2 เหรียญ
ไม่ได้ทำประโยชน์ให้แก่เขาเพราะถึงจุดหมายปลายทางด้วยเวลา
เท่ากับเลนธรรมดา (ไม่มีเวลาพิเศษที่เร็วขึ้น)

หากการจราจรของจาการ์ตาหนักหนาขึ้นทุกที
ก็จะมีคนมาใช้บริการเลน "3 in 1" มากขึ้น
บางคนก็ใช้ car-pooling และบางคนก็ใช้บริการ "จ๊อกกี้"
แต่เมื่อรถในเลน "3 in 1" ติดมากขึ้น ทุกทีๆ
จนใช้เลนปกติก็ได้เหมือนกัน "จ๊อกกี้"
เหล่านี้ซึ่งคาดว่าน่าจะมีเป็นหมื่นคนก็จะว่างงานในที่สุด

ตำรวจมีการไล่จับ "จ๊อกกี้" เหล่านี้เป็นครั้งคราวแต่ก็ไม่ได้ผล
เหมือนกับการไล่จับ
"ขบวนการขายกล้วยแขก" ถึงหน้าต่างรถยนต์ในกรุงเทพฯ
ที่ลามตั้งแต่นางเลิ้งยันทางขึ้นทางด่วนยมราชอยู่ในขณะนี้

ทางการกำลังคิดจะใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ติดรถที่เรียกว่าระบบ ERP
(Electronic Road Pricing) มาใช้แทน "3 in 1"
กล่าวคือเก็บเป็นค่าผ่านทางพิเศษไปเลย เมื่อวิ่งผ่านเข้าเลน
หากคนนั่ง 3 คนขึ้นไปก็คิดราคาหนึ่ง
หรือออกเป็นบัตรพิเศษให้วิ่งผ่านได้เลย
หากเป็นรถที่ปกติก็มีคนนั่งไม่ต่ำกว่า 3 คน
(คอร์รัปชั่นจะทำลายระบบอีกเพราะรถเกือบทุกคันอาจมีบัตรพิเศษนี้)

ปัจจุบันระบบ ERP ใช้กันมากขึ้นนับตั้งแต่สิงคโปร์ประสบผลสำเร็จ
ตลอดเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือ
หากเข้าไปใจกลางเมืองในเวลาเร่งด่วน
ก็ต้องจ่ายเงิน (ระบบนี้เปรียบเสมือนกลไกราคาแบ่งสรรผิวจราจร
ที่มีความไม่พอดีระหว่างดีมานด์และซัพพลายในช่วงเวลาเร่งด่วน)
ปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นก็มีการใช้กันกว้างขวางยิ่งขึ้น
เช่นในลอนดอน โคเปนเฮเกน ฮ่องกง ปารีส ฯลฯ

มีผู้วิจารณ์ว่าการมี "จ๊อกกี้" เช่นนี้ทำให้นโยบาย "3 in 1" ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาว่าความสำเร็จคือการที่ผู้เดินทางกลุ่มหนึ่ง
สามารถถึงที่หมายได้เร็วขึ้นและจูงใจให้เกิด car-pooling
ก็สามารถกล่าวได้ว่าไม่ล้มเหลว เพราะตราบที่มีผู้ใช้บริการ "จ๊อกกี้"
ก็แสดงว่า เลน "3 in 1" ทำให้เขาถึงที่หมายเร็วขึ้น
ซึ่งก็หมายถึงว่าผู้ใช้ car-pooling
ซึ่งมีอยู่อีกส่วนหนึ่งก็ถึงที่หมายเร็วขึ้นเช่นเดียวกัน
และการใช้ car-pooling ถึงแม้จะไม่มากก็น่าจะช่วย
ลดมลภาวะและลดการใช้พลังงานไปได้บ้าง

การเอาตัวรอดทั้งปากกัดและตีนถีบของคนจนเมืองบวกประเด็นวัฒนธรรม
ทำให้เกิดการบิดเบี้ยวของผลจากนโยบาย "3 in 1" จนไม่เกิดผลเต็มที่
แต่ในสังคมที่มีคนยากจนอยู่มาก
นโยบาย "3 in 1" มีส่วนช่วยให้คนบางส่วนมีรายได้เพิ่มขึ้น

ในบ้านเราปรากฏการณ์ "จ๊อกกี้" แบบนี้ก็มีเหมือนกัน
จำได้ว่าเมื่อกว่า 50 ปีมาแล้ว
รถโดยสารและสามล้อจะข้ามสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯได้
ต้องมีผู้โดยสารนั่ง ดังนั้นจึงมีเด็กรับจ้างนั่งรถข้ามสะพาน
และเมื่อประมาณ 20 ปีกว่า
เมื่อมีช่องจราจร "3 in 1" ในบ้านเราแรกๆ ก็มีคนรับจ้างอยู่บ้างเช่นกัน
แต่เมื่อไม่มีเส้นทาง "3 in 1" อย่างกว้างขวาง
และไม่มีการบังคับใช้กฎหมายจริงจัง
ตลอดจนการจราจรมิได้ติดขัดจนไม่มีทางเลือกอื่นๆ อาชีพ "จ๊อกกี้"
จึงไม่เกิดขึ้นในบ้านเรา

ข้อสังเกตหนึ่งของอาชีพ ""จ๊อกกี้"" ก็คือ
ความหวั่นเกรงอาชญากรรมของเจ้าของรถ
ทำให้รับแต่ "จ๊อกกี้" ที่เป็นเด็ก ผู้หญิง หรือแม่และเด็ก
ผู้ชายผู้ใหญ่อดที่จะได้เป็น "จ๊อกกี้" ในจาการ์ตา
ถ้าจะเขียนสคริปต์ของละครเรื่องนี้ที่
สมมุติว่าเกิดขึ้นในกรุงเทพฯให้สมจริง
ก็จำต้องเอาเรื่องการค้าทางเพศ ซึ่งเป็นผลจากการมี "จ๊อกกี้"
ขึ้นมาอยู่บนรถเข้าไปด้วย ละครเรื่องนี้จึงจะสมบูรณ์
หน้า 6













เฉลียงสามฝ่าย




































การงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา


คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ

เสฐียรพงษ์ วรรณปก

มติชน

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


สูตรสำเร็จข้อที่จะพูดถึงต่อไปนี้
พระพุทธองค์ทรงใช้คำว่า
มชฺชปานา จ สญฺญโม จ
มีความหมายเท่ากับและ มชฺชปานาแปลว่า "จากการดื่มมัชชะ"
สญฺญโม แปลว่า การงดเว้น การเว้นขาด
มัชชะแปลว่าน้ำเมา หมายเอาสิ่งมึนเมาทุกชนิด เช่นสุรา (น้ำเมาที่กลั่น)
เมรัย (น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น พวกอุ กระแช่ น้ำตาลเมาเป็นต้น บุหรี่ก็รวมด้วยนะจ๊ะ)

มีผู้อธิบายว่าสัญญมะ แปลว่า "สำรวม" คำว่าสำรวมหมายถึง
ระมัดระวังไม่ให้เกินขนาด ไม่เกินพอดี มิได้หมายถึงยกเว้นโดยสิ้นเชิง อย่างเช่น
สำรวมตา หมายถึง เวลาดูอะไรก็ให้ดูอย่างระมัดระวัง มิใช่ห้ามดู
สำรวมปากหมายถึงให้พูดอย่างระมัดระวัง มิใช่ห้ามพูด
เพราะฉะนั้นสำรวมจากการดื่มน้ำมาก็หมายความว่า ดื่มได้ แต่ดื่มอย่างระมัดระวัง
หรือดื่มพอประมาณ แล้วก็ยกศีลข้อห้าพร้อมคำแปลแบบนักบาลีเถื่อน
(ซึ่งมีอยู่ดาษดื่นมาสนับสนุน)

สุราเมรยมชฺชปมามาทฏฐานา...ดื่มสุราเมรัยดื่มได้ แต่อย่าดื่มจนประมาทขาดสติเป็นใช้ได้!

ไปๆ มาๆ ก็ลากบาลีเข้ามาหาตัว ไม่ผิดพวกนักเลงสุราคอทองแดงที่ตั้งวงก๊งกันสนุกสนาน
ชูสโลแกนน่ารักว่า "สุราแปลว่าเหล้า กินกับเป็ดจะสำเร็จโสดาบัน
กินกับไก่จะได้ขึ้นสวรรค์ กินกับหมูจะเข้าสู่นิพพาน
กินเหล้าเปล่าๆ จะโดนไม้เท้ายมบาล"

บัญญัติคำขวัญขึ้นมาเองยังดีกว่าพวกบ้าที่ยกบาลีขึ้นมาแล้ว
แปลเอาตามใจชอบของตัวเอง พวกหลังนี้เรียกว่า พวกกล่าวตู่พุทธพจน์
ถ้าเป็นเรื่องหลักธรรมคำสอนที่สำคัญๆแล้วมาบิดเบือนเพื่อให้คนหลงเข้าใจผิด
นับว่าทำบาปมหันต์

ทางพุทธศาสนาถือว่า สุราเมรัยเป็น "ที่ตั้งแห่งควมประมาท"
คือเป็นสาเหตุให้เกิดความประมาท ขาดสติไม่ว่าใครดื่มแล้วย่อมเมา
เมาแล้วย่อมขาดสติ ถ้าดื่มบ่อยๆ จนเป็นนิสัย ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ชีวิตและทรัพย์สิน อบายมุข (ทางฉิบหาย) นั่นแหละจะพูดไปทำไมให้ฟังยาก
ทางที่ดีจึงไม่ควรข้องแวะ

ในสิงคาลกสูตร พระพุทธเจ้าตรัสโทษสุราไว้ชัดเจน ใครก็เถียงไม่ได้
และเป็นโทษที่ครอบคลุมเสียด้วย คือเสียทรัพย์ (ยิ่งยี่ห้อดีๆ ยิ่งต้องเสียเงินมาก ว่างั้นเถอะ)
ก่อการทะเลาะวิวาท (ฆ่ากันตายกลางวงมานักต่อนัก) ทำให้เกิดโรค
(เช่นโรคทางเดินอาหาร พิษสุราเรื้อรัง) เสียชื่อ (ได้สมญาว่า ไอ้ขี้เมา) สติปัญญาเสื่อม
(สมองเสื่อม ความจำเลอะเลือน) ไม่รู้จักอาย (เมาแล้วทำอะไรแปลกๆ
นึกว่าเป็น "มาด เฉลา" ของข้า แต่คนธรรมดาเขาทุเรศ)

ครับ คงไม่มีใครเถียงพระพุทธเจ้าว่าที่ท่านตรัสไว้นั่นผิด
แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า เราปฏิบัติกันได้ไหมต่างหาก

ดังได้พูดมาแล้วว่าคำว่า มัชชะ เป็นคำรวมหมายครอบคลุมทั้งสุรา
(น้ำเมาประเภทที่กลั่นแล้ว) และเมรัย (น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น)
มีคำที่ผู้เฒ่าผู้แก่พูดไว้คำหนึ่ง ผมว่าเป็น "คำนิยาม" ที่เข้าทีดี
คือ "สุราน้ำใส เมรัยน้ำข้น"

พูดถึงเมรัย เราก็นึกไปถึงจำพวกกระแช่ อุเท่านั้น
ความจริงเครื่องหมักดองอื่นที่กินแล้วเมาได้ เช่นน้ำตาลเมา
ข้าวหมาก หมากพลู บุหรี่ ก็รวมอยู่ด้วย
โดยเฉพาะบุหรี่ใครอย่ามาเถียงว่าไม่ใช่ยาเสพติด ผมเห็นคนติดบุหรี่
ไม่ได้สูบบุหรี่ระยะหนึ่งเท่านั้น จะตายให้ได้

สิ่งเหล่านี้ว่าตามหลักแล้วพระสงฆ์ไม่ควรเสพ แต่ก็เห็นพระสูบบุหรี่
กินหมากกันเกร่อ เพราะธรรมเนียมไทยไม่ถือ เวลาทำบุญต่างๆมักจัดหมากพลู
บุหรี่ไว้ถวายพระกันทั้งนั้น เป็นเมืองไทยไม่สู้กระไรนัก
แต่ถ้าไปสูบให้ชาวต่างชาติเห็นล่ะก็ "เสียพระ" เอาง่ายๆ จะบอกให้

ที่ประเทศศรีลังกา เท่าที่ผมทราบ ถ้าชาวบ้านเห็นพระสูบบุหรี่จะเลิกนับถือเลย
เขาถือว่ามีความผิดหนักพอๆกับปาราชิก

ที่ประเทศอังกฤษก็เช่นเดียวกัน สมัยเมื่อครั้งพระธรรมทูตไทยไปอยู่ที่กรุงลอนดอนใหม่ๆ
เจ้าคุณพระโสภณธรรมสุธีหรือมหาวิจิตร หัวหน้าพระธรรมทูต
ถัดจากเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุณี (สมัยนั้นเป็นพระราชสิทธิมุณี)
ติดบุหรี่ขนาดหนักก่อนไปจากเมืองไทย
พอไปอยู่ลอนดอนรู้ว่าที่นั่นเขาถือเป็นเรื่องใหญ่ท่านก็เลิกทันที
เพราะความจำเป็นบังคับ

ไอ้กระผมเป็นคนไม่สูบบุหรี่แต่ไม่แพ้ควันบุหรี่
(คือนั่งคุยกับคนที่สูบได้ ไม่ดัดจริตเป็นลมต่อหน้าเขา)
ไม่รู้ว่ามันมี "อิทธิพล" ครอบงำใจ "สิงห์อมควัน" มากขนาดไหน
ดูๆ ก็ไม่น่าจะเลิกยาก แต่ถามคนที่ติดขนาดหนักแล้วมันเหมือน
"กำแพงลม" ที่ทำลายลงยากเหลือเกิน

พิษสงบุหรี่ดูๆ ก็ไม่น่าจะร้ายกาจอะไรนักหนา แค่เวลาไม่ได้สูบแล้ว
ทำไมมันพานจะตายให้ได้ บางคนขาดสูบบุหรี่แล้วคิดอะไรไม่ออก
พอได้ "อัดเข้าปอด" สักครึ่งมวนล่ะก็สมองปลอดโปร่งเชียว
ภาษาสิงห์อมควันสมัยก่อนเขาเรียกว่า "เผาหัว"

สมัยก่อน เวลาพระภิกษุสามเณรสอบสนามหลวง (คือสอบไล่บาลี นักธรรมประจำปี)
ห้องสอบมักจะมีควันบุหรี่ฟุ้งอย่างกับใครเผาขยะในห้อง
ไม่ใช่อะไรดอกครับ ท่านที่ติดบุหรี่จะงัดบุหรี่ออกมา "เผาหัว" ก่อน
ไม่อย่างนั้นคิดอะไรไม่ออก ทำข้อสอบจะพาลสอบตกเอา
กรรมการคุมสอบท่านเห็นใจก็เลยปล่อย

ไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้ยังคงมีภาพอย่างนั้นอยู่รึเปล่า แต่คิดว่ายังคงมีอยู่
ที่พระเณรท่านยังสูบบุหรี่ ฉันหมากกันอยู่ก็เพราะ
สังคมไทยยังเห็นว่าสิ่งเหล่านี้มิใช่ยาเสพติด

ตอนนี้นักวิชาการก็ยืนยันแล้วว่าเป็นแน่ๆ
ก็ควรที่จะถึงเวลาที่วงการคณะสงฆ์จะประกาศ
ห้ามพระเณรทั่วประเทศสูบบุหรี่หรือฉันหมากได้แล้วครับ

เขากำลังรณรงค์เรื่องนี้กันอย่างขะมักขะเม้น
ถ้าพระสงฆ์ช่วยเขาอีกแรงหนึ่ง จะลดจำนวน "สิงห์ขี้ยา" ลงไม่น้อยเลยทีเดียว
แต่สำคัญที่พระคุณเจ้าที่อยู่หัวแถวต้องเลิกก่อนเขานะครับ

หน้า 6