เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Nov 17, 2008
คิดถึงหลวงพ่อปัญญานันทะ(8)
คอลัมน์ รื่นร่มรมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
เมื่อหลวงพ่อพูดถึงโยมแม่ เมื่อครั้งมีโครงการบวชสามเณรแปดหมื่นสี่พันรูป โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับรัฐบาล และมหาเถรสมาคม ที่ผ่านมาแล้วนั้น มีเงินบริจาคจากชาวบ้านเพื่อสนับสนุนโครงการนี้จำนวนหนึ่ง เราได้แบ่งสายกันนำปัจจัย เฉลี่ยตามรายหัวสามเณรไปมอบศูนย์บวชและอบรมจังหวัดต่างๆ ผมรับอาสาไปยังจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม และอุบลราชธานี
จังหวัดแรกที่ผมไปคือจังหวัดขอนแก่น หลวงพ่อเจ้าคณะจังหวัด คือพระเทพกิตติรังษี ดีใจมากที่ได้พบผม ยังไม่ทันพูดคุยธุระปะปังที่รับมอบหมายมา
หลวงพ่อพูดว่า "นี่อาจารย์ รู้ไหม หนังสือที่อาจารย์พิมพ์เผยแพร่
อาตมานำไปใช้ประโยชน์สงเคราะห์ชาวบ้านมาตลอด"
ผมถามท่านว่า หนังสืออะไรจะมีประโยชน์ปานนั้น หลวงพ่อท่านบอกว่า
หนังสือคู่มือตั้งชื่อลูกหลานชาวบ้าน ว่าแล้วท่านก็งัดหนังสือเล่มนั้นขึ้นมา
แล้วกล่าวต่อไปว่า "วันนี้มาเจอเจ้าตัวผู้ประพันธ์ ขอ "บูชาครู" หน่อย"
แล้วก็สั่งให้เลขาฯนำปัจจัยมาให้ 1,000 บาทเป็นค่าบูชาครู
ผมกราบเท้าท่านด้วยความซาบซึ้ง ไม่ใช่เพราะได้เงินจากพระ
แต่ซาบซึ้งในการแสดงออกซึ่งคุณธรรมให้ปรากฏ ให้เป็นแบบอย่างแก่อนุชนภายหลัง
นี่แหละครับที่ท่านพุทธทาสเน้นย้ำเสมอว่า พระสงฆ์นั้นต้องสอนด้วยปาก
ทำให้ดู อยู่อย่างมีความสุขให้เห็น หลวงพ่อเจ้าคณะจังหวัดทำให้ดูด้วยตัวท่านเอง
ว่าได้ความรู้จากใครแม้เล็กน้อย ท่านก็อนุโมทนาขอบคุณ
ถึงกับทำพิธี "บูชาครู" อันเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีให้เป็นตัวอย่างแก่คนทั่วไป
หลวงพ่อเล่าว่า ท่านอยู่กุฏินี้มาหลายสิบปีแล้ว มีผู้สร้างกุฏิหลังใหม่ใหญ่โตกว่า
ท่านก็ไม่ยอมย้าย ผมถามว่าทำไมไม่ย้ายขึ้นกุฏิใหญ่โตให้สมตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด
ท่านบอกว่า ย้ายไม่ได้ เพราะโยมแม่กับโยมพ่อท่านอยู่ที่นี่
เมื่อเรียนถามว่า ทำไมไม่ชวนโยมทั้งสองไปอยู่ที่ตึกใหม่ละครับ
"ชวนแล้ว โยมทั้งสองรับหรือไม่รับ อาตมาก็ไม่รู้ เพราะฟังไม่ได้ยิน
จึงอยู่ที่เดิมดีกว่า" หลวงพ่อหัวเราะด้วยความสุข
ขณะผมงงอยู่นั้น ท่านก็ชี้ไปตู้ด้านหลัง อาจารย์ไปไหว้โยมทั้งสองของอาตมาหน่อย
โน่นอยู่บนหิ้งโน้น อาตมาเอากับข้าวที่ได้จากบิณฑบาตให้โยมทุกวัน
ผมถึงได้ "ถึงบางอ้อ" ว่าท่านหมายถึงอัฐิคุณโยมพ่อโยมแม่ทั้งสองของท่าน
ผมลุกไปไหว้ท่านทั้งสองด้วยความซาบซึ้ง ในความกตัญญูกตเวทีของพระลูกชาย
ที่ได้แสดงตัวอย่างแห่งกตัญญูกตเวทิตาธรรมให้ปรากฏเป็นแบบอย่าง
ให้อนุชนได้ปฏิบัติตาม
ไหว้โยมท่านแล้ว ก็ละอายใจ ที่ตัวเองมิได้ปฏิบัติเคร่งครัดเหมือนพระคุณท่าน
ท่านผู้อ่านครับ เวลาท่านศึกษาประวัติพระเถระรูปใด
เรามักจะประทับใจในความรู้ความสามารถของแต่ละท่าน
ว่าท่านเก่งในด้านต่างๆ อย่างนั้นอย่างนี้ แต่เรามักจะลืมมองอีกมุมหนึ่งคือ
ในด้านพื้นฐานส่วนตัวของท่าน ท่านปฏิบัติต่อบุพการีของท่านอย่างไรบ้าง
ถ้าท่านมองในมุมนี้ ท่านจะเห็นว่า พระคุณเจ้าที่เป็นหลักชัยแห่งพระศาสนาทุกรูป
ท่านปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างแห่งความเป็นบุตรกตัญญูต่อพ่อแม่อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง
แทบทุกรูปทุกนามก็ว่าได้
ดูท่านเหล่านั้นแล้ว หันมาปรับปรุงตัวเองและดำเนินตามท่าน
เพียงแค่นี้โลกจะรอดได้ ดังที่ท่านพุทธทาสย้ำว่า
"โลกจะรอดได้ เพราะกตัญญูกตเวที"
เกริ่นมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อจะพาแฟนๆ
ไปดูว่าหลวงปัญญานันทะท่านพูดอย่างไรเกี่ยวกับโยมแม่ท่านบ้าง
เชิญสดับครับ
ยาวิเศษ
ผมจำเหตุการณ์ในชีวิตได้ว่า คราวหนึ่งไปเรียนหนังสืออยู่ห่างบ้าน
ไปอยู่วัด แล้วก็ไม่สบาย นอนซมอยู่กับที่ เพื่อนบอกว่า "คุณป้ามาแล้ว"
หมายถึงโยมผู้หญิงมา รู้สึกว่ามีกำลังภายในขึ้นมาทีเดียว
เกิดอารมณ์แข็งขันขึ้นมา
พอเห็นคุณแม่ขึ้นมาบนกุฏิมองเห็นหน้า ลุกขึ้นนั่งได้
กินขนมที่คุณแม่เอามาฝากได้ กินผลไม้เหมือนกับว่า ไม่เจ็บไม่ป่วย
มานึกได้ทีหลังว่า นี่อะไร...อ้อ ยาวิเศษ คือ
ดวงหน้าที่เราได้เห็นที่เรารักเคารพนั่นเอง
พอท่านขึ้นมา มันก็หาย โรคหายภัยไป ใจมันสบาย คนเราพอใจสบาย
มันก็หายโรคหายภัยไปเท่านั้นเอง
อันนี้แหละ คือน้ำใจที่เราได้รับ เป็นอิทธิพลทางจิตใจที่สำคัญที่สุด
ซึ่งลึกลับซ่อนเร้นอยู่ในคุณพ่อคุณแม่ของเรา
ความรักของแม่
ผมนี่เป็นนักเทศน์ เที่ยวสอนคนเขาทั่วบ้านทั่วเมือง พอกลับไปถึงบ้าน
คุณโยมแม่สอนทุกที ท่านสอนทุกที แต่ว่าปลื้มใจ ได้ฟังคำสอนแล้ว ปลื้มใจ
แม่นี้รักลูกจริงๆ คิดถึงลูก พอไปแล้วสอนอย่างนั้นอย่างนี้
"ไปอยู่บ้านไกลเมืองไกล อยู่คนเดียวมันต้องระวัง
การเงินการทองอย่าฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย..." พูดเรื่อย
สอนหลายเรื่องหลายประการ
เรานั่งฟังนี้น้ำตามันไม่ไหลออกข้างนอก มันตื้นตันใจ ตื้นตันใจว่า
น้ำใจของแม่กับลูกดีเหลือเกิน ท่านนึกว่า ไอ้หนูของแม่นั่งอยู่ตรงนี้
แม้ว่าจะห่มจีวรเป็นเจ้าคุณแล้ว ก็เป็นไอ้หนูของแม่นั่นแหละ
ถ้านั่งอยู่ตรงนี้แล้วก็ต้องสอนกันล่ะ เราก็ต้องตั้งใจฟังด้วยความเคารพ
ซาบซึ้งตรึงใจในคำของแม่
เลี้ยงกาย - เลี้ยงใจ
บุญคุณของพ่อแม่ท่านเปรียบด้วยของหนักของใหญ่ทั้งนั้น
เปรียบด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วยอากาศ เปรียบด้วยภูเขาพระสุเมรุซึ่งมันใหญ่เหลือเกิน
ชีวิตเราไปสัมพันธ์กับท่านเป็นบุคคลแรก ซึ่งมีบุญคุณแก่เรา
เราจึงต้องนึกถึง โดยเฉพาะส่วนที่เราควรจะตอบแทนท่านอย่างไร
ถ้าดูตามหลักในทางธรรมะแล้ว มีว่าท่านเลี้ยงเรามา เราต้องเลี้ยงท่าน
ช่วยกิจการงานให้ท่าน ประพฤติตนให้ท่านเบาใจ
ประพฤติตนให้สมควรที่จะรับทรัพย์มรดกที่ท่านได้ทำไว้
เมื่อท่านเจ็บไข้ได้ป่วยไป ต้องดูแลรักษา เมื่อท่านมรณาคือตายไปแล้ว
เราก็ต้องทำบุญอุทิศให้ท่าน แล้วมีอีกอันหนึ่งว่า
ดำรงวงศ์ตระกูลของท่านไว้ ไม่ให้ตกต่ำไปเสียเป็นอันขาด
นี่เรื่องของการตอบแทน
การเลี้ยงท่านมันมี 2 คือ เลี้ยงกายกับเลี้ยงน้ำใจ เลี้ยงกาย
คือว่าจัดที่อยู่ให้ท่านสบาย มีอาหารที่หลับที่นอน
เอาใจใส่ดูแลให้ท่านสบายพอสมแก่ฐานะ เรียกว่า เลี้ยงร่างกาย
เจ็บไข้ได้ป่วยไปก็รักษา
ส่วนการเลี้ยงน้ำใจนั้น คือว่าเราอย่าทำอะไรให้ท่านร้อนใจ
แต่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ท่านเบาใจสบายใจ จะไปไหนจะทำอะไรจะประพฤติสิ่งใด
ต้องนึกถึงพ่อแม่ไว้ นึกว่าท่านต้องการอะไร ท่านไม่อยากมีอะไร
ไม่อยากเห็นอะไร ไม่อยากพบอะไร เราต้องนึก
แล้วเราจะต้องไม่ทำสิ่งที่ขัดต่อความประสงค์ของคุณแม่คุณพ่อ
แต่จะทำตามที่ท่านประสงค์จำนงหมายเพื่อไม่ให้ท่านร้อนใจ
เลี้ยงน้ำใจสำคัญกว่าเลี้ยงร่างกายขึ้นไปอีก
เพราะว่าถ้าใจสบายแล้วร่างกายก็พลอยสบายไปด้วย แต่ถ้าใจท่านไม่สบาย
กายท่านจะสบายได้อย่างไร เพราะฉะนั้นต้องเลี้ยงน้ำใจด้วยการเอาใจใส่ดูแลรักษาด้วย
เราประพฤติดี มีความดี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาท่านแก่ชราต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ
อาหารใดท่านชอบ ต้องพยายามหามาให้ท่านรับประทาน
เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยต้องดูแล เอาใจใส่ สมัยนี้อาจจ้างนางพยาบาลรักษา
แต่นางพยาบาลไม่ใช่ลูกของท่าน คงให้ความสบายใจได้ไม่เท่าใดดอก
ท่านอยากเห็นหน้าลูก อยากให้ลูกมานวดขา มานวดมือ มานั่งใกล้ๆ
ถ้าลูกมานั่งใกล้แล้วท่านสบายใจ ไม่ได้สบายใจเรื่องอะไรหรอก
เรื่องรู้ว่าลูกยังรักท่านอยู่ ยังเอาใจใส่ท่านอยู่ แต่ถ้าเราไม่เอาใจใส่
ท่านเสียใจ
เคยมีตัวอย่างลูกบางคน แม่ป่วย ไม่ค่อยมาเยี่ยมเลย
แล้วเวลาเขียนจดหมายมาถึงแม่ ตัวเองไม่เขียน ให้ภรรยาเขียนมา
แม่อ่านแล้วมันไม่ชื่นใจ เพราะภรรยานั้นไม่ใช่ลูกแม่ ลูกสะใภ้
แต่ลูกชายไม่เขียนเลย แล้วก็ยังไปสั่งคุณหมอเพื่อนกันว่า
ให้ช่วยดูแลคุณแม่ให้ด้วย เพื่อนก็ดูแลให้ แต่มันไม่เหมือนลูกของแม่มาดูแล
เฉยเมยไม่เอาใจใส่ นี่เขาเรียกว่า คนไม่ได้คิดไม่ได้นึกถึง
ว่าน้ำใจของผู้เฒ่าผู้แก่จะเป็นอย่างไร
น้ำใจคุณพ่อคุณแม่จะเป็นอย่างไร คนอายุมากนั้นก็ขออภัยเถอะ
คล้ายกับเด็กเหมือนกัน คือต้องการพี่เลี้ยง ต้องการคนอยู่ใกล้
ต้องการคนเอาใจใส่ ทีนี้คนที่จะเอาใจใส่นั้นใคร? ก็คือลูกนั่นเอง
ลูกจึงต้องเข้าใกล้ไต่ถาม พอรู้ว่าป่วยต้องมาทันที
มาตรวจมาตราดูแลแล้วก็ฝากเพื่อนฝากฝูง แต่ตัวต้องมาก่อน
ท่านก็ชื่นใจว่าลูกเราพอรู้ว่าป่วยมาทันที ท่านก็สบายใจ
รายที่เล่านี้แม่ป่วยกี่ปีๆ ก็อย่างนั้น ไม่ค่อยมาเยี่ยมมาเยียน
ผลที่สุดแม่ตายไป เลยไปถามพ่อว่า ทำไมคุณนายตาย
เขาตรอมใจตาย ตรอมใจเรื่องอะไร ลูกชายมันไม่ค่อยเอาเรื่อง
มันเป็นอย่างนี้ ไม่ได้นะเรา มันต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษในเรื่องนี้
ขอให้นึกเถิดว่า ถ้าเราป่วย คุณพ่อหรือคุณแม่ต้องรีบรุดหน้าซีดมาทันที
มาดูมาเอาใจใส่ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ป่วยเราก็ต้องไปเหมือนกัน
ดูแลท่านให้ท่านสบายใจ การปฏิบัติดีต่อพ่อแม่นั้นบุญเหลือหลาย
ที่สุดบุญจะช่วยเรา คนที่มีความกตัญญูกตเวทีรับรองว่า
ไม่มีความตกต่ำในชีวิตในการงาน ย่อมเจริญก้าวหน้า
ลองสังเกตดูเถอะ คนที่เจริญทั้งหลายล้วนแต่เป็นคนรักแม่รักพ่อ บูชาพ่อแม่
เอาใจใส่พ่อแม่ แล้วเป็นคนที่ไม่ตกต่ำ แต่ถ้าเป็นคนไม่เอาใจใส่ดูแลพ่อแม่
มันไปไม่รอด เพื่อนฝูงเขาก็ไม่ค่อยจะไว้ใจ เช่นจะมาร่วมหุ้นร่วมค้าร่วมขาย
เขาก็ชักจะระแวงอยู่ว่า พ่อแม่มันยังไม่เอาใจใส่ จิตใจมันไม่ค่อยดีเท่าใด
อย่าไว้ใจนักเรื่องเงินๆ ทองๆ มันเสียหายได้
เพราะฉะนั้น คนโบราณเขาจึงสอนนักหนาในเรื่องนี้
สอนให้กตัญญูกตเวทีพ่อแม่ผู้บังเกิดเกล้าเรามา ให้เอาใจใส่
เลี้ยงดูให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ตามหน้าที่ของเรา นี่เรียกว่า
เลี้ยงจิตใจของท่าน เราจะทำอะไรเป็นการตอบแทนก็ให้รีบทำเมื่อท่านยังอยู่