เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Nov 17, 2008
คิดถึงหลวงพ่อปัญญานันทะ (7)
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
มติชน
วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ปีที่ 30 ฉบับที่ 10865
สัญญาว่าจะนำเอาวิธี "สอนลูกให้ถูกทาง" ของหลวงพ่อมาเล่าให้ฟัง
อาทิตย์นี้ถึงคิวแล้วครับ หลวงพ่อได้พูดแล้วว่า ถึงท่านจะเป็นพระ
ไม่มีครอบครัว แต่ท่านสนใจการฝึกฝนอบรมเด็กมาก
ท่านประหลาดใจมากเมื่อไปค้นคว้าหนังสือที่บอกวิธีเลี้ยงลูก
หรือเรื่องเกี่ยวกับเด็กๆ กลับไม่ค่อยมีใครค้นคว้าวิจัย
หรือเขียนเป็นแนวทางเลย ท่านได้พบอยู่เล่มเดียว
เขียนโดยนายแพทย์จำรัส ศิริสัมพันธ์
จึงเกิดแรงบันดาลใจพูดและเขียนเกี่ยวกับวิธีเลี้ยงลูกให้ถูกทาง ดังกล่าว
หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 37 บท อธิบายโดยใช้ภาษาง่ายๆ
ยิ่งอ่านสนุก ประเด็นที่ท่านเขียนมีดังนี้ครับ
1.ครูคนแรกของลูก
2.อิทธิพลของกรรมพันธุ์
3.ปรารถนาบุตรที่ดีไว้สืบสกุล
4.การรับการถ่ายทอดอุปนิสัย
5.ความรักที่บริสุทธิ์
6.แม่พิมพ์ของลูก
7.สัญชาตญาณของเด็ก
8.อย่าใช้อารมณ์กับเด็ก
9.ฝึกเด็กให้กินเป็นเวลา
10.เด็กต้องการอะไร ที่ไหน เมื่อไร
11.วิธีแก้นิสัยเกเร
12.อย่าสร้างอาณาจักรของความกลัว
13.วิธีแก้ความดื้อรั้นของเด็ก
14.จงแก้พื้นฐานความริษยาของเด็กแต่เยาว์วัย
15.เพราะอะไร ลูกจึงเป็นอาชญากร
16.พ่อแม่ควรสอนอะไรแก่ลูกก่อน
17.อย่าเบื่อในการตอบปัญหาของลูกๆ
18.ฝึกเด็กให้องอาจกล้าหาญ อย่าให้เป็นเจ้าหนูขี้อาย
19.กีฬาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็ก
20.ฝึกเด็กให้พูดสัตย์จริง
21.ฝึกเด็กให้ตรงต่อเวลา ให้รู้ค่าของเวลา
22.ฝึกเด็กให้เป็นคนมีระเบียบวินัย
23.ฝึกลูกอย่าให้เป็นคนมักได้ ให้รู้จักเคารพในสิทธิของบุคคลอื่น
24.ฝึกลูกอย่าให้เป็นคนเห็นแก่ตัว รู้จักเสียสละ
25.การเพาะความสามัคคีในหมู่ลูกๆ
26-27.ฝึกลูกให้รู้จักประหยัดตั้งแต่เยาว์วัย
28.ฝึกลูกให้รู้จักกตัญญูกตเวที
29.ฝึกเด็กให้รู้จักให้อภัยแก่เพื่อน
30.ฝึกเด็กให้รู้จักพึ่งตัวเอง ช่วยตนเอง
31.ฝึกเด็กให้ศึกษาสิ่งแวดล้อม
32.วิธีป้องกันเด็กไม่ให้หนีโรงเรียน
33.สอนเด็กให้ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน
34.เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความสามารถ
35.บ้านคือโรงเรียน
36.เด็กกับการแต่งกาย
37.เด็กที่ได้รับการฝึกฝนแล้วเท่านั้นเป็นเด็กประเสริฐสุด
ล้วนแต่หัวข้อน่าสนใจทั้งนั้น ขอยกประเด็นที่น่าสนใจ
(อย่างน้อยผมสนใจละครับ) มาขยายให้ฟังเท่าที่หน้ากระดาษจะอำนวย
(1) พ่อแม่มักสร้างบรรยากาศแห่งความกลัวให้แก่ลูก
เมื่อเห็นเด็กซุกซนตามประสาเด็ก ตนขี้เกียจควบคุมดูแลเขา
ก็หลอกให้เด็กหวาดกลัวสิ่งต่างๆ เช่น อย่าเข้าไปในห้องนั้นผีจะมาบ้าง
จิ้งจกตุ๊กแกจะกัดจู๋บ้าง อะไรสารพัดสัตว์ที่น่ากลัว
ว่าแล้วก็ทำท่าทางน่ากลัวขึ้นมาทีเดียว วิธีหลอกให้เด็กกลัวเช่นนี้
แม้ผู้ใหญ่จะเจตนาดีอยากให้เด็กหยุดซุกซน
แต่เป็นการบ่มเพาะให้เด็กกลัวไม่มีเหตุผล ผู้ใหญ่เองก็บาปเพราะพูดเรื่องไม่จริง
ในเมืองไทยเรา ผู้ใหญ่ชอบนำนิทานผีมาเล่าให้เด็กฟังบ่อยๆ
เต็มไปด้วยความสยดสยอง ผู้เล่าเองก็ทำท่าทางน่ากลัว เล่าไปๆ
คนเล่าเองก็พลอยกลัวไปด้วย นี่คือการเพาะนิสัยให้เด็กกลัวผี
นอกจากไม่ได้ประโยชน์อะไรแล้ว
ยังทำให้เด็กเป็นคนขลาดกลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว
กลายเป็นคนไม่เชื่อมั่นในตัวเอง
ท่านรักลูกของท่านมิใช่หรือ ท่านไม่อยากให้ลูกของท่าน
เป็นคนมีนิสัยขลาดกลัวไม่ใช่หรือ
มีทางเดียวเท่านั้นที่จะทำได้คือ หาทางป้องกันอย่าให้ลูกของท่าน
สร้างอาณาจักรของความกลัวไว้ในใจเขา
ถ้าลูกของท่านรับรู้เกี่ยวกับเรื่องผีสางอย่างโง่ๆ ด้วยความขลาดกลัว
ท่านรู้แล้วอย่าได้นิ่งเฉย จงรีบอธิบายเหตุผลให้เขาเข้าใจว่า
เรื่องที่ได้ยินได้ฟังนั้น เป็นเพียงนิทานที่เขานำมาเล่าเล่นๆ สนุกๆ เท่านั้น
ผีไม่มีดอก มีแต่ "ผีหลอกๆ" ในนิทานเท่านั้น พระสงฆ์ที่ท่านธุดงค์ไปอยู่ป่า
ท่านก็บอกว่าไม่เคยเจอผี ถ้าผีมีจริงมันหลอกพระวิ่งเตลิดเปิดเปิงไปแล้ว
การให้เหตุผลแก่เด็กเท่านั้น จะทำให้เด็กของท่านมีปัญญามากขึ้น
และขจัดความหลงผิดต่างๆ ให้หายไป จงอย่าได้เข้าใจผิดว่าการหลอกเด็กเป็นความสนุก
ตัวผู้หลอกอาจสนุก แต่ผู้ถูกหลอกจะทุกข์ถนัด ทำให้เพาะนิสัยขี้ขลาดหวาดกลัวแก่เด็ก
การกลัวในสิ่งไม่ควรกลัวเป็นภัยในอนาคตแก่เด็กอย่างมหันต์
แล้วหลวงพ่อก็ให้หลักในการฝึกเด็กไม่ให้สร้างอาณาจักรแห่งความกลัว ดังนี้
1.อย่าพูดจาหลอกหลอนเด็กของท่านไม่ว่ากรณีใดๆ
2.จงให้เหตุผลในเรื่องที่เด็กยังไม่เข้าใจ ให้เขาได้เข้าใจอย่างชัดเจน
3.อย่าให้ลูกของท่านอยู่กับคนโง่ๆ ที่นำเรื่องเหลวไหลมาหลอกลูกของท่าน
4.ถ้าลูกของท่านไปรับอะไรมาและทำให้เกิดความกลัว
ท่านจงพยายามล้างสมองของเขาด้วยการพูดความจริงให้เขาฟัง
5.อย่าเบื่อหน่ายในการตอบปัญหาของเด็กที่ถามจุกจิก
6.อย่าสนทนาในเรื่องที่หวาดเสียวให้เด็กได้ยิน
7.จงพยายามให้เขานอนตามลำพัง เพื่อให้เขาห่างผู้ใหญ่บ้าง
เมื่อโตเขาโตพอสมควรแล้ว
8.ภาพเขียนและวัตถุใดๆ ที่ทำให้เกิดความกลัว
ต้องพูดให้เด็กเข้าใจว่ามันเป็นอะไรแน่
(2) ประเด็นความดื้อความซนของลูก ผมบริการตั้งชื่อให้ลูกๆ
ของแฟนๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ คำถาม (ความจริงคำบ่น) ของพ่อแม่ก็คือ
ลูกดื้อและซนเหลือเกิน อาจารย์ช่วยตั้งชื่อให้ลูกหายดื้อหายซนได้บ้างไหม
ผมก็ตอบว่า นั่นเป็นธรรมชาติของเด็ก เด็กที่ไม่ซน ไม่ดื้อน่ะ อดธรรมชาติ
ซนบ้างดื้อบ้างนั่นแหละเป็นเครื่องหมายว่าเด็กโตมาจะเป็นเด็กฉลาด
คุณชอบให้ลูกคุณนั่งตรงไหนก็ซื่อบื้อ
อยู่อย่างนั้นหรือครับ คิดให้ดี
เรื่องนี้หลวงพ่ออธิบายว่า เพราะผู้ใหญ่ไม่รู้ใจเด็ก และชอบทำอะไรขัดใจเขา
เช่น เด็กกำลังเล่นรถเพลินอยู่ ผู้ใหญ่ก็ไปหยิบรถนั้นขึ้นมา
ขัดจังหวะที่เขากำลังสนุกอยู่กับสิ่งนั้น เมื่อเด็กถูกขัดจังหวะ จะพูดโต้แย้ง
หรืออธิบายไม่ได้ เพราะยังเด็ก ก็แสดงความไม่พอใจออกมา
เมื่อผู้ใหญ่ขัดจังหวะ หรือขืนใจเด็กบ่อยๆ โดยไม่ใส่ใจในอารมณ์ของเด็ก
ถือว่าเป็นเรื่องเล็กไม่สำคัญอะไร ความไม่พอใจของเด็กก็มีมากขึ้น
ผู้ใหญ่ก็หาว่าเด็กดื้อ ไม่ทำตามคำสั่ง
ท่านลองนึกดู ถ้าท่านเองกำลังทำอะไรเพลินอยู่ ถ้ามีใครมาขัดคอ
หรือขัดจังหวะ ท่านคงจะไม่พอใจ เกิดอาการหงุดหงิดขึ้นมาทันที
ความหงุดหงิดเกิดขึ้นในใจใครบ่อยๆ นั่นคือวิธีสะสมความโกรธขึ้นละน้อยๆ
ผลที่สุดจะกลายเป็นความโกรธไปได้ คนเราถ้าโกรธขึ้นมาแล้ว
ย่อมไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้จักเหตุผล เลยไม่ฟังเสียงใครทั้งนั้น
อาการไม่ฟังเสียงใครนี่แหละคือความดื้อด้าน
จึงพอจับหลักได้ว่า การขัดจังหวะเด็กบ่อยๆ ทำให้เด็กเป็นคนเจ้าโทสะได้
ผู้ใหญ่ควรระวังเรื่องนี้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ย่อมรักเสรีภาพด้วยกันทั้งนั้น
จงให้เสรีภาพแก่เขาบ้าง อย่ายุ่งกับเขาเกินไป
บางทีผู้ใหญ่เห็นเด็กซนเกินไป (ตามความรู้สึกของผู้ใหญ่)
ก็ตวาดด้วยเสียงดัง "หยุด..อย่า.. เงียบ.. มานี่.. บอกให้หยุด" อะไรทำนองนี้
การกระทำในรูปแบบนี้เป็นความผิด เพราะคำพูดแบบนี้
ออกมาจากใจที่เศร้าหมอง คนเศร้าหมองมองหน้าก็เศร้าหมอง
การกระทำก็หยาบคายตามใจที่เศร้าหมอง เป็นการแสดงภาพเสียให้เด็กเห็น
เขาอาจจำภาพ และท่าทางนี้ของท่านไปทำในภายหลังกับคนอื่น
(3) อย่าเบื่อในการตอบคำถามของลูก
ข้อนี้เป็นเทคนิควิธีอบรมลูกของพ่อแม่ที่ควรใส่ใจอย่างยิ่ง
วัฒนธรรมไทยที่ชอบห้ามปรามลูกๆ อย่าทำอย่างนั้น
อย่าทำอย่างนี้ หรืออะไรที่เด็กพูด แม้จะเข้าท่า
หรือถูกต้องก็ไม่ยอมรับว่าถูกต้อง
มักจะอ้างเสมอว่า "ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน"
ย่อมรู้ดีกว่าเด็ก บางทีก็เลยเถิดถึงขั้นว่า ผู้ใหญ่ไม่มีผิด ถูกเสมอ จึงไม่มีการ
"ขอโทษ" หรือรับผิดจากผู้ใหญ่ ในขณะที่เรียกร้องคำขอโทษ
หรือการรับผิดจากเด็กเพียงฝ่ายเดียว
การเลี้ยงดูที่ไม่เปิดโอกาสให้เด็กถาม
หรือตอบคำถามที่ไม่ตรงความจริงต่างๆ นี้แหละ
เป็นสาเหตุสำคัญที่ block สติปัญญา ความใฝ่รู้ของเด็ก ทีละนิดๆ
จนกระทั่งปิดกั้นโดยสิ้นเชิง
สังเกตไหมครับ เด็กนั้นฉลาดอย่างยิ่ง
แววแห่งความฉลาดฉายออกมาจากการซักโน่น
ถามนี่ ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ผู้ใหญ่ขี้รำคาญ ก็จะไม่ยินดีตอบ
หรือตอบก็ตอบผิดๆ นอกเรื่อง
เมื่อเด็กถามหนักเข้า ก็จะตวาดว่า "ถามห่.. อะไรจู่จี้ เดี๋ยวตบกะโหลก"
ผลก็คือ เด็กไม่ถามอีกต่อไป โตมาก็กลายเป็นผู้ใหญ่ซื่อบื้อ ไม่รู้จักซัก
ไม่รู้จักถาม สงบเสงี่ยมเกินเหตุไปเลย ท่านที่เป็นนักเรียนนอก จะรู้ว่า
นักเรียนไทยอยู่ในห้องเรียนจะเรียบร้อยมาก ไม่ซักไม่ถามอาจารย์
ทั้งๆ ที่บางทีก็สงสัย ต่างจากนักเรียนชาติอื่น ซักถามจนกว่าตัวจะหายสงสัย
วัฒนธรรมการเลี้ยงดูของเรา ดูเหมือนจะผิดพลาดอย่างยิ่ง
ควรที่ผู้ใหญ่ พ่อแม่ของเด็กจะตระหนัก อย่างน้อยก็อย่าได้ขี้เกียจตอบข้อสงสัยของลูกๆ
ส่งเสริมให้ลูกๆ ได้พัฒนาความใฝ่รู้ และการสนองตอบความใฝ่รู้ในทางถูกต้อง
อย่าคิดว่าเด็กโง่ เด็กน่ะฉลาดกว่าผู้ใหญ่เสียอีก
ขงจื๊อจอมปราชญ์ยังเคยจนเด็กเจ็ดขวบมาแล้วนะครับ เล่ากันว่า
ขงจื้อนั่งรถม้าผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กเล่นทรายขวางทางรถ
จึงตวาดไล่ เด็กๆ พากันหนีหมด ยกเว้นเจ้าตี๋คนหนึ่ง ยืนเท้าสะเอว
จ้องขงจื๊ออยู่ เมื่อถูกถามว่า ทำไมไม่หลีกรถ เด็กตอบว่า
"พวกผมกำลังสร้างกำแพงเมือง ผมไม่เคยเห็นกำแพงที่ไหนมันหลีกรถ"
ผู้เฒ่าลงมาคุยกับเด็กทันที
"เด็กน้อยเจ้าฉลาดมาก ไปอยู่กับลุงไหม
ลุงจะพาปกครองประเทศให้โลกมันราบเป็นหน้ากลองหมด"
(ความหมายของผู้ใหญ่ก็คือ ปกครองอย่างเสมอภาค ยุติธรรม)
เด็กย้อนว่า "เป็นไปไม่ได้ดอก ถ้าโลกราบเป็นหน้ากลอง
น้ำก็ท่วมโลกสิ คนและสัตว์จะอยู่ไหน"
ผู้เฒ่าเอามือลูกเคราคราง อือๆ เด็กมันฉลาดแฮะ เมื่อผู้เฒ่าเงียบ
เด็กก็ถามว่า ลุงรู้ไหม บนฟ้ามีดาวกี่ดวง ในทะเลมีปลากี่ตัว
ผู้เฒ่าตอบว่า เจ้าหนู ถามใกล้ตาหน่อยสิ ถามไกลๆ
ใครจะรู้ เด็กจึงชี้ไปที่หน้าผู้เฒ่าว่า
"ถ้าเช่นนั้น ขนคิ้วท่านมีกี่เส้น"
อึ้งกิมกี่เลยขอรับ นักปราชญ์ใหญ่ยอมจำนน โค้งคำนับเด็ก
สั่งให้รถม้าหลีกกำแพงเมืองของเด็กน้อยในที่สุด
ครับ ถ้าพ่อแม่รู้จักพัฒนาความใฝ่รู้ของลูก
โดยพยายามตอบคำถามของลูกตามเป็นจริง
ไม่เบื่อในการตอบคำถามของเขา จะช่วยสร้างความใฝ่รู้และสติปัญญาให้แก่ลูก
อย่างน่าทึ่ง ดังกรณีเด็กน้อยในนิทานนี้ก็ได้