บทสัมภาษณ์ ดวงฤทธิ์ บุนนาค
หลังงาน Creativities Unfold, Bangkok 2008 November 21st, 2008
ทีมา: http://www.tcdcconnect.com/content/blog/?m=200811
Related:
วิทยากรอีกท่านของเราเป็นสถาปนิกที่สร้างชื่อจากผลงานอันเป็นเอกลักษณ์ที่เขาเองยอมรับว่าคิดค่าทำงาน “แพงมาก“ แต่งานก็ “ดีมาก“ ตามราคาเช่นกัน เขาบริหารสำนักงานตัวเองแบบปฏิเสธการตลาด แต่บอกว่าผลงานของเขานั่นแหละคือ การตลาด ซึ่งบางทีสิ่งที่เขาคิดอาจจะเป็นการตลาดแบบดั้งเดิมที่สุดก็ได้
วันนี้เราจะคุยกับเขาถึงแง่มุมต่างๆ ในชีวิตที่ผ่านมาของชายคนนี้
ตอนเป็นเด็กคุณชอบเล่นของเล่นพวกไหนผมชอบเล่นเลโก้ มันมีอิทธิพลต่อความคิดของผมเยอะ ไม่ใช่แค่ด้านอาชีพ แต่รวมถึงวิธีคิด ตรรกะทั้งหมด ผมพูดได้ว่าเลโก้เป็นของเล่นที่สร้างรูปแบบครอบคลุมชีวิตผมทั้งหมด เวลาเราต่อเลโก้เราใช้จินตนาการเยอะ สมมุติว่าเราจะต่อเครื่องบิน มันก็เป็นแค่สัณฐานของเครื่องบิน ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนเครื่องบิน ที่เหลืออีก 30% เป็นจินตนาการ ของเล่นแบบนี้มีส่วนช่วยจินตนาการและทำให้ผมเป็นคนแบบนี้ในวันนี้
สมัยวัยรุ่นคุณเคยชื่นชอบแบรนด์ไหนเป็นพิเศษหรือเปล่าก็เหมือนวัยรุ่นทั่วไป เขาสนใจอะไรผมก็ชอบด้วย แต่ตอนเด็กเป็นคนไม่บริโภคแบรนด์เลยนะ ใส่เสื้อต้องไม่มียี่ห้อ ถ้ามียี่ห้อติดผมต้องเลาะออก คือชอบการออกแบบ แต่ไม่รู้สึกว่าเราเป็นแบรนด์นั้น สมัยวัยรุ่นก็จะมีรองเท้ายี่ห้อ “อาดิดาส”ที่ผมชอบในแบรนด์ อาจเป็นเพราะบริบทของเมืองไทยสมัยนั้นยังไม่มีแบรนด์ที่น่าสนใจ สมัยนี้ชอบหลายแบรนด์เลย
แต่ด้วยอาชีพที่เราทำ เราไปเป็นทาสแบรนด์ไม่ได้ คือเราจะให้ภาพเราเป็นแบรนด์นั้นไม่ได้ ยกตัวอย่างสูทที่ผมใส่สูทที่ผมชอบที่สุดคือของจิออร์จิโอ อาร์มานี่ แต่ผมไม่เคยไปเที่ยวบอกคนอื่น ที่ผมชอบอีกอันคือสูทของมูจิ ตัวละไม่กี่พันบาท
แล้วตอนนี้มีของอะไรสักอย่างมั้ยที่ชีวิตคุณจะขาดมันไม่ได้เลย
แว่นตาครับ เนื่องจากสายตาสั้น ผมเลือกแว่นตาอย่างระมัดระวังที่สุด เพราะมันอยู่บนหน้าผม ผมไม่ได้เลือกที่แบรนด์แต่ผมชอบการออกแบบ ผมขาดแว่นตาไม่ได้จริงๆ ผมไม่เชื่อในคอนแทคเลนส์ และยิ่งไม่เชื่อมากกว่าในการทำเลสิคเพราะผมรู้สึกว่าเมื่อผมใส่แว่นตา ผมสามารถเลือกได้ว่า “จะมองเห็นหรือมองไม่เห็น” บางครั้งผมก็ไม่อยากเห็น หรือไม่อยากรับรู้โลกภายนอก ผมก็ถอดแว่น ผมว่านี่เป็นสิทธิพิเศษของผมนะ
จากประสบการณ์ของคุณ พูดถึง “เรื่องคุณภาพ” แล้ว ที่ไหนในโลกที่ทำให้คุณรู้สึกดีที่สุดที่ญี่ปุ่นครับ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผมสามารถซื้อของอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องห่วงว่าจะดีหรือไม่ดี เพราะเขาประสบความสำเร็จมากในการควบคุมทุกอย่างให้มีคุณภาพ
ไม่ว่าของเล็กของใหญ่แบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่ ทุกคนทำออกมาได้มีคุณภาพหมด ผมนับถือญี่ปุ่นตรงนี้มาก ผมว่ามันอยู่ในจิตวิญญาณเขาเลย ถ้าเขาทำของไม่ดีเขาจะรู้สึกว่าเขาบาป เป็น
ความผิด ในขณะที่บางประเทศถ้าทำของไม่ดีแล้วมีคนซื้อได้นี่ เขาถือว่าเขาเก่ง ได้กำไร แต่ญี่ปุ่นไม่ใช่แบบนั้น
ที่ใดที่ทำให้คุณรู้สึกไม่ดีเลย และถ้าคุณสามารถทำอะไรก็ได้เพื่อจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น คุณจะทำอะไรในฐานะดวงฤทธิ์ บุนนาค
ที่ที่ผมคันมากที่สุด อยากออกแบบใหม่มากที่สุดก็คือ กรุงเทพฯ อาจไม่เรียกว่าออกแบบนะ แต่เปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่ว่า ของเดิมไม่ดีนะ ก็ดี แต่ว่าน่าจะดีกว่านี้ โดยสามารถใช้ศักยภาพของเมืองได้เต็มที่
ตอนนี้กรุงเทพฯ มีลักษณะเติบโตออกจากจุดศูนย์กลางออกไป ถนนทุกสายก็วิ่งเข้าสู่กลางเมือง ผมอยากทำให้เมืองนี้กระจายตัวออกไปเป็นเขต แต่ละเขตก็เชื่อมโยงเข้าหากัน ทุกเขตก็มีคุณค่าของตัวเอง เขตหนองจอกก็ไม่ใช่เขตที่เจริญน้อย แต่กลายเป็นเมืองที่น่ารักมีความเจริญเป็นของตัวเอง และเราก็หาเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับแต่ละเขตไปปลูกไว้ อย่างที่เขตพระนคร เราอาจนำเมล็ดพันธุ์ด้านวัฒนธรรมลงไปปลูก เพราะตรงนี้เรื่องนี้เด่น นำงบประมาณเข้าไปสนับ
สนุนด้านวัฒนธรรม แล้วลองดูซิว่า เรื่องนี้จะมีปฏิสัมพันธ์กับเรื่องอื่นอย่างไรได้บ้าง บางทีไม่ใช่ว่าเขตนี้จะเด่นเรื่องวัฒนธรรมอย่างเดียว ถ้ามีเรื่องธุรกิจเข้ามาผสมด้วย วันหนึ่งอาจผลิใบใหม่เป็นธุรกิจที่มีส่วนผสมของวัฒนธรรมก็ได้
อย่างนี้เป็นต้น หรือเขตสีลม ซึ่งมีตึกสูงและชุมชนแออัด
ตอนนี้มีกฏว่าสร้างตึกสูงได้ในสัดส่วน 8 : 1 คือสร้างตึกได้สูง 8 เท่าของที่ดิน ถ้าผมเป็นผู้ออกกฎ ผมจะให้คุณ 10 : 1 เลย แต่คุณต้องเอาเงินไปพัฒนาสลัมรอบๆ คุณด้วยเอาไปสร้างห้องสมุดในสลัม ฯลฯ แล้วอีก 30 ปี จากนี้สลัมก็จะแข็งแรงขึ้น เพราะเด็กในนั้นฉลาดขึ้น ยาเสพติดหายไปสลัมกลายเป็นชุมชนเข้มแข็งที่ล้อมรอบตึก ทำให้มันกลายเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ใช่แยกเป็นสลัมกับตึกสูง แต่ทำงานประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ผมอยากทำแบบนี้กับทุกเขต หาเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมปลูกลงไป ทีนี้ความเจริญก็จะขยายออกจากแต่ละเขตซึ่งในที่สุดก็จะซ้อนทับเข้าหากัน เกิดเป็นเมืองที่มีความเชื่อมโยงกัน และเราก็สร้างระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อแต่ละจุด ทำให้โครงสร้างของเมืองแข็งแรง ตัวอย่างแบบนี้ ก็มีอยู่แล้วที่โตเกียวและลอนดอน นี่ไม่ใช่
ของใหม่อะไร แต่เป็นการแก้ปัญหาของเมืองที่เรียกว่า “มหานคร”
ถ้าคุณเป็นนายกฯ คุณจะทำอะไร
ไม่รู้ครับ เพราะผมไม่เคยคิดจะเป็น แต่ผมว่าเราไม่จำเป็นต้องอยู่ข้างบนนั้นเสมอไปก็สามารถทำอะไรดีๆ ได้ ผมยกตัวอย่างคุณภัทราวดี มีชูธน ที่ไปทำเรื่องชุมชนเจ็ดเสมียน เขาทำจากล่างขึ้นบนนะครับ และทำให้ชุมชนเป็นชุมชนที่เข้มแข็งโดยมีวัฒนธรรมเป็นบ่อเกิด ทุกคนมีความรักชุมชน โดยไม่ต้องใช้อำนาจรัฐไปจัดการชุมชน ผมว่าการพัฒนาเกิดขึ้นได้หลายแบบ จากล่างขึ้นบนก็ได้ จากบนลงล่างก็ได้ เพราะฉะนั้น การเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้แปลว่าคุณมีอำนาจเสมอไป คุณอาจทำได้มากกว่าด้วยซ้ำในฐานะประชาชน ไม่จำเป็นต้องเป็นนายกฯ ก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้
ช่วยให้คำนิยามของคำว่า “Creative City” จากทัศนะคติของคุณเองถ้าไม่มีคำนี้ก็แย่แล้วครับ เมืองต้องครีเอทีฟ (ย้ำ) ต้องครีเอทีฟ ไม่ใช่ไม่มีครีเอทีฟก็ได้ เพราะผมว่าวิวัฒนาการทุกอย่างมีที่มาจากความครีเอทีฟ ถ้ าไม่มีความคิดสร้างสรรค์ก็เป็นเมืองไม่ได้ ถ้าเมืองไหนไม่มี ก็แสดงว่านั่นเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่คุณเก็บไว้ในกล่องแล้ว อย่างหลวงพระบาง ผมว่าไม่ต้องครีเอทีฟ เพราะเขาตั้งใจอนุรักษ์ไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง เราก็ชื่นชมหลวงพระบางในแบบนั้น แต่อย่างกรุงเทพฯ โตเกียว ลอนดอน ถ้าไม่ครีเอทีฟก็ตาย สิ่งสำคัญอยู่ที่นโยบายในแง่ของโครงสร้างเมือง เราจะทำอย่างไรให้เมืองเกิดองค์ประกอบในเชิงสร้างสรรค์ได้ นั่นคือหน้าที่ที่เราต้องคิดและทำ แต่ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่ตัวเลือกว่าคุณจะมีหรือไม่มีก็ได้ มันต้องมีเท่านั้นครับ ถ้าเราหยุดสร้างสรรค์เมื่อไรเราก็ตายอย่างเดียว
กลับมาสู่เรื่องงานบ้าง งานสถาปนิกกับงานบริหารของคุณมีหลักการที่สอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไรสำหรับผมเป็นเรื่องเดียวกันนะ เวลาผมบริหารงานในบริษัทก็เหมือนกับผมออกแบบตึก ผมไม่เคยเรียนเรื่องการบริหารจัดการที่ไหน นั่นเป็นข้อดีที่ผมไม่มีตำรา ผมปล่อยให้บริษัทมีโอกาสผิดพลาดและมีความเปลี่ยนแปลง เพราะผมเหลือที่ไว้ให้ความคิดสร้างสรรค์เยอะ ให้ “ความเป็นไปได้อยู่บนพื้นฐานของหลักการ” ทุกคนมีอิสระที่จะคิดอะไรใหม่ๆ บนความเป็นไปได้ นั่นคือวิธีบริหารของผม บริหารแบบหลวมแต่เข้มงวด คือทุกทีมมีอิสระในการทำงานแต่ผมก็เข้าไปคุมทุกทีม แต่ก็ปล่อยให้ทุกคนคุยกันเองในทีม และให้อำนาจแก่คนที่เป็นหัวหน้าทีมมาก ทำให้ทีมมีสมดุลระหว่างหลักการและความคิดสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก
ในฐานะเจ้าของธุรกิจ คุณมีวิธีบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างไรจริงๆ ผมมีคู่มือบริหารคุณภาพนะครับ ในนั้น ผมจะเขียนระเบียบวิธีการทำงานไว้โดยละเอียด แต่ละงานที่ทำต้องมีขั้นตอนชัดเจน ทุกคนต้องอ่านคู่มือเล่มนี้ ต้องเข้าใจหมดว่า “ทำงานอย่างไร” เข้าใจว่า มีการตรวจสอบคุณภาพงานอย่างไร ตรวจอะไรบ้าง แต่ในกระบวนการออกแบบเราให้ความยืดหยุ่นเต็มที่ และฟังเขาพูด
คุณเคยให้สัมภาษณ์ว่า“ผลงานของคุณคือการตลาดในตัวเอง”ขอคำอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ผมว่า สถาปนิกเป็นอาชีพที่ไม่ควรทำการตลาด ถ้าคุณทำการตลาดแปลว่าคุณออกแบบไม่เป็น คือคนที่เอาของมาขายโฆษณาน่าดูเลย เพราะว่าของมันไม่ดี หรือต้นทุนถูกแต่อยากได้กำไรเยอะ ถ้าของดีไม่ต้องโฆษณาก็มีคนซื้อ การที่ใช้การตลาดคือการที่ต้องบอกคนอื่นว่าของนี้มีอยู่ ของนี้ดี ถ้าสถาปนิกต้องทำอย่างนั้นแปลว่างานของเขายังไม่ดีพอ ยังไม่มีคนพูดถึงว่าดีและมีอยู่ จึงต้องไปประกาศบอกคนอื่นว่ามันดีและมีอยู่ สำหรับอาชีพสถาปนิก ผมว่าผลงานคือ การ
ตลาดโดยตรง ถ้างานดีคนก็เอาไปพูดถึง โดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณาเลย
สมัยวัยรุ่นคุณเคยชื่นชอบแบรนด์ไหนเป็นพิเศษหรือเปล่าก็เหมือนวัยรุ่นทั่วไป เขาสนใจอะไรผมก็ชอบด้วย แต่ตอนเด็กเป็นคนไม่บริโภคแบรนด์เลยนะ ใส่เสื้อต้องไม่มียี่ห้อ ถ้ามียี่ห้อติดผมต้องเลาะออก คือชอบการออกแบบ แต่ไม่รู้สึกว่าเราเป็นแบรนด์นั้น สมัยวัยรุ่นก็จะมีรองเท้ายี่ห้อ “อาดิดาส”ที่ผมชอบในแบรนด์ อาจเป็นเพราะบริบทของเมืองไทยสมัยนั้นยังไม่มีแบรนด์ที่น่าสนใจ สมัยนี้ชอบหลายแบรนด์เลย
แต่ด้วยอาชีพที่เราทำ เราไปเป็นทาสแบรนด์ไม่ได้ คือเราจะให้ภาพเราเป็นแบรนด์นั้นไม่ได้ ยกตัวอย่างสูทที่ผมใส่สูทที่ผมชอบที่สุดคือของจิออร์จิโอ อาร์มานี่ แต่ผมไม่เคยไปเที่ยวบอกคนอื่น ที่ผมชอบอีกอันคือสูทของมูจิ ตัวละไม่กี่พันบาท
แล้วตอนนี้มีของอะไรสักอย่างมั้ยที่ชีวิตคุณจะขาดมันไม่ได้เลย
แว่นตาครับ เนื่องจากสายตาสั้น ผมเลือกแว่นตาอย่างระมัดระวังที่สุด เพราะมันอยู่บนหน้าผม ผมไม่ได้เลือกที่แบรนด์แต่ผมชอบการออกแบบ ผมขาดแว่นตาไม่ได้จริงๆ ผมไม่เชื่อในคอนแทคเลนส์ และยิ่งไม่เชื่อมากกว่าในการทำเลสิคเพราะผมรู้สึกว่าเมื่อผมใส่แว่นตา ผมสามารถเลือกได้ว่า “จะมองเห็นหรือมองไม่เห็น” บางครั้งผมก็ไม่อยากเห็น หรือไม่อยากรับรู้โลกภายนอก ผมก็ถอดแว่น ผมว่านี่เป็นสิทธิพิเศษของผมนะ
จากประสบการณ์ของคุณ พูดถึง “เรื่องคุณภาพ” แล้ว ที่ไหนในโลกที่ทำให้คุณรู้สึกดีที่สุดที่ญี่ปุ่นครับ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผมสามารถซื้อของอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องห่วงว่าจะดีหรือไม่ดี เพราะเขาประสบความสำเร็จมากในการควบคุมทุกอย่างให้มีคุณภาพ
ไม่ว่าของเล็กของใหญ่แบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่ ทุกคนทำออกมาได้มีคุณภาพหมด ผมนับถือญี่ปุ่นตรงนี้มาก ผมว่ามันอยู่ในจิตวิญญาณเขาเลย ถ้าเขาทำของไม่ดีเขาจะรู้สึกว่าเขาบาป เป็น
ความผิด ในขณะที่บางประเทศถ้าทำของไม่ดีแล้วมีคนซื้อได้นี่ เขาถือว่าเขาเก่ง ได้กำไร แต่ญี่ปุ่นไม่ใช่แบบนั้น
ที่ใดที่ทำให้คุณรู้สึกไม่ดีเลย และถ้าคุณสามารถทำอะไรก็ได้เพื่อจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น คุณจะทำอะไรในฐานะดวงฤทธิ์ บุนนาค
ที่ที่ผมคันมากที่สุด อยากออกแบบใหม่มากที่สุดก็คือ กรุงเทพฯ อาจไม่เรียกว่าออกแบบนะ แต่เปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่ดีขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่ว่า ของเดิมไม่ดีนะ ก็ดี แต่ว่าน่าจะดีกว่านี้ โดยสามารถใช้ศักยภาพของเมืองได้เต็มที่
ตอนนี้กรุงเทพฯ มีลักษณะเติบโตออกจากจุดศูนย์กลางออกไป ถนนทุกสายก็วิ่งเข้าสู่กลางเมือง ผมอยากทำให้เมืองนี้กระจายตัวออกไปเป็นเขต แต่ละเขตก็เชื่อมโยงเข้าหากัน ทุกเขตก็มีคุณค่าของตัวเอง เขตหนองจอกก็ไม่ใช่เขตที่เจริญน้อย แต่กลายเป็นเมืองที่น่ารักมีความเจริญเป็นของตัวเอง และเราก็หาเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับแต่ละเขตไปปลูกไว้ อย่างที่เขตพระนคร เราอาจนำเมล็ดพันธุ์ด้านวัฒนธรรมลงไปปลูก เพราะตรงนี้เรื่องนี้เด่น นำงบประมาณเข้าไปสนับ
สนุนด้านวัฒนธรรม แล้วลองดูซิว่า เรื่องนี้จะมีปฏิสัมพันธ์กับเรื่องอื่นอย่างไรได้บ้าง บางทีไม่ใช่ว่าเขตนี้จะเด่นเรื่องวัฒนธรรมอย่างเดียว ถ้ามีเรื่องธุรกิจเข้ามาผสมด้วย วันหนึ่งอาจผลิใบใหม่เป็นธุรกิจที่มีส่วนผสมของวัฒนธรรมก็ได้
อย่างนี้เป็นต้น หรือเขตสีลม ซึ่งมีตึกสูงและชุมชนแออัด
ตอนนี้มีกฏว่าสร้างตึกสูงได้ในสัดส่วน 8 : 1 คือสร้างตึกได้สูง 8 เท่าของที่ดิน ถ้าผมเป็นผู้ออกกฎ ผมจะให้คุณ 10 : 1 เลย แต่คุณต้องเอาเงินไปพัฒนาสลัมรอบๆ คุณด้วยเอาไปสร้างห้องสมุดในสลัม ฯลฯ แล้วอีก 30 ปี จากนี้สลัมก็จะแข็งแรงขึ้น เพราะเด็กในนั้นฉลาดขึ้น ยาเสพติดหายไปสลัมกลายเป็นชุมชนเข้มแข็งที่ล้อมรอบตึก ทำให้มันกลายเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ใช่แยกเป็นสลัมกับตึกสูง แต่ทำงานประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ผมอยากทำแบบนี้กับทุกเขต หาเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมปลูกลงไป ทีนี้ความเจริญก็จะขยายออกจากแต่ละเขตซึ่งในที่สุดก็จะซ้อนทับเข้าหากัน เกิดเป็นเมืองที่มีความเชื่อมโยงกัน และเราก็สร้างระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อแต่ละจุด ทำให้โครงสร้างของเมืองแข็งแรง ตัวอย่างแบบนี้ ก็มีอยู่แล้วที่โตเกียวและลอนดอน นี่ไม่ใช่
ของใหม่อะไร แต่เป็นการแก้ปัญหาของเมืองที่เรียกว่า “มหานคร”
ถ้าคุณเป็นนายกฯ คุณจะทำอะไร
ไม่รู้ครับ เพราะผมไม่เคยคิดจะเป็น แต่ผมว่าเราไม่จำเป็นต้องอยู่ข้างบนนั้นเสมอไปก็สามารถทำอะไรดีๆ ได้ ผมยกตัวอย่างคุณภัทราวดี มีชูธน ที่ไปทำเรื่องชุมชนเจ็ดเสมียน เขาทำจากล่างขึ้นบนนะครับ และทำให้ชุมชนเป็นชุมชนที่เข้มแข็งโดยมีวัฒนธรรมเป็นบ่อเกิด ทุกคนมีความรักชุมชน โดยไม่ต้องใช้อำนาจรัฐไปจัดการชุมชน ผมว่าการพัฒนาเกิดขึ้นได้หลายแบบ จากล่างขึ้นบนก็ได้ จากบนลงล่างก็ได้ เพราะฉะนั้น การเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้แปลว่าคุณมีอำนาจเสมอไป คุณอาจทำได้มากกว่าด้วยซ้ำในฐานะประชาชน ไม่จำเป็นต้องเป็นนายกฯ ก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้
ช่วยให้คำนิยามของคำว่า “Creative City” จากทัศนะคติของคุณเองถ้าไม่มีคำนี้ก็แย่แล้วครับ เมืองต้องครีเอทีฟ (ย้ำ) ต้องครีเอทีฟ ไม่ใช่ไม่มีครีเอทีฟก็ได้ เพราะผมว่าวิวัฒนาการทุกอย่างมีที่มาจากความครีเอทีฟ ถ้ าไม่มีความคิดสร้างสรรค์ก็เป็นเมืองไม่ได้ ถ้าเมืองไหนไม่มี ก็แสดงว่านั่นเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่คุณเก็บไว้ในกล่องแล้ว อย่างหลวงพระบาง ผมว่าไม่ต้องครีเอทีฟ เพราะเขาตั้งใจอนุรักษ์ไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง เราก็ชื่นชมหลวงพระบางในแบบนั้น แต่อย่างกรุงเทพฯ โตเกียว ลอนดอน ถ้าไม่ครีเอทีฟก็ตาย สิ่งสำคัญอยู่ที่นโยบายในแง่ของโครงสร้างเมือง เราจะทำอย่างไรให้เมืองเกิดองค์ประกอบในเชิงสร้างสรรค์ได้ นั่นคือหน้าที่ที่เราต้องคิดและทำ แต่ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่ตัวเลือกว่าคุณจะมีหรือไม่มีก็ได้ มันต้องมีเท่านั้นครับ ถ้าเราหยุดสร้างสรรค์เมื่อไรเราก็ตายอย่างเดียว
กลับมาสู่เรื่องงานบ้าง งานสถาปนิกกับงานบริหารของคุณมีหลักการที่สอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไรสำหรับผมเป็นเรื่องเดียวกันนะ เวลาผมบริหารงานในบริษัทก็เหมือนกับผมออกแบบตึก ผมไม่เคยเรียนเรื่องการบริหารจัดการที่ไหน นั่นเป็นข้อดีที่ผมไม่มีตำรา ผมปล่อยให้บริษัทมีโอกาสผิดพลาดและมีความเปลี่ยนแปลง เพราะผมเหลือที่ไว้ให้ความคิดสร้างสรรค์เยอะ ให้ “ความเป็นไปได้อยู่บนพื้นฐานของหลักการ” ทุกคนมีอิสระที่จะคิดอะไรใหม่ๆ บนความเป็นไปได้ นั่นคือวิธีบริหารของผม บริหารแบบหลวมแต่เข้มงวด คือทุกทีมมีอิสระในการทำงานแต่ผมก็เข้าไปคุมทุกทีม แต่ก็ปล่อยให้ทุกคนคุยกันเองในทีม และให้อำนาจแก่คนที่เป็นหัวหน้าทีมมาก ทำให้ทีมมีสมดุลระหว่างหลักการและความคิดสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก
ในฐานะเจ้าของธุรกิจ คุณมีวิธีบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างไรจริงๆ ผมมีคู่มือบริหารคุณภาพนะครับ ในนั้น ผมจะเขียนระเบียบวิธีการทำงานไว้โดยละเอียด แต่ละงานที่ทำต้องมีขั้นตอนชัดเจน ทุกคนต้องอ่านคู่มือเล่มนี้ ต้องเข้าใจหมดว่า “ทำงานอย่างไร” เข้าใจว่า มีการตรวจสอบคุณภาพงานอย่างไร ตรวจอะไรบ้าง แต่ในกระบวนการออกแบบเราให้ความยืดหยุ่นเต็มที่ และฟังเขาพูด
คุณเคยให้สัมภาษณ์ว่า“ผลงานของคุณคือการตลาดในตัวเอง”ขอคำอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องนี้ผมว่า สถาปนิกเป็นอาชีพที่ไม่ควรทำการตลาด ถ้าคุณทำการตลาดแปลว่าคุณออกแบบไม่เป็น คือคนที่เอาของมาขายโฆษณาน่าดูเลย เพราะว่าของมันไม่ดี หรือต้นทุนถูกแต่อยากได้กำไรเยอะ ถ้าของดีไม่ต้องโฆษณาก็มีคนซื้อ การที่ใช้การตลาดคือการที่ต้องบอกคนอื่นว่าของนี้มีอยู่ ของนี้ดี ถ้าสถาปนิกต้องทำอย่างนั้นแปลว่างานของเขายังไม่ดีพอ ยังไม่มีคนพูดถึงว่าดีและมีอยู่ จึงต้องไปประกาศบอกคนอื่นว่ามันดีและมีอยู่ สำหรับอาชีพสถาปนิก ผมว่าผลงานคือ การ
ตลาดโดยตรง ถ้างานดีคนก็เอาไปพูดถึง โดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณาเลย