เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Nov 14, 2009
สำคัญที่"คุณสมบัติ"
คอลัมน์ แท็งก์ความคิด
นฤตย์ เสกธีระ
มติชน
วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
"ตอนที่กลับจากจังหวัดกระบี่มาหมาดๆ เคยปรารภเอาไว้คร่าวๆ
เรื่องโครงการดีๆ ที่ชาวกระบี่สรรค์สร้าง"
โครงการนั้นเรียกว่า "อนุญาโตตุลาการหมู่บ้าน"
โครงการนี้เริ่มต้นโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับผู้กำกับการ
ซึ่งขณะนี้เติบโตเป็นระดับรองผู้บังคับการ
เขาชื่อ "พ.ต.อ.บุญทวี โตรักษา"
นายตำรวจคนนี้ได้ร่วมมือกับ "นายประสาท อ่าวลึกน้อย"
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง อ.อ่าวลึก จังหวัดกระบี่
จัดทำ "โครงการอนุญาโตตุลาการหมู่บ้าน" ขึ้นมา
ปัจจุบันแม้ พ.ต.อ.บุญทวี จะเติบโตเป็นรองผู้บังคับการตำรวจจังหวัดกระบี่แล้ว
แต่ผลงานที่ทำไว้ก็ยังเป็นที่ประจักษ์
แว่วข่าวว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะยึดผลงานชิ้นนี้
เป็นตัวอย่างของตำรวจทั่วประเทศ
ส่วนที่อ่าวลึก ขณะนี้มี "พ.ต.ท.วิชย์สัณห์ บุญณรงค์"
รักษาการ ผกก.สภ.อ่าวลึก เป็นผู้สืบสานต่อ
"วิธีการดำเนินการโครงการอนุญาโตตุลาการหมู่บ้าน
เริ่มตั้งแต่การแจกแบบสอบถามให้ชาวบ้านตอบ"
"ถามว่า หากท่านมีเรื่องบาดหมางกับคนอื่น
ท่านอยากให้ใครมาเป็นคนไกล่เกลี่ย"
ชาวบ้านแต่ละคนก็จะเขียนชื่อบุคคลที่ตัวเองเคารพรัก
และไว้ใจลงในแบบสอบถาม
ตำรวจเรียกแบบสอบถามกลับมา
แล้วก็จำแนกความนิยม
"คัดเอาคนที่มีคะแนนนิยมอันดับต้นๆ
มาเป็น "อนุญาโตตุลาการหมู่บ้าน""
ดังนั้น หมู่บ้านหนึ่งจะมีคนที่เป็นอนุญาโตตุลาการหลายคนครับ
แต่ละคนจะมีหน้าที่เป็น "คนกลาง" คอยไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
"คนกลาง" แต่ละคน จะทำหน้าที่ได้
ก็เมื่อมีชาวบ้านที่เป็นคู่กรณีเลือกขึ้นมา
ชาวบ้านที่มีข้อพิพาทเลือกคนเหล่านี้
เพราะเขาเชื่อว่าจะได้รับความเป็นธรรม
เสียดายครับ ที่ไม่มีโอกาสเห็นการทำงาน
ของอนุญาโตตุลาการหมู่บ้านในสถานการณ์จริง
เห็นแต่บันทึกคดีที่ไกล่เกลี่ย พบว่า
"มีหลายเรื่องที่อนุญาโตตุลาการหมู่บ้านสามารถ "หย่าศึก" กันได้"
ส่วนเรื่องที่ไกล่เกลี่ยไม่ได้ ก็ต้องปล่อยให้เรื่องนี้
เคลื่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อไป
เชื่อไหมครับว่า หลังจากจัดทำโครงการนี้แล้ว
เรื่องทะเลาะเบาะแว้งหลายต่อหลายเรื่อง
สามารถเจรจายุติยอมความกันได้
งานนี้ทำให้ตำรวจสบายขึ้น
ส่วนชาวบ้านก็เป็นสุข
คู่กรณีเองก็รู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรม
"กลไกสำคัญที่ทำให้ภารกิจนี้สำเร็จ ก็คือ
บุคคลที่ได้รับเลือกให้เป็น "อนุญาโตตุลาการหมู่บ้าน" นั่นแหละครับ"
คนเหล่านี้มาทำงานด้วยใจ งานหนัก ไม่ได้เงิน
แต่ภาคภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่
คนที่เป็นอนุญาโตตุลาการหมู่บ้าน
ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีตำแหน่งแห่งหน
ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีการศึกษาสูง
ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่ร่ำรวยเงินทอง หรือมียศถาบรรดาศักดิ์
เพียงแค่มีคุณสมบัติที่น่าเลื่อมใส และผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรม
กระทั่งชาวบ้านส่วนใหญ่เลือก พวกเขาก็กลายเป็น
"อนุญาโตตุลาการหมู่บ้าน" ได้แล้ว
เรื่อง "อนุญาโตตุลาการหมู่บ้าน" ที่จังหวัดกระบี่
หลายคนคงเคยได้ยินมา
อีกหลายคนที่ไม่เคยได้ยิน
ก็ขอเล่าให้ฟังด้วยความภาคภูมิใจแทนพวกเขา
เหตุที่หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะ
"อนุญาโตตุลาการหมู่บ้าน" คือตัวอย่างที่ดี
เป็นตัวอย่างที่ดีในแง่ "ชื่อ" ที่เรียก กับ "คุณสมบัติ" ที่ต้องการ
"หลายสิ่งหลายอย่างในชีวิต "ชื่อ"
ไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งที่สำคัญ คือ "คุณสมบัติ" ต่างหาก"
คนบางคนไม่เคยเป็นพ่อ-แม่คน
แต่เหตุเพราะมีความรักความเมตตา ทะนุถนอม เลี้ยงดูผู้อยู่ในอุปการะ
คนคนนั้นก็มีคุณสมบัติแห่งความเป็นบิดามารดร
คนบางคนไม่ต้องมีตำแหน่งแห่งหน
ไม่ต้องมีการศึกษาสูงส่ง ไม่ต้องมีเงินทองมากมาย
แต่กระทำตนจนชาวบ้านยอมเชื่อฟัง
คนคนนั้นก็มีคุณสมบัติการเป็นผู้นำโดยไม่ต้องแต่งตั้ง
ตรง กันข้าม คนบางคนแม้จะมีตำแหน่งแห่งหน
มีชื่อเรียกตามอาชีพ เช่น
เรียกว่า "ตำรวจ"
เรียกว่า "ทหาร"
เรียกว่า "วิศวกร"
เรียกว่า "นักกฎหมาย"
เรียกว่า "นักข่าว"
เรียกว่า "นักเขียน" หรือเรียกว่าอะไรก็ตาม
แต่ไม่ได้มีคุณสมบัติตามวิชาชีพ คือ
ไม่ได้ทำหน้าที่ตาม "ชื่อ" ที่เรียก
คนคนนั้นก็ไม่มีศักดิ์และสิทธิ์ในวิชาชีพนั้นๆ
หรือบางคนที่มีอายุมากกว่า
มีตำแหน่งสูงกว่า กระทั่งถูกเรียกว่า "ผู้ใหญ่"
แต่แทนที่จะมีพฤติกรรมเป็น "ผู้ช่วยเหลือ"
กลับมีพฤติกรรมเป็น "ผู้ทำร้าย"
แทนที่จะมีพฤติกรรมเป็น "ผู้ให้"
กลับมีพฤติกรรมเป็น "ผู้รับ"
แทนที่จะมีพฤติกรรมเป็น "หลัก"
กลับมีกระทำตนเป็นปัญหาแก่ส่วนรวม
คนเหล่านั้นก็ไม่ใช่ "ผู้ใหญ่"
เพราะขาดคุณสมบัติของความเป็นผู้ใหญ่
จะเห็นได้ว่า "คุณสมบัติ" นั้นสำคัญกว่า "ชื่อ"
"และการประพฤติต้องตามคุณสมบัติ
ก็มีคุณค่าสำคัญเสียยิ่งกว่าสิ่งใด"
จึงอยากเชิญชวนให้ทุกผู้ทุกนาม
ลองสำรวจตรวจสอบตัวเอง
และคุณสมบัติที่ตัวเองจำเป็นต้องมี
ใครเป็นพ่อ ใครเป็นแม่ ใครมีอาชีพการงานใดๆ
ตรวจสอบสิครับว่า ตัวเองมีคุณสมบัติสมกับที่เป็นพ่อ เป็นแม่
และประกอบอาชีพการงานนั้นแล้วหรือยัง
ถ้าได้ทำหน้าที่ตามบทบาทอย่างเต็มกำลังแล้ว
ก็จงภูมิใจในตัวเองได้แล้วล่ะครับ
อย่างน้อยเราก็มีคุณสมบัติเหมาะสมกับสิ่งที่เราเป็นอยู่
คุณค่าของคนมันอยู่ตรงนั้น
"สวัสดี"
หน้า 17