มติชน
วันที่ 21 มิถุนายน 2551
'พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า แม้การบำเพ็ญเมตตาจิตเพียงชั่วดมไม้หอม
ก็ได้อานิสงค์มากกว่าการถวายทานแด่พระอรหันต์ถึง 100 รูป'...
เผยคำถาม-คำตอบจาก 'พระไพศาล วิสาโล'
เรื่องการทำบุญ ..เงินนั้น 'ซื้อบุญกุศล' ได้จริงหรือ?..
ถาม : ดูเหมือนว่าการจะถึงศาสนาทุกวันนี้ มีแต่เรื่องต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อย เช่น การที่วัดต่างๆ เรี่ยไร ขอรับบริจาค การทำบุญ ถวายสังฆทานหรือการบวช ท่านคิดอย่างไร?
พระไพศาล : คนสมัยนี้มักเข้าใจว่าการทำบุญ หมายถึง การให้ทานเท่านั้นซึ่งเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ยิ่งเมื่อมีการสอนให้เข้าใจว่า
หากบริจาคมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้ร่ำรวย ซึ่งเป็นผลจากอิทธิพลบริโภคนิยม
ประกอบกับวัดก็อยากได้เงินและหลวงพ่อก็อยากรวย
เงินจึงกลายเป็นตัวกลางเชื่อมสัมพันธ์ของคนในสังคม
พระอาจต้องการสร้างโบสถ์ จึงต้องหาทุน ต้องทำการเรี่ยไร รับบริจาค ทำผ้าป่า
คนสมัยนี้อยากรวยอยู่แล้ว
ก็ถือว่าใช้เงินเป็นใบเบิกทางไปสู่สวรรค์หรือความมั่งมีในอนาคต
ถาม : คนทำบุญ 1 ล้านบาทกับคนทำบุญ 100 บาท จะได้บุญกุศลเท่ากันไหม?
พระไพศาล : บุญจะมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงิน
แต่ขึ้นอยู่กับเจตนาและความตั้งใจ คนที่ถวายเงินน้อยหรือถวายอาหารที่มีราคาไม่มาก
แต่ได้รับบุญมากก็มี เพราะว่ามีเจตนาบริสุทธิ์ มีความตั้งใจและศรัทธามาก
ขณะที่คนซึ่งบริจาคเงินเยอะๆ แต่ว่าไม่ได้เกิดจากศรัทธาที่แท้จริง
ก็เหมือนกับเป็นการถวายเพื่อหาผลประโยชน์กลับมาในรูปวัตถุ
ก็อาจได้บุญน้อยกว่า
ถาม : การทำบุญมีแบบใดบ้าง นอกจากการให้ทาน สิ่งของ และเงิน
พระไพศาล : มีเยอะ เช่น การรักษาศีล การบำเพ็ญภาวนา การทำสมาธิ
การแผ่เมตตา การพิจารณาธรรมะ การฟังธรรม การมีจิตใจอ่อนน้อม (อุปจายนมัย)
การทำจิตเพื่อส่วนรวม (ไวยาวัจจมัย) การทำความเห็นให้ถูกต้อง (ทิฏฐุชุกรรม)
เรื่องการทำบุญนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แม้การบำเพ็ญเมตตาจิตเพียงชั่วดมไม้หอม
ก็ได้อานิสงค์มากกว่าการถวายทานแด่พระอรหันต์ถึง 100 รูป
หรือการถวายอาหารให้พระพุทธเจ้าด้วยซ้ำไป
ซึ่งการถวายอาหารพระพุทธเจ้าที่ถือว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่
ยังเทียบกับการเจิรญภาวนาเพียงชั่วขณะจิตไม่ได้
นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า
การให้วัตถุมีอานิสงค์น้อยกว่าการบำเพ็ญภาวนาด้วยการฝึกจิต
ถาม : ในสมัยพุทธกาล เราไม่เคยได้ยินว่า
เศรษฐีสมัยก่อนเคยบริจาคเงินให้พระพุทธเจ้า ?
พระไพศาล : เขาไม่ถวายเงิน เขาถวายอาหาร จีวร กุฏิ เป็นปัจจัยสี่
จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ยังไม่มีการถวายเงินให้พระ
กฐินหลวงก็ยังถวายแค่หมาก 1 คำ เพราะสมัยก่อนเงินไม่มีความหมาย
แต่สมัยนี้เป็นยุคทุนนิยม เงินมีความหมายมาก ก่อนหน้านี้
ทุกอย่างได้มาจากการลงมือลงแรงทั้งนั้น จะมีข้าวกินก็ต้องลงแรงทำเอง
ไม่ต้องซื้อ ความรู้ก็ต้องขวนขวายหามา เสื้อผ้าก็ต้องผลิตเอง
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องของยุคสมัย ซึ่งเมื่อเข้าสู่สมัยทุนนิยม
ทุกอย่างก็ต้องใช้เงิน
ถาม : สรุปว่า ที่เป็นอย่างนี้เพราะโลกเราเข้าสู่ยุคทุนนิยม
แล้วพุทธศาสนาจะสามารถต้านทานกระแสทุนนิยมได้หรือไม่?
พระไพศาล : ในปัจจุบันก็ต้านไม่ได้อยู่แล้ว เพราะพื้นฐานเราอ่อนแอ
แต่ว่าตามหลักพระพุทธศาสนาก็จะเห็นว่า เงินเป็นเพียงปัจจัยรอง
ซึ่งไม่ใช่ปัจจัยหลักในชีวิต แต่หากคนคิดว่าเป้าหมายของชีวิตคือความร่ำรวย
ก็จะถือว่าเงินคือพระเจ้า พุทธศาสนาถือว่าเงินไม่ใช่พระเจ้า
เราต้องรู้จักใช้เงิน ไม่ให้เงินเป็นนายเรา
เราต้องนายของเงิน ต้องเป็นอิสระจากเงิน
ทำบุญ 10 วิธี ตามหลักศาสนาพุทธ
(จากคู่มือ 'ฉลาดทำบุญ' โดยพระชาย วรธมโม และพระไพศาล วิสาโล)
1.ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ
2.รักษาศีล ฝีกฝนตนเองเพื่อลด ละ เลิกความชั่ว
3.เจริญภาวนา ทำเพื่อทำให้จิตใจสงบและไม่มีกิเลส
4.อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือดีและไม่อวดตัว จะได้เมตตากลับมา
5.ช่วยเหลือสังคม ทำงานเพื่อส่วนรวม หรือช่วยเหลือชุมนุมด้วยแรงกาย
6.เปิดโอกาสให้ผู้อื่นร่วมทำบุญ หรือเมื่อทำงาน ก็เปิดโอกาสให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม
7.ยินดีในความดีของผู้อื่น
8.การฟังธรรมหรือฟังความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์
9.ถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
10.ใช้ปัญญาไตร่ตรองอยู่เสมอว่าอะไรผิดและอะไรถูก
ที่มา นิตยสาร 'ฉลาดซื้อ' โดยมูลนิธีเพื่อผู้บริโภค
เขียนโดย พระไพศาล วิสาโล พระนักคิดและเจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต
เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search