ที่มา: http://blog.eduzones.com/nuihappy/2509
อ่านเพิ่มเติม :
http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stauthorid=39&stcolcatid=1&stcolumnid=942&stissueid=2453
เปิดตำนานรักฉบับชั้นประหยัด ผ่อนก่อนบินไปแต่งที่ญี่ปุ่น
เจ้าตัวเผยวิธีการเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตยให้สิทธิได้แสดงความคิดเห็นทุกฝ่าย
ปล่อยฟรีสไตล์วิจารณ์ข่าวหลังมื้อเย็น
หลังได้รับพระราชทานพระบรมราชโองการ แต่งตั้ง นายสมัคร สุนทรเวช เป็น
นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของประเทศไทย
สื่อหลายสำนักต่างตีพิมพ์ถึงประวัติชีวิตกันให้เกร่อแล้ว
แต่น้อยคนนักที่จะรู้จักดีถึง หลังบ้าน ผู้มั่นคง และอาจเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแท้จริงของ
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ไม่ใช่อยู่ที่ต่างประเทศ อย่างที่โดนครหา
ทำให้หลายคนอยากจะทำความรู้จักว่า คนข้างกาย
หรือสตรีหมายเลข ๑ ของนายกรัฐมนตรีผู้นี้เป็นใคร?
คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช ภรรยาคู่ทุกข์คู่ยากมีอุปนิสัยค่อนข้างเก็บตัว
และเป็นข่าวน้อยมากในแวดวงสังคมแบบฉบับผู้อยู่หลังบ้านที่ดี
ในขณะที่สามีเป็นข่าวบนหนังสือพิมพ์์์์โดยตลอด
สมัครเคยพูดถึงภรรยาไว้ในหนังสือ
การเมืองเรื่องตัณหา ซึ่งเป็นหนังสืออัตชีวประวัติสมัคร สุนทรเวช
โดย myst-man นำมาโพสต์ไว้ในเว็บไซต์ พันธ์ทิพย์
ว่าไปพบรักกับภรรยาที่มหาวิทยาธรรมศาสตร์และการเมือง
โดยขณะนั้นตนเองเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ส่วนคุณหญิงสุรัตน์เรียนอยู่ทีคณะบัญชี
...ตอนที่ผมโตเป็นหนุ่มขึ้นมาแล้ว ผมก็รู้จักชอบ รู้จักรักผู้หญิงเหมือน
กับชายหนุ่มทั้งหลาย และสำหรับชายที่บังเอิญมาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย
คนที่ไปรักไปชอบนั้นก็เห็นจะไม่พ้นคนที่เรียนหนังสืออยู่สำนักเดียวกัน
เพราะยังงั้นหลังจากที่ได้มีโอกาสรู้จักมักคุ้น
มีเพื่อนมีฝูงทั้งใกล้ทั้งไกลมากมายอยู่พักหนึ่งแล้ว
คนที่ใกล้ชิดสนิทสนมจนถึงขั้นจะตกลงปรงใจกันก็เป็นชาวท่าพระจันทร์ด้วยกันนั่นแหละ
ผมเรียนกฎหมาย คุณเธอเรียนบัญชี...
...ถึงตอนนี้ผมอยากจะขออนุญาตเล่าลงไปให้ถึงรายละเอียดสักนิดเพื่อให้
ไอ้บรรดาคอลัมนิสต์ เลวชาติ ทั้งหลายมันได้รู้กันว่าคนอย่างผมนั้น
เริ่มก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาจากความไม่มีอะไร
โดยไม่ต้องทุจริตคดโกงอย่างที่พวกมันหลับหูหลับตาคิดกันอย่างไร...
หลังจากที่รักใคร่ชอบพอกันแล้ว สมัคร ก็ตัดสินใจขอหมั้น คุณหญิงสุรัตน์
ก่อนที่จะไปเรียนต่อที่สหรัฐฯ โดยสัญญากันเป็นหมั่นเหมาะว่า
หากเรียนจบกลับมาแล้วค่อยแต่งงานกัน
...ผมตกลงกันว่า เรียนหนังสือเสร็จแล้ว ผมจะทำงานเก็บเงิน
เพื่อให้คู่หมั้นผมบินไปแต่งงานกันที่โน่น
แต่แล้วด้วยความที่ไม่ต้องการให้เกิดการสิ้นเปลือง
จากเดิมที่วางไว้ว่าจะไปทำพิธีแต่งงานที่สหรัฐฯ
ก็ได้เปลี่ยนแผนมาแต่งที่ญี่ปุ่นแทน เพราะประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า
โดยทั้งคู่จัดพิธีแต่งงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
มีท่านอุปทูตเป็นประธาน เมื่อปี 2511 ...
ท่านผู้อ่านคงจะนึกสงสัยว่าทำไมผมสองคนถึงได้ดิ้นรนอยากจะ
ออกมาแต่งงานเมืองนอกคำตอบที่บอกได้โดยไม่ต้องอาย ก็คือเราไม่มีเงิน
เพราะเราเคยนั่งคิดกันแล้วว่าในฐานะที่เคยเป็นชาวมหาวิทยาลัยที่ออกจะเป็นคน
มีเพื่อนฝูงมากทั้งคู่ ถ้าแต่งงานแล้วมีเลี้ยงดูกันอย่างพอสมควรในเมืองไทย
ค่าใช้จ่ายเห็นจะไม่หนี 4-5 หมื่นบาท เงินขนาดนั้นผมจะไปหากันมาจากที่ไหน
แต่ถ้าเลือกไปแต่งงานที่สถานทูตในญี่ปุ่น
ตอนที่ผมเดินทางกลับจากเรียนหนังสือคู่หมั้นผมเพียงแต่เสียค่าเครื่องบิน
ไปกลับกรุงเทพฯ-โตเกียวราคา 7,300 บาทโดยวิธีซื้อแบบบินก่อนผ่อนที่หลัง
เพียงเดือนละ 300 กว่าบาทเท่านั้นเอง...
สำหรับบุตร-ธิดานั้น
นายกฯ สมัคร มีธิดาฝาแฝด วันเวลาผ่านไปธิดาีทั้งสองก็เติบโต
และร่ำเรียนจบจากต่างประเทศ ได้แก่ นางกาญจนากร (สุนทรเวช) ไชยสาส์น
จบมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ABAC / MBA. มหาวิทยาลัยฮาร์ทฟอร์ด USA. CONN.
ปัจจุบันทำงานอยู่ฝ่ายการเงินของ ป.ต.ท. (สผ.) และ น.ส.กานดาภา สุนทรเวช
จบคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / MBA.มหาวิทยาลัยฮาร์ทฟอร์ด USA.
CONN. ปัจจุบันทำงานกระทรวงการต่างประเทศ
ครั้งหนึ่ง นายสมัคร เคยให้สัมภาษณ์ผ่านนิตยสารสกุลไทย
เมื่อครั้งรับรางวัล ครอบครัวส่งเสริมประชาธิปไตย ประจำปี 2544
ถึงการอบรมเลี้ยงดูลูกๆ ว่า ดูแลเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่อย่างใกล้ชิด
ในช่วงอายุ 1-6 ปีแรก ให้ความเอาใจใส่เรื่องการเรียนของลูก
ในช่วงชั้นประถมและมัธยมต้น ให้ลูกเป็นตัวของตัวเองในช่วงมัธยมปลาย
รวมทั้งการตัดสินใจเข้าเรียนต่อในชั้นอุดมศึกษา
ร่วมหาสถานที่เรียนให้ลูกในการเรียนต่อต่างประเทศ
ตลอดระยะเวลาที่ลูกโตแล้ว ก็ให้สิทธิเสรีภาพในการไปไหนมาไหน
แต่ต้องบอกเวลาไปและประมาณเวลากลับ
ยามที่ปัญหาเกิดขึ้นในครอบครัว
วิธีการแก้ไขปัญหาคือการตั้งวงสนทนาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งแสดงแนวคิด
ในการแก้ไขปัญหา และแสดงท่าทีให้ลูกเห็นว่า
พ่อแม่พร้อมที่จะร่วมมือในการแก้ปัญหาเสมอ
ลูกทั้งสองคนมีความคิดเป็นของตัวเอง
ในขณะเดียวกันลูกทั้งสองก็ฟังความคิดเห็นของพ่อแม่
การได้กินข้าวพร้อมกัน ดูทีวีช่วงข่าวพร้อมกัน
มีการแสดงความคิดเห็นต่อการรายงานข่าวก็ร่วมกันแสดงความเห็นของตนเอง
เมื่อเห็นว่ามีสิ่งที่ควรแสดงความเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์
ยังทำอยู่แม้จนปัจจุบันที่กินข้าวร่วมกันทั้ง 6 คน ในครอบครัว
นายสมัคร กล่าว
นายสมัคร สุนทรเวช เกิดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2478 ที่บ้านหน้าวังบางขุนพรหม
ถ.สามเสน กรุงเทพฯ เป็นบุตรของเสวกเอก พระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช)
กับ คุณหญิงบำรุงราชบริพาร (อำพัน จิตรกร) และเป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี
พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช)
นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
และเป็นหลานตาของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร)
จิตรกรประจำราชสำนัก
โดยนายสมัคร เป็นบุตรคนที่ 4
ในจำนวนพี่น้องร่วมบิดา-มารดาทั้ง 6 คน ประกอบด้วย
1.พ.อ. (พิเศษ) พญ.มยุรี พลางกูร
2.นางเยาวมาลย์ ราชวังเมือง
3.พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช อดีตที่ปรึกษา ทอ.
4.นายสมัคร สุนทรเวช
5.นายมโนมัย สุนทรเวช และ
6.นายสุมิตร สุนทรเวช
1.พ.อ. (พิเศษ) พญ.มยุรี พลางกูร
2.นางเยาวมาลย์ ราชวังเมือง
3.พล.อ.อ.สมมต สุนทรเวช อดีตที่ปรึกษา ทอ.
4.นายสมัคร สุนทรเวช
5.นายมโนมัย สุนทรเวช และ
6.นายสุมิตร สุนทรเวช
การศึกษา เริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนสตรีบางขุนพรหมในระดับก่อนประถม
เมื่อขึ้นชั้นเรียนระดับประถมก็ย้ายไปโรงเรียนเทเวศร์ศึกษา
เรียนมัธยมที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล เริ่มเป็นหนุ่มย้ายเข้าโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
ในระดับอาชีวะเข้าเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จนได้ปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต
แล้วยังเรียนเพิ่มในด้านมัคคุเทศก์ ที่อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และเดินทางไปเรียนที่ชิคาโก สหรัฐอเมริกา ได้รับ
Dip.in Accounting and Business Administration จาก
Bryanmt&Stration Institute
ชีวิตสมรส นายสมัคร สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช (สกุลเดิม ‘นาคน้อย’)
เป็นอดีตที่ปรึกษาด้านการเงินของบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์
มีบุตรสาวฝาแฝด คือ กานดาภา-กาญจนากร
การทำงาน (ก่อนเข้าสู่เส้นทางการเมือง)
การทำงาน (ก่อนเข้าสู่เส้นทางการเมือง)
ในปี 2496 เริ่มทำงานแรก ที่บริษัท National Cash Registered
ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สอนเครื่องลงบัญชีไฟฟ้า,
ปี 2497 เป็นเสมียนแผนกรถยนต์และผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่
บริษัท Barrow Brown,
ปี 2502 เป็นผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัทลอกซเล่ย์,
ปี 2504 เป็นมัคคุเทศก์อิสระให้กับบริษัทเวิลด์ทราเวลเซอร์วิส
ปี 2507 เป็นผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์,
ปี 2510 ทำงานในตำแหน่ง DIETARY AID
ใน FOX REVER REHABLLITION HOSPITAL ชิคาโก สหรัฐอเมริกา,
ปี 2512 เป็นผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์,
ปี 2513 เป็นผู้บริหารฝ่ายขายบริษัท JOHN DEERE THAILAND,
ปี 2514 เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล
ประจำประเทศไทย
สู่เส้นทางการเมือง...
ในปี 2516 นายสมัครได้ลาออกจากงานประจำ
เริ่มทำงานการเมืองอย่างเดียว และในปี 2522 นายสมัครได้ก่อตั้ง
“พรรคประชากรไทย”และดำรงตำแหน่ง “หัวหน้าพรรค”
…ซึ่งอันที่จริงก่อนหน้านี้ในปี 2511 นายสมัคร
เคยเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น
สมาชิกสภาเทศบาลกรุงเทพมหานคร
ในปี 2514 ...จนในปี 2518 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ครั้งแรกผลงานทางการเมืองก็มีไม่น้อย...
สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ (2511-2519)กรรมการผู้ร่วมก่อตั้ง
กลุ่มหนุ่มพรรคประชาธิปัตย์สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพฯ
(ได้รับเลือกตั้ง เมื่อ 15 สิงหาคม 2514)
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 10 ธ.ค. 2516 )
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 23 ธ.ค. 2516)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
(ได้รับแต่งตั้งเมื่อ ม.ค. 2518, เม.ย. 2519 เม.ย. 2522, 2526 ก.ค. 2529
ก.ค. 2531 มี.ค. 2535 – ก.ย. 2535 ก.ค. 2538 - พ.ย. 2539)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2518)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (2519)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (2519 - 2520)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2526 - 2529)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (2533 - 2534)
กรรมาธิการตรวจรายงานการประชุม (2516)
ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และสถาบันการเงิน (2523 - 2526)
ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (2529 - 2531)
ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (2531 - 2533)
ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (2535 - 2538)
กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี2518,2519,2520,2521,2522,2523,2524,2525,2526,2527, และ 2528
พ.ศ. 2531 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2531)
ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2531 - 2533)
พ.ศ. 2533 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2533 - 2534)
พ.ศ. 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (มี.ค. 2535) (ก.ย. 2535)
ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2535 - 2538)
พ.ศ. 2538 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2538)
พ.ศ. 2539 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (พ.ย. 2539)
พ.ศ. 2543 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2543 - 2547)
พ.ศ. 2550 : รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน
(24 ส.ค. พ.ศ. 2550 - 30 ก.ย. พ.ศ. 2551)
(24 ส.ค. พ.ศ. 2550 - 30 ก.ย. พ.ศ. 2551)
พ.ศ. 2551 : นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (29 ม.ค. พ.ศ. 2551 - 9 ก.ย. 2551)