เหนือสิ่งอื่นใด
- เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559
- พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.๙) ณ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙
- The 60th Anniversary Celebrations of his Majesty King Bhumibol Adulyadej's Accession to the Throne
- 63 ปี "พระเจ้าอยู่หัว ร.๙" ผู้นำที่ไม่เหมือนใครในโลก นำพาประเทศ "อยู่ดีมีสุข"
- Supreme Artist
- เศรษฐกิจพอเพียง : Sufficiency Economy พ.ศ. ๒๕๖๓
- ทศพิธราชธรรม ๑
- ทศพิธราชธรรม ๒
- ๑๐๐ ปี สวรรคตกาลสมเด็จพระปิยมหาราช
- ร.๙ ทรงห่วงเหตุการณ์ประเทศเพื่อนบ้าน
- พระบรมราโชวาท ร.๙
- "พูดแล้วต้องทํา" พระบรมราโชวาท "ในหลวง ร.๙" ทรงเตือน-ครม.
- ร. ๙ ทรงพระราชทานแก่พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง
- ร.๙ ทรงรับสั่งรมต.ถวายสัตย์ฯ
- ร.๙ ทรงมีพระบรมราโชวาทแก่ตุลาการทหาร
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงป้องกันน้ำท่วม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘
- “ในหลวง ร.๙” ทรงฝากองคมนตรีปลูกฝังคนไทยเอื้อเฟื้อ นึกถึงส่วนรวม
- “ในหลวง ร.๙” เสด็จฯ ทอดพระเนตรดนตรีที่ศิริราช
- "ในหลวง ร.๙" เสด็จเปิดประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์-สะพานภูมิพล 1,2
- ในหลวง ร. ๙ เสด็จฯทอดพระเนตรคอนเสิร์ตแจ๊ส
- ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
- น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ"ในหลวง ร.๙"กับ"ภูมิสารสนเทศ"
- ในหลวง ร.๙ ทรงพระราชทาน ส.ค.ส.2554 แก่พสกนิกรชาวไทย
- 'ในหลวง ร.๙' ทรงมีพระราชดำรัสให้คนไทย ทำหน้าที่ ไม่ประมาท มีสติ : ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓
- วันฉัตรมงคล (ร.๙)
- ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
- พระราชดำรัสสุดท้าย ในหลวง รัชกาลที่ 9
- ๑๒ สิงหา วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
- "สมเด็จย่า"
- เจ้านายเล็กๆ ยุวกษัตริย์
- อาลัยพระพี่นางฯ
- ในหลวงรัชกาลที่ ๙ โปรดให้นายโคฟี อันนัน เฝ้าถวายรางวัลฯ (๒๕ พ.ค.๔๙)
- "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์
- พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล
- ศิลปาชีพ : ประจักษ์พยานของความรัก ผูกพัน และห่วงใย
- เพลงสรรเสริญพระบารมี
- ชีวิตที่หมุนไปไม่หยุดยั้ง...พระอารมณ์ขันของพระเทพฯ
- ถ้าเดินเรื่อยไปย่อมถึงปลายทาง นิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนฯ
- สมเด็จพระเทพฯ กับการส่งเสริมไอที เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
- สมเด็จพระเทพฯ สนพระทัยเมล็ดพันธุ์ช่วยหล่อเลี้ยงประชากร
- เครือข่ายกาญจนาภิเษก
- สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- ทรงพระเจริญ
- ของขวัญจากก้อนดิน
- ต้นไม้ของพ่อ
- รูปที่มีทุกบ้าน
- นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ
- ติโต
- ไม่มีวันไหนที่ไม่คิดถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙
- พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ที่ทุกคนพึงอ่าน
- โครงการแก้มลิง
- ทำไมเรารัก "พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"
Custom Search
Nov 5, 2008
เพื่อความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับหลักกรรม (2) ทำอย่างใดไม่จำเป็นต้องได้รับอย่างนั้น
มติชนรายวัน
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
เสฐียรพงษ์ วรรณปก
วันที่ 02 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
คราวที่แล้วผมพูดทิ้งท้ายไว้ว่า
"ที่เชื่อว่าทำอย่างใด ต้องได้รับผลเช่นนั้น เช่นทำดีต้องได้รับผลดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำชั่วต้องได้รับผลชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง"
หมดหน้ากระดาษพอดี จึงขอยกยอดมาอธิบายในฉบับนี้ทำไมจึงว่าผิด
ก็ได้ยินใครๆ พูดกันอย่างนี้มิใช่หรือ
บางครั้งยังได้ฟังพระเทศน์ยืนยันอย่างนี้เลยขอเรียนว่า
การพูดอะไรตายตัวร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น
มิใช่แนวทางของพระพุทธศาสนาดังในกรณีเรื่องตายแล้วเกิด
ถ้าพูดในแง่เดียวว่า ตายแล้วต้องเกิด หรือตายแล้วต้องดับสูญ
อย่างนี้ก็ไม่ถูกเช่นกันเพราะตายแล้วเกิดก็มี คือปุถุชนคนมีกิเลส ตายแล้วย่อมเกิดอีก
เพราะยังมี "เชื้อคือ กิเลส" ทำให้เกิดอยู่ ตายแล้วไม่เกิดก็มี คือพระอรหันต์
เพราะหมด "เชื้อ" ดังกล่าวแล้วจะพูดโดยแง่เดียวว่า ตายแล้วต้องเกิดหมดทุกคน
หรือตายแล้วไม่เกิดทั้งหมดเลย อย่างนี้ไม่ได้ดอกครับผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี
ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว นี่จริงแน่นอน แต่มิได้หมายความ
"ทำอย่างใดต้องได้อย่างนั้น"นาย ก. ยิงเขาตาย ตายไปเกิดชาติหน้า
นาย ก. ไม่จำเป็นจะต้องถูกเขายิงตายนาง ข. เอาไข่เค็มใส่บาตรทุกวัน
นาง ข. ตายไปเกิดใหม่ ก็ไม่จำเป็นจะต้องกินไข่เค็มทุกมื้อ เช่นเดียวกัน
(ขืนเป็นอย่างนี้ก็เค็มตายสิ ครับ)แน่นอน นาย ก. ทำความชั่ว
นาย ก. ย่อมได้รับผลสนองในทางชั่ว แต่ไม่จำต้องถูกยิงตาย
อาจเป็นผลคล้ายๆ กันนั้น ผลที่หนักพอๆ กับกรรมนั้นนาง ข. ทำความดี
นาง ข. ย่อมได้รับผลสนองในทางดี แต่ไม่จำต้องกินไข่เค็มทุกวัน
อาจได้ผลดีอย่างอื่น ที่มีน้ำหนักพอๆ กันกับกรรมนั้นอย่างนี้พระท่านว่า
"ได้รับผลสนองที่คล้ายกับกรรมที่ทำ"
(กัมมะสะริกขัง วิปากัง = ผลกรรมที่คล้ายกับกรรมที่ทำ)
ผลกรรมคล้ายกับกรรมที่ทำอย่างไร?
ผมขอยกเรื่องจริงมาให้ดูสักสองเรื่องเรื่องที่หนึ่ง
นางโรหิณีน้องสาวท่านอนุรุทธเถระ เป็นโรคผิวหนังอย่างแรง รักษาเท่าใดก็ไม่หาย
ต่อมาพระอนุรุทธเถระผู้พี่ชาย แนะนำให้ทำบุญด้วยการกวาดลานวัด ปัดกวาดเช็ดกุฏิ
แล้วโรคก็หาย มีพระกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า นางทำกรรมอะไรไว้ในชาติก่อน
พระองค์ตรัสว่า ชาติก่อนเป็นมเหสีกษัตริย์องค์หนึ่ง
หึงสาวนักฟ้อนที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดปรานมาก
โดยเอาผงหมามุ่ยไปโรยใส่เครื่องแต่งตัวหญิงนักฟ้อน
จนนางถูกผงหมามุ่ยกัดคันทรมานมาก มเหสีจอมขี้หึงก็หัวเราะด้วยความสะใจ
"สามีข้าใครอย่าแตะนะเว้ย" มาชาตินี้นางจึงเป็นโรคผิวหนังร้ายแรงกรรมที่นางทำคือ
เอาผงหมามุ่ยไปโรยหญิงนักฟ้อน ผลกรรมที่นางได้รับ
มิใช่ต้องถูกคนอื่นเอาผงหมามุ่ยมาโรยตอบแต่เป็นผลกรรมที่คล้ายกันคือ
เกิดมามีผิวหนังตะปุ่มตะป่ำ และคัน ดุจถูกผงหมามุ่ยเรื่องที่สอง เรื่องนี้เขาเล่ามา
เลยเอามาเล่าต่อ นายคนหนึ่งมีสวนกล้วยอยู่ชายป่า พอกล้วยสุกคาต้น
ฝูงลิงก็มากินเกือบหมดทุกครั้ง เจ็บใจมาก วันหนึ่งจึงดักจับได้ลิงตัวหนึ่ง
เอาลวดมามัดมือมันแล้วปล่อยไป ลิงพยายามดึงมือเพื่อให้หลุด
ยิ่งดึงลวดยิ่งบาดลึกลงไปทุกที เลือดไหลแดงฉานร้องโหยหวน วิ่งเข้าป่าหายไป
นายคนนี้สะใจที่ได้แก้แค้น กาลเวลาผ่านไปเขาได้ลูกชายมาคนหนึ่ง
มือสองข้างแป นิ้วติดกันยังกับตีนเป็ด ลูกคนที่สองที่สามเกิดมาพิการ
เช่นเดียวกันยังกับแกะออกมาจากพิมพ์เดียวกันกรรมที่เขาทำคือ เอาลวดมัดมือลิง
ผลกรรมที่เขาได้รับ มิใช่ว่าเขาถูกคนมัดมือแต่ผลกรรมที่คล้ายกันคือ
เขาได้ลูกมาแต่ละคนมือพิการนิ้วติดกัน ดุจดังทำความพิการแก่มือลิง
สรุปก็คือเราทำอย่างใด ไม่จำเป็นต้องได้อย่างนั้น
แต่เราอาจได้ผล "คล้าย" อย่างนั้นครับอีกประเด็นหนึ่งก็คือ
ทำดีไม่จำต้องได้ผลดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำชั่วไม่จำต้องได้ผลชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์
ทำดีได้ผลดี หรือทำชั่วได้ผลชั่วแน่ แต่ไม่ใช่ "ต้องได้เต็มที่"
เป็นแต่เพียงแนวโน้มที่จะได้รับผลนั้นมากที่สุดเท่านั้น
ไม่ถึงกับร้อยเปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอย่างอื่นที่จะมาเบี่ยงเบน
หรือผ่อนปรนด้วยขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย สมมุติว่า
ผมออกจากบ้านมุ่งหน้าจะไปนครปฐม ทันทีที่ผมขับรถออกจากบ้าน
แนวโน้มที่ผมจะถึงนครปฐม ย่อมมีมากเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
แต่ไม่ครบร้อยดอกครับ อาจมีเงื่อนไขอย่างอื่นที่ผมไปไม่ถึงนครปฐมก็ได้
เช่นรถตายกลางทาง หรือผมเกิดขี้เกียจเลี้ยวรถกลับเอาดื้อๆ
ก็ได้กรรมที่ทำก็เช่นเดียวกันนั่นแหละ แนวโน้มที่จะให้ผลมีมาก
แต่ไม่จำเป็นต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ถึงขนาดใช้คำว่า "ต้อง"
มันขึ้นกับเงื่อนไขอย่างอื่นด้วยคัมภีร์ท่านเปรียบกรรมเหมือนหมาไล่เนื้อ
คนทำกรรมเหมือนเนื้อ หมาไล่เนื้อทันเมื่อใดมันก็กัดทันที
โอกาสที่หมาจะไล่ทันเนื้อมีมากอยู่ แต่ไม่ถึงกับร้อยเปอร์เซ็นต์
บางครั้งบางที เนื้อก็อาจหลุดรอดไปได้ก็มี
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นที่มาแทรกด้วยเรื่องของกรรมยังมีแง่มุมให้นำมาคุยมาก
ขอยกยอดไปคราวหน้าครับ
หน้า 6