Custom Search

Oct 31, 2009

มฟล. คว้าเทคนิคยอดเยี่ยม แข่งขันสร้างรถอัจฉริยะ ไร้คนขับ !!



ที่มา : http://intranet.mfu.ac.th/system/mfunews/prnews01.php?newsid=3536  (not active)

พัฒนาการด้านความเร็วเสมือนคนขับจริง
สามารถเรียกเสียงเชียร์ และทำให้ผู้ชมที่เกาะขอบสนามแข่ง
รถบางกอก เรซซิ่ง เซอร์กิต หลัง ซีคอน สแควร์
ร่วมลุ้นกันอย่างเต็มที่ กับการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะ
ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2552 รอบชิงชนะเลิศ
ซึ่งปีนี้ บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
ร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย
และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) จัดขึ้นเป็นปีที่ 3


รศ.ดร.มนูกิจ พานิชกุล ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันครั้งนี้
บอกว่า ปีนี้มีผู้สนใจส่งทีมเข้าแข่งขันจำนวน 21 ทีม
จาก 15 สถาบัน ซึ่งผ่านการแข่งขันรอบคัดเลือก
เข้าสู่รอบสุดท้ายจำนวน 8ทีม
การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะไร้คนขับนั้น
ถือเป็นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งเป็น
เทคโนโลยีเดียวกับที่กำลังถูกค้นคว้าใช้ในห้องวิจัย

เกือบ 3 ปี ที่จัดแข่งขันขึ้นในประเทศไทย
รศ.ดร.มนูกิจ บอกว่า จะเห็นว่าเด็กไทย
ได้พัฒนาศักยภาพในการสร้าง
รถอัจฉริยะไร้คนขับอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะเรื่องของความเร็ว
ปัจจุบันสามารถทำได้ถึง 30-40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ซึ่งเทียบเท่ากับการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ในต่างประเทศ
เพื่อเพิ่มความสนุกในการแข่งขัน
จากเดิมที่ในแต่ละปีแข่งกันที่ระยะทางที่สามารถทำได้มากที่สุด
โดยแข่งครั้งละ 1 ทีม
แต่ปีนี้ในรอบชิงชนะเลิศ เน้นทั้งด้านความสามารถ
ในการบังคับรถให้ทำตามกติกา และแข่งกันที่ความเร็ว
เพื่อความสนุกในการแข่งขัน
กติกาการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 8 ทีมสุดท้าย
ใช้วิธีจับคู่ ให้รถไร้คนขับ 2 คัน แข่งขันในสนามเดียวกัน
โดยกำหนดจุดที่ปล่อยรถห่างกัน 100 เมตร
การตัดสินทีมที่ชนะในแต่ละสาย
พิจารณาจากทีมที่วิ่งได้ระยะทางรวมไกลที่สุด
ในเวลา 20 นาที มีโบนัสครั้งละ 100 เมตร
หากหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้แม่นยำ
แต่ความมันส์อยู่ที่กติกาใหม่
หากทีมที่สอง ซึ่งจุดเริ่มต้นอยู่ถัดไป
สามารถวิ่งแซงคันหน้าหรือน็อกรอบได้ จะชนะทันที

เริ่มเปิดสนามกันตอนบ่ายโมงกว่า ๆ ท้องฟ้าค่อนข้างครึ้ม
ทำเอาน้อง ๆ ใจเสียไปพอสมควร
เพราะฝนฟ้ารวมถึงสภาพแสงแดดที่เปลี่ยนไป
มีผลสำคัญต่อความแม่นยำของอุปกรณ์
ไฮเทคที่ใช้อย่างเช่น จีพีเอส และเซ็นเซอร์
รวมถึงอาจทำให้โน้ตบุ๊ก
และกล้องที่นำมาใช้เกิดความเสียหายได้
แต่ก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี น้อง ๆ ทั้ง 8 ทีม
ต่างแสดงความสามารถ ขับเคี่ยวกันอย่างเต็มที่
แถมสร้างความหวาดเสียวให้กับผู้ชมที่อยู่ใกล้
เพราะวิ่งได้เร็วมาก หากไม่สังเกต
หรือไม่รู้มาก่อน คงต้องนึกว่ามีคนขับอย่างแน่นอน

ในที่สุด ก็ได้ 2 ทีมสุดท้าย คือทีมขึ้น ช่าย
จากสถาบันเอไอที กับทีมแอร์ ฟอร์ซ ทู
จากโรงเรียนนายเรืออากาศ เข้าไปแข่งขันรอบตัดเชือก
และ สุดท้าย ทีมขึ้นช่ายใช้ลีลาบุกตะลุยด้วยความเร็ว
ชนป้ายสิ่งกีดขวางอย่างไม่กลัวเจ็บเพราะเป็นรถเก๋ง
เอาชนะทีมแอร์ ฟอร์ซ ทู ที่ใช้รถกอล์ฟไฟฟ้า
เน้นวิ่งเร็ว แม่นยำ และสม่ำเสมอไปอย่างหวุดหวิด

แชมป์รถอัจฉริยะไร้คนขับปีนี้ จึงตกเป็นของ
"ทีมขึ้นช่าย" จากสถาบันเอไอที
คว้ารางวัลเงินสด 300,000 บาท
และโล่เกียรติยศ จาก ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนทีมแอร์ ฟอร์ซ ทู จากโรงเรียนนายเรืออากาศ
ได้รางวัลรองชนะเลิศ รับรางวัลเงินสด 200,000 บาท
พร้อมโล่เกียรติยศเช่นกัน

สำหรับทีม อะไรฟว์-ทู จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
คว้ารางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม
ทีมผักชี จากเอไอที คว้ารางวัลความคิดสร้างสรรค์
และ ทีมดั๊ค ไรเดอร์ส จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
คว้ารางวัลออกแบบประหยัดพลังงานยอดเยี่ยม

เมธี ศรีสุบรรณดิฐนัก ศึกษาจากภาควิชาเมคาโทรนิกส์
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เอไอที
หัวหน้าทีมขึ้นช่าย บอกถึงเทคนิคที่ทำให้ได้แชมป์ครั้งนี้ว่า
มีการพัฒนารถจากเดิมโดยเน้นที่ความเร็วเพิ่มขึ้นจาก
10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็น 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
รวมถึงได้เขียนโปรแกรมใหม่เพิ่มด้านความน่าเชื่อถือและเสถียรภาพ
ทำให้รถมีจุดเด่นคือสามารถวิ่งได้เร็วมาก
ค่อนข้างนิ่งและสามารถวิ่งได้เสมือนมีคนขับจริง

ทางทีมได้ปรับใช้ความรู้จากวิชาคอนโทรล
ในการควบคุมรถ ทำให้รถอยู่ในเส้นทาง
เลี้ยวหลบสิ่งกีดขวางได้
นอกจากนี้ยังมีการปรับใช้ความรู้จากวิชาอิเล็กทรอนิกส์
ในการติดตั้งและพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ
สำหรับรถอัจฉริยะไร้คนขับเช่น
มอเตอร์ เข็มทิศ และจีพีเอส

ด้านทีมแอร์ ฟอร์ซ ทู จากโรงเรียนนายเรืออากาศ
ซึ่งส่งทีมเข้าแข่งขันเป็นครั้งแรก
นักเรียนนายเรืออากาศ จักรพันธุ์ ขาวสำรวย หัวหน้าทีม
บอกว่า ทีมได้พัฒนาเรื่องความเร็วของรถ
โดยทางตรงสามารถวิ่งได้ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ส่วนทางโค้ง วิ่งได้ 15 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
จุดเด่นในรอบชิงนี้ มีการเปลี่ยนมา
ใช้จีพีเอสความละเอียดสูงซึ่ง
เป็นจีพีเอสที่ใช้สำหรับเครื่องบิน
นอกจากนี้ยังเพิ่มกันชนหน้าหลัง
รองรับความเร็วของรถที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

เห็นพัฒนาการด้านรถอัจฉริยะไร้คนขับของเยาวชนไทยแล้ว
น่ายินดีและมีความหวังขึ้นมาว่าสักวันคนไทย
คงมีโอกาสได้ใช้บริการรถไร้คนขับ เหล่านี้
และคงไม่ช้าไปกว่าประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีอื่นๆ
หากภาครัฐและเอกชนให้
การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเช่นทุกวันนี้!!!.

ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์ 4 สิงหาคม 2552

Credits: http://www.youtube.com/user/jull8080












"ความสุข"ที่ถูกเก็บไว้


คอลัมน์ แท็งก์ความคิด
นฤตย์ เสกธีระ
max@matichon.co.th
มติชน
วันที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันก่อนเดินทางไปพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
คงรู้ๆ กันแล้วนะครับว่า พระราชวังสนามจันทร์นั้น
เป็นที่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ใช้ฝึกกองเสือป่า
ภายในพระตำหนักต่างๆ
จึงมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ประดับอยู่

แต่อีกหลายคนคงไม่รู้ว่า ที่พระตำหนักทับแก้ว
ภายในพระราชวังสนามจันทร์
ซึ่งเคยเป็นที่ประทับฤดูหนาวของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 นั้น

เดี๋ยวนี้ได้จัดให้เป็น "พิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม"
บริเวณ ชั้นสองของพระตำหนัก
มีพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ซึ่งเป็นภาพฝีพระหัตถ์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6

วันนี้ภาพนั้นแลเลือนๆ แต่ใครได้พบเห็นก็ถือว่าเป็นบุญตา
ส่วน บริเวณอื่นๆ ได้จัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม
เพื่อประกาศให้คนไทยรับรู้ว่า
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2458 รัชกาลที่ 6
ทรงจัดตั้ง "กรรมการคณะฟุตบอลแห่งสยาม" ขึ้น
มีพระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ ณ อยุธยา)
เป็นสภาฯนายกฯ
และทรงจัดให้มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างชาติขึ้น
เป็นครั้งแรกของไทย
ทีมชาติไทย หรือสมัยนั้น
เรียกว่า ทีมชาติสยามชุดแรก มี 11 คน
เรียกว่า "คณะฟุตบอลสำหรับชาติสยาม"

ขอบันทึกรายชื่อนักกีฬาฟุตบอลชุดประวัติศาสตร์เอาไว้
นาย จรูญ รัตโนดม นายชอบ หังสสูต
นายตาด เสตะกสิกร นายโชติ ยูปานนท์
นายศรีนวล มโนหรทัต
นายแถม ประภาสวัต
นายกิมฮวด วณิชยจินดา
นายต่อ ศุกระกร
นายภูหิน สถาวรวณิช
นายอิน สถิตยวณิช
โดยมี ม.จ.สิทธิพร กฤดากร เป็นหัวหน้าชุด

ทีมชาติสยามนี้แข่งขันฟุตบอลกับทีมสปอร์ตคลับ
ซึ่งมีนักเตะจากสหราชอาณาจักรเป็นส่วนใหญ่

ผลการแข่งขันครึ่งแรก เสมอกัน 0-0
พอเข้าครึ่งหลังนายศรีนวล และ ม.จ.สิทธิพร
ทำสกอร์ให้แก่ทีมชาติสยาม
นำเป็น 2-0
แต่ต่อมา ทีมสปอร์ตคลับสามารถยิงเอาคืนได้ 1 ลูก
ผลการแข่งขันหลังหมดเวลา
ทีมชาติสยามชนะทีมสปอร์ตคลับ 2-1
ได้ยินได้อ่านประวัติทีมฟุตบอลไทยในอดีตแล้วก็รู้สึกสนุกสนาน
ยิ่งในพิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม
นำเอารูปภาพเก่าๆ มาประดับ

มีพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงฉายภาพร่วมกับทีมฟุตบอลสยาม

ยิ่งปลาบปลื้มใจ วันนั้นเดิมชมภาพต่างๆ เสียเพลิน
จากเดิมกะเกณฑ์ตัวเองว่าจะ
เที่ยวชมพระราชวังสนามจันทร์สักชั่วโมง
เพราะมีกำหนดการต่อไปที่กาญจนบุรี

แต่พอได้ชื่นชมภาพก็เหมือนคนต้องเสน่ห์
ยิ่งได้ฟังเรื่องราว "ข้างหลังภาพ" ยิ่งติดตราตรึงใจ
นี่คือสิ่งที่แตกต่างจากการชมพิพิธภัณฑ์อื่นๆ ที่ผ่านมา
แตกต่างจากการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
แตกต่างจากการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
ที่เก็บเอาสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ในอดีต

แตกต่างจากการเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์เหล่านั้น
เพราะการเที่ยวชมพระราชวังสนามจันทร์
และพิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลแห่งสยาม
เป็นสถานที่ที่เก็บรวบรวมเรื่องราวของ
ธ ผู้ทรงเป็นพ่อแห่งแผ่นดิน

เป็นสถานที่ที่เก็บรวบรวมพระราชประวัติ
พระราชกรณียกิจ และอื่นๆ ที่มีคุณูปการต่อคนไทย

ชีวิตของพระราชวังสนามจันทร์
และพิพิธภัณฑ์คณะฟุตบอลไทย
จึงอยู่ที่เรื่องราวหลังภาพถ่าย

เหมือนเราที่เปิดอัลบั้มรูป
แล้วรำลึกถึงอดีตที่เกิดขึ้นนั่นแหละครับ

ใครไม่เคยลองก็ควรจะลองดูบ้าง
รูปภาพที่เราเคยบันทึกไว้
และเก็บรวบรวมไว้เป็นอัลบั้ม

รูปภาพวันที่ไปเที่ยวกับคนรัก
ภาพวันหมั้น-วันแต่งงาน
ภาพวันที่ไปเที่ยวกับเพื่อน ฯลฯ

รูปภาพที่เมื่อก่อนใช้วิธีการวาด
แล้วพัฒนามาเป็นการถ่ายภาพ

จากภาพถ่ายที่ใช้กระดาษอัดภาพ
มาสู่ภาพที่สามารถบันทึกลงในแผ่นดิสก์ได้เลย

ภาพเหล่านั้นหลายคนคงเก็บเอาไว้ในลิ้นชัก
ภาพเหล่านั้นหลายคนคงเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์
เก็บไว้โดยไม่เคยเปิดออกมาดู การเก็บภาพไว้ในลิ้นชัก
ก็เหมือนกับการเอาความสุขหมกซุกไว้

แต่ถ้าวันใดเราปัดฝุ่นภาพถ่ายสมัยอดีต
เอาออกมาระลึกถึงความหลัง

สมัยอนุบาลอาจจะยังจำความไม่ได้
อานุภาพความสุขอาจจะยังไม่บังเกิด

แต่พอระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
มาถึงระดับอุดมศึกษา
พอเรามองเห็นตัวเองก็อาจจะหัวเราะก๊ากออกมา
พร้อมตั้งคำถาม "ทำไมเราถึงเชยระเบิดเลย"
ยิ่งถ้าจำเหตุการณ์ตอนบันทึกภาพนั้นๆ ได้
ความรู้สึกแห่งความภาคภูมิ
ปลาบปลื้ม ตลกขบขัน และอื่นๆ จะบังเกิดขึ้น

หากได้ดูกับคนที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ช่วงเวลานั้น
ก็จะยิ่งมีชีวิตชีวา
เพราะภาพแต่ละภาพนั้น
มีเรื่องราวข้างหลังให้ระลึกนึกถึง
และในภาพที่บันทึก
เรามักจะบันทึกตอนที่ชีวิตมีความสุข

บันทึกไว้ให้จดจำ
แต่ที่ผ่านมา เราเอาความสุขที่บันทึกเก็บไว้ในลิ้นชัก
จึงไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรง
หากเราคิดจะไปหยิบอัลบั้มรูปเก่าๆ
มาเปิดดูอีกสักครั้ง

ความสุขเล็กๆ ก็จะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งใคร

สวัสดี


หน้า 17





Oct 30, 2009

โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับผู้พิการ

จุฬาฯพัฒนาโปรแกรมอ่านหน้าจอหนุนผู้พิการสายตาเป็น"คอลเซ็นเตอร์"


ธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่อยากมัดใจลูกค้าได้ต้องมี
"ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์"หรือที่เรียกว่า
คอลเซ็นเตอร์ยิ่งบริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง
ไม่มีวันหยุดยิ่งดี
เพราะปัญหาของลูกค้าเกิดขึ้น
ได้ทุกนาที เป็นเรื่องน่ายินดี

เมื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
เปิดโอกาสรับ
ผู้พิการทางสายตา
เป็นพนักงานให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ๒ คน

โดยมีโปรแกรมอ่านหน้าจอภาษาไทย
ช่วยให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างคล่องแคล่ว
ซอฟต์แวร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการ"ไอไซท์ แล็บ"

ที่ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด(ไทย)จำกัด
(มหาชน)
สนับสนุนให้นักวิจัย
ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พัฒนาขึ้น
เพื่อเปิดโอกาสผู้พิการทางสายตา
เข้าถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ

ดร.อติวงศ์ สุชาโต ผู้ช่วยคณบดีด้านสารสนเทศ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เล่าถึงโปรแกรม ดังกล่าวว่า
ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาสื่อสาร
และค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
รวมถึงใช้คอมพิวเตอร์ได้โดยลำพัง
ไม่ต้องอาศัยผู้ช่วยในต่างประเทศมี
โปรแกรมลักษณะนี้ใช้กันอย่างแพร่หลาย
หากไทยต้องการใช้จะต้อง
เสียค่าลิขสิทธิ์ซึ่งราคาแพง
ทำให้ผู้พิการส่วนใหญ่
ขาดโอกาสในการเรียนรู้
และพัฒนา อาชีพ

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดสนับสนุน
ครบทั้งอุปกรณ์วิจัยเทคโนโลยี
และงบประมาณปีละ ๓ หมื่นดอลลาร์
หรือประมาณ ๑ ล้านกว่าบาท
ระยะ เวลาดำเนินโครงการ ๓ ปี
เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๐
สิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน ๒๕๕๓
ปัจจุบันโปรแกรมช่วยอ่านหน้าจอพัฒนาแล้วเสร็จ
พร้อมทั้งปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้งานใน
ศูนย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์
โดยมีพนักงานที่พิการทางสายตา ๒ คน
เริ่มทดลองงานใช้งานโปรแกรม

โปรแกรมช่วยอ่านหน้าจอพัฒนาขึ้น
จากโปรแกรมระบบเปิดหรือ
โอเพ่น ซอร์ส โดยใช้ชื่อโปรแกรมว่า เอ็นวีดีเอ
(Non Visaul Desktop Access)
ทำหน้าที่มองจอภาพแทนตา
และส่งสัญญาณเสียงตอบกลับว่า
บนหน้าจอมีลักษณะอย่างไร มีข้อมูลอะไรบ้าง
เพื่อให้ผู้พิการสามารถป้อนคำสั่ง
ที่ต้องการผ่านคีย์บอร์ดได้ทันที
ในรูปแบบแปลงตัวอักษรเป็นเสียงพูด (Text to Speech)

" เมื่อผู้พิการกดแป้นแท็บ (Tab) บนแป้นพิมพ์
จะมีสัญญาณเสียงบอกให้ทราบ
ตำแหน่งที่เคอร์เซอร์กะพริบอยู่
เช่น คอมพิวเตอร์ของฉัน ( My Computer)
เอกสารของฉัน (My Document) ถังขยะ
หรือขณะที่ผู้พิการคลิกเปิดโฟลเดอร์
ก็จะมีเสียงแจ้งว่า
"กำลังเปิดเอกสารของฉันเป็นต้น"
ดร.อติวงศ์ หนึ่งในทีมพัฒนาโปรแกรมกล่าว
การพัฒนาโปรแกรมช่วยอ่านหน้าจอ
สำหรับผู้พิการทางสายตา
ได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กร
โดยเฉพาะสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
และสมาคมคนตาบอดเพื่อการวิจัย
ที่ร่วมทดสอบโปรแกรมตลอดจน
พัฒนาแก้ไข กระทั่งสามารถใช้งานได้สูงสุด
ตรงความต้องการของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง

" การติดตั้งใช้งานโปรแกรมใน
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
จะนำร่องให้ทุกคนเห็นถึงศักยภาพของ
โปรแกรมว่า สามารถใช้งานได้จริง
ก่อนที่จะพัฒนาต่อให้มีความแม่นยำ
ตลอดจนพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมให้เหมาะสม
กับการใช้งานในแต่ละประเภท
ในลักษณะโปรแกรมเสริมต่อไป"
นักพัฒนาโปรแกรม กล่าว

ด้าน นายแอชลีย์วีซีย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่
สายงานสารสนเทศและปฏิบัติการ
ธนาคารสแตน ดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)
กล่าวว่า ธนาคารพิจารณาถึง
ประโยชน์ของโครงการดังกล่าว
เนื่องจาก โปรแกรมช่วยอ่าน
ของภาคเอกชนที่จำหน่ายในตลาด
มีราคาแพงและยังไม่มีภาษาไทย
หากสามารถพัฒนาเป็นภาษาไทยได้
และแจกจ่ายให้ผู้พิการทางสายตา
นำไปใช้โดยไม่ต้องซื้อในราคาแพง
จะเป็นประโยชน์ทั้งแก่
ผู้พิการทางสายตาและสังคมโดยรวม

( คมชัดลึกออนไลน์ ๔ มค. ๒๕๕๒ )



















เส้นทางชีวิตมวยของ แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์

แสนศักดิ์ หรือ 'บุญส่ง มั่นศรี' ผู้มีชื่อเล่นว่า 'แสบ' เมือง
จังหวัดเพชรบูรณ์ เกิดเมื่อ 13 สิงหา
คม พ.ศ. 2495
เริ่มก้าวแรกบนถนนนักมวยในแบบมวยไทย
มาก่อน
ในการชกมวยไทยครั้งแรกๆ ใช้ชื่อว่า 'แสนแสบ เพชรเจริญ'
หรือ 'แสบทรวง เพชรเจริญ' เมื่อเข้ามาในกรุงเทพมหานคร
ได้อยู่กับค่าย 'เมืองสุรินทร์' ของ 'จอมตบ' สนอง รักวานิช

และเริ่มมีชื่อเสียงเมื่อเข้ามาอยู่ในค่ายมวยนี้ ของ
สนอง รักวานิช นักทำมวยมืออาชีพ

โดยชกในรุ่นเฟเธอร์เวทและประสบชัยชนะด้วยหมัดซ้ายมาตลอด
กระทั่งได้เป็นแชมป์มวยไทย
รุ่นจูเนียร์เวลเตอร์เวต (140 ปอนด์) ของเวทีลุมพินี
โดยชนะ สรศักดิ์ ส.ลูกบุคคโล จากนั้นก็ขึ้นชก
กับนักมวยแถวหน้าของเมืองไทยยุคนั้น

ไม่ว่าจะเป็น วิชาญน้อย พรทวี, ศิริมงคล ลูกศิริพัฒน์,
พุฒ ล้อเหล็ก, คงเดช ลูกบางปลาสร้อย
และผุดผาดน้อย วรวุฒิ เป็นต้น


แสนศักดิ์ เป็นนักมวยที่มีช่วงแขนยาวกว่าปกติ
และหมัดซ้ายหนักโดยธรรมชาติ
แสนศักดิ์ถูกทัก
จาก 'พญาอินทรี' เทียมบุญ อินทรบุตร

ว่าหมัดซ้ายหนักขนาดชกวัวล้มได้
ทำให้แสนศักดิ์
เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง
อย่างที่ไม่เคยเชื่อมาก่อน
แสนศักดิ์
เคยชกมวยสากลสมัครเล่น
ในการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งที่ 7
ที่ประเทศสิงคโปร์
โดยชนะน็อกรวดทุกครั้ง
จนได้ครองเหรียญทอง

โปรโมเตอร์ใหญ่ เทียมบุญ อินทรบุตร
จากจุดนี้เอง โปรโมเตอร์ใหญ่ เทียมบุญ อินทรบุตร

จึงหนุนให้แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์
เบนเข็มเข้าสู่ถนน
สายอินเตอร์โดยใช้แผน 'บันไดสามขั้น'
คือ ให้แสนศักดิ์ชกเพียง 3 ครั้งได้เป็นแชมป์โลก
เพราะมั่นใจในพลังหมัด
เป็นอย่างมากแผนบันไดสามขั้นนี่เอง กลายเป็นสถิติโลกมาจนปัจจุบัน

โปรโมเตอร์ใหญ่ เทียมบุญ เป็นคนตั้งฉายาว่า
'หมัดซ้ายทลายโลก'
แต่ต่อมา
แสนศักดิ์ตั้งชื่อว่า 'หมัดซ้ายสีชมพู'
เพื่อให้คลายความดุดัน ดูไม่น่ากลัวจนเกินไปนัก
แต่ แสนศักดิ์ป้องกันตำแหน่งแชมป์ไว้ ได้เพียงครั้งเดียว
โดยการเอาชนะน็อก
เท็ตสุโอะ 'ไลอ้อน' ฟูรูยาม่า
นักมวยชาวญี่ปุ่นเท่านั้น
จากนั้นได้ไปป้องกันตำแหน่ง
กับ มิเกล เวลาสเควซ นักมวยชาวสเปน
ที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน
แสนศักดิ์ถูกจับแพ้ฟาล์วในยกที่ 4

เนื่องจากไปชกเวลาเควซล้มลงในช่วงระฆังตีบอกยกหมดเวลา
เสียแชมป์โลกทันที ฝ่ายไทยพยายามประท้วง

แต่ก็ไม่เป็นผล อีก 4 เดือนต่อมา
แสนศักดิ์จึงได้โอกาสแก้มือที่ประเทศสเปนอีกครั้ง

คราวนี้ แสนศักดิ์เป็นฝ่ายชนะน็อกไปเพียงแค่ยกที่ 2
ได้กลับมาเป็นแชมป์โลกในสมัยที่
2 จากนั้น
แสนศักดิ์ได้ป้องกันตำแหน่งไว้ได้หลายต่อหลายครั้ง

และบางครั้งเป็นไฟต์แห่งความทรงจำ
ที่ยังคงตรึงใจแฟนมวยอยู่จนทุกวันนี้

เช่น ชนะน็อก มอนโร บรู๊คส์ นักมวยชาวอเมริกันไปอย่างสุดมัน
ในยกที่ 15
ที่จังหวัดเชียงใหม่
ชนะคะแนน ซาอูล แมมบี้
นักมวยชาวอเมริกันอีกคน
ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น
แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์
ขณะชกกับ โธมัส เฮิร์นส์
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2522
ที่สหรัฐอเมริกา
แสน ศักดิ์ เสียแชมป์โลก

ในการป้องกันตำแหน่งครั้งที่ 8 ของสมัยที่ 2 กับ คิม ซาง ฮัน
นักมวยชาวเกาหลีใต้
เมื่อปลายปี พ.ศ. 2521
ถึงกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
ถิ่นของผู้ท้าชิงเอง

โดยแพ้น็อกไปในยกที่ 13 เนื่องจากสภาพร่างกาย
ของแสนศักดิ์ไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า

และสายตาก็เริ่มมีปัญหา จากนั้นแสนศักดิ์ได้ไปชก
นอกรอบที่ประเทศฟิลิปปินส์ก็แพ้นักมวยเจ้าถิ่นอีก
และอีก 3 เดือนต่อมา ก็บินไปชกที่สหรัฐอเมริกา

กับ โธมัส เฮิร์นส์ ซึ่งเป็นดาวรุ่งในขณะนั้น
ซึ่งแสนศักดิ์ไม่อาจสู้อะไรเฮิร์นส์ได้เลย
เป็นฝ่ายแพ้น็อกไปในยกที่ 3 แสนศักดิ์ชกมวย
ครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2524
ที่จังหวัดร้อยเอ็ด
โดยเป็นโปรโมเตอร์จัดการแข่งขันเอง

โดยเป็นการชิงแชมป์ภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก (OPBF)
กับนักมวยชาวเกาหลีใต้ แต่ก็แพ้คะแนนขาดลอยอีก
จึงต้องแขวนนวมไปในที่สุด


สรุปเกียรติ
ประวัติ
แชมป์โลกรุ่นไลท์เวลเตอร์เวท WBC (2518-2519)
o ชิง 15 กรกฎาคม 2518 ชนะน็อค เปริโก เฟอร์นันเดซ (สเปน)
ยก 8 ที่ อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
o ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 25 มกราคม 2519 ชนะคะแนน ไลอ้อน ฟูรูยามา (ญี่ปุ่น) ที่ โตเกียว
o เสียแชมป์ 29 มิถุนายน 2519 แพ้ฟาล์ว มิเกล เวลาสเควซ (สเปน) ยก 4 ที่ สเปน

แชมป์โลกรุ่นไลท์เวลเตอร์เวท WBC (2519-2521)
o ชิง 29 ตุลาคม 2519 ชนะน็อค มิเกล เวลาสเควซ (สเปน) ยก 2 ที่ สเปน
o ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 15 มกราคม 2520 ชนะน็อค มอนโร บรูค (สหรัฐ) ยก 15 ที่ จ.เชียงใหม่
o ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 2 เมษายน 2520 ชนะน็อค กัตซ์ อิชิมัตสึ (ญี่ปุ่น) ยก 6 ที่ โตเกียว

o ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 17 มิถุนายน 2520 ชนะคะแนน เปริโก เฟอร์นันเดซ (สเปน) ที่ สเปน
o ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 20 สิงหาคม 2520 ชนะน็อค ไมค์ เอฟเวอเรส (สหรัฐ) ยก 6 ที่ จ.ร้อยเอ็ด
o ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 22 กันยายน 2520 ชนะคะแนน ซาอูล แมมบี้ (สหรัฐ) ที่ จ.นครราชสีมา
o ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 30 ธันวาคม 2520 ชนะน็อค โจ คิมปัวนี่ (ฝรั่งเศส) ยก 13 ที่ จ.จันทบุรี

o ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 8 เมษายน 2521 ชนะน็อค ฟรานซิสโก โมเรโน (เวเนฯ) ยก 13 ที่ จ.สงขลา
o เสียแชมป์ 30 ธันวาคม 2521 แพ้น็อค คิม ซางฮุน (เกาหลีใต้) ยก 13 ที่ กรุงโซล เกาหลีใต้
ชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากสุขภาพไม่อำนวย
o ชิง แชมป์ OPBF รุ่นเวลเตอร์เวทเมื่อ
5 ธ.ค. 2524 แพ้คะแนน ซุง แจ ฮาง ฮวาง
ชุงแจ
นักชกเกาหลีใต้ที่ เวทีมวยชั่วคราวบึงผลาญชัย จ.ร้อยเอ็ด
ในศึกชิงแชมป์สหพันธ์มวยภาคตะวันออกและแปซิฟิก (OPBF)

เนื่องจากปัญหาทางสายตา
ช่วงที่แสนศักดิ์เป็นแชมป์โลก

นับได้ว่าเป็นซุปเปอร์สตาร์ชื่อดังคนนึงเลยทีเดียว
แสนศักดิ์เป็นคนที่นิสัยดีเฮฮาเพื่อนฝูงรัก
ทำให้แสนศักดิ์มีภรรยาคนแรกในชีวิตคือ 'ปริม ประภาพร'

ดาราสาวชื่อดังในสมัยนั้น และมีลูกชายที่เกิดกับภรรยาคนนี้
ชื่อ 'เกรียงศักดิ์'
ซึ่งแสนศักดิ์เป็นคนตั้งเอง
โดยให้ตรงกับชื่อนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น

(พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์)
และมีชื่อเล่นว่า 'คิง'
ชีวิตหลังแขวนนวม หลัง แขวนนวม
เพราะสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแกร่งเหมือนเดิม

และมีปัญหาด้านสายตาอีกแสนศักดิ์มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบาก
เพราะนับจากเสียแชมป์โลกครั้งสุดท้ายไปแล้ว
เงินทองที่เคยมีอยู่
นับ 10 ล้านที่เคยเก็บหอมรอบริบ
จากการชกมวยก็ร่อยหรอ ผู้จัดการที่ปลุกปั้นมา
คือ 'สนอง รักวานิช'
ก็เสียชีวิต กลุ่มผู้สนับสนุนก็ทยอย
จากไป
หนำซ้ำยังโดนหลอกจากเพื่อนฝูงและคนรู้จัก
รวมถึงคนในวงการมวยด้วย
การชกครั้งท้าย ๆ ของแสนศักดิ์

เจ้าตัวถึงขนาดลงทุนเป็นโปรโมเตอร์เอง
ซึ่งก็ขาดทุนอีก
เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น
ผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคชาติไทย
ที่เพชรบูรณ์
บ้านเกิด ก็ไม่ได้รับเลือก
จนในที่สุด
สายตาข้างขวาที่มีปัญหาของแสนศักดิ์บอดสนิท

ส่วนตาข้างซ้ายได้รับการผ่าตัดจนมองเห็นได้

และได้รับความช่วยเหลือจากการกีฬาแห่งประเทศไทย
และจากสภามวยโลก โดยอาศัยอยู่กับ
ภรรยาคู่ชีวิต
นางศศวรรณและ ด.ญ.ปานวาด มั่นศรี
ลูกสาวบุญธรรม อายุ 13 ปี ที่ดินแดง กรุงเทพฯ
ล่าสุดเมื่อต้นปี 2551 แสนศักดิ์ตกเป็นข่าวอีกครั้ง
เมื่อบ้านของเขาย่านดินแดงถูกพายุฝนจนหลังคาถล่ม
ซึ่งแสนศักดิ์ต้องประกาศ
ขอรับความช่วยเหลือในการซ่อมหลังคาในครั้งนี้

จาก บุคคลต่างๆในวงการมวย เพราะว่า
ค่าใช้จ่ายมากหลายหมื่นด้วยกัน

และก็ได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างดี
แสนศักดิ์เสียชีวิตลงในวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2552
เวลา 15.00 น.
ที่โรงพยาบาลราชวิถี
ด้วยอาการลำไส้ฉีกขาด
เนื่องจากเป็นหลายโรครุมเร้าด้วยกัน
โดยแสนศักดิ์เข้ารักษาตัวตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน
ได้รับการผ่าตัดแล้วแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น
จนเสียชีวิตในที่สุด ด้วยวัย 57 ปี
ช่าง
บังเอิญเหลือเกินที่วันเสียชีวิต ของ แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์
ยังตรงกับวันที่ 'โผน กิ่งเพชร' อดีตแชมป์โลกคนแรกของไทย

ได้แชมป์โลกรุ่นฟลายเวท มาครอง
เมื่อวันที่ 16 เม.ย. 2503
ด้วย
แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์
นักมวยชาวไทยผู้ยิ่งใหญ่

เป็นคนเก่งที่มีความสามารถ
ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ

ได้สู้สงครามชีวิตอย่างทรหด
เพราะกรำศึกมวยอย่างหนัก

จนตาพิการ ทำการงานไม่ได้
เงินทองที่ได้มาพร้อมกับ
ชื่อเสียงหายไป
เพื่อนฝูงห่างหาย

แม้ชีวิตลำบากมากขึ้น โรครุมเร้า แต่แสนศักดิ์ยัง
โชคดีที่มีครอบครัวเป็นกำลังใจอยู่เคียงข้าง

เพราะแม้ว่าแสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์
จะจากไปแล้ว แต่ตำนาน 'หมัดซ้ายสีชมพู'

ก็ยังอยู่ในใจคนไทยตลอดไป








Credit: Thai Classic

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด



ผศ.ยงยุทธ จรรยารักษ์
อาจารย์ภาควิชา พฤษศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

28 มกราคม 2551


โรงเรียนปลูกปัญญา
การท่องเที่ยวคือการเรียนรู้ในวิถีที่แตกต่าง
การท่องเที่ยวที่ดีที่สุดคือการเดิน
การที่จะไปไกลกว่านั้นคือขี่จักรยานแต่ปัจจุบัน
คนกลับท่องเที่ยวโดยการบินข้ามไป
ปัจจุบัน คนเป็นทาสของเวลา ต้องทำอะไรที่เร่งรีบดังนั้น
เราต้องไม่ทำอะไรตามเวลา เราต้องควบคุมเวลา
เลี้ยงลูกอย่างไรให้ตัวเรามีความสุขเลี้ยงลูกโดยมีเป้าหมาย
ให้ลูกรู้จักครู ครูคือผู้สร้างอนาคตของชาติผ่านเด็ก
ครูคนแรกคือพ่อแม่
ต่อมาคือครูที่โรงเรียน
คนที่สามคือ คนแก่
คนแก่คือคนที่มากประสบการณ์
ในอดีตไม่มีอุทกภัย
มีแต่ฤดูน้ำหลาก
ซึ่งทุกคนรอคอยเมื่อน้ำหลาก จะมีบัว
และดอกโสนที่โผล่พ้นน้ำ
สาวๆก็จะมาเก็บบัวหนุ่ม ๆ
จะพายเรือ ร้องเพลงเกี้ยวสาว
ช่วยเก็บบัวเมื่อน้ำลดก็จะนำตาข่าย
ไปดักปลาได้มากมาย
เราจะทุกข์หนักตราบใดที่เรายังไม่รู้จักตัวเอง
อย่าทำลายความช่างสงสัย ช่างคิดของเด็กเวลาเด็กถาม
อาจจะถามกลับไปว่า แล้วหนูคิดว่าอย่างไรเราสอนอะไร
เราเรียนอะไรจากลูก
เราควรส่งเสริมให้ลูกเจริญงอกงามในทางที่เขาจะเป็น
อย่ากำหนดชีวิตลูกเด็กบางคนเป็นหญ้า ติดดิน
และแผ่ไปอย่างไพศาล บางคนเป็นต้นมะม่วง
เราไม่มีทางทำให้เด็กทุกคนเป็นต้นมะม่วงได้
ทำอย่างไรเราจะรู้ว่าเด็กจะเป็นอย่างไรโดยให้
เขาสัมผัสชีวิตที่หลากหลาย จงเลี้ยงลูกให้เป็นเทพ
อย่าเลี้ยงแบบมารเทพ ให้ความรักและละอายต่อบาปมาร
ตอบสนองตัณหาไม่รู้จบ พระประธานมองต่ำอยู่เสมอ
มองต่ำแล้วจิตใจจะเบิกบาน ไม่แบ่งแยก
จะอยู่อย่างเกื้อกูล ( ป่า )
ความรัก คือ give
อย่างไม่มีเงือนไขใคร่ คือ Take
พูดกับลูกให้รู้เรื่อง อย่าพลักภาระเราให้คนอื่น
ลุกคืออาคันตุกะที่อยู่นานต้องสอน ( กติกา )
แล้วจึงสั่ง
1. ปัจจุบัน คือความมหัศจรรย์ของชีวิต
2. จงอยู่กับปัจจุบัน
3. ใช้ชีวิตให้เป็นอิสระจากสังคม ความอาย
คือ คิดว่าคนอื่นคิดกับเราอย่างไร
4. ทำชีวิตให้ง่ายที่สุดเลี้ยงลูกให้เป็นแมลงสาบ
อยู่ได้ทุกสภาวะ Take less , Give more
Take ได้อำนาจ Give ได้บารมี
การสร้างปัญญา คือการพัฒนาศักยภาพของโสตประสาท
ปัญญาคือการรวบรวมข้อมูลของโสตประสาท พรหมวิหาร 4
เมตตา ต้องให้อภัย ให้โอกาส ให้คำชี้แนะ
ให้ความช่วยเหลือ และให้เสรีภาพกรุณามีใจพร้อม
ที่จะช่วยทุกคนอย่างเสมอภาคมุทิตา
ชมอุเบกขา ไม่อวดดี คิดเป็น อย่าเอาความรู้
มาครอบปัญญา น้ำคืออะไร วิธีการเรียน
เรียนจาก concept ไปหา experience
หรือ เรียนจาก experience ไปหา concept
ไผ่ คือไม้ที่มีประโยชน์ใช้ได้ทุกอย่าง
การสอนนักเรียนประถม
-สอนวินัยมัธยม
-ทำงานเป็นกลุ่มอุดมศึกษา
-คิดเป็น คนจะประสบความสำเร็จต้องใช้ ศาสตร์
และ ศิลป์ศิลปะ คือ จังหวะศาสตร์
คือ ความรู้ ต้องใช้ความรู้ให้ถูกจังหวะ
ความสำเร็จ คือ ความสุขความภาคภูมิใจในตัว

Credits: http://www.youtube.com/user/jull8080

















Obama กับรางวัลโนเบลสันติภาพ


วรากรณ์ สามโกเศศ มติชน
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552
เมื่อ ประธานาธิบดี Barack Obama ได้รับรางวัลโนเบล
สาขาสันติภาพประจำปี 2009 เมื่อเร็วๆ นี้
ก็มีปฏิกิริยากันกว้างขวางว่าไม่สมควรเพราะยังไม่ได้ทำอะไรเลย
อย่างไรก็ดี มีผู้เขียนบทความที่น่าเชื่อถือได้
อธิบายถึงความเหมาะสมของการได้รับรางวัล
อย่างสมควรรับฟังเพื่อสร้างทัศนคติที่กว้างขวางขึ้น
และถือได้ว่าเป็นการรับฟังความเห็น
จากฝ่ายที่เราอาจไม่เห็นด้วยอย่างเป็นไป
ภายใต้วัฒนธรรมประชาธิปไตย

Bret Stephens ในคอลัมน์ Global View ของ
Asian Wall Street Journal (AWJ)
ให้เหตุผลว่าเหตุใดเขาจึงคิดว่าการให้รางวัลโนเบลสันติภาพ
แก่ประธานาธิบดี Obama เป็นการเหมาะสม

เขาถามว่าบุคคลต่อไปนี้คือใคร Bertha von Suttner,
Henri La Fontaine, Ludwig Quidde, Norman Angell,
Arthur Henderson, Eisaku Sato, Alva Myrdal
and Joseph Rotblat หลายคนไม่มีใครรู้จัก
เพราะหายไปในฟุตโน้ตของประวัติศาสตร์
บุคคลเหล่านี้แหละคือผู้เคยได้รับ
รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในอดีต

Bret Stephens กล่าวว่า รางวัลสันติภาพนี้เป็นรางวัล
ที่มีความเข้าใจผิดกันอย่างมาก
นอกจากบุคคลที่โดดเด่นเป็นพิเศษเช่น
Carl von Ossietzky, Norman Borlaug,
Andrei Sakharov, Mother Teresa,
Lech Walesa, Aung San Suu Kyi,
Martin Luther King, Anwar Sadat and
Menachem Begin, Mikhail Gorbachev,
Nelson Mandela ฯลฯ แล้ว
ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพส่วนใหญ่
มาจากผู้คนหลากหลายที่โลกไม่ค่อย รู้จัก

บุคคลหลากหลายที่ได้รับรางวัลแต่โลกไม่ค่อยรู้จักเหล่านี้
เขาเรียกว่าเป็นพวก "the goodists"
ซึ่งหมายถึงคนที่เชื่อว่าข้อขัดแย้งทั้งหมด
มาจากความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้น
อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
คนที่เชื่อว่าความชั่วร้ายของโลกมาจากเทคโนโลยี
ระบบ ความซับซ้อน และทุกสิ่งอื่นๆ
ยกเว้นที่มาจากหัวใจของมนุษย์ซึ่งมีความรักเป็นที่ตั้ง
คนที่ยกความตั้งใจอันอุดมด้วยคุณธรรมของตนขึ้นเหนือสิ่งอื่นใด
คนที่ใช้การศึกษาเป็นคำตอบสำหรับปัญหาต่างๆ
และเหนือสิ่งอื่นใด goodists
คือคนที่อยากให้ถูกมองว่าเป็นคนดี

รางวัลโนเบลทุกสาขา ยกเว้นสาขาสันติภาพ
จะมีพิธีใหญ่รับรางวัลกันในเมือง Stockholm ประเทศสวีเดน
ในวันที่ 10 ธันวาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสียชีวิตของ
Alfred Noble มหาเศรษฐีและผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์
ผู้ตั้งรางวัลตั้งแต่ ค.ศ.1895 โดยผู้รับรางวัลสาขาต่างๆ
จะมีการบรรยายพิเศษกันก่อนวันงาน

สำหรับ สาขาสันติภาพจะรับในวันเดียวกันโดยประกอบพิธี
ในเมือง Oslo ประเทศนอร์เวย์ พิธีรับรางวัลทั้งสองงาน
จัดกันยิ่งใหญ่โดยเป็นงานเลี้ยงอาหารและผู้มอบ
รางวัลคือพระเจ้าแผ่นดินสวีเดนและนอร์เวย์
โดยพระองค์หลังทรงมอบเฉพาะรางวัลสันติภาพ

คณะกรรมการพิจารณารางวัล โนเบลสาขาสันติภาพ
ประกอบด้วยบุคคล 5 คน ที่ได้รับเลือกจากรัฐสภานอร์เวย์
คณะกรรมการไม่ได้ให้รางวัลแก่ผู้นำประเทศ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองไม่ว่า
จะเป็นประธานาธิบดี Franklin Rossevelt
ผู้ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นป้อมปราการของประชาธิปไตยในโลกหรือ
Winston Churchill ผู้นำอังกฤษผู้ต่อต้านลัทธินาซี
หรือ Charles de Gaulle ผู้รักษาไฟแห่งเสรีภาพของฝรั่งเศส
หรือนายพล Douglas Mac Arthur
ผู้ทำให้ญี่ปุ่นตระหนักในสันติภาพ ฯลฯ

ถึงแม้ว่าบุคคลเหล่านี้มี บทบาทสำคัญยิ่ง
ที่ทำให้เสรีภาพอยู่รอดได้ในศตวรรษที่ 20
แต่คณะกรรมการโนเบลซึ่งเป็น goodists
เลือกที่จะให้รางวัลแก่ผู้รักเทิดทูนสันติภาพชาวอังกฤษ
เช่น Emily Greene Balch (1946)
นักต่อสู้เพื่อลดอาวุธชาวอังกฤษ Philip Noel-Baker (1959)
และชาวไอริช ผู้รณรงค์ต่อต้านสงครามนิวเคลียร์
เช่น Sean Mac Bride (1974)

ประวัติศาสตร์อาจจารึกว่าผู้รับรางวัลโนเบลเหล่านี้ไม่ได้มีส่วน
ร่วมในการนำมาซึ่งสันติภาพอย่างยั่งยืนทั้งก่อนหน้า
รับรางวัลและในเวลาต่อมา และก็เป็นจริงเช่นเดียวกัน
สำหรับบุคคลอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและได้รับรางวัลสันติภาพ
เช่น Kofi Annan, Jimmy Carter, Wangari Maathai,
Mohamed EIBaradei, AI Gore ฯลฯ

การให้รางวัล สันติภาพคือการพยายามสร้างคนที่รัก
และใฝ่สันติภาพให้เกิดขึ้นอีกมากมายใน อนาคต
ซึ่งจะร่วมกันมีผลอย่างสำคัญต่ออนาคตของโลก

Bret Stephens กล่าวว่า บุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่ซึ่งเป็น goodists
มิได้ทำอะไรมากมายก่อนได้รับรางวัล แต่ Obama
ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและเป็นคนแรกที่กระทำตน
ตามเงื่อนไขของ goodists อย่างชัดแจ้ง
คือให้ความหวัง ตั้งใจสร้างการเปลี่ยนแปลง
ใช้วิธีการทางทูต การลดอาวุธ ความเป็นนานาชาติ ฯลฯ
เขาจะเป็นปากเสียงที่ดีและสำคัญที่สุด
สำหรับสิ่งที่รางวัลตั้งใจสร้างตลาด
ระยะเวลา 108 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น
คณะกรรมการจึงเลือกไม่ผิดอย่างแน่นอนในความเห็นของเขา

ที่เขียนมา ทั้งหมดคือความเห็นของคอลัมนิสต์ผู้หนึ่งใน AWJ
สำหรับผู้เขียนเองมีความเห็นว่าเหตุผลของการตัดสิน
ให้รางวัลของคณะกรรมการ โนเบลข้ามระยะเวลา 108 ปี
ขาดความเป็นมาตรฐานเดียวกันและ
ไม่อยู่ภายใต้อุดมการณ์เดียวกันดังที่อ้าง
อย่าลืมว่า 108 ปี เป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากเกินกว่า
ที่จะสามารถมีอุดมการณ์อันมั่นคงและมี
เงื่อนไขเดียวกันได้ในการมอบรางวัลตัวอย่างก็คือมหาตมะ คานธี
ซึ่งมีคุณลักษณะตรงกับ goodists ทุกประการ
แต่ไม่เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
ถึงแม้จะได้รับการเสนอชื่อหลายครั้งระหว่าง ค.ศ.1937-1948 ก็ตาม
ทั้งๆ ที่คนในโลกคาดหวังกันมาก ปี 1948
เป็นปีที่เชื่อกันว่าจะเป็นปีที่มหาตมะ คานธี
ได้รับรางวัลอย่างแน่นอน
แต่เสียงปืนในวันที่ 31 มกราคมของปีนั้นก็ทำลายความคาดหวัง
คณะกรรมการคิดจะมอบรางวัลให้ถึงแม้จะเสียชีวิตแล้วก็ตาม
โดยยกเว้นเป็นกรณี พิเศษ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้มอบให้
และในปีนั้นก็มิได้มอบให้ใครเลย

อีก ตัวอย่างของการไม่ได้มอบรางวัลให้แก่ goodists
อีกคนหนึ่งคือนาย Dag Hammarskjold
อดีตเลขาธิการสหประชาชาติผู้มีผลงานด้านสันติภาพ
โดดเด่นยาวนานจนต้องมอบรางวัลให้หลังจากเสียชีวิตแล้ว
เป็นกรณีพิเศษในปี 1961
(ตั้งแต่มีการมอบรางวัลโนเบลตั้งแต่ ค.ศ.1901
มีกรณียกเว้นพิเศษเช่นนี้เพียงสองครั้งเท่านั้น
อีกครั้งหนึ่งคือนาย Erik Axel Karlfeldt (รางวัลวรรณคดี, 1931))

การมอบรางวัลให้ ประธานาธิบดี Obama ผู้ประกาศว่าจะแก้ไขปัญหาโลกร้อน
ลดกำลังรบของชาติต่างๆ แก้ไขปัญหานิวเคลียร์
แก้ไขปัญหาตะวันออกกลาง แก้ไขปัญหา ก่อการร้ายสากล ฯลฯ
ก็เท่ากับว่าผูกมัดให้เขากระทำตามที่ให้คำมั่นสัญญาแก่ชาวโลกไว้
ในเชิงกลยุทธ์ทางการทหารรางวัลนี้จะทำให้สหรัฐอเมริกามีทางเลือกน้อยลง
เพราะสิ่งใดที่จำเป็นต้องกระทำในเชิงรุก แฝงด้วยความรุนแรง
รางวัลนี้จะค้ำคอประธานาธิบดี Obama ไม่ให้กระทำได้
และด้วยเหตุนี้
Le Duc Tho ผู้ได้รับรางวัลโนเบลคู่กับ
Henry Kissinger ในการสงบศึกสงครามเวียดนามในปี 1973
(แต่ก็ยังมีการรบกันต่ออีกถึง 2 ปี) จึงปฏิเสธไม่รับรางวัล
(อีกคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการมอบรางวัลโนเบล
ที่ปฏิเสธไม่รับคือ Jean-Paul Sartre นักปรัชญาคนสำคัญ)

ไม่ว่าใครจะเห็นว่าประธานาธิบดี Obama เหมาะสมกับ
รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพหรือไม่ก็ตาม
สิ่งที่จะได้รับฟังแน่นอนคือคำกล่าวของเขาในการรับรางวัลนี้
ในงานฉลองวันที่ 10 ธันวาคม 2009
ณ กรุง Oslo นอร์เวย์ ซึ่งเชื่อได้ว่าจะประทับใจด้วย
วาทศิลป์ของนักพูดระดับโลกเช่นเขา

หน้า 6

พระพุทธจริยาวัตร 60 ปาง ปางมหาพรหมอัญเชิญแสดงธรรม


คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ

เสฐียรพงษ์ วรรณปก

มติชน

วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2552



มี ธรรมเนียมในหมู่ชาวพุทธ เวลาพระจะเทศน์
พิธีกรจะกล่าวอาราธนาธรรม คือ
อาราธนาให้พระธรรมกถึกแสดงธรรม
ขึ้นต้นด้วยคำว่า พฺรหฺมา จะ โลกาธิปตี
สะหัมปะติ... ธรรมเนียมนี้มีที่มาดังนี้

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออก จากโคนต้นราชยตนะ
ในสัปดาห์ที่ 7 หลังตรัสรู้
(พระไตรปิฎกว่าสัปดาห์ที่ 4)
ก็เสด็จไปยังต้นอชปาลนิโครธอีกครั้ง

คราวนั้น พระองค์ทรงพิจารณาธรรมะที่ตรัสรู้แล้วว่า
เป็นสภาวะที่ละเอียด ประณีต ลึกซึ้ง
แม้เหตุผลทางตรรกะก็หยั่งไม่ถึง รู้ตามได้ยาก
มีพระหฤทัยน้อมไปในความเป็นผู้ขวนขวายน้อย
(นี้เป็นสำนวนพระ ความหมายก็คือ
ไม่คิดแสดงธรรม คิดจะอยู่เฉยๆ)

ขณะนั้นท้าวสหัมบดีพรหม ทราบพระปริวิตก
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงเข้ามานมัสการกราบทูลอัญเชิญให้
พระองค์เสด็จไปประกาศพระธรรม
โดยกล่าวว่า สัตว์ที่มีธุลีในดวงตาน้อยยังมีอยู่
สัตว์เหล่านั้นจะเสื่อมจากประโยชน์ที่พึงได้
เพราะมิได้ฟังธรรมจากพระองค์

ความหมายในที่นี้ก็คือ "ผู้ที่มีพื้นความรู้พอจะเข้าใจยังมีอยู่
ขอให้พระองค์เสด็จไปแสดงธรรมเถิด"

พระ พุทธเจ้าหลังจากทรงพิจารณาสัตว์โลกเปรียบเทียบ
กับดอกบัวหลายเหล่าที่เจริญ งอกงามในสระแล้ว
ก็ทรงรับคำอาราธนาของสหัมบดีพรหม
ด้วยเหตุนี้แหละเมื่อเราจะอาราธนาให้พระภิกษุแสดงธรรม
เราจึงกล่าวคำอาราธนา อ้างชื่อสหัมบดีพรหมว่า
"พฺรหฺมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ..." ดังที่ทราบกันดีแล้ว

พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาสัตว์โลกดุจดอกบัว 3 เหล่า
(คือ ดอกอุบล, ดอกปทุม, ดอกบุณฑริก)
อันเกิดและเจริญในสระ 3 ระดับ คือ

ระดับที่หนึ่ง ดอกบัวพ้นน้ำ เปรียบเสมือนคนผู้ฉลาดมาก
สามารถเข้าใจธรรมทันทีที่ฟังโดยสังเขป

ระดับที่สอง ดอกบัวเสมอผิวน้ำ เปรียบเหมือนคนที่ฉลาด
พอฟังโดยพิสดารก็เข้าใจ

ระดับที่สาม ดอกบัวอยู่กลางท้องน้ำ
เปรียบเหมือนคนผู้พอฝึกฝนอบรมได้
ต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งจึงจะเข้าใจ

คำ ว่า "เข้าใจ" หมายถึงตรัสรู้ธรรม
ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 4 ข้อที่ 9 หน้า 11
กล่าวถึงดอกบัว 3 ระดับเท่านั้น ไม่มีระดับที่ 4
ซึ่งเติมมาภายหลัง เพื่อให้เข้าคู่กับบุคคล 4 จำพวก
ถ้าไม่พูดเสียตรงนี้ก็จะไม่เข้าใจกันแจ่มแจ้ง
ขอขยายเลยนะครับ

1.พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาสัตว์เปรียบกับ
ดอกบัว 3 เหล่า 3 ระดับ ไม่เกี่ยวกับบุคคล 4 ประเภท

2. ส่วนการแบ่งบุคคลออกเป็นหลายประเภทนั้น ตรัสไว้ในที่อื่น
เช่น สองประเภท สามประเภท สี่ประเภท ห้าประเภท ฯลฯ
ไม่เกี่ยวกับการตรวจตราดูสัตว์โลก

3.เฉพาะบุคคล 4 ประเภท ก็มีหลายหมวด
หนึ่งในหลายหมวดนั้น ทรงแบ่งดังนี้

(1) อุคฆติตัญญู ผู้ตรัสรู้ฉับพลัน เพียงฟังหัวข้อธรรมก็ตรัสรู้

(2) วิปัญจิตัญญู ผู้ตรัสรู้เร็ว เพียงฟังธรรมโดยพิสดารก็ตรัสรู้
(ต้นฉบับเดิมเขียน วิปัญจิตญญู มิใช่ วิปัจจิตัญญู)

(3) เนยยะ ผู้พึงฝึกฝนอบรมได้ ต้องใกล้ชิดสัตบุรุษ
ฟังธรรมจากท่านเหล่านั้น ฝึกฝนอบรมสักระยะหนึ่ง จึงตรัสรู้

(4) ปทปรมะ ผู้เป็นพหูสูต จำได้มาก กล่าวได้มาก
แต่ไม่สามารถตรัสรู้ในชาตินี้

นี้ คือคำจำกัดความของบุคคล 4 ประเภท หรือ 4 ระดับ
เฉพาะประเภทท้าย (ปทปรมะ) มิได้หมายถึงคนโง่
หากหมายถึงผู้รู้ทฤษฎีมาก เป็นพหูสูต
คนพวกนี้เป็นผู้ "มากบท มากเรื่อง"
ยากจะตรัสรู้ได้ในชาตินี้ พระอรรถกถาจารย์คงเห็นว่าเข้าท่าดี
จึงนำเอาบุคคล 4 ประเภท มาจับคู่กับดอกบัว 3 ระดับ

พอมาถึงประเภทที่ 4 จึงเติมดอกบัว
ระดับที่ 4 เข้ามาเพื่อเข้าคู่กัน
แล้วให้คำนิยามใหม่ว่า "บัวจมโคลนเลน
มีแต่จะเป็นภักษาของปลาและเต่า
เปรียบเสมือนคนประเภทปทปรมะ
คือ คนโง่เขลา ไม่มีทางตรัสรู้ได้"

เรื่องราวมันเป็นมาอย่างนี้แล จึงมี "ดอกบัว ๔ เหล่า"
ดังที่เราเรียนกันในโรงเรียน
บังเอิญผมมีโอกาสเป็นกรรมการร่างหลักสูตร
วิชาพระพุทธศาสนาด้วยผู้หนึ่งและได้เขียนตำราเรียน
จึงได้แก้ไขตรงนี้ จากดอกบัว ๔ เหล่า
เป็นดอกบัว 3 เหล่า 3 ระดับ ให้ตรงกับพระบาลีพระไตรปิฎก
ก็ไม่เห็นมีใครทักท้วงนี่ครับ ถ้าทักมา
จะได้ยกหลักฐานมายืนยัน
เมื่อรู้ว่าผิดมาแล้ว ก็น่าจะแก้ไขให้ถูกต้อง

มีข้อสังเกตที่อยากฝาก ไว้ตรงนี้สักเล็กน้อย
ถ้าพินิจตามความในพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าทรงมองว่า มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพทัดเทียมกัน
ทุกคนโปรดได้ ไม่มีใครที่โปรดไม่ขึ้น
หรือพูดให้ชัดว่า ไม่มีประเภทปทปรมะ
ในความหมายว่าโง่เง่าเต่าตุ่น โปรดไม่ขึ้น
ดุจดอกบัวจมโคลนเลน

ข้อสังเกตที่สองก็คือ พระพรหมที่มาอัญเชิญ
ไม่จำต้องแปลตามตัวอักษรว่าเป็นพรหมจริงๆ ก็ได้
อาจเป็นสัญลักษณ์หมายถึง พรหมวิหารธรรม
อันมีกรุณาเป็นตัวจักรสำคัญ พูดง่ายๆ
พรหมก็คือพระมหากรุณาของพระพุทธองค์นั้นเอง
พระองค์ทรงสงสารสัตว์โลกที่ตกอยู่ในความทุกข์ในสังสารวัฏ
จึงทรงอยู่นิ่งไม่ได้ ต้องเคลื่อนไหวออกไปเทศน์โปรด
การที่ทรงเคลื่อนไหวออกไปเทศน์โปรดสัตว์โลกนี้
เป็นการเคลื่อนไหวอันยิ่งใหญ่พอๆ กับพระพรหม
(ที่คนสมัยนั้นนับถือมาก) มาอัญเชิญทีเดียว


หน้า 6

เอกชัย เจียรกุล เส้นทางที่ถางมาเองด้วยกีตาร์คลาสสิค

The Idol : เอกชัย เจียรกุล

มติชน
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551


ถ้าบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ถูกแปลเป็น ภาษาต่างประเทศ
เรื่องนี้ต้องเป็นเรื่อง "อำ" อันดับต้นๆ
ของวงการดนตรีคลาสสิคโลกแน่ๆ

เมื่อมือกีตาร์เด็กไทยตัวเล็กๆ คนหนึ่งไปคว้าแชมป์
International Guitar Competition In Berlin
ที่กรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี ซึ่งจัดทุก 2 ปีครั้ง
โดยต้องแข่งกับมือกีตาร์ที่มีมือกีตาร์คลาสสิคระดับโลกตัวเป็นๆ เป็นครู
ในขณะที่ตัวเขาเองเรียนเอาจากซีดี
สอนกีตาร์ของมือกีตาร์คลาสสิคคนดังกล่าวอยู่กับบ้าน
ในขณะที่ที่ 2 และ 3 นั้นล้วนเป็นนักเรียน
ในสถาบันดนตรีที่มีชื่อเสียงในย ุโรปทั้งสิ้น


ฟังเหมือนเป็นเรื่องตลกแต่สำหรับ เอกชัย เจียรกุล
หนุ่มน้อยวัย 21 ปี คนนี้ มันเป็นเรื่องจริงแท้แน่นอน
และในฐานะเจ้าของรางวัลดังกล่าวมันจริงแท้อย่างยิ่ง

"พอผมชนะเขาก็ถามว่าเป็นลูกศิษย์ใคร
ผมเองยังไม่รู้จะตอบยังไงเลยจะตอบว่าฝึกเองก็อายเขา

เรามันครูพักลักจำแบบมวยวัดมาทั้งนั้น"

ตั้งแต่ครั้งแรกที่เขาเห็นรุ่นพี่ที่รู้จักเล่นบทเพลงพระราชนิพนธ์
ชะตาชีวิต ด้วยกีตาร์คลาสสิค วันนั้นชีวิตเขาก็เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง
ซึ่งทำเขาหลงไหลกีตาร์คลาสสิคจนชีวิตหักเห
ทั้งๆ ที่เขาเองก็ไปเรียนกีตาร์เพื่อความสนุก

และความอยากเล่นกีตาร์คลาสสิคได้

"ผมก็คิดตามประสาเด็กๆ ว่าชื่อที่มีคำว่า คลาสสิค
มันเท่แล้วมันก็เล่นได้ ทั้งเมโลดี้ เบส และ ริธึ่ม พร้อมกัน
ซึ่งตอนนั้นผมไม่รู้จักแม้แต่ดนตรีคลาสสิคเลย
รู้เพียงอย่างเดียวว่าอยากเล่นได้แบบนั้นบ้าง"
เอกชัย หรือเบิร์ด ยิ้มจนตาหยีเมื่อเล่าถึงความหลัง


แน่นอนว่าพอรู้สึกตัวอีกทีจากการเรียนกีตาร์อาทิตย์ละครั้ง
เขากลายเป็นนักเรียน
และนักศึกษาของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

"ตอนผมเลือกเรียนต่อที่นี่ พ่อแม่ก็ไม่ยอมนะ
ผมก็ไม่รู้ว่าจบไปจะไปทำอะไรกิน
เพียงแต่ว่าผมไม่สนใจแล้ว แค่อยากจะใช้ชีวิตอยู่กับมัน
เหมือนเจอผู้หญิงที่อยากแต่งงานด้วย

ก็มุ่งหน้ามาทางนี้เลย"

แน่นอนว่าตอนนี้ความฝันของเขาคือการเป็นมือกีตาร์คลาสสิคที่ระดับโลก
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาตระเวนแข่งไปทั่วจนได้รางวัลถึง 17 รางวัล
จากที่ต่างๆ ทั่วโลกทั้ง เยอรมนี ญี่ปุ่น รัสเซีย กรีซ อิตาลี สหรัฐ ฯลฯ
ซึ่งเบิร์ดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา
เพราะว่ามือกีตาร์จากประเทศนอกสายตาอย่างไทยนั้น

ก็ต้องพยายามหาทางเพิ่มชื่อเสียงเข้าไว้
เพื่อจะก้าวสู่การเป็นมือกีตาร์ที่มีคนเชื่อถือในโลกของดนตรีคลาสสิค
ซึ่งมีมือกีตาร์คลาสสิคอยู่เป็นล้านคน

"เท่าที่ไปมาก็รู้ว่าเราพอสู้ได้ครับ เราซ้อมมาดีศึกษามาดี
ที่เรายังไม่เป็นที่ยอมรับนั้น อาจจะเป็นเพราะ
มีผมคนเดียวที่พยายามจะออกไปแข่ง
ส่วนใหญ่มือกีตาร์ไทยมักพอใจจะอยู่ในประเทศมากกว่า

เพิ่งมามีรุ่นหลังๆ ที่พยายามจะออกไปข้างนอก"

ถ้าจะถามว่า ปัญหาที่เขาและมือกีตาร์คลาสสิคไทยต้องประสบคืออะไร

เบิร์ดบอกสั้นๆ ว่าเรามีครูไม่พอกับความต้องการ

"คือเราไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการสอนการเล่นกีต้าร์
ปัญหาคือความรู้นี่แหละครับ
อย่างผมที่มาถึงตรงนี้ได้นั้น

เพราะผมศึกษาด้วยตัวเอง
เอาเป็นว่า 90% เลยนะ จากซีดี
และนักกีตาร์ต่างประเทศ
ตามรายการที่ผมไปแข่งผมก็อาศัยถามเขา
แม้แต่คนที่ผมชนะเขาผมก็ถามนะ

ตรงนี้มันเป็นความยากอย่างเดียวของ
การเป็นมือกีตาร์คลาสสิคในเมืองไทย"

ฉะนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจถึงเรื่องว่าเรื่อง "อำ"
ที่ไม่ได้ "อำ" ข้างต้นมาจากไหน


เบิร์ดบอกว่า ด้วยความที่เขาเป็นเด็กต่างจังหวัด (อุบลราชธานี)
เขาตั้งใจย้ายเข้ากรุงเทพฯมาก็เพื่อเสาะหาครูที่จะช่วยผลักดันเขาไปต่อ
แต่พอเรียนจนจบมหาวิทยาลัยปีหนึ่ง
เขากลับตกอยู่ในสภาพ "นักดนตรีไร้ครู"
เพราะหาคนในประเทศมาสอนการเล่นกีตาร์คลาสสิค
ให้กับเขาไม่ได้อีกแล้ว
ครูที่สอนอยู่ปัจจุบันก็เหลือ

เพียงช่วยให้ความเห็นและแนะนำมากกว่า

"ที่ผมชนะมาหลายรายการไม่ใช่ว่าผมเก่งนะ
แต่ผมขยันซ้อมมากกว่าคนอื่นจะเล่นเอาเร็วขนาดไหนผมก็เล่นได้
เพราะมันเป็นเรื่องความขยันซ้อมซึ่งที่จริงการไม่มีครูก็อาจจะเป็นเรื่องดี
เพราะว่ามันทำให้เรารู้สึกไม่พออยากพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลามากกว่า
คนที่เขามีพร้อมทุกอย่างซึ่งจะทำให้ขี้เกียจ"


แต่เบิร์ดก็ว่าแน่นอนถ้ามีครูดีๆ เขามาสอนมันย่อมดีกว่าแน่ๆ
ซึ่งนั่นคือเหตุผลหลักที่เขาออกไปแข่งขันต่างประเทศ
ซึ่งเขาไม่ได้คิดการใหญ่ขนาด บัณฑิต อึ้งรังษี
ว่าจะต้องเป็นที่หนึ่งของโลก เขาคิดแค่สั้นๆ
เหมือนตอนเริ่มเล่นกีตาร์คลาสสิคเพราะคำว่า "คลาสสิค" มันเท่
คือคิดแค่ว่าว่าอยากจะไปดูคนอื่นเขาเล่นกีตาร์บ้างเท่านั้นจริงๆ

"ก็อาศัยคุยกับเพื่อนนักกีตาร์ด้วยกัน ตอนไปแข่ง

เหมือนจัดเวิร์กช็อปไปในตัว ก็คิดยังไงกับเพลงนี้
ซ้อมยังไง เราก็ เออๆ...ไม่รู้มาก่อนเว้ย เมื่อไม่นานมานี้
มีมือกีตาร์อาร์เจนตินามาเมืองไทย ผมไปเวิร์กช็อปกับเขาเมื่อ 2 วันที่แล้ว
เขาซ้อม 5 นาทีให้ผลเท่ากับผมซ้อม 2 ชม.
เราไม่เคยรู้มาก่อน ถ้าเราข้ามไปได้ตั้งแต่ต้นๆ
ระดับโลกนี่ไม่ไกลมือเราแน่นอน" เบิร์ดยิ้มร่า

เบิร์ดบอกอีกว่าเขาตั้งใจจะพยายามผลักดัน

ให้มีการชักชวนให้มีครูเก่งๆ เข้ามาสอนในเมืองไทย
เพื่อสร้างลูกศิษย์และมือกีตาร์คลาสสิคเก่งๆ ขึ้นไปกว่าเดิมสักชุด
ซึ่งเขาเชื่อมันว่า ภายใน 2 ปีนั้น
วงการกีตาร์คลาสสิคทั่วโลกจะต้องจับตาเมืองไทยอย่างแน่นอน

"แต่ก็อาจจะยาก เพราะมีปัญหาเรื่องทุนและคนไทย
ก็ยังไม่เข้าใจกีตาร์คลาสสิคดีพอ
ครูคนไทยก็ให้ความรู้ได้พอสมควร
พอมีคนอย่างผมต้องการมากกว่านั้น
แม้จะจำนวนไม่เยอะแต่คุณจะปล่อยให้คนเหล่านี้อยู่โดย
ไร้ครูได้อย่างไรถ้ามันยังสามารถไปได้ก็น่าจะมีคนสนับสนุน
ไม่ใช่ไปเรียนเมืองนอกเพื่อเอาภาษาซึ่งไม่มีประโยชน์
เพราะครูสอนภาษาในเมืองไทยก็มีเยอะเก่งด้วย
เรียนเมืองไทยก็พูดกับฝรั่งรู้เรื่อง

สู้เอาเงินปีละ 1-2 ล้านมาจ้างครูคนเดียวเข้ามา
มันถูกกว่าและได้ประโยชน์ กับคนที่จะเรียนมากกว่า"

เบิร์ดย้ำแนวคิดของเขาอย่างหนักแน่น อย่างไรก็ตาม
เขาก็ถอนหายใจก่อนจะว่า ถ้าไม่มีใครทำเขาก็คงต้องไป

เป็นครูคนนั้นเสียเองแล้ว กลับมาสอนเด็กไทยด้วยตัวเอง

เพราะอย่างไรนี่ก็คือชีวิตของเขากับกีตาร์คลาสสิคที่ เขาเลือก

รางวัลที่ได้รับ
ปี 2003

- 2nd prize of Yamaha Music festival (junior category)

-1st prize of Thailand International guitar competition (junior category)

ปี 2004

- Silver medal National Youth Music Competition

- 2nd prize of Yamaha Music festival (senior category)

ปี 2005

- Silver medal of National Youth Music Competition

-1st prize of National Yamaha (senior category)

-1st prize of National Au Music Competition

-The finalist of International Guitar Competition in Singapore

-The finalist of International Guitar Competition in Osaka Japan

-3rd prize of International Guitar Competition in Thailand

ปี 2006

- Golden medal of National Youth Music Competition

-3rd prize of International Guitar Competition in France (Ile de Re)

-The 8 finalist of International Guitar Competition in Singapore

ปี 2007

-1st prize of International Guitar Competition in Russia (Youth competition) And Best player in Russian Music

-2nd prize (no 1st prize) of International Guitar Competition in Hermoupolis Greece

-3rd prize of International Guitar Competition in Vissani Greece

-2nd prize of International Guitar Competition in Ohio USA.

ปี 2008

-3rd prize of International Guitar Competition in Magnitogorsk Russia And Best player in Russian Music

-3rd prize of International Guitar Competition in Moisycos Italy

-1st prize of International Guitar Competition in Berlin

-1st prize of Asia International Guitar Competition

-1st prize of Singapore international Guitar Competition 2008