“ผมรู้สึกอย่างหนึ่งว่า ความสุขกับความสนุกอยู่ใกล้กันมาก”
หลังจบประโยคก็ปรากฏรอยยิ้มขึ้นบนใบหน้าของนักเขียน ที่หลายคนยกให้เป็นหนุ่ม อารมณ์ดีคนหนึ่งแห่งยุค สรกล อดุลยานนท์ หรือนามปากกาว่า หนุ่มเมืองจันท์ ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นรองบรรณาธิการบริหารมติชนสุดสัปดาห์
ผลงานของเขาผ่านตานักอ่านมาหลายต่อ หลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็น ปรัชญานักธุรกิจไทย , ปรัชญาของงาน หนทางสู่ความสุข
หรือหนังสือชุด ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ ที่ปัจจุบันมีถึงเล่มที่ ๑๒ หนังสือที่เขาร่ายความคิดแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือนั้น แม้เนื้อหาจะแตกต่างกัน
แต่จุดเด่นที่อวลอยู่ในแทบทุกเล่ม คือ ความสุข เป็นความสุขที่ส่งผ่านมาจากตัว
และหัวใจของหนุ่มเมืองจันท์ล้วนล้วน หลังจบชั้นมัธยมศึกษาจาก
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรีแล้ว หนุ่มเมืองจันท์ก็มุ่งหน้า
เข้ากรุงเทพมหานคร มาเป็นลูกแม่โดม
“ผมสังเกตตัวเองว่าผมเรียนสายวิทย์
เพราะผมชอบคำนวณ แต่ในที่สุดก็มาหย่อนอยู่ที่
คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งไม่มีวิชาคำนวณเลย เป็นวิชาสังคมที่ผมไม่ชอบ แต่ก็อยู่ตรงนั้น ๔ ปี และจบมาด้วยเกรดเฉลี่ย ๒.๐๖”
หนุ่มเมืองจันท์เล่ากลั้วหัวเราะ ขณะที่หลายคนเลือกจัดการกับความไม่ชอบ ในคณะที่เรียน ด้วยการสอบเอ็นทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยในคณะอื่น แต่หนุ่มเมืองจันท์กลับเลือก
แก้ปัญหาด้วยการ "วิ่งเข้าชน-พุ่งเข้าใส่" ถึงเวลาเรียน-เรียน นอกเวลาเรียนหมดไปกับการเล่นกีฬา และที่สำคัญ คือ กิจกรรมนักศึกษา ชีวิตช่วงที่อยู่ในรั้วเหลืองแดง
เป็นชีวิตที่ยังกรุ่นด้วยการต่อสู้เชิงการเมืองประชาธิปไตย อุดมการณ์ต่างๆมีเยอะ นักศึกษาจึงมีพลังกายพลังใจล้นเหลือ ในการเดินตามความฝันเพื่อบรรลุอุดมการณ์ จึงไม่แปลกที่ความสุขของหนุ่มเมือง จันท์ จะเป็นความสุขที่เกิดจากการทำกิจกรรมนักศึกษา เป็นกิจกรรมเพื่อสังคม
เป็นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น เมื่อคิดถึงผู้อื่นน้อยกว่าตนเอง
ความสุขและความอิ่มเอมใจก็เกิดขึ้น.. หลังเรียนจบจากคณะสังคมวิทยาแล้ว หนุ่มเมืองจันท์ก็เข้าสู่ชายคา บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) และทำงานที่นี่จนถึงขณะนี้ ช่วงหนึ่งของชีวิต หนุ่มเมืองจันท์เป็นผู้สื่อข่าวสายเศรษฐกิจ ประจำหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ทั้งที่สมัยเป็นนักศึกษา
เปิดอ่านหนังสือพิมพ์ทุกหน้า ยกเว้นหน้าเศรษฐกิจ!! แม้ไม่คุ้นเคยกับข่าวเศรษฐกิจเลยสักนิด
แต่หนุ่มเมืองจันท์ก็ "ลอง" เปิดใจ เปิดประตูต้อนรับสิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาในชีวิต
"จุดนี้เป็นจุดพลิกของผม แต่โชคดีที่
ประสบการณ์หลายอย่างสอนให้ผมรู้ว่า ลองก่อนได้ อย่ากลัว ทุกครั้งที่ผมเจอสิ่งใหม่ ผมจะตาลุกวาว ดูซิว่าจะเป็นยังไง อย่าเพิ่งตั้งแง่ปฏิเสธตั้งแต่แรก ค่อยๆเรียนรู้ไป เรียนรู้ว่าไม่มีอะไรยากเกินจะทำ"
"ผมอาจมีคุณสมบัติเฉพาะว่า หย่อนผมไว้ตรงไหน ผมก็ไม่กลัว ผมสามารถสนุกกับ
สิ่งที่ผมเจอได้ สามารถเติบโตได้ในทุกที่"
"เพราะฉะนั้น ความสุขในการทำงานของผมคือหาความสนุกให้เจอ ผมอยู่จุดไหน ตำแหน่งงานไหน ผมก็จะพยายามหาความสนุกให้เจอ อย่างกองหน้าที่ความสุขอยู่ที่การยิงประตู
กองหลังก็อยู่ที่การป้องกันประตู..
ความสุขอยู่ตรงไหนพยายามหาให้เจอ"
หนุ่มเมืองจันท์ ย้ำ
อย่างหนึ่งที่เขาเคยเขียนไว้ในหนังสือ คือ
"รักแรกพบ" กับ "รักเมื่อคบ" "รักแรกพบ" คือ บางสิ่งบางอย่างที่คิดหวังคิดฝันไว้
เมื่อวันหนึ่งได้เจอก็มีความสุข ส่วน "รักเมื่อคบ" คือ ไม่เคยลองทำอะไรแล้ว
เมื่อมีโอกาสก็ได้ลอง แล้วสามารถเห็นข้อดีของสิ่งที่ลองทำได้
และอยู่กับสิ่งนั้นได้อย่างมีความสุข การเลือกมองข้อดีก่อนข้อเสีย
เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เสริมสร้างความสุขให้กับชีวิต แต่ไม่ใช่ทุกจุดที่ทำแล้วมีความสุข ครั้งหนึ่งหนุ่มเมืองจันท์ต้องย้ายไปทำงานในแผนกที่ไม่ถนัด หลังจากรู้สึกแย่อยู่ 2-3 วัน
ก็แก้ปัญหาด้วยการพลิกกลับมาเล่นเกมรุก เริ่มจากคิดว่าตนเองมีศักยภาพตรงไหน จะทำอะไรตรงนั้นได้บ้าง และเลือกมองโลกในมุมบวก เปิดรับการทำงานทุกอย่าง พยายามหาความสนุกให้เจอ
รวมทั้งมองหาข้อดีของงานตรงนั้นก่อนมองหาข้อเสีย อีกวิธีการสร้างความสุขของหนุ่มเมืองจันท์ คือ การตั้งรับในจุดต่ำสุด เขาขยายความพอให้เข้าใจว่า หากทำงานชิ้นหนึ่ง ต้องคิดก่อนแล้วว่า ผลเลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นคืออะไร ตั้งรับตรงจุดนั้น..แล้วชีวิตก็จะมีแต่กำไร
"สมมติพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่ง ต้องคิดแล้วว่า
ถ้าขายไม่ได้เลยจะทำยังไง ตั้งรับในจุดต่ำสุด ถ้าขายได้ก็เป็นกำไร
คิดเหมือนเชิงธุรกิจที่มีวิธีคิด ๓ ขั้น โปรเจคต์หนึ่งดีที่สุดเป็นอย่างไร
กลางๆประเมินแล้วเป็นอย่างไร เลวร้ายสุดเป็นอย่างไร
แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร"
"ไม่ใช่การมองโลกในแง่ร้าย แต่เรียกว่าการตั้งรับ
คือทำใจกับสิ่งเลวร้ายที่สุด ที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ไม่ใช่นั่งรอให้
สิ่งแย่ที่สุดเกิดขึ้นอย่างเดียว ต้องบุกไปข้างหน้า"
บางช่วงของเส้นทางชีวิตอาจราบรื่น แต่บางเส้นทางที่เดินอาจขรุขระทำเอาซวนเซจนล้ม
"ผมพูดเสมอว่าปัญหาคือบิดานักประดิษฐ์ เพราะเมื่อมีปัญหา เราก็จะเริ่มคิดค้นสิ่งใหม่ขึ้น
นำสู่การแก้ปัญหา" หนุ่มเมืองจันท์บอก เป็นธรรมดามนุษย์ที่เมื่อเผชิญหน้า
กับปัญหาแล้วจะผงะ ตกใจ แต่สิ่งสำคัญ คือ "สติ" เมื่อตั้งสติได้แล้ว
ก็ต้องพยายามหาทางแก้ปัญหา ทางหนึ่งที่หนุ่มเมืองจันท์ใช้ คือ
เขียนใส่กระดาษว่า มีปัญหาอะไรเข้ามาในชีวิตบ้าง เมื่อคนเรามีความทุกข์ ปัญหาก็จะวน
คิดซ้ำไปซ้ำมาอย่างนั้น เหมือนลูกหิมะที่กลิ้งแล้วก้อนหิมะก็ใหญ่ขึ้น. คิด ๑ ครั้ง พูด ๑ ครั้ง วนไปวนมาอย่างนี้ หากลงมือเขียน ปัญหาก็จะถ่ายทอด
ออกจากความคิดจิตใจ ผ่านแขน ผ่านมือ ผ่านปลายปากกา
ลงบนหน้ากระดาษ
"บางคนเขียนแล้วเห็นว่าจริงๆความทุกข์ มีอยู่ไม่กี่ข้อ เริ่มเห็นแล้วว่าที่แบกทุกข์อยู่ทุกวัน อันที่จริงมีอยู่ไม่เท่าไหร่ ที่มองว่ามากเป็นเพราะคิดวนเวียนเกินปัญหาที่มี คิดไปล้านแปด "เมื่อเขียนแล้ว รู้แล้ว ก็ค่อยๆคิดต่อว่าควรจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร"
ภาษิตทิเบตบทหนึ่งที่หนุ่มเมืองจันท์ จำได้ขึ้นใจ คือ "ปัญหาไหนที่แก้ไขได้ จะวิตกกังวลไปทำไม ปัญหาไหนที่แก้ไม่ได้ มีประโยชน์อะไรที่ต้องวิตกกังวล"
นั่นคือ เมื่อลงแรงลงใจแก้ไขปัญหาแล้ว
ถึงจุดหนึ่งไม่ได้จริงๆ จะคิดมากต่อไปก็เกิดความทุกข์ เพราะฉะนั้นต้องตัดปัญหาทิ้ง และหากปัญหาใดแก้ไขได้ ก็ดำเนินต่อไปให้เต็มที่ที่สุด หลายครั้งที่เมื่อมีใครมาเล่าความ
ทุกข์อันเกิดจากปัญหาหลายเรื่องให้ฟัง หนุ่มเมืองจันท์ก็จะยกคำสอนเรื่อง "หิน ๒ ก้อน" ของ "หลวงปู่ชา สุภทฺโท" ซึ่งเป็นพระนักปฏิบัติมาบอกเล่า "ครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์นำปัญหาไปเล่า ให้หลวงปู่ชาฟัง
ท่านก็ชี้นิ้วไปที่ก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่ง แล้วถามว่าผลักไหวหรือเปล่า ลูกศิษย์ก็ตอบท่านว่าไม่ไหว แล้วหลวงปู่ชาก็ชี้ไปที่หินอีกก้อนที่เล็กกว่า
แล้วถามว่าผลักไหวไหม ลูกศิษย์ก็ตอบว่าไหว
"หลวงปู่ชาก็สอนว่า ปัญหาของโยมเหมือน
หินก้อนแรกที่ผลักยังไงก็ไม่ไหว คิดยังไงก็แก้ไม่ตก แต่เมื่อกาลเวลา
กัดกร่อนลงในจุดที่พอเหมาะ กับแรงเราแล้วค่อยผลัก
ก้อนหินนั้นก็จะเคลื่อนไปตามแรงผลัก.. ก็เหมือนบางปัญหาที่หากแก้ไม่ได้แล้วจะวิตกกังวลไปทำไม"
ถามว่าแล้วชีวิตมีปัญหาที่แก้ไม่ได้ อยู่เยอะไหม หนุ่มเมืองจันท์ตอบทันทีว่า "เยอะ" แต่คิดมากไปก็ไม่มีประโยชน์
รังแต่จะสร้างความฟุ้งซ่านว้าวุ่นให้จิตใจ อีกอย่าง..จะเป็นปัญหาหรือไม่เป็นปัญหานั้น อยู่ที่ "ทัศนคติ" เขายกตัวอย่างให้ฟังว่า
มีนักธุรกิจคนหนึ่งกลุ้มใจมีหนี้สินเยอะมาก วันหนึ่งก็ไปนั่งคุยกับนักธุรกิจอีกคนเพื่อปรับทุกข์
เขาบอกว่าเดิมมีทรัพย์สิน ๔ พันล้าน ตอนนี้เหลือแค่ร้อยล้าน นักธุรกิจอีกคนก็หัวเราะ
แล้วบอกว่า ตนมีทรัพย์สินอยู่ ๒ หมื่นล้าน ตอนนี้เป็นหนี้อยู่หมื่นล้าน
นักธุรกิจคนแรกกลับบ้านนอนหลับฝันดี เพราะเจอคนที่มีความทุกข์เหมือนๆกัน
แต่พอดูกรณีตนเองแล้วรู้สึกว่าเบาขึ้นทันที "มุมทั้งหมดอยู่ที่ทัศนคติการมอง
ถ้าเราเปลี่ยนมุมคิด ชีวิตก็จะมีความสุข เหมือนเวลามองแก้วน้ำ ถ้ามองมุมสูง น้ำก็นิดเดียว แต่ถ้ามองจากมุมเงย น้ำก็เยอะขึ้น ทั้งที่น้ำก็เท่าเดิม"
หมุ่มเมืองจันท์ อธิบาย และหากจะเศร้าเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น
ก็จงเศร้าอย่างเต็มที่ แต่ต้องพยายามทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้นให้ได้
โดยอาศัย "ความหวัง" ชีวิตที่แย่ที่สุด คือชีวิตที่ไม่มีความหวัง เพราะความหวังเป็นพลังให้ทุกคนก้าวเดินต่อไปข้างหน้า หากคิดว่าเจอปัญหาหนักแล้วชีวิตต้องแย่ ต้องผ่านไปไม่ได้แน่แล้ว
ชีวิตก็จะยิ่งจมดิ่งอยู่ในความหดหู่และความกลัว
"วันนี้ยังเศร้าก็ไม่ต้องฝืนหัวเราะ
แต่ต้องเชื่ออยู่อย่างว่าพรุ่งนี้ต้องดีขึ้น ต้องเปลี่ยนแปลง และจะต้องผ่านไป
ถ้าเชื่อตรงนี้ก็จะช่วยดึงให้พ้นจากหลุมไปได้ แต่ถ้าปราศจากความเชื่อก็จะดิ่งลงเรื่อยๆ จนถึงก้นเหว ซึ่งจากตรงนั้นกว่าจะดีดตัวเองขึ้นมาก็อาจใช้เวลานาน"
"ความหวังเป็นสิ่งสำคัญมาก ผมเชื่อมากๆ ว่า ถ้าเรามีความหวังว่าจะดีขึ้นเมื่อไหร่ เราจะมีพลังก้าวเดิน"
หนุ่มเมืองจันท์ บอก
เพราะฉะนั้นเมื่อมีปัญหาเข้ามาในชีวิต..การมองโลกในแง่บวก และการแยกแยะปัญหาอย่างมีสติ
ก็ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น และมีความสุขมากขึ้น เมื่อถามถึงวิธีสร้างความสุขในแบบตัวเอง
หนุ่มเมืองจันท์บอกว่า หากเป็นสมัยวัยรุ่น
ความสุขจะอยู่ที่การคาดหวังสูงๆ แล้วไปให้ถึง แต่เมื่อเติบโตมากขึ้น ความสุขเริ่มพลิกเปลี่ยน
ไม่มองเป้าหมายใหญ่ๆแบบเดิม
แต่จะมองเป้าหมายใกล้ๆ ตอนวัยรุ่น สิ่งเร้าจะเป็นตัวกำหนดความสุข
สิ่งเร้าวัยนั้นอาจเป็นเรื่องเพื่อน สภาพแวดล้อม แต่พอมาอีกวัย ความสุขก็เกิดจากตนเองมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงปัจจัยภายนอกมาก
เหมือนเมื่อเป็นวัยรุ่น นิ่งๆ ก็มีความสุขได้
"นอกจากเรื่องวัยที่ทำให้ความสุขเกิด
จากตนเองมากขึ้นแล้ว เรื่องงานก็มีส่วนด้วย เมื่อก่อนสมัยเป็นนักข่าว
ทั้งที่หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และหนังสือ พิมพ์มติชน ผมต้องเจอคนเยอะ
ความสุขของผมเกิดจากการได้พบปะพูดคุยกับแหล่งข่าว หรือเมื่อเป็นผู้จัดการสำนักพิมพ์มติชน
ความสุขก็อยู่ที่การพูดคุยกับนักเขียน เมื่อย้ายมาอยู่มติชนสุดสัปดาห์
ผมเจอคนน้อยลง แต่ก็มีความสุข เพราะความสุขของผมตอนนี้คือการอยู่กับตัวเอง
อ่านหนังสือ เล่นกีฬา ผมก็มีความสุข" "ผมมักจะบอกคนอื่นว่า สุขกับการใช้ชีวิต
สนุกกับการใช้ชีวิตมากๆ คือชีวิตต้องตั้งเป้าว่าตัวเองต้องมีความสุข
และหาทางสนุกกับชีวิตที่เปลี่ยนผ่านไปในแต่ละช่วง. ไม่ว่าเราจะเลือกหรือถูก เลือก เราต้องสุขกับตรงนั้นให้ได้"
หนุ่มเมืองจันท์ ทิ้งท้าย
ชวนม่วนชื่น หนึ่งผลิตภัณฑ์จากวัดหนองป่าพง
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/preephati/2008/08/04/entry-1
มติชน
วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552
กาง "ชวนม่วนชื่น" หนังสือธรรมะดีกรี "พระอังกฤษ" ที่เคยเป็นที่กล่าวขวัญ
"ชวนม่วนชื่น" หรือ "The Opening the Door of Your Heart"
ของพระอาจารย์พรหมวังโส พระชาวอังกฤษ
เจ้าอาวาสวัดป่าโพธิญาณ เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย
ที่ได้ใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์มากกว่า 30 ปี
เป็นหนังสือการแสดงธรรมในลักษณะเล่าเรื่องหรือเล่านิทาน
ช่วงเวลาการเดินทางมาบวชในเมืองไทย วัดสระเกศ
และไปมอบตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อชา
รวมทั้งนิทานสอนใจในพระพุทธศาสนา
และการปฏิบัติภาวนาในต่างประเทศมาถ่ายทอด
เป็นเรื่องเล่าผ่านหน้ากระดาษ
หนังสือเล่มนี้ได้รับการแปลเป็นไทยโดย คุณ ศรีวรา อิสสระ
"ชวนม่วนชื่น" ไม่ได้มีเพียงหนังสือเท่านั้น
แต่ยังมี E - Book และแผ่น CD ออกมาให้ผู้ที่สนใจได้อ่าน
และชมกันอย่างจุใจ โดยแผ่น CD นั้นได้จัดทำโดยพระกฤช นิมฺมโล
และ คุณวิรังรอง ทัพพะรังสี ผู้มีจิตศรัทธาสองท่าน
ได้ร่วมจัดทำสำเนาเผยแผ่
เพื่อนำเงินบริจาคตามกำลังศรัทธาทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย
มอบให้โรงพยาบาลนำไปรักษาพระภิกษุสงฆ์อาพาธ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลสงฆ์
ด้าน E - Book เผยแพร่โดยมูลนิธิปัญญาประทีป โรงเรียนทอสี
โรงเรียนวิถีพุทธแห่งหนึ่งในประเทศไทย
แก่พุทธศาสนิกชนและบุคคลที่สนใจ
ซึ่งจะหาอ่านในตอนนี้คงเป็นเรื่องยาก
หากมีความสนใจสามารถติดต่อได้ที่มูลนิธิปัญญาประทีป โรงเรียนทอสี
หรือดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์
http://www.dhamaforlife.com/audio/BeHappy/Chaun.pdf ได้ไม่อั้น
เนื้อหาของทั้ง E - Book และ แผ่น CD ธรรมเทศนาแบ่งออก
เป็นหลายหมวด มีทั้งหมด 11 บท คือ
บทที่ 1 ความสมบูรณ์แบบและความรู้สึกผิด
ก้อนอิฐที่ไม่เข้าที่เข้าทางสองก้อน,
บทที่ 2 ความรักและการอุทิศตน ความรักที่ไม่มีเงื่อนไข,
บทที่ 3 ความหวาดกลัวและความเจ็บปวด อิสระจากความหวาดกลัว,
บทที่ 4 ความโกรธกับการให้อภัยความโกรธ,
บทที่ 5 สร้างความสุข การยกย่องชมเชยพาเราไปได้ทุกแห่ง,
บทที่ 6 ปัญหาวิกฤติและการแก้ไขด้วยเมตตา กฏแห่งกรรม,
บทที่ 7 ปัญญาและความสงบภายใน ปัญญานำ น้ำใจตาม,
บทที่ 8 จิตกับสัจธรรม หมอผี,
บทที่ 9 คุณค่าและการปฏิบัติธรรม เสียงที่ไพเราะที่สุด,
บทที่ 10 อิสรภาพและความอ่อนน้อมถ่อมตน อิสระสองประเภท และ
บทที่ 11 ความทุกข์และการปล่อยวาง คิดยากกว่าทำ
หากได้ลองอ่านในบทแรกคือเรื่อง
"ความสมบูรณ์แบบและความรู้สึกผิด ก้อนอิฐที่ไม่เข้าที่เข้าทางสองก้อน"
จะพบว่าหนังสือเล่มนี้น่าสนใจ
ซึ่งเป็นตอนที่พระอาจารย์พรหมวังโสต้องก่ออิฐสร้างกำแพงวัดด้วยตนเอง
ท่านทำด้วยความตั้งใจอย่างแรงกล้า
เมื่อกำแพงเสร็จพลันไปพบอิฐสองก้อนที่ไม่เข้าที่เข้าทางในกำแพง
ท่านเสียใจมากและต้องการจะทุบกำแพงทิ้ง
และสร้างใหม่ให้สมบูรณ์ แต่เจ้าอาวาสไม่อนุญาต
หลังจากนั้น เวลามีคนมาชมวัดก็จะพาเลี่ยงกำแพงนั้น
จนวันนึงมีคนบังเอิญไปเห็นเข้าและก็ชมว่า
กำแพงนี้เยี่ยมมาก ท่านก็แปลกใจ
ถามว่าไม่เห็นอิฐที่ไม่เข้าที่เข้าทางสองก้อนนั้นหรือ
คนนั้นก็บอกว่า
"แต่อันที่เหลืออีกเกือบพันก้อนนี่มันเรียงได้อย่างเพอร์เฟคมากเลยนะ"
บัดนั้นก็ตาสว่างว่า
เพราะเหตุถูกอิฐสองก้อนนั้นบังความดีงามของทั้งกำแพงเอาไว้นี่เอง
ท้ายที่สุด ท่านเปรียบเทียบเรื่องนี้กับการใช้ชีวิตปกติและการใช้ชีวิตคู่
ว่าแม้จะเจอจุดบกพร่องก็ต้องไม่ลืมว่า
ยังมีเรื่องดีๆ เกิดขึ้นมากมายในชีวิต
ตัวเราหรือคู่ของเราก็ยังมีเรื่องดีๆ อีกมากมาย
นอกเหนือจากเรื่องที่ทำให้เราขุ่นใจ
ส่วนเรื่อง "ขอบคุณข้อบกพร่อง" เป็นเรื่องราวงานแต่งของหนุ่มสาวคู่หนึ่ง
พ่อของเจ้าสาวได้ให้ข้อคิดแก่ลูกเขยของตนว่า
เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ชายหนุ่มจะเริ่มเห็นข้อบกพร่องในตัวลูกสาวของเขา
เมื่อใดที่ชายหนุ่มผู้นั้นเริ่มจะสังเกตเห็นข้อบกพร่องของภรรยา
เพราะถ้าเขาไม่มีข้อบกพร่องเหล่านี้มาตั้งแต่ต้น
เขาก็คงสามารถเลือกแต่งงานไปกับใครสักคนที่ดีกว่าเรามากเป็นแน่
จะเห็นได้ว่า เรื่องเล่าทั้งสองนี้ชี้ให้เห็นว่า
ทุกสิ่งบนโลกล้วนมีข้อบกพร่องทั้งสิ้น
การตัดสินใจว่าสิ่งอื่นถูกแล้วสิ่วอื่นผิดหมด
ไม่ใช่การตัดสินด้วยปัญญา ข้อบกพร่องต่างๆ
ก็ล้วนไม่ใช่ความผิดพลาดในการตัดสินใจ
บางครั้งสิ่งที่แฝงอยู่กับเรื่องราวเหล่านั้น
ก็ถือเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งที่คนอื่นไม่สามารถเอาไปได้
และการจมอยู่กับความผิดพลาดในอดีต
ก็เป็นตัวขัดขวางการประสบความสำเร็จในอนาคต
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้
อย่าเพิ่งคิดว่าหนังสือเล่มนี่เป็นเพียงหนังสือธรรมะที่มากด้วย "ภาษาพระ"
ยากจะหยั่งถึงเพียงได้ลองอ่านดูบทแรกก็จะพบว่าสนใจที่จะอ่านบทต่อๆ ไป
และพบว่าหนังสือเล่มนี้ให้ข้อคิดที่ดีมากมาย
ด้วยการเล่าเรื่องที่สนุกเหมือนกับชื่อหนังสือ "ชวนม่วนชื่น"
ที่มา : http://www.oknation.net/blog/preephati/2008/08/04/entry-1
มติชน
วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552
กาง "ชวนม่วนชื่น" หนังสือธรรมะดีกรี "พระอังกฤษ" ที่เคยเป็นที่กล่าวขวัญ
"ชวนม่วนชื่น" หรือ "The Opening the Door of Your Heart"
ของพระอาจารย์พรหมวังโส พระชาวอังกฤษ
เจ้าอาวาสวัดป่าโพธิญาณ เมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย
ที่ได้ใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์มากกว่า 30 ปี
เป็นหนังสือการแสดงธรรมในลักษณะเล่าเรื่องหรือเล่านิทาน
ช่วงเวลาการเดินทางมาบวชในเมืองไทย วัดสระเกศ
และไปมอบตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อชา
รวมทั้งนิทานสอนใจในพระพุทธศาสนา
และการปฏิบัติภาวนาในต่างประเทศมาถ่ายทอด
เป็นเรื่องเล่าผ่านหน้ากระดาษ
หนังสือเล่มนี้ได้รับการแปลเป็นไทยโดย คุณ ศรีวรา อิสสระ
"ชวนม่วนชื่น" ไม่ได้มีเพียงหนังสือเท่านั้น
แต่ยังมี E - Book และแผ่น CD ออกมาให้ผู้ที่สนใจได้อ่าน
และชมกันอย่างจุใจ โดยแผ่น CD นั้นได้จัดทำโดยพระกฤช นิมฺมโล
และ คุณวิรังรอง ทัพพะรังสี ผู้มีจิตศรัทธาสองท่าน
ได้ร่วมจัดทำสำเนาเผยแผ่
เพื่อนำเงินบริจาคตามกำลังศรัทธาทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย
มอบให้โรงพยาบาลนำไปรักษาพระภิกษุสงฆ์อาพาธ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลสงฆ์
ด้าน E - Book เผยแพร่โดยมูลนิธิปัญญาประทีป โรงเรียนทอสี
โรงเรียนวิถีพุทธแห่งหนึ่งในประเทศไทย
แก่พุทธศาสนิกชนและบุคคลที่สนใจ
ซึ่งจะหาอ่านในตอนนี้คงเป็นเรื่องยาก
หากมีความสนใจสามารถติดต่อได้ที่มูลนิธิปัญญาประทีป โรงเรียนทอสี
หรือดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์
http://www.dhamaforlife.com/audio/BeHappy/Chaun.pdf ได้ไม่อั้น
เนื้อหาของทั้ง E - Book และ แผ่น CD ธรรมเทศนาแบ่งออก
เป็นหลายหมวด มีทั้งหมด 11 บท คือ
บทที่ 1 ความสมบูรณ์แบบและความรู้สึกผิด
ก้อนอิฐที่ไม่เข้าที่เข้าทางสองก้อน,
บทที่ 2 ความรักและการอุทิศตน ความรักที่ไม่มีเงื่อนไข,
บทที่ 3 ความหวาดกลัวและความเจ็บปวด อิสระจากความหวาดกลัว,
บทที่ 4 ความโกรธกับการให้อภัยความโกรธ,
บทที่ 5 สร้างความสุข การยกย่องชมเชยพาเราไปได้ทุกแห่ง,
บทที่ 6 ปัญหาวิกฤติและการแก้ไขด้วยเมตตา กฏแห่งกรรม,
บทที่ 7 ปัญญาและความสงบภายใน ปัญญานำ น้ำใจตาม,
บทที่ 8 จิตกับสัจธรรม หมอผี,
บทที่ 9 คุณค่าและการปฏิบัติธรรม เสียงที่ไพเราะที่สุด,
บทที่ 10 อิสรภาพและความอ่อนน้อมถ่อมตน อิสระสองประเภท และ
บทที่ 11 ความทุกข์และการปล่อยวาง คิดยากกว่าทำ
หากได้ลองอ่านในบทแรกคือเรื่อง
"ความสมบูรณ์แบบและความรู้สึกผิด ก้อนอิฐที่ไม่เข้าที่เข้าทางสองก้อน"
จะพบว่าหนังสือเล่มนี้น่าสนใจ
ซึ่งเป็นตอนที่พระอาจารย์พรหมวังโสต้องก่ออิฐสร้างกำแพงวัดด้วยตนเอง
ท่านทำด้วยความตั้งใจอย่างแรงกล้า
เมื่อกำแพงเสร็จพลันไปพบอิฐสองก้อนที่ไม่เข้าที่เข้าทางในกำแพง
ท่านเสียใจมากและต้องการจะทุบกำแพงทิ้ง
และสร้างใหม่ให้สมบูรณ์ แต่เจ้าอาวาสไม่อนุญาต
หลังจากนั้น เวลามีคนมาชมวัดก็จะพาเลี่ยงกำแพงนั้น
จนวันนึงมีคนบังเอิญไปเห็นเข้าและก็ชมว่า
กำแพงนี้เยี่ยมมาก ท่านก็แปลกใจ
ถามว่าไม่เห็นอิฐที่ไม่เข้าที่เข้าทางสองก้อนนั้นหรือ
คนนั้นก็บอกว่า
"แต่อันที่เหลืออีกเกือบพันก้อนนี่มันเรียงได้อย่างเพอร์เฟคมากเลยนะ"
บัดนั้นก็ตาสว่างว่า
เพราะเหตุถูกอิฐสองก้อนนั้นบังความดีงามของทั้งกำแพงเอาไว้นี่เอง
ท้ายที่สุด ท่านเปรียบเทียบเรื่องนี้กับการใช้ชีวิตปกติและการใช้ชีวิตคู่
ว่าแม้จะเจอจุดบกพร่องก็ต้องไม่ลืมว่า
ยังมีเรื่องดีๆ เกิดขึ้นมากมายในชีวิต
ตัวเราหรือคู่ของเราก็ยังมีเรื่องดีๆ อีกมากมาย
นอกเหนือจากเรื่องที่ทำให้เราขุ่นใจ
ส่วนเรื่อง "ขอบคุณข้อบกพร่อง" เป็นเรื่องราวงานแต่งของหนุ่มสาวคู่หนึ่ง
พ่อของเจ้าสาวได้ให้ข้อคิดแก่ลูกเขยของตนว่า
เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ชายหนุ่มจะเริ่มเห็นข้อบกพร่องในตัวลูกสาวของเขา
เมื่อใดที่ชายหนุ่มผู้นั้นเริ่มจะสังเกตเห็นข้อบกพร่องของภรรยา
พ่อเจ้าสาวได้สั่งให้ชายหนุ่มจดจำไว้ว่า
"ถ้าลูกสาวของฉันไม่ได้มีข้อบกพร่องเหล่านี้มาตั้งแต่เริ่มแรกล่ะก็...
พ่อลูกเขยเอ๋ย... เขาก็คงได้สามีดีกว่าเธอเยอะไปซะแล้วล่ะ !!!"
ดังนั้น เราจึงควรจะขอบคุณข้อบกพร่องต่างๆ ในตัวคู่ชีวิตของเราเพราะถ้าเขาไม่มีข้อบกพร่องเหล่านี้มาตั้งแต่ต้น
เขาก็คงสามารถเลือกแต่งงานไปกับใครสักคนที่ดีกว่าเรามากเป็นแน่
จะเห็นได้ว่า เรื่องเล่าทั้งสองนี้ชี้ให้เห็นว่า
ทุกสิ่งบนโลกล้วนมีข้อบกพร่องทั้งสิ้น
การตัดสินใจว่าสิ่งอื่นถูกแล้วสิ่วอื่นผิดหมด
ไม่ใช่การตัดสินด้วยปัญญา ข้อบกพร่องต่างๆ
ก็ล้วนไม่ใช่ความผิดพลาดในการตัดสินใจ
บางครั้งสิ่งที่แฝงอยู่กับเรื่องราวเหล่านั้น
ก็ถือเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งที่คนอื่นไม่สามารถเอาไปได้
และการจมอยู่กับความผิดพลาดในอดีต
ก็เป็นตัวขัดขวางการประสบความสำเร็จในอนาคต
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้
อย่าเพิ่งคิดว่าหนังสือเล่มนี่เป็นเพียงหนังสือธรรมะที่มากด้วย "ภาษาพระ"
ยากจะหยั่งถึงเพียงได้ลองอ่านดูบทแรกก็จะพบว่าสนใจที่จะอ่านบทต่อๆ ไป
และพบว่าหนังสือเล่มนี้ให้ข้อคิดที่ดีมากมาย
ด้วยการเล่าเรื่องที่สนุกเหมือนกับชื่อหนังสือ "ชวนม่วนชื่น"