เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Sep 26, 2009
พระพุทธจริยาวัตร60ปาง ปางเรือนแก้ว
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน
วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552
พระพุทธรูปปางนี้ก็เช่นกัน เพิ่มเข้ามาใหม่
เพื่อเหตุผลอะไรบางอย่าง ดังจะสันนิษฐานต่อไป
ก่อนอื่นขอเล่าประวัติความเป็นมาก่อน
ใน สัปดาห์ที่ 4 พระพุทธองค์เสด็จออกจากรัตนจงกรมเจดีย์
ไปยังทิศพายัพของต้นโพธิ์ ประทับ ณ เรือนแก้ว (รัตนฆระ)
ว่ากันว่าเทวดาเนรมิตถวาย พระองค์ประทับ ณ เรือนแก้วนี้
เป็นเวลา 7 วัน ทรงพิจารณาพระอภิธรรม
พระอภิธรรมที่ว่านี้คือ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์
ที่โบราณาจารย์ย่อให้สั้นเพื่อจำง่ายว่า สัง-วิ-ธา-ปุ-ก-ย-ป
สัง คือ สังคณี (ประมวลธรรมเป็นหมวดๆ)
วิ คือ วิภังค์ (จำแนกธรรมที่ประมวลไว้นั้นโดยพิสดาร)
ธา คือ ธาตุกถา (แจงขันธ์, ธาตุ, อายตนะ
ว่าแต่ละอย่างนั้นเข้ากันได้หรือไม่ อย่างไร)
ปุ คือ ปุคคลบัญญัติ (บัญญัติเรียกคนตามคุณธรรม
เช่นเรียกว่า โสดาบัน เพราะคุณธรรมอะไร)
ก คือ กถาวัตถุ (แถลงทฤษฎีว่าอย่างไหน
ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท)
ย คือ ยมก (ยกธรรมขึ้นถามตอบ โดยตั้งคำถามเป็นคู่ๆ)
ป คือ ปัฏฐาน (แจงปัจจัยหรือเงื่อนไขทางธรรมว่ามีอะไรบ้าง)
ปัญหา เรื่องพระอภิธรรมนี้มีมานานแล้ว คือมีผู้ปฏิเสธว่า
พระอภิธรรมนี้เกิดขึ้นภายหลังพุทธปรินิพพาน
สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงแสดงเฉพาะธรรมกับวินัย
หลังพุทธปรินิพพานแล้ว ประมาณสองร้อยกว่าปี
ธรรมกับวินัยจึงได้แตกแขนงออกเป็น 3 หมวด อันเรียกว่า
พระไตรปิฎก โดยธรรม ได้แตกออกเป็น พระสุตตันตปิฎก
และพระอภิธรรมปิฎก วินัย ยังคงเป็นพระวินัยปิฎก
พูดง่ายๆ ก็คือ พระอภิธรรม มาจาก "ธรรม"
หรือเป็นส่วนหนึ่งของ "ธรรม" นั่นเอง
เพราะฉะนั้น พระอภิธรรม จึงนับว่าเป็นพัฒนาการยุคหลัง
แต่ ฝ่ายที่ยกย่องพระอภิธรรมปิฎก ไม่ยอมรับในเรื่องนี้
จึงพยายามชี้ให้เห็นว่าพระอภิธรรมมีมาตั้งนานแล้ว
ตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์ตรัสรู้โน่นแน่ะ เพราะมีหลักฐานว่า
หลังตรัสรู้แล้วเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้น พระองค์ยังประทับ
พิจารณาพระอภิธรรมในเรือนแก้วเลย
และหลังจากประกาศ พระพุทธศาสนาแล้วประมาณ 7 ปี
พระพุทธองค์ยังได้เสด็จขึ้นไป
แสดงพระอภิธรรมแก่อดีตพุทธมารดา
ซึ่งไปเกิดเป็นเทพบุตร ณ สวรรค์ชั้นดุสิต
พระพุทธองค์เสด็จไปจำพรรษา
ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อดีตพุทธมารดา
ได้ลงมาฟังพระอภิธรรมร่วมกับเหล่าเทพทั้งหลาย
ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ใครกล่าวหาว่าพระอภิธรรมเป็นพัฒนาการในยุคหลัง
เป็นไปไม่ได้เป็นอันขาด ว่าอย่างนั้นเถอะ
ครับ ถ้าจะเอาหลักฐาน ก็มีดังที่กล่าวมานี้แหละ
แต่หลักฐานเหล่านี้ ไม่มีในพระไตรปิฎก
แต่งขึ้นภายหลัง โดยปราชญ์สำนักอภิธรรมนั้นแล
พระ อรรถกถาจารย์ คือ พระพุทธโฆสาจารย์
ผู้แต่งอรรถกถามากมาย เป็นพระสำนักอภิธรรม
จึงจำเป็นอยู่เองที่ท่านต้องการยืนยันความเก่า
ของพระอภิธรรมเก่าแก่มาแต่ สมัยพุทธกาล
ไม่ผิดดอกครับที่ท่านเสริมเพิ่มเติมเข้ามาในภายหลัง
เพราะไม่มีใครปฏิเสธว่าพระอภิธรรมนั้น มิใช่พุทธวจนะ
หรือมิใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นแน่นอน
เพียงแต่ต้องการให้นักศึกษาสำเหนียกในแง่ของประวัติศาสตร์ว่า
ธรรมะส่วนไหนของพระพุทธเจ้า เกิดก่อน เกิดหลัง
ปิฎกไหนของพระไตรปิฎก เกิดก่อน เกิดหลังเท่านั้นเอง
ใครไปนมัสการสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ที่อินเดีย
ก็จะเห็นสถานที่ต่างๆ ที่พระพุทธองค์เคยประทับ
รัตนจงกรมเจดีย์ เขาก็สร้างไว้ข้างวิหารพุทธคยา
มีดอกบัวสำหรับรองรับพระบาท (กี่ดอกไม่ได้นับ)
รัตนฆรเจดีย์ ก็สร้างเป็นเรือนถัดจากรัตนจงกรมเจดีย์
ให้เห็นเป็นหลักฐานอยู่
หน้า 6