ไทยรัฐ
4/5/09
สภาวะเศรษฐกิจที่นับวันจะมีแต่แย่ลงแบบนี้ การลดเงินเดือน หรือตัดโบนัส ย่อมกลายเป็นมาตรการต้นๆที่ผู้ประกอบการนำมาใช้เพื่อพยุงธุรกิจ แต่หากไม่ไหวจริงๆคงต้องพึ่งไม้ตายด้วยการปรับลดพนักงาน ซึ่งเชื่อว่าไม่มีใครอยากตกเป็นหนึ่งในพนักงานกลุ่มนั้น แต่จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ตัวเราเข้าไปเป็นหนึ่งในคนที่เจ้านายเห็นว่าเป็นจุดอ่อนที่ต้องกำจัด
และนี่คือ 5 เทคนิคสำหรับพัฒนาตัวเอง เพื่อให้เจ้านายหรือหัวหน้างานเห็นคุณค่าในตัวคุณ และอยากที่จะเก็บคุณไว้ทำงานด้วยนานๆ
1.เปิดอกคุยกับหัวหน้างานตรงๆ
วิธีนี้อาจดูฮาร์ดคอร์ไปหน่อย แต่อย่างน้อยก็เป็นการแสดงให้เห้นถึงความจริงใจของคุณที่ต้องการจะพัฒนาศักยภาพในการทำงาน แต่คุณต้องเตรียมใจไว้ด้วยสำหรับคำตอยของหัวหน้างานของคุณ หากคุณอยากรู้ว่าคุณเป็นยังไง
รอน มิเชล ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำแนะนำเรื่องอาชีพ และผู้บริหารระดับสูงของ New York City-based Gotta Mentor แนะนำว่าคำถามที่ดีที่คุณควรใช้สำหรับถามหัวหน้างานของคุณเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพในตัวคุณ คือ 1.อะไรคือสิ่งที่ฉันควรปรับปรุง และ 2 อะไรคือสิ่งที่ฉันควรทำเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้งานบรรลุเป้าหมาย
2.หัดเรียนรู้งานของคนอื่น
หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดจะทำให้คุณรักษาเก้าอี้ของคุณไว้ได้นานที่สุด นั้นคือการเพิ่มคุณค่าให้ตัวคุณเอง วิธีนี้อาจดูว่าคุณเป็นคนเห็นแก่ตัวไปซะหน่อย แต่มันจำเป็น ซึ่งหากคุณสามารถเรียนรู้งานอื่นจนสามารถพัฒนาเป็นทักษะงานใหม่ได้ ต้องไม่ลืมแสดงให้คนอื่นรู้ โดยเฉพาะแสดงให้หัวหน้างานของคุณเห็น
3.ทำกำไรให้บริษัท
หากคุณไม่รู้ว่างานที่คุณทำอยู่เป็นการสร้างรายได้ที่เป็นเม็ดเงินให้บริษัท หรือเป็นการลดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัท? หรือเป็นทั้ง 2 อย่าง คุณต้องเร่งหาคำตอบให้เจอ หรือหากคุณไม่รู้จริงๆ และต้องการความช่วยเหลือให้ปรึกษาเพื่อนสนิทที่ไว้ใจได้ เพื่อนร่วมงาน หรือเจ้านายของคุณ โดยเฉพาะพยายามแสดงให้เจ้านายของคุณรู้ว่าคุณกำลังพยายามพัฒนาการทำงานของตัวเอง และ แสดงให้เห็นว่าคุณมีความจำเป็นสำหรับงานนี้มากขนาดไหน
4.เป็นลำโพงให้กับตัวเอง
ไม่ว่าในแวดวงหนคงไม่มีใครชอบคนที่หยิ่งยะโส แต่การนิ่งเงียบบและอยู่เฉยๆโดยไม่แสดงออกอะไรเลย ก็ไม่ใช่วิธีที่ลาด เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องเลิกงานดึกดื่น เพื่อทุ่มเทให้กับโปรเจ็คใหม่ หรือเพื่อเตลียร์งานให้เสร็จ การเทรนด์งานให้กับเพื่อนร่วมงานใหม่ หรือทำอะไรที่เป็นผลงานของคุณ คุณต้องมั่นใจว่าเจ้านายของคุณมีโอกาสรับรู้ เพราะหัวหน้ามักเลือกจะเก็บคนที่ตั้งใจทำงาน และทุ่มเทเพื่องานไว้ทำงานด้วย
5. เป็นฮีโร่กอบกู้บริษัท
ปัจจุบัน อัตราการประกาศเลิกจ้างงานที่พุ่งสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ดังนั้นโอกาสเดียวที่คุณจะอยู่รอดบนเก้าอี้ของคุณได้ คือ การทำวิกฤตเป็นโอกาสโดยอาศัยความสามารถของตัวคุณ พยายามใช้ความสามารถในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะในสภาวะเช่นนี้ การร่วมคิดและเสนอแนวทางเพื่อให้บริษัทผ่านพ้นวิกฤตไปได้ เหมือนประหนึ่งคุณเป็นฮีโร่ที่มาช่วยกอบกู้องค์กรของคุณไว้จากเหล่าปีศาจ เพราะหากคุณทำได้จริง ไม่เพียงแต่งานของคุณจะมั่นคงขึ้นเท่านั้น แต่รายได้ที่คุณจะได้รับมันจะเพิ่มขึ้นโดยไม่คาดคิด
ข้อมูลโดย Bridget Quigg
ไทยรัฐ
21/8/09
มาจัดสมดุลให้ชีวิตกันเถอะ
เหน็ดเหนื่อยจากงานมาทั้งวัน กว่าจะกลับถึงบ้านก็มืดค่ำ เป็นอย่างนี้มาชั่วนาตาปี เมื่อไหร่จะหลุดพ้นวงจรเก่าๆตื่นเช้า-ทำงาน-กลับบ้่าน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เจอปัญหาเหล่านี้ น่าจะถึงเวลาแล้วที่คุณจะหันกลับมาจัดสมดุลในชีวิตของคุณซักที ด้วย 5 วิธีง่ายๆ
1.สร้างเส้นแบ่งในสมองของคุณระหว่างงานกับที่บ้าน
จิตแพทย์สังคมแนะนำว่า “ความสามารถในการทำงานของคุณจะทรงประสิทธิภาพ ตราบเมื่อชีวิตส่วนตัวของคุณสามารถทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายและเพิ่มพลังให้ ตัวคุณ” ถ้าคุณไม่สามารถจะทิ้งความคิดหรือภาระงานของคุณไว้ที่ออฟฟิศหลังเลิกงานได้ เราแนะนำให้คุณสร้างห้องสงบทางจิตใจ จากนั้นให้คุณเข้าไปนั่งอย่างสงบในนั้น และสลัดความคิด ความเครียดที่มีในภารงานไว้ในห้องนั้น จากนั้นจึงปิดตายมัน เพื่อให้สมองและความคิดของคุณเหลือพอที่จะไปทำหรือคิดเรื่องอื่นบ้าง
Trips : เมื่อถึงเย็นวันศุกร์หรือทุกๆเย็นหลังเลิกงานก่อนที่คุณจะเดินออกจากออฟฟิศ ให้คุณล็อกจากห้องนั้นซะ หากจำเป็น
2.ทิ้งภาระงานทั้งหลายไปไว้ที่ออฟฟิศ
บาง ครั้งคุณอาจรู้สึกว่างานทั้งหลายมันกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตจของคุณ หรือฝังอยู่ภายใต้จิตสำนึกของคุณโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะหากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องทำงานหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งเวลาที่อยู่บ้าน หากคุณต้องล้างจานไปด้วยขณะคุยโทรศัพท์กับคุณแม่ หรือคุณต้องเช็คเมลผ่านแบล็กเบอร์รี่ขณะกำลังชมภาพยนตร์ ในกรณีนี้ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า “คุณอาจเคยชินกับการทำงานหนักหรือมากเกินไปจนรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับร่างกายคุณแล้วไม่มีทาง”
และเพื่อที่จะจัดสมดุลระหว่างการ ทำงาน การพักผ่อน และการบันเทิงเริงใจ ให้คุณเขียนพฤติกรรมการทำงาน 5 อย่างมักเบี่ยงบังเวลาพักผ่อนของคุณ โดยให้คุณเลือกโฟกัสที่พฤติกรรมหนึ่งก่อน เช่น หากคุณมักอดไม่ได้ที่จะใช้เจ้าแบล็กเบอร์รี่ ระหว่างช่วงพักผ่อน ให้คุณค่อยๆลดและเลิกพฤติกรรมนี้
3.ทำความรู้จักหรือเป็นเพื่อนกับคนรอบข้างคุณนอกเหนือจากคนในวิชาชีพ
ดักลาส รูสคอฟ ผู้เขียนหนังสือ “ Get Back in the Box: Innovation from the Inside Out” บอกว่า เพื่อที่จะเติมเต็มชีวิตส่วนตัวของคุณให้สมบูรณ์ คุณต้องขยายขอบข่ายคนที่คนรู้จักมากกไปกว่าคนที่คุณทำงานด้วย มิฉะนั้น คุณก็มักจะถูกผลักให้เล่นบทบาทเดิมๆที่คุณแสดงที่ที่ทำงานของคุณ วิธีง่ายๆในการทำความรู้จักเพื่อนๆใหม่ๆอาจเป็นการลงเรียนวิชาสิลปะ หรือเข้าชั้นเรียนโยคะ พร้อมทำความรู้จักเพื่อนร่วมชั้นของคุณ หรือถ้าไม่งั้นเพื่อนออนไลน์ก็อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลอกที่น่าสนไม่น้อย
4.กำหนดเวลาว่าเมื่อไหร่ที่คุณควรเลิกพูดเรื่องงาน
หาก เพื่อนร่วมกลุ่มของคุณทั้งหมดเป็นคนที่ทำงานอยู่ในแวดวงเดียวกัน คุณควรตั้งกฎทางสังคมร่วมกันซักข้อหนึ่ง เช่น พวกคุณอาจสุมหัวพูดถึงเรื่องงาน จัดกลุ่มเม้าท์ อย่างไรก็ตามคุณต้องมั่นใจว่าสิ่งเหล่านี้อยู่ในเวลาที่กำหนด เช่น 10 นาที และเมื่อครบเวลานั้นแล้ว คุณต้องเปลี่ยนหัวข้อในการสนทนาทันทีไปเป็นเรื่องอะไรก็ได้ ตั้งแต่การเมืองไปจนถึงเรื่องของไฮโซสาว ปารีส ฮิลตัน
5.ทำให้บ้านของคุณเป็นเสมือนสถานที่หลบภัย
เพื่อ ป้องกันไม่ให้งานมาบุกรุกบ้านของคุณ คุณควรสร้างโปรเจ๊คส่วนตัวขึ้นที่บ้าน เพราะมันจะช่วยให้คุณได้ชาร์จพลังให้ตัวเองอีกครั้ง ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น คุณอาจซื้อผ้าใบมาซักผืนและลงมือเพ้นท์มัน ตกแต่งซีดีซักแผ่นให้เพื่อนของคุณ หรือการวางแผนตกแต่งบ้านใหม่ก็ไม่เลว
Trips : การลงมือเข้าครัวทำอาหารก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจ เพราะหากคุณได้รับประทานอาหารที่ทำจากครัวของคุณ มันจะทำให้คุณรู้สึกถึงความเป็นบ้านมากกว่าเป็นโรงแรม
เรียบเรียงจากเว็บไซต์ยาฮู