Custom Search

Aug 2, 2009

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)

ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับเดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 เวลา พระบิณฑบาต 06.45 น. มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี) บวชเป็น สามเณร เมื่ออายุได้ 13 ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตรต่อมาย้ายมา ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ 18 ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทรพระบรมโอรสาธิราช ให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ บวช เป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. 2351 อายุ 21 ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวง โดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไปเป็นเจ้าอาวาสวัด ระฆังฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ 3 ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น “พระธรรมกิตติ” ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. 2395 ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. 2397 ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น “พระเทพกวี” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2407 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น“สมเด็จพระพุฒาจารย์” ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า “สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง” เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง “สมเด็จโต” ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ 78 ปี อายุพรรษาได้ 56 พรรษาแล้วมรณภาพ สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 (ต้น) ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน 2415 เวลาประมาณ 24.00 น.เศษ บนศาลาใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม สรุป สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ 85 ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ 20 ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ 7 ปี เศษ 65 พรรษา สมเด็จโตทรงถวายความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่ยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรงและทางอ้อมทุกประการ อัจฉริยะและภูมิปัญญา
ท่านสมเด็จโตนั้น เป็นคนที่เกิดอายุได้ 5 รัชกาลตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 5
มีแม่เป็นชาวบ้านธรรมดา ชื่อใดนั้นตามประวัติหลายต่อหลายเล่มมิได้
กล่าวอ้างสมเด็จท่านเป็นคนอัจฉริยะภูมิปัญญาแตกฉาน
ตั้งแต่สมเด็จโตขึ้นบวชเณรก็มีผู้อุปถัมภ์ค้ำชูมาโดตลอด
ไม่เคยยุ่งเกี่ยวทางด้านโลกีย์ หญิงใด ๆ มาชอบพอไม่เคยสน
เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย มักไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ชอบดู เหตุผล
ชอบคิดวิเคราะห์สติปัญญาจึงแตกฉาน
พอโตขึ้นมาอายุได้ครบบวชเป็นพร
ท่านก็บวชสละเณรเปลี่ยนบวชเป็นพระต่อไปเลย
การบวชเป็นพระนั้นเป็นที่ฮือฮาชอบพอรักใคร่ของผู้หลักผู้ใหญ่จนถึงกษัตริย์
จัดเป็นนาคหลวง เมื่อบวชเป็นพระเสร็จ
ท่านได้เที่ยวสัญจรไปมาตามที่ต่าง ๆ
ตามนิสัยของท่านที่ของค้นคว้าหาความรู้จึงมุ่งศึกษาหาอาจารย์ต่าง ๆ
ที่คงแก่เรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานสมถะ
จากอาจารย์ต่าง ๆ ของเดินธุดงค์พงไพรไป
ขณะนั้นยศของท่านยังไม่ได้ยศเป็นสมเด็จ
เป็นพระธรรมดา อาศัยท่านแตกฉานด้านปัญญา
พระไตรปิฎกท่านรู้อย่างดี จิตใจท่านมุ่งแต่บูชาพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง
ท่านจึงริเริ่มสร้างพระขึ้นมา สมัยที่ขณะนั้นยศยังไม่ได้เป็นสมเด็จ
ท่านสร้างขึ้นตามใจของท่าน
รูปแบบพิมพ์พระสมเด็จที่ท่านสร้างตอนนั้น
มิใช่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรากำลังแสวงหาพระสมเด็จกัน
รูปทรงพิมพ์สมเด็จขณะนั้นเป็นรูปคดหอย
จับผงมาปั้นเป็นก้อน ๆ ยาว ๆ แล้วก็วนเป็น คดหอย
ปลุกเสกแจกชาวบ้าน บางพิมพ์ก็เป็นรูปปูก็มี เป็นรูปต่าง ๆ
ก็มีแสดงให้เห็นว่า ท่านสมเด็จเริ่มสร้างพระสมเด็จ
ตั้งแต่ยังไม่ได้ยศสมเด็จจากในหลวงแต่งตั้ง
วัดที่ท่านได้ไปอยู่ก็หลายต่อหลายวัด
แต่ในที่นี้เราจะเอาเฉพาะวัดที่สำคัญในตระกูลพระสมเด็จที่เล่นกันอยู่
นั่นคือ วัดเกศไชโย วัดบางขุนพรหม และวัดระฆัง
ทั้งสามวัดนี้ ท่านได้สร้างพระสมเด็จขึ้นมาจนทุกวันนี้เราก็ต่างเสาะแสวงหากันอยู่
การสร้างนั้นท่านสมเด็จจะปลุกเสกเดี่ยวแต่เพียงผู้เดียว
เพราะฉะนั้นพลังจิตในพระสมเด็จทุกรุ่นทุกพิมพ์จึงเป็นพลังจิตของท่าน พระคาถาชินบัญชร (อ่านว่า ชินะ- ชินนะบันชอน)เป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ ที่พุทธศาสนิกชน ชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 4) บทสวดชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและศรีลังกาอีกด้วย