Custom Search

Nov 18, 2009

นวัตกรรมการจัดประชุมของออสเตรเลียตะวันตก



วรากรณ์ สามโกเศศ
มติชน
วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552


The University of Western Australia (UWA)
มีความคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจของรัฐที่มหาวิทยาลัย
ตั้งอยู่ในมุมมองที่แปลกสามารถจัดเป็นการประชุมวิชาการระดับชาติ
ได้อย่างน่าสนใจจนขอนำมาเล่าสู่กันฟัง


รัฐ Western Australia (WA)
อยู่ทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลีย
มีพื้นที่ 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร
(5 เท่าของไทย
หรือประมาณ 1 ใน 3
ของประเทศออสเตรเลียหรือเท่ากับ

1 ใน 4 ของสหรัฐอเมริกา)
มีประชากร 2.2 ล้านคน
(ทั้งประเทศออสเตรเลียมีประชากร 22 ล้านคน)

โดยกว่าร้อยละ 85 อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐ
ซึ่งมี Perth เป็นเมืองหลวง
Perth
เป็นเมืองที่อยู่
ห่างไกลจากเมืองใหญ่อื่นๆของออสเตรเลียและประเทศอื่นๆ อย่างนับเป็นพันกิโลเมตร
เป็นเมืองที่ "ตัดขาด" จากโลกภายนอก

ครั้งหนึ่งนักอวกาศสหรัฐรายงานว่า
เขามองจากยานอวกาศลงมาตอนกลางคืนและเห็น

แสงไฟและรู้ชัดเจนว่าเป็น Perth
เพราะเป็นแสงสว่างที่มาจากส่วนที่อยู่ไกลออกไป
จากส่วนอื่นของโลกอย่างชัดเจน

การ เสมือนถูก "ตัดขาด" จากโลกภายนอก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศออสเตรเลียด้วยกันเอง
ซึ่งรัฐใหญ่ๆ และเมืองใหญ่ๆ จะตั้งอยู่บนฝั่งทะเลด้านตะวันออก

ซึ่งไกลออกไปถึง 3,000- 4,000 กิโลเมตร
ทำให้คน WA มักถูกมองว่าโดดเดี่ยวแปลกแยกจาก
คนออสเตรเลียด้วยกันเอง

เมื่อ อาจารย์คนหนึ่งของ UWA ได้รับรางวัลโนเบล
สาขาการแพทย์ (Dr.Barry Marshall) ในปี 2005
จากการค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
จึงเป็นเรื่องที่กล่าวขวัญกันมากและอาจเป็นตัวช่วยผลักดันให้เกิด
การประชุม ทางวิชาการที่มีมุมมองแปลกดังที่ได้เกริ่นไว้
เพื่อแสดงถึงความสำคัญของรัฐ WA ก็เป็นได้

งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2009 ที่เมือง Perth
โดยใช้ชื่อว่า In The Zone สิ่งที่แปลกก็คือ
การเอาโซนเวลามาเป็นตัวเน้นความสำคัญของ WA
Perth

ปักกิ่ง (เมืองจีนใช้เวลาเดียวกันทั้งประเทศ)
มะนิลา สิงคโปร์ ไทเป กัวลาลัมเปอร์ ฮ่องกง
ใช้เวลาตรงกันคือ +8 ชั่วโมงจาก GMT (Greenwich Mean Time)
และถ้ารวมประเทศที่เวลาช้ากว่า Perth 1 ชั่วโมงคือ +7 ชั่วโมงจาก GMT
ซึ่งถือว่าอยู่ใน Time Zone เดียวกันทั้งหมด

แล้วก็จะพบว่าประเทศและเมืองทั้งหมดที่อยู่ใน Time Zone
นี้มีประชากรรวมกันทั้งสิ้นถึงร้อยละ 60 ของประชากรโลก
เนื่องจากครอบคลุมกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหมด
ตลอดจนเกาหลี จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน
บางเมืองใหญ่ของอินเดีย และ WA ของออสเตรเลีย
WA
จึงโดดเด่นกว่าทุกรัฐของออสเตรเลียในแง่มุมการมองเช่นนี้
("ถึงฉันอยู่ไกลพวกเธอ แต่ก็เป็นเพชรเม็ดงามอยู่กับผู้คน
ในกลุ่ม Time Zone นี้ ซึ่งมีจำนวนมากมาย")

WA อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติใต้ดิน
โดยเฉพาะในทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
เช่น น้ำมัน ก๊าซ LNG อะลูมิเนียม นิเกิล ทองคำ

แอมโมเนีย Bauxite โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ
เหล็กและถ่านหินสองอย่างหลังนี้มีปริมาณมากมาย

สำหรับถ่านหินนั้นในอัตราการขุดเอามาใช้
ปัจจุบันจะขุดได้นานถึง 200-300 ปี
ใน Time Zone ของ WA
มีประชากรอยู่อาศัยถึงร้อยละ 60 ของประชากรโลก

ซึ่งหมายถึงระยะทางที่ใกล้ของการนำทรัพยากรเหล่านี้ไปใช้
(WA ขายสินแร่เหล็กให้ญี่ปุ่นมากกว่า 40 ปีแล้ว
และเป็นรายใหญ่สุดของญี่ปุ่นด้วย)
ของการค้าการขาย ของการท่องเที่ยว
ของการมีปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม ฯลฯ
การประชุมครั้งนี้จึงถือว่าเป็นการแสดงความโดดเด่นของ WA
ให้ชาวโลกและคนออสเตรเลียด้วยกันได้ทราบ

WA เป็นรัฐที่มีการส่งออกมากที่สุดของออสเตรเลีย
WA มีส่วนร่วมถึงร้อยละ 38 ของมูลค่าการส่งออก
ของประเทศทั้งหมด โดยร้อยละ 66 ของมูลค่าส่งออกไปจีนมาจาก WA
(ตัวเลขลักษณะเดียวกันนี้คือร้อยละ 42

ของสินค้าส่งออกไปอินเดียและร้อยละ 33 ของสินค้าส่งออกไปญี่ปุ่น)
ใน ระดับโลก สัดส่วนของการผลิตในโลกของ WA
สำหรับกาซธรรมชาติ LNG คือ ร้อยละ 10
สำหรับสินแร่เหล็กคือร้อยละ 15
นิเกิลร้อยละ 10 ทองคำร้อยละ 10
และไททาเนียมร้อยละ 35
แค่นั้นไม่พอ
WA ยังมีแร่ยูเรเนียมกระจายอยู่เท่าที่รู้ถึง 25 แหล่ง
(4 แหล่งมีปริมาณระหว่าง 10,000-100,000 ตัน 9 แหล่ง
ระหว่าง 1,000-10,000 ตัน ที่เหลือระหว่าง 100-1,000 ตัน)

อิทธิพลในด้านเศรษฐกิจและการ เมืองของโลกในศตวรรษที่ 21

ย้ายมาอยู่ที่ Asia-Pacific อย่างชัดเจน
ภูมิภาคนี้จึงมีความสำคัญมากขึ้นทุกที
และ WA อยู่ริมฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก โดย Perth
อยู่ไกลจากฝั่งตะวันออกของประเทศเดียวกันประมาณ 4,000 กิโลเมตร

ซึ่งเป็นระยะทางที่ไกลกว่าจาก Perth
ไปถึงดินแดนเอเชีย
การประชุม วิชาการครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นงานช้าง

แขกที่เชิญมาพูดมีทั้งนักวิชาการ
นักการเมืองระดับชาติและระดับรัฐ CEO ของบริษัทใหญ่ที่มาลงทุนใน WA
ซึ่งมีทั้งญี่ปุ่น จีน และนานาชาติ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำออสเตรเลีย

อดีตทูตออสเตรเลียประจำหลายประเทศ
คนสำคัญคือศิษย์เก่าผู้เคยเป็นอดีตผู้นำฝ่ายค้านซึ่งเคย
เป็นอดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและกลาโหม

และกำลังจะเป็นทูตออสเตรเลียประจำสหรัฐอเมริกา (Kim Beazley)
แขกรับเชิญที่มีจำนวนมากเป็นพิเศษคือ

ศิษย์เก่าของ UWA เช่น Stephen Smith
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ผู้ว่าการรัฐ อธิการบดี ฯลฯ

สำหรับคนไทยมี 2 คนคือ ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี และผู้เขียน
หัวข้อการ ประชุมคือ
Crisis, Opportunity and The New World Order
โดย WA เป็นพระเอกไปเต็มๆ คุณภาพของการจัด
และเนื้อหาสาระจากการประชุมถือได้ว่าเป็นเลิศ
ผู้จัดคือ UWA ลงทุนทำ Supplement พิเศษ

แทรกในหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของประเทศคือ
The Australian ด้วย

บทเรียนจากการจัดประชุมวิชาการระดับชาติเช่นนี้
ก็คือการเตรียม งาน (เตรียมงานเป็นเวลา 1-2 ปี) มาเป็นอย่างดี
โดยเฉพาะในเรื่องหัวข้อและเนื้อหาสาระตลอดจนแขกเชิญ
เนื้อหาสาระที่เกิดขึ้นนำไปสู่หลายประเด็น
ในเรื่องของความสำคัญของการอยู่ในบริเวณ Time Zone เดียวกันได้เป็นอย่างดี


หน้า 6