เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Nov 28, 2008
ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์
ข้อมูลจาก Wikipedia
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์
(11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526)
หรือ หลวงประดิษฐมนูธรรม เป็นผู้นำสมาชิก คณะราษฎร สายพลเรือน
ผู้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ของประเทศไทย ให้เป็น ระบอบประชาธิปไตย
เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี ของไทย 3 สมัย และ รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ อีกหลายสมัย
ในสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เข้าร่วมขบวนการเสรีไทย
เพื่อต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยเป็นผู้นำ
มีชื่อรหัสว่า "รู้ธ" ท่านเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และเป็นผู้ประศาสน์การคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัยฯ
นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8
และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะรัฐบุรุษอาวุโสด้วย
ในปี พ.ศ. 2543 องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศบรรจุชื่อของท่านไว้ในปฏิทินบุคคลสำคัญของโลก
ปี ค.ศ. 2000-2001
ประวัติ
ศาสตราจารย์ปรีดี กำเนิดในเรือนแพหน้าวัดพนมยงค์ อำเภอกรุงเก่า
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อนายเสียง เป็นคนไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว
มารดาชื่อนางจันทน์ สืบเชื้อสายมาจากพระนมในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ชื่อ "ประยงค์" ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดห่างจากกำแพงพระราชวังด้านตะวันตกชื่อ วัดนมยงค์
หรือ "พนมยงค์" เมื่อมีการประกาศพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. 2456
ครอบครัวนี้จึงได้ใช้นามสกุลว่า "พนมยงค์"
การศึกษา
สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ โรงเรียนวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่า
ได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมต้น ณโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร และมัธยมปลาย
ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังจากนั้นออกมาช่วยบิดาทำนาหนึ่งปี
และจึงได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460
สอบไล่วิชากฎหมาย ชั้นเนติบัณฑิตได้ เมื่ออายุ 19 ปี และเมื่ออายุ 20
ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
เนื่องจากกระทรวงยุติธรรมพอใจในผลสอบ
จึงให้ทุนไปเรียนต่อด้านกฎหมาย ที่ประเทศฝรั่งเศส
โดยเข้าเรียนชั้นปริญญาตรีทางกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยก็อง (Univesite de Caen)
และศึกษาพิเศษจากศาสตราจารย์เลอบอนนัวส์ (Lebonnois)
จนสำเร็จการศึกษาได้ปริญญารัฐ เป็น "บาเซอลิเย"
กฎหมาย (Bachelier en Droit) และได้เป็น
"ลิซองซิเย" กฎหมาย (Licencie en Droit)
เมื่อ พ.ศ. 2469 สำเร็จการศึกษาด้านนิติศาสตร์ (Sciences Juridiques)
และสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง
(Diplome d’Etudes Superieures d’Economic Politique) มหาวิทยาลัยปารีส
ได้ปริญญารัฐ "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย"(Docteur en Droit) ณ ประเทศฝรั่งเศส
โดยเสนอวิทยานิพนธ์
เรื่อง "Du Sort des Societes de Personnes
en cas de Deces d’un Associe"
(ศึกษากฎหมายฝรั่งเศสและกฎหมายเปรียบเทียบ)
นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ศึกษาต่อจนจบดุษฎีบัณฑิต
ด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยปารีส
ลี้ภัยและถึงแก่อสัญกรรม
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต
นายปรีดีและคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นชอบต่อสภาว่า
ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่สมเด็จพระอนุชา
เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว นายปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ด้วยเหตุผลว่า
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตเสียแล้ว
เหตุการณ์นี้ทำให้ศัตรูทางการเมืองของท่าน
ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มทหารที่สูญเสียอำนาจและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน
สบโอกาสในการทำลายนายปรีดีทางการเมือง
โดยการกระจายข่าวไปตามหนังสือพิมพ์ ร้านกาแฟ และสถานที่ต่างๆ
รวมทั้งส่งคนไปตะโกนในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพฯ ว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง"
ซึ่งเป็นคำกล่าวหาที่ร้ายแรงมาก กลายเป็นกระแสข่าวลือ
และนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน
แต่อย่างไรก็ตาม มีหนังสือ หรือ ข้อมูลบางที่
ที่บ่งบอกถึงข้อมูลในเชิงลึกต่างๆที่ กล่าวหาท่านว่าเป็น
ผู้วางแผนลอบปลงพระชนม์ แต่ไม่มีการพิสูจน์จนปัจจุบันที่ยังเป็นปริศนา
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารซึ่งประกอบด้วย
พล.ท. ผิน ชุณหะวัณ พ.อ. กาจ กาจสงคราม
พ.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ พ.อ. สฤษดิ์ ธนะรัชต์
พ.อ. ถนอม กิตติขจร พ.ท. ประภาส จารุเสถียร
และ ร.อ. สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ
ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ
จากรัฐบาลที่มีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี
หลังจากยึดอำนาจสำเร็จ คณะรัฐประหารพยายามจะจับกุมตัวนายปรีดีกับครอบครัว
แต่นายปรีดีทราบข่าวก่อนเพียงไม่กี่นาที จึงหนีทัน
และได้ลี้ภัยการเมือง ไปยังประเทศสิงคโปร์ สองปีถัดมา
ก็ลี้ภัยต่อไปอยู่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน
และหวนกลับมาอีกครั้งในเหตุการณ์กบฏวังหลวง
แต่กระทำการไม่สำเร็จ จึงลี้ภัยอีกครั้ง
และได้พำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลาถึง 11 ปี
ก่อนจะลี้ภัยต่อไปยังประเทศฝรั่งเศส
และถึงแก่อสัญกรรมที่นั่น เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
ณ บ้านพักชานกรุงปารีส
คำกล่าวถึง ปรีดี พนมยงค์
" ผู้อภิวัฒน์การปกครองของประเทศไทย หัวหน้าขบวนการเสรีไทย
เป็นผู้มีคุณูปการแก่ชาติอย่างมากมาย แต่กลับกลายเป็นบุคคล
ที่ถูกใส่ร้ายป้ายสีมากที่สุดคนหนึ่ง ในประวัติศาสตร์
สุดท้ายกลายเป็น 'คนดีที่เมืองไทยไม่ต้องการ' "
ด้วยความที่ว่าการอภิวัฒน์ครั้งนั้นทำให้คนกลุ่มชนชั้นนำหลายกลุ่ม
หรือกลุ่มอำนาจเก่าเสียผลประโยชน์
ทำให้ถูกโยนข้อหาสุดท้ายต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศฝรั่งเศส
แล้วไม่ได้กลับมาใช้ชีวิตในเมืองไทยอีกเลย
ทำให้ยังมีมลทินจากการป้ายสีของกลุ่มอำนาจเก่าอยู่
งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2526
ชาวธรรมศาสตร์ได้ขึ้นภาพแปรอักษรเพื่อระลึกถึงนายปรีดีความว่า
"พ่อสร้างชาติด้วยสมองและสองแขน
พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี
พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี
แต่คนดีเมืองไทยไม่ต้องการ"
คำวิจารณ์ตัวเองของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์
ปรีดี พนมยงค์ ให้สัมภาษณ์นิตยสาร เอเชียวีก ฉบับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2523
ก่อนถึงอสัญกรรมไม่ถึง 3 ปี ไว้ดังนี้
"....ในปี ค.ศ. 1925 (พ.ศ. 2468)
เมื่อเราเริ่มจัดตั้งกลุ่มแกนของพรรคอภิวัฒน์ในปารีส
ข้าพเจ้ามีอายุเพียง 25 ปีเท่านั้น หนุ่มมาก หนุ่มทีเดียว ขาดความจัดเจน
แม้ว่าข้าพเจ้าได้รับปริญญาแล้ว และได้คะแนนสูงสุด
แต่ก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าทางทฤษฎี ข้าพเจ้าไม่มีความจัดเจน
และโดยปราศจากความจัดเจน
บางครั้งข้าพเจ้าประยุกต์ทฤษฎีอย่างนักตำรา
ข้าพเจ้าไม่ได้นำความเป็นจริงในประเทศของข้าพเจ้ามาคำนึงด้วย
ข้าพเจ้าติดต่อกับประชาชนไม่พอ ความรู้ทั้งหมดของข้าพเจ้าเป็นความรู้ตามหนังสือ
ข้าพเจ้าไม่ได้เอาสาระสำคัญของมนุษย์มาคำนึงด้วยให้มากเท่าที่ข้าพเจ้าควรจะมี...
ในปี ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ข้าพเจ้าอายุ 32 ปี
พวกเราได้ทำการอภิวัฒน์ แต่ข้าพเจ้าก็ขาดความจัดเจน...
และครั้นข้าพเจ้ามีความจัดเจนมากขึ้น (พ.ศ. 2489 - 90)
ข้าพเจ้าก็ไม่มีอำนาจ”
การเชิดชูเกียรติ
ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ตั้งชื่อตามราชทินนามของ นายปรีดี พนมยงค์
(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ถนนปรีดี พนมยงค์
ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่นายปรีดี พนมยงค์ มีอยู่ 3 สาย
ที่ถนนสุขุมวิท 71, ถนนโรจนะ ภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา
และภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
วาทะปรัชญาเมธี นายปรีดี พนมยงค์
“ราษฎรเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ของตน และให้ถือ มวลชนเป็นใหญ่”
"รัฐธรรมนูญแต่ลำพัง ยังไม่เป็นแบบการปกครองประชาธิปไตยเสมอไป"
"พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทยนั้น
ไม่มีพระราชประสงค์ให้เป็นอนาธิปไตย"