เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Nov 28, 2009
พระพุทธจริยาวัตร60ปาง ปางโปรดยสะ
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน
วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ความ จริงพระพุทธรูปปางโปรดยสะ ไม่มีเรียกดอก
ส่วนมากจะเรียกว่า ปางภัตตกิจ คือ
ปางเสวยพระกระยาหาร คือ เสวยภัตตาหาร
ที่บ้านบิดามารดาของยสะกุลบุตร
การบวชของยสะกุลบุตรนั้น
ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายรวดเร็ว
เพราะหลังจากยสะมาบวช สหายของท่านและบริวาร
ตามมาบวชด้วย จนเกิดมีพระอรหันต์สาวกขึ้น
จำนวนทั้งหมด 60 รูป ชั่วระยะเวลาไม่นาน
ยสะ เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี ชื่อเสียงเรียงไรไม่บอกไว้
มารดาของท่านนั้น คัมภีร์อรรถกถาว่าได้แก่นางสุชาดา
บุตรีแห่งนายบ้านอุรุเวลาเสนานิคมที่พุทธคยาโน่นแหละครับ
ไปยังไงมายังไงสุชาดาสาวสวยแห่งอุรุเวลาเสนานิคม
ซึ่งอยู่คนละเมืองกับพาราณสี ได้มาอยู่ที่พาราณสี
ดูเหมือนผมได้สันนิษฐาน (คือเดา) ไว้แล้วในที่อื่น จะไม่เขียนไว้ในที่นี้
เอาเป็นว่า นางเคยบนเทพที่ต้นไทรไว้ว่า ถ้าได้บุตรชายจะมาแก้บน
บนตั้งแต่ยังไม่แต่งงาน ต่อมาได้แต่งงาน (เดาเอาว่า)
กับเศรษฐีเมืองพาราณสี แล้วได้มาอยู่กับตระกูลสามี
มีลูกโตเป็นหนุ่มแล้ว เพิ่งนึกได้ว่าบนไว้ จึงกลับมาแก้บน
(ตอนที่เอาข้าวมธุปยาสไปถวายพระโพธิสัตว์นั้นแหละครับ)
แก้บนแล้วก็คงกลับเมืองพาราณสี
คืนวันหนึ่งลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของ เศรษฐีและคุณนายสุชาดา
ตื่นขึ้นมากลางดึก เห็นภาพเหล่าสตรีที่มาประโคมดนตรี ฟ้อนรำ
สร้างความสุขสนุกสนานให้ตามที่เคยปฏิบัติมา
นอนหลับมีอาการแปลกๆ เช่น บางนางก็นอนกรนเสียงดัง
น้ำลายไหล บางนางก็กัดฟันกรอดๆ ละเมอไม่เป็นส่ำ
บางนางผ้านุ่งห่มหลุดลุ่ย ปรากฏแก่ ยสะ
ดุจ "ซากศพในป่าช้า" ว่ากันอย่างนั้น
ยสะเห็นแล้วก็สลดสังเวชใจ เบื่อหน่ายเต็มที่
ถึงกับเปล่งอุทานว่า อุปัททูตัง วะตะ โก อุปสัฏฐัง วะตะ โก
ท่านแปลได้ความกระชับว่า
"ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ"
ทนดูต่อไปไม่ไหว จึงเดินลงจากคฤหาสน์กลางดึก
ไม่มีจุดหมายครับ แล้วแต่เท้าจะพาไป
เข้าไปยังป่าอิสิปตนะมฤคทายวันโดยไม่รู้ตัว
ขณะนั้นก็จวนสว่างแล้ว ประมาณตีสี่
พระพุทธองค์ตื่นบรรทม เสด็จจงกรมอยู่
ยสะผู้เบื่อโลกก็อุทานมาตลอดทางว่า
"ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ"
พระ พุทธองค์ตรัสว่า "อิทัง อะนุปัททูตัง อิทัง อะนุปะสัฏฐัง
= ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มานี่สิ เราจะแสดงธรรมให้ฟัง"
หนุ่มยสะผู้เบื่อโลก พลันสะดุ้งตื่นจากภวังค์
จึงถอดรองเท้า เข้าไปกราบถวายบังคม
แล้วนั่งเจี๋ยมเจี้ยม ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
พระพุทธองค์ตรัสเทศนา อนุปุพพิกถา
เป็นการปูพื้นให้ยสะก่อนแล้ว ตามด้วยอริยสัจสี่ประการโดยพิสดาร
เมื่อจบพระธรรมเทศนา
ยสะดวงตาเห็นธรรม คือ บรรลุโสดาปัตติผล
ขอแวะตรงนี้นิดหน่อย อนุปุพพิกถา คือ
การแสดงธรรมที่ลึกลงไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่เรื่องง่ายๆ
แล้วก็ลึกลงไปเรื่อยๆ ง่ายๆ ที่ว่านี้คือง่ายที่คนทั่วไปจะทำได้ คือ
เริ่มด้วยทาน (การให้) ศีล (ความประพฤติที่ดีงาม)
สัคคะ (เรื่องสวรรค์ ความสุขที่พึงได้ด้วยการให้ทานรักษาศีล)
กามาทีนวะ (โทษของกามคุณ)
และเนกขัมมะ (การไม่หมกมุ่นในกามารมณ์)
เมื่อปูพื้นดังนี้แล้ว ก็ทรงแสดงอริยสัจครบวงจร เป็นอย่างไร
ดูเหมือนได้เล่าไว้แล้วในตอนโปรดปัญจวคีย์
กล่าวถึงมารดาบิดาของยสะ เมื่อลูกหายไป
จึงตามมาจนถึงป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน พบพระพุทธองค์
ได้ฟังธรรมจากพระองค์ ขณะที่ยสะเองก็นั่งฟังอยู่ด้วย
แต่พ่อแม่ลูกมองไม่เห็นกัน เพราะอิทธาภิสังขาร
(การบันดาลฤทธิ์ของพระพุทธองค์ ไม่ต้องการให้เห็นกัน)
ขณะพ่อแม่ฟังธรรมอยู่ ยสะก็ส่งกระแสจิตไปตามพระธรรมเทศนานั้นด้วย
เมื่อจบพระธรรมเทศนา พ่อแม่ของยสะดวงตาเห็นธรรม
ถวายตนเป็นอุบาสก อุบาสิกา
ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
ยสะได้บรรลุพระอรหัตตผล
หลังจากนั้นพระองค์ทรงคลายฤทธิ์ สามพ่อแม่ลูกพบหน้ากัน
ท่านเศรษฐีกล่าวกับยสะว่า ลูกรักตอนลูกหายไป
มารดาเจ้าร้องไห้รำพันถึงเจ้าอยู่ จงกลับบ้านเถอะ
พระพุทธองค์ตรัสว่า บัดนี้ยสะบรรลุอรหัตตผลแล้ว
ไม่สมควรครองเรือนอีก
มีแต่จะบวชครองสมณเพศต่อไป
เศรษฐีกราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้นก็เป็นลาภอันประเสริฐของข้าพระองค์ทั้งสอง
แล้วทูลอัญเชิญพระพุทธองค์
ไปเสวยภัตตาหารที่บ้านตนในวันรุ่งขึ้น
นี้คือที่มาของ ปางภัตตกิจ ทำไมต้องเน้นช่วงนี้
ก่อนหน้านี้พระองค์มิได้เสวยภัตตาหารหรือ เสวยครับ
หลังตรัสรู้ ก็ได้เสวยสัตตุผง สัตตุก้อน
จากพ่อค้าสองพี่น้อง และจากที่อื่นด้วย
แต่การเสวยภัตตาหารที่คฤหาสน์เศรษฐีนี้
เป็นกิจนิมนต์เป็นกิจลักษณะ
เป็นครั้งแรกหลังจากเสด็จออกประกาศพระพุทธศาสนา
ครูบาอาจารย์กล่าว ว่า ประเพณีนิมนต์พระสงฆ์และพระบวชใหม่ไปฉันที่บ้าน
อันเรียกว่า ทำบุญฉลองพระใหม่
ที่ชาวพุทธไทยนิยมกระทำกันมานั้น
มาจากพุทธประวัติตอนนี้เอง
ว่ากันอย่างนั้น
อ้อ ลืมไป สองสามีภรรยา บิดามารดาท่านยสะเป็นอุบาสก
อุบาสิกาคู่แรกที่ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะนะครับ
ก่อนนั้นพ่อค้าสองพี่น้อง
ถึงพระพุทธกับพระธรรมเป็นสรณะเท่านั้น
หน้า 6