เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
May 20, 2009
การงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน
วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
สูตรสำเร็จข้อที่จะพูดถึงต่อไปนี้
พระพุทธองค์ทรงใช้คำว่า
มชฺชปานา จ สญฺญโม จ
มีความหมายเท่ากับและ มชฺชปานาแปลว่า "จากการดื่มมัชชะ"
สญฺญโม แปลว่า การงดเว้น การเว้นขาด
มัชชะแปลว่าน้ำเมา หมายเอาสิ่งมึนเมาทุกชนิด เช่นสุรา (น้ำเมาที่กลั่น)
เมรัย (น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น พวกอุ กระแช่ น้ำตาลเมาเป็นต้น บุหรี่ก็รวมด้วยนะจ๊ะ)
มีผู้อธิบายว่าสัญญมะ แปลว่า "สำรวม" คำว่าสำรวมหมายถึง
ระมัดระวังไม่ให้เกินขนาด ไม่เกินพอดี มิได้หมายถึงยกเว้นโดยสิ้นเชิง อย่างเช่น
สำรวมตา หมายถึง เวลาดูอะไรก็ให้ดูอย่างระมัดระวัง มิใช่ห้ามดู
สำรวมปากหมายถึงให้พูดอย่างระมัดระวัง มิใช่ห้ามพูด
เพราะฉะนั้นสำรวมจากการดื่มน้ำมาก็หมายความว่า ดื่มได้ แต่ดื่มอย่างระมัดระวัง
หรือดื่มพอประมาณ แล้วก็ยกศีลข้อห้าพร้อมคำแปลแบบนักบาลีเถื่อน
(ซึ่งมีอยู่ดาษดื่นมาสนับสนุน)
สุราเมรยมชฺชปมามาทฏฐานา...ดื่มสุราเมรัยดื่มได้ แต่อย่าดื่มจนประมาทขาดสติเป็นใช้ได้!
ไปๆ มาๆ ก็ลากบาลีเข้ามาหาตัว ไม่ผิดพวกนักเลงสุราคอทองแดงที่ตั้งวงก๊งกันสนุกสนาน
ชูสโลแกนน่ารักว่า "สุราแปลว่าเหล้า กินกับเป็ดจะสำเร็จโสดาบัน
กินกับไก่จะได้ขึ้นสวรรค์ กินกับหมูจะเข้าสู่นิพพาน
กินเหล้าเปล่าๆ จะโดนไม้เท้ายมบาล"
บัญญัติคำขวัญขึ้นมาเองยังดีกว่าพวกบ้าที่ยกบาลีขึ้นมาแล้ว
แปลเอาตามใจชอบของตัวเอง พวกหลังนี้เรียกว่า พวกกล่าวตู่พุทธพจน์
ถ้าเป็นเรื่องหลักธรรมคำสอนที่สำคัญๆแล้วมาบิดเบือนเพื่อให้คนหลงเข้าใจผิด
นับว่าทำบาปมหันต์
ทางพุทธศาสนาถือว่า สุราเมรัยเป็น "ที่ตั้งแห่งควมประมาท"
คือเป็นสาเหตุให้เกิดความประมาท ขาดสติไม่ว่าใครดื่มแล้วย่อมเมา
เมาแล้วย่อมขาดสติ ถ้าดื่มบ่อยๆ จนเป็นนิสัย ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ชีวิตและทรัพย์สิน อบายมุข (ทางฉิบหาย) นั่นแหละจะพูดไปทำไมให้ฟังยาก
ทางที่ดีจึงไม่ควรข้องแวะ
ในสิงคาลกสูตร พระพุทธเจ้าตรัสโทษสุราไว้ชัดเจน ใครก็เถียงไม่ได้
และเป็นโทษที่ครอบคลุมเสียด้วย คือเสียทรัพย์ (ยิ่งยี่ห้อดีๆ ยิ่งต้องเสียเงินมาก ว่างั้นเถอะ)
ก่อการทะเลาะวิวาท (ฆ่ากันตายกลางวงมานักต่อนัก) ทำให้เกิดโรค
(เช่นโรคทางเดินอาหาร พิษสุราเรื้อรัง) เสียชื่อ (ได้สมญาว่า ไอ้ขี้เมา) สติปัญญาเสื่อม
(สมองเสื่อม ความจำเลอะเลือน) ไม่รู้จักอาย (เมาแล้วทำอะไรแปลกๆ
นึกว่าเป็น "มาด เฉลา" ของข้า แต่คนธรรมดาเขาทุเรศ)
ครับ คงไม่มีใครเถียงพระพุทธเจ้าว่าที่ท่านตรัสไว้นั่นผิด
แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า เราปฏิบัติกันได้ไหมต่างหาก
ดังได้พูดมาแล้วว่าคำว่า มัชชะ เป็นคำรวมหมายครอบคลุมทั้งสุรา
(น้ำเมาประเภทที่กลั่นแล้ว) และเมรัย (น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น)
มีคำที่ผู้เฒ่าผู้แก่พูดไว้คำหนึ่ง ผมว่าเป็น "คำนิยาม" ที่เข้าทีดี
คือ "สุราน้ำใส เมรัยน้ำข้น"
พูดถึงเมรัย เราก็นึกไปถึงจำพวกกระแช่ อุเท่านั้น
ความจริงเครื่องหมักดองอื่นที่กินแล้วเมาได้ เช่นน้ำตาลเมา
ข้าวหมาก หมากพลู บุหรี่ ก็รวมอยู่ด้วย
โดยเฉพาะบุหรี่ใครอย่ามาเถียงว่าไม่ใช่ยาเสพติด ผมเห็นคนติดบุหรี่
ไม่ได้สูบบุหรี่ระยะหนึ่งเท่านั้น จะตายให้ได้
สิ่งเหล่านี้ว่าตามหลักแล้วพระสงฆ์ไม่ควรเสพ แต่ก็เห็นพระสูบบุหรี่
กินหมากกันเกร่อ เพราะธรรมเนียมไทยไม่ถือ เวลาทำบุญต่างๆมักจัดหมากพลู
บุหรี่ไว้ถวายพระกันทั้งนั้น เป็นเมืองไทยไม่สู้กระไรนัก
แต่ถ้าไปสูบให้ชาวต่างชาติเห็นล่ะก็ "เสียพระ" เอาง่ายๆ จะบอกให้
ที่ประเทศศรีลังกา เท่าที่ผมทราบ ถ้าชาวบ้านเห็นพระสูบบุหรี่จะเลิกนับถือเลย
เขาถือว่ามีความผิดหนักพอๆกับปาราชิก
ที่ประเทศอังกฤษก็เช่นเดียวกัน สมัยเมื่อครั้งพระธรรมทูตไทยไปอยู่ที่กรุงลอนดอนใหม่ๆ
เจ้าคุณพระโสภณธรรมสุธีหรือมหาวิจิตร หัวหน้าพระธรรมทูต
ถัดจากเจ้าคุณพระธรรมธีรราชมหามุณี (สมัยนั้นเป็นพระราชสิทธิมุณี)
ติดบุหรี่ขนาดหนักก่อนไปจากเมืองไทย
พอไปอยู่ลอนดอนรู้ว่าที่นั่นเขาถือเป็นเรื่องใหญ่ท่านก็เลิกทันที
เพราะความจำเป็นบังคับ
ไอ้กระผมเป็นคนไม่สูบบุหรี่แต่ไม่แพ้ควันบุหรี่
(คือนั่งคุยกับคนที่สูบได้ ไม่ดัดจริตเป็นลมต่อหน้าเขา)
ไม่รู้ว่ามันมี "อิทธิพล" ครอบงำใจ "สิงห์อมควัน" มากขนาดไหน
ดูๆ ก็ไม่น่าจะเลิกยาก แต่ถามคนที่ติดขนาดหนักแล้วมันเหมือน
"กำแพงลม" ที่ทำลายลงยากเหลือเกิน
พิษสงบุหรี่ดูๆ ก็ไม่น่าจะร้ายกาจอะไรนักหนา แค่เวลาไม่ได้สูบแล้ว
ทำไมมันพานจะตายให้ได้ บางคนขาดสูบบุหรี่แล้วคิดอะไรไม่ออก
พอได้ "อัดเข้าปอด" สักครึ่งมวนล่ะก็สมองปลอดโปร่งเชียว
ภาษาสิงห์อมควันสมัยก่อนเขาเรียกว่า "เผาหัว"
สมัยก่อน เวลาพระภิกษุสามเณรสอบสนามหลวง (คือสอบไล่บาลี นักธรรมประจำปี)
ห้องสอบมักจะมีควันบุหรี่ฟุ้งอย่างกับใครเผาขยะในห้อง
ไม่ใช่อะไรดอกครับ ท่านที่ติดบุหรี่จะงัดบุหรี่ออกมา "เผาหัว" ก่อน
ไม่อย่างนั้นคิดอะไรไม่ออก ทำข้อสอบจะพาลสอบตกเอา
กรรมการคุมสอบท่านเห็นใจก็เลยปล่อย
ไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้ยังคงมีภาพอย่างนั้นอยู่รึเปล่า แต่คิดว่ายังคงมีอยู่
ที่พระเณรท่านยังสูบบุหรี่ ฉันหมากกันอยู่ก็เพราะ
สังคมไทยยังเห็นว่าสิ่งเหล่านี้มิใช่ยาเสพติด
ตอนนี้นักวิชาการก็ยืนยันแล้วว่าเป็นแน่ๆ
ก็ควรที่จะถึงเวลาที่วงการคณะสงฆ์จะประกาศ
ห้ามพระเณรทั่วประเทศสูบบุหรี่หรือฉันหมากได้แล้วครับ
เขากำลังรณรงค์เรื่องนี้กันอย่างขะมักขะเม้น
ถ้าพระสงฆ์ช่วยเขาอีกแรงหนึ่ง จะลดจำนวน "สิงห์ขี้ยา" ลงไม่น้อยเลยทีเดียว
แต่สำคัญที่พระคุณเจ้าที่อยู่หัวแถวต้องเลิกก่อนเขานะครับ
หน้า 6