Custom Search

Nov 5, 2009

บุษบา ดาวเรือง หงส์เหนือมังกร



สมคิด เอนกทวีผล
Positioning Magazine
กุมภาพันธ์ 2550
ที่มา: http://www.positioningmag.com/magazine/Details.aspx?id=57185

ถ้าไม่นับปัญหาเทปผีซีดีเถื่อนที่ทุกค่ายเพลงต้องเผชิญแล้ว
“บุษบา ดาวเรือง” ประสบความสำเร็จ
จากการก้าวขึ้นเป็น “ซีอีโอ” จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

ที่เธอร่วมบุกเบิกมาได้อย่างลงตัว
หลังจากที่ค่ายเพลงนี้เคยผ่านการลอกผิดลองถูก
จากการเลือกใช้มืออาชีพจากภายนอกมาแล้ว
ทุกวันนี้บุษบา ยังคง
ทำหน้าที่ได้
เป็น “พี่เล็ก” ที่น้องๆ ทุกระดับเรียกกันติดปาก
ด้วยสไตล์การบริหารงานแบบพี่น้อง

ก่อนหน้าที่ “บุษบา ดาวเรือง”
จะถูกแต่งตั้งให้ขึ้นเป็น
ประธานบริหารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ในปี 2545

ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ผู้ก่อตั้งแกรมมี่
เคยลองใช้งานผู้บริหารมืออาชีพ
ภายนอกมาแล้วหลายคน
เช่น มือการเงินอย่าง วิสิฐ ตันติสุนทร
ที่ปัจจุบันเลขาธิการคณะกรรมการ กบข.

หรือมือการตลาดอย่าง
อภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม.
และรองหัวหน้าประชาธิปัตย์
แต่

เมื่อ “มือบริหารอาชีพ” จากภายนอกไม่ใช่คำตอบ
"อากู๋" จึงหันมาหา "ลูกหม้อ"
ที่ร่วมกันก่อตั้งจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ด้วยกันมา
อย่างบุษบา หรือพี่เล็ก

เมื่อพบว่าการนำระบบที่เป็นทางการ
มาใช้ในการดูแลศิลปินเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
บุษบา
ทำงานกับ "อากู๋" มานานถึงกว่า 30 ปีแล้ว
เริ่มจากงานเอเยนซี ที่
ฟาร์อีสต์ แอดเวอร์ไทซิ่ง ของเครือสหพัฒน์
ก่อนออกมาอยู่ที่พีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง
และร่วมกันตั้งบริษัท แมส คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

เพื่อทำธุรกิจหนังสือ และ รับงานโฆษณา
ก่อนจะผันมาสู่ธุรกิจเพลงเป็นแกรมมี่ใน 20 ปีหลัง

บุษบาเคยผ่านงานก๊อบปี้ไรเตอร์ ครีเอทีฟ ดูแลโปรดักชั่น

รวมไปถึงดูแลศิลปินแทบจะครบทุกสายงานในแกรมมี่แล้ว
บุษบายังรวมเขียนเพลง ในอัลบั้มแรกสุดของค่ายแกรมมี่
"นิยายรักจากก้อนเมฆ" ของ พ.ญ.พันทิวา สินรัชตานันท์
ซึ่งเป็นชุดแรกและชุดเดียว
หลังจากนั้นก็ไม่เคยเขียนเนื้อเพลงให้แกรมมี่อีก

ล่าสุดปีก่อน ทายาทของเธอ “แก๊ก” หรือ มุขเอก จงมั่นคง
ก็เข้ามาร่วมชายคาแกรมมี่ในตำแหน่ง “Creative Group Head”
ขยายขอบเขตค่ายไปสู่ความเป็นอินดี้ด้วย
โมเดลทดลองทางธุรกิจที่ต่างกับค่ายแม่
ในชื่อของค่ายน้องใหม่ “บริษัท สนามหลวงการดนตรี จำกัด”

หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า "สนามหลวง"
เจ้าของงาน เช่น จอมยุทธ ของวง P2Warship


ทุกวันนี้ “บุษบา” ยังคงรับผิดชอบการบริหารงานแกรมมี่
แบบลงลายละเอียด โดยเฉพาะการดูแลศิลปิน

เมื่อมีข่าวด้านลบเกี่ยวกับศิลปินหรือดาราในค่าย
หรือมีโปรเจกต์สำคัญๆ บุษบาต้องทำหน้าที่เป็นฉากหน้า
และดูแลการทำงานเบื้องหลังอย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะ “เบิร์ด” ธงไชย แมคอินไตย์

ที่บุษบายังคงทำหน้าที่โปรดิวเซอร์มาตลอดจนทุกวันนี้
และทำหน้าที่ เป็น“พี่สาว” ดูแลแนะนำทีมงานทุกฝ่ายไป
พร้อมกับความเป็นนักบริหารแบบแกรมมี่
ที่มีวัฒนธรรมองค์กรเฉพาะตัว
โดยเฉพาะยิ่งในยุค "อากู๋" ต้องนำพาองค์กรให้ก้าวไปสู่
วิสัยทัศน์แห่งยุคดิจิตอล ของค่ายเพลงจากนี้ไป


Name : บุษบา ดาวเรือง
Age : 55 ปี
Education :
ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Career Highlights :
- บ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
-บ.แมส คอมมูนิเคชั่น แอนด์มาร์เก็ตติ้ง
-บ.พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง
-บ.ฟาร์อีสต์ แอดเวอร์ไทซิ่ง

ซีอีโอ น้องใหม่ ของอย่างนี้ ต้องลอง

ที่มา:
http://www.nationejobs.com/content/worklife/worklife/template.php?conno=460

"บุษบา ดาวเรือง" ถือเป็นหนึ่งใน 30 อรหันต์
ที่ร่วมกันก่อร่างสร้างแกรมมี่

และฝังตัวอยู่ในแกรมมี่มายาวนาน
แม้ว่าในช่วงผลัดเปลี่ยน CEO ใหม่
จะทำให้หุ้นของแกรมมี่อ่อนไหวไปบ้าง
แต่บุคลิกความละเอียดอ่อน ช่างสังเกต
เป็นหนึ่งในยอดครีเอทีฟ ที่อ่านตลาดได้ขาด
และมีส่วนสร้างชื่อเสียง ให้กับแกรมมี่มาตลอด
และสไตล์การบริหารที่มีความเป็น "พี่สาว - น้องสาว"
มากกว่าการเป็นผู้บริหาร
อันเป็นสไตล์เดียวกับ
วัฒนธรรมองค์กร ของที่ และ
นี่เอง
อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไม "ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม"
จึงเลือกเธอขึ้นเป็น CEO หญิงแห่งแกรมมี่

การดึงลูกหม้อ "บุษบา ดาวเรือง" ขึ้น
สวมตำแหน่งซีอีโอ
อย่างทันควันของ "ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม"

ถูกมองว่า เป็นวิธีการลองผิดลองถูก ครั้งใหม่ของเขา
เพื่อวัดกระแส อีกด้านหนึ่ง ที่จะเกิดขึ้น

แต่มองอย่างนักบริหาร คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร

เพราะ "ไพบูลย์" เองเคยพูดว่า
ผู้บริหารที่จะเข้ามานั่งในองค์กรนี้ หายาก
และเป็นภาระที่น่าหนักใจ อยู่ไม่น้อย แต่ก็ไม่ยากเกิน ที่จะลองอีกครั้ง

เข้าทำนอง ของแบบนี้มันต้องลอง ......ซึ่งตรงกับอุปนิสัยของ "ไพบูลย์"

ดังนั้น ครั้งหนึ่ง การปรับเปลี่ยนองค์กร
โดยเริ่มจากดึงคนนอกที่เป็นนักบริหารมืออาชีพ
เข้านั่งตำแหน่ง CEO จึงเกิดขึ้น
เป็นการชิมลาง เป็นการลองของ ....
ถ้าแนวโน้มดี ก็เดินหน้าต่อ หากรับไม่ได้ก็ยุติ ...อะไรทำนองนั้น
และพร้อมจะ เปลี่ยนแปลง ได้ตลอดเวลา หากว่าจำเป็น

มาครั้งนี้ การแต่งตั้ง "คนใน" อย่าง "บุษบา" ขึ้น เป็นผู้บริหาร
ในอีกมุมหนึ่ง ก็คือ ความเชื่อในฝีไม้ลายมือ
ที่เห็นกันมานานนับสิบปี บวกกับบุคลิกโดดเด่น
ที่มีอยู่ในตัวของ "บุษบา" จึงเชื่อว่าน่าจะเหมาะสำหรับการบริหารแกรมมี่


ก็นับว่าคงไม่ผิดฝาผิดตัวนัก เพียงแต่ต้องรอการพิสูจน์

"ไพบูลย์" เองก็มองว่า ซีอีโอ ของแกรมมี่
จะเป็นใครไม่สำคัญเท่ากับราคาหุ้น
และผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น
ซีอีโอของแกรมมี่แท้จริง
ก็คือ
เกมธุรกิจการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับราคาหุ้น ของแกรมมี่ นั่นเอง


เรื่อง ... ชนิญญา สันสมภาค