Custom Search

Nov 29, 2008

เคล็ดวิชา"ผ่าทางตัน"



คอลัมน์ แท็งก์ความคิด
นฤตย์ เสกธีระ
max@matichon.co.th
มติชน
วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจ สังคมของไทยเป็นเช่นนี้คนข่าวอย่างพวกเรา
และคนเสพข่าวอย่างทุกท่านคงเครียดความเครียดมันเกิดขึ้น
เพราะสถานการณ์การเมืองถึงทางตันพอการเมือง "ตัน"
ก็กระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคม
"ไทยทั้งชาติจึงเครียด !"
อาการเครียดเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์หลายอย่างครับ
ความเครียดเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคอันเป็นทุกข์ทางกาย
และความเครียดอีกเช่นกัน ที่เป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์ทางจิตดังนั้น
ถ้าเราสามารถผ่าทางตัน เปิดทางออกไปได้
เราก็ไม่เครียดเราก็ไม่ทุกข์ความจริง
แล้วอาการ "ตัน" นี้พร้อมจะเกิดขึ้นกับทุกๆ คน
อย่างหนูที่ติดจั่น หาทางออกไม่ได้...มันก็เครียด
นักเรียนที่แก้โจทย์คณิตศาสตร์ไม่ออก...คิดอะไรไม่ได้
ที่สุดก็เครียดบัณฑิตจบใหม่ที่สมัครงานที่ไหนๆ
ก็ไม่มีใครขานรับมองไปด้านไหนก็มืดมนเจอทางตัน
สุดท้ายก็เครียดแม้แต่คนที่ทำงานแบบพวกเราก็เหมือนกันครับ
บางคนได้รับมอบหมายให้ทำงานชิ้นหนึ่ง
แต่ทำยังไงๆ ก็คิดไม่ออก"สมองมันตีบตัน....ความเครียดก็มาเยือน"
เช่นเดียวกับงานเขียนครับหลายครั้งหลายเวลาที่พบว่า
ไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไร คิดไม่ออก...เขียนไม่ได้
เราเรียกอาการแบบนี้ว่า "ตัน" เช่นกัน
แต่อาการแบบที่ว่ามานี้ พี่ๆ นักข่าวนักเขียนที่มีประสบการณ์
มักชี้หนทางบำบัดรักษา บอกเคล็ดวิชา
"ผ่าทางตัน"พี่ๆ เหล่านั้นเขาบอกว่า
เมื่อใดที่คุณรู้สึกตัน เขียนอะไรไม่ออกสิ่งแรกที่พึงกระทำคือ
หยุดคิด-หยุดเขียนวางปากกา เอามือออกจากแป้นพิมพ์
ถอยตัวเองจากโต๊ะทำงาน
พักสมองพักหัวใจสักประเดี๋ยวจากนั้นค่อยเคลื่อนไหว
ออกไปพบปะพูดคุยกับเพื่อนฝูงญาติพี่น้อง
หยิบหนังสือขึ้นมาพลิกอ่าน
หรือเปิดโทรทัศน์ดูโน่นดูนี่ทำเช่นนี้ไปได้ไม่นานหรอกครับ
เดี๋ยวเดียวจะคิดเรื่องที่จะเขียนได้เอง
สมองที่เคยตีบตัน ก็จะปลอดโปร่ง...คำแนะนำเหล่านี้
ใครไม่เชื่อ โปรดอย่าลบหลู่นะครับ
วิธีนี้เอาไปใช้ทีไรได้ผลทุกครั้ง
และเมื่อลองเล่าเรื่องนี้ให้บรรดากูรูทั้งหลายฟัง
พวกเขายืนยันว่า คำแนะนำของพี่ๆ
นักข่าวนักเขียนนั้นเป็นหนทางผ่าทางตันที่ดีสมควรบันทึกไว้เป็นเคล็ดวิชา
เผื่อใครอยากหาวิธีผ่าทางตันจะได้นำไปใช้เคล็ดลับผ่าทางตันที่ตั้งชื่อไว้เท่ๆ นี้
มีหลักเพียง 2 ประการเท่านั้นครับ
หลักประการแรก คือ อย่ายึดติด หมายความว่า
"เมื่อใดก็ตามที่เจอทางตัน แทนที่จะถือทิฐิมุ่งแต่เอาชนะแบบหัวชนฝา"
"ท่านว่า ให้รู้จักถอยออกมาจากปัญหาสักก้าวสองก้าว
"การถอยนี่มีความสำคัญนะครับ เพราะช่วงเวลาที่เราตัดสินใจถอย
คือช่วงเวลาที่สติเข้ามาแทนที่อารมณ์
เมื่อเราถอยห่างออกมา เราจะเห็นภาพในมุมที่กว้างขึ้น"
เมื่อเรายอมถอยออกห่าง สมองเราก็จะรับรู้ข้อเท็จจริงได้มากขึ้น
"เหมือนกับที่บรรดาพี่ๆ นักข่าวนักเขียนบอกว่า
ให้หยุดคิดหยุดเขียน แล้วถอยห่างออกจากโต๊ะทำงานไหมเหมือนกัน!
และหลังจากยอมถอยแล้ว
เราจะเข้าสู่หลักประการที่สองนั่นคือ การแสวงหาข้อมูล
อย่าลืมว่า ช่วงที่เรายอมถอย คือช่วงเวลาที่สติเริ่มกลับมาแทนที่อารมณ์"
ณ ห้วงเวลานี้เอง เป็นห้วงเวลาที่ดีที่สุดในการมองหาข้อมูลใหม่ๆ"
จังหวะนี้เราจึงต้องรับฟังคำปรึกษาคำปรึกษาที่ว่านั่น
ไม่ต้องพึ่งพาระดับผู้เชี่ยวชาญอะไรหรอก
แค่พูดคุยสอบถามจากคนใกล้ชิด มิตรใกล้ตัวค้นหาจากหนังสือ
หรืออินเตอร์เน็ตเพียงเท่านี้
ทางออกใหม่ๆ ก็จะปรากฏออกมาในความคิดอย่างนักเรียนที่ติดโจทย์คณิตศาสตร์
คิดเท่าใดก็คิดไม่ออก ลองหยุดพักสมอง
แล้วยกการบ้านไปถามพ่อ แม่ พี่ หรือเพื่อนดูสิครับ
บางทีคำปรึกษาที่พ่อ แม่ พี่ หรือเพื่อนบอกมานั้น
อาจยังไม่สามารถทำให้เราแก้โจทย์เลขข้อนั้นได้ในทันที
แต่คำปรึกษาที่ได้รับ อาจทำให้เราได้คิด
และพบช่องทางในการแก้โจทย์เลขได้ในเวลาต่อมา
เช่นเดียวกับบัณฑิตใหม่ที่กำลังตกงาน
ยื่นใบสมัครงานไปที่ไหนๆ ก็ไม่มีใครตอบรับลองหยุดสักพัก
แล้วหมุนโทรศัพท์ไปหาเพื่อนฝูง ครูอาจารย์
คนเหล่านั้นจะมีข้อมูลสำคัญให้เราได้คิด
และพบช่องทางใหม่ๆ ในการสมัครงานคนทำงานอย่างเราๆ
ก็ไม่ต่างกันครับใครก็ตามที่กำลังเจอทางตัน
โปรดอย่ารอช้าขั้นแรก ขอให้ท่านหยุดพักสิ่งที่กำลังทำอยู่ขั้นต่อไปคือ
ขอให้ท่านเปิดประสาทการรับรู้ แสวงหาคำปรึกษาจากรอบทิศ
แล้วในที่สุดเราจะพบทางออกได้อย่างมหัศจรรย์
สวัสดี
หน้า 17