Custom Search

Apr 11, 2008

ชวน หลีกภัย : CHUAN.ORG


นายชวน หลีกภัย เกิดวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง
จังหวัดตรัง เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสองสมัย
สมัยแรกในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538
และสมัยที่สองในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544
ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม
เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตสภา สมัยที่ 17
พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร
การทำงานช่วงแรก
ชวน หลีกภัยได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานโดยการเป็นทนายความ และต่อมาได้เป็น
สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดตรัง ภายใต้พรรคประชาธิปัตย์
และได้มาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในปี พ.ศ. 2534 ชวน หลีกภัย
ได้เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการมาหลายกระทรวง ซึ่งได้แก่ กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ
และกระทรวงสาธารณสุข รวมถึง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้าน
ในปี พ.ศ. 2533 ชวน หลีกภัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี
และต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 1
และวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2
พร้อมควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ทั้งนี้นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา
นายชวนเป็นพลเรือนคนที่สอง นับจาก ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช
ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนี้ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
สมัยแรก
นายชวน หลีกภัย ก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยแรก ดำรงตำแหน่งระหว่าง
วันที่ 23กันยายน พ.ศ. 2535 ถึง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 20 และยังเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย
ที่มาจากการเลือกตั้ง สิ้นสุดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยการยุบสภา

สมัยที่สอง
นายชวน หลีกภัย กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่สอง
หลังจากพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่ง
เนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนักจนต้องลอยค่าเงินบาท
ฝ่ายรัฐบาลอยู่เดิมสนับสนุนให้ พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ
หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาขึ้นดำรงตำแหน่งแทน
ด้วยเสียงของพรรคความหวังใหม่ (ส.ส. 125 คน)
พรรคชาติพัฒนา (52 คน) พรรคประชากรไทย (18 คน) และ พรรคมวลชน (2 คน)
ส่วนฝ่ายค้านเดิมนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ (123 คน) ผนวกกับพรรคชาติไทย (39 คน)
พรรคเอกภาพ (8 คน) พรรคพลังธรรม (1 คน)พรรคไท (1 คน)
และพรรคร่วมรัฐบาลสมัย พล.อ. ชวลิต ได้แก่พรรคกิจสังคม (20 คน)
และพรรคเสรีธรรม (4 คน) เพื่อสนับสนุนนายชวน หลีกภัย ด้วยเสียงทั้งสิ้นรวม 196
เสียงซึ่งเกินกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดในสภา 393 คน เพียงครึ่งเสียง
เพื่อให้รัฐบาลที่จะจัดตั้งมีความมั่นคง พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์
ชักชวนกลุ่มงูเห่าซึ่งเป็นสมาชิกพรรคประชากรไทยจำนวน 12 คนเข้ามาสนับสนุน
รวมเป็น 208
นายชวน หลีกภัย จึงได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี
ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เคารพกติกาประชาธิปไตยโดยเฉพาะ
หัวหน้าพรรคประชากรไทยนายสมัคร สุนทรเวชซึ่งมีมติพรรคไม่ให้เข้าร่วมรัฐบาล
ต่อมาพรรคประชากรไทยได้ลงมติขับ ส.ส. กลุ่มงูเห่าทั้ง 12 ออกจากการเป็นสมาชิกพรรค
และส่งผลให้สิ้นสุดสถานภาพ ส.ส.ตามกฎหมาย กลุ่มงูเห่าทั้ง 12 คน
ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวเป็นมติที่ไม่ชอบ
ขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ ส.ส.ทั้ง 12 คน
ยังคงสถานภาพ และหาพรรคใหม่สังกัด
การจัดตั้งรัฐบาลสมัยที่สองของนายชวนนี้ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่
โดยเฉพาะชนชั้นกลางใน กทม. เนื่องจากคาดว่ารัฐบาลนายชวน หลีกภัย
จะสามารถฉุดประเทศไทยออกจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มขึ้น
ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
แต่การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย
ไม่บรรลุผลไม่สามารถดึงเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากภาวะการตกต่ำได้ทันใจ
ความต้องการของประชาชน ทำได้แค่นำคนไข้ออกจากห้องฉุกเฉิน
เข้าพักฟื้นในห้องคนป่วยปกติ
แม้ว่าจะได้ดำเนินการมากว่า 3 ปี นอกจากนี้ นโยบายพรรคไทยรักไทย
ยังเป็นที่ดึงดูดใจของประชาชน เช่น ปลดหนึ้เกษตรกร หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และ
สามสิบบาทรักษาทุกโรค ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งถัดมาในปี พ.ศ. 2544
ทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์การพ่ายแพ้ต่อพรรคไทยรักไทย
และนายชวน ต้องกลับมาเป็นฝ่ายค้าน
ภายใต้รัฐบาลนายชวน หลีกภัย มีรัฐมนตรีร่วมรัฐบาล คือ นายรักเกียรติ สุขธนะ
รัฐมนตรีว่าการระทรวงสาธารณสุขของพรรคร่วมรัฐบาล ชาติไทย
ได้รับคำพิพากษาตัดสินจาก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
พิพากษาจำคุก นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 5 ปี
ฐานเรียกรับสินบนบริษัทยา ทีเอ็น พี เฮลท์ แคร์ จำกัด
ซึ่งนับว่าเป็นรัฐบาลชุดแรกที่รัฐมนตรีร่วมรัฐบาล
ได้รับโทษถึงที่สุดให้จำคุกจากการทุจริตในระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
ในคณะร้ฐบาล
นอกจากนี้ พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ก็ได้รับคำพิพากษาจากศาลรัฐธรรมนูญ ห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
จากการรายงานบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จ
รัฐบาลนายชวน หลีกภัย จึงเป็นรัฐบาลแรกของประเทศไทย
ที่มีรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลถึง 2 คนถูกศาลพิพากษาว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริต
นตำแหน่งหน้าที่ บทบาททางการเมืองภายหลังจากการเป็นนายก
หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายชวน หลีกภัย
กลับมาเป็นผู้นำฝ่ายค้านอีกครั้งเมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2544
นายชวนต้องการที่จะก้าวลงมาจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
จากการลงคะแนนเสียงเมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2546
นายบัญญัติ บรรทัดฐานก็ได้รับเลือกมาเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ รวมแล้ว
นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค 3 สมัย เป็นเวลารวม 12 ปี
ในการเลือกตั้งถัดมาเมื่อปี พ.ศ. 2548หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถ
ได้รับคะแนนเสียงเพียงต่อการจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคไทยรักไทย
นายบัญญัติ บรรทัดฐานลาออกจากตำแหน่งตัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
นายชวน หลีกภัย มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชนมากกว่า เข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน
ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

ชื่อ-สกุล : ชวน หลีกภัย

ชื่อเล่น/ฉายา : เอียด / มีดโกนอาบน้ำผึ้ง

วันเกิด : 28 กรกฎาคม 2481 ที่ ต.ท้ายพรุ อ.เมืองตรัง

ครอบครัว : เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 9 คน
ของนายนิยม หลีกภัย และ นางถ้วน แซ่กิม
สมรส กับ นางภักดิพร นามสกุลเดิมของคู่สมรส สุจริตกุล
มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ นายสุรบถ หลีกภัย

การศึกษา :

ปี 2552 ปริญญากิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปี 2537 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปี 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางกฎหมาย มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
ปี 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปี 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สมัย 17
- อุดมศึกษา นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2505
- เตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนศิลปศึกษา เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร
(แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม)
- มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา จ.ตรัง
- ประถมศึกษา โรงเรียนควนวิเศษ

การทำงาน /ตำแหน่งหน้าที่ :

23 ธันวาคม 2550 ส.ส. ระบบสัดส่วน กลุ่ม 8 พรรคประชาธิปัตย์
6 กุมภาพันธ์ 2548 ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์
- ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
11 มีนาคม 2544 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
6 มกราคม 2544 ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์
14 พฤศจิกายน 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
9 พฤศจิกายน 2540 นายกรัฐมนตรี คนที่ 20 (ยุบสภา 9 พ.ย.2543)
21 ธันวาคม 2539 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
4 สิงหาคม 2538 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
17 พฤศจิกายน 2539 ส.ส. ตรัง เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 11
4 สิงหาคม 2538 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
2 กรกฎาคม 2538 ส.ส. ตรัง เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ (ยุบสภา 27 ก.ย.2539) สมัยที่ 10
26 มกราคม 2534 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 5 (26 ม.ค.2534-4 พ.ค.2546)
3 ตุลาคม 2535 ประธานกรรมการข้าราชการพลเรือน
23 กันยายน 2535 นายกรัฐมนตรี คนที่ 20 (ยุบสภา 19 พ.ค.2538)
13 กันยายน 2535 ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ (ยุบสภา 19 พ.ค.2538) สมัยที่ 9
22 มีนาคม 2535 ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 8
22 กุมภาพันธ์ 2534 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
22 พฤศจิกายน 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ้นตำแหน่ง 8 ธ.ค.2533)
26 สิงหาคม 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
29 ธันวาคม 2532 รองนายกรัฐมนตรี (พ้นจากตำแหน่ง 26 ส.ค.2533)
9 สิงหาคม 2531 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (9 ส.ค.2531-29 ธ.ค.2532)
9 สิงหาคม 2531 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
24 กรกฎาคม 2531 ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 7
4 สิงหาคม 2529 ประธานสภาผู้แทนราษฎร (4 ส.ค.2529-29 เม.ย.2531)
27 กรกฎาคม 2529 ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ (ยุบสภา 29 เม.ย. 2531) สมัยที่ 6
18 เมษายน 2526 ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 5
1 ตุลาคม 2525 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
19 ธันวาคม 2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
12 มีนาคม 2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
3 มีนาคม 2523 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (3 มี.ค.2523-11 มี.ค.2524)
22 เมษายน 2522 ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 4
25 กันยายน 2519 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม คนที่ 22 (25 ก.ย.2519-6 ต.ค.2519)
21 เมษายน 2519 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
21 เมษายน 2519 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
4 เมษายน 2519 ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 3
21 กุมภาพันธ์ 2518 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
26 มกราคม 2518 ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 2
10 กุมภาพันธ์ 2512 ส.ส. ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 1
- ทนายความทีี่สำนักงานทนายความ ช.ชนะสงคราม

ตำแหน่งอื่นๆ :

13 กันยายน 2545 กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3 ตุลาคม 2541 ประธานกรรมการข้าราชการพลเรือน
22 มีนาคม 2535 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- อาจารย์พิเศษแผนกนิติเวช คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- กรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- อุปนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คุณธรรมและจริยธรรมทางการเมือง
1. http://www.youtube.com/watch?v=HQBJr-RRQ40&feature=related
2. http://www.youtube.com/watch?v=S4pJLykYO3A&feature=related
3.http://www.youtube.com/watch?v=W1tKAgYpNow&NR=1
4. http://www.youtube.com/watch?v=O46xiI5Jhy8&feature=related
5. http://www.youtube.com/watch?v=gaA312XGZUA&NR=1
6. http://www.youtube.com/watch?v=uVR7iisoTtY&feature=related