Custom Search

Jan 28, 2011

"วัชระ แวววุฒินันท์"เล่าเบื้องหลังสนุกละครเวที"กว่าจะรักกันได้"





เครื่องเคียงข้างจอ

วัชระ แวววุฒินันท์
มติชน
28 มกราคม 2554

http://teetwo.blogspot.com/2010/08/blog-post_22.html


เครื่อง เคียงฯ ตอนนี้เขียนหลังจากมีการแสดงละครเรื่อง
"กว่าจะรักกันได้ สุนทราภรณ์ เดอะมิวสิคัล" รอบสื่อมวลชนเพียง 1 วัน
แต่กว่าจะตีพิมพ์ การแสดงละครเวทีเรื่องนี้ก็ได้แสดงจริงไปแล้ว 3 รอบ
และกำลังจะเข้าสู่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ 2

2 ฉบับก่อนผมเขียนเล่าให้ฟังไปแล้วว่า เจ เอส แอล
กำลังจะมีละครเวทีเรื่องนี้ เผลอแผล็บเดียวก็ถึงวันที่ต้องแสดงจริงกันแล้ว
โดยผมจะขอเก็บตกเรื่องราวในรอบซ้อมใหญ่
และรอบสื่อมวลชนที่เพิ่งผ่านไปมาเล่า ให้ฟังก็แล้วกัน

รอบสื่อมวลชนเป็นรอบพิเศษ ที่นั่ง 700 กว่าที่ของโรงละคร เอ็ม เธียเตอร์
ถูกจับจองจากผู้ชมที่ได้รับเชิญซึ่งก็ได้มาให้กำลังใจกันล้นหลาม
ั้งสื่อมวลชนเอง ผู้สนับสนุน ผู้มีอุปการคุณต่างๆ
ดารานักแสดงและผู้อยู่เบื้องหลังวงการบันเทิง
ตลอดจนครอบครัวเพื่อนฝูงของนักแสดง และทีมงาน

บริเวณด้านหน้าของโรง ละคร จะมีเวทีเล็กๆ
ที่มีวงดนตรีบรรเลงเพลงขับกล่อมผู้รอเข้าชมด้วยบทเพลงของ สุนทราภรณ์ล้วนๆ
จากนักร้องรุ่นใหม่ของสุนทราภรณ์ด้วย จึงเป็นการ "วอร์ม"
บรรยากาศได้เป็นอย่างดี สังเกตจากการที่ผู้ชมไม่เบื่อที่จะรอเลย
จนประตูเปิดเรียกให้เข้าสู่โรงละครกันแล้ว
ก็ยังไม่อยากลุก เรียกว่าเป็นแฟนครูเอื้อตัวจริงทีเดียว

เวทีนี้เปิดโอกาสด้วยนะครับว่า หากใครอยากร้องอวดเสียงตัวเอง ก็สามารถขึ้นไปได้เลย

ที่ น่าชื่นใจคือ การได้เห็นคนในหลายๆ วัยมารวมตัวกันชมละคร
ทั้งคนรุ่นพ่อแม่ที่มากับลูกหลาน และกลุ่มวัยรุ่นหรือวัยทำงานต้นๆ
มาให้กำลังใจเพื่อนนักแสดง บางคนบอกว่าไม่รู้จักเพลงสุนทราภรณ์เลยก็มี
แต่ก็สนใจอยากมาชมเพื่อจะได้รู้จักเพลงสุนทราภรณ์ให้มากขึ้น

บางคนบอกว่าเคยฟังตามพ่อแม่ และบางเพลงก็ร้องได้ด้วย
เพราะนักร้องรุ่นใหม่นำเอามาร้องในแบบฉบับของตัวเอง

ผมว่านี่แหละคือการสืบทอดงานศิลปะ ที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนเดิม
แต่สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับปัจจุบัน โดยมี "เนื้อแท้" เป็นแก่นแกนอยู่
ซึ่งเนื้อแท้ของเพลงสุนทราภรณ์ก็คือ
ท่วงทำนองที่ไพเราะมีเอกลักษณ์
และคำร้องที่มีความหมายสวยงาม บอกเรื่องราวหลากหลายได้ดี

เรื่องนี้ ต้องให้เครดิต คุณอติพร เสนะวงศ์ บุตรสาวของครูเอื้อ ที่เข้าใจในงานศิลปะ
และเปิดใจกว้างสำหรับการนำเสนอที่แตกต่างไปจากเดิม
จึงยินดีให้นำเพลงของคุณพ่อมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับการนำเสนอได้
อย่างนี้จึงจะเป็นการช่วยสืบสานงานของบิดาในรูปแบบต่างๆ ได้จริงๆ


วันนั้นนักแสดงทุกคนตื่นเต้นมาก อยู่หลังเวทีก็จะทบทวนการแสดงกันตลอดเวลา

ท่องบทยังกะท่องหนังสือสอบ คนนั้นติวให้คนนี้ คนนี้ทวนให้คนนั้น
บ้างก็จับคู่ซ้อมกันตามมุมต่างๆ
นขณะที่หลายคนเร่งแต่งหน้าทำผมอยู่เป็นบรรยากาศ
ของความวุ่นวายหลังโรงที่มี เสน่ห์จริงๆ

ผัดไทย นักแสดงหญิงอารมณ์ดี ที่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น ดีใจ ดีดีดีไปแล้ว
แต่ใครๆ ก็นิยมเรียกชื่อเล่นคือ ผัดไทยกันอยู่ เลาให้ฟังว่าไปถ่ายละครที่สระบุรี
เจอแฟนๆ ละครที่นั่นบอกว่าจะเหมารถเข้ามาดู
เพราะชื่นชอบเพลงสุนทราภรณ์มานานแล้ว
เมื่อรู้ว่าเป็นหนึ่งในนักแสดงเหมือนกัน ผัดไทยก็ถูกถามถึงเรื่องเพลง

"แล้วในเรื่อง ได้ร้องกี่เพลงล่ะ"

"ตั้งใจจะร้อง 7 เพลง" ผัดไทยบอก "แต่คนเขียนบทไม่ให้ร้อง บอกกลัวทำเพลงเค้าเสีย"

เรื่อง กลัวทำเพลงเสียนี่ เป็นข้อระวังอย่างยิ่ง
เพราะเพลงสุนทราภรณ์ได้รับการคาดหมายจากผู้ฟังเสมอว่าคนร้องจะต้องร้องเพราะ
แต่ในการแสดงละครเรื่องนี้ เป็นการร้องเพลงแบบเล่าเรื่องจึงต้องใส่อารมณ์
และมีวิธีการร้องที่ไม่เหมือน กับ "ต้นฉบับ" อยู่เหมือนกัน

ละครฉากแรกก็โชว์ความไพเราะจากการร้อง ของสุเมธในเพลง "ขอให้เหมือนเดิม"
และ ครูอ้วน-มณีนุช ในเพลง "ถึงอย่างไรก็ไม่เหมือนเดิม"
ที่ตอนท้ายนำท่อนหลังของทั้งสองเพลงมาร้องทับกันอีก
เรียกว่าถ้าไม่ใช่มืออาชีพแบบสองคนนี้คงทำไม่ได้
และทั้งสองคนก็เป็นคู่พ่อแง่แม่งอนรุ่นโต ที่สร้างความประทับใจ
ในการร้องทุกเพลงจนได้รับเสียงปรบมือกึกก้องจากผู้ชม

คู่ ของบอย-พิษณุ กับ จ๊ะจ๋า-พริมรตา
เป็นคู่หนุ่มตามจีบสาวที่เล่นรับส่งกันได้อย่างน่ารักเป็นบ้า
บอยนั้นมีประสบการณ์สูงมาแล้ว ทั้งจากละครเวที ละครทีวี และภาพยนตร์
เขานำเอาทักษะจากการทำงานมาสร้างตัวละครที่เขาเล่นให้มีมิติได้อย่างดี
ส่วนจ๊ะจ๋า เป็นนักแสดงที่น่าทึ่งมาก เข้าใจตัวละครได้เร็ว
และสามารถร้องเพลงสุนทราภรณ์จากที่ไม่เคยร้องมาก่อนได้อย่างดี

เบื้องหลังการซ้อมของสองคนนี้ คือ แข่งกันว่าใครจะทิ้งบทได้ก่อนกัน
แถมยังจำบทของคนอื่นได้อีก

จาก คู่หนุ่มจีบสาว ก็มาถึงคู่สาวจีบหนุ่มบ้าง นั่นคือ คู่อีฟ-พุทธธิดา
ลูกพี่ต้อย-เศรษฐา และ พี่เปี๊ยก-อรัญญา ที่รับบทเป็นสาวเปรี้ยวมาจีบดาราวัยรุ่นที่รับบทโดย
มิวสิค-รัชพล จากค่าย AF รุ่น 4 อีฟอยู่ในวงการมานานจึงมีความกล้าที่จะแสดงออก
ประกอบกับอุปนิสัยซนๆ ของตัวเอง จึงทำให้บท "รัญญา" ที่อีฟรับ น่ารักน่าหมั่นไส้ได้อย่างพอดีๆ

ซึ่งจากการแสดงรอบสื่อมวลชน อีฟก็ใช้ไหวพริบสร้างมุขสดๆ บนเวที
เมื่อสุเมธเรียกอีฟว่า "อรัญญา" แทนที่จะเป็นรัญญา
อีฟก็ท้วงทันทีว่า "อรัญญาน่ะแม่หนูค่ะ ส่วนหนูชื่อรัญญา" เรียกเสียงฮาจากผู้ชมได้ลั่นโรง

สำหรับมิวสิค เป็นนักร้องในแนววัยรุ่น ทั้งจากการออกเสียงและวิธีการร้อง
เมื่อต้องมาร้องเพลง "พรานล่อเนื้อ" ในละคร
มิวสิค ก็ผสมผสานระหว่างการร้องแบบดั้งเดิม
กับแบบเป็นตัวของตัวเองได้อย่างน่ารัก
ซึ่งพอต้องมารับบทเป็น "ขัตติยะ" ในเรื่อง "จุฬาตรีคูณ"
และต้องร้องเพลง "ร่มมะลุลี" มิวสิคก็ทุ่มเทมาก
เพราะเขารู้ว่าเพลงนี้เป็นเพลงในดวงใจของแฟนสุนทราภรณ์



ขอ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในรอบซ้อมใหญ่ที่เกี่ยวพันกับมิวสิคสักหน่อย
คือ ฉากหนึ่งในจุฬ่าตรีคูณ ที่บอยซึ่งรับบทเป็นอริยวรรต
กำลังโศกเศร้ากับการจากไปสู่บ้านเมืองของเจ้าหญิงดาราราย
แล้วมิวสิคที่รับทขัตติยะจะต้องเข้ามา

"พอผมขว้างของลงพื้น มิวสิคก็มาเลยนะ"

บอย พูดให้คิวการเข้ามาในฉากของมิวสิคเพื่อให้เป็นจังหวะเดียวกันกับตน
แต่พอถึงรอบซ้อมใหญ่ พอดารารายจากไป
ตามคิวจะต้องมีดนตรีคลอเพื่อส่งบอยที่กำลังเศร้าสร้อยให้มาทรุดนั่งบนเตียง
ก่อนจะขว้างของลงไปที่พื้น

ปรากฏว่า ดารารายก็ไปแล้ว ตัวเราเองก็เริ่มเดินแล้ว
จนทรุดตัวลงนั่งก็แล้ว...ดนตรีมันไปไหนวะ

แต่พอไปทรุดนั่งบนเตียง แล้วขว้างของเท่านั้น ดนตรีก็มาทันที...

ปรากฏว่าคนปล่อยเพลง นึกว่าที่บอก "พอผมขว้างของลงพื้น มิวสิคก็มาเลยนะ"

นึก ไปเองว่ามิวสิคที่ว่านั้นคือดนตรี ไม่ใช่คนชื่อมิวสิค
นี่แหล่ะปัญหาของการสื่อสารสื่อเสีย ที่ผมเคยเขียนไปแล้ว
จากที่ฉุนๆ ว่าเพลงไปไหนวะ กลายมาเป็นขำได้ทันที
แม้ตอนแรกจะขำไม่ออกก็ตาม



มีนักแสดงตัวเอกอีกคนหนึ่งที่ต้องพูดถึง คือ
พ่ออี๊ด-สุประวัติ
ที่ออกมาฉากไหนก็ได้ฮาฉากนั้น
แม้แต่ฉากที่ไม่ได้มีบทพูดเลย
มีแต่แอ๊กชั่นเดินไปเดินมาเท่านั้น
พ่ออี๊ดก็ทำให้สนุกได้อย่างวิเศษ

พ่อ อี๊ดเป็นนักแสดงที่น่ารักมาก ก่อนการแสดงไม่ถึงเดือน
แกไปนิ้วฉีกและหักแบบเห็นกระดูกมาจากการทัวร์เมืองนอกในช่วงปีใหม่ ต้องใส่เฝือกอ่อนที่นิ้วตลอด
แกบอกว่า "ไม่ต้องกังวล พ่อเล่นได้แน่นอน"
แล้วแกก็ไม่เคยเอาเรื่องนิ้วที่ฉีก
และหักนี้มาเป็นอุปสรรคกับการซ้อมและการแสดงใดๆ เลย
ยังออกท่าออกทางได้เต็มที่เหมือนเดิม

นอกจากนักแสดงรุ่น ใหญ่อย่างพ่ออี๊ดแล้ว
ยังมีพี่เคน-รังสรรค์ ฉัตรรังสิกุล
ที่รับบทพระเจ้าพาราณสี คนนี้เล่นน้อย
แต่ออกมาทีไร "อยู่หมัด" เรียกเสียงหัวเราะได้ทุกที

ฉบับนี้ขออนุญาตเขียนเรื่องเหมือนโฆษณา สักหน่อย
เพราะอยากให้ไปชมกันจริงๆ
ไม่ว่าคุณจะรู้จักเพลง สุนทราภรณ์หรือไม่ก็ตาม มั่นใจว่า
เมื่อคุณชมแล้วจะออกมาจากโรงละครอย่างมีความสุขแน่นอน
ในรอบสื่อมวลชนที่เพิ่งผ่านไป น้องๆ นักแสดงบางคนบอกว่า
"มีความสุขจังเลยที่เห็นผู้ชมยิ้มแล้วก็หัวเราะ"
อยากจะบอกว่ามันเป็นความสุขที่เป็นเสน่ห์ของละครเวทีจริงๆ คือ
ปฏิกิริยาสดๆ ที่เกิดขึ้นตรงนั้นจากสิ่งที่เห็นบนเวที
จากการทุ่มเทของนักแสดงและทีมงาน มาสู่ความสุขของผู้ชม
ถ้าการไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
การทำให้ผู้อื่นมีความสุข ก็คงประเสริฐไม่แพ้กัน.