Custom Search

Nov 30, 2008

บทสัมภาษณ์ ประภาส ชลศรานนท์ : Prapas.com


จิก-ประภาส เผยเบื้องหลังเพลง "ปั่นจักรยาน"

เปิดโลก-เปิดใจ

matichon tv


บทสัมภาษณ์ ประภาส ชลศรานนท์ หลังงาน Creativities Unfold, Bangkok 2008
November 20th, 2008
http://www.tcdcconnect.com/
http://www.prapas.com/

นักคิดคนสำคัญในธุรกิจบันเทิงของเมืองไทยที่ใครๆ
ก็รู้จักดีจนเรียกเขาอย่างสนิทปากว่า “พี่จิก” ซึ่งในงานCreative Unfold 2008 นี้
เขาเผยที่มาของความคิดสร้างสรรค์ที่เขานำมาใช้ในงานต่างๆ ผ่าน “7 วิธีตีหิน”
(ดูรายละเอียดได้ใน live blogging) ที่ชวนหัวและชวนนำไปต่อยอดได้อีกเยอะ
แต่ในตอนนี้เราขอคุยกับเขาถึงมุมมองอื่นๆ ในชีวิตที่ทำให้เขาเป็น
“ประภาส ชลศรานนท์” ได้ในวันนี้
-ตอนเป็นเด็กคุณชอบเล่นของเล่นพวกไหน
ก็เปลี่ยนไปตามวัย สมัยผมเด็กๆ ของเล่นไม่เยอะเท่าสมัยนี้
เราก็จะเล่นของเล่นพื้นๆ ที่หาได้ตามข้างโรงเรียนอย่างพวกของเล่นไม้
ของเล่นสังกะสี หรือหนังยาง ส่วนที่จะไปเกี่ยวกับจินตนาการ
เราก็เล่นสมมติเป็นต้นหนเรือ เป็นกัปตันอะไรไปเรื่อย

-หากมองย้อนกลับไปในการชีวิตการทำงานของคุณ คุณคิดว่า

การศึกษาในระบบโรงเรียนนั้นเอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของคุณหรือไม่
อย่างไรการศึกษาในระบบโรงเรียนจำเป็นนะครับ
เพราะเราต้องปรับไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลก จึงต้องเริ่มที่โรงเรียนก่อน
ถ้าพูดถึงการเรียนรู้นอกระบบล่ะผมว่าในบ้านเรา

ยังไม่ได้มีองค์กรการเรียนรู้นอกระบบที่พร้อมเท่าไรนัก
แต่ถ้าให้มองจริงๆ การเรียนรู้จากพ่อแม่ก็ใช่ ห้องสมุดก็ใช่นะครับ
โดยตัวผมเองเรียนมาในสายศิลปะและการออกแบบก็จริง
แต่ตัวเองไปสนใจเรื่องหนังสือ เรื่องเพลง เรื่องภาพยนตร์
ก็ไปหาความรู้เองจากการทำเวิร์คช็อปบ้าง ไปร่วมทำงานในกิจกรรมต่างๆ บ้าง
การไปทำงานจริงผมถือว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีมากๆ ไม่ว่าจะไปทำเพลง ทำละคร
หรือเป็นฟรีแลนซ์รับเขียนภาพประกอบเพื่อเรียนรู้การทำหนังสือ
ถือว่าได้ความรู้เยอะมาก ไม่แพ้การเรียนในโรงเรียน
-คุณคิดว่าผู้คนอย่างเราๆ สามารถมีส่วนร่วมในเรื่อง “Creative Economy”
ได้อย่างไรบ้าง
ก็ต้องบอกว่าเป็นการมีส่วนร่วมคนละนิดคนละหน่อยนะ ไม่ใช่ว่าไม่มีผลเลย
หรือจะบอกว่ามีผลแรงก็ไม่ได้บางทีรัฐบาลก็ทำให้เราท้อ
บางทีรัฐบาลก็ทำให้เรามีกำลังใจ ก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
แต่อย่าไปคิดว่าตัวเองไม่มีส่วนใดๆ คนที่ทำงานเยอะ
มีแรงมีพลังเยอะก็สร้างสิ่งเหล่านี้ออกมาให้คนอื่นๆ
เห็นเป็นแรงบันดาลใจสร้างรสนิยมให้เกิดขึ้นได้

-คุณเห็นว่า พฤติกรรมการดูโทรทัศน์ของคนไทยเป็นอย่างไรและ
ได้หยิบยกพฤติกรรมนั้นมาเป็นเงื่อนไขในการสร้างสรรค์รายการ

โทรทัศน์หรือไม่อย่างไรบ้าง
สำหรับวงการโทรทัศน์ไทย เรามีกลุ่มเป้าหมายที่ห่างกันมาก
คือคนเมืองกับคนชนบทนี่ดูโทรทัศน์ต่างกันมากเลย
คนเมืองในแต่ละวัยก็ดูโทรทัศน์ต่างกันมากๆ อีก
ต้องว่ากันเป็นประเด็นเป็นกลุ่มไป แต่ผมว่าช่วงเวลาที่น่าสนใจมากที่สุด
ของรายการโทรทัศน์ ก็คือ ช่วงเวลาที่ครอบครัวอยู่ร่วมกัน
เพราะเป็นช่วงที่เราจะปลูกฝังอะไรให้กับเด็กๆ ได้
พอคนเสพงานคุณไม่ว่าจะเป็นเพลง หนังสือ หรือรายการทีวี

มักจะอุทานว่า “คิดได้อย่างไร?” เราอยากถามคำถามนั้นเช่นกัน
“คิดได้อย่างไร?” ของคุณมีกระบวนการที่มาอย่างไรบางอันก็เป็นขั้นตอนไป
บางอันก็วาบขึ้นมา หรือบางทีก็เป็นขั้นตอนที่มาจากความคิดที่วาบขึ้นมา
ถ้าจะให้แนะ-นำเด็กรุ่นใหม่ๆ ผมว่าเราต้องเติมไปไปเรื่อยๆ
และมีเชื้อเพลิงที่ดี คือ ความรู้ ซึ่งไม่ใช่ความรู้ในห้องเรียนอย่างเดียว
อย่างอื่นก็เป็นการสอนไปในตัว อย่างที่ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า
“จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” นั่นไม่ใช่ว่าความรู้ไม่สำคัญนะ
ต้องมีความรู้ก่อน สำหรับตัวผมไม่มีกระบวนการตายตัวหรอก
ถ้าจะมีมันก็เกิดขึ้นอย่าง-อัตโนมัติมาก

-ในความคิดของคุณ มีตัวอย่างวัฒนธรรมไทยร่วมสมัยอะไร

ที่สามารถ “ขาย” ได้ในตลาดโลก
ผมว่าทุกชาติมีหมดนะ วัฒนธรรมร่วมสมัยที่เป็นสิ่งสากลสามารถนำมาขายได้

วัฒนธรรมร่วมสมัยในปัจจุบันก็ล้วนแต่ต่อยอดมาจากสิ่งอื่นหรือสิ่งดั้งเดิม
อย่างวัฒนธรรมที่เป็นของอเมริกันเอง เช่นเพลงบลูส์ หรือร็อคแอนด์-โรล
ก็มีที่มาจากอดีตแล้วพัฒนาต่อยอดขึ้นไป ของไทยเราก็มีเพลงจังหวะมันส์ๆ
ที่สามารถขายได้ แต่เรื่องนี้ต้องคุยกันยาวนะครับ เราต้องมานั่งถกกันและค่อยๆ
แกะปมทีละปม ถ้าเราบอกว่า การ์ตูนญี่ปุ่นนี่เป็นวัฒนธรรมหลักของเขา
เป็นจุดขายของเขาเลย เราก็ต้องมาดู เช่น
การ์ตูนเรื่องเจ้าหนูอะตอมก็มีที่มาจากมิกกี้เมาส์ ก็มาจากฝรั่ง
แต่ทุกวันนี้มันกลายเป็นของญี่ปุ่นแท้เลย ผมว่าทุกอย่างมันเป็นการต่อยอด
ไม่มีใครลอกใครหรอก

-ในทัศนคติของคุณ คิดว่า Creative City สำหรับกรุงเทพฯ

เป็นอย่างไรบ้าง
ผมชอบใจบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ ถ้าพูดถึงเรื่องนี้ผมจะเห็นภาพที่นั่นชัด

ผมคิดถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีสถาปัตยกรรมใหม่เข้าไปแทรกอยู่
มีความร่วมสมัยเข้าไปแทรกอยู่
ผมคิดถึงบรรยากาศเยอะเหมือนกันนะ คิดถึงมหาวิทยาลัยศิลปะที่อยู่ในบริเวณนั้น
ก็น่าจะมีมหาวิทยาลัยศิลปะเยอะขึ้นอีก
อยากให้มีเป็นย่านที่มีมหาวิทยาลัยศิลปะรวมกัน
เป็นย่านของความสร้างสรรค์โดยเฉพาะ ตอนนี้ผมเห็นกรุงเทพฯ
เป็นเมืองที่ไม่มีที่เดินเที่ยวต้องเดินห้างเท่านั้น
ผมอยากให้มีบริเวณที่เป็นที่เดินเล่น ให้คนมาทำกิจกรรมอื่นๆ
กันมากขึ้น อาจจะมีพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ก็ได้
หรือเป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ก็ได้ อยู่ใกล้ๆ กันหมดเลย
โดยที่ไม่ต้องเกี่ยวกับการค้ามากผมอยากเห็นภาพแบบนั้นมากกว่า

ช่วงคุยกับประภาส:-
อีกมิติหนึ่งเหมือนได้เข้าไปในหนังสือคุยกับประภาส
วันนี้คุยถึง 7 วิธีตีหิน มีตามนี้

1. ทำลายกรอบดวงตา (คิดนอกกรอบ)
2. คิดย้อนศร
3. หนามยอกเอาหนามบ่ง
4. เรื่องเล็กรอบตัว
5. จับคู่ผสมพันธุ์
6. สมมุตินะสมมุติ
7. ขีดไปก่อน เขียนไปก่อน: คำว่า “Oh! my God” ที่มาของรายการ คุณพระช่วย
ช่วงถามประภาสผู้ร่วมงาน (ท่าทางตื้นเต้นดีใจ)
ถามอย่างตื่นตัวว่า
-“วิธีการคิดเอาวัฒนธรรมผ่านกระบวนการคิดผ่านวิธีตีหิน
ทั้ง 7 มาสร้างธุรกิจได้อย่างไรครับ”
ประภาส
สองสิ่งที่คนไทยมองวัฒนธรรม คือ อยู่บนหิ้ง กับ เฉย
ผมถึงได้ทำ “อีสาน”อย่างเกาหลีมีภาระแห่งชาติที่สร้างสรรค์ประเทศ
ไม่ทราบว่าในที่นี้มีผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง…รึเปล่าว

-"คำถามจากผู้ร่วมงาน“ทำอย่างไร เมื่อโดนขโมยไอเดีย"
ประภาส
“อย่าวางของในที่หยิบง่าย” “ทำใจ” “ไม่ใช่อย่างนั้นครับ
ต้องระวัง”และ“ความคิด ต้องคิดต่อจากสิ่งหนึ่ง
ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่เกิดขึ้นแล้วเป็นOriginal”
“มองมาที่เรา มีภาพเด็กหัวจุก ขี่ช้าง
ลองฝรั่งมาที่นี่ไม่เห็นเด็กผมจุกซักคน …ไหนหละช้าง (มีแต่รถ)
“ผมก็อยากเอาวัฒนธรรมมาให้เป็นรูปธรรม
ฝากไว้ว่าอย่างมองให้มันเชยมากนะครับ”

-ผู้ร่วมงาน“พี่มีความคิดที่อยากทำ หรือไม่ได้ทำแล้วให้คนอื่นทำบ้าง”
ประภาส
“ผมอยากให้คนทำเรื่องวัฒนธรรม โดยเฉพาะรัฐ บ้านเรามีวัฒนธรรมดีๆอยู่มากครับ”