เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
May 2, 2009
ผลกรรม-ผลพลอยได้
คอลัมน์ แทงก์ความคิด
นฤตย์ เสกธีระ
max@matichon.co.th
มติชน
วันที่ 03 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ชายหลายคนที่ผ่านวัยฉกรรจ์คงเคยใฝ่ฝันอยากมีหุ่นนายแบบ
มีกล้ามหน้าท้อง มีกล้ามแขน มีกล้ามหน้าอก
อีกหลายคนอยากเพาะกายให้กล้ามเนื้อปูดโปนออกมาแบบ
ท่านผู้ว่าการมลรัฐแคลิฟอร์เนีย
"อาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์"
กระทั่งระยะหลัง การเพาะกายเพาะกล้ามเนื้อ
มิได้นิยมกันเฉพาะฝ่ายชาย
ฝ่ายหญิงหลายคนก็ชื่นชอบ
วิธีการเพาะกล้ามเพาะกายเท่าที่อ่านๆ มา
มีหลักการที่สำคัญ คือ "การออกกำลังกาย" ครับ
หากเราต้องการเพาะกล้ามเนื้อที่ส่วนไหนก็ต้องเลือก
ท่าออกกำลังกายที่บังคับให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นทำงานหนักขึ้น
อยากมีกล้ามเนื้อแขนก็ยกดัมเบลล์
อยากมีกล้ามเนื้อหน้าอกก็ต้องยกเวต
อยากมีกล้ามเนื้อหน้าท้องก็ต้องใช้
ท่ากายบริหารที่บังคับให้กล้ามเนื้อหน้าท้องทำงานหนัก
พอกล้ามเนื้อทำงานหนักขึ้น กล้ามเนื้อก็จะใหญ่ขึ้นๆ
และหากเราสามารถควบคุมการเติบโตของกล้ามเนื้อได้
เราก็จะได้รูปร่างที่สมสัดส่วน
หญิงเห็นหญิงชอบ
ชายเห็นชายชอบ
การเพาะกายจึงเป็นการกระทำที่
ก่อให้เกิดผลตามมาแบบอัตโนมัติ
เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ
"ผลที่เกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ"
ตามกฎธรรมชาตินี่แหละครับเรียกว่า "ผลกรรม"
ผลที่เกิดขึ้นแบบนี้
มีปรากฏให้เห็นในคำสอนทางพระพุทธศาสนา
อย่างเช่น คำสอนเรื่องการให้ทาน พระท่านสอนว่า
การให้ทาน คือ การเสียสละ
หากเราให้ทานที่เป็นวัตถุ
ทันทีที่เราให้ เราก็จะเรียนรู้การละจากความโลภ
คือรู้จักการเอาส่วนที่เหลือเฟือไปแบ่งปันให้คนอื่น
แต่ถ้าเราให้ทานที่เรียกว่า "ธรรมทาน" คือ การให้ความรู้แก่ผู้ไม่รู้
สิ่งที่เราจะได้ทันทีที่ให้ความรู้คือ การขจัดความไม่รู้ของตัวเอง
ทั้งนี้ เพราะก่อนที่เราจะอธิบายให้ใครเข้าใจสิ่งใดๆ
เราจำเป็นต้องเข้าใจในสิ่งนั้นๆ ก่อน
อภัยทานก็เช่นกัน
พระท่านสอนว่า ถ้าเรารู้จักให้อภัย
เราจะพบหนทางละความโกรธลงไปได้
เช่นเดียวกับคำสอนสั่งเรื่องการปล่อยวาง
ใครวางได้ก่อน คนนั้นก็พ้นทุกข์ได้เร็ว
สิ่งเหล่านี้เป็นกลไกที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
ทำได้ปุ๊บ เกิดผลปั๊บ
เหมือนวลีที่ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" นั่นแหละครับ
เพราะเมื่อทำดี ใจเราก็เป็นสุขทันที
ขณะที่เราทำไม่ดี ใจเราก็เป็นทุกข์
ส่วนคนที่ไปดัดแปลงวลีดังกล่าว
เปลี่ยนจาก "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"
เป็น "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" นั้น
อาจเป็นเพราะสับสนระหว่าง "ผลพลอยได้" กับ "ผลกรรม"
เพราะขณะที่ "ผลกรรม" เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
และเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
"ผลพลอยได้" กลับเป็นผลที่เกิดขึ้นมาต่างหาก
"ผลพลอยได้" คือ สิ่งที่เราคาดหวัง
หลังจากได้กระทำอะไรลงไปว่าจะได้อย่างนั้นจะได้อย่างนี้
เช่น เมื่อเราขยันทำงานเราก็คาดหวังว่าจะได้เลื่อนขั้น เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง
เมื่อเราลงทุนทำการค้า เราก็มุ่งหวังว่าเราจะได้เงินจำนวนมหาศาล
เมื่อเราคร่ำเคร่งอ่านหนังสือ เราก็อยากจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้
สิ่งที่เราคาดหวังทั้งหลายนั่นแหละครับ คือ "ผลพลอยได้"
เพราะแม้บางครั้งเราขยันทำงาน แต่ก็ใช่ว่าเราจะได้เลื่อนขั้น เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง
บางครั้งเราลงทุนทำการค้า ก็ใช่ว่าสุดท้ายเราจะได้เงินจำนวนมหาศาล
หรือนักเรียนที่อ่านหนังสืออย่างหนัก
บางคนก็พลาดหวังจากผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
คือ พลาดหวังจาก "ผลพลอยได้"
แต่ "ผลกรรม" ที่เราได้นั้นยังคงอยู่นะครับ
อย่างน้อยที่สุด เมื่อเราขยันทำงาน เราก็จะมีความชำนาญในงานนั้นทันที
อย่างน้อยที่สุด เมื่อเราลงทุนทำการค้า เราก็มีประสบการณ์เพิ่มขึ้นทันที
อย่างน้อยที่สุด เมื่อเราอ่านหนังสือ เราก็จะได้ความรู้ทันที
"ผลกรรม" จึงเป็น ความชำนาญ ประสบการณ์
และความรู้ที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อเรากระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไป
ดังนั้น ใครที่กำลังทำความดีอยู่ อย่าเพิ่งท้อแท้นะครับ
ทุกครั้งที่ท่านคิดดี และทำดี "ผลกรรม" คือ ความสบายใจจะเกิดขึ้นทันที
เหมือนกับทุกครั้งที่เราไปทำบุญ ความสุข ความสงบ ก็จะเกิดขึ้น
ผิดกับคนที่คิดละโม คนที่โกรธ คนที่หลง
พออารมณ์โลภ โกรธ หลงเกิดขึ้น ใจก็เป็นทุกข์ในทันที
เหตุเพราะคิดถึง "ผลพลอยได้" มากกว่า "ผลกรรม"
แต่หากเราสามารถให้ความสำคัญต่อ "ผลกรรม" มากกว่า "ผลพลอยได้"
บางทีชีวิตของเราจะมีสุขมากขึ้นก็เป็นได้นะครับ
สวัสดี
หน้า 17