Custom Search

Nov 12, 2009

เชื่อมั่นนักออกแบบกราฟิกไทย กับ... สันติ ลอรัชวี

http://firstfruitdegreeshow2010.blogspot.com/

สันติ ลอรัชวี



http://www.designpaibonpai.com/2009/06/05-roles-of-graphic-designer/
http://www.designpaibonpai.com/2009/06/04-santi-lawrachawee/

เรื่องโดย : ฮักก้า ภาพโดย : ศิวกร เสนสอน
ที่มา :http://forums.212cafe.com/nokbook/board-3/topic-308.html


“นักออกแบบกราฟิกทุกคนอยากให้มี แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญ”
บางถ้อยคำของ สันติ ลอรัชวี แห่งแพรคทิเคิล สตูดิโอ
ผู้ริเริ่มกิจกรรมเชิญชวนนักออกแบบ
ส่งภาพถ่ายตัวเองพร้อมผลงานที่ออกแบบมาที่ http://thaigraphicdesigner.wordpress.com
กระทั่งพัฒนามาสู่นิทรรศการ
ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย ( I am a Thai Graphic Designer)
ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 3 -11 ตุลาคม พ.ศ.2552
ณ แกรนด์ ฮอลล์ ชั้น 1 สยามดิสคัฟเวอรี่
โดยมีหลายหน่วยงานให้การสนับสนุน ซึ่งกิจกรรมครั้งล่าสุด คือ
กิจกรรมที่ต่อยอดมาจากกิจกรรมครั้งก่อน
ที่เขาเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจส่งผล งานออกแบบตัวอักษร “ทรงพระเจริญ”
และออกแบบโปสเตอร์ Design (alone) Cannot Change (everything) มาร่วมนำเสนอผ่านนิทรรศการ
“ประเด็นของการจัดงานในครั้งนี้เป็นเรื่องของสถานะหรือ
ตัวตนของนักออกแบบกราฟิกที่มีอยู่จำนวนมากในประเทศนี้
และถือเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการขับเคลื่อน
เพราะมันเข้าไปสัมพันธ์กับงานแทบทุกประเภท
แต่บางครั้งเวลาที่ผมไปประชุมกับบางกระทรวง
กับงานที่เป็นโครงการขนาดใหญ่
ไม่มีคนให้ความสำคัญกับมันมากเท่าที่ควร
จนกว่าจะรู้ว่าต้องมีนะ ถึงจะเรียกไปใช้งาน
และการเรียกไปในบางครั้ง
นักออกแบบกราฟิกก็ทำอะไรได้ไม่มากเต็มศักยภาพ” 
ดังนั้นนอกจากผลงานออกแบบประโยคบอกเล่า ที่ว่า
“ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย” 
ที่แสดงตัวตนของนักออกแบบแต่ละคน
จะถูกนำมาแสดงผ่านจอพลาสม่า ให้ผู้สนใจได้ชม
ตลอดหลายวันของนิทรรศการยังพรั่งพร้อมไปด้วย
กิจกรรมด้านกราฟิกหลากหลาย เป็นต้นว่าการล้อมวงคุยในหัวข้อ
“คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า”
ที่อาจจะทำให้นักออกแบบกราฟิกหลายคนคิดเปลี่ยนใจเลิกเป็น
“คนในอยากออก”หรือแม้แต่คนที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพนี้
ก็ต้องให้ความสนใจ เพราะอย่างน้อยๆคุณก็จะได้รู้ว่า
นักออกแบบกราฟิกคืออะไร และสำคัญอย่างไร
“มันมีภาพสะท้อนว่าเราไม่มีนักออกแบบ
กราฟฟิกที่ทำอาชีพนี้ไปจนเกษียณ ต่างจากญี่ปุ่น
และต่างจากหลายประเทศ นั่นแสดงว่า
วิชาชีพนี้มันมีปัญหาไม่สามารถ ที่จะรักษาผู้ประกอบวิชาชีพ
ให้เดินไปจนสุดเส้นทางได้ บางทีก็จะเลิกไปก่อน
ไปทำอย่างอื่น มีน้อยคนมากๆที่จะเดินไปสุดทาง
นักออกแบบกราฟิกในไทยเก่งๆมีเยอะ
แต่เกษียณตัวเองไปเร็วกว่าที่ควร พออายุสี่สิบ
มีต้นทุนนิดนึงก็เปลี่ยนอาชีพ ไปเปิดรีสอร์ส ไปทำเสื้อขาย
เปลี่ยนอาชีพ ขยับกันไปหมด ทำให้ไม่มีบุคลากรที่จะเป็น
ปูชนียบุคคลคอยอุ้มชูคนอาชีพนี้ เราก็จะมานั่งคุยกันว่าปัญหาคืออะไร
ต้องการเปลี่ยนแปลงในระดับไหน”
ก่อนหน้านี้ผลงานออกแบบกราฟิก
“ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย”
ราวสองร้อยชิ้นที่เปิดให้ผู้สนใจส่งเข้ามานับตั้งแต่
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 โดยไม่มีข้อจำกัดว่า
จะต้องเป็นผลงานของผู้ที่มีอาชีพ เป็นนักออกแบบกราฟิก เท่านั้น
ได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านนิตยสาร Raw Mat ฉบับที่ 5 ในเครือ
บริษัท Antalis (Thailand) Limited ที่สันติเป็นบรรณาธิการ
และผลงานทั้งหมดที่เวลานี้มีมากกว่า 900 ชิ้น
เป็นสิ่งที่สันติกล่าวว่าสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือของคน
ที่มีความเกี่ยวข้องกับงานออกแบบกราฟิกอย่างชัดเจนที่สุด
และพอที่เป็นพลังขับเคลื่อนให้ใครต่อใครเชื่อมั่นในอาชีพนี้
“อาชีพนี้มีความพร้อมและมีตัวตนอยู่มาก พอสมควรในประเทศนี้
เพราะฉะนั้นคนอาจจะต้องหัน กลับมามองและให้บทบาทแก่เขา
อย่างที่ผมบอกว่า จริงๆแล้วงานกราฟิกดีไซน์
มีอยู่ในทุกอณูของงานทุกอย่าง ที่ผ่านมามันเหมือนกับว่าบางโครงการที่
เกิดขึ้นจะต้องมีเนื้องานก่อนคนถึง จะนึกถึงนักออกแบบกราฟิก
โอกาสที่จะมีส่วนช่วยคิดช่วยทำในระดับเริ่มต้น
อาจจะยังถูกมองข้าม มันก็เลยกลายเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง
ในการพัฒนาบุคลากรหรือตัววิชาชีพไปด้วย
ยกตัวอย่างเราอยากจะปรับกรุงเทพฯ
ให้เป็นเมืองแบบนั้นแบบนี้ เราอาจจะคิดกันเรียบร้อยแล้ว
เราถึงค่อยเรียกหานักออกแบบกราฟิก ให้นักออกแบบกราฟิก
บอกผู้คนยังไงดีว่ากรุงเทพฯ กำลังปรับตัว
ซึ่งจริงๆแล้วเราน่าจะมีศักยภาพมากกว่านั้น
ตรงที่ว่า มีส่วนร่วมในการปรับกรุงเทพฯ ได้ด้วย
ไม่ใช่เป็นเพียงผู้เอาข่าวกรุงเทพฯ
กำลังมีการปรับตัวมาบอกเล่า ถ้าสังคมให้การยอมรับหรือเชื่อมั่น
ในบทบาทของนักออกกราฟิก
อาชีพนี้ก็จะมีส่วนที่จะเข้าไปสนับสนุนหรือ
ผลักดันส่วนต่างๆของสังคมได้มาก ขึ้นกว่าทุกวันนี้”
และก่อนที่จะเข้าไปมีบทบาทสำคัญ
ในการผลักดันส่วนต่างๆของสังคมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นพวกเขาจึงต้องรวมตัวเพื่อแนะนำตัวเอง
ให้ทุกคนรู้จักก่อนว่าพวกเขาคือ ใคร?
ฉันเป็นนักออกแบบกราฟิกไทย
(I am a Thai Graphic Designer)