คอลัมน์ "อาทิตย์"
ชุติมา สุวรรณเพิ่ม
ฉบับวันที่ 3 ต.ค. 47
"บัณฑิต อึ้งรังษี" วาทยากรไทยบนเวทีโลกความพยายามเอาชนะเพื่อจะทำให้ชื่อเสียงประเทศไทย ไม่น่าจำกัดอยู่เพียงแค่วงการกีฬาเท่านั้นเพราะเมื่อมองไปที่วงการดนตรีคลาสสิกก็พบว่ายังมีชายหนุ่มคนหนึ่งได้นำชื่อเสียงมาสู่บ้านเกิดเมืองนอนด้วยการทำในสิ่งที่ตนรักอย่างมุ่งมั่นอยู่ทุกวินาที
"ต้น" บัณฑิต อึ้งรังษี หนุ่มวัย 34 ปีเขาคือวาทยากรผู้ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
ซึ่งสื่อต่างประเทศอย่างหนังสือพิมพ์ เดอะ ลอส แอนเจลิส ไทม์
ได้ตีพิมพ์บทความกล่าวถึงเขาว่า
"เขาบัญชาการด้วยความสุขุมและมั่นใจ...และแสดงออกอย่างหน้าตื่นตาตื่นใจ
บนโพเดียม...การอ่านตัวโน้ตเป็นไปอย่างไม่รีบเร่งแต่ชัดเจน
แนวทางการแสดงเป็นไปโดยความแม่นยำและละเอียดทุกตัวโน้ต
แม้กระทั่งพลังที่นุ่มนวลแผ่วเบา"
ด้านหนังสือพิมพ์ เดอะ ชาร์ลสตัน โพสต์ แอนด์ คูเรีย กล่าวถึงวาทยากรชาวไทยคนนี้ว่า
"แสดงให้เห็นถึงสัมผัสที่นุ่มนวล...เป็นผู้นำการแสดงที่ยอดเยี่ยม
โครงสร้างของการขับเดลื่อนจังหวะการควบคุมพลังและความแม่นยำเป็นเลิศ...
นำการแสดงอย่างตื่นเต้นเร้าใจจนทำให้ผู้ชมแทบลืมหายใจ...การอ่านโน้ตตั้งแต่ต้นจนจบ
เต็มไปด้วยสัมผัสอันเงียบสงบที่สามารถรับรู้ได้ถึงรายละเอียดทั้งหมด"
ปกติบัณฑิตมีโอกาศกลับเมืองไทยเพียงปีละครั้ง เพราะงานของเขาอยู่ที่นิวยอร์กและ
ในยุโรป ต้องรอช่วงซัมเมอร์จึงจะได้กลับมาเยี่ยมบ้านกันสักที
แต่ปีนี้นับว่าเป็นปีที่พิเศษสุดๆเพราะเขาได้กลับมาเมืองไทยถึงสองครั้งสองครา
โดยครั้งแรกเดือน ส.ค.
บัณฑิตได้รับเชิญจากรัฐบาลไทยให้มาเป็นผู้อำนวยเพลง
ในคอนเสิร์ตการกุศลเทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
และในเดือน ต.ค.เข้าได้กลับบ้านอีกเป็นครั้งที่สอง
โดยในค่ำคืนวันที่ 3 ต.ค. นี้ บัณฑิตจะเป็นผู้อำนวยเพลงในคอนเสิร์ต
"เดอะ พาวเวอร์ ออฟ คลาสสิก" โดยบรรเลงร่วมกับวงดนตรีระดับโลกจากประเทศอิตาลี
ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตเทิดพระเกียรติอีกครั้งหนึ่ง ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
"อาชีพผมต้องบินไปมาระหว่างอเมริกากับยุโรป แต่โดยส่วนใหญ่ผมจะอยู่อเมริกา
เพราะต้องทำงานให้กับวงนิวยอร์กฟิลฮาร์โมนิค ออเคสตร้า
ซึ่งผมมีสัญญากับวงโดยจะได้รับเชิญไปเล่นปีละ 4-5 ครั้ง
จะต้องเดินทางอย่างต่ำสามเดือนสี่ทวีป...เกือบทั่วโลกแล้วครับ
แต่ปีนี้ก็ขอยึดเอาเมืองไทยเป็นหลัก"
วาทยากรผู้มีชื่อเสียงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยรอยยิ้ม
บัณฑิต อึ้งรังษี คือคนไทยเพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกเข้าเป็นวาทยากรร่วม
ในวงออเคสตร้าระดับโลก "นิวยอร์กฟิลฮาร์โมนิค ออเคสตร้า"
(New York Philharmonic Ocrestra)
โดยเขาจะได้ไปร่วมแสดงทั้งในประเทศอิตาลี เกาหลี และในกรุงเทพฯ
สำหรับการแสดงในปี 2545-2547 จากการที่เขาได้รับการเสนอชื่อ
ให้รับรางวัลเกียรติยศและเป็นผู้ชนะร่วมกับวาทยากรสาวจากจีน
ในการแข่งขันวาทยากรระดับโลก (Maazel-vilar International
Conducter's Compettition)ซึ่งจัดขึ้นที่คาร์เนกีฮอลล์(Carnegie Hall)
ในนครนิวยอร์ก การแข่งขัน The Maazel-Vilarนี้ถือเป็น
โอลิมปิกของวงการดนตรีเลยทีเดียวรางวัลดังที่รู้จักในฐานะวาทยากรหนุ่ม
ระดับแนวหน้าของโลก
บัณฑิตเป็นชาวอำเภอหาดใหญ่ แววความสามารถทางดนตรีเริ่มฉายตอนอายุ 13 ปี
จากการเรียนกีตาร์คลาสสิก แล้วโลกของบัณฑิตก็ได้เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อเขาชมการแสดงคอนเสิร์ตของวง New York Philharmonic Ocrestra
ซึ่งมาเปิดการแสดงที่กรุงเทพฯเมื่อสิบสามปีที่แล้ว
ตั้งแต่นั้นมาเขาก็มีความใฝ่ฝันอยากเป็น "วาทยากรที่มีชื่อเสียงของโลก"ให้ได้"
วงดนตรีวงนี้มีชื่อเสียงก้องโลกแล้วมีวาทยากรฝีมือฉกาจระดับ 1 ใน 3 ของโลก
ชาวอินเดียชื่อ สุบิน เมห์ธา ทำหน้าที่อำนวยเพลง
สิ่งที่ได้ฟังได้เห็นก็เหมือนมาจุดประกายความฝันของเราได้ทันที
"ผมอยากทำชื่อเสียงให้กับประเทศชาติแบบชาวอินเดียคนนั้นบ้าง
ความฝันนี้น่าจะเป็นไปได้เพราะอินเดียก็ไม่ต่างจากเรา
ทางด้านพื้นฐานเพลงคลาสสิกซึ่งก็ไม่ดีนัก แล้วสุบินก็เกิดเติบโตมาในประเทศอินเดีย
ไม่ใช่คนที่ไปเรียนไปโตในเมืองนอก
การที่เขาก้าวขึ้นมาในระดับนี้ได้จึงเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมาก แล้วผมก็ตั้งเป้าหมายไว้ด้วยว่า
ถ้าจะเป็นวาทยากร จะไม่ทำอาชีพนี้แค่อำนวยเพลงได้ แต่ผมจะก้าวขึ้นสู่อันดับหนึ่งให้ได้"
คำกล่าวมุ่งมั่นของคนพูดทำเอาคนฟังอึ้งเลยทีเดียว
ความฝันของบัณฑิตจึงเริ่มจากจุดนี้ ตอนนั้นเขาอายุ 18 ปี
ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปี 2 ซึ่งแน่นอนว่าครอบครัวของเขาซึ่งประกอบ
อาชีพนักธุรกิจจะต้องทัดทานอย่างแน่นอน กับอาชีพคอนดักเตอร์หรือวาทยากร
ซึ่งคนไทยไม่คุ้นเคยเอาเสียเลย
"ผมจึงต้องโน้มน้าวคุณพ่อคุณแม่ด้วยวิธีสารพัดเพื่อให้ท่ายยอม
โดยการขอไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อที่บ้านมีธุรกิจส่วนตัวเรา
จึงเลือกเรียนสาขาบริหารธุรกิจ ส่วนอีกด้านก็คือ สาขาดนตรี"
บัณฑิตบอกว่าเป็นหนึ่งช่วงชีวิตที่เหนื่อยและหนักหน่วงมากๆ
จากชีวิตที่เป็นคนสบายๆ ไม่ค่อยจะมีระเบียบแบบแผนอะไรมากมายนัก
ต้องเปลี่ยนตัวเองให้มีระเบียบวินัยสูง จัดตารางชีวิตของตัวเองให้ได้
แล้วจิตใจยังต้องขวนขวายอย่างสูงด้วยคาถาที่ใช้ได้เสมอ เขาบอกว่า ก็คือ
"ต้องทำงานให้มากกว่าคนอื่น" แล้วความมุ่งมั่นของเขาก็ได้พิสูจน์ด้วยการคว้า
ปริญญาตรีมาได้พร้อมกันทั้ง 2 ใบ จากมหาวิทยาลัยวอลลองกอง (Wollongong)
ประเทศออสเตรเลียจากนั้นได้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาวาทยากร
จากมหาวิทยาลัยแห่งมิชิแกน สหรัฐอเมริกา
จากนั้นการตระเวณเก็บสะสมรางวัลจึงเริ่มต้นขึ้น
ในเดือน ก.ย. 2542 บัณฑิตชนะการแข่งขัน"วาทยากรรุ่นเยาว์ระดับนานาชาติ"
ซึ่งจัดประจำทุกปี ณ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ต่อมาในปี 2545
เขาได้อันดับสี่จากผู้เข้าแข่งขัน 37 คน จาก 20 ประเทศ
ในการแข่งขัน The Hungarian TV-Radio International Conducter
Competition ณ กรุงบูดาเปสต์ และชัยชนะจากการแข่งขัน Maazel-vilar
เมื่อปีที่ผ่านมา เป็นการยืนยันได้ว่า เขาคือวาทยากรหนุ่มที่ฝีมือยอดเยี่ยมระดับในโลก
ดังกล่าว"ในยุโรปมึเวทีการแข่งขันวาทยากรที่ไหน เวทีนั้นจะต้องมีชื่อผม
แน่นอนครับว่าเราเป็นคนไทยเพียงคนเดียว แต่ผมรู้ว่าตัวเองต้องทำได้
เชื่อมั่นว่าต้องได้รางวัล การเล่นดนตรีเป็นอาชีพที่เครียดมากนะ
เพราะจะต้องซ้อมทุกวัน แล้ววาทยากรต้องนำนักดนตรีเป็นร้อยคน
พอเริ่มซ้อมเราก็จะได้ยินเสียงนาฬิกาเริ่มเดินดังติ๊กๆๆ แล้ว
เพราะนักดนตรีอาชีพแต่ละคนค่าตัวจะสูงมาก(บอกพร้อมเสียงหัวเราะ)
คนเป็นวาทยากรจึงมีหลายเรื่องให้คิด นอกจากจะต้องควบคุมวงแล้ว ต้องจัดเวลาให้เป็น
เมื่ออยู่หน้าเวทีจึงต้องใช้ทั้งพลังและสมาธิสูงมาก" บัณฑิตบอกเล่า
ทางด้านอาชีพวาทยากร เขาได้ร่วมเป็นวาทยากรร่วมกับ Charleston Symphony
Ocrestra ในเดือน ก.ย. 2543 ตำแหน่งก่อนหน้านี้ได้แก่ วาทยากรร่วมกับ Utah
Symphony ตำแหน่งผู้อำนวยเพลงการเพลงและวาทยากรของ Young Musician
Foundation (YMF) Ocretraในนครลอสแองเจลิส
วาทยากรฝึกหัดที่ The Oregon Symphony ภายใต้การควบคุมวงของ
James DePriestและวาทยากรผู้ช่วยที่ Santa Rosa Symphony
บัณฑิตถือว่าเป็นแรงบันดาลใจคือกลุ่มบรรดาครูผู้ฝึกสอนซึ่งได้แก่ศิลปินในระดับโลก
เช่นJorma Paluna และ Maestro Lorin Maazel
และเขาได้รับปริญญาโทสาขาวิชาวาทยากรจาก University of Michigan
ภายใต้การฝึกสอนของ Gustav Meier และ Kenneth Kiesler
ในส่วนของศิลปินระดับโลกที่บัณฑิตเคยร่วมงาน อาทิ The LaBeque Sister, Paula
Robinson, Christopher Parkening, Bernstein
รวมถึงเป็นหนึ่งในสมาชิกของ Los Angeles Philharmonic Ocretra
ประสบการณ์มาพร้อมกับรายได้ที่งดงาม
บัณฑิตพูดถึงเรื่องนี้ให้ฟังว่า สำหรับวาทยากรไทยรุ่นต่อไปที่อยากจะก้าวขึ้น สู่ระดับโลก
เขาก็ขอฝากไว้ว่า ถ้าใครคิดจะก้าวมาถึงจุดนี้ได้
ข้อแรกจะต้องมีพื้นฐานเป็นนักดนตรีที่ดี
มีพรสวรรค์เล่นดนตรีเก่ง แล้วจะต้องมี "หู"ที่ดี "มีรสนิยม"ที่ดี
จึงต้องผ่านประสบการณ์การฟังมามากพอสมควรจนสามารถแยกแยะได้ว่า
เพลงที่ฟังมีความไพเราะหรือไม่
ข้อสองศิลปะในการใช้ไม้นำคนเกือบร้อยคนนั้นลึกซึ้งมาก
วาทยากรจึงจะต้องมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงทำให้คนเชื่อถือได้
เพียงถ้าวาทยากรไม่มีความเชื่อมั่นครั้งเดียวเมื่อขึ้นไปยืนหน้าเวที
ก็จะสูญเสียอำนาจการควบคุมวงไปเลย!!
การก้าวสู่อันดับโลกไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับคนไทยตัวเล็กๆ ดั่งเช่น บัณฑิต อึ้งรังษี
30 วิธีเอาชนะโชคชะตา (THE LUCKIEST MAN IN THE WORLD)
ผู้แต่ง :บัณฑิต อึ้งรังษี
ราคา :175 บาท
กฎข้อที่ 1 คนโชคดี รู้ว่า “ โชค ” สามารถเปลี่ยนแปลงได้
กฎข้อที่ 2 คนโชคดีเชื่อว่า ตัวเขาเองสามารถเปลี่ยนแปลงโชคนั้น ได้
กฎข้อที่ 3 รู้จัก กฎพ่อ และกฎแม่ แห่งโชคลาภ
กฎข้อที่ 4 จงเคารพ กฎแห่ง เหตุและผล (กฎพ่อ แห่งโชคลาภ)
กฎข้อที่ 5 จงบูชา กฎแห่งแรงดึงดูด (กฎแม่แห่งโชคลาภ)
กฎข้อที่ 6 กำจัด ความเชื่อที่จำกัด
กฎข้อที่ 7 ทำตัวเป็น หมอดูที่แม่นที่สุดในโลก
กฎข้อที่ 8 คนโชคดี ตัดสินใจ ไขว่คว้าหาโชค
กฎข้อที่ 9 คนโชคดี ลงมือทำวันนี้
กฎข้อที่ 10 รู้จัก องค์ประกอบของโชค
กฎข้อที่ 11 เพิ่มโอกาส โดยลองสิ่งแปลกใหม่
กฎข้อที่ 12 เพิ่มโอกาส โดยการเอาตนเองเข้าไปอยู่ในหนทางของโอกาส
กฎข้อที่ 13 เพิ่มโอกาส โดยการเพิ่มคุณค่าของตนเอง
กฎข้อที่ 14 เพิ่มโอกาส โดยการออกไปเจอคน
กฎข้อที่ 15 คบคนพาล พาลพาไปหาผิด
กฎข้อที่ 16 เพิ่มโอกาส โดยการเอาประโยชน์ให้มากที่สุดจากสถานการณ์ปัจจุบัน
(ที่ไม่ดีนัก)
กฎข้อที่ 17 เตรียมความพร้อม สำหรับโอกาสที่กำลังจะมา เสมอ
กฎข้อที่ 18 เข้าใจว่า “โชคส่วนใหญ่ของคุณ จะมาจากคนอื่น.....”
กฎข้อที่ 19 เป็น “คนเก่งทางด้านมนุษยสัมพันธ์”
กฎข้อที่ 20 ช่วยเหลือผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน
กฎข้อที่ 21 สร้างชื่อเสียงที่ดี
กฎข้อที่ 22 อย่าหาโชคที่การพนัน
กฎข้อที่ 23 อย่าแสวงโชคที่ล๊อตเตอรี่
กฎข้อที่ 24 อย่ามีศัตรู (ไม่ว่าโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ)
กฎข้อที่ 25 คนโชคดี คือ คนขยัน
กฎข้อที่ 26 หาทางให้คนอื่นได้ประโยชน์ด้วย
กฎข้อที่ 27 การอิจฉาจะนำโชคร้ายมาเพิ่ม
กฎข้อที่ 28 อย่าพูดว่า คู่แข่งหรือคนที่คุณไม่ชอบ “โชคดี”
กฎข้อที่ 29 “ดูดี” เหมือนคนโชคดี
กฎข้อที่ 30 จงรู้จักเห็นค่าของสิ่งที่มีอยู่แล้ว