แนวคิดเรื่องชนชายขอบในแวดวงมานุษยวิทยา
ได้ให้ความสนใจมากเพราะกลุ่มชนชายขอบ
มีลักษณาการทางวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากวัฒนธรรมหลัก
เราจะพบว่าปัจจุบันจะมีชนชายขอบที่มี
ความแตกต่างหลากหลายกลุ่ม
ไปจนก่อเกิดพหุทางวัฒนธรรมในหลายๆสังคม
บางครั้งคนชายขอบอาจเป็นสิ่งที่ต้องห้าม
หรือมีการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเรียกร้องที่จะได้มาซึ่ง
สิทธิศักดิ์ศรีที่มีตัวตนในพื้นที่ทางสังคม กรณีเกย์ เลสเบี้ยน
กลุ่มรักร่วมเพศออกมาเคลื่อนไหวให้สังคมยอมรับ บทบาทและสถานภาพรวมไปถึงสิทธิ หน้าที่
เช่นเดียวกับคนในชาติในฐานะพลเมืองกลุ่มหนึ่งของรัฐ
เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ถูกเลือกปฏิบัติในฐานะชนชายขอบนั่นเอง
ฟูโกต์ หรือที่รู้จักในนาม มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault)
เป็นนักปรัชญาประวัติศาสตร์ฝรั่งเศษ
ที่มีความคิดสุดโต่งแยบยลที่สุดในต้นศรรตวรรษที่ 20
แนวคิดของเขาได้เผยให้เห็นถึง
โครงสร้างทางประวัติศาสตร์ที่บิดเบือนจาก
ข้อเท็จจริงผ่านรูป "วาทกรรม"
และที่สำคัญวาทกรรมนั้นจะทรงพลานุภาพ
จะต้องเข้าสู่กระบวนการสถาปนา อำนาจ
ในการสร้างชุดความรู้ขึ้นมา สิ่งเหล่านี้คือ สัจจะ
ในปริบททางสังคม
กรณีคนบ้ามิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะเขาเหล่านั้นบ้า
แต่เกิดขึ้นมีกลุ่มบุคคลที่อ้างชุดความรู้หนึ่ง
ในการจัดนิยาม ความบ้า
และสถาปนาชุดความรู้เหล่านั้น
โดยแบ่งแยก คนบ้า และคนปรกติ
ซึ่งมีลักษณาการที่ต่างกัน
เราจึงมิได้บ้าโดยธรรมชาติ แต่กระบวนการทำให้กลายเป็น คนบ้า
ขึ้นอยู่กับอำนาจวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเช่นเดียวกับเกย์ เลสเบี้ยน กระเทย
ที่ถูกสร้างนิยามจากกลุ่มคนที่จัดประเภทเพื่อแบ่งแยกระหว่างผู้ที่มีรสนิยมทางเพศต่างเพศ
กับผู้มีรสนิยมทางเพศเดียวกัน
การนิยามเหล่านี้จึงต้องอ้างอิงชุดความรู้ทั้งวิทยาศาสตร์
ทั้งในการจำแนกแบบสัตว์สองเพศ หรือผู้มีจิตใจเบี่ยงเบนจากบรรทัดฐาน
ทางสังคมหรือแนวคิดอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดจำแนกนิยาม
และสร้างการยอมรับผ่านมิติทางประวัติศาสตร์ บุคคล ผู้มีอำนาจ
ในการสร้างชุดความรู้ จึงสามารถสร้างชุดวาทกรรม ต่างๆเพื่อสร้างอำนาจ
มากดทับ ผู้ที่อยู่ภายใต้อำนาจ สร้างวัฒนธรรมหลักเพื่อผลักกระแสวัฒนธรรมชายขอบออกไป
จึงพบเห็นคำว่า วัฒนธรรมราษฎ์ กับวัฒนธรรมหลวงหรือวัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรมรอง
โลกทัศน์แบบจัดจำแนกประเภทจากการสร้างชุดวาทกรรมขึ้นมา
จึงมีสารัตถะสำคัญที่ว่าใครพูด มากกว่าที่จะบอกว่า เขาพูดอะไร
เราจึงเลือกที่จะเชื่อวาทกรรม จากบุคคลที่มีอำนาจของการสถาปนา
ชุดความรู้มากกว่าที่จะเข้าใจว่า
ความหมายที่แท้จริงคืออะไรนั่นเอง
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในสังคมไทยคือการเรียกชื่อกล่มชาติพันธุ์ต่างๆ
ล้วนแล้วแต่มีอคติทางวัฒนธรรมแทบทั้งสิ้น
คนหลายคนเรียกกลุ่มมราบริ หรือยุมบริในจังหวัดน่านว่าเป็นผีตองเหลือง
แสดงว่าเราจัดประเภทให้พวกเขาเหล่านั้นไม่ใช่คนหรือเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมประหลาด
การนิยามเหล่านี้ถือเป็นการเหยียดทางวัฒนธรรม
และสร้างให้พวกกลุ่มชนเหล่านั้นเป็นชายขอบ หรือเงาะซาไก
ก็ยังมีความหมายที่ไม่ดี เพราะเราจะหมายถึง
คนป่าหรือคนป่าเถื่อนนั่นเอง
แสดงว่าเราจำแนกให้พวกเขามีวัฒนธรรมที่ด้อยกว่า
วัฒนธรรมหลัก ในขณะที่กลุ่มของพวกเขาคือเจ้าป่า
คนของแผ่นดินที่เชี่ยวชาญสมุนไพร ในนาม นิกริโต เซมัง ("Semang")
การสร้างวาทกรรมจึงเป็นการต่อสู้ระหว่างอำนาจของกลุ่มที่มีอำนาจและกลุ่มผู้อยู่ภายใต้อำนาจ
และประวัติวศาสตร์ก็เผยให้เห็นความพ่ายแพ้ของกลุ่มชนเล็กๆ
ที่ถูกผลักให้เป็นชนชายขอบการสถาปนาชุดความรู้ที่
เรียกว่า วาทกรรม
จึงเอื้อประโยชน์การสร้างความชอบธรรมในสังคมเพื่อประโยชน์
ต่อการกดขี่ปกครอง หรือระเบียบไว้ควบคุม
ผู้ไร้อำนาจจึงมิอาจต้านทานพลานุภาพเพราะเป็นเสียงจากชนกลุ่มเล็ก
เช่นชนกลุ่มน้อยไร้สิทธิในที่ทำกิน เพราะไม่ใช้เจ้าของมาตุภูมิเพียงแต่เป็นผู้อบยพมาอาศัยแผ่นดินเพียงเท่านั้น
ซึ่งไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งและยังได้สิทธิความเป็นพลเมืองชั้นสอง
เพียงเพราะพวกเขามีอำนาจที่จะต่อสู้เรียกร้องที่เบาบางกว่า
กลุ่มชนหลักพวกเขาจึงถูกเอารัดเอาเปรียบในหลายด้าน
และยังขาดโอกาสที่จะได้รับความเสมอภาคและความเท่าเทียมในสังคม
________________________________
มิเชล ฟูโกต์ ( Michel Foucault) ได้ให้ความหมายของ
วาทกรรม หมายถึง กระบวนการสร้างความหมายโดยภาษาและสัญลักษณ์ต่างๆที่ดำรงอยู่ในสังคม
ประกอบกันเป็นความรู้ ความเข้าใจ
ในเรื่องหนึ่งๆซึ่งส่งผลต่อการกำหนดว่า
อะไรคือความรู้ ความจริง และอะไรไม่ใช่
วาทกรรมเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยสังคม
ทั้งโดยกลุ่มที่ครองอำนาจและกลุ่มที่ต่อต้านอำนาจ
จัดเป็นเทคโนโลยีทางอำนาจที่ถูกใช้
ทั้งการเก็บกดปิดกั้นและจัดระเบียบวิถีชีวิตของคนในสังคม
แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ถูกใช้เพื่อ
ต่อต้านอำนาจ(Counter discourse)
ต่อต้านระเบียบที่วาทกรรมหลักครอบงำอยู่
การวิเคราะห์วาทกรรมทำให้เห็นแง่มุมของอำนาจโดยเฉพาะ
ในแง่มุมของความรู้ได้ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น
เมื่อวาทกรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอ้างได้ว่ามีผู้ผลิต
ผู้ควบคุมวาทกรรมอย่างชัดเจน
อำนาจในแง่มุมของวาทกรรม เป็นอำนาจที่กระจายตัว
แทรกซึมในแนวระนาบ เชื่อมต่ออย่างหลากหลาย
ยากที่จะหาจุดกำเนิด จุดศูนย์กลางของการผลิต
ดังนั้นไม่ว่าผู้กระทำการใดๆ
ล้วนตกอยู่ภายใต้วาทกรรมหรือความสัมพันธ์อำนาจ
ในเรื่องความรู้และความจริงด้วยกันทั้งสิ้น
ประเด็นของการวิเคราะห์วาทกรรม ไม่ได้อยู่ที่คำพูดนั้นๆ
เป็นจริงหรือเท็จ แต่อยู่ที่กฎเกณฑ์ชุดหนึ่งที่เป็นตัวกำกับให้การพูดนั้นๆ
เป็นไปได้มากกว่าจะเป็นเรื่องของข้อเท็จจริง
วาทกรรมจึงไม่ใช่เป็นเพียงผลลัพธ์ซึ่งเกิดจากการต่อสู้
เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบของการครอบงำ แต่วาทกรรมในตัวของมันเองนั้น
คือการต่อสู้และการครอบงำ ที่มีต่อรูปแบบและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม
ที่มา http://my.dek-d.com/ijeab_ba/story/view.php?id=380224 (Not Active)