Custom Search

Jun 23, 2008

วาทกรรม อำนาจ และ ความรู้ : มิเชล ฟูโกต์

ชลเทพ ปั้นบุญชู ::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::: Michel Foucault



แนวคิดเรื่องชนชายขอบในแวดวงมานุษยวิทยา
ได้ให้ความสนใจมากเพราะกลุ่มชนชายขอบ
มีลักษณาการทางวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมหลัก
เราจะพบว่าปัจจุบันจะมีชนชายขอบที่มี
ความแตกต่างหลากหลายกลุ่ม
ไปจนก่อเกิดพหุทางวัฒนธรรมในหลายๆสังคม

บางครั้งคนชายขอบอาจเป็นสิ่งที่ต้องห้าม
หรือมีการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเรียกร้องที่จะได้มาซึ่ง
สิทธิศักดิ์ศรีที่มีตัวตนในพื้นที่ทางสังคม กรณีเกย์ เลสเบี้ยน
กลุ่มรักร่วมเพศออกมาเคลื่อนไหวให้สังคมยอมรับ บทบาทและสถานภาพรวมไปถึงสิทธิ หน้าที่
เช่นเดียวกับคนในชาติในฐานะพลเมืองกลุ่มหนึ่งของรัฐ
เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ถูกเลือกปฏิบัติในฐานะชนชายขอบนั่นเอง


ฟูโกต์ หรือที่รู้จักในนาม มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
เป็นนักปรัชญาประวัติศาสตร์ฝรั่งเศษ
ที่มีความคิดสุดโต่งแยบยลที่สุดในต้นศรรตวรรษที่ 20
แนวคิดของเขาได้เผยให้เห็นถึง
โครงสร้างทางประวัติศาสตร์ที่บิดเบือนจาก
ข้อเท็จจริงผ่านรูป "วาทกรรม"
และที่สำคัญวาทกรรมนั้นจะทรงพลานุภาพ
จะต้องเข้าสู่กระบวนการสถาปนา อำนาจ
ในการสร้างชุดความรู้ขึ้นมา สิ่งเหล่านี้คือ สัจจะ
ในปริบททางสังคม 
กรณีคนบ้ามิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะเขาเหล่านั้นบ้า
แต่เกิดขึ้นมีกลุ่มบุคคลที่อ้างชุดความรู้หนึ่ง
ในการจัดนิยาม ความบ้า
และสถาปนาชุดความรู้เหล่านั้น
โดยแบ่งแยก คนบ้า และคนปรกติ
ซึ่งมีลักษณาการที่ต่างกัน

เราจึงมิได้บ้าโดยธรรมชาติ แต่กระบวนการทำให้กลายเป็น คนบ้า

ขึ้นอยู่กับอำนาจวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเช่นเดียวกับเกย์ เลสเบี้ยน กระเทย

ที่ถูกสร้างนิยามจากกลุ่มคนที่จัดประเภทเพื่อแบ่งแยกระหว่างผู้ที่มีรสนิยมทางเพศต่างเพศ
กับผู้มีรสนิยมทางเพศเดียวกัน
การนิยามเหล่านี้จึงต้องอ้างอิงชุดความรู้ทั้งวิทยาศาสตร์
ทั้งในการจำแนกแบบสัตว์สองเพศ หรือผู้มีจิตใจเบี่ยงเบนจากบรรทัดฐาน

ทางสังคมหรือแนวคิดอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดจำแนกนิยาม

และสร้างการยอมรับผ่านมิติทางประวัติศาสตร์ บุคคล ผู้มีอำนาจ

ในการสร้างชุดความรู้ จึงสามารถสร้างชุดวาทกรรม ต่างๆเพื่อสร้างอำนาจ

มากดทับ ผู้ที่อยู่ภายใต้อำนาจ สร้างวัฒนธรรมหลักเพื่อผลักกระแสวัฒนธรรมชายขอบออกไป

จึงพบเห็นคำว่า วัฒนธรรมราษฎ์ กับวัฒนธรรมหลวงหรือวัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรมรอง

โลกทัศน์แบบจัดจำแนกประเภทจากการสร้างชุดวาทกรรมขึ้นมา
จึงมีสารัตถะสำคัญที่ว่าใครพูด มากกว่าที่จะบอกว่า เขาพูดอะไร
เราจึงเลือกที่จะเชื่อวาทกรรม จากบุคคลที่มีอำนาจของการสถาปนา
ชุดความรู้มากกว่าที่จะเข้าใจว่า
ความหมายที่แท้จริงคืออะไรนั่นเอง

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในสังคมไทยคือการเรียกชื่อกล่มชาติพันธุ์ต่างๆ
ล้วนแล้วแต่มีอคติทางวัฒนธรรมแทบทั้งสิ้น

คนหลายคนเรียกกลุ่มมราบริ หรือยุมบริในจังหวัดน่านว่าเป็นผีตองเหลือง
แสดงว่าเราจัดประเภทให้พวกเขาเหล่านั้นไม่ใช่คนหรือเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมประหลาด

การนิยามเหล่านี้ถือเป็นการเหยียดทางวัฒนธรรม
และสร้างให้พวกกลุ่มชนเหล่านั้นเป็นชายขอบ หรือเงาะซาไก

ก็ยังมีความหมายที่ไม่ดี เพราะเราจะหมายถึง
คนป่าหรือคนป่าเถื่อนนั่นเอง
แสดงว่าเราจำแนกให้พวกเขามีวัฒนธรรมที่ด้อยกว่า
วัฒนธรรมหลัก ในขณะที่กลุ่มของพวกเขาคือเจ้าป่า

คนของแผ่นดินที่เชี่ยวชาญสมุนไพร ในนาม นิกริโต เซมัง ("Semang")

การสร้างวาทกรรมจึงเป็นการต่อสู้ระหว่างอำนาจของกลุ่มที่มีอำนาจและกลุ่มผู้อยู่ภายใต้อำนาจ
และประวัติวศาสตร์ก็เผยให้เห็นความพ่ายแพ้ของกลุ่มชนเล็กๆ
ที่ถูกผลักให้เป็นชนชายขอบการสถาปนาชุดความรู้ที่
เรียกว่า วาทกรรม

จึงเอื้อประโยชน์การสร้างความชอบธรรมในสังคมเพื่อประโยชน์
ต่อการกดขี่ปกครอง หรือระเบียบไว้ควบคุม

ผู้ไร้อำนาจจึงมิอาจต้านทานพลานุภาพเพราะเป็นเสียงจากชนกลุ่มเล็ก

เช่นชนกลุ่มน้อยไร้สิทธิในที่ทำกิน เพราะไม่ใช้เจ้าของมาตุภูมิเพียงแต่เป็นผู้อบยพมาอาศัยแผ่นดินเพียงเท่านั้น
ซึ่งไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งและยังได้สิทธิความเป็นพลเมืองชั้นสอง
เพียงเพราะพวกเขามีอำนาจที่จะต่อสู้เรียกร้องที่เบาบางกว่า
กลุ่มชนหลักพวกเขาจึงถูกเอารัดเอาเปรียบในหลายด้าน
และยังขาดโอกาสที่จะได้รับความเสมอภาคและความเท่าเทียมในสังคม


________________________________

มิเชล ฟูโกต์ ( Michel Foucault) ได้ให้ความหมายของ
วาทกรรม หมายถึง กระบวนการสร้างความหมายโดยภาษาและสัญลักษณ์ต่างๆที่ดำรงอยู่ในสังคม
ประกอบกันเป็นความรู้ ความเข้าใจ
ในเรื่องหนึ่งๆซึ่งส่งผลต่อการกำหนดว่า
อะไรคือความรู้ ความจริง และอะไรไม่ใช่
วาทกรรมเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยสังคม
ทั้งโดยกลุ่มที่ครองอำนาจและกลุ่มที่ต่อต้านอำนาจ
จัดเป็นเทคโนโลยีทางอำนาจที่ถูกใช้
ทั้งการเก็บกดปิดกั้นและจัดระเบียบวิถีชีวิตของคนในสังคม
แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ถูกใช้เพื่อ
ต่อต้านอำนาจ(Counter discourse)
ต่อต้านระเบียบที่วาทกรรมหลักครอบงำอยู่
การวิเคราะห์วาทกรรมทำให้เห็นแง่มุมของอำนาจโดยเฉพาะ
ในแง่มุมของความรู้ได้ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น
เมื่อวาทกรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอ้างได้ว่ามีผู้ผลิต
ผู้ควบคุมวาทกรรมอย่างชัดเจน
อำนาจในแง่มุมของวาทกรรม เป็นอำนาจที่กระจายตัว
แทรกซึมในแนวระนาบ เชื่อมต่ออย่างหลากหลาย
ยากที่จะหาจุดกำเนิด จุดศูนย์กลางของการผลิต
ดังนั้นไม่ว่าผู้กระทำการใดๆ
ล้วนตกอยู่ภายใต้วาทกรรมหรือความสัมพันธ์อำนาจ

ในเรื่องความรู้และความจริงด้วยกันทั้งสิ้น
ประเด็นของการวิเคราะห์วาทกรรม ไม่ได้อยู่ที่คำพูดนั้นๆ
เป็นจริงหรือเท็จ แต่อยู่ที่กฎเกณฑ์ชุดหนึ่งที่เป็นตัวกำกับให้การพูดนั้นๆ

เป็นไปได้มากกว่าจะเป็นเรื่องของข้อเท็จจริง
วาทกรรมจึงไม่ใช่เป็นเพียงผลลัพธ์ซึ่งเกิดจากการต่อสู้

เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบของการครอบงำ แต่วาทกรรมในตัวของมันเองนั้น

คือการต่อสู้และการครอบงำ ที่มีต่อรูปแบบและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม

ที่มา http://my.dek-d.com/ijeab_ba/story/view.php?id=380224 (Not Active)







Jun 21, 2008

พระพิฆเนศวร






คนไทยคุ้นเคยกับบรรดาเทพทั้งหลายมาช้านาน
แต่ในบรรดาเทพทั้งหมดคนไทยรู้จักพระ
พิฆเนศวร มากที่สุด
เพราะท่านเป็นมหาเทพที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับวิถีชีวิตคนไทยมากที่สุดจนกล่าวได้ว่า
คนไทยยอมรับในองค์พระ
พิฆเนศวร
เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ
เป็นตราประจำกรมกองต่างๆมากมาย


พระ
พิฆเนศวร เป็นเทพแห่งปราชญ์
ความรอบรู้ต่างเป็น
เทพแห่งขจัดอุปสรรคความขัดข้อง
ดังนั้นหากผู้ใดเป็นผู้รู้และ
ประสบความสำเร็จต่อกิจการทั้งปวง

มักจะบูชา
พระพิฆเนศวรก่อน
ในอินเดียเองก็มีแนวความเชื่อในเรื่อง
พระพิฆเนศวร ในทุกลัทธิศาสนา
ไม่ว่าลัทธิที่ถือองค์พระศิวะเป็นใหญ่
นับถือพระพรหมเป็นใหญ่หรือพระนารายณ์เป็นใหญ่
ทุกลัทธิล้วนให้ความสำคัญ
ต่อ
พระพิฆเนศวรทั้งสิ้น
ด้วยทุกตำราได้กล่าวถึงที่มาของ
พระพิฆเนศวร ไว้สูง
สำคัญและฤทธิ์มาก
มีความเฉลียวฉลาด มีคุณธรรม
คอยช่วยเหลือปกป้องปราบปรามสิ่งชั่วร้าย
และเป็นยอดกตัญญูแม้
พระพิฆเนศวร
จะเป็นเทพที่มีความเก่งกาจสามารถยิ่ง
แต่ก็เป็นเทพที่สงบนิ่งไม่เย่อหยิ่งทรนง
อันเป็นคุณสมบัติอันประเสริฐ
อีกประการหนึ่งของผู้ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง
จึงกล่าวได้ว่า
พระพิฆเนศวร
เป็นมหาเทพที่ดีพร้อมครบถ้วน
ด้วยความดีงามสมควรแก่การยกย่องบูชาเป็นนิจ

แม้แต่องค์พระศิวะมหาเทพผู้สร้าง
และพระบิดาแห่งองค์
พระพิฆเนศวร
ยังกล่าวว่า
ไม่ว่าจะกระทำการสิ่งใดหรือทำพิธีบูชาใด
ให้ทำการบูชา
พระพิฆเนศวร
ก่อนกระทำการทั้งปวง

ผู้ใด ต้องการความสำเร็จ ให้บูชา
พระพิฆเนศวร
ผู้ใด ต้องการพ้นจากความขัดข้องทั้งปวง ให้บูชา
พระพิฆเนศวร

>คาถาบูชาพระพิฆเนศวร
โองการพินธุ นาถังอุปปันนัง
พรหมมะโน จะอินโธ
พิฆฆะเนศโต มหาเทโว
อะหังวันทา มิสัพพะทา
สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง
สิทธิการิยัง ประสิทธิเม
(ใช้สวดเพื่อขอพรหรือปัดเป่าเหตุร้าย)










คนทำบุญ1ล้านบาท กับคนทำบุญ100บาท จะได้กุศลเท่ากันไหม?

มติชน
วันที่ 21 มิถุนายน 2551

'พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า แม้การบำเพ็ญเมตตาจิตเพียงชั่วดมไม้หอม
ก็ได้อานิสงค์มากกว่าการถวายทานแด่พระอรหันต์ถึง 100 รูป'...
เผยคำถาม-คำตอบจาก 'พระไพศาล วิสาโล'
เรื่องการทำบุญ ..เงินนั้น 'ซื้อบุญกุศล' ได้จริงหรือ?..

ถาม : ดูเหมือนว่าการจะถึงศาสนาทุกวันนี้ มีแต่เรื่องต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อย เช่น การที่วัดต่างๆ เรี่ยไร ขอรับบริจาค การทำบุญ ถวายสังฆทานหรือการบวช ท่านคิดอย่างไร?
พระไพศาล : คนสมัยนี้มักเข้าใจว่าการทำบุญ หมายถึง การให้ทานเท่านั้นซึ่งเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ยิ่งเมื่อมีการสอนให้เข้าใจว่า
หากบริจาคมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ร่ำรวย ซึ่งเป็นผลจากอิทธิพลบริโภคนิยม
ประกอบกับวัดก็อยากได้เงินและหลวงพ่อก็อยากรวย
เงินจึงกลายเป็นตัวกลางเชื่อมสัมพันธ์ของคนในสังคม
พระอาจต้องการสร้างโบสถ์ จึงต้องหาทุน ต้องทำการเรี่ยไร รับบริจาค ทำผ้าป่า
คนสมัยนี้อยากรวยอยู่แล้ว
ก็ถือว่าใช้เงินเป็นใบเบิกทางไปสู่สวรรค์หรือความมั่งมีในอนาคต

ถาม : คนทำบุญ 1 ล้านบาทกับคนทำบุญ 100 บาท จะได้บุญกุศลเท่ากันไหม?
พระไพศาล : บุญจะมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงิน
แต่ขึ้นอยู่กับเจตนาและความตั้งใจ คนที่ถวายเงินน้อยหรือถวายอาหารที่มีราคาไม่มาก
แต่ได้รับบุญมากก็มี เพราะว่ามีเจตนาบริสุทธิ์ มีความตั้งใจและศรัทธามาก
ขณะที่คนซึ่งบริจาคเงินเยอะๆ แต่ว่าไม่ได้เกิดจากศรัทธาที่แท้จริง
ก็เหมือนกับเป็นการถวายเพื่อหาผลประโยชน์กลับมาในรูปวัตถุ
ก็อาจได้บุญน้อยกว่า

ถาม : การทำบุญมีแบบใดบ้าง นอกจากการให้ทาน สิ่งของ และเงิน
พระไพศาล : มีเยอะ เช่น การรักษาศีล การบำเพ็ญภาวนา การทำสมาธิ
การแผ่เมตตา การพิจารณาธรรมะ การฟังธรรม การมีจิตใจอ่อนน้อม (อุปจายนมัย)
การทำจิตเพื่อส่วนรวม (ไวยาวัจจมัย) การทำความเห็นให้ถูกต้อง (ทิฏฐุชุกรรม)
เรื่องการทำบุญนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แม้การบำเพ็ญเมตตาจิตเพียงชั่วดมไม้หอม
ก็ได้อานิสงค์มากกว่าการถวายทานแด่พระอรหันต์ถึง 100 รูป
หรือการถวายอาหารให้พระพุทธเจ้าด้วยซ้ำไป
ซึ่งการถวายอาหารพระพุทธเจ้าที่ถือว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่
ยังเทียบกับการเจิรญภาวนาเพียงชั่วขณะจิตไม่ได้
นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า
การให้วัตถุมีอานิสงค์น้อยกว่าการบำเพ็ญภาวนาด้วยการฝึกจิต

ถาม : ในสมัยพุทธกาล เราไม่เคยได้ยินว่า
เศรษฐีสมัยก่อนเคยบริจาคเงินให้พระพุทธเจ้า ?
พระไพศาล : เขาไม่ถวายเงิน เขาถวายอาหาร จีวร กุฏิ เป็นปัจจัยสี่
จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ยังไม่มีการถวายเงินให้พระ
กฐินหลวงก็ยังถวายแค่หมาก 1 คำ เพราะสมัยก่อนเงินไม่มีความหมาย
แต่สมัยนี้เป็นยุคทุนนิยม เงินมีความหมายมาก ก่อนหน้านี้
ทุกอย่างได้มาจากการลงมือลงแรงทั้งนั้น จะมีข้าวกินก็ต้องลงแรงทำเอง
ไม่ต้องซื้อ ความรู้ก็ต้องขวนขวายหามา เสื้อผ้าก็ต้องผลิตเอง
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องของยุคสมัย ซึ่งเมื่อเข้าสู่สมัยทุนนิยม
ทุกอย่างก็ต้องใช้เงิน

ถาม : สรุปว่า ที่เป็นอย่างนี้เพราะโลกเราเข้าสู่ยุคทุนนิยม
แล้วพุทธศาสนาจะสามารถต้านทานกระแสทุนนิยมได้หรือไม่?
พระไพศาล : ในปัจจุบันก็ต้านไม่ได้อยู่แล้ว เพราะพื้นฐานเราอ่อนแอ
แต่ว่าตามหลักพระพุทธศาสนาก็จะเห็นว่า เงินเป็นเพียงปัจจัยรอง
ซึ่งไม่ใช่ปัจจัยหลักในชีวิต แต่หากคนคิดว่าเป้าหมายของชีวิตคือความร่ำรวย
ก็จะถือว่าเงินคือพระเจ้า พุทธศาสนาถือว่าเงินไม่ใช่พระเจ้า
เราต้องรู้จักใช้เงิน ไม่ให้เงินเป็นนายเรา
เราต้องนายของเงิน ต้องเป็นอิสระจากเงิน

ทำบุญ 10 วิธี ตามหลักศาสนาพุทธ
(จากคู่มือ 'ฉลาดทำบุญ' โดยพระชาย วรธมโม และพระไพศาล วิสาโล)
1.ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ
2.รักษาศีล ฝีกฝนตนเองเพื่อลด ละ เลิกความชั่ว
3.เจริญภาวนา ทำเพื่อทำให้จิตใจสงบและไม่มีกิเลส
4.อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือดีและไม่อวดตัว จะได้เมตตากลับมา
5.ช่วยเหลือสังคม ทำงานเพื่อส่วนรวม หรือช่วยเหลือชุมนุมด้วยแรงกาย
6.เปิดโอกาสให้ผู้อื่นร่วมทำบุญ หรือเมื่อทำงาน ก็เปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม
7.ยินดีในความดีของผู้อื่น
8.การฟังธรรมหรือฟังความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์
9.ถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
10.ใช้ปัญญาไตร่ตรองอยู่เสมอว่าอะไรผิดและอะไรถูก

ที่มา นิตยสาร 'ฉลาดซื้อ' โดยมูลนิธีเพื่อผู้บริโภค
เขียนโดย พระไพศาล วิสาโล พระนักคิดและเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต


Jun 16, 2008

ประวัติ แด จัง กึม

Suh Jang Geum ซอ จัง กึม
Wikipedia.org
สันนิษฐานว่า ซอ จัง กึม คือแพทย์หญิงคนแรก
ในสมัย Joseon ของเกาหลี ได้มีการกล่าวถึง ซอ จัง กึม อย่างน้อย 10 ครั้ง ในตำนานของราชวงศ์ Joseon
ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงแค่ข้อมูลที่ไม่แน่ชัดก็ตาม
แต่ก็รู้กันโดยทั่วไปว่า กษัตริย์ Jungjong นั้น
ทรงโปรดในความรู้ทางด้านการแพทย์ของเธอ
และแต่งตั้งให้เธอได้เป็นผู้ดูแลราชวงศ์ทุกพระองค์
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จัง กึม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแพทย์ระดับสามในราชวัง
และได้เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อใหม่จาก ซอ เป็น แด ซึ่งหมายความว่า ความยิ่งใหญ่
ปัจจุบันนี้ นักวิชาการหลายท่านก็ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่า ซอ จัง กึม
เป็นบุคคลที่มีอยู่จริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่ชื่อที่แต่งขึ้นเพื่อคนบางคน
ที่ซึ่งชาติกำเนิดนั้นไม่มีระบุไว้ในอดีต
นับตั้งแต่ ซอ จัง กึม ก็ไม่มีแพทย์หญิงหลวงอีกเลยจนถึงทุกวันนี้
เรื่องของ ซอ จังกึม หรือแพทย์หญิงหลวง ได้มีการกล่าวถึง
ในบันทึกราชวงศ์ดังนี้
March-April of 1515
เมื่อมเหสีองค์ที่สองของกษัตริย์ Jungjong สิ้นพระชนม์
เนื่องด้วยความผิดพลาดจากการให้กำเนิด
เจ้าพนักงานหวังหลวงได้พยายามชักจูงให้
กษัตริย์ทำการออกคำสั่งลงโทษแพทย์หญิงทุกคนที่ถวายการรักษามเหสีองค์ที่สอง
ซึ่งก็รวมไปถึง ซอ จัง กึม ด้วย แต่กษัตริย์ทรงไม่เห็นด้วย
และตรัสว่า “จัง กึม นั้นควรจะได้รับการยกย่องอย่างใหญ่หลวงมากกว่า
จากที่เธอได้มีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้การคลอดบุตรของพระมหเสีนั้นปลอดภัย
แต่เราก็ยังมิได้ตบรางวัลอะไรเป็นการตอบแทนเลยจนกระถึงวันนี้
เนื่องด้วยเราติดภารกิจมากมาย และตอนนี้พวกท่านบอกให้เราลงโทษนาง
เนื่องเพราะมเหสีได้สิ้นพระชนม์ลง
แต่เราไม่ทำเช่นนั้นหรอก เช่นเดียวกับที่เราก็จะไม่ตบรางวัลใดๆให้นาง
นี่คือคำขาด!”
1524, บันทึกได้ระบุไว้ว่า
“แด จัง กึม เป็นแพทย์หญิงหลวงที่เก่งที่สุดในวัง
ดังนั้น เธอจึงได้รับมอบหมายให้คอยดูแลกษัตริย์”
1533, ในบันทึกกษัตริย์ได้ตรัสไว้ถึงสภาพพระวรกายของพระองค์เองดังนี้
“เราได้หายจากโรคภัยไข้เจ็บที่เราเป็นอยู่มาหลายเดือนแล้ว
คณะแพทย์หมอหลวงควรแก่การยกย่อง
จัง กึม และ เค กึม แพทย์หญิงสองคนนี้
จะได้รับรางวัลเป็นข้าว และถั่ว อย่างละ 15 กระสอบ และ เสื้อผ้าอาภรณ์ 10 ชุด
January 29th, ภายในบันทึกได้ระบุคำสั่งที่ออกโดยกษัตริย์ไว้ว่า
“เราไม่ได้ทำหน้าที่การบริหารของเรามาซะนานนับตั้งแต่เราไม่สบาย
เมื่อไม่กี่วันที่แล้ว แล้วได้เข้าร่วมประชุม
แต่อากาศที่หนาวเย็นทำให้อาการของเรานั้นแย่ลง
เราได้บอกให้ Bak Se-geo และ Hong Chim หมอหลวง
และแพทย์หญิง แด จัง กึม ให้คิดหาวิธีรักษาแล้ว”
February 9th, 1544, ภายในบันทึกได้ระบุถึงการยกย่อง แด จัง กึม จากกษัตริย์
หลังจากที่พระองค์ทรงหายจากอาการประชวร
October 25th, 1544, บันทึกได้ระบุไว้ถึงการสนทนากันระหว่างอมาตย์หลวง
และ จัง กึม เกี่ยวกับพระพลานามัยของกษัตริย์
ซึ่งรังแต่จะทรุดโทรมลงเรื่อยๆ จัง กึม พูดไว้ว่า
“พระองค์ทรงบรรทมราวเที่ยงคืนเมื่อวานนี้ และยังทรงบรรทมอีกเล็กน้อยตอนรุ่งสาง
และได้ทรงขัดเบาเรียบร้อยแล้ว แต่ยังทรงมีอาการท้องผูกเป็นเวลาสามวันแล้ว”
October 26th, 1544, กษัตริย์ตรัสไว้ว่า:
“เรายังคงท้องผูกอยู่ ยาอะไรจะช่วยทำให้เราหายจากอาการนี้ได้บ้าง
แพทย์หญิง (แด จัง กึม) รู้อาการของเราทั้งหมด”
หลังจากนั้น จัง กึม จึงได้รายงานถึงวิธีรักษาพระราชาให้กับอมาตย์หลวง
October 29th, 1544, ภายในบันทึกระบุไว้ว่า
กษัตริย์ได้ทรงหายจากอาการท้องผูก
และได้ทรงพระราชทานวันหยุดให้กับแพทย์หลวงทุกคน
(พระราชาสิ้นพระชน 17 วันต่อมา ในเดือน November 15th, 1544)
October 29th, 1544 เป็นการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ ซอ จัง กึม เป็นครั้งสุดท้าย
"อย่าเสียใจให้มาก ห้ามยอมแพ้ต่อชะตาลิขิต ไม่ว่าเจ้าจะไปไหน ท่านพ่อจะอยู่เคียงข้างเสมอ ทุกหนแห่ง ยังมี แม่คนนี้ติดตามดูแล" - ปาร์คเมียงยอ
"เจ้าอาจนึกกลัว อยากจะยอมแพ้ แต่ว่า..ถ้าเจ้าอ่อนแอเมื่อไร่ เนินเล็กๆก็เหมือนขุนเขา แต่ว่า ถ้าเจ้าเข้มแข็ง ลมพายุก็เหมือนสายลมแผ่วเบา"
- ชองซังกุง









Jun 15, 2008

สุขภาวะทางปัญญา


คอลัมน์ จิตวิวัฒน์

ประเวศ วะสี

มติชน

14 มิถุนายน 2551


http://jitwiwat.blogspot.com
แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


สุขภาพคือสุขภาวะที่สมบูรณ์
ทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา
สุขภาวะทั้ง 4 ด้าน เชื่อมโยงกันเป็นบูรณาการ เชื่อมโยงถึงกัน
และอยู่ในกันและกัน
แต่ละด้านมีองค์ประกอบ 4 รวมกันเป็นสุขภาวะ 4x4 = 16
การที่ว่ามีองค์ประกอบด้านละ 4
ไม่ได้แสดงว่ามีเท่านั้น
แต่เป็นการพอประมาณและเพื่อให้จำได้ง่ายทางกาย 4 อย่างเป็นไฉน
ทางกาย 4 อย่าง ประกอบด้วย
ร่างกายแข็งแรง
ความปลอดสารพิษ
มีความปลอดภัย
ความมีปัจจัย 4
ซึ่งมาจากการมีสัมมาชีพทางจิต 4 อย่างเป็นไฉน
ทางจิต 4 อย่างประกอบด้วย
ความดี
ความงาม
หรือ สุนทรียะ
ความสงบ
ความมีสติทางสังคม 4 อย่างเป็นไฉน
ทางสังคม 4 อย่างประกอบด้วย
สังคมสุสัมพันธ์หรือมีความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับ
สังคมเข้มแข็ง
สังคมยุติธรรม
สังคมสันติ
ทางปัญญา 4 อย่างเป็นไฉน
ทางปัญญา 4 อย่างประกอบด้วย
ปัญญารู้รอบรู้เท่าทัน
ปัญญาทำเป็น
ปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น
ปัญญาบรรลุอิสรภาพ
ปัญญาเป็นศูนย์กลาง
ถ้าปราศจากปัญญา
สุขภาวะทางกาย ทางจิต และทางสังคมก็เป็นไปไม่ได้
การพัฒนาปัญญาต้องนำไปสู่การพัฒนากาย จิต และสังคม
การพัฒนากาย จิต และสังคม
ต้องนำไปสู่การพัฒนาปัญญาทั้ง 4 ร่วมกัน
จึงเกิดสุขภาวะที่สมบูรณ์ในที่นี้จะขยายความ
เฉพาะเรื่องปัญญา 4 ประการ คือ
(1)ปัญญารู้รอบรู้เท่าทัน การรู้อะไรแจ่มแจ้งแทงทะลุทำให้เกิดความสุข
ความมืด ความไม่รู้อะไร ความไม่แจ่มแจ้ง ทำให้เกิดความบีบคั้น
เสมือนคนที่อยู่ในเหวทั้งมืดทั้งไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน
จะมีความทุกข์ความบีบคั้นอย่างยิ่ง ต่อเมื่อขึ้นมาจากปากเหว
มองเห็นได้ทั่วไป เกิดความสุขจากการหลุดพ้นความบีบคั้นของความไม่รู้
การมีปัญญาเห็นโดยรอบ รู้เท่าทันสิ่งต่างๆ
ทำให้มีความสุขคนที่รู้รอบที่เรียกว่าเป็นพหูสูต
จึงมีความสงบและมีความสุขอยู่ในตัว
รู้ว่าอะไรเป็นอะไรตรงข้ามกับคนที่ไม่รู้ รู้น้อย รู้เป็นส่วนๆ
ไม่รู้เชื่อมโยงย่อมอยู่ในความบีบคั้น เหะหะ โวยวาย แก้ปัญหาไม่ตก
หลุดไปเป็นพาลได้ง่ายการรู้เท่าทันปัญหาแม้ยังไม่ได้แก้ปัญหา
ก็ทำให้ความเป็นปัญหาหมดไปได้ ยกตัวอย่างเช่น
ป้าคนหนึ่งมีความทุกข์มาก เพราะแกพูดอะไรลูกสาวก็ไม่เชื่อแก
เมื่อได้รับคำบอกเล่าว่าแบบนี้เป็นกันทุกบ้าน
แกอุทานว่า "หรือ ฉันนึกว่าเป็นแต่ฉันคนเดียว
ถ้ามันเป็นกันทุกบ้าน ฉันก็ค่อยยังชั่ว"
ที่หายทุกข์ก็เพราะมีปัญญารู้เท่าทันว่า
มันเป็นเช่นนั้นเอง หรือ "ธรรมดาเนาะ"
เรื่องการมีปัญญารอบรู้ รู้เท่าทัน รวมไปถึงโลกทัศน์และวิธีคิด
ถ้ามีโลกทัศน์และวิธีคิดที่ถูกต้องก็ทำให้มีความสุข
การมีปัญญาเข้าใจธรรมชาติตามที่เป็นจริง
เห็นความเป็นกระแสของเหตุปัจจัย (อิทัปปัจจยตา)ของสรรพสิ่ง
ทำให้ไม่ถูกบีบคั้นจากความเห็นผิด ว่าสิ่งต่างๆ
ดำรงอยู่อย่างแยกส่วนตายตัว เมื่อเป็นอิสระจากความบีบคั้นก็ไม่ทุกข์
เมื่อเห็นอะไรเป็นกระแสของอิทัปปัจจยตา
ก็จะอยู่ในกระแสแห่งปัญญา มีสุขภาวะเพราะปัญญา
(2)ปัญญาทำเป็น หมายถึงปัญญาที่เกิดจากการลงมือทำและทำเป็น
ในการพัฒนากาย 4 ประการ และทางจิต 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
การเรียนรู้จากการทำ และเกิดปัญญาที่ทำให้ทำได้ดี
ทั้งเรื่องทำให้ร่างกายแข็งแรง ปลอดสารพิษ มีความปลอดภัย สร้างสัมมาชีพ
มีปัจจัย 4 มีจิตใจที่มีความดี ความงาม ความสงบ และความมีสติ
ปัญญาในการทำเป็นนี้ย่อมก่อให้เกิดความสุขอย่างยิ่ง
(3)ปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น ได้แก่ปัญญาที่คำนึงถึงการอยู่ร่วมกัน (Living together)
ไม่ใช่ตัวใครตัวมันเป็นเอกเทศ สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับ
รวมตัวร่วมคิดร่วมทำเป็นชุมชนเข้มแข็ง และประชาสังคม
มีการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive learning through action)
การที่มีความเสมอภาคและภราดรภาพจนสามารถรวมตัวร่วมคิดร่วมทำได้
จะทำให้เกิดความสุขประดุจบรรลุนิพพานและทำให้ทำอะไรๆ
สำเร็จได้ง่ายตรงนี้เป็นอปริหานิยธรรมหรือธรรมะเพื่อความเจริญถ่ายเดียว
การอยู่ร่วมกันเป็นต้องสามารถสร้างสังคมยุติธรรม
ความยุติธรรมในสังคมเป็นบ่อเกิดของความสุขอย่างยิ่ง
การอยู่ร่วมกันเป็นต้องสามารถสร้างสังคมสันติ
สามารถแก้ความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ขจัดความรุนแรงประเภทต่างๆ มีสันติภาพ
สังคมสันติเป็นสุขภาวะทางสังคมอย่างยิ่ง
บุคคลควรเรียนรู้ให้เกิดปัญญาอยู่ร่วมกันเป็น
(4)ปัญญาบรรลุอิสรภาพ ความไม่รู้หรืออวิชชาเป็นเครื่องก่อทุกข์ วิชชา
หรือ ปัญญาเป็นเครื่องออกจากทุกข์
เพราะความไม่รู้มนุษย์ยึดถือตัวตนของตนเองเป็นศูนย์กลาง
จึงขัดแย้งกับความจริง ความขัดแย้งคือทุกขตาหรือความทุกข์
อาการของการเอาตัวเองเป็นใหญ่ประกอบด้วย ตัณหา
อันได้แก่ความอยากเอาอยากเป็น มานะ อันได้แก่การใช้อำนาจเหนือคนอื่น
ทิฏฐิ การเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ บีบคั้นตนเอง
และบีบคั้นผู้อื่น ยิ่งมีมากยิ่งก่อทุกข์มาก ถึงอาจก่อให้เกิดจลาจลและสงครามได้
ไม่เป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เพราะอวิชชาจึงมีตัณหา มานะ ทิฏฐิ
หรือความเห็นแก่ตัวหากลดความเห็นแก่ตัวลงได้มากเท่าไร
เรียกว่ามีปัญญาเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น มีอิสรภาพจากความบีบคั้นมากขึ้น
ปัญญาและอิสรภาพจึงซ้อนทับอยู่ที่เดียวกัน ผู้ที่หมดความเห็นแก่ตัวโดยสิ้นเชิง
ก็มีอิสรภาพหลุดพ้นจากความบีบคั้นโดยสิ้นเชิง มีความสุขอย่างยิ่ง
เป็นวิมุติสุขมนุษย์ควรเรียนรู้เพื่อลดความเห็นแก่ตัวหรือเพื่อบรรลุอิสรภาพ
ในทางพุทธได้แก่ไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา
ซึ่งเป็นมรรควิถีที่พิสูจน์มาแล้วว่ามนุษย์จำนวนมากที่ศึกษาบนเส้นทางนี้
แล้วบรรลุอิสรภาพได้จริง ตามปกติมนุษย์ไม่สามารถสัมผัสความจริงได้
เพราะติดอยู่ในความคิด การมีสติรู้กายรู้ใจ ทำให้จิตสงบจากความคิด
สัมผัสความจริง และถอดถอนจากความยึดมั่นในตัวตนได้
การเจริญสติจึงเป็นเครื่องมือพัฒนาจิตและปัญญาอย่างยิ่งยวดการเจริญสติ
ทำให้เกิดสุขภาวะอันล้ำลึกอย่างไม่เคยเจอมาก่อน
ขณะนี้มีผู้ฝึกเจริญสติกันมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
เพราะพบว่าทำให้ทุกอย่างดีขึ้นหมด
เช่น สุขภาพดี สมองดี ความสัมพันธ์ดีขึ้น
และเกิดสุขภาวะอันล้นเหลือ
เป็นความสุขที่ราคาถูก (Happiness at low cost)
เป็นความสุขที่ไม่ต้องการบริโภคมากขึ้น
เป็นเครื่องลดบริโภคนิยมอย่างชะงัด
ฉะนั้น ถ้ามนุษย์เจริญสติกันมากๆ แล้ว
นอกจากจะลดความร้อนอกร้อนใจแล้ว
จะช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้ดีที่สุด
ขณะนี้มีการเรียนรู้ที่เรียกว่า
จิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Education)
ด้วยวิธีการต่างๆ อันไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา
แต่ก็รวมอยู่ที่การเรียนรู้ที่รู้จิตของตัวเอง
จิตตปัญญาศึกษาทุกประเภทเป็นไปเพื่อบรรลุอิสรภาพ
โดยสรุปสุขภาวะทางปัญญาเกิดจากการเรียนรู้ที่ทำให้รู้รอบ
รู้เท่าทันสรรพสิ่ง เรียนรู้ให้ทำเป็น เรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน
และการเรียนรู้เพื่อบรรลุอิสรภาพ การเรียนรู้ดังกล่าวทำให้เกิดสุขภาวะทางกาย
สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางปัญญา
รวมกันเป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ สุขภาวะที่สมบูรณ์เกิดจากการเรียนรู้ที่ดี
การเรียนรู้ที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์
จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะแสวงหา
และช่วยให้เพื่อนมนุษย์ได้พบการเรียนรู้ที่ดี



Jun 13, 2008

ประภาส ชลศรานนท์ คือ ใคร? : PRAPAS.COM

>>> เฉลียง <<<



www.Prapas.com

ประภาส ชลศรานนท์ (เกิด 18 พ.ค 2504) เป็นคนชลบุรี จบสถาปัตย์ จุฬาฯ
ร่วมกันตั้งวงเฉลียงกับ 2 เพื่อนซี้ นิติพงษ์ ห่อนาค และวัชระ ปานเอี่ยม
ตั้งแต่ยังเป็นนิสิตโดยวัชระ และนิติพงษ์ อยู่เบื้องหน้า
ส่วนตัวเองอยู่เบื้องหลังคอยเขียนเพลง




ออกเทปชุดแรกเมื่อปี 2525 ในชุด “ปรากฎการณ์ฝน”
โดยมี เต๋อ-เรวัต พุทธินันทน์ เป็นโปรดิวเซอร์
แต่เพราะความแปลกใหม่และแนวดนตรีที่มาก่อนเวลา
ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จด้านยอดขาย
จากนั้นเข้าทำงานเขียนบทรายการโทรทัศน์ของเจเอสแอล
และเล่นตลกคั่นรายการกับกลุ่ม “ปั้นจั่นสำอาง” ของ ปัญญา นิรันดร์กุล
และ จรัสพงษ์ สุรัสวดี หรือซูโม่ตู้
มาประสบความสำเร็จสูงสุดจากละคร “เทวดาตกสวรรค์” และ “คุณยายกายสิทธิ์” ฯลฯ
และยังเคยร่วมเขียนบทและทำเพลงประกอบหนัง”วัยระเริง” ของ เปี๊ยก โปสเตอร์
ปี 2529 กลับมาทำเฉลียงอีกครั้งเพราะถูกลูกยุของจุ้ย-ศุ บุญเลี้ยง
โดยมีสมาชิกใหม่เข้ามาเสริมอีก 3 คน คือจุ้ย เกี้ยง-เกียรติศักดิ์ 

เวทีวุฒาจารย์
และ แต๋ง-ภูษิต ไล้ทอง จนกลายเป็นวงดนตรีที่ได้รับฉายา”กลุ่มตัวโน้ตอารมณ์ดี”
ระหว่างทำเฉลียงก็เขียนเพลงให้กับนักร้อง นักดนตรี ในสังกัด “คีตา” ไปด้วย
จนดังไปหลายคน เช่น โคโค่แจ๊ส สุนิสา สุขบุญสังข์ พงษ์พัฒน์ 

วชิรบรรจง
ฮันนี่–ภัสสร บุณยเกียรติ สามโทน ฯลฯ นอกจากนี้
ยังมีผลงานด้านการเขียนอีก 2 เล่นคือ
"ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ" "ห้องครูวิไล ตึกใหม่ชั้น 2" และล่าสุดคือ “คุยกับประภาส”








ปัจจุบันเป็นหนึ่งในทีมผู้บริหารเวิร์คพอยท์ร่วมกับปัญญา นิรันดร์กุล
เป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการคิดและผลักดันรายการดีๆ มีคุณค่า
พร้อมสาระบันเทิงนำเสนอสู่สังคม
โดยเฉพาะรายการ “คุณพระช่วย”
“เกมทศกัณฐ์”
“ชิงช้าสวรรค์” ฯลฯ
ผู้ก่อตั้งกลุ่ม “กระดาษพ่อดินสอแม่”
สร้างสรรค์บทละครโทรศัทน์ดีๆ ไว้หลายเรื่อง
เช่น ละครเทิดพระเกียรติชุด “พ่อ” จำนวน 6 เรื่อง,
ละคร “รองเท้าแก้ว”
ละครเทิดพระเกียรติ”เหมือนแม่ครึ่งหนึ่งก็พึงใจ”
ความสามารถอันหลากหลายของประภาสที่ว่ามานี้
ส่วนหนึ่งมาจากการที่เขาได้อ่านหนังสือดีๆ มาตั้งแต่สมัยเด็กๆ
และเหนืออื่นใดก็คือเป็นผู้ที่แอกทีฟตลอดเวลา
ไม่เคยหยุดที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ให้กับตัวเองเสมอ
ทุกวันนี้ ถึงเฉลียงจะสลายตัวไปแล้ว
รายการวิทยุยังหยิบเอาเพลงเฉลียงมาเปิดอยู่บ่อยๆ
และนักแต่งเพลงรุ่นใหม่ก็พูดถึง ประภาส ชลศรานนท์
คนเขียนเพลงให้เฉลียงอยู่บ่อยๆเหมือนกัน
หลายคนชอบความคิดและมุมมองในการเขียนเพลงของเขา



วธ.ประกาศ 'เพชรา เชาวราษฎร์-ประภาส ชลศรานนท์' เป็นศิลปินแห่งชาติ 2561


Jun 8, 2008

สถาปัตย์...คนจัดฝัน I’m an Architect : A49.COM

เรื่องราวสถาปนิก: http://www.eduzones.com/knowledge-2-6-30214.html
อีกหนึ่งอาชีพในฝันของคนหลายคน อาชีพที่ฟังดูไฮโซๆ เท่ๆ
และทำรายได้ได้มากมาย
ซึ่งหลายคนติดภาพสถาปนิกจากทางทีวี ภาพยนตร์
แต่คนจำนวนมากยังรู้จักสถาปนิกน้อยมาก
หนังสือเล่มนี้ซึ่งจะบอกเรื่องราวเกี่ยวกับสถาปนิก
โดยคุณเกี๊ยง-เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ สถาปนิกมือดี
จากบริษัทสถาปนิกชั้นนำ A49
จะทำให้คุณได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของสถาปนิกดียิ่งขึ้น
อาจมีเรื่องราวหลายมุมที่ต่างจากที่คุณคิดกัน
สำหรับผู้อ่านที่กำลังศึกษาอยู่และมีความใฝ่ฝันที่อยากเป็นสถาปนิก
หนังสือเล่มนี้ จะพาคุณไปรู้จักอาชีพนี้ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน
ชีวิตการเรียนและการทำกิจกรรม
เรื่องราวสนุกๆ ของรุ่นพี่และเพื่อนๆ
รวมถึงความรู้ต่างๆ
เมื่อเริ่มออกมาทำงานและคำแนะนำดีๆ
จากประสบการณ์การเป็นสถาปนิกกว่า 20 ปี
ช่วยให้คุณได้รู้จักอาชีพสถาปนิกดียิ่งขึ้น
เพื่อจะตอบตัวเองได้ว่าใช่สิ่งที่คุณฝันหรือไม่
และสำหรับผู้อ่านทั่วไปที่อาจต้องทำงานร่วมกับสถาปนิกเข้าสักวัน
เมื่อคุณอยากมีบ้านสักหลัง
หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คุณสามารถ
เตรียมทำงานร่วมกับสถาปนิกได้ดียิ่งขึ้น
ซึ่งจะทำให้คุณได้บ้านที่ตรงกับฝันของคุณมากที่สุด
โดยที่งบไม่บานปลายและนี่คือเรื่องราวดีๆ
จาก “สถาปัตย์...คนจัดฝัน”
ชื่อหนังสือ : สถาปัตย์...คนจัดฝัน I’m an Architect
ผู้เขียน : เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์
พ่อกล่อมลูก






Jun 6, 2008

ผู้นำในดวงใจ

From T2
อภิญญา จงสุขกิจพานิช
ภาควิชาประยุกต์ศิลป์ศึกษา
คณะมัณฑนศิลป์
มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้นำในดวงใจของฉันคือคุณจรัญ คงได้
น้าจรัญเป็นทหารที่ออกรบและบาดเจ็บจากการต่อสู้ด้วยระเบิด
ส่งผลให้ชีวิตทหารของน้าจรัญจบลง
เพราะระเบิดนั้นทำให้แขนขาดและตาบอดกลายเป็นคนพิการ
แต่น้าจรัญก็ไม่เคยยอมแพ้ชีวิต หันมาจับงานขายลอตเตอรี่
หาเลี้ยงครอบครัวที่มีภรรยาและลูกสาวอีก 2 คน ที่ยังเรียนอยู่
ต่อมามีผู้เปิดโอกาสนำธุรกิจส่วนตัวมาให้น้าจรัญโดยที่ไม่สนใจว่า
น้าจรัญจะพิการแขนขาด ตาบอด
จากนั้นน้าจรัญก็เริ่มทำธุรกิจออกไปหาลูกค้า สาธิตสินค้า
และเริ่มหาองค์กร ทั้งที่ตนเองตาบอดและแขนขาด
เข้าฟังประชุม สัมมนาอบรมจนดึก
มีอยู่ครั้งหนึ่งภรรยาของน้าจรัญเอ่ยด้วยความห่วงใยว่า
“ออกไปประชุมแต่เช้า กลับก็ดึกดื่น
รู้มั้ยว่ามืดแล้วมันอันตราย รู้ตัวรึเปล่าว่าตาบอด”
น้าจรัญตอบกลับอย่างอารมณ์ดีว่า
“ก็กลางวันมันก็มืดอยู่แล้ว กลางคืนก็มืดไม่ต่างกันหรอก”
ทำเอาภรรยาต้องทำใจในความเข้มแข็งของสามีที่ไม่เคยยอมแพ้ชีวิต
ต่อมาประมาณ 3-4 ปี
น้าจรัญก็ประสบความสำเร็จในธุรกิจมียอดองค์กรและเครือข่าย
สามารถพาลูกสาวและภรรยาไปท่องเที่ยวต่างประเทศได้ทุกปี
ล่าสุดน้าจรัญสามารถทำยอดพาครอบครัวไปล่องเรือที่ทะเลเมดิเตอเรเนียนได้
ชนิดที่เรียกว่าคนที่เป็นปกติครบ 32 ยังทำไม่ได้
แต่กระนั้นก็ยังมีคนว่ากล่าวน้าจรัญว่าที่ประสบความสำเร็จได้
เพราะคนเขาช่วยซื้อช่วยขายด้วยเห็นแก่น้าจรัญที่ตาบอด แขนขาด
น้าจรัญก็ไม่โกรธตอบไปว่า
“แกก็เอานิ้วจิ้มตาให้บอด ตัดแขนให้ขาดเหมือนฉันสิ
แกจะได้ประสบความสำเร็จ”
และยังมีสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความอารมณ์ดี เข้มแข็ง
และไม่ยอมแพ้ต่อชะตาชีวิตของน้าจรัญนั้นคือ
บางคราวมีคนถามน้าจรัญว่า
“น้าจรัญตาบอด มองไม่เห็น ไปต่างประเทศจะต่างอะไรกับเมืองไทย”
น้าจรัญก็จะกระทืบเท้าและสูดลมหายใจเข้าพลางเอ่ย
“นี่พื้นของอิตาลี นี่อากาศของอิตาลี”
เป็นสิ่งที่ฉันเคารพจากหัวใจ เพราะน้าจรัญไม่เคยยอมแพ้ชีวิต
ไม่หวั่นเกรงต่อเสียงของผู้คนรอบข้าง
มุ่งมั่นทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จมีรายได้เดือนละเป็นหมื่น
และพาลูกสาว ภรรยาไปต่างประเทศได้อย่างไม่อายคนปกติธรรมดา
เรื่องราวเหล่านี้มีอยู่ในหนังสือ “โลกมืด...ทางสว่าง” โดย คุณจรัญ คงได้

อภิญญา จงสุขกิจพานิช กับ เพื่อนๆ ภาควิชาประยุกต์ศิลป์ศึกษา

From T2


Mirror Blog
วันพุธ ที่ 30 กรกฎาคม 2551 (31/07/2008)
http://blog.spu.ac.th/anon49069929sec02