แบบที่ 1 ของนายธีรพล นิยม ชื่อ "สัปปายะสภาสถาน"
โดยคำว่า สัปปายะ แปลว่า สบาย ในทางธรรม
หมายถึงสถานที่ประกอบกรรมดี ซึ่งเมื่อก่อนประเทศวิกฤต
กษัตริย์จะสร้างสถานที่เพื่อปลุกขวัญกำลังใจ
โดยการดำเนินชีวิตทางโลกียะ จะมีโลกุตระคือธรรมะกำกับ
ซึ่งวันนี้บ้านเมืองเกิดวิกฤตความเสื่อมศีลธรรม
จึงต้องฟื้นจิตใจของคนในชาติ
จึงนำหลักการสถาปัตยกรรมไทยแบบแผนไตรภูมิตามพุทธคติ
มาเป็นแรงบันดาลใจออกแบบ โดยมีอาคารเครื่องยอดสถาปัตยกรรมไทย
อยู่ตรงกลางอาคาร และเป็นโอกาสที่จะเป็นรัฐสภาระดับโลก
ฟื้นสันติภาพ พลิกฟื้นจิตวิญญาณของมนุษย์โลก
โดยการสถาปนาเขาพระสุเมรครั้งใหม่ในยุครัตนโกสินทร์
แบบที่ 2 ของบริษัทสถาปนิก 49 จำกัด
ออกแบบจากแนวคิดระบบการปกครองไทย
ที่มีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
ลักษณะอาคารจะเป็นอาคารสูงสองตึกด้านซ้ายและขวา
ตึกแรกเป็นที่ทำงานส.ส. ตึกที่สองเป็นที่ทำงานของส.ว.
โดยมีห้องประชุมตรงกลางสองห้องระหว่างอาคารทั้งสองคือ
ห้องประชุมรัฐสภา และห้องประชุมวุฒิสภา
แบบที่ 3 ของนายธรรมศักดิ์ อังศุสิงห์ ภายใต้แนวคิด
รัฐสภาเป็นสถาบันการปกครองที่สำคัญของไทย
รัฐสภาจึงควรเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ
จึงนำดอกบัวที่เป็นดอกไม้ที่คนไทยใช้ไหว้พระ มาเป็นสัญลักษณ์
โดยตัวอาคารหลักมีลักษณะเป็นดอกบัว
แบบที่ 4 ของบริษัทดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
แนวคิดจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศเมื่อปีพ. ศ. 2475
มีรัฐธรรมนูญฉบับแรก จึงนำเอาพานแว่นฟ้า ซึ่งเป็นพานที่รองรับรัฐธรรมนูญ
มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ ซึ่งอาคารหลักก็จะมีลักษณะเป็นพานแว่นฟ้า
แบบที่ 5 ของผศ.วิเชษฐ์ สุวิสิทฐ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร ลักษณะอาคารหลักเป็นอาคารสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
มีลานด้านหน้า มีอาคารบริวาร 2 อาคาร สำหรับเป็นที่ทำงานของส.ส.และส.ว.
มีศิลปินแห่งชาติร่วมออกแบบด้วย นอกจากนี้ยังนำแนวคิดวิถีชีวิต
ความเป็นอยู่ของคนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีทั้งวัด บ้านเรือน
ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยมาผสมผสาน
มติชน
วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
"นิคม" คาดรู้ผลประกวดแบบก่อสร้างตึกรัฐสภาใหม่วันนี้
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่1
ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการเที่ยงวันทันเหตุการณ์ ทางช่อง 3
เมื่อวันที่ 27 พ.ย. เกี่ยวกับเรื่องแบบก่อสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ ว่า
ในขณะนี้มีดูๆ ไว้อยู่ 5 แบบ เน้นเรื่องการออกแบบให้อนุรักษ์พลังงาน
ให้มีพื้นที่สีเขียวร้อยละ 60 และส่วนอาคารรัฐสภาร้อยละ 40
พร้อมที่จอดรถไม่น้อยกว่า 2,000 คัน
เกณฑ์การเลือกแบบดูจากแนวความคิดในการวางผังแนวคิดมาจากอะไร
การตอบสนองความต้องการและประโยชน์ใช้สอยของห้องประชุม
การเข้าถึงของประชาชนรวมทั้งคนพิการ
รูปแบบหรือเอกลักษณ์ความเป็นไทย
การอนุรักษณ์ความงามและรักษาสิ่งแวดล้อม
โดยมีคณะกรรมการคัดเลือก 13 คน
นายนิคม กล่าวต่วอ่า
คาดว่าจะรู้ผลในช่วงเวลาประมาณ 21.00น. วันนี้ (27 พ.ย.)
อาคารรัฐสภาใหม่จะมีมูลค่า 12,000 ล้านบาท
บนเนื้อที่ 3 แสนตารางเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2556