Custom Search

Jan 31, 2011

เปิดคัมภีร์ออมเงิน “วิวรรณ”แนะสูตรบริหารความเสี่ยง เริ่มต้นวางแผนให้ดี..วันนี้ยังไม่สาย

ไทยรัฐ
31 มกราคม 2554


“มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน”

แม้ สุภาษิตนี้จะยังคงใช้ได้ดีในทุกยุคทุกสมัย
แต่ปัจจุบันการประหยัดและการอดออมเพียงอย่างเดียว
อาจยังไม่เพียงพอ สำหรับการสร้างความมั่งคั่ง
และความมั่นคงทางการเงินให้กับผู้คนในยุคนี้

เพราะ การฝากชีวิตไว้กับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
ที่แม้นักเศรษฐศาสตร์ทุกค่ายจะฟันธงตรงกันว่ากำลังเข้าสู่การเป็น “ขาขึ้น”
แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากโดยรวมของประเทศไทย
ยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยต่ำมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
จึงเป็นแรงกดดันให้คนทำงาน
โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนต้องหันมา
ให้ความสนใจบริหารจัดการกับเงินของตัวเอง

โดย เฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากที่เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว
โดยตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. ปีนี้ จะมีการจำกัดวงเงินฝากที่ได้รับ
ความคุ้มครองเพียง 50 ล้านบาทต่อธนาคารเท่านั้น
และตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2555 เป็นต้นไป
วงเงินคุ้มครองจะลดลงเหลือเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น

ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้คนต้องมาตระหนักและ
ให้ความสำคัญกับการบริหารเงินในกระเป๋าของตัวเองมากยิ่งขึ้น!!

เพราะ การออมเงินโดยฝากธนาคารเพียงอย่างเดียว
นอกจากจะได้ผลตอบแทนต่ำแล้ว ขณะเดียวกันก็อาจมีความเสี่ยง
หากเกิดกรณีสถาบันการเงินที่ฝากเงินไว้มีปัญหา
ล้มละลายหรือถูกสั่งปิดกิจการ (แม้จะเกิดขึ้นได้ยาก
แต่ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในประเทศไทย)
เงินที่ฝากไว้ในธนาคารก็จะไม่ได้รับการคุ้มครอง
เต็มทั้งก้อนทั้งจำนวนเหมือน ในอดีตอีกต่อไปแล้ว

ขณะ เดียวกัน ในปัจจุบันมีช่องทางการลงทุนที่หลากหลายมากมาย
ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีเงินออม สามารถนำเงินมาบริหารจัดการ
เพื่อให้เงินออกไปทำงานแทนเรา หรือ “เอาเงินไปต่อเงิน”
เพื่อให้เงินในกระเป๋าที่มีอยู่สามารถงอกเงยสร้างความมั่งคั่งให้
หากศึกษาการลงทุนอย่างเข้าใจและมีการลงทุนอย่างถูกต้องเหมาะสม

@@@@@@@
วิวรรณ เผยคัมภีร์การบริหารเงินออมหรือเงินเก็บว่า
ก่อนที่จะนำเงินที่มีอยู่ไปลงทุน ให้กัน “เงินฉุกเฉิน”
หรือเรียกอีกอย่างว่า “เงินรองรัง” ออกมาก่อน
เพื่อกันไว้ใช้ในยามฉุกเฉินหรือ
มีเหตุจำเป็นจึงจะนำออกมาใช้ เช่น กรณีตกงาน

ส่วน “เงินรองรัง” จะเป็นเงินเท่าไรนั้น มีหลักคิดคร่าวๆ คือ
ไม่ต่ำกว่า 3 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในแต่ละเดือน (ไม่ใช่ 3 เท่าของเงินเดือน)
สำหรับผู้ที่มีการงานมั่นคงมีรายรับเป็นเงินเดือนทุกเดือน

ส่วน ผู้ ที่มีอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ รับทำงานเป็นจ๊อบๆ เช่น
อาชีพนักเขียน ดารา จิตรกร มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ
ควรจะกันเงินรองรังไว้ประมาณ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน

เงินออมที่เหลือจากเงินรองรังนี้ จึงจะนำมาลงทุนเพื่อหาดอกผลได้!!

และ เมื่อคิดจะเริ่มลงทุน ก็มีคำถามว่าจะนำเงินไปลงทุนในอะไรได้บ้าง
ซึ่งขณะนี้มีช่องทางมากมาย ที่รอให้เราเข้าไปเปิดหีบขุมทรัพย์
ทั้งการลงทุนในตลาดหุ้น, ทองคำแท่ง, น้ำมัน, พันธบัตรรัฐบาล,

ตั๋ว เงินคลัง, สลากออมสิน, หุ้นกู้บริษัทเอกชน, อสังหาริมทรัพย์
คอนโดให้เช่า หรือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมต่างๆ
ที่จะมีมืออาชีพนำเงินเราไปบริหารจัดการลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ซึ่งจะมีผลตอบแทนและความเสี่ยงมากน้อยแตกต่างกันไป

วิวรรณ บอกว่า “หัวใจของการลงทุน” คือ การจัดสรร
หรือกระจายการลงทุน เรียกให้โก้ว่า Asset allocation
ซึ่งก็คือการแบ่งก้อนของเงินที่จะนำไปลงทุนในแต่ละอย่าง
ที่ต้องจัดสรรให้เหมาะสมและตรงตามความต้องการของตัวเองมากที่สุด
เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น
และเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง

โดยต้องถามตัวเองว่า ต้องการผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหน
และตนเองสามารถรับความเสี่ยงได้มากเท่าไหร่!?!

เพราะ ปกติแล้วการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง
ก็มีโอกาสที่จะได้กำไรหรือผลตอบแทนสูงเช่นเดียวกัน เช่น
การลงทุนในตลาดหุ้น
เรามีโอกาสที่จะได้กำไรจากราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นเป็น “เท่าตัว”
ขณะเดียวกัน ราคาหุ้นก็สามารถปรับตัวลง
จนทำให้เราขาดทุนเกือบ “หมดตัว” ได้เช่นกัน
หากลงทุนโดยไม่มีความรู้และไม่ได้ศึกษาข้อมูลมาอย่างดี

แต่ หากรับความเสี่ยงได้น้อย ไม่ต้องการให้เสียเงินต้นหรือเงินลงทุน
ก็ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงมากกว่า เช่น
ซื้อพันธบัตรรัฐบาล สลากออมสิน
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีนโยบายคุ้มครองเงินต้น
หรือฝากธนาคารเพื่อรับดอกเบี้ย
แต่โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนก็น้อยลงเช่นกัน

สูตรสำรวจความเสี่ยง

ส่วน ใครจะรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหนนั้น วิวรรณ ได้ให้สูตร
ในการสำรวจถึงความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละคน ว่าขึ้นอยู่กับ 6 ปัจจัย คือ

1. อายุน้อยรับความเสี่ยงได้มาก-อายุมากรับความเสี่ยงได้น้อย
เพราะเวลาทำงานเหลือน้อย แม้จะมีเงินออมมาก
แต่หากขาดทุนหรือหมดไปแล้ว โอกาสที่จะหาได้ใหม่ยาก

2. ความมั่งคั่งโดยรวม เช่น คนมีเงินออมที่หามาแทบทั้งชีวิต 100,000 บาท
หากหายไป 10% คือ 10,000 บาท ก็อาจจะเป็นเรื่องใหญ่ และเดือดร้อนได้
แต่ สำหรับคนที่มีเงิน 1,000 ล้านบาท
หากหายไป 100 ล้านบาท ก็ยังมีอีก 900 ล้านบาท
ถือว่ายังมีความมั่งคั่งอีกมาก
ดังนั้น ผู้ที่มีความมั่งคั่งโดยรวมสูง
จะรับความเสี่ยงได้มากกว่าผู้ที่มีความมั่งคั่งโดยรวมต่ำ

3. ระยะเวลาในการลงทุน หากเงินที่ต้องการลงทุนในช่วงเวลาสั้นๆ
ก็จะรับความเสี่ยงได้น้อย เช่น ค่าเทอมลูกที่จะใช้ในเดือน พ.ค.
อีก 4 เดือนข้างหน้า ไม่ควรนำไปลงทุนที่มีความเสี่ยงมาก
เพราะหากขาดทุนไปแล้ว เมื่อ ถึงเวลาที่ต้องใช้อาจหากลับมาไม่ได้
หรือไม่ทัน แต่เงินออมที่ไว้ใช้หลังเกษียณ
ถือเป็นเงินระยะยาว อีก 20-30 ปีจึงจะนำมาใช้ เงินก้อนนี้
จะรับความเสี่ยงได้มากกว่า เพราะการลงทุนในระยะสั้น
อาจมีขึ้นลงผันผวน แต่ในระยะยาวเฉลี่ยแล้วยังได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า

4. ภาระทางการเงินที่มีอยู่ เช่น หากยังมีภาระผ่อนบ้าน ผ่อนรถ
ส่งลูกเรียนหนังสือ ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ ถือว่ารับความเสี่ยงได้น้อย
เพราะหากขาดทุนหรือเงินก้อนนี้หมดไป
อาจทำให้คนที่อยู่เบื้องหลังเดือดร้อน จึงไม่ควรเสี่ยงมาก
ยิ่งมีภาระเยอะเท่าไร ยิ่งรับความเสี่ยงได้น้อย
แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีภาระทางการเงิน ไม่มีหนี้สินต้องผ่อน
ไม่ต้องส่งลูกเรียนหนังสือ ก็สามารถรับความเสี่ยงได้สูงกว่า

5. ความมั่นคงของอาชีพ พวกข้าราชการ พนักงานบริษัทใหญ่ๆ
ที่มีความมั่นคง จะรับความเสี่ยงได้มากกว่าผู้มีอาชีพ
และเงินเดือนที่ไม่แน่นอนและสุดท้าย ข้อ 6. สำคัญมาก
คือความมั่นคงทางจิตใจ หรือเรียกว่าความวิตกกังวลส่วนบุคคล เช่น
บางคนอาจมีคุณสมบัติตั้งแต่ข้อ 1-5 ดีหมด
มีความสามารถในการรับความเสี่ยงได้สูง แต่มีนิสัยวิตกกังวลลงทุนไปแล้ว
เครียดนอนไม่หลับ กลัวขาดทุน หรือขาดทุนไปแล้วก็มานอนเศร้า
นั่งทุกข์ใจ ตัดใจไม่ได้ ขอแนะนำว่าอย่าลงทุนในหุ้น
หรือในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเด็ดขาด
เพราะจะทำให้ชีวิตไม่มีความสุขเมื่อชีวิตไม่มีความสุข
มีเงินเยอะเท่าไรก็ไม่มีความหมาย!!

เปิดสูตรการลงทุน 


คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

เมื่อ พิจารณาคุณสมบัติของตัวเองเพื่อประเมินความสามารถในการรับความเสี่ยงได้แล้ว
รู้แล้วว่าตัวเองสามารถรับความเสี่ยงได้แค่ไหน ก็ลงมือจัดพอร์ตการลงทุนของตัวเองได้เลย

ซึ่ง วิวรรณในฐานะนายกสมาคมนักวางแผนการเงินได้จัดพอร์ต
ทำตัวอย่างการจัดสรรการลงทุนของคนไว้ 3 ประเภท(ในตาราง) ไว้อย่างน่าสนใจ

คือ พอร์ตลงทุนแบบอนุรักษ์นิยม สำหรับผู้ที่ต้องการความมั่นคงสูง
ความเสี่ยงต่ำมาก และได้รับผลตอบแทนในระดับที่น่าพอใจ
เรียกกลุ่มนี้ว่าเงินต้นไม่หาย แต่ได้ผลตอบแทนงอกเงยกว่าแช่แป้งเงินฝากไว้ในธนาคาร

สูตร นี้แบ่งก้อน เงินออมไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือพวกสลากออมทรัพย์ ออมสิน
ซึ่งไม่มีความเสี่ยงเลยมากที่สุดถึง 40% อีก 25% ลงทุนในกองทุนรวม
ที่เน้นลงทุนในตลาดเงิน (เงินต้นไม่หาย ผลตอบแทนไม่ต้องเสียภาษี)
และแบ่งไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 10%
อีก 10% ลงทุนในตลาดหุ้น และลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ 5% เช่น
ทองคำ, น้ำมัน หรือกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในสินทรัพย์เหล่านี้

ที่เหลือ 10% สุดท้าย ฝากแบงก์กินดอกเบี้ย พอร์ตนี้คาดหวังจะได้
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 4.325%

สำหรับ แบบที่ 2 เพิ่มความเสี่ยงมาอีกนิด หวังได้ผลตอบแทนเพิ่มอีกหน่อย
เรียกว่าการลงทุนแบบปานกลาง โดยลดการลงทุนในตลาดเงินจาก 25%
เหลือ 15% โดยไปเพิ่มการลงทุนในตลาดหุ้นเป็น 20%
ซึ่งพอร์ตนี้คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 5.67% ต่อปี

และ แบบสุดท้าย Aggressive สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูงขึ้น
โดยเพิ่มการลงทุนในตลาดหุ้นสูงที่สุดถึง 30%
โดยลดการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลลงเหลือ 20%
และไปเพิ่มการลงทุนในทองคำ, น้ำมัน
หรือสินค้าโภคภัณฑ์เป็น 15% เท่ากับการลงทุนในตลาดเงิน
ขณะที่ยังลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เท่าเดิม

10% เช่นเดียวกับเงินฝากธนาคาร 10% พอร์ตนี้หวังผลตอบแทนเฉลี่ย 7.47%

สูตรสำเร็จการออม

อย่าง ไร ก็ตาม วิวรรณ ระบุว่า ก่อนที่จะลงทุนได้
ต้องเริ่มที่การออมเงินก่อน เพราะหากไม่มีเงินออมก็ลงทุนไม่ได้
การออมจึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่สุด
โดย วิวรรณ ได้เผย 5 เทคนิคการ ออมไว้อย่างน่าสนใจว่า
การออมจะเกิดขึ้นได้ข้อแรกคือ

1. ต้องมีวินัย คือมุ่งมั่นทำให้สม่ำเสมอ เช่น
ตั้งใจจะออมเงินให้ได้ทุกวัน(สำหรับผู้ที่มีรายได้รายวัน)
หรือทุกเดือน ต้องทำให้ได้สม่ำเสมออย่าได้ขาด

2. ตั้งเป้าหมายที่ท้าทายขึ้น เช่น เริ่มปีแรก จะออมให้ได้เดือนละ 1,000 บาท
พอขึ้นปีที่ 2 เพิ่มเป็น เดือนละ 1,200 หรือ 1,500 บาทพอปีที่ 3
เพิ่มขึ้นเป็น 2,000 บาท ต้องเพิ่มขึ้นให้ได้ทุกปี
เพราะปกติแล้วเงินเดือนขึ้นทุกปี แต่เรากินเท่าเดิมหรือ
พยายามจำกัดงบใช้จ่ายประจำวันให้ได้เท่าเดิม
เพื่อให้ออมได้มากขึ้น และเมื่อถึงจุดหนึ่งที่มีรายได้สูงขึ้น
และมีฐานะการเงินเริ่มมั่นคง ก็ยิ่งออมเงินได้มากขึ้น
เมื่อเก็บเงินได้มากพอก็จะทำให้สามารถนำไปลงทุนได้เร็วขึ้น

3.ให้ รางวัลกับตัวเอง เช่น เมื่อออมได้ครบตามเป้าหมาย
จะให้รางวัลตัวเอง 5-10% ของเงินที่ออมได้ เช่น
ซื้อกระเป๋าที่อยากได้ เข้าสปาหรือซื้อทัวร์ไปเที่ยว
เพื่อให้มีความสุขกับการออมและเป็นกำลังใจให้ตัวเองเดินหน้าออมเงินได้ต่อไป
เพราะการตั้งหน้าตั้งตาเก็บเงินอย่างเดียวโดยไม่เอามาใช้เลย
อาจทำให้เครียดและกดดันตัวเองเกินไป เรียกข้อนี้ว่าออมไปสุขไปว่างั้นเถอะ

4. อย่าใจอ่อนและท้อถอย เช่น หยุดออม ออมไม่สม่ำเสมอ
ขาดวินัยออมบ้างไม่ออมบ้าง ผัดวันประกันพรุ่ง
ยิ่งทำให้การออมล่าช้า หรือหากมีเหตุจำเป็นที่ต้องหยุดออม
เมื่อสถานการณ์กลับสู่ปกติ แล้วต้องรีบกลับมาออมใหม่ให้เร็วที่สุด
ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ใจอ่อนหรือท้อถอย เพราะไม่ได้ให้รางวัลตัวเองในข้อ 3. จึงทำให้ขาดแรงจูงใจ

5. ควรจดทำบัญชีรายรับรายจ่าย
เพื่อให้เห็นรายจ่ายที่จำเป็นและรายจ่ายฟุ่มเฟือยที่สามารถตัดลดได้
ซึ่งจะนำไปสู่การออมที่เพิ่มขึ้นและ
ยังทำให้มีการวางแผนการใช้จ่ายเงินที่มี เหตุผลมากขึ้น

วิ วรรณ ย้ำว่า หัวใจสำคัญที่สุดในการออมเงินคือ ต้อง”กันเงิน”
ที่ต้องการออมออกมาจากเงินเดือนหรือรายรับที่ได้ก่อน
ที่เหลือจากนี้จึงเป็นเงินสำหรับใช้จ่ายในแต่ละเดือน
หรือเขียนเป็นสมการโจทย์เลขคือเงินเดือน-เงินออม=เงินสำหรับใช้จ่าย

ดังนั้น ต้องเปลี่ยนความคิดของตัวเอง
ที่ว่าเงินออมคือเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายประจำเดือน

เพราะไม่เช่นนั้นคุณอาจจะไม่มีวันได้ออมเงินเลย
เพราะใช้จนไม่มีเงินเหลือให้ออม!!

เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

สุด ท้าย วิวรรณ บอกว่า เราควรตั้งเป้าหมายไว้ด้วยว่า
อยากมีชีวิตบั้นปลายหลังเกษียณแบบไหน
ต้องการใช้เงินเดือนละเท่าไหร่ และคาดว่าตัวเองจะมีอายุยืนแค่ไหน เช่น
หากมีอายุยืนถึง 80 ปี นั่นหมายถึง
เราต้องมีเงินเก็บให้พอสำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณอีก 20 ปี
หากต้องการใช้เงินเดือนละ 20,000 บาท ต้องเก็บเงินให้ได้ 4,800,000 บาท
หรือหากอายุยืนถึง 90 ปี ต้องเก็บเงินให้ได้ 7,200,000 บาท

ดังนั้น หากไม่รีบวางแผนการออมและการลงทุนตั้งแต่วันนี้
ก็อาจจะมีชีวิตที่ทุกข์ยากหลังเกษียณ

วิวรรณ แนะว่าถ้าจะให้ดีเราสามารถเริ่มต้นวางแผนการเงินได้
ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ หรือเริ่มวางแผนการเกษียณ นับตั้งแต่วัน

แรก ที่เริ่มทำงาน โดยเพียงเราออมเงินเดือนละ 1,000 บาท
ตั้งแต่อายุ 25 ปี ไปจนถึงเกษียณอายุตอน 60 ปี
ถ้านำเงินออมนี้ไปลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนปีละ 5%
ตอนอายุ 60 จะมีเงิน 1,136,092 บาท
และในจำนวนเงินออมที่เท่ากัน
หากนำไปลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนปีละ 8%
ตอนเกษียณจะมีเงิน 2,293,882 บาท

และหากได้ผลตอบแทนปีละ 10% จะมีเงินถึง 3,796,338 บาท!!

แต่ ถ้าออมเงินเพิ่มขึ้นทุกปี ก็จะยิ่งทำให้มีเงินมากขึ้น
เช่นถ้าปีแรกออมเงินเดือนละ 1,000 บาท และออมเพิ่มขึ้นปีละ 10%
คือปีที่ 2 ออมเพิ่มเป็นเดือนละ 1,100 บาท ปีที่ 3
ออมเพิ่มเป็นเดือนละ 1,210 บาท เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ปีละ 10%

หาก นำเงินออมนี้ไปลงทุนโดยได้ผลตอบแทน ปีละ 5%
เมื่อครบ 35 ปี หรือเมื่ออายุ 60 ปี เงินนี้จะงอกเงยเป็น 5,546,656 บาท
และหากผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มเป็น 10%
ในตอนเกษียณก็จะมีเงินสูงถึง 11,235,732 บาท!!

และ เงินจำนวนนี้ ซึ่งถือเป็นเงินออมก่อนเกษียณ
หากนำไปลงทุนโดยได้ผลตอบแทนปีละ 5%
จะมีเงินใช้จ่ายสำหรับชีวิตหลังเกษียณจนถึงอายุ 80 ปี
ได้ถึงเดือนละ 74,150 บาทเลยทีเดียว

วันนี้คุณได้เริ่มต้นออมเงินและวางแผน
บริหารเงินออมของตัวเองแล้วหรือยัง!

ทีมเศรษฐกิจ


Jan 29, 2011

อาลัย"หลวงตามหาบัว"เกจิดังอีสานละสังขาร




http://www.luangta.com/

เมื่อ เวลา 03.53 น.วันที่ 30 ม.ค

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า"หลวงตามหาบัว"ญาณสัมปันโน
(พระธรรมวิสุทธิมงคล)

เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
พระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีสานละสังขารอย่างสงบ
สิริอายุรวม 97 ปี 5 เดือน 18 วัน


ทั้งนี้หลวงตามหาบัวเข้ารับการรักษาอาการอาพาธ
ณ โรงพยาบาลศิริราช มาตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.ที่ผ่านมา
ตามคำนิมนต์ของคณะแพทย์โรงพยาบาลศิริราช
รวมทั้งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น
และโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ที่ได้ให้การรักษามาก่อนหน้านี้
ก่อนจะเดินทางกลับมาพักรักษาตัวที่วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ 3 ม.ค.

สำหรับ ประวัติ"หลวงตามหาบัว"กำเนิด
ในครอบครัวชาวนา ณ บ้านตาด อุดรธานี

วันเกิด 12 ส.ค.2456 มีพี่น้องทั้งหมด 16
คน สมัยเด็ก เคารพเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
โดยได้ร่วมทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ
วัยหนุ่ม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว
ขยันขันแข็ง ทำงานอะไรทำจริงๆ จังๆ
เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ในการงานทั้งปวง คู่ครอง
เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพร
าะอยากมีครอบครัว
แต่มักมีอุปสรรคให้แคล้วคลาดทุกทีไป

เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ 20 ปี
พ่อแม่ขอร้องให้บวชตามประเพณีอยู่หลายครั้ง ท่านก็ทำเฉย ๆ ตลอดมา
ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ในครั้งสุดท้ายนี้
ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการบวชของลูกให้ได้
ถึงกับทำให้พ่อแม่น้ำตาร่วง
ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและเห็นใจพ่อแม่มาก
จึงตัดสินใจ และยอมบวชตามประเพณี
เพื่อตอบแทนพระคุณพ่อแม่
โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น

วันบวช 12 พ.ค.2477
ณ วัดโยธานิมิตร อุดรธานี พระอุปัชฌาย์
ชื่อ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล)
วัดโพธิสมภรณ์





ไทยรัฐ

พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เจ้าอาวาสวัดเกสรศีลคุณ หรือ "วัดป่าบ้านตาด"
อ.เมือง จ.อุดรธานี ละสังขารแล้วเมื่อเวลา 03.53 น.
ของวันอาทิตย์ที่ 30 ม.ค.54
หลังจากอาพาธมาได้ระยะหนึ่ง
แม้ทีมแพทย์ต่างระดมช่วยชีวิตอย่างสุดความสามารถแล้ว
แต่ก็ไม่สามารถเยียวยาได้

ชื่อ : พระธรรมวิสุทธิมงคล

ชื่อเล่น : บัว



นามแฝง : หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

นามเดิม : บัว โลหิตดี

เกิด : วันที่ 12 ส.ค.2456

บ้านเกิด : ที่บ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

บิดามารดา : นายทองดี และนางแพง โลหิตดี
พี่น้อง ทั้งหมด 16 คน

อุปสมบท อายุได้ 21 ปี เมื่อวันที่ 12 พ.ค.2477 ณ วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์

ตำแหน่ง :
(2456 - ปัจจุบัน) เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

เรื่องราวในชีวิต เมื่ออายุ ได้ 21 ปี
บิดามารดาขอร้องให้ท่านบวชเรียน
เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณตามประเพณี
ในที่สุดท่านก็ได้ตัดสินใจบวช ครั้นบวชแล้วท่านได้ศึกษาพระพุทธประวัติ
และประวัติพระอรหันตสาวก จนเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
ท่านตั้งใจศึกษาพระปริยัติธรรมเสียก่อน
เพราะถ้าไม่ศึกษาจะไม่เข้าใจในการปฏิบัติ
ท่านใช้เวลาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมเป็นเวลา 9 ปี
ก็สำเร็จพระปริยัติธรรม 3 ประโยค
พร้อมกับสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก
จากนั้นจิตใจของท่านก็มุ่งออกไปปฏิบัติด้านเดียว
จึงเดินทางมุ่งหน้าไปหาพระ อาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร
ซึ่งในขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าโนนวิเวศ
จังหวัดอุดรธานี แต่ไม่ได้พบกับพระอาจารย์มั่น
ท่านจึงไปพำนักอยู่ที่ทุ่งสว่าง
จังหวัดหนองคาย เป็นเวลา 3 เดือนกว่า
พอถึงเดือนพ.ค.2485
ท่านก็ได้ออกเดินทางไปจังหวัดสกลนคร
และได้พบกับพระอาจารย์มั่น ที่บ้านโคก
ตำบลตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
ขณะกำลังเดินจงกลมเวลาใกล้ค่ำ
ภายหลังจากได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่น
ซึ่งท่านได้กล่าวยืนยันว่า มรรค ผล นิพพาน
เป็นสิ่งที่เป็นไปได้เสมอ
และให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติได้จริง
นับแต่นั้นมา ท่านก็ได้รับตัวเป็นศิษย์
และอยู่ฝึกกรรมฐานกับพระอาจารย์มั่น อย่างเด็ดเดี่ยว
จิตมุ่งอยู่กับสมาธิภาวนาเท่านั้น
รวมเวลาที่ท่านอยู่กับพระอาจารย์มั่นทั้งหมดเป็นเวลา 8 ปี
จวบจนถึงพระอาจารย์มั่นมรณภาพ ในพี พ.ศ. 2592
ครั้นเสร็จงานพระราชทาน เพลิงศพพระอาจารย์มั่นแล้ว
ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือ 1 พรรษา
แล้วจำพรรษาอยู่วัดห้วยทราย
อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร อีก 4 พรรษา
แล้วจำพรรษาอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี 1 พรรษา
ต่อมาในปี พ.ศ.2498
ท่านได้ทราบข่าวว่าโยมมารดาของท่านป่วย
ท่านได้เดินทางกลับมาตุภูมิที่บ้านตาด เพื่อดูแลโยมมารดา
ชาวบ้านนิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นหลังอยู่ที่นั้น
เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งทางใจให้ชาวบ้าน
โดยได้บริจาคที่ดินประมาณ 163 ไร่
เพื่อสร้างวัด ท่านได้พิจารณาเห็นว่า
โยมมารดาของท่านแก่ชรามากแล้ว
สมควรที่จะได้อยู่ดูแล
เป็นการตอบแทนบุญคุณของมารดาด้วย
ท่านจึงตกลงใจรับนิมนต์ และ เริ่มสร้างวัดนี้
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2498
ตั้งชื่อว่า “วัดป่าบ้านตาด” จนถึงปัจจุบัน




Jan 28, 2011

"วัชระ แวววุฒินันท์"เล่าเบื้องหลังสนุกละครเวที"กว่าจะรักกันได้"





เครื่องเคียงข้างจอ

วัชระ แวววุฒินันท์
มติชน
28 มกราคม 2554

http://teetwo.blogspot.com/2010/08/blog-post_22.html


เครื่อง เคียงฯ ตอนนี้เขียนหลังจากมีการแสดงละครเรื่อง
"กว่าจะรักกันได้ สุนทราภรณ์ เดอะมิวสิคัล" รอบสื่อมวลชนเพียง 1 วัน
แต่กว่าจะตีพิมพ์ การแสดงละครเวทีเรื่องนี้ก็ได้แสดงจริงไปแล้ว 3 รอบ
และกำลังจะเข้าสู่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ 2

2 ฉบับก่อนผมเขียนเล่าให้ฟังไปแล้วว่า เจ เอส แอล
กำลังจะมีละครเวทีเรื่องนี้ เผลอแผล็บเดียวก็ถึงวันที่ต้องแสดงจริงกันแล้ว
โดยผมจะขอเก็บตกเรื่องราวในรอบซ้อมใหญ่
และรอบสื่อมวลชนที่เพิ่งผ่านไปมาเล่า ให้ฟังก็แล้วกัน

รอบสื่อมวลชนเป็นรอบพิเศษ ที่นั่ง 700 กว่าที่ของโรงละคร เอ็ม เธียเตอร์
ถูกจับจองจากผู้ชมที่ได้รับเชิญซึ่งก็ได้มาให้กำลังใจกันล้นหลาม
ั้งสื่อมวลชนเอง ผู้สนับสนุน ผู้มีอุปการคุณต่างๆ
ดารานักแสดงและผู้อยู่เบื้องหลังวงการบันเทิง
ตลอดจนครอบครัวเพื่อนฝูงของนักแสดง และทีมงาน

บริเวณด้านหน้าของโรง ละคร จะมีเวทีเล็กๆ
ที่มีวงดนตรีบรรเลงเพลงขับกล่อมผู้รอเข้าชมด้วยบทเพลงของ สุนทราภรณ์ล้วนๆ
จากนักร้องรุ่นใหม่ของสุนทราภรณ์ด้วย จึงเป็นการ "วอร์ม"
บรรยากาศได้เป็นอย่างดี สังเกตจากการที่ผู้ชมไม่เบื่อที่จะรอเลย
จนประตูเปิดเรียกให้เข้าสู่โรงละครกันแล้ว
ก็ยังไม่อยากลุก เรียกว่าเป็นแฟนครูเอื้อตัวจริงทีเดียว

เวทีนี้เปิดโอกาสด้วยนะครับว่า หากใครอยากร้องอวดเสียงตัวเอง ก็สามารถขึ้นไปได้เลย

ที่ น่าชื่นใจคือ การได้เห็นคนในหลายๆ วัยมารวมตัวกันชมละคร
ทั้งคนรุ่นพ่อแม่ที่มากับลูกหลาน และกลุ่มวัยรุ่นหรือวัยทำงานต้นๆ
มาให้กำลังใจเพื่อนนักแสดง บางคนบอกว่าไม่รู้จักเพลงสุนทราภรณ์เลยก็มี
แต่ก็สนใจอยากมาชมเพื่อจะได้รู้จักเพลงสุนทราภรณ์ให้มากขึ้น

บางคนบอกว่าเคยฟังตามพ่อแม่ และบางเพลงก็ร้องได้ด้วย
เพราะนักร้องรุ่นใหม่นำเอามาร้องในแบบฉบับของตัวเอง

ผมว่านี่แหละคือการสืบทอดงานศิลปะ ที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนเดิม
แต่สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับปัจจุบัน โดยมี "เนื้อแท้" เป็นแก่นแกนอยู่
ซึ่งเนื้อแท้ของเพลงสุนทราภรณ์ก็คือ
ท่วงทำนองที่ไพเราะมีเอกลักษณ์
และคำร้องที่มีความหมายสวยงาม บอกเรื่องราวหลากหลายได้ดี

เรื่องนี้ ต้องให้เครดิต คุณอติพร เสนะวงศ์ บุตรสาวของครูเอื้อ ที่เข้าใจในงานศิลปะ
และเปิดใจกว้างสำหรับการนำเสนอที่แตกต่างไปจากเดิม
จึงยินดีให้นำเพลงของคุณพ่อมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำเสนอได้
อย่างนี้จึงจะเป็นการช่วยสืบสานงานของบิดาในรูปแบบต่างๆ ได้จริงๆ


วันนั้นนักแสดงทุกคนตื่นเต้นมาก อยู่หลังเวทีก็จะทบทวนการแสดงกันตลอดเวลา

ท่องบทยังกะท่องหนังสือสอบ คนนั้นติวให้คนนี้ คนนี้ทวนให้คนนั้น
บ้างก็จับคู่ซ้อมกันตามมุมต่างๆ
นขณะที่หลายคนเร่งแต่งหน้าทำผมอยู่เป็นบรรยากาศ
ของความวุ่นวายหลังโรงที่มี เสน่ห์จริงๆ

ผัดไทย นักแสดงหญิงอารมณ์ดี ที่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ดีใจ ดีดีดีไปแล้ว
แต่ใครๆ ก็นิยมเรียกชื่อเล่นคือ ผัดไทยกันอยู่ เลาให้ฟังว่าไปถ่ายละครที่สระบุรี
เจอแฟนๆ ละครที่นั่นบอกว่าจะเหมารถเข้ามาดู
เพราะชื่นชอบเพลงสุนทราภรณ์มานานแล้ว
เมื่อรู้ว่าเป็นหนึ่งในนักแสดงเหมือนกัน ผัดไทยก็ถูกถามถึงเรื่องเพลง

"แล้วในเรื่อง ได้ร้องกี่เพลงล่ะ"

"ตั้งใจจะร้อง 7 เพลง" ผัดไทยบอก "แต่คนเขียนบทไม่ให้ร้อง บอกกลัวทำเพลงเค้าเสีย"

เรื่อง กลัวทำเพลงเสียนี่ เป็นข้อระวังอย่างยิ่ง
เพราะเพลงสุนทราภรณ์ได้รับการคาดหมายจากผู้ฟังเสมอว่าคนร้องจะต้องร้องเพราะ
แต่ในการแสดงละครเรื่องนี้ เป็นการร้องเพลงแบบเล่าเรื่องจึงต้องใส่อารมณ์
และมีวิธีการร้องที่ไม่เหมือน กับ "ต้นฉบับ" อยู่เหมือนกัน

ละครฉากแรกก็โชว์ความไพเราะจากการร้อง ของสุเมธในเพลง "ขอให้เหมือนเดิม"
และ ครูอ้วน-มณีนุช ในเพลง "ถึงอย่างไรก็ไม่เหมือนเดิม"
ที่ตอนท้ายนำท่อนหลังของทั้งสองเพลงมาร้องทับกันอีก
เรียกว่าถ้าไม่ใช่มืออาชีพแบบสองคนนี้คงทำไม่ได้
และทั้งสองคนก็เป็นคู่พ่อแง่แม่งอนรุ่นโต ที่สร้างความประทับใจ
ในการร้องทุกเพลงจนได้รับเสียงปรบมือกึกก้องจากผู้ชม

คู่ ของบอย-พิษณุ กับ จ๊ะจ๋า-พริมรตา
เป็นคู่หนุ่มตามจีบสาวที่เล่นรับส่งกันได้อย่างน่ารักเป็นบ้า
บอยนั้นมีประสบการณ์สูงมาแล้ว ทั้งจากละครเวที ละครทีวี และภาพยนตร์
เขานำเอาทักษะจากการทำงานมาสร้างตัวละครที่เขาเล่นให้มีมิติได้อย่างดี
ส่วนจ๊ะจ๋า เป็นนักแสดงที่น่าทึ่งมาก เข้าใจตัวละครได้เร็ว
และสามารถร้องเพลงสุนทราภรณ์จากที่ไม่เคยร้องมาก่อนได้อย่างดี

เบื้องหลังการซ้อมของสองคนนี้ คือ แข่งกันว่าใครจะทิ้งบทได้ก่อนกัน
แถมยังจำบทของคนอื่นได้อีก

จาก คู่หนุ่มจีบสาว ก็มาถึงคู่สาวจีบหนุ่มบ้าง นั่นคือ คู่อีฟ-พุทธธิดา
ลูกพี่ต้อย-เศรษฐา และ พี่เปี๊ยก-อรัญญา ที่รับบทเป็นสาวเปรี้ยวมาจีบดาราวัยรุ่นที่รับบทโดย
มิวสิค-รัชพล จากค่าย AF รุ่น 4 อีฟอยู่ในวงการมานานจึงมีความกล้าที่จะแสดงออก
ประกอบกับอุปนิสัยซนๆ ของตัวเอง จึงทำให้บท "รัญญา" ที่อีฟรับ น่ารักน่าหมั่นไส้ได้อย่างพอดีๆ

ซึ่งจากการแสดงรอบสื่อมวลชน อีฟก็ใช้ไหวพริบสร้างมุขสดๆ บนเวที
เมื่อสุเมธเรียกอีฟว่า "อรัญญา" แทนที่จะเป็นรัญญา
อีฟก็ท้วงทันทีว่า "อรัญญาน่ะแม่หนูค่ะ ส่วนหนูชื่อรัญญา" เรียกเสียงฮาจากผู้ชมได้ลั่นโรง

สำหรับมิวสิค เป็นนักร้องในแนววัยรุ่น ทั้งจากการออกเสียงและวิธีการร้อง
เมื่อต้องมาร้องเพลง "พรานล่อเนื้อ" ในละคร
มิวสิค ก็ผสมผสานระหว่างการร้องแบบดั้งเดิม
กับแบบเป็นตัวของตัวเองได้อย่างน่ารัก
ซึ่งพอต้องมารับบทเป็น "ขัตติยะ" ในเรื่อง "จุฬาตรีคูณ"
และต้องร้องเพลง "ร่มมะลุลี" มิวสิคก็ทุ่มเทมาก
เพราะเขารู้ว่าเพลงนี้เป็นเพลงในดวงใจของแฟนสุนทราภรณ์



ขอ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในรอบซ้อมใหญ่ที่เกี่ยวพันกับมิวสิคสักหน่อย
คือ ฉากหนึ่งในจุฬ่าตรีคูณ ที่บอยซึ่งรับบทเป็นอริยวรรต
กำลังโศกเศร้ากับการจากไปสู่บ้านเมืองของเจ้าหญิงดาราราย
แล้วมิวสิคที่รับทขัตติยะจะต้องเข้ามา

"พอผมขว้างของลงพื้น มิวสิคก็มาเลยนะ"

บอย พูดให้คิวการเข้ามาในฉากของมิวสิคเพื่อให้เป็นจังหวะเดียวกันกับตน
แต่พอถึงรอบซ้อมใหญ่ พอดารารายจากไป
ตามคิวจะต้องมีดนตรีคลอเพื่อส่งบอยที่กำลังเศร้าสร้อยให้มาทรุดนั่งบนเตียง
ก่อนจะขว้างของลงไปที่พื้น

ปรากฏว่า ดารารายก็ไปแล้ว ตัวเราเองก็เริ่มเดินแล้ว
จนทรุดตัวลงนั่งก็แล้ว...ดนตรีมันไปไหนวะ

แต่พอไปทรุดนั่งบนเตียง แล้วขว้างของเท่านั้น ดนตรีก็มาทันที...

ปรากฏว่าคนปล่อยเพลง นึกว่าที่บอก "พอผมขว้างของลงพื้น มิวสิคก็มาเลยนะ"

นึก ไปเองว่ามิวสิคที่ว่านั้นคือดนตรี ไม่ใช่คนชื่อมิวสิค
นี่แหล่ะปัญหาของการสื่อสารสื่อเสีย ที่ผมเคยเขียนไปแล้ว
จากที่ฉุนๆ ว่าเพลงไปไหนวะ กลายมาเป็นขำได้ทันที
แม้ตอนแรกจะขำไม่ออกก็ตาม



มีนักแสดงตัวเอกอีกคนหนึ่งที่ต้องพูดถึง คือ
พ่ออี๊ด-สุประวัติ
ที่ออกมาฉากไหนก็ได้ฮาฉากนั้น
แม้แต่ฉากที่ไม่ได้มีบทพูดเลย
มีแต่แอ๊กชั่นเดินไปเดินมาเท่านั้น
พ่ออี๊ดก็ทำให้สนุกได้อย่างวิเศษ

พ่อ อี๊ดเป็นนักแสดงที่น่ารักมาก ก่อนการแสดงไม่ถึงเดือน
แกไปนิ้วฉีกและหักแบบเห็นกระดูกมาจากการทัวร์เมืองนอกในช่วงปีใหม่ ต้องใส่เฝือกอ่อนที่นิ้วตลอด
แกบอกว่า "ไม่ต้องกังวล พ่อเล่นได้แน่นอน"
แล้วแกก็ไม่เคยเอาเรื่องนิ้วที่ฉีก
และหักนี้มาเป็นอุปสรรคกับการซ้อมและการแสดงใดๆ เลย
ยังออกท่าออกทางได้เต็มที่เหมือนเดิม

นอกจากนักแสดงรุ่น ใหญ่อย่างพ่ออี๊ดแล้ว
ยังมีพี่เคน-รังสรรค์ ฉัตรรังสิกุล
ที่รับบทพระเจ้าพาราณสี คนนี้เล่นน้อย
แต่ออกมาทีไร "อยู่หมัด" เรียกเสียงหัวเราะได้ทุกที

ฉบับนี้ขออนุญาตเขียนเรื่องเหมือนโฆษณา สักหน่อย
เพราะอยากให้ไปชมกันจริงๆ
ไม่ว่าคุณจะรู้จักเพลง สุนทราภรณ์หรือไม่ก็ตาม มั่นใจว่า
เมื่อคุณชมแล้วจะออกมาจากโรงละครอย่างมีความสุขแน่นอน
ในรอบสื่อมวลชนที่เพิ่งผ่านไป น้องๆ นักแสดงบางคนบอกว่า
"มีความสุขจังเลยที่เห็นผู้ชมยิ้มแล้วก็หัวเราะ"
อยากจะบอกว่ามันเป็นความสุขที่เป็นเสน่ห์ของละครเวทีจริงๆ คือ
ปฏิกิริยาสดๆ ที่เกิดขึ้นตรงนั้นจากสิ่งที่เห็นบนเวที
จากการทุ่มเทของนักแสดงและทีมงาน มาสู่ความสุขของผู้ชม
ถ้าการไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
การทำให้ผู้อื่นมีความสุข ก็คงประเสริฐไม่แพ้กัน.








Jan 26, 2011

บัณฑูร ล่ำซำ เมื่อเจ้าสัวทำโรงแรมน่าน..."ผมอยากทำธุรกิจเล็กๆน่ารัก"



มติชน
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554


http://teetwo.blogspot.com/2010/02/blog-post_25.html

หากพูดถึงบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ธนาคารกสิกรไทย หลายคนคงจะนึกถึงภาพของเจ้าสัวใหญ่
ที่ปลุกปั้นธนาคารกสิกรไทย จนในปีที่ผ่านมา ปี 2553
ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิถึง 20,047 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิ 14,733 ล้านบาท
คิดเป็น 36.07%


นี่คือหมวกใบหนึ่งที่เจ้าสัวผู้นี้สวมใส่อยู่
แต่อีกมุมหนึ่งของบัณฑูร ล่ำซำ
ในตอนนี้เขาเพิ่งเปิดบริษัทส่วนตัวขนาดย่อมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ
ธนาคารกสิกรไทย บริษัทนี้มีชื่อว่า บริษัท เครือพูคา จำกัด
เป็นบริษัทที่เจ้าสัวแบ๊งค์ตั้งใจเปิดขึ้นเพื่อทำธุรกิจในจังหวัดน่าน
โดยเริ่มต้นจากการสร้าง "โรงแรมพูคาน่านฟ้า"
โรงแรมหรูขนาด 14 ห้องกลางเมืองน่านเป็นโครงการแรก


บัณฑูร ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท เครือพูคา จำกัด
ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของการก่อตั้งบริษัทนี้ว่า
"ประเด็นที่ผมเลือกที่จะมาทำธุรกิจที่จังหวัดน่านก็คือ
ผมชอบเมืองนี้ ย้อนกลับไปเมื่อสักปีครึ่งมาแล้ว
ผมมาเปิดห้องสมุดธนาคารความรู้
ซึ่งเป็นโครงการที่ธนาคารกสิกรไทยตั้งใจจะทำไปในทุกจังหวัดในประเทศไทย
ก็มาเริ่มทำที่เมืองน่านเป็นที่แรก
ตอนนั้นก็ได้มาที่น่าน ก็ไม่ถือว่าเป็นครั้งแรกในชีวิต
แต่ถือว่าเป็นครั้งแรกในเวลาที่นานมากที่มาสัมผัส
การมาน่านในรอบนั้น ผมรู้สึกว่าเมืองนี้เป็นเมืองที่สะอาด สงบ
เลยคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเรามีอะไรทำสักหน่อยดีไหม คิดไปคิดมา
ธุรกิจที่จะพอเป็นไปได้คือ ธุรกิจโรงแรม เป็นโรงแรมเล็กๆ
ก็มีคนบอกว่า มีโรงแรมไม้อยู่ตรงกลางเมือง
เห็นเจ้าของเก่าเขาทำไม่ไหวแล้ว เลยมาดู
ก็ไปทาบทามเจ้าของโรงแรม เจ้าของก็อายุมากแล้ว
ไม่อยากรับภาระนี้ ก็ส่งต่อมา
เลยกลายเป็น โรงแรมพูคาน่านฟ้า"


ความหลงไหลในเมืองน่านถึงกับทำให้ในตอนนี้
ชื่อของบัณฑูร ล่ำซำ อยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวของจังหวัดน่านไปแล้ว


"แต่ก่อนผมเป็นคนชลบุรี ตอนนี้ผมเป็นคนน่านอพยพแล้วครับ(หัวเราะ)
มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นน่าน
เป็นคนน่านมาสักครึ่งปีแล้ว เลือกตั้งก็ต้องมาเลือกที่นี่นะเนี่ย
ผมมองว่า เมืองน่านมีเสน่ห์ เสน่ห์เมืองน่านอย่างหนึ่งคือ
ความเงียบ คือ สองทุ่มก็เงียบแล้ว ไม่ได้มีเสียงของดิสโก้อะไร
อย่างที่สองคือ สะอาด บ้านเมืองเรียบร้อย
ไม่มีน้ำเสียขังตามพื้น ไม่มีมูลสุนัข
แล้วก็มีธรรมชาติสีเขียวเยอะมาก ถ้ามองจากเรือบิน
จะเห็นว่าข้างล่างมีสีเขียว เป็นป่า
พอเลยจากจังหวัดน่านไปก็จะไม่เป็นป่าอย่างนั้นอีกแล้ว
มีความประทับใจในเรื่องนี้ แล้วไปทางวัดวาอารามเยอะมาก
เป็นวัดวาอารามที่สงบ พระปฏิบัติดี"


สำหรับลักษณะของโรงแรม เจ้าสัวเล่าให้ฟังว่า
ก่อนหน้านี้เป็นโรงแรมไม้อายุ 50 ปี
อยู่ในสภาพที่โทรมมาก การปรับปรุงโรงแรมยังคงโครงสร้างอาคารแบบเดิมพอ
เปลี่ยนแต่เปลี่ยนแปลงภายในอย่างเช่น ประตู หน้าตา ผนัง
โดยให้คงความเป็นวัฒนธรรมลานนาให้มากที่สุด
ตอนนี้ กระบวนการสร้าง เสร็จไปประมาณ 99.99 % แล้ว
แต่ระบบการจองโรงแรม ระบบเงิน
ต้องรออีกสักระยะหนึ่ง เปิดจริงคงจะประมาณอีกสองเดือน


"โรงแรมนี้ เบ็ดเสร็จทั้งซื้อทั้งแต่งโรงแรมรวมกันก็ประมาณ 50 ล้านบาท
พอซื้อแล้วก็กลัวคนคิดว่าทางแบ๊งก์มาซื้อเอง
ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด อีกอย่างหนึ่งคือ คนกลัวว่าจะทุบทิ้ง
เพราะเป็นที่กลางเมือง จะเอาไปทำเป็นตึกหรืออาคารพานิชย์ไป
ซึ่งไม่เคยอยู่ในความคิดเลย คือ
ตั้งใจจะอนุรักษ์ไว้อย่างเดิมแล้วตั้งใจทำให้ดี
ตั้งใจให้เป็นทัวร์ทางวัฒนธรรม
พอมาพักแล้วได้สัมผัสกับบรรยากาศความเป็นล้านนา"


ท่ามกลางกระแสการท่องเที่ยวในเมืองน่าน
จะทำให้เมืองนี้บอบช้ำแบบเมืองท่องเที่ยวอื่นหรือไม่?
บัณฑูรเห็นว่า "อันนี้อยู่ที่ชาวเมืองน่าน
อย่างจะสร้างอะไร เขามีกติกากำกับนะ
อย่างจะสร้างตึกระฟ้า เขาก็ไม่รับ ถ้าเขาไม่ยอม
มันก็เกิดขึ้นไม่ได้ เท่าที่สัมผัสดู เขาก็ไม่ยอม
ถ้าไม่ยอมซะอย่าง ใครจะมาทำอย่างนั้น ก็กลายเป็นว่า
ไปฝืนวัฒนธรรม ไปฝืนจิตใจของคนเมืองน่าน
มันก็จะไม่ดี อยากที่นี่ให้สงบอย่างนี้ นี่อีกสองปี
ที่คุยกับผู้ว่าราชการจังหวัด กับนายกเทศมนตรี
ก็ยืนยันว่า สายไฟบนถนนหน้าโรงแรมเส้นนี้
อีกสองปีจะลงดิน มีงบประมาณกันไว้ชัดเจนแล้ว
แต่เป้าหมายที่ใหญ่กว่านั้น ที่คุยกันก็คือ
จะทำทั้งเมือง มันก็จะเป็นปรากฏการณ์ที่มหัศจรรย์มาก
ถ้าจะมีใครทำได้ ก็จะมีเมืองน่านเท่านั้นที่ทำได้
เพราะว่าหนึ่ง เมืองยังเล็กอยู่ ถ้าใหญ่เกินไปทำไม่ไหวหรอก
อย่างที่สองก็คือ เขาก็อยากจะทำอย่างนั้น"


เจ้าสัวย้ำว่า การสร้างโรงแรมพูคาน่านฟ้า
ไม่ใช่การกระโดดเข้ามาทำธุรกิจโรงแรมอย่างจริงจัง
"ต้องบอกไว้ก่อนเลยว่า ผมไม่ได้เข้ามาทำธุรกิจโรงแรม
เพียงแต่ผมอยากทำธุรกิจเล็กๆน่ารักที่จังหวัดน่าน
โรงแรมพูคาน่านฟ้าที่ทำอยู่ ก็ไม่ใช่โรงแรมใหญ่
มีเพียง 14 ห้อง ผมอยากให้มองว่านี่เป็นการลงทุนเชิงวัฒนธรรม
เป็นการลงทุนเพื่อรักษาของเก่าอันเป็น
ความภูมิใจของชาวน่านในเรื่องวัฒนธรรม ลานนา
เป็นส่วนหนึ่งเป็นการท่องเที่ยวในเมืองน่าน
ที่นับวันน่าจะสนใจยิ่งขึ้น ยี่ห้อของน่านเริ่มติดตลาด
เป็นความท้าทายของคนเมืองน่านที่จะรักษาสิ่งเดิมๆไว้
แต่ก็ยังสามารถพัฒนาทาง เศรษฐกิจได้ เท่าที่คุยดู
คนเมืองน่านก็อยากให้เป็นแบบนั้น"



Jan 25, 2011

ศิริกุล เลากัยกุล สร้าง Brand แบบ Sufficiency & Sustainable



นิตยสารผู้จัดการ

เมษายน 2550

สุภัทธา สุขชู


การที่บริษัทองค์กรเอกชนลุกขึ้นมาสร้างแบรนด์แต่ละครั้ง
ไม่ใช่แค่เพียงการเปิดตัวชื่อสินค้าใหม่หรือบอกกับผู้บริโภคว่ามีอะไรมาขาย
การสร้างแบรนด์ขึ้นมาเหมือนกับเป็นพันธกิจสำคัญของบริษัทหรือองค์กรให้
คำมั่นสัญญาว่า ผู้บริโภคจะได้อะไรบ้างจากสินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้น

เมื่อถึงเวลาช่วงหนึ่งแบรนด์ที่สร้างมาก็เหมือนกับคน ต้องมีการพัฒนาและสร้างความคึกคัก
เพื่อบอกให้ผู้บริโภคและคู่แข่งรู้ว่า แบรนด์นี้ยังอยู่และพร้อมที่จะต่อสู้ในธุรกิจต่อไป

การสร้างแบรนด์หรือปรับเปลี่ยนแบรนด์ในช่วงหลังของผู้ประกอบการเกิดขึ้นอย่างมากมาย
ในช่วงหลัง บริษัทใหญ่ๆ มีการปรับเปลี่ยนกันขนานใหญ่และส่วนใหญ่ก็ได้ผลตามที่ต้องการ

ช่วงการปรับเปลี่ยนนี้แหละต้องพึ่งพาพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาในการสร้าง
และปรับแบรนด์และบริษัทส่วนใหญ่ก็ใช้บริการอยู่ไม่กี่ราย ศิริกุล เลากัยกุล
กับบริษัท Brandbeing Consultant
ก็เป็นหนึ่งที่บริษัทและองค์กรเอกชนส่วนใหญ่เรียกใช้

ศิริกุลกับการทำแบรนด์ของเธอช่วงแรกอาจจะดูไม่แตกต่างกับรายอื่นๆ
แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง การบ่มเพาะแนวคิดและการตกผลึกทางความคิดในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ทำวิธีการทำแบรนด์แบบพอเพียง (Sufficiency Branding)
ก็เกิดขึ้น และเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น

"เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาใช้กับการทำธุรกิจและชีวิตประจำวัน
ได้เป็นอย่างดี แต่ในความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ยังมีน้อย
ฟังแล้วตีความก็แตกต่างกันไป ในความเป็นจริงแล้วเป็นแนวคิดที่เข้าใจง่าย
ฟังแล้วคิดตามไปด้วยเพียงครั้งเดียวก็เข้าใจ และสามารถนำไปใช้ได้แล้ว"
เธออธิบายแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพียงที่เธอได้สัมผัสและนำมาใช้งานจริง

ศิริกุลเล่าให้ฟังว่า เมื่อคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำแบรนด์
ก็มีงานสร้างแบรนด์ของโครงการดอยตุงของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
และบริษัทปูนซิเมนต์ไทยเข้ามาให้ทำพร้อมๆ กัน
ซึ่งโครงการดอยตุงเป็นงานที่เธอภูมิใจมากที่สุด
เพราะเป็นการยืนยันแนวคิดเรื่องแบรนด์แบบพอเพียงว่าไปได้
รวมทั้งเป็นต้นแบบให้กับบริษัทอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

โครงการดอยตุงมีความชัดเจนว่าทำแบบพอเพียง
อย่างการช่วยเหลือชาวเขาให้เลิกปลูกฝิ่นมาปลูกกาแฟ
รวมถึงผลิตภัณฑ์การเกษตรอื่นๆ ผ่านการขายที่เป็นระบบ
มีการขยายร้านของตัวเองที่เหมาะสมกับฐานะและกำลังของตัวเอง
ก่อให้เกิดผลกำไรทางธุรกิจตั้งแต่การคัดเลือกสินค้า
และวิธีการนำเสนอ จนได้รับการยอมรับจากยูเนสโกว่า
เป็นต้นแบบของการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development)
เป็นรายแรกของโลกที่ประสบความสำเร็จ

ทุกวันนี้โครงการดอยตุง กลายเป็นโครงการต้นแบบที่หลายประเทศ
ส่งคนมาดูงานและนำไปใช้ในประเทศของตัวเอง
แต่คนไทยเองกลับรับรู้เรื่องโครงการดอยตุงน้อยเกินไป

ถ้าหากว่าเศรษฐกิจพอเพียงคือการประมาณตัวเองว่าทำได้แค่ไหน
และควรทำอย่างไร ศิริกุลก็ได้นำแนวคิดนี้มาบริหารจัดการในการทำงานของเธอเช่นกัน

ซึ่งเธอบอกว่า "การรับทำแบรนดิ้งให้บริษัทต่างๆ ก็มีการพิจารณาคัดเลือก
เราไม่ได้ทำให้ทุกบริษัท บางบริษัทเราก็ไม่ทำให้ โดยจะประเมินการพูดคุยกันก่อนว่า
มีความคิดเห็นที่ตรงกันหรือไม่ ไปกันได้หรือไม่
เมื่อดูแล้วว่าไม่สามารถทำให้ได้ก็จะบอกตรงๆ
เพราะไม่ต้องการให้เสียเวลา พูดกันชัดๆ เลย"

เมื่อรับงานมาแล้ว แนวคิดแบรนด์แบบพอเพียงเธอก็ต้องดูว่า
ผู้บริหารที่ว่าจ้างเธอเป็นอย่างไร บางรายอาจบอกตรงๆ ไปเลยว่า
ทำแบบพอเพียง หรือบางครั้งจะค่อยๆ ทำ แล้วค่อยๆ บอก
เพราะการบอกตรงๆ บางครั้งผู้บริหารอาจรับไม่ได้ หรือไม่เข้าใจ
ค่อยๆ ให้ความรู้ ทำความเข้าใจจนสุดท้ายก็บอกเขาว่า
นี่คือแนวคิดแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งส่วนใหญ่ก็เข้าใจและรับได้การบอกก่อน
บางครั้งอาจจะตั้งป้อมไว้ก่อน เพราะไม่เข้าใจ
แต่ลูกค้าส่วนใหญ่เข้าใจและพอใจ

เธอย้ำด้วยว่า แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ต้องการให้กลับไปอยู่แบบสมถะ
มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไรก็ดำเนินไปตามนั้น
เพียงแต่ว่าต้องมีความยั้งคิดและประมาณกำลังตัวเองว่า
มีความสามารถและกำลังมากน้อยขนาดไหน ทำให้สมฐานะของตัวเอง
เหมือนนักมวยรุ่นเล็กก็ต้องขึ้นชกกับมวยรุ่นเล็กเหมือนกัน
ไม่ใช่ข้ามไปชกกับนักมวยรุ่นใหญ่ ซึ่งไม่มีทางชนะอยู่แล้ว

ความหมายของแนวคิดนี้ก็คือ ดูตัวเองเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ดูคู่แข่งเป็นหลัก
บริษัทขนาด 1,000 ล้านบาท กับบริษัทขนาด 10 ล้านบาท ย่อมแตกต่างกัน
บริษัทขนาดเล็กไม่สามารถไปลงทุนเท่าบริษัทใหญ่ได้
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ดีไม่ได้
แต่ดีในระดับบริษัท 10 ล้านด้วยกัน

เมื่อดูแล้วว่าแนวคิดนี้สามารถทำได้จริงและเห็นผล
เธอจึงลงมือเขียนหนังสือการทำแบรนด์แบบพอเพียงออกมา

หนังสือเล่มใหม่ของเธอใช้เวลาเขียนประมาณ 2 เดือน
ความหนาประมาณ 200 หน้า เธอบอกว่า
หากนับเวลาเขียนจริงๆ แบบต่อเนื่อง ตัดวันที่ต้องทำงานอื่นๆ ออกไป
อยู่ที่ประมาณ 2 สัปดาห์ และมีบางวันที่ลงมือเขียน
ตั้งแต่เช้าจนถึงเที่ยงคืนเลยก็มี
เพราะว่าช่วงนั้นความคิดกำลังหลั่งไหล
จึงออกมาแบบต่อเนื่อง
ต่างจากหนังสือเล่มแรกของเธอที่ใช้เวลาน้อยกว่า
เพราะมีความหนาไม่ถึง 80 หน้า

เมื่อหนังสือเขียนเสร็จ ผู้ที่ถูกเลือกให้ทดสอบว่าเนื้อหาออกมาเป็นอย่างไร
อ่านแล้วเข้าใจหรือไม่ ก็คือสามีของเธอนั่นเอง
ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่เธอทำอยู่ ซึ่งคำตอบที่ได้รับก็คือ
เข้าใจง่าย และรู้ว่าหนังสือต้องการสื่ออะไร เมื่อด่านแรกผ่านไป
คนต่อมาก็คือน้องผู้ร่วมงานอีกคนหนึ่ง
ซึ่งคำตอบที่ได้ก็ใกล้เคียงกัน
จึงทำให้แน่ใจได้มากขึ้นว่า
คนอ่านจะเข้าใจสิ่งที่เธอต้องการสื่อได้ไม่ยาก

ความปรารถนาในส่วนลึกของเธอต้องการให้แนวคิดนี้สามารถพัฒนาต่อยอดไปจน
ถึงขั้นให้บริษัทหรือองค์กรสามารถพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development)
โดยหันกลับมารับผิดชอบต่อคน สิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นกระแสหลักของบริษัทใหญ่ๆ ทั่วโลก
แต่ในไทยยังมีไม่กี่บริษัทที่คำนึงถึงเรื่องนี้

ไม่แน่ว่าหัวข้อนี้อาจจะเป็นหนังสือเล่มที่สามของเธอก็ได้

ถ้าคนที่เข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องยากจน หรือไม่ใช้จ่ายเงินทอง
แล้วศิริกุลต้องเป็นคนสมถะก็ลืมไปได้เลย เพราะเธอบอกเองว่า
การใช้ชีวิตของเธอก็ไม่ได้มัธยัสถ์ ยังซื้อสินค้าแบรนด์เนมอยู่
แต่การซื้อต้องคิด เช่นจะเลือกซื้อกระเป๋าที่แพงขึ้นแต่สามารถใช้ได้นาน 10 ปี
และใช้ออกงานได้บ่อยครั้ง หรือซื้อผ้าคลุมไหล่ที่นานๆ ได้ใช้สักครั้ง
ต้องมองประโยชน์ใช้สอยที่คุ้มค่า
เธอบอกว่าคนเรายังมีกิเลสอยู่และเศรษฐกิจก็ถูกขับเคลื่อนด้วยกิเลส
แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะจัดการกับกิเลสได้อย่างไรมากกว่

“Brand Consultant” ทำอะไร สำคัญแค่ไหน และจะเลือกอย่างไร/
ศิริกุล เลากัยกุล



“Brand Consultant” หรือในภาษาไทยเรียกว่า “ที่ปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์”
ตอนนี้เป็นที่รู้จักกันดีในเมืองไทย หลายๆ คน ก็อยากจะลุกขึ้นมาเป็น Brand Consultant
หลาย ๆ คนก็อยากจะใช้ Brand Consultant
แต่ก่อนจะ “เป็น” หรือ ก่อนจะ “ใช้”
มารู้จักกับคำนี้ ให้ลึกซึ้งชัดเจนกันก่อนดีกว่า
(จะได้ไม่ผิดหวัง ผิดคาดกันในอนาคต)
บทบาทของ Brand Consultant ก็ตรงตามศัพท์ไม่ผิดเพี้ยน
คือเป็นที่ปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์ จะเข้าใจบทบาทให้ชัดเจน
ต้องแบ่งคำจำกัดความออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกคือคำว่า “Consultant หรือ ที่ปรึกษา”
ที่ปรึกษาแปลง่าย ๆ แต่ตรงประเด็นก็คือ
ผู้ให้ข้อคิด คำแนะนำ ขีดเส้นใต้ คำว่า “ข้อคิด คำแนะนำ”
เพราะนั่นคือ สิ่งที่คุณจะได้จาก “ที่ปรึกษา”
พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ สิ่งที่คุณจะได้คือ “Strategy”
หรือ “กลยุทธ์” ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ใช่ “Implementation หรือ การปฏิบัติ”

ดังนั้น สิ่งที่คุณจะได้จากที่ปรึกษา จะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ยาก
เพราะเป็นเรื่องของแนวคิด คุณจ้างที่ปรึกษามาเพื่อ “ช่วยคิด”
และ “ช่วยวางกลยุทธ์การดำเนินงาน”
ส่วนเรื่องการนำไปปฏิบัติเป็นความสำคัญอันดับถัดไป
ที่คุณและทุกคนในองค์กร
ต้องร่วมกันดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
เพื่อสร้างและรักษาแบรนด์ของคุณไว้

ส่วนที่สอง คือคำว่า “Brand” ที่ไม่ใช่แค่เพียงเรื่องของ โลโก้ ชื่อ หรือ
แคมเปญโฆษณาสื่อสาร แต่คำว่า “Brand” หมายรวมถึง
ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับตัวสินค้าหรือองค์กร ที่จะประมวลรวมกันออกมาเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ชื่อเสียง”
เป็นทั้งเรื่องของบุคลากร สินค้า บริการ ผู้นำองค์กร กลยุทธ์การตลาด
และ อื่น ๆ อีกมากมาย
ทุกอย่างที่จะก่อให้เกิดประสบการณ์อันเป็นที่มาของชื่อเสียง
มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างแบรนด์ทั้งสิ้น

ดังนั้น ผู้ที่จะลุกขึ้นมาเป็น Brand Consultant อย่างเต็มรูปแบบ
จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ทั้งในด้านการตลาด (Marketing)
การสื่อสาร (Communications) การบริหาร (Management)
และสังคมศาสตร์ (Social Science)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านที่เกี่ยวกับ “คนและองค์กร” เพราะในการสร้าง
แบรนด์แต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับระบบการบริหารองค์กรของลูกค้า
การตลาด การสื่อสารทั้งภายในและภายนอก และท้ายสุด
คือการบริหารทรัพยากรบุคคล
ทุกครั้งที่มีการสร้างแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเสริมแบรนด์ปัจจุบันให้เข้มแข็งขึ้น
หรือสร้างแบรนด์ใหม่ถอดด้าม จะต้องตามด้วยเรื่อง
การบริหารจัดการเปลี่ยนแปลง (Change Management) อยู่เสมอ

นอกเหนือจากทักษะข้างต้น Brand Consultant
ยังจะต้องเป็นคนที่มีทักษะสูงด้านการสื่อสาร
เพราะลูกค้าที่จะต้องทำงานร่วมกัน
ในการกำหนดกลยุทธ์หรือนโยบาย
ส่วนใหญ่คือบรรดาผู้บริหารระดับสูง หรือเจ้าของกิจการทั้งสิ้น
ที่ปรึกษาจึงต้องมีทั้งทักษะและบุคลิกภาพ ที่น่าเชื่อถือ
(สำคัญที่สุด คือต้องรู้จริง และรู้ลึก ไม่ใช่แค่บุคลิกอย่างเดียว)

ทีนี้ถ้าถามว่า Brand Consultant สำคัญแค่ไหน
อันนี้ตอบยาก จะสำคัญหรือไม่สำคัญ ขึ้นอยู่กับว่า
ผู้ว่าจ้างรู้จักใช้เมื่อไร และใช้อย่างไร เหมือนถามว่า
หมอสำคัญไหม กับการมีสุขภาพดี?
หมอสำคัญ ก็ต่อเมื่อ เรามีปัญหาเรื่องสุขภาพ
ปัญหาที่รู้สาเหตุ แต่บางครั้งช่วยตัวเองไม่ได้
เมื่อนั้น เราก็จะต้องไปพึ่งหมอ

ฉันใดก็ฉันนั้น Brand Consultant
จะมีความสำคัญ ก็ต่อเมื่อลูกค้าเชื่อว่า
Brand คือกุญแจสู่ความสำเร็จ และการสร้าง Brand
จะต้องเริ่มต้นจากการกำหนดกลยุทธ์ (Brand Strategy)
ไม่ใช่แค่เพียงการสื่อสารสร้างภาพ (Brand Communications)
และเชื่อว่าคนที่จะเข้ามาช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ได้คือ
Brand Consultant ทุกอย่างต้องเริ่มจาก “ความเชื่อ”

แล้วจะเลือกอย่างไร ถึงจะได้ที่ปรึกษาที่เหมาะสม
เป้าหมายสำคัญของ Brand Consultant ทุกบริษัทมีเหมือนกัน
ก็คือการกำหนดกลยุทธ์ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเรียกว่า
Brand Model, Brand Promise, Brand Essences
หรืออะไรก็ตาม มันก็คือสิ่งเดียวกัน
แต่สิ่งที่ทำให้แต่ละบริษัทมีความแตกต่างกันคือ
“กระบวนการ หรือยุทธวิธี“ ที่จะไปสู่เป้าหมายนั้น ๆ
ภาษาของ Consult เค้าเรียกว่า “Proprietary Tool”
ซึ่งเป็นเครื่องมือ หรือกระบวนการ อันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ลูกค้ามองหา

ปัจจัยต่อมา คือเรื่องของประสบการณ์ ทั้งประสบการณ์ของบริษัทฯ และประสบการณ์ของที่ปรึกษา
ประสบการณ์ของบริษัทที่ปรึกษา สามารถดูได้จากบรรดา Case Studies ต่าง ๆ ที่นำมาโชว์
ประสบการณ์ของที่ปรึกษา สามารถดูได้จาก ประวัติส่วนตัว และที่สำคัญ
คือจากการพูดคุย คุยกันครั้ง สองครั้ง ก็พอรู้ได้ว่ามีประสบการณ์มากขนาดไหน

ประสบการณ์ ที่ว่านี้หมายถึง ประสบการณ์ทั้งในด้าน Brand
ในด้านความเป็น Consult และความเข้าใจในตลาดอย่างแท้จริง
คนที่เคยใช้ Consult ฝรั่งมาแล้ว จะรู้ดีว่า
คำปรึกษาที่สวยหรู แต่นำมาปฏิบัติไม่ได้ใน Local Market เป็นอย่างไร
และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ถูกชะตากันขนาดไหน
เรื่องของการเลือกที่ปรึกษานี้จึงเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์
แล้วก็มาถึงข้อคิดสุดท้าย.... ในฐานะที่เป็น Brand Consult คนหนึ่ง
อยากจะฝากข้อคิดแทน Consult ทุก ๆ คนว่า
หน้าที่ของเราคือ “การให้ข้อคิด คำแนะนำ”
บทบาทของเราคือ การเป็นนักคิด ไม่ใช่ ผู้ปฏิบัติ
เราเป็นเสมือน โค้ช แต่ไม่ใช่ผู้เล่น
แต่แผนนกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้น
จะต้องสร้างความแตกต่าง สร้างจุดได้เปรียบจากคู่แข่ง
และต้องปฎิบัติได้จริง

ลูกค้า ทำหน้าที่เนผู้เล่น ที่เมื่อทุกคนเห็นพ้องต้องกันแล้ว
ก็จะต้องทำอย่างสุดฝีมือตามแผนกลยุทธ์นั้น ถ้าทำบ้าง ไม่ทำบ้าง
ก็คงจะไม่ได้ชัยชนะดังที่ต้องการ ในกรณีเช่นนี้จะโทษโค้ชก็คงไม่ได้
แต่ถ้าทำตามแผนทุกอย่างแล้ว แต่ยังไม่ประสบผล คราวนี้สิ!! โทษโค้ชได้เต็มปาก

บริษัทที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านแบรนด์ ถ้าดูในโลกก็มีมากมาย
ดังนั้น ถ้าคิดจะเสียเงินใช้ Brand Consult อย่างคุ้มค่า
ทุกเม็ดเงิน เราควรจะต้องเริ่มต้นด้วยความเชื่อจริง ๆ ว่า
Brand จะช่วยเราได้ อย่าทำเพียงเพราะ “กระแส”


http://teetwo.blogspot.com/2009/02/httpwww.html
http://teetwo.blogspot.com/2007/01/blog-post_09.html
http://teetwo.blogspot.com/2007/01/im-dreamer.html


"ดร.ศิริกุล เลากัยกุล" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แบรนด์บีอิ้ง จำกัด
(The BrandBeing Consultant)
วิเคราะห์แบรนด์ "วิกรม กรมดิษฐ์" ที่กลายเป็นแบรนด์บุคคลที่มีชื่อเสียง
เพราะสำเร็จได้ด้วย 3 องค์ประกอบ คือ
1.Positioning จุดยืนแห่งการเป็นตัวตนที่ชัดเจน
สะท้อนถึงทัศนคติในการใช้ชีวิต (Attitude towards life)
และจิตสำนึกต่อสังคม (Philanthropic)
2.Authentic ความเป็นเนื้อแท้ที่ไม่ลอกเลียนแบบใคร
3.Consistency ความคงเส้นคงวา
ที่สามารถนำเสนอความเป็นตัวของตัวเองจนกลายเป็นเอกลัษณ์ (Identity)

อย่างไรก็ตาม บุคคลใดที่อยากมีชื่อเสียง อยากจะมีแบรนด์ของตัวเอง
อาจใช้วิธีการศึกษาตามผู้ที่สร้างแบรนด์ทำแล้วประสบความสำเร็จเป็น Best Practice
แต่สุดท้ายแต่ละคนต้องหาตัวเองให้เจอ การเลียนแบบไม่มีทางที่จะยั่งยืน
ต้องเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างคำว่า Personal Branding กับ Self- Promotiion
ดังอย่างกลวงๆ เดี๋ยวก็ดับ แต่หากมีชื่อเสียงค้วยผลงาน ต่อให้ไม่มีชีวิตอยู่ก็ยังเป็นที่กล่าวขวัญอย่างไม่รู้ลืม
การทำ Personal Branding มีหลากหลายกลยุทธ์ เลือกใช้กันได้ตามความเหมาะสม
แต่สิ่งที่อยากจะฝากไว้คือคำพูดของไอน์สไตล์ที่กล่าวไว้ว่า
Don't become a man of success but become a man of value
พูดง่ายคือ "คุณค่าคือที่มาของชื่อเสียงที่น่านับถือ" สร้างตัวเองให้เป็นบุคคลที่มีคุณค่า
ไม่ใช่แค่บุคคลที่ประสบความสำเร็จ คือการทำ Personal Branding ที่แท้จริง





Jan 24, 2011

ทางใหม่ของ UTCC


17 มกราคม 2554

รศ.ดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ อธิการบดี ม.หอการค้าไทยกล่าวถึง
ทิศทางของมหาวิทยาลัยต่อจากนี้จะก้าวสู่ความเป็น
International
มากขึ้น

http://teetwoblog.webs.com/MBA2.pdf




















"ประพันธ์ เหตระกูล" สาวยาคูลท์เรียก "พ่อ"


มติชน
ตวงศักดิ์ ชื่นสินธุ-เรื่อง
กฤตยา เชื่อมวราศาสตร์-ภาพ
วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554




นับเป็นบุคคลที่ถือเป็นแบบอย่างของคนสู้ชีวิตอีกคนหนึ่งของสังคมไทย
ผ่าน ร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน

เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองกำลังร้อนระอุ
ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตร ทิ้งระเบิดใส่ฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่น)
ที่หัวลำโพง ตอนอายุ 12 ปี ต้องวิ่งหนีระเบิดถึงสามครั้ง
แต่ด้วยอานิสงส์แห่งสงครามกลับเปิดโอกาสให้

ประพันธ์ เหตระกูล ได้ก้าวออกไปรู้จักกับโลกแห่งวิทยาการโภชนาการ

ไม่เพียงเป็นบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโกเบ

คนแรกของประเทศไทย ที่ได้รับทุนการศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่น ยังเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ยาคูลท์ ประเทศไทย จำกัด

"ช่วงที่ทำตลาดยาคูลท์ใหม่ๆ คนไทยยังไม่รู้จัก "นมเปรี้ยว" พอเอายาคูลท์ไปทดลองแจกให้ดื่ม เมื่อเขาชิมแล้วโกรธใหญ่ เอาขวดขว้างใส่ผม และหาว่าผมเอานมเสียมาให้ดื่ม" ประพันธ์ เล่าถึงความลำบากในการต่อสู้เพื่อให้ยาคูลท์เป็นที่รู้จักในเมืองไทย จนถึงวันนี้ยาคูลท์ก่อตั้งมาได้ 40 ปีเแล้ว และสโลแกนที่ว่า "อยากรู้เรื่องยาคูลท์ ถามสาวยาคูลท์ดูสิคะ"ประพันธ์ เป็นลูกชายคนที่ 2 ในบรรดาพี่น้อง 12 คน ของคุณพ่อแสง และคุณแม่ไซ้กี เหตระกูล แต่งงานกับ ประพินพร เหตระกูล มีลูก 3 คน คนโต กิตติพันธุ์ ทำงานอยู่ น.ส.พ.เดลินิวส์ คนกลาง คือ กนกพร ใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ ส่วนคนเล็ก กนกพรรณ ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยาคูลท์ ประเทศไทย (จำกัด)

จบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัน บางรัก และชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ ก่อนจะไปเรียนต่อระดับ ปวช.ที่อัสสัมชัญพาณิชยการ

"ตอนนั้น สงครามโลกครั้งที่ 2 เพิ่งเลิก ผมมีอายุได้ 15-16 ปี เตรียมตัวจะไปเรียนต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะพี่น้องคนอื่นๆ เรียนที่สหรัฐอเมริกากันหมด เตรียมเอกสารไว้หมดทุกอย่างแล้ว ซื้อตั๋วไว้แล้วด้วย แต่ปรากฏว่า เตี่ยส่งไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ผมได้รู้จัก "ยาคูลท์" เป็นครั้งแรก"

ประพันธ์ สำเร็จการศึกษาเกียรตินิยมอันดับ 1 ทางด้านบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยโกเบ ก่อนจะเดินทางกลับประเทศ เพื่อสานต่อธุรกิจของครอบครัว เป็นบรรณาธิการคนแรกของ น.ส.พ.เดลินิวส์ เมื่อปี พ.ศ.2507

และเป็นเจ้าของบริษัทยาคูลท์ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2513 หลังจากคำชักชวนของเพื่อนชาวญี่ปุ่น

ตามไปรู้จักเรื่องราวเบื้องหลังความสำเร็จของผู้ชายคนนี้กัน

ทำไมตกลงใจไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น?

เรื่อง นี้ต้องย้อนกลับไปช่วงสงคราม เตี่ยของผมมีเพื่อนเป็นทหารยศพันเอกของกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งมาปฏิบัติหน้าที่อยู่ในประเทศไทย แต่ปรากฏว่าหลังสงครามทหารญี่ปุ่นคนนี้กลายเป็นอาชญากรสงคราม ถูกคุมขังอยู่ในคุกย่านบางบัวทอง แม้ว่าสมัยนั้นการเดินทางจะเป็นไปอย่างลำบาก ต้องนั่งเรือแล้วเดินต่ออีกเป็นระยะทางไกล แต่เตี่ยผมก็ไปเยี่ยมเขาทุกเดือนตลอด 2-3 ปีที่ติดคุกอยู่ในเมืองไทย



หลังจากถูกส่งตัวกลับประเทศญี่ปุ่นไม่นาน ช่วงนั้นผมเรียนจบอัสสัมชัญพาณิชยการพอดี คนญี่ปุ่นเพื่อนเตี่ยผมก็มีจดหมายมาหาเล่าว่า กำลังทำงานเป็นผู้จัดการที่บริษัทเหมืองถ่านหินแห่งหนึ่งในเมืองโอซากา อยากจะตอบแทนบุญคุณเตี่ยจึงชักชวนให้ส่งลูกไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นโดย เขาจะดูแลให้ทั้งหมด เตี่ยจึงถามผมว่า อยากไปเรียนที่ญี่ปุ่นหรือเปล่า ผมก็บอกไปว่าอยากไป เพราะประทับใจในความมีระเบียบของคนญี่ปุ่น จึงตอบตกลง

ต้องเตรียมเรื่องภาษาด้วย?

ตอน นั้นที่บ้านมีโรงพิมพ์ บังเอิญว่า นายช่างประจำแท่นพิมพ์เป็นคนญี่ปุ่น ผมเลยถือโอกาสขอเรียนภาษาญี่ปุ่นจากเขาอยู่ 6 เดือน และเมื่อไปถึงญี่ปุ่น ตอนนั้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2495 ก็ไปสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยโอซากา แผนกภาษาต่างประเทศ หลักสูตรภาษาไทย แต่ผมเรียนต่างจากนักศึกษาคนอื่นคือ คนอื่นเรียนเพื่อเอาภาษาไทย แต่ผมเรียนเพื่อเอาภาษาญี่ปุ่น เรียนอยู่ 1 ปี จึงไปสอบเข้าคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยโกเบ

ระหว่างนั้น มีอาจารย์ชาวญี่ปุ่นช่วยขอทุนจากกระทรวงศึกษาธิการของประเทศญี่ปุ่นให้ ผมจึงเป็นนักศึกษาไทยรุ่นแรกที่ได้รับทุนจากญี่ปุ่นก็ว่าได้ มีทั้งหมด 4 คน ผมจำได้คนเดียวคือ คุณตามใจ ขำภโต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ในฐานะของประเทศที่แพ้สงคราม สภาพความเป็นอยู่ไม่น่าจะสะดวกสบาย?

ครับ ช่วงนั้นเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเพิ่งยุติ ญี่ปุ่นอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง ประชาชนทุกคนต้องมีบัตรปันส่วนเพื่อรับเครื่องอุปโภคบริโภค ไม่ว่าจะเป็นข้าว น้ำตาลอาหารทุกอย่างต้องปันส่วนหมด แต่สำหรับผม โชคดีหน่อยหนึ่งที่เป็นนักเรียนต่างชาติก็ได้ปันส่วนพิเศษกว่าชาวญี่ปุ่น หน่อยหนึ่ง

ได้อะไรจากการไปเรียนที่ญี่ปุ่น

สิ่ง ที่ผมได้จากการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโกเบนั้นมีมากมาย นอกจากความรู้จากหลักสูตรที่ศึกษาแล้ว ยังมีความรู้ด้านอื่นด้วย เช่น ความรู้เกี่ยวกับด้านแรงงาน การบริหารบุคคล ระบอบการปกครอง ฯลฯ เพราะมหาวิทยาลัยโกเบเป็นหนึ่งใน 3 แห่งของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุด โดยมหาวิทยาลัยโกเบ มีชื่อเสียงในด้านของการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพในแง่ของการออกไปช่วยด้านการ พัฒนาประเทศเป็นสำคัญ

รู้จักยาคูลท์ได้อย่างไร?

จาก ประสบการณ์ของตัวเองเลย ตอนผมเรียนอยู่ที่ญี่ปุ่น ลำไส้ไม่แข็งแรง แม่บ้านที่ดูแลบ้านพักจึงนำยาคูลท์มาให้ดื่ม ก็ดื่มบ้างไม่ดื่มบ้าง แต่รู้สึกว่าสุขภาพของลำไส้ดีขึ้นมาก จึงรู้สึกประทับใจตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว

กลับมาก็เลยเปิดบริษัท?

ยัง ครับ ตอนที่เรียนจบกลับมา ผมทำหน้าที่เป็นคนเดินตลาดของโรงพิมพ์ที่บ้านก่อน แล้วมีเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยโกเบ มาชวนลงทุนทำโรงงาน ตอนนี้มีกิจการหลายอย่างที่ประเทศญี่ปุ่นมาลงทุนในประเทศไทย เช่น โรงงานทำกล่องลูกฟูก ฯลฯ แต่ผมไม่มีทุนมากขนาดนั้น เพราะตอนนั้นครอบครัวของผมเองก็ทำโรงงานผลิตน้ำอัดลมอยู่

หลังจาก นั้นไม่นานเพื่อนคนเดิมก็มาหาอีก คะยั้นคะยอผมบอกว่าบริษัทยาคูลท์ที่ประเทศญี่ปุ่นกำลังมองหาหุ้นส่วนคนไทย เพื่อมาเปิดตลาดในเมืองไทย ตอนนั้นประมาณ ปี 2513 ตัวผมเองมีความประทับใจในคุณภาพของยาคูลท์อยู่แล้ว จึงไม่รีรอที่จะร่วมลงทุน นอกจากจะช่วยให้คนไทยได้ดื่มยาคูลท์และมีสุขภาพลำไส้ที่ดีขึ้น ยังช่วยให้คนงานมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก

ปีแรกเป็นอย่างไร
ขาด ทุนครับ เพราะบริษัทมีพนักงานประมาณ 200 คน แต่ละคนเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท ตอนนั้นค่าแรงขั้นต่ำเดือนหนึ่งแค่ 700 บาทเอง ผมลงทุนไปทั้งหมด 15 ล้านบาท ปีแรกขาดทุน 7 ล้าน ปีที่สองขาดทุน 8 ล้าน เท่ากับ 2 ปี เงินทุนผมหมดแล้ว แต่ผมก็ยังไม่ท้อ เพราะคาดการณ์ไว้แล้วว่าธุรกิจเราน่าจะได้ทุนคืนในปีที่ 4

แต่ช่วงนั้นคนไทยยังไม่รู้จัก"นมเปรี้ยว"?

ครับ เราจึงพัฒนารสชาติของยาคูลท์ให้ถูกปากคนไทย เนื่องจากยาคูลท์ที่ผลิตในญี่ปุ่นไม่หวานมาก เพราะญี่ปุ่นไม่สามารถผลิตน้ำตาลเองได้ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ บริษัทต่างๆ ของญี่ปุ่นรวมทั้งยาคูลท์จึงซื้อน้ำตาลได้ตามโควต้าที่จำกัดไว้เท่านั้น และคิดว่ารสชาติไม่น่าจะถูกปากคนไทยเท่าใดนัก เราจึงเริ่มทดลองว่าคนไทยชอบรสชาติแบบไหน ทดลองอยู่ 3 เดือน จึงรู้ว่าต้องให้ความหวานขนาดเท่ากับความหวานของน้ำอัดลม และในความเป็นจริงน้ำตาลที่ใส่ลงไปในยาคูลท์ ไม่ใช่ว่าจะใส่เพื่อความหวานอย่างเดียว แต่ใส่เพื่อเป็นอาหารของจุลินทรีย์

ตอน เริ่มทำการตลาดใหม่ๆ ผมเองลงพื้นที่ไปแนะนำยาคูลท์แก่ลูกค้าด้วย ซึ่งเป็นเรื่องยากพอสมควรเพราะคนไทยสมัยนั้นยังไม่รู้จัก "นมเปรี้ยว" พอเอายาคูลท์ไปแจกให้ลองชิม เขาโกรธมาก เอาขวดขว้างใส่ผม หาว่าผมเอานมเสียมาให้กิน แต่ผมก็พยายามอดทน และอธิบายให้เข้าใจคุณภาพของสินค้า กว่าคนไทยจะเข้าใจใช้เวลาถึง 4 ปี

เป็นที่มาของสาวยาคูลท์?

ครับ ผมทำประชาสัมพันธ์โดยให้คนซื้อขวดต่อขวด ส่งสาวยาคูลท์ 200 คน ไปเดินแจกจนยาคูลท์เป็นที่รู้จักของคนไทย

แต่ จุดที่พลิกผันจริงๆ คือเมื่อปี 2515 เกิดอหิวาตกโรคระบาดอย่างรุนแรงแถวปากน้ำ จ.สมุทรปราการ มีคนติดเชื้อจำนวนมาก ผมก็ปรึกษากับหุ้นส่วนชาวญี่ปุ่น เขาจึงติดต่อไปทางสำนักงานที่ประเทศญี่ปุ่นให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมายังประเทศ ไทย มาอธิบายให้นักวิชาการในประเทศไทยถึงสรรพคุณที่บอกว่า ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคอหิวาต์ บิด ไข้รากสาดหรือไข้ไทฟอยด์ ได้อย่างชะงัก

พอมาถึงก็เข้าพบนายแพทย์ใหญ่ประจำจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อพูดคุยและอธิบายสรรพคุณ นายแพทย์ใหญ่ก็มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่พาคณะของผมไปที่โรงพยาบาลปากน้ำ เพื่อเยียวยาอาการผู้ป่วย ซึ่งตอนนั้นมีที่อาการหนักอยู่ 3 คน ผมจำได้แม่นเลย ผู้ชาย 2 คนที่มีร่างกายแข็งแรง และมีคุณป้า 1 คนแก่มาก เคี้ยวหมากด้วย ทั้งสามคนมีอาการถ่ายไม่หยุด

เรามีการถามความสมัครใจ กับคนไข้ก่อน ปรากฏว่า ผู้ชาย 2 คนตอบตกลง ส่วนคุณป้าไม่ยอมดื่ม ผมก็บอกทางผู้อำนวยการว่า ถ้าผู้ป่วยจะใช้ยาคูลท์แทนยาจะต้องหยุดดื่มยาทั้งหมด และต้องดื่มยาคูลท์ต่างน้ำ เพราะอาการของอหิวาต์ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ปรากฏว่าสามชั่วโมงให้หลังคนไข้ทั้งสองคนที่ดื่มยาคูลท์หยุดถ่าย ผู้ป่วยที่เป็นผู้หญิงที่ไม่ดื่มตั้งแต่แรกพอเห็นคนไข้สองคนกินแล้วหายก็มา ขอไปดื่มบ้าง ผมก็เลยเอายาคูลท์ที่นำไปด้วยประมาณ 200 ขวดให้พยาบาลไว้ หลังจากนั้น ผมก็นำยาคูลท์ไปให้กับทางโรงพยาบาลแจกไป 6 แสนขวด

ตอนนั้นเรียกว่ามั่นใจในสินค้ามาก?

ก็ มั่นใจตั้งแต่ดื่มเองจนสุขภาพลำไส้แข็งแรงขึ้นแล้ว อย่างลูกสาวคนเล็ก (กนกพรรณ เหตระกูล) ผมให้ดื่มตั้งแต่อายุได้ 5 วัน เป็นสูตรที่ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นการันตีแล้วว่าปลอดภัยต่อเด็ก ทุกวันนี้ทั้งเธอและผมก็ยังดื่มยาคูลท์ทุกวัน ไม่ใช่ฟรีนะ เสียเงินซื้อทุกขวด (หัวเราะ)

สโลแกน "อยากรู้เรื่องยาคูลท์ ถามสาวยาคูลท์สิคะ" ใครเป็นคนคิด

ผม เป็นคนคิดเอง เพราะผมมั่นใจในคุณภาพของยาคูลท์ พนักงานของเราต้องผ่านการอบรมก่อนจะเข้าเป็นพนักงานทุกคน และจะต้องรู้ว่าจุลินทรีย์ในยาคูลท์มีประโยชน์อย่างไร ต้องอบรมนาน 1 เดือน ต้องผ่านการพูดหน้าชั้น สอบข้อเขียนด้วย หากไม่รู้ว่าในขวดมีอะไรก็เท่ากับว่าไม่ผ่าน

ความรู้สึกเมื่อทราบว่ามหาวิทยาลัยโกเบประกาศว่าเป็นศิษย์ต่างประเทศคนแรกของมหาวิทยาลัยโกเบ

(นิ่งไปชั่วครู่ ก่อนตอบด้วยน้ำเสียงสั่นเครือที่เปี่ยมไปด้วยความตื้นตันว่า) ดีใจครับ

บั้นปลายชีวิตวางแผนไว้อย่างไรบ้าง

ตอน นี้ผมมีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 4,500 คน โดยเฉลี่ยแล้วพนักงานของเราประมาณ 70% ครอบครัวแตกแยก สามีทิ้ง สามีตาย สามีไม่สมบูรณ์ รายได้ของครอบครัวไม่ดี สิ่งที่ผมภูมิใจและดีใจกับพวกเขาคือ กิจการของผมสามารถทำให้ผู้หญิงเหล่านั้นมีงานทำ สามารถส่งเสียลูกๆ ให้เรียนจนจบปริญญาได้

พนักงานเหล่านี้แม้จะเป็นเพียงผู้หญิงตัวเล็กๆ แต่ผมถือว่าเขาเป็นกำลังสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศเราเลยทีเดียว

***ที่มา : หน้า 17 ,มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม 2553