Custom Search

Aug 12, 2009

หลักฐานนิติเวชก็โกหกได้

วรากรณ์ สามโกเศศ
มติชน
วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรื่อง ราวบันเทิงที่ดูจากโทรทัศน์อาจมี ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูในโลกจริง อย่างร้ายแรงก็เป็นได้ ดังในกรณีของการเชื่อมั่นอย่างผิดๆ ในการใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ในคดีอาญา จนอาจทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องติดคุกหรือถึงกับถูกประหารชีวิตได้ ที วีซีรีส์ CSI หรือ Criminal Science Investigation ของอเมริกาได้รับความนิยมอย่างยิ่ง คนดูได้ทั้งความรู้ในเรื่องนิติเวช (forensics) ความบันเทิง และความไร้เทียมทานของวิทยาศาสตร์ในการจับคนผิดมาลงโทษ คำขวัญของผู้ เชื่อมั่นในเรื่องหลักฐานทางนิติเวช ก็คือ "พยานโกหกได้ แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์โกหกไม่ได้" ซึ่งสร้างความสบายใจให้แก่คนเดินถนนทั่วไปที่ไม่คิดจะทำความผิด อย่างไรก็ดีนิตยสาร Popular Mechanics (PM) อันมีชื่อเสียงของโลกในฉบับล่าสุดเดือนสิงหาคม 2009 ให้ข้อเท็จจริงว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ก็อาจโกหกได้เนื่องจากมนุษย์พยายาม ยัดเยียดให้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ตอบคำถามมากกว่าที่มันจะตอบได้ PM เปิดเผยความจริงที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวพันกับคดี ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา หรือคณะลูกขุน (ในประเทศที่ใช้ระบบการพิจารณาคดีเช่นนั้น) และเรียกได้ว่าน่าตกใจเพราะหลายเรื่อง ตรงกันข้ามกับสิ่งที่พวกเราๆ เข้าใจกันจากการดู CSI และภาพยนตร์หลายๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการลงโทษผู้กระทำผิด ด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จากตัวผู้ตาย จากบริเวณที่เกิดอาชญากรรม จากหลักฐานประกอบคดี ฯลฯ ในหลายประเทศในโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา นักโทษนับร้อยคนได้รับการปล่อยตัวหลังจาก มีการทบทวนหลักฐานทางนิติเวชในเรื่อง DNA



หน้า 6


Steven Barnes smiles among friends and family in the ceremonial courtroom of
the Oneida County Courthouse. Barnes was reed Tuesday after 20 years
in prison for a crime he did not commit. (Earl Davis/WKTV)

By JOLEEN FERRIS

http://www.wktv.com