Custom Search

Sep 3, 2009

Myth เรื่องโลกร้อน


วรากรณ์ สามโกเศศ

มติชน

วันที่ 03 กันยายน พ.ศ. 2552


ในเรื่องโลกร้อนยังมี Myth
(ความเข้าใจว่าเป็นอย่างหนึ่งทั้งที่จริงแล้วไม่ถูกต้อง
หรืออาจเรียกว่ามายาคติ) อยู่หลายประการ
ในปัจจุบันที่สมควรหักล้าง
เพราะภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งบั่นทอนมนุษยชาติอย่างยิ่ง

Myth ประการแรกก็คือ "ยังไม่มีความเห็นพ้องกันว่า

ภาวะโลกร้อนมีจริงในหมู่นักวิทยาศาสตร์"
ความเชื่อเช่นนี้นับได้ว่าผิดอย่างแน่นอนเพราะ
นักวิทยาศาสตร์ชั้นยอดของโลก
จำนวนท่วมท้นเห็นตรงกันในเรื่องพื้นฐาน 3 เรื่อง คือ

(ก) โลกอุ่นขึ้นและจะยังคงอุ่นต่อไปในอนาคต
(ข) การอุ่นขึ้นเป็นผลพวงจากการกระทำของมนุษย์ เช่น
เผาไหม้น้ำมัน ก๊าช และทำลายป่าเป็นส่วนใหญ่
และ
(ค) ผลจากการที่อุณหภูมิสูงขึ้นในอนาคต
ก่อให้เกิดผลเสียอย่างฉกรรจ์เพียงพอที่ ผู้คนทั้งโลกต้องช่วยกัน
(เป็นไปไม่ได้ที่นักวิทยาศาสตร์จะเห็นพ้องกัน

ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปเสีย ทั้งหมด)
ที่เชื่อได้เช่นนี้เพราะในปี 1988 สหประชาชาติตั้งคณะทำงานชื่อ
The Inter Governmental Panel on Climate Change (IPCC)
ซึ่งประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ชั้นยอดของโลกกว่า 2,000 คน
และผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก คนเหล่านี้ได้หารือพบปะกันเพื่อทบทวน
ศึกษาบทความ และงานศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
สำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
นักวิทยาศาสตร์
ที่เดิมไม่เชื่อว่ามีโลกร้อนก็เป็นสมาชิกของ IPCC ด้วย
บทสรุปของรายงานมีการตรวจสอบกันคำต่อคำ
โดยสมาชิกที่เห็นด้วยและเดิมไม่เห็น ด้วย
วิธีการของ IPCC ยุติธรรม
และได้รับการยอมรับจากสาธารณชนเป็นอย่างดี
ข้อสรุปทั้ง 3 ข้อข้างต้นออกสู่ประชาชนตั้งแต่ปี 1995

และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาข้อสรุป IPCC
ก็ยิ่งได้รับการยืนยันมากขึ้นทุกที
ต่อ มาการศึกษา IPCC
ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจาก
องค์กรของนักวิทยาศาสตร์ 16 ชาติทั่วโลกอย่างแข็งขัน
ทีมงาน IPCC ยอมรับคำพยากรณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
บางอย่างของโลกอาจไม่ถูกต้องบ้าง
เพราะโลกเป็นระบบที่ซับซ้อนและมีความไม่แน่นอนสูง
แต่องค์กรเหล่านี้มั่นใจไม่น้อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
ว่าอุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นต่อไป
โดยอุณหภูมิเฉลี่ยบนผิวโลกก่อน ปี 2100
จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.4 ถึง 5.8 ?C กว่าระดับปี 1990
ซึ่งการเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ฝนตกมากขึ้น
ในบางประเทศและแล้งมากขึ้นในบางประเทศ
โดยก่อให้เกิดผลด้านลบแก่สุขภาพ การเกษตร

และทรัพยากรน้ำ Myth
ประการที่สองก็คือ "การผันแปรของอุณหภูมิเป็นเรื่องปกติ
และอยู่ในขอบเขตที่เป็นไปตามธรรมชาติ"
ความจริงในเรื่องนี้ก็คือสถิติเกี่ยวกับ
ความร้อนบนผิวโลกวัดโดยเทอโมมิเตอร์
มีการเก็บย้อนหลังขึ้นไปเพียง 140 ปีเท่านั้น
การประมาณอุณหภูมิของโลกทางอ้อมโดยพิจารณาแกนน้ำแข็ง
ที่เจาะขึ้นมาจากใต้ พื้นขั้วโลกและวงแหวนในเนื้อไม้
ให้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับอุณหภูมิในสมัย เก่าก่อน

ข้อมูลอุณหภูมิที่ได้มาบอกว่าโลกเราไม่เคยมีอุณหภูมิเฉลี่ย
สูงเช่นนี้มาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1,000 ปี
และความหนาแน่นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในบรรยากาศซึ่งเป็นตัวชี้สภาวะโลกร้อนไม่เคยสูงเช่นนี้

เป็นเวลา 420,000 ปี
และมีความเป็นไปได้ว่าไม่เคยสูงถึงระดับนี้
กว่า 20 ล้านปีที่ผ่านมา

ข้อเท็จจริงเช่นนี้จึงไม่อาจบอกได้ว่าเป็นการผันแปรที่อยู่ใน
ขอบเขตของธรรมชาติ อย่างแน่นอน
นักวิทยาศาสตร์ชั้นยอดของโลก 2,000 คน
ไม่มีทางยอมรับข้อมูลข้างต้นอย่างไม่มีเหตุผลทางวิชา
การสนับสนุน
Myth
ประการที่สามก็คือ "ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ไม่เกี่ยวข้องกับการสูงขึ้นของอุณหภูมิ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยปริมาณที่หลงเหลืออยู่ในบรรยากาศ"
ความจริงก็คือก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์
มีผลโดยทั่วไปทำให้บรรยากาศอุ่นขึ้น

ในบางครั้งระดับของอุณหภูมิและ
ระดับความเข้มข้นของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์
มิได้เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันอย่างเหมาะเจาะ
ทั้งนี้ ก็เนื่องจากก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์มิใช่
ปัจจัยเดียวที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
ก๊าชเรือนกระจกอื่นๆ เช่น มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน ฯลฯ
มีผลต่ออุณหภูมิเช่นเดียวกัน
หลักง่ายๆ
ก็คือยิ่งเอาก๊าซอะไรลอยขึ้นไปบนฟ้ามากเพียงใด
ก็ยิ่งทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น เพียงนั้น สภาวการณ์นี้มี
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนอย่าง
ไม่มีใครปฏิเสธได้
ด้วย ความจริงทั้งหมดนี้ มายาคติในเรื่องโลกร้อนควร
ถูกกำจัดไปให้หมดและชาวโลกทั้งมวล

หันหน้ามาช่วยกันรักษา "บ้าน"หลังนี้ให้อยู่สงบ
มิฉะนั้นจะเท่ากับว่าเราปล่อยให้ไฟไหม้บ้านอย่างนิ่งดูดาย
ทั้งๆ ที่สามารถช่วยกันดับไฟตั้งแต่ไฟเริ่มไหม้

เมื่อเร็วๆ นี้นักดาราศาสตร์ชื่อ Dr.Roger Angel
ได้เสนอความคิดที่ดูหลุดโลกแต่สามารถแก้ไขภาวะโลกร้อนได้ชะงัด
วิธีการก็คือสร้างโลกให้เย็นลงแทนที่จะไปคอยแก้ปัญหาโลกร้อน
ด้วยการสร้าง "ฉาก" กั้นแสงแดดในบรรยากาศชั้น stratosphere
โดยการยิงแผ่นวัสดุสะท้อนแสง เช่น

วัสดุที่ทำจากซัลเฟตขึ้นไปในท้องฟ้า ระยะทางจาก
พระอาทิตย์ถึง โลก 92 ล้านไมล์ ให้แผ่นวัสดุเล็กๆ
จากโลกไปโคจรอยู่นอกโลกในรัศมีไกลจากโลก 1 ล้านไมล์
วางตัวเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว 60,000 ไมล์ และกว้าง 4,500 ไมล์
วัสดุเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็น "ฉาก" กั้น
แสงแดดจากดวงอาทิตย์ได้ประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์
เงาที่เกิดขึ้นบนผิวโลกจะช่วยให้โลกเย็นขึ้น

เมื่อโลกหมุนไปเงาก็จะทาบไปทุกส่วนของโลก
ความคิดที่เป็นการ "หลุดโลก"
(แผ่นวัสดุหลุดไปจากโลก)
เช่นนี้สะท้อนให้เห็นความพยายาม
ของผู้คนที่จะแก้ไขภาวะโลกร้อน
ถึงแม้จะดูหลุดโลกแต่ก็ดีกว่าที่จะไม่ทำอะไร
เลยนอกจากเผาน้ำมันและก๊าซไป วันๆ


หน้า 6