เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Sep 23, 2009
เศรษฐีใจบุญผู้ไม่ฉลาดเรื่องเงิน
วรากรณ์ สามโกเศศ
มติชน
วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552
เมื่อ เร็วๆ นี้มหาเศรษฐีอเมริกันใจบุญ
Finn M.W.Caspersen ผู้บริจาคเงินแต่ละครั้ง
นับสิบๆ ล้านเหรียญสหรัฐยิงตัวตาย
ในสนามกอล์ฟใกล้บ้านพักร้อนของเขา
เพื่อหนีความยุ่งยากจากเงินทองที่มีอยู่มากมาย
Caspersen สร้างตนเองจากการเป็น
เจ้าของบริษัทไฟแนนซ์ผ่อนส่ง
ชื่อ Beneficial ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก
ในปี 1998 เขาขายบริษัทให้แก่
Household International
ได้เงินมา 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
(296,000 ล้านบาท)
ซึ่งต่อมากลายเป็น
HSBC Finance Corp
เขาเรียนจบจากมหาวิทยาลัย Brown และ
Harvard Law School
เขาชอบบริจาคเงินให้
มหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกา
นับร้อยๆ ล้านเหรียญสหรัฐ
ครั้งหนึ่งบริจาคเงิน 30 ล้านเหรียญให้
Harvard Law School
ซึ่งเป็นเงินบริจาคก้อนใหญ่ที่สุด
ที่โรงเรียนกฎหมายแห่งนี้เคยได้รับใน
ประวัติศาสตร์ ชื่อ Caspersen
เป็นชื่อของอาคาร
สิ่งก่อสร้างหลายแห่งในมหาวิทยาลัยเหล่านี้
Caspersen บริจาคเงินให้นักการเมือง
ที่คุ้นเคยกันจำนวนมากในฝั่งตะวันออก
ในบางปีเขาบริจาคให้พรรครีพับลิกัน
นับแสนๆ เหรียญ ฯลฯ
เขาเป็นขวัญใจของมูลนิธิ กองทุน
โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ฯลฯ
เพราะเขาเป็นคนใจบุญ บริจาคเงินไปทั่ว
จนเป็นที่รู้จักกันดีในระดับชาติ
แต่ในวันที่ 7 กันยายน หรือ Labor Day ที่ผ่านมา
เขาก็จากโลกนี้ไปตามความต้องการของตัวเขาเอง
เพราะประสบกันแรงกดดันเรื่องเงินทอง
และความเจ็บป่วยเป็นมะเร็งในไตในวัย 67 ปี
เขารู้ตัวก่อนตายว่ากำลังถูกสอบสวน
เรื่องการแอบซุกเงินไว้ในบัญชีต่างประเทศ
จนอาจติดคุกและถูกปรับภาษี
เป็นเงินนับร้อยล้านเหรียญ
ทางการสหรัฐกำลังกวาดล้าง
การซุกเงินของเศรษฐีอเมริกัน
จำนวนไม่น้อยไว้ใน
บัญชีลับที่สวิตเซอร์แลนด์
และประเทศชื่อประหลาดๆ
ดังที่เราเคยได้ยินกันและ Caspersen
เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ
เมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ของปีนี้ธนาคารใหญ่ของสวิส UBS
จำต้องเปิดเผยชื่อของลูกค้าชาวอเมริกันเกือบ 300 คน
ที่เข้าข่ายซุกเงินเพื่อหนีภาษีและได้ส่งชื่อให้อีกเป็นจำนวนหลายพันคน
ลูกค้าใหญ่คนหนึ่งของ UBS คือ Igor Olenicoff
ซุกเงิน 200 ล้านเหรียญไว้ในสวิตเซอร์แลนด์
และไลเชนสไตล์เพื่อหนีภาษีเงินได้
เขายอมรับผิดเมื่อปีก่อน
และต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงิน 52 ล้านเหรียญ
ล่าสุด ลูกค้าอเมริกันหลายคนของ UBS
กำลังจะประสบชะตาเดียวกัน
(ภาษีเงินได้สามารถสร้างคนโกหกได้มากกว่ากอล์ฟ)
เชื่อกันว่าในเวลา อีกไม่นาน
เศรษฐีอเมริกันอีกหลายคน
กำลังจะโดนเล่นงานหลังจาก
ทางการปล่อยปละละเลยมาเป็น
เวลาหลายปี "นักซุก" เหล่านี้
กำลังประสบกับการตัดสินใจครั้งสำคัญ
กล่าวคือทางการสหรัฐอเมริการะบุว่า
หากคนเหล่านี้ยอมรับและเปิดเผยการซุกเงิน
ก่อนวันที่ 23 กันยายน 2009
จะได้รับการอภัยโทษ
แต่ถ้าหากเลยวันที่นี้ไป
แล้วจะถูกดำเนินคดีอาญาทุกคน
"นักซุก" เหล่านี้จึงต้องตัดสินใจว่า
จะยอมรับหรือทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้โดยยอมเสี่ยงว่า
จะไม่ถูกจับ พวกเขากำลัง
เล่นโปกเกอร์พนันชีวิตในคุกของตนเอง
ในกรณี ของ Caspersen ทางการมุ่งไปที่บัญชีในไลเชนสไตล์
(รัฐเล็กๆ อยู่ใกล้เบลเยียม) ซึ่งกำลังเป็นสวิตเซอร์แลนด์ที่สอง
ของการซุกเงินไว้ต่างประเทศ
โดยรู้ว่าเขามีบัญชีอยู่ที่ธนาคาร LGT
และเมื่อปลายปีที่แล้วไลเชนสไตล์
ยอมที่จะเปิดเผยรายชื่อลูกค้าอเมริกัน
ดังนั้น สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเหล่านี้
จึงเป็นแรงกดดันเขาอย่างสำคัญ
ก่อน หน้าเหตุการณ์สลด
เขาได้ลาออกจากตำแหน่งต่างๆ
เช่น จากสภาที่ปรึกษา
ของคณบดีของHarvard Law School
จากโรงเรียนที่เขาเป็น
ประธานคณะกรรมการสนับสนุน
จากคณะกรรมการของเมือง
จากประธานของ Hodson Trust
(มูลนิธิรับบริจาคเงิน) ฯลฯ
เหมือนกับการเตรียมตัวก่อนที่เขาจะลาโลกไป
ผู้คนเสียใจในการจากไปของ เขา เพราะ Caspersen
เป็น Philanthropist หรือ เศรษฐีใจบุญตัวจริง
(Philantrophy มาจากภาษากรีกว่า Philos
หรือ Loving และ Anthropos หรือ
Humankind หรือ Humanity
ซึ่งรวมกันจึงหมายความถึง Love of Humanity
หรือความรักในมนุษยชาติ)
Caspersen
เสียดายค่าปรับ 100 ล้านเหรียญ
หรือไม่มีเงินจ่าย?
อับอายขายหน้าการกระทำความผิด?
กลัวติดคุก?
ความเจ็บป่วยทำให้จิตใจอ่อนแอ?
ไม่มีใครรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด
พอคาดคะเนได้ว่าหลายปัจจัยคงผสมกัน
แต่ไม่มีใครรู้แน่เพราะเท่าที่สื่อทราบ
เขาไม่ได้ทิ้งจดหมายลาตายไว้
สิ่ง ที่รู้แน่ก็คือ เขาจัดการกับเรื่องเงิน
ที่เขามีมากมายอย่างผิดพลาด
เขาไม่ใช่คนฉลาดเรื่องเงินอย่างแน่นอน
ถ้าเขาฉลาดเรื่องเงิน
ทำไมเขาจึงหาความสุขในบั้นปลายชีวิตไม่ได้
กับเงินที่เขามีล้นฟ้า
จนต้องจบชีวิตลงเช่นนี้
ชีวิตของ Caspersen เป็นบทเรียน
สำหรับเศรษฐีที่ยังมีชีวิตอยู่
ถ้าเขาไม่ทำผิดกฎหมาย
กระทำทุกอย่างๆ ตรงไปตรงมา
ไม่ "ซุก" ไม่ "โกหก"
ไม่ทำตามแฟชั่นคนรวยที่ต้อง
พยายามหนีภาษีให้ได้มากที่สุด ฯลฯ
ป่านนี้เขาคงมีความสุขกับเงิน
และมีความสุขใจจากการที่ได้ "ให้"
มาตลอดชีวิตไปแล้ว
คนไทยนั้นมักจะคิดว่าเมื่อมีเงินแล้ว
ไม่ว่าถูกลอตเตอรี่ ได้รับมรดก
หรือทำงานได้เงินมากมาย
จนสบายไปตลอดชาติแล้วทุกอย่างก็จบ
ทุกอย่างเป็นไปอย่างมีความสุข
ตลอดกาลนาน
เหมือนคำบรรยายตอนจบของนิทาน
ความ จริงก็คือเมื่อมีเงินมากแล้ว
มันไม่จบดังคิดแต่ปัญหามันเพิ่งเริ่ม
ในเบื้องต้นก็คือจะปรับตัวกับการมีเงินนั้นอย่างไร
จะครองชีวิตอย่างไรให้ตัวเองมีความสุขกายและสุขใจ
และทำอย่างไรเงินมันจึงงอกเงยไม่หดหายไป
เพราะความเขลา การพนัน ถูกหลอก ฯลฯ
ถ้า เมื่อมีเงินแล้วมีความสุขกายและใจไปตลอดจริง
เราคงเห็นคนรวยมีความสุขทุกคน
แต่ความจริงก็คือเราเห็นคนรวยล้นฟ้าเร่าร้อน
เต็มไปด้วยความทุกข์ใจ วิ่งหาพระ
หาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ "รดน้ำมนต์พ่นน้ำหมาก"
กันทุกอาทิตย์ในวัดต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ
สำหรับคนทั่วไปเงินไม่ใช่กุญแจสู่ความสุข
มีเฉพาะบางคนเท่านั้นที่สามารถนำเงิน
ที่มีเอาไปทำกุญแจเพื่อไขไปสู่ความสุขได้
หน้า 6