Custom Search

Aug 3, 2009

ไมโคร : MICRO

























ส่วนหนึ่งจากคอลัมน์ "ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ" โดย หนุ่มเมืองจันท์มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 19-25 ธันวาคม 2546 ปีที่ 24

a day ฉบับ “ไมโคร” ด้วยความอิ่มเอมอารมณ์...
กับเรื่องราวความเป็น “เพื่อน” ของคน 6 คน
ที่ผ่านเส้นทางการฟันฝ่าความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
อารมณ์ คำชม และความแตกแยก
ก่อนที่จะ “รีเทิร์น” อีกครั้งด้วยความยิ่งใหญ่ในวันนี้
"ไมโคร" คือวงดนตรีที่เกิดจากความเป็น "เพื่อน""หนุ่ย-กบ-ปู-อ้วน-อ๊อด-บอย"
เด็กหนุ่มจากจ.ระยอง ที่ลุ่มหลงในเสียงดนตรีร็อก
และเข้ามาเดินล่าหาฝันในกรุงเทพมหานคร
"ไมโคร" ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่จากเทป 3 ชุด
"ร็อคเล็กเล็ก - หมื่นฟาเรนไฮต์ และเต็มถัง"
จากปี 2529-2532 ... เป็นเพื่อนรักกันมานาน 10 ปี
ใช้เวลาตามล่าหาฝันร่วมกันอย่างเหน็ดเหนื่อย
แต่กลับมีเวลาชื่นชมกับความสำเร็จที่ลงแรงร่วมกันเพียงแค่ 4 ปี
ด้วยความห้าวของวัยหนุ่ม
วัยที่อารมณ์มีอิทธิพลเหนือ "เหตุผล"
ทุกคนล้วนเชื่อมั่นในตัวเอง
ทุกคนมองเรื่องราวความขัดแย้งครั้งก่อนอย่างเข้าใจมากขึ้น
เหตุการณ์เดียวกันที่เกิดขึ้นกับคน 6 คน
แต่มุมมองของแต่ละคนกลับแตกต่างกัน
เริ่มจากความห่างเหินระหว่าง "หนุ่ย" อำพล ลำพูน
กับเพื่อนทั้ง 5 คนที่เกิดขึ้นจาก "ความดัง" ที่ไม่เท่าเทียม
ถ่ายรูปปกเทปวงไมโคร แต่ภาพของ "หนุ่ย" เด่นชัด
ขณะที่บางคนกลับเบลอๆ อยู่ด้านหลัง
นักดนตรีทั้ง 5 คน เริ่มอยากเล่นดนตรีแรงขึ้นระดับเฮฟวี่
แต่เสียงร้องของ "หนุ่ย" ไปไม่ถึง
เขาก็อยากได้เพลงร็อกแนวเดิมๆ

มีการกระทบกระทั่งกันเรื่อยมา
แบบต่างคนต่างคิดกันไปเอง

เช่นตอนเล่นคอนเสิร์ต ดนตรีปรับคีย์สูงขึ้น
จน"หนุ่ย" ร้องไม่ถึงเขาก็เริ่มคิดว่า
เพื่อนแกล้ง
ก็เลยเอาคืนด้วยการเบี้ยวคิว
ไม่ไปร้องในงานต่อมา ฯลฯ
5 คนคิดว่า
ถ้าไม่มีพวกเรา เอ็งก็เป็นนักร้องไม่ได้อีกคนคิดว่า
ถ้าไม่มีกูร้อง วงก็ไม่มาถึงตรงนี้หรอก
ทุกคนคิดว่าตัวเอง "เจ๋ง"

"กบ" เป็นคนบอก "เต๋อ" เรวัต พุทธินันทน์
ว่าทุกคนคิดกันแล้วว่าต้องการทำงานกัน 5 คน
ไม่ต้องการให้ "หนุ่ย" ร้องนำ
มีประโยคหนึ่งของเต๋อ เรวัต พุทธินันทน์

ที่ผมชอบมากเขาถามไมโครตรงๆ
"ทำไมวะ พวกมึงเวลาทุกข์
ร่วมกันทุกข์ได้
สุขร่วมกัน
พวกมึงสุขร่วมกันไม่ได้"
http://teetwo.blogspot.com/2011/02/blog-post_11.html

แต่ด้วยวัยและความเชื่อมั่นในตัวเอง
คำถามนี้ไม่สามารถกระตุกให้ทุกคนย้อนคิดได้
"อ๊อด" สรุปบทเรียนบทนี้ได้อย่างน่าฟัง
เขาบอกว่า "คำชม" ฆ่าคนโดยไม่รู้ตัว
หลงคำชม หลงคำเยินยอ

คือสาเหตุที่ทำให้วงไมโครแตก
จากนั้น "อำพล" ก็ออกเทปเดี่ยวอีกหลายชุด
ส่วนอีก 5 คน ใช้ชื่อวง "ไมโคร"
แยกไปออกเทปของตัวเอง

ความรู้สึกของแต่ละฝ่ายเริ่มโหยหาอดีตที่อยู่ร่วมกัน
ทุกครั้งที่เล่นคอนเสิร์ต "อำพล" รู้สึกไม่เหมือนเดิม
เพราะข้างหลังเขาคือวง "แบ็กอัพ" ...ไม่ใช่เพื่อน
"กบ" ที่รับบทร้องนำแทน "หนุ่ย" เริ่มรู้สึกแล้วว่า

บทบาท "นักร้อง" ที่ต้องเอ็นเตอร์เทนคนดูนั้น
หนักหนาสาหัสเพียงใด

ความสุขจากการเล่นดนตรีกลายเป็นความเหน็ดเหนื่อย
... แล้วอดีตความยิ่งใหญ่ของ "ไมโคร" ก็ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง
เรื่องราวของ "ไมโคร" คือบทเรียนที่คนหนุ่มสาวน่าศึกษาอย่างยิ่ง
ทั้งพลังแห่งการไล่ล่า "ความฝัน"
และบทเรียนจากความเชื่อมั่นในตัวเองที่ล้นเกิน
สายใยแห่งความเป็น "เพื่อน" ยิ่งใหญ่นัก
ว่ากันว่า "เพื่อน" นั้นเหมือน "พระ"
...ยิ่งเก่ายิ่งมีค่า...
เมื่อมีการคุยกันเรื่อง "ไมโคร รีเทิร์น"
เนื่องจากเป็น "ไมโคร" ที่มีจุดเริ่มต้นจากความเป็น
"เพื่อน" สิ่งแรกที่คุย จึงเป็นเรื่อง "ใจ"
ต้องเคลียร์กันให้สะอาด จึงเริ่มต้นได้
และดูเหมือนว่าทุกคนจะคิดกับการ "รีเทิร์น" ครั้งนี้
คล้ายๆ กัน นั่นคือ ต้องการย้อนกลับสู่บรรยากาศเดิมๆ
แห่งความเป็นเพื่อนอีกครั้งหนึ่ง
"ผมมานึกถึงเรื่องราวที่ผ่านมา มันไม่มีอะไรเลย
มันเป็นเรื่องของคนที่ไม่เข้าใจกัน ร้อน
ทุกสิ่งทุกอย่างประเดประดังเข้ามา ไม่มีเวลาคุยกัน
ชื่อเสียงมีเข้ามา ความเป็นเพื่อนเริ่มจางหาย"
"กบ" สรุปเรื่องราวในอดีต
"ผมยอมรับเลยว่าที่กลับมาทำไมโครวันนี้
เพราะผมอยากแก้ไขอดีต แก้ไขความรู้สึกที่ผ่านมา"
เป็นความจริงที่ "อดีต" ไม่อาจแก้ไขได้
แต่เราสามารถทำ "อนาคต"
ให้บรรเทารอยแผลแห่ง "อดีต" ได้

ครับ... "อดีต" เป็นเรื่องราวที่เราไม่อาจลืมได้
แต่เราเลือกที่จะ "จำ" ได้
ผมอ่านหนังสือเล่มนี้จบลงด้วยความรู้สึกที่ดีอย่างยิ่ง...
เสียดายที่ไม่ได้ไป "ชูมือขวา" ในคอนเสิร์ต "ไมโคร รีเทิร์น"
แต่ตอนอ่านหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ...
...ผมเปิดหนังสือด้วย "มือขวา" ตลอดครับ

ประวัติ
เมื่อปี พ.ศ. 2527 วง"เดอะ แคร็บ" ซึ่งเป็นวงดนตรีร็อก เล่นตามสถานที่ต่างๆ
มีแนวที่สะดุดตาเปี๊ยก โปสเตอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง
จึงพาไปเล่นภาพยนตร์เรื่องวัยระเริง และเปลี่ยนชื่อวงเป็น "ไมโคร"
โดยสุนทร สุจริตฉันท์ อดีตสมาชิกวงรอยัล สไปร์ส
เป็นผู้ตั้งชื่อให้ทำให้อำพล ลำพูน และวงไมโครมีชื่อเสียงในยุคนั้น
ในปี พ.ศ. 2529 วงไมโครออกอัลบั้มแรกคือ "ร็อก เล็ก เล็ก"สังกัด แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
หลังจากจากนั้นมีผลงานต่อมาคือ "หมื่นฟาเรนไฮต์" และ "เต็มถัง"ในปี พ.ศ. 2533 ไมโครได้แสดงคอนเสิร์ตต้อนรับนักกีฬาซีเกมส์
ในทำเนียบรัฐบาล และยังเป็นตัวแทนวงร็อกในประเทศไทย
ได้ไปแสดงในงานเทศกาลร็อกนานชาติที่โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่
ในปี พ.ศ. 2534 อำพล ลำพูน แยกตัวไปเป็นนักร้องเดี่ยว ไกรภพ จันทร์ดี
จึงรับหน้าที่นักร้องนำแทน ไมโครมีอัลบั้มออกมาอีก 2 อัลบั้มกับแกรมมี่
และ 1 อัลบั้มจากค่ายฟีโมฮาร์นิค แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

สมาชิกในวง

ปู อดิสัย นกเทศ (กลอง , หัวหน้าวง)

หนุ่ย อำพล ลำพูน (ร้องนำ)

อ้วน มานะ ประเสิร์ฐวงศ์ (กีต้าร์)

อ๊อด อดินันท์ นกเทศ (เบส)

กบ ไกรภพ จันทร์ดี (กีต้าร์)

บอย สันธาร เลาหวัฒนาวิทย์ (คีย์บอร์ด)

อัลบั้ม(เต็ม)
ปี 2529 - อัลบั้ม ร็อคเล็กเล็ก

ปี 2531 - อัลบั้ม หมื่นฟาเรนไฮด์
ปี 2532 - อัลบั้ม เต็มถัง

ปี 2534 - อัลบั้ม เอี่ยมอ่องอรทัย
ปี 2535 - อัลบั้ม วัตถุไวไฟ

ปี 2536 - อัลบั้ม ม้าเหล็ก
ปี 2536 - อัลบั้ม สุริยคราส

ปี 2538 - อำพล เมืองดี ( I.D. CARD )
นอกจากนี้ยังมีอัลบัมรวมฮิต และ บันทึกการแสดงสดอีกหลายอัลบั้ม



















GuitarRoadTV