สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (บริหารธุรกิจ) แด่
นายธนินท์ เจียรวนนท์ และ นายเจริญ สิริวัฒนภักดี
ณ หอประชุมสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
เมื่อวันพุธที่ 13 มกราคม 2553
ทรงพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (บริหารธุรกิจ) แด่
นายธนินท์ เจียรวนนท์ และ นายเจริญ สิริวัฒนภักดี
ณ หอประชุมสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
เมื่อวันพุธที่ 13 มกราคม 2553
คอลัมน์ คมคนคมคิด
จรัญ ยั่งยืน
"คนที่จะเป็นผู้บริหารระดับสูงไม่ควรมองที่
จุดด้อย ของคนอื่น แล้วมองแต่จุดเด่นของตัวเอง
เพราะว่าถ้าพยายามมองจุดด้อยของคนอื่น
ก็จะคิดว่าตัวเองเก่งอยู่ทุกครั้งทุกทีไป
จึงไม่ได้มีความ พยายามปรับตัว
เราต้องมองจุดเด่นของคนอื่น
แล้วหาทางใช้จุดเด่นของเขาให้เป็นประโยชน์
จึงสามารถทำงานใหญ่ได้"
เป็นสิ่งที่ "ธนินท์ เจียรวนนท์"
มักกล่าวกับผู้บริหารและผู้ร่วมงาน
ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.)
อยู่เสมอ โดยเขามีหลักการในการบริหารคน
และองค์กรที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
"องค์กรที่ดีต้องประกอบด้วยคน 4 รุ่นคือ
รุ่นอายุ 50 ปี รุ่นอายุ 40 ปี รุ่นอายุ 30 ปี
และรุ่นอายุ หนุ่ม สาวที่เพิ่งจบการศึกษา
เพราะคนเราต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย เก่งอย่างไร
ก็ต้องมีวันหยุด เมื่อหยุดแล้วจะหา
ใครมาทดแทน เราต้องมีการ
สร้างคนอีก 3 รุ่นลงมารองรับไว้ก่อน"
"ธนินท์"มีเหตุผลว่าธุรกิจจะดำเนินไปได้หรือขยายตัวได้
และจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่คนทุกอย่างล้วนมาจากคน
เงินก็มาจากคน เทคโนโลยีก็มาจากคน
"ผมถือว่า คนเป็นทรัพยากรสำคัญที่ล้ำค่า
อันเป็นหัวใจของทุกองค์กร
เราจึงต้องมีคนที่มีความรับผิดชอบสูง
มีความมานะพยายาม มีความรู้ความสามารถ
และมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่ในองค์กรให้มากๆ
จึงจะสามารถนำองค์กรหรือบริษัทไปสู่ความสำเร็จได้"
หากบริษัทอยาก จะเจริญก้าวหน้าอย่างไม่สิ้นสุด
ก็ต้องพัฒนาคนไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน
ต้องสร้างคนให้มีคุณภาพ
เมื่อมีประสิทธิภาพก็เกิดประสิทธิผลในการทำงาน
ซึ่งสร้างประโยชน์ทั้งต่อบริษัท และสังคม
ไม่มีอะไรที่ให้สังคมได้ดีที่สุด
เท่ากับการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถ
"ธนินท์" ให้ความสำคัญกับคนที่มีความรับผิดชอบสูง
มีความอดทนเยี่ยม มีความซื่อสัตย์สุจริต
และ มีความขยันหมั่นเพียรก่อน
แม้เขาชอบคนที่เก่งๆ แต่เขากลับเลือก “คนเก่ง”
ยู่ในลำดับสุดท้าย!!?? เหตุผลคือ หาก "คน"
มี 4 ประการแรกแล้ว สามารถพัฒนาตัวเองให้เป็นคนเก่งได้
"มนุษย์เราทุกคนมีความสำเร็จอยู่ในตัวเองทั้งนั้น
ชีวิตคนทุกคนต้องมีจุดเด่นที่สามารถนำพาชีวิตไปสู่ความสำเร็จได้
แต่ ที่สำคัญที่สุดก็คือ อย่าเป็นคนที่เหลิงหลงตัวเองว่าเก่ง
เพราะวันนี้เก่ง พรุ่งนี้อาจจะไม่เก่งก็ได้
อาจจะมีคนเก่งกว่าเราก็ได้ และถ้าเราเหลิงจะมีแต่ถอยหลัง
อย่าลืมว่าโลกของเรามีแต่จะก้าวไปข้างหน้า"
ผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จ นั้น
นอกจากตัวเองจะมีความรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ
อย่างถูกจังหวะ รวม ถึงมองการณ์ไกลแล้ว
ยังต้องได้รับความร่วมมือจากพนักงานในระดับปฏิบัติการ
อย่างเต็มความสามารถ
นั่นคือการเป็นเจ้านายที่ดีต้องอย่าทำตัวเหมือน "นก"
แต่ให้เป็นเหมือน "หนอน"
เพราะการทำตัวเหมือน "นก"ก็มักแต่ชอบบินสูงอยู่บนฟากฟ้า
คิดว่าตัวเองเหนือผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งบางครั้งก็อยู่สูงเกินไปจนมองไม่เห็นความเป็นไปบนพื้นดิน
และการที่ ซี.พี.แตกบริษัทย่อย แบ่งกลุ่มธุรกิจออกไป 9 กลุ่ม
เช่น กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม
กลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และเคมีเกษตร
กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ
นั้นก็เป็นวิธีการกระจายอำนาจ กระจายหน้าที่ความรับผิดชอบ
กระจายความเสี่ยง และการสร้างคน
"ผมมองคนอื่นว่าเก่งกว่าผมเสมอ ผมไม่เคยมองใครว่าเก่งสู้ผมไม่ได้”
สำหรับคนที่ทำงาน กับเรา
ผม ยึดหลักว่าจะต้องเปิดโอกาสให้เขาแสดงความสามารถ
เมื่อ ใครแสดงความสามารถออกมา
เราจะต้องส่งเสริมสนับสนุนเขาให้มีตำแหน่งสูงๆ ขึ้นไป
เราต้องพยายามรักษาเขาให้อยู่กับเรานานที่สุด
เราจะต้องสร้างคนที่มีความสามารถให้เกิดขึ้นมากๆ"
"ความล้มเหลวคือแม่ของความสำเร็จ"
"ผมชอบคนที่ทำงานเสียหายแล้วรู้ว่า เสียหายอย่างไร
และผมจะให้โอกาสเขาแก้ตัวใหม่???
แต่ถ้าทำ "เสียหาย" แล้วบอกว่าทำดีที่สุดแล้ว ทำถูกต้องแล้ว
แถมยังโยนความผิดไปให้คนอื่น
คนอย่างนี้ผมไม่กล้าใช้ให้ทำงานอีกต่อไป"
ยิ่งการจะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น "ธนินท์" มีมุมมองที่น่าสนใจ
"การที่จะทำอะไรให้สำเร็จ อย่าเพิ่งไปคิดว่า
เรามีกำไรเท่าไหร่ เราจะได้ผลประโยชน์อะไร
เราน่าจะ คิดว่างานชิ้นนี้เรามีโอกาสทำได้ดีที่สุดหรือเปล่า
แล้วทำสำเร็จได้หรือไม่เราจะทำงานชิ้นนี้ให้ดีที่สุด
เราต้องทำให้ดีกว่าคนอื่น แล้วความสำเร็จจะตามมา"
เป็นส่วนหนึ่งใน "มุมคิด" เรื่องคนของ "ธนินท์"
ซึ่งหยิบมาจากหนังสือ "36 กลยุทธ์ ธนินท์ เจียรวนนท์"
เรียบเรียงโดยวิจักษณ์ วรบัณฑิตย์
และเป็นมุมที่องค์กรต่างๆ มิควรมองข้าม
เพราะมันคือสิ่งหนึ่งที่ทำให้ ซี.พี.
เติบโตเป็นยักษ์ใหญ่ของโลกธุรกิจเมืองไทย