Custom Search

Nov 5, 2009

สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา


ภาพลักษณ์สาวเก่งที่เป็นทั้ง
กรรมการผู้จัดการบริษัท แกรมมี่ เทเลวิชั่น จำกัด
เจ้าของรายการ ละครสนุก ๆ หลากหลายเรื่อง
ร่วมทั้งยังทำหน้าที่ดีเจให้กับ
คลื่นวิทยุในเครือบริษัท เอไทม์ มีเดีย จำกัด
อีกนั้นทำให้ พี่ฉอด สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา
นิเทศศาสตร์จุฬาฯ รุ่นที่ 13
กลายเป็นไอดอลในใจของเด็กรุ่นใหม่หลายต่อหลายคน
ที่อยากทำงานในด้านนี้บ้าง ...
หรือถ้าจะบอกว่าพี่ฉอดเป็นไอดอลของ
เด็กหนุ่ม เด็กสาวที่ยังไม่รู้จะประกอบอาชีพอะไร
เราก็สามารถพูดได้เช่นกัน
เพราะในอดีตพี่ฉอดก็เคยเป็นแบบนั้นเหมือนกัน
" แรก ๆ จริง ๆ เคยอยากเป็นหมอคะ"
พี่ฉอดพูดพร้อมเสรียงหัวเราะ
เมื่อถูกถามว่าอยากทำอะไรในอนาคต
(หมายถึงตอนพี่ฉอดยังเรียนมัธยมอยู่น่ะ)
"แต่แบบว่า ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ
ตกหมดไงคะใฝ่สูงเกินศักดิ์มาก ๆ"

นั่นทำให้พี่ฉอดเริ่มมาคิด จริงจังว่าหากจะไม่ให้เกิด "หายนะ"
ในการเอนทรานซ์คงต้องฝันใฝ่ลงมาให้พอเหมาะพอควร
แต่ครั้นพอจะหาคณะเรียนที่ไม่ต้องสอบ 3 วิชาที่ว่านี้
ก็พบว่า
เศรษฐศาสตร์ก็ไม่ชอบ
กฎหมายก็เกลียด
รัฐศาสตร์ก็ไม่ไหว ตัดตัวเลือกไป ตัดตัวเลือกมา
สุดท้ายมีคำตอบสุดท้ายเพียงหนึ่งเดียว นั่นก็คือ ‘นิเทศศาสตร์’
"สมัยก่อนเขาให้เลือก 6 อันดับใช่มั้ยคะ
แต่พี่เลือกอันดับเดียวค่ะ" พี่ฉอดหัวเราะ
"ไม่ได้หมายความว่าเราหรือมั่นหรืออะไรนะคะ คือไม่มีอะไรจะเลือกค่ะ"

ความ ตั้งใจแรกในการเข้ามาเรียนนิเทศศาสตร์ของพี่ฉอด
คือ ‘ทำหนังสือ’ แต่ก็ต้องเปลี่ยนใจด้วยเหตุผลว่า
"คนที่เรียน JR ยุคนั้นเป็นคนที่เดินแล้วตัวเอียงตลอดเวลา คือ
เอียงไปข้างซ้าย ไม่สามารถสื่อสารกันเข้าใจได้
ก็เลยคิดว่าโอเคค่ะ ท่าจะไม่ไหว"

สุดท้ายพี่ฉอดเลือก MC ด้วยวิธีการเดียวกับตอนเลือกคณะ
นั่นก็คือ ‘ตัดทิ้ง ตัดทิ้ง’ ตัดตัวเลือกที่คิดว่าไม่น่าใช้ทิ้งไป
จนแหลือคำตอบสุดท้ายที่ใช่ที่สุด
และความสำเร็จในทุกวันนี้ของพี่ฉอดก็ช่วย ยืนยันว่า
การเลือกในวันนั้น ‘ไม่ผิดพลาด’
อย่างไรก็ตาม พี่ฉอดมองว่าวิชาเรียนที่คณะ
ถ่ายทอดให้นั้นเป็นเพียงพื้นฐานที่แข็งแกร่งไว้
รองรับในการออกไปทำงานเท่านั้น
จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นอยู่ที่ตัวเองล้วน ๆ

พี่ฉอดเริ่ม งานด้านหนังสือตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ
จากนั้นก็มาทำโปรดักส์ชั่นเฮ้าส์,เอเจนซี่
ก่อนที่จะผันตัวเองมาทำวิทยุ..และนี่แหละ
ภาพลักษณ์ที่เราชินตาที่สุด
จากนั้นจึงมาทำงานด้านโทรทัศน์ต่อ
ผ่านงานมาเยอะขนาดนี้
แล้วพี่ฉอดภูมิใจกับงานชิ้นไหนมากที่สุดล่ะ?

"ถ้าพูดถึงงานเป็น ชิ้น ๆ มันค่อนข้างจะอยาก
เพราะพี่ทำงานยอะมากสมมติว่าคอนเสิร์ตชอบอันไหนที่สุด
โอ้โห! ไม่รู้ทำเป็นกี่ร้อยคอนเสิร์ต" พี่ฉอดตอบ
"ถ้าถามพี่ว่าอะไรคือ ความสุขที่เราภูมิใจ
จากวันที่พี่เริ่มต้นบริษัทฯนี้กับคน 2-3 คน
สมมติตอนนั้นเราขายโฆษณาได้เงินระดับหมื่นเนี่ย
เรารู้สึกปลาบปลื้มเป็นล้นพ้นแล้ว
"จนถึงวันหนึ่งที่เราลืมตา ตื่นขึ้นมาอีกที
แล้วพบมามันกลายเป็นบริษัทฯที่ประกอบด้วยคน 400 คน
ทำรายได้ปีละพันล้าน แต่ความสำเร็จจริง ๆ ไม่ได้
หมายถึงยอดเงินหรืออะไร แต่คือการที่เราเห็นน้อง ๆ ทีมงาน
มาทำงานร่วมกันหลาย ๆ คน นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้น
เขาเหล่านี้เดินเข้ามาแชร์ในแต่ละช่วงเวลาพอปัจจุบัน
ทุกคนมาอยู่ตรงนี้ รู้สึกว่าเป็น
ภาพรวมที่เราภูมิใจ อืม...เรามาถึงวันนี้ได้..."

แม้ว่าความสำเร็จในวันนี้ของพี่ฉอด
อาจจะมาจากในวันนี้พี่ฉอดอาจมาจากมการ
หลับหู หลับตาสุ่มสี่สุ่มห้า เดินมาเจอของที่ตัวเองชอบ
แล้วถูกกับตัวเองพอดี อย่างที่พี่ฉอดออกตัวไว้ก็ตาม
แต่หากขาดความอดทน ความทุ่มเทและการทำงานหนักแล้ว
บางทีพี่ฉอดอาจจะมาไม่ถึงตรงนี้ก็ได้

" สิ่งที่พี่กังวลที่สุดกับน้อง ๆ ที่เรียนในสาขาวิชาชีพนี้คือ
มันจะแตกต่างจากที่เราไปเรียนหมอ
เราจะรู้เลยว่าเป็นหมอต้องเหนื่อย ต้องอดทน
ต้องเรียนหนัก แต่คนที่คิดจะมาเรียนนิเทศฯ
ไม่อย่างนั้นนะตะ...อู้ย! อยากแต่งตัวสวย ๆ
อยากเป็นดีเจมันดูฟูฟ่อง แต่ในชีวิตจริง
การเป็นหมอหรือเป็นอย่างพวกเรา
ก็ไม่ได้ต่างกันนะมันเหนื่อยยากพอ ๆ กัน ต้องต่อสู้ไปกันละแบบ

"แต่สิ่งที่อันตรายที่สุดของวิชาชีพเราก็ คือ
มันมีความฟู่ฟ่องเป็นตัวหลอกอยู่เราจึงไม่ค่อยได้เตรียมใจ
ไม่เหมือนกับที่เราอยากเป็นหมอแล้วเราก็เตรียมใจว่า
เป็นหมอมันลำบาก แต่มานิเทศฯ
เราไม่ได้เตรียมใจว่าจะมาเจอความลำบากอันนี้
พี่เจอน้อง ๆ เยอะมากที่มากลางทางแล้วแบบว่า
’ว้า! ไม่เห็นเป็นอย่างที่ฉันคิด ไม่เห็นสนุกเลย เบื่อจะตาย’
เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นอันตรายของ
คนที่จะเรียนสาขาวิชาเรา" พี่ฉอดให้ข้อคิด
ความสำเร็จของพี่ฉอดอาจ เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่
แต่การเดินไปถึงจุดหมายซึ่งสวยงามนั้นไม่ได้หมายความ
ว่าหนทางที่ก้าวผ่าน ต้องสวยงามด้วย
เส้นทางของพี่ฉอดที่หลาย ๆ คน
ยังไม่เคยรู้ก็ยากลำบากเช่นกัน
กว่าจะพบความสวยงามได้อย่างทุกวันนี้
คาถาเดียวที่พี่ฉอดแนะนำน้อง ๆ ได้คือ

"ความรักค่ะ...เราต้อง รู้ว่าเรารักอะไร
เราชอบอะไร ค้นหาให้เจอก่อนว่าเราชอบอะไร
ชอบจริง ๆ หรือเปล่า?
พร้อมจะเผชิญหน้ากับอุปสรรค?
อดทน? และต่อสู้กับมันมั้ย?"
สำหรับพี่ฉอด คงไม่ต้องบอกนะครับว่า
ตำถามข้างต้น คำตอบคือ "ใช้" ทุกคำ


ซีอีโอ Synergy จิราจารีย์ ชัยมุสิก Positioning Magazine
มิถุนายน 2550


“ความสำเร็จของธุรกิจบันเทิง
ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

ไม่ได้ยึดตัวเลข แต่ขึ้นกับ
การทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปให้ได้มากกว่า”
บางส่วนของวลีที่
“พี่ฉอด สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา”
กล่าวในฐานะสวมหมวกใหม่ควบ 2 ตำแหน่ง
“ประธานกรรมการบริหารและกรรมการบริการ”
ของค่าย จีเอ็มเอ็ม มีเดีย อย่างเป็นทางการ
เมื่อ 30 เมษายนที่ผ่านมา แทนอากู๋ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม
ที่โฟกัสเหลือตำแหน่งเดียว คือ
ประธานกรรมการบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

สะท้อนการเปลี่ยนแปลงเชิงรุก ที่อากู๋เปิดทางให้กับเธอ
เพื่อสานต่อภารกิจ Synergy มีเดีย
ที่พี่ฉอดต้องทำหน้าที่เป็นแม่ทัพผนึกกำลังสื่อในเครือ
โดยมุ่งเน้นขายทั้ง แพ็กเกจ ที่การันตีแน่นอนว่าครบวงจร
ทั้งศิลปินในเครือ อีเวนต์ มาร์เก็ตติ้ง
และสื่อทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ เต็มรูปแบบ

อีกทั้งยังเสมือนโบนัสก้อนโตสำหรับความทุ่มเท และตอกย้ำ
“คนมีเดียแถวหน้า” ที่มีจุดแข็ง
สายสัมพันธ์อันดี กับสื่อมวลชนทุกแขนง
ที่สำคัญเธอยังเป็นผู้ปลุกปั้นเอ-ไทม์ มีเดีย มาร่วม 20 ปี
กระทั่งเปลี่ยนชื่อและเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็น
จีเอ็มเอ็ม มีเดีย หรือ GMMM ในปี 2545
ทั้งยังรักษาแชมป์คลื่นวิทยุ แบรนด์ในเครือ 4 คลื่น ได้แก่
กรีนเวฟ เอฟเอ็ม 106.5, บานาน่า เอฟเอ็ม 89,
นิวฮอตเวฟ เอฟเอ็ม 91.5, อีเอฟเอ็ม 94 กรีนเวฟ
ให้ครองอันดับท็อปของบรรดาคนฟัง
และเรตติ้งติดอันดับคนซื้อสื่อ
กับหมวกใบใหม่
สายทิพย์ ย้ำบ่อยๆ ว่า
“เป็นการเปลี่ยนแปลงแค่ตำแหน่ง”
แต่เมื่อดูบทบาทใหม่เห็นชัดว่า
ค่อนข้างหนักและรับผิดชอบสูง
เพราะเธอควบตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
โดยทุกกิจกรรม คอนเสิร์ต อีเวนต์ศิลปิน
โครงการในบริษัท ก็ยังทำหน้าที่ออกงาน
สร้างความมั่นใจกับลูกค้าเหมือนเดิม
เพื่อสานฝันภารกิจให้ได้
ตามเป้าหมายที่ผู้ใหญ่ให้ความไว้วางใจ

พี่ฉอดบอกว่า เวลานี้จะไม่พยายามเปลี่ยนแปลงอะไร
แต่เน้นการเพิ่มคุณภาพให้มากกว่าเดิม
และสร้างความได้เปรียบในเชิงวาไรตี้
หากเป็นธุรกิจทีวีอาจเพิ่มเวลา ส่วนวิทยุ
เพิ่มคอนเทนต์ปรับปรุงได้ตลอด
ขณะเดียวกัน ต้องทำหน้าที่ประสาน
ขอความร่วมมือจากบรรดาพี่ๆ น้องๆ ในบ้านเดียวกัน
เพื่อการนำเสนอขายเป็น Packege ได้ประสิทธิผลยิ่งขึ้น

สำหรับเป้าหมายของจีเอ็มเอ็ม มีเดีย
ในปีนี้ตั้งเป้ารายได้ไว้ 2,900 ล้านบาท
โดยมีอัตราการเติบโตที่ 2-3%

ปัจจุบันสื่อที่สร้างรายได้ให้บริษัทมากสุดเป็นสื่อทีวี 40%
รองลงมาสื่อวิทยุและสื่ออีเวนต์ อย่างละ 23-24% เท่าๆ กัน
อันดับสี่ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ 9-10% และ
ที่เหลือมาจากสื่ออื่นๆ
พี่ฉอด สายทิพย์
เป็นอดีตศิษย์เก่าคณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน จุฬาฯ
หลังเรียนจบเริ่มต้นอาชีพเป็น
Creative Copywriter
บริษัทโฆษณา พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง
จากนั้นไปเป็นดีเจ จนโด่งดังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
จากรายการวิทยุผิวปากตามเพลง ร่มไม้รายทาง
ต่อมาในปี 2531 ได้ก่อตั้ง เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด
หรือ GMM Media ในปัจจุบัน
เคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารของGMM Grammy
และกรรมการผู้จัดการ Grammy Television