เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
May 13, 2009
ทักษิณ" โคลนนิ่ง "ลี กวน ยู" วัดรอยสูตรสำเร็จ "สิงคโปร์"
มติชน
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
ถ้าจับสังเกตการบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมามักจะก๊อบปี้วิธีการบริหารของสิงคโปร์หลายอย่าง ทั้งการบริหารทางการเมือง หรือทางเศรษฐกิจ จนหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า พ.ต.ท.ทักษิณกำลังจะกลายเป็น
"ลี กวน ยู 2" เข้าไปทุกที
ทางด้านเศรษฐกิจนั้น มีองค์กรของสิงคโปร์อยู่ 2 องค์กร
ที่ดูเหมือนว่ารัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณพยายามที่จะเลียนแบบอยู่
องค์กรแรก ก็คือ Government of Singapore Investment Corporation
หรือ GIC ซึ่งมีหน้าที่หลัก
ในการนำ"ทุนสำรองระหว่างประเทศ"ของสิงคโปร์ไปลงทุน
โดยขณะนี้ GIC มีสาขาอยู่ 6 แห่งทั่วโลก และนับตั้งแต่ก่อตั้ง GIC
เมื่อปี 2524 และบริหารทุนสำรองฯ
เพียงไม่กี่พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจนถึงขณะนี้ GIC ระบุว่า
มีเงินหน้าตักที่บริหารอยู่ถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
ถือว่าเป็นพอร์ตลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้
สำหรับ คนไทยจะคุ้นกับชื่อ GIC เพราะเข้ามาลงทุนทั้งในธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงเทพ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ฯลฯ
ยุคที่ไทยกำลังประสบวิกฤตเศรษฐกิจนั่นแหละ
อีกองค์กรของสิงคโปร์ ที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณเล็งอยู่ก็คือ TEMASEK
ที่รัฐบาลสิงคโปร์ถือหุ้นอยู่ 100% รูปแบบที่เข้าใจง่ายๆ ของ TEMASEK
ก็คือ บริษัทจัดการกองทุนรวม(บลจ.)
หรือ Fund Manager ที่เราเห็นอยู่ทั่วไปโดยนำเงินที่ระดมได้
ไปลงทุนในโครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบขนส่งมวลชน
โลจิสติกส์ อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน ซึ่งไม่เฉพาะในสิงคโปร์
แต่สยายปีกไปทั่วโลกเช่นเดียวกับ GIC หุ้นบลูชิพที่ TEMASEK ลงทุนอยู่ในขณะนี้
และเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตาของคนไทย ก็เช่น สิงคโปร์เทเลคอม
ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน)
หรือเอไอเอส นอกจากนี้ยังมี "ดีบีเอส แบงก์"
ที่อยู่ในพอร์ตของ TEMASEK เป็นดีบีเอส
เดียวกับที่เคยพลาดเข้ามาถือหุ้นในธนาคารไทยทนุจนประสบผลขาดทุน
แต่สุดท้ายก็ได้เข้าไปควบรวมกับธนาคารทหารไทย ที่มี "พานทองแท้ ชินวัตร"
ถือหุ้นอยู่ด้วย และเป็นการควบรวมในเงื่อนไขที่ "ดีบีเอส" ค่อนข้างแฮปปี้ทีเดียว
ซึ่งถ้าตามรอยวิธีคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ที่เน้นจะสร้างตลาดหุ้นให้เป็นตัวนำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
และเป็นหนึ่งในการระดมทุนเพื่อใช้ในโครงการเมกะโปรเจ็คต์แล้ว
ก็จะเห็นร่องรอยที่แทบจะก้าวเดินตามทั้ง "GIC" และ "TEMASEK"
แบบไม่ให้หลงทางกันทีเดียว เริ่มที่ "TEMASEK" ก่อนก็แล้วกัน
เพราะเพิ่งประกาศไปแหม็บๆ กับนโยบายที่จะตั้งบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ
หรือ State Holding ขึ้น อันนี้ไม่ต้องคิดมากเพราะ
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ระบุออกมาเองว่า รูปแบบคัดลอกมาจาก TEMASEK นั่นแหละ
ส่วน "GIC" ขณะนี้ยังไม่มีอะไรเด่นชัดที่จะบอกได้ว่า
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังคืบคลานที่จะไปก๊อบปี้มาใช้
แต่ ถ้าย้อนกลับไปดูคำให้สัมภาษณ์ของนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์
ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
ก็อาจจะได้เค้าลางอะไรบางอย่าง
คำสัมภาษณ์ของนายพันศักดิ์ระบุว่า
ขณะที่ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศของไทย
ที่มีอยู่ 4.9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐนั้น "สูงจนน่ากลัว"
เพราะระดับทุนสำรองฯที่เหมาะสม คือ 3.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
พร้อมทั้งเสนอว่า ควรจะมีการนำทุนสำรองฯที่สูงเกินควรนั้นมาลงทุน
เพื่อให้รายได้ที่มีคุณภาพ โดยอธิบายคำว่า
รายได้ที่มีคุณภาพว่าเป็นการลงทุนให้เกิดรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ
ไม่ใช่เป็นการลงทุนแบบเก็งกำไร
ถ้าเอาภาพที่นายพันศักดิ์พยายามอธิบายออกมา
ไปทาบกับภาพของ "GIC" ก็แทบจะแนบสนิทเป็นพิมพ์เดียวกัน
เพราะ "GIC" กำเนิดมาจากการที่สิงคโปร์
ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเงินแห่งหนึ่งในเอเชีย
ทำให้มีเงินดอลลาร์สหรัฐถ่ายเทเข้าจำนวนมาก
การเก็บทุนสำรองฯจำนวนมากมายไว้เฉยๆ
นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์โภคผลอะไรเกิดขึ้นแล้ว
ยังจะเป็นต้นทุนของประเทศอีกต่างหาก
จึงมีการตั้ง "GIC" ขึ้นเพื่อนำทุนสำรองฯของสิงคโปร์ไปลงทุน
แต่สิ่งที่สำคัญคือ ต้องเป็นการลงทุนในต่างประเทศเท่านั้น
เพราะหากเป็นการลงทุนในประเทศ ก็เท่ากับปั๊มเงินเข้าระบบ
กลายเป็นปัญหา "เงินเฟ้อ" ขึ้นมา
ถามว่า ผิดไหมที่ไทยจะเดินตามรอย สิงคโปร์ ดู
ในภาพรวมแล้วไม่ผิด
เพราะการนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ได้ผลมาปรับใช้ในไทย
น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าการสร้างนวัตกรรมการใหม่ๆ ขึ้นมาเอง
ซึ่งกว่าจะลองผิดลองถูก จนได้รูปแบบที่เหมาะสมปัญหา
ก็อาจจะบานปลายออกไปจนยากจะแก้ไขได้
การหยิบเอาของสำเร็จรูปที่มีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์
ก็น่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยก้าวไปข้างหน้าได้เร็วกว่า
อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทยนั้น
การเลียนแบบสิงคโปร์นั้นจะต้องไม่เลียนแบบเฉพาะ "นวัตกรรม" เท่านั้น
แต่ต้องนำเอา Integrity ที่สิงคโปร์มีอยู่มาใช้ด้วย
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และตรวจสอบได้
ในสิงคโปร์นั้นทั้ง "GIC" และ "TEMASEK" ต่างระดมบุคลากรประเภท "ซุปเปอร์"
มาทำงานแทบทั้งสิ้น ทั้งความรู้และความสามารถ
รวมทั้งมีการกำหนดกรอบและวินัยในการทำงานและการลงทุนไว้อย่างชัดเจน
เพื่อป้องกันการทุจริต แต่ กระนั้นก็ยังไม่วายมีข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า
ธนาคารกลางของสิงคโปร์ สั่งปรับเจ้าหน้าที่ของ "GIC"
เป็นเงิน 7.15 แสนเหรียญสิงคโปร์ ฐานใช้ข้อมูลภายในไปซื้อหุ้นสุมิโตโม มิตซุย
ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว
โอซากา และนาโงยา ส่วนประเทศไทยไม่อยากจะพูดถึง
เพราะปัญหา "คอร์รัปชั่น" ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่จนถึงบัดนี้
พ.ต.ท.ทักษิณก็ยังไม่กล้าเข้าไปแตะ หรือ
แค่กองทุนวายุภักษ์ วงเงิน 7 หมื่นล้านบาท
ยังมีทั้งนักการเมืองและไม่ใช่นักการเมือง "มะรุมมะตุ้ม"
จนเกือบจะเละคากระทรวงการคลังมาแล้ว และถ้าจะให้ชัดเจนเข้าไปอีก
ก็เรื่องการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย วงเงินแค่หลักหมื่นล้านบาท
ที่มีคนรอบข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้าไปเกี่ยวข้องอีนุงตุงนังไปหมด
ส่วนครั้งนี้ เรากำลังพูดถึงสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 5.3 ล้านล้านบาท
และเงินตราต่างประเทศ 1.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
หรือคิดเป็นเงินบาท 6.5 แสนล้านบาท
(ตามที่นายพันศักดิ์เสนอว่าควรนำทุนสำรองฯ
ส่วนที่เกินจากระดับที่ เหมาะสมมาลงทุน)
ไม่อยากจะคิดเลยว่า "อนาคต" ประเทศไทยจะไปทางไหน?
หน้า 20