เป็นปิ่นเพชรพร่างพรับสำหรับโลก ปานปิ่นโชคฉายชัยให้ทุกผู้
ช่วยแต่งเสริมเดิมสมัยให้ชวนดู ฉายภูมิรู้ภูมิรักให้จักรวาล
ที่ฉายไว้ใจคะนึงถึงเสมอ คุณยังเลอเลื่องล้ำเกินคำขาน
ยังลือฤทธิ์ลือชาปัญญาญาณ ย่อมทอทานถักทอดตลอดไป
ก็คือปิ่นแห่งชาติปราชญ์แห่งหล้า เป็นมาลาบังทุกข์ร่มยุคสมัย
สมสกุลสมค่าสุดจาระไน สมควรไทยคารวะ…หนี้พระคุณ
แรคำ ประโดยคำช่วยแต่งเสริมเดิมสมัยให้ชวนดู ฉายภูมิรู้ภูมิรักให้จักรวาล
ที่ฉายไว้ใจคะนึงถึงเสมอ คุณยังเลอเลื่องล้ำเกินคำขาน
ยังลือฤทธิ์ลือชาปัญญาญาณ ย่อมทอทานถักทอดตลอดไป
ก็คือปิ่นแห่งชาติปราชญ์แห่งหล้า เป็นมาลาบังทุกข์ร่มยุคสมัย
สมสกุลสมค่าสุดจาระไน สมควรไทยคารวะ…หนี้พระคุณ
(รองศาสตราจารย์สุพรรณ ทองคล้อย)
ประพันธ์ในนามมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จัดงานรำลึกครบรอบ 105 ปี หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล:
บุคคลผู้มีผลงานดีเด่นระดับโลก
และผู้วางรากฐานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ในโอกาสครบรอบ 105 ปีเกิดหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ระหว่างวันที่ 24 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน 2551
ณ หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หอศิลป์ปิ่นมาลา)
หม่อม หลวงปิ่น มาลากุล
เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๖
เวลา ๐๙.๕๐ น. ณ บ้านถนนอัษฎางค์
อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร
เป็นบุตรชายคนเดียวของ
เจ้าพระยาเสด็จสุเรนทราธิบดี
(หม่อมราชวงค์เปีย มาลากุล)
อดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ
และท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี
(นามสกุลเดิม วสันตสิงห์)
หม่อม หลวงปิ่น มาลากุล
สมรสกับ นางสาวดุษฏี ไกรฤกษ์
(ท่านผู้หญิงดุษฎี มาลากุล ณ อยุธยา)
บุตรีเจ้าพระยามหิธร
และท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕
หม่อม หลวงปิ่น มาลากุล
เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านเมื่ออายุประมาณ ๔ ขวบ กับ
ครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์
ภายหลังเป็นพระยาอนุศาสตร์พณิชยการ)
ต่อมาบิดาได้นำเข้าถวายตัวต่อ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงได้ย้ายเรียนที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
(ปัจจุบัน คือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย)
และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ส่งหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษจนสำเร็จการศึกษา
และได้ปริญญาตรีเกียรตินิยม
ทางภาษาสันสกฤษ (B.A. Honours)
และอักษรศาสตรมหาบัณฑิต (M.A.)
จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
หลังจากกลับจากต่างประเทศแล้วได้มาเป็น
อาจารย์ประจำกองแบบเรียน กรมวิชาการ
( ปัจจุบันคือกรมอาชีวศึกษา )
เป็นอาจารย์พิเศษคณะศึกษาศาสตร์
และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และได้รับราชการ มีความก้าวหน้าเป็นลำดับ
โดยได้ดำรงตำแหน่งอธิบดี
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
จนกระทั่งเป็น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในหลายรัฐบาล
โดยระหว่างที่ได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๕๐๐ เป็นระยะเวลา
ที่ท่านได้ปรับปรุงเรื่องการศึกษามากที่สุด
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับแต่งตั้งให้
ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อยู่ ๔ สมัย
ระหว่างช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๐ – ๒๕๑๒
ต่อเนื่องกันรวมระยะเวลา ๑๑ ปีครึ่ง
ในช่วงเวลานั้นรัฐบาลได้แถลงนโยบาย
จะพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาคให้ก้าวหน้า
งานสำคัญที่ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ได้ดำเนินงานตามนโยบาย
และสร้างผลงานที่ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
คือ การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และมหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์
ซึ่งมีการเตรียมงานและ
วางรากฐานการบริหารและการจัดการ
ที่มั่นคงจนทำให้มหาวิทยาลัยทั้งสอง
เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในปัจจุบัน
- ฯพณฯ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล กับการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พุทธศักราช ๒๕๐๑ รัฐบาลได้แถลงนโยบาย
ในสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการศึกษา
ข้อหนึ่งว่าจะดำเนินการ
”พัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค ตลอดถึงการศึกษาขั้นสูง”
ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้
วางโครงการพัฒนาการศึกษาขึ้นในส่วนภูมิภาค
ความคิดริเริ่มในการตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปรากฏครั้งแรกในการประชุมโครงการพัฒนาการศึกษาส่วนภูมิภาค
ภาคการศึกษา ๘ ณ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๒
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย
เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
และศึกษาธิการจังหวัดในเขตภาคการศึกษา ๘
จากการประชุมครั้งนั้น
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้บันทึกไว้ว่า
“......... การตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค ๘
ตามความเรียกร้องของประชาชน
ที่ประชุมเห็นว่าน่าจะจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่.....
ด้วยเป็น ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง.......”
“เหตุผลสันบสนุนนั้นมีอย่างหนึ่งคือ ที่จังหวัดเชียงใหม่
มีสถาบันการศึกษาดี เป็นรากฐานอยู่ไม่น้อย ได้แก่
วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ วิทยาลัยเทคนิค
โรงเรียนฝึกหัดครู โรงเรียนระดับเตรียมอุดมศึกษาดีๆ ก็มีอยู่หลายโรง
ทั้งที่เป็นโรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนราษฏร์ของมิชชั่นด้วย
ถ้าเปรียบกับโรงเรียนอื่นๆ เชียงใหม่ก็เป็นต่อ”
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ทำหนังสือกราบเรียน
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้น
จำนวน ๒ ฉบับ เมื่อนวันที่ ๑ และวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๓
ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยโดยสั่งมีใจความว่า
“เห็นด้วยที่จะให้สร้างที่เชียงใหม่”
- นโยบายในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
ได้กำหนดนโยบายในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย
ไว้อย่างแจ้งชัด รัดกุม รอบด้าน
และสามารถปฏิบัติได้จริง ดังนี้
๑. ดำเนินการให้มีคุณภาพดีพอสมควรตั้งแต่เริ่มแรก
ให้เกิดความเชื่อถือ แต่ไม่ให้ฟุ่มเฟือยในทางใดๆ
๒. ไม่ ลอกแบบมหาวิทยาลัยแห่งแห่งหนึ่ง หรือ
มหาวิทยาลัยของประเทศใดประเทศหนึ่งโดยเฉพาะ
โดยจะพิจารณาอย่างรอบคอบและ
จัดแบบที่คิดว่าจะเกิดประโยชน์มากที่สุด
๓. เขียนกฎหมายและรูปแบบการปกครอง
เพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อบกพร่องต่างๆ
๔. คำนึงถึงสภาพท้องที่และรักษาความงามตามธรรมชาติ
๕. ดำเนินการตามความต้องการ (need)
และความจำเป็นสำหรับท้องที่
และให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาภาคเหนือของรัฐบาล
๖. ให้ความสะดวกแก่อาจารย์และ
ศาสตราจารย์ในการอยู่ ในการทำงาน
และส่งเสริมให้เป็นผู้ที่สามารถยิ่งขึ้น
๗. นอกจากจะสอนนิสิตให้มีความรู้ เพื่อได้ปริญญา
อนุปริญญา หรือ ประกาศนียบัตร
จะต้องให้ความรอบรู้
และสร้างนิสัย (character) ให้ด้วย
เมื่อหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ปฏิบัติภารกิจ
ในการดำเนินก่อดั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำเร็ตจลุล่วงตามวัตถุประสงค์แล้ว
ระยะแรกท่านยังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ
ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และในปีพุทธศักราช ๒๕๑๖
สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่อนุมัติให้ปริญญา
ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์)
ในฐานะเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยคุณวุฒิและความสามารถที่สูงส่ง
หม่อม หลวงปิ่น มาลากุล ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่น
เป็นบุคคลสำคัญระดับโลก ใน ๔ สาขา ได้แก่
สาขาการศึกษา วัฒนธรรม วรรณกรรม และการสื่อสารมวลชน
จากอวค์การศึกษาวิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)
และสำหรับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้ว
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ยังเป็นผู้มีคุณูปการ
และเป็นผู้วางรากฐานให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทำให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำมาจนถึงทุกวันนี้
(ภาพและข้อมูล จากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)