เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Nov 21, 2009
พระพุทธจริยาวัตร60ปาง ปางโปรดปัญจวัคคีย์ (ต่อ)
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน
วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาเรื่องอริยสัจสี่
แก่ปัญจวัคคีย์ อดีตศิษย์เก่าให้ฟัง
มีขั้นตอนสรุปได้ ดังนี้
1.ขั้นตอนที่หนึ่ง ตรัสถึงทางที่ไม่ควรดำเนิน
หรือข้อปฏิบัติที่ไม่ควรปฏิบัติ 2 ทาง คือ
(1) การหมกมุ่นอยู่ในกาม หรือ
การแสวงหาความสุขทางเนื้อหนัง
ดังลัทธิ "โลกายัต" (ลัทธิวัตถุนิยม) ในสมัยนั้น
(2) การทรมานตนด้วยตบะวิธีต่างๆ
สองทางนี้พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "อันตะ"
(ทางตัน หรือ extreme) ไม่นำไปสู่ความสิ้นทุกข์
2. ขั้นตอนที่สอง ทรงแสดงทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)
ได้แก่ อริยมรรค มีองค์แปด คือ
สัมมาทิฐิ (เห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ตั้งใจมั่นชอบ)
3.ขั้นตอนที่สาม ทรงแสดงอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ครบวงจร
ถามว่าแสดงอย่างไร ที่ว่าครบวงจร?
คือ ทรงแสดงว่าพระองค์ได้ตรัสรู้อริยสัจสี่ประการ
ทรงบรรลุญาณทั้ง 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ
ครบตามลำดับ และ
"ญาณ" ที่ว่านี้คืออะไรครับ?
คืออย่างนี้ครับ การรู้ว่ามันคืออะไร นี้เรียกว่า
สัจจญาณ (รู้สภาพที่แท้จริงของมัน)
การรู้ว่า จะต้องทำอะไรกับมัน
จะจัดการอย่างไรกับมัน นี้เป็นกิจจญาณ (รู้กิจพึงกระทำ)
การรู้ว่า หลังจากทำแล้วเกิดผลอะไรตามมา นี้เป็นกตญาณ
(รู้ว่าได้ทำแล้ว ได้ผลแล้ว)
สำหรับในอริยสัจสี่นี้ ขั้นตอนของญาณทั้ง 3 มีดังนี้
(1) ทุกขสัจ ก็ทรงรู้ว่า นี้คือทุกข์ เป็นขั้นสัจจญาณ
ทุกข์นี้ พึงกำหนดรู้ เป็นขั้นกิจจญาณ ทุกข์นี้
เรากำหนดรู้แล้ว เป็นขั้นกตญาณ
(2) สมุทัยสัจ ก็ทรงรู้ว่า นี้สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์)
เป็นขั้นสัจจญาณ สมุทัยนี้ พึงละ เป็นขั้นกิจจญาณ สมุทัยนี้
เราละได้แล้ว เป็นขั้นกตญาณ
(3) นิโรธสัจ ก็ทรงรู้ว่า นี้นิโรธ (ความดับทุกข์)
เป็นขั้นสัจจญาณ นิโรธนี้ พึงทำให้แจ้ง เป็นขั้นกิจจญาณ
นิโรธนี้ เราทำให้แจ้งแล้ว เป็นขั้นกตญาณ
(4) มรรคสัจ ก็ทรงรู้ว่า นี้มรรค (ทางดับทุกข์)
เป็นขั้นสัจจญาณ มรรคนี้ พึงพัฒนา เป็นขั้นกิจจญาณ มรรคนี้
เราได้พัฒนาแล้ว เป็นขั้นกตญาณ
สรุป แล้ว ทรงแสดงว่าพระพุทธองค์ทรงรู้อริยสัจข้อละ 3 ขั้นตอน
รวมเป็น 12 (3 x 4 = 12)
นี่แหละที่ท่านเรียกว่า
"รู้อริยสัจสี่อันมี 3 รอบ 12 อาการ (องค์ประกอบ)"
รู้ครบวงจรอย่างนี้ จึงทำให้กิเลสหมดไปได้โดยสิ้นเชิง
เพราะมิใช่การท่องได้จำได้
อย่างที่เราท่านรู้อยู่ในปัจจุบัน
4. ขั้นตอนที่สี่ (ความจริงเป็นการสรุปว่าเกิดอะไรขึ้นหลังทรงแสดงอริยสัจ)
เมื่อพระพุทธองค์แสดงธรรมจบลง
โกณฑัญญะ หัวหน้าปัญจวัคคีย์ ก็เกิด
"ดวงตาเห็นธรรม" คือ เข้าใจความจริงที่ว่า
"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมดับไปเป็นธรรมดา"
พระท่านว่ารู้เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงนั้นแหละครับ
การรู้ระดับนี้ได้เลื่อนขั้นจากปุถุชนเป็น
พระอริยบุคคลขั้นต้น (พระโสดาบัน) เลยทีเดียว
พระพุทธองค์ทรงได้พยานบุคคล
ในการตรัสรู้ของพระองค์แล้ว
ทรงเปล่งพระพุทธอุทานว่า
อัญญาสิ วะตะ โก โกณฑัญโญ ซ้ำสองหน
(ขอเขียนแบบไทยก็แล้วกัน แปลว่า
โกณฑัญญะ รู้แล้วหนอๆ)
จากนั้นโกณฑัญญะทูลขอบวช
พระพุทธองค์ประทานอุปสมบทให้
โดยวิธีง่ายๆ เพียงตรัสว่า
"จงมาเป็นภิกษุเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว
จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สิ้นสุดทุกข์ โดยชอบเถิด"
การบวชแบบนี้ เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
ตั้งแต่นั้นมา คำว่า "อัญญา" ในคำ "อัญญาสิ"
ได้กลายเป็นต้นชื่อของท่าน ใครๆ ก็เรียกท่านว่า
อัญญาโกณฑัญญะ แต่นั้นมา พระ อัญญาโกณฑัญญะ
ได้เป็นพระสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า
เหตุการณ์ในวันนั้น ต่อมาได้กลายเป็นต้นกำเนิดของ
วันอาสาฬหบูชาของชาวพุทธมาจนกระทั่งบัดนี้
ตอนท้ายๆ ผู้รวบรวมพระไตรปิฎกได้กล่าวว่า
เหล่าเทวดาตั้งแต่ภุมมเทวดาได้ป่าวประกาศ
ให้รู้กันไปทั่วจนถึงชั้นพรหม
ว่าพระพุทธองค์ทรงหมุนกงล้อธรรม
ชนิดที่ไม่ว่าใครหน้าไหนจะหมุนกลับได้
ปรากฏแสงสว่างไปทั่วจักรวาลหาประมาณมิได้
ยิ่งกว่าอานุภาพเทวดาบันดาลเสียอีก
ผมขอนำคำแปล ธัมมจักกัปปวัตนสูตรมาให้อ่านกัน
เพื่อประดับสติปัญญาและแนวทางปฏิบัติกันครับ เป็น
พระสูตรสั้นๆ แต่ครอบคลุมคำสอนของพระพุทธองค์ทั้งหมด
ว่าไปทำไม มีคำสั่งสอนทั้งหลายที่
พรั่งพรูออกจากพระโอษฐ์ในเวลาต่อมา
ดังที่บันทึกไว้เป็นพระไตรปิฎก 45 เล่มสมุด
หนาถึง 22,390 หน้า ก็ขยายจากพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกนี้แล
คำแปลธัมมจักกัปปวัตนสูตร ข้าพเจ้า (พระอานนท์) สดับมาดังนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ตรัสแก่ปัญจวัคคีย์ว่า
มีทางตัน 2 ทาง ที่บรรชิตไม่พึงดำเนิน คือ
(1) การหมกมุ่นในกามารมณ์ อันเป็นสิ่งเลวทราม
เป็นเรื่องของชาวบ้าน ของปุถุชน (คนมีกิเลสหนา)
ไม่ประเสริฐ และไม่มีประโยชน์
(2) การทรมานตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์
ไม่ประเสริฐ และไม่มีประโยชน์ ตถาคต (คือพระพุทธเจ้า)
ค้นพบทางสายกลาง ที่ไม่ข้องแวะเกาะเกี่ยวทางตัน 2 อย่างนั้น
เป็นทางที่ทำให้มองเห็นและรู้ความจริงอันสูงสุด
เป็นไปเพื่อความสงบ ความรู้ยิ่ง และความดับกิเลสได้สนิท
ทางสายกลางนั้นคือเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ
อาชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ
ทุกข์คือความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก
ความคร่ำครวญ ความน้อยใจ ความคับแค้นใจ
การประสบสิ่งไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก
การไม่ได้ดังปรารถนา โดยสรุป ขันธ์ 5 อันเป็นเหตุ
ให้ยึดมั่นถือมั่นนี้แหละเป็นทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ คือ ตัณหา 3 ชนิด
ที่เป็นตัวสร้างภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนดยินดี
เป็นตัวทำให้ติดเพลินในเรื่องต่างๆ คือ
กามตัณหา (อยากได้ อยากมี อยากเป็น)
ภวตัณหา (อยากให้สิ่งที่ได้ ที่มี ที่เป็น คงอยู่นานๆ)
วิภวตัณหา (อยากหนี หรือสลัดภาวะที่ไม่ชอบใจ)
ความดับทุกข์ คือ ความดับตัณหา 3 ชนิดนั้นโดยไม่เหลือ
ความสลัดทิ้งไป ความสละคืน ความหลุดพ้น
ความไม่มีเยื่อใยใดๆ ทางดับทุกข์ คือ อริยมรรคมีองค์แปด ได้แก่
เห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ
พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจมั่นชอบ เรา เกิดการหยั่งรู้
ความรู้ทั่วถึง ความรู้แจ้ง ความสว่าง
ในสิ่งที่เราไม่เคยได้สดับมาก่อนว่า นี้ทุกข์
ทุกข์นี้ควรกำหนดรู้ตามความเป็นจริง และทุกข์นี้เราได้รู้แล้ว
นี้เหตุเกิดทุกข์ เหตุเกิดทุกข์นี้ควรละ และเหตุเกิดทุกข์นี้เราละได้แล้ว
นี้ความดับทุกข์ ความดับทุกข์นี้ควรทำให้แจ้ง
และความดับทุกข์นี้ เราทำให้แจ้งแล้ว นี้ทางดับทุกข์
ทางดับทุกข์นี้ควรทำให้เจริญ ทางดับทุกข์นี้เราทำให้เจริญแล้ว
ตราบใดการรู้เห็นตามเป็นจริง
ในอริยสัจ 4 อันมี 3 รอบ 12 อาการนี้
ยังไม่ชัดแจ้ง ตราบนั้นเรายังไม่ประกาศยืนยันว่า
เราได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
ต่อเมื่อการรู้เห็นนั้นชัด แจ้ง เราจึงกล้าประกาศยืนยัน
ท่ามกลางเหล่าหมู่สัตว์ อันประกอบด้วย สมณะ
พราหมณ์ มนุษย์ เทวดา มาร และพรหม
การรู้เห็นนั้นเกิดขึ้นแก่เราจริง
การหลุดพ้นนั้นเป็นของแท้จริง ชาตินี้เป็นหนสุดท้าย
ไม่มีภพใหม่อีกต่อไป เมื่อ พระพุทธเจ้าตรัสจบ
พระปัญจวัคคีย์ชื่นชมภาษิตของพระองค์
โกณฑัญญะได้ "ดวงตาเห็นธรรม" เป็นการรู้เห็นแจ่มกระจ่างว่า
"สรรพสิ่งมีการเกิดขึ้น และดับไปเป็นธรรมดา"
เมื่อพระพุทธองค์ ทรงหมุนกงล้อธรรมแล้ว
เหล่าภุมมเทวดาร้องบอกต่อกันว่า
พระพุทธเจ้าทรงหมุนกงล้อธรรม
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันแล้ว
ไม่มีใครหมุนกลับได้ ไม่ว่าสมณะ พราหมณ์ มาร
หรือพรหม แล้วก็บอกต่อๆ กันไปจนถึงพรหมโลก
หมิ่นโลกธาตุ สะเทือนสะท้านหวั่นไหว
ปรากฏแสงสว่างไปทั่วโลก หาประมาณมิได้
ยิ่งกว่าอานุภาพเทวดาบันดาลเสียอีก
พระพุทธองค์ทรงเปล่งพุทธอุทานว่า
"โกณฑัญญะ รู้แล้วหนอๆ" ดังนั้น
โกณฑัญญะจึงได้นามต่อมาว่า
อัญญาโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล
หน้า 6